Krafton บริษัทเกมเกาหลี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ PUBG ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อนำเกมในสังกัดมาอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ Azure ซึ่งรวมถึง PUBG เวอร์ชันคอนโซล-พีซีด้วย (PUBG Mobile อยู่บน Azure อยู่แล้ว)
เกม PlayerUnknown's Battlegrounds (PUBG) เริ่มพัฒนาโดยบริษัทเกมเกาหลี Bluehole ซึ่งภายหลังในปี 2017 ต้นสังกัด Bluehole ตั้งบริษัทลูก PUBG Corporation ขึ้นมาดูแลเกม PUBG โดยเฉพาะ และในปี 2019 ก็ตั้งบริษัทแม่คือ Krafton ขึ้นมาเป็น holding company ดูแลสตูดิโอเกมในเครือทั้งหมด
นอกจาก PUBG แล้ว เกมอื่นในเครือ Krafton ได้แก่ TERA และ Elyon ซึ่งเป็นแนว MMORPG กับเกมแนวแคชวลบนมือถืออีกหลายเกม ผลงานของสตูดิโอลูก Pnix
ไมโครซอฟท์ประกาศตั้งศูนย์ข้อมูลในไต้หวัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผน Reimagine Taiwan ที่เพิ่มการลงทุนในไต้หวันมากขึ้น
ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้จะเริ่มให้บริการ Azure ในเขตพื้นที่ (region) ใหม่ที่เป็นไต้หวัน และในขั้นถัดไปจะให้บริการ Microsoft 365, Dynamics 365, Power Platform ให้กับลูกค้าในไต้หวันต่อไป นอกจากการตั้งศูนย์ข้อมูลแล้ว ไมโครซอฟท์ยังระบุว่าจะผลักดันให้ทีมวิศวกรรมที่ไต้หวัน (Taiwan Azure Hardware Systems and Infrastructure) เป็นศูนย์กลางพัฒนาฮาร์ดแวร์ของ Azure สำหรับงานคลาวด์, IoT, Edge, AI อีกด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Microsoft Azure Modular Datacenter (MDC) บริการศูนย์ข้อมูลพร้อมใช้แบบยกไปที่ไหนก็ได้ เหมาะกับภารกิจนอกสถานที่ เช่น ศูนย์บัญชาการเคลื่อนที่, การช่วยเหลือภัยพิบัติ, ปฎิบัติการทางทหาร, ไปจนถึงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยที่คนทำงานหน้างานต้องการเชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลที่ความเร็วสูง
เมื่อปลายเดือนกันยายน เพิ่งเกิดเหตุ Microsoft Azure และ Office 365 ล่มจากปัญหา Azure AD ไปหมาดๆ เมื่อคืนนี้ก็เกิดเหตุซ้ำอีกรอบกับทั้ง Azure และ Office 365
เหตุการณ์เกิดราวตี 1 ตามเวลาประเทศไทย และไมโครซอฟท์กู้ระบบมาสำเร็จประมาณ 5:30 น. รวมระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
สาเหตุมาจากการเปลี่ยนค่าของ Azure Wide Area Network (WAN) และมีบั๊ก ทำให้การจัดการทราฟฟิกมีปัญหา เกิดภาวะ network congestion และ packet loss ทำให้ลูกค้าบางส่วนเข้าถึงระบบไม่ได้
ปัญหาระบบคลาวด์ล่มอาจไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ แต่การเกิดปัญหาล่ม 2 รอบในระยะเวลาติดๆ กัน คงไม่ใช่เรื่องดีนักสำหรับไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์รายงานปัญหาบริการ Azure AD ตั้งแต่ช่วงตีสี่ครึ่งที่ผ่านมา ส่งผลให้ลูกค้าที่ใช้ Azure AD เข้าหน้าพอร์ทัลไม่ได้ ที่หนักกว่านั้นคือบริการนี้พาเอาผู้ใช้ Office 365 ที่ยังไม่ได้ล็อกอินก็ไม่สามารถใช้บริการได้ กระทบทั้ง Outlook.com, Microsoft Teams including Teams Live Events, Office.com ไปจนถึงบริการเฉพาะกลุ่มอย่าง Power Platform และ Dynamics365
รายงานจากเว็บไซต์ DownDetector ระบุว่าผู้ใช้จำนวนมากได้รับผลกระทบตั้งแต่เริ่มเกิดปัญหา และล่าสุดปัญหาเริ่มแก้ไขได้ตั้งแต่ช่วงแปดโมงที่ผ่านมา
ที่มา - The Register
ช่วงเช้าวันนี้ มีบริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์ใช้งานไม่ได้ดังนี้
ไมโครซอฟท์รายงานปัญหานี้ผ่านโซเชียลของ Microsoft 365 และ Azure แล้ว ขณะที่เขียนข่าวนี้ ระบบทั้งสองตัวยังไม่สามารถใช้งานได้
สัปดาห์ที่แล้วในงาน Ignite 2020 มีบริการตัวใหม่ในสังกัด Azure ที่น่าสนใจเปิดตัวคือ Azure Communication Services
Azure Communication Services เป็นการนำแพลตฟอร์มสื่อสาร Microsoft Teams ที่รองรับทั้งแชท เสียง วิดีโอ โทรศัพท์แบบดั้งเดิม และข้อความ SMS มาแยกร่างออกเป็นส่วนๆ ให้องค์กรอื่นสามารถเรียกใช้ได้ผ่าน API และคิดค่าใช้งานตามปริมาณ
ในงาน Microsoft Ignite 2020 เมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศรีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย (แบบเสียเงิน) ที่กระจัดกระจายใหม่หมด โดยจุดกลุ่มให้เหลือ 2 แบรนด์คือ Microsoft 365 Defender สำหรับฝั่งไคลเอนต์ และ Azure Defender สำหรับฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ร่วมกับบริการเก็บข้อมูลความปลอดภัย Azure Sentinel ที่เปิดตัวไปก่อนแล้ว
Nutanix จัดงาน .NEXT วันนี้พร้อมกับประกาศบริการชุดใหม่ โดยบริการสำคัญคือ Nutanix Clusters on Azure เปิดทางให้ลูกค้าสามารถใช้ Azure สำหรับขยายคลัสเตอร์ออกไป จากเดิมที่รองรับเฉพาะ AWS ทำให้ลูกค้า Nutanix สามารถย้ายโหลดไปยังคลาวด์ที่ต้องการ ทั้งกรณีต้องการขยายระบบชั่วคราว, ย้ายระบบถาวร, หรือใช้คลาวด์เป็นศูนย์ข้อมูลสำรอง
สำหรับลูกค้าที่ใช้ Azure อยู่แล้ว ทาง Nutanix ระบุว่าการใช้งาน Nutanix Clusters on Azure จะนับเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการใช้งาน Microsoft Azure Consumption Commitment (MACC)
Gartner ออกรายงานสรุปสถานการณ์แข่งขันในตลาดคลาวด์ (Magic Quadrant for Cloud Infrastructure and Platform Services) ประจำปี 2020
ผลลัพธ์ออกมาไม่มีอะไรน่าประหลาดใจ เพราะยังเหมือนปีก่อนๆ ที่ผู้ให้บริการ Top 3 ของโลก (AWS, Microsoft, Google) ยังอยู่ในกลุ่ม "ผู้นำ" (leaders) โดย AWS ยังนำคู่แข่งรายอื่นๆ แบบค่อนข้างทิ้งห่าง ส่วนผู้เล่นรายที่เหลือ 4 ราย (Alibaba Cloud, Oracle, IBM, Tencent Cloud) อยู่ในกลุ่ม "เฉพาะทาง" (niche players)
Azure Repos บริการโฮสต์ซอร์สโค้ดผ่านระบบ Git ภายใต้ร่ม Azure (เมื่อนับรวมกับ GitHub แปลว่าไมโครซอฟท์มีบริการลักษณะนี้ 2 ตัว) ประกาศเปลี่ยนชื่อดีฟอลต์ของ branch จาก master เป็น main เช่นเดียวกับที่ GitHub ประกาศไปก่อนหน้านี้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลเฉพาะ repository สร้างใหม่เท่านั้น ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าดีฟอลต์ของ branch เองได้ (หากไม่ตั้งจะเป็น main) หรืออยากตั้งเป็น master เหมือนเดิมก็ได้ถ้าต้องการ
ไมโครซอฟท์เปิด Azure Stack HCI เป็นสถานะพรีวิวแบบทั่วไป สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างคลาวด์ในองค์กร (on-premise cloud) ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก
ตัว Azure Stack HCI เป็นวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์รุ่นพิเศษ ที่มีบริการ Hyper-V, Storage Space Direct, และ Software Defined Network มาด้วย โดยโมเดลการคิดค่าบริการจะจ่ายเป็นรายเดือนตามจำนวนซีพียูไม่สามารถซื้อขาดแบบวินโดวส์ปกติ และจะต้องซื้อไปพร้อมกับฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น โดยระหว่างที่ยังอยู่ในสถานะพรีวิวจะไม่มีค่าไลเซนส์
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Minecraft มาตั้งแต่ปี 2014 แต่ยังคงปล่อยให้ Minecraft ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ใช่ของไมโครซอฟท์มายาวนาน ทั้งโปรแกรมเวอร์ชัน Java และรันบนคลาวด์ AWS (ภายหลัง Minecraft ออกเวอร์ชัน C++ ที่เรียกว่า Bedrock Edition มาเพิ่มเติม แต่เวอร์ชัน Java ก็ยังอยู่)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศย้ายเซิร์ฟเวอร์ของ Minecraft จาก AWS มาเป็น Azure แล้ว โดยให้ข้อมูลสั้นๆ แค่ว่าทยอยย้ายระบบมาสู่ Azure เป็นเวลาหลายปีแล้ว และจะย้ายเสร็จสิ้นภายในปีนี้
ก่อนหน้านี้มีกรณีคล้ายๆ กันคือ LinkedIn ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2016 ก็ทยอยย้ายมา Azure เสร็จในปี 2019
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในฐานะองค์กรผู้ดูแลโครงการ "เยียวยาเกษตรกร" เปิดเผยเบื้องหลังการพัฒนาเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com ซึ่งเป็นช่องทางให้เกษตรกรลงทะเบียนรับเงินเยียวยาจากภาครัฐ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม
ธ.ก.ส. ระบุว่าเบื้องหลังของเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com เลือกใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ด้วยเหตุผลด้านการสเกลรองรับผู้ใช้จำนวนมาก และมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย-ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
บริษัท Docker Inc. ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของทั้งสองบริษัทเชื่อมต่อกันแนบแน่นมากขึ้น
ฟีเจอร์เหล่านี้จะเปิดใช้ใน Docker Desktop Beta ที่จะออกช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ปีที่แล้วไมโครซอฟท์เปิดบริการจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ในชื่อ Azure Arc แต่เป็นการทดสอบวงปิด ที่งาน BUILD ปีนี้ไมโครซอฟท์ก็ประกาศให้คนทั่วไปทดสอบ แม้จะยังอยู่ในสถานะพรีวิวก็ตาม
Azure Arc จะติดตั้งตัวเองอยู่ในสิทธิ์ cluster-admin และเมื่อนำคลัสเตอร์เข้ามาอยู่ใต้ Arc จะใช้นโยบายจาก Azure ได้ เช่น Azure Policy, Azure Monitor, และ Azure Resource Graph
สัปดาห์ที่แล้ว ไมโครซอฟท์ประกาศซื้อกิจการ Metaswitch Networks บริษัทด้านซอฟต์แวร์เครือข่ายสำหรับลูกค้ากลุ่มโอเปอเรเตอร์ โดยจะดึงเข้ามาอยู่ในธุรกิจของ Azure
ซอฟต์แวร์ของ Metaswitch มีหลากหลาย ทั้งด้านการทำ virtualized network (VNF), จัดการ voice/data ที่วิ่งผ่านเครือข่าย, unified communication ไปจนถึงซอฟต์แวร์จัดการคอลล์เซ็นเตอร์ผ่านคลาวด์
ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลของการซื้อกิจการว่า คลาวด์และเครือข่ายเข้าใกล้กันมากเรื่อยๆ ทำให้ตัดสินใจซื้อ Metaswitch เพื่อนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาให้บริการลูกค้ากลุ่มโอเปอเรเตอร์ ที่เริ่มใช้งาน Azure กันแพร่หลายแล้ว และการมาถึงของเครือข่ายยุค 5G ยิ่งทำให้โอเปอเรเตอร์ต้องบริหารเครือข่ายแบบ virtualized มากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันเมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ รวมถึงกระบวนการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การเว้นระยะและลดการเดินทางกลายเป็นมาตรการสำคัญและอาจกลายเป็น new normal
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เทคโนโลยีคลาวด์ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะเทคโนโลยีสามารถอุดช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ได้
หนึ่งในเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยรับมือกับการทำงานและการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็คือ Microsoft Azure ซึ่งจะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพในวิถีใหม่ผ่าน 4 มิติ ทั้งการบริหารจัดการดูแลลูกค้า การเสริมประสิทธิภาพให้พนักงาน การเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานต่างๆ และ การนำเทคโนโลยีมาปรับให้เกิด บริการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ของตลาด
Kubernetes รุ่นต้นน้ำรองรับ Windows container มาตั้งแต่เวอร์ชัน 1.14 ในเดือนเมษายน 2019 (เวอร์ชันล่าสุดตอนนี้คือ 1.18) ฝั่งของดิสโทรและผู้ให้บริการคลาวด์หลายราย ก็เริ่มทยอยอัพเดตบริการ Kubernetes ของตัวเองให้รองรับฟีเจอร์นี้กัน
Microsoft Azure เริ่มรองรับ Windows container มายาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 แต่มีสถานะพรีวิว ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Windows Server container อย่างเป็นทางการบน Azure Kubernetes Service (AKS) แบบ general availability เรียบร้อยแล้ว
การทำงานในระดับองค์กรใหญ่ ๆ มักจะต้องใช้ไคลเอนต์ที่เซ็ตอัพไว้ตามนโยบายเฉพาะขององค์กร ที่รันอยู่บนเครือข่ายภายในเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือใช้งานแอปบางตัว ทางแก้ของข้อจำกัดดังกล่าวคือเทคโนโลยี Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานหรือเข้าถึงระบบหลังบ้านอื่น ๆ ขององค์กรได้โดยง่าย
ที่ผ่านมา VDI แบบเดิมอย่างการตั้งเซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งเครือข่ายและโซลูชัน Virtualization ในองค์กรมักมีค่าใช้จ่ายสูง ขยับขยายก็ยาก และไม่ปลอดภัยมากนัก
ไมโครซอฟท์เผยสถิติการเพิ่มขึ้นของทราฟฟิก-การใช้งานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Microsoft Azure ประกาศนโยบายล่วงหน้าว่า หากมีการใช้งานเยอะจนเซิร์ฟเวอร์เริ่มรองรับไม่ไหว จะขอให้ความสำคัญกับหน่วยงานด้านสุขภาพ หน่วยงานรับมือปัญหาฉุกเฉิน โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล เป็นลำดับแรก เพื่อให้ระบบไอทีของหน่วยงานเหล่านี้สามารถทำงานได้ไม่สะดุด
ไมโครซอฟท์ยังบอกว่าอาจปรับลดบริการฟรีของ Azure ลงถ้าจำเป็น เพื่อรักษาทรัพยากรให้ลูกค้าปัจจุบันทำงานได้ด้วย
เราเพิ่งเห็นกูเกิลประกาศปิดบริการ Cloud Print ไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์หันมาเปิดบริการลักษณะเดียวกันในชื่อว่า Universal Print
Universal Print เป็นบริการจัดการเครื่องพิมพ์ในองค์กรผ่านคลาวด์ Azure หรืออาจอธิบายได้ง่ายๆ ว่ามันคือการยก print server จาก Windows Server ขึ้นมาอยู่บนคลาวด์ ทำให้องค์กรไม่จำเป็นต้องมี print server อีกต่อไป ไม่ต้องจัดการไดรเวอร์เครื่องพิมพ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
จุดเด่นของ Universal Print คือการเชื่อมต่อกับบริการไดเรคทอรี Azure Active Directory (Azure AD) ที่องค์กรนิยมใช้อยู่แล้ว จึงสะดวกเรื่องจัดการสิทธิการเข้าถึงของพนักงาน
การพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ บนบริการ Cloud หรือการใช้ Cloud ทดแทนไซต์สำรอง เป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า เป็นแนวทางที่คุ้มค่ากว่าการลงทุนกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ก้อนใหญ่ แต่สำหรับองค์กรในไทย การใช้บริการ Cloud ยังมีอุปสรรคสำคัญคือการเชื่อมต่อด้วย Inter Bandwidth เพราะสร้างความน่ากังวลทั้งความเสถียรของการเชื่อมต่อและค่า Inter Bandwidth ที่สูงและควบคุมได้ยากกว่าการตั้งเซิร์ฟเวอร์ในประเทศเป็นอย่างมาก
Check Point Research รายงานถึงช่องโหว่ของชุดซอฟต์แวร์ Azure Stack ที่ใช้สร้างคลาวด์ on-premise ของไมโครซอฟท์โดยมีช่องโหว่รันโค้ดที่ร้ายแรงระดับวิกฤติด้วย
ช่องโหว่ CVE-2019-1372 เป็นช่องโหว่ระดับวิกฤติจากการจัดการความจำบัฟเฟอร์ของ Azure Stack ในส่วนของ Azure App Service ที่ใช้รันโค้ดจากผู้ใช้หลายๆ รายบนโครงสร้างร่วมกัน การจัดการหน่วยความจำผิดพลาดทำให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดนอก sandbox และได้สิทธิ์ NT AUTHORITY/SYSTEM ในเครื่อง
ส่วนช่องโหว่ CVE-2019-1234 เป็นช่องโหว่ของ DataService ที่เรียกใช้งานได้โดยไม่ต้องล็อกอิน ช่องโหว่เปิดทางให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลของเซิร์ฟเวอร์อื่นที่ใช้งานในคลาวด์เดียวกัน และสามารถดูภาพ screenshot ของเครื่องอื่นๆ ที่ไม่มีสิทธิ์ได้