Massachusetts Institute of Technology
นักวิจัยจาก Nvidia, MIT และ Aalto University ได้ร่วมกันพัฒนาระบบจัดการลบสัญญาณรบกวนหรือน้อยส์จากภาพถ่ายโดยใช้ AI จากการใช้ ImageNet จำนวนกว่า 5 หมื่นภาพ, ภาพถ่ายที่ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์และ MRI เป็น dataset สำหรับใช้เทรน ซึ่งตัว AI นี้สามารถจัดการกับน้อยส์และให้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพที่ดีออกมาได้
ระบบ AI นี้มีชื่อว่า Noise2Noise ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ deep learning เมื่อใส่ภาพแบบเป็นน้อยส์ไปแล้ว ตัว AI จะให้ภาพที่มีคุณภาพสูงออกมาได้ ซึ่งภาพจาก ImageNet นี้ทีมวิจัยได้ใส่ randomized noise เข้าไปเพื่อใช้ในการเทรน และทีมวิจัยคาดว่าวิธีนี้สามารถนำไปใช้เพื่อจัดการภาพถ่ายที่มีน้อยส์ปริมาณมากอย่างเช่นภาพถ่ายอวกาศ ไปจนถึงสัญญาณอื่น ๆ อย่างเช่น MRI ก็ได้
ทีมวิจัยจาก MIT สร้างโมเดล deep learning ที่ชื่อว่า PixelPlayer ที่สามารถแยกเสียงเครื่องดนตรีในเพลงออกมาทีละชิ้น เปิดทางให้เราสามารถปรับปรุงคุณภาพเพลงเก่าๆ ที่มิกซ์เสียงมาแล้วได้
ทีมวิจัยห้องปฏิบัติการ CSAIL แห่ง MIT พัฒนาระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวร่างกายของคนได้โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ทำให้สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของบุคคลเป้าหมายได้แม้จะมีกำแพงคอนกรีตขวางกั้นระหว่างอุปกรณ์กับบุคคลนั้น
งานวิจัยนี้มีชื่อว่า "RF-Pose" มีโครงข่ายประสาทเทียมที่เรียนรู้รูปแบบการสะท้อนของคลื่นวิทยุจากร่างกายคนกลับมายังอุปกรณ์รับคลื่นที่อยู่อีกด้านของผนัง ความสามารถในการเรียนรู้และจำแนกรูปแบบของคลื่นสะท้อนสามารถทำให้ระบบ RF-Pose ตรวจจับการเคลื่อนไหวได้แบบสดๆ ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ระบุกว้างๆ ว่าคนเดินไปตรงไหน แต่บอกได้ว่ากำลังขยับแขนและขาอย่างไร กำลังเดิน, ยืน หรือนั่ง หันหน้าไปทางทิศไหน โดยสามารถแสดงผลบนหน้าจอด้วยการใช้เส้นตรงแต่ละสีแทนตำแหน่งของลำตัว, แขน และขาแต่ละข้างของคนที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่อับจากมุมมองสายตาได้
ทีมวิจัยของ MIT พัฒนาเครื่องตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบใหม่ ซึ่งมีข้อดีเหนือกว่าเครื่องตรวจวัดแบบที่มีใช้งานทั่วไปในตอนนี้ ทั้งเรื่องการตรวจวัดที่ไวขึ้น ทั้งยังใช้งานได้สะดวกกว่าเดิม แถมยังมีแนวโน้มว่าใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าด้วย
อุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เรียกว่า bolometer ซึ่งแต่เดิมใช้ตรวจวัดระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในบริเวณต่างๆ โดยใช้วิธีการวัดอุณหภูมิของชิ้นส่วนโลหะในเซ็นเซอร์ของ bolometer อาศัยหลักการว่าชิ้นส่วนโลหะดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อดูดซับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ยิ่งในบริเวณใดที่คลื่นมีกำลังงานสูง อุณหภูมิของชิ้นส่วนโลหะก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ทีมวิจัย MIT เปิดตัว Norman ปัญญาประดิษฐ์บรรยายภาพเป็นประโยค (แบบเดียวกับ Show and Tell ของกูเกิล) แต่กลับใช้ชุดข้อมูลจากเว็บบอร์ด subreddit ที่เอาแต่แชร์ภาพคนตาย
ทีมวิจัยไม่เปิดเผยชื่อเว็บบอร์ดเพราะมีภาพรุนแรงจำนวนมาก และเนื่องจากข้อจำกัดทางจริยธรรม ทีมวิจัยใช้ข้อมูลจากเว็บบอร์ดเฉพาะข้อความบรรยายภาพคนตายมาจับคู่กับภาพหมึกกระจาย (inkblot) เท่านั้น ไม่ได้ใช้ภาพคนตายจริงแต่อย่างใด
ผลที่ได้คือปัญญาประดิษฐ์ Norman ที่จะบรรยายภาพทุกอย่างกลายเป็นความรุนแรงไปเสียหมด หลังจากนั้นทีมวิจัยก็ใช้ชุดทดสอบ Rorschach inkblots มาให้ Norman บรรยาย
แม้ว่าเราจะใช้งานแอปแผนที่อย่าง Google Maps หรือแอปนำทางต่างๆ จนเคยชิน แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ตระหนักคือแผนที่เป็นงานที่ต้องอาศัยคนนั่งวาดถนนตามภาพถ่ายที่ได้มาทีละเส้น นับเป็นงานที่ใช้แรงงานสูง และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเหลือก็ทำได้จำกัด ตอนนี้ห้องแลป CSAIL (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory) จาก MIT ก็เตรียมนำเสนอปัญญาประดิษฐ์ RoadTracer สำหรับวาดแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ
เทคนิคการแปลงภาพเป็นแผนที่โดยคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้อาศัยเทคนิค segmentation ที่พยายามหาว่าพิกเซลใดในภาพเป็นถนนบ้างเพื่อวาดเส้นถนนออกมา แต่กระบวนการนี้ขาดความแม่นยำเป็นอย่างมาก เพราะภาพถนนอาจจะไม่ชัดเจน ถูกต้นไม้หรืออาคารบัง
สถาบัน MIT เปิดเนื้อหาวิชา "6.S191: Introduction to Deep Learning" เรียนรู้การสร้างซอฟต์แวร์แบบ machine learning ด้วยเทคนิค deep learning เบื้องต้น ให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ฟรี โดยเปิดเผยทั้งวิดีโอเลคเชอร์, สไลด์เนื้อหา และที่แล็บสำหรับฝึกการใช้งาน TensorFlow เบื้องต้น
เมื่อไม่กี่วันมานี้ MIT Media Lab ได้ปล่อยคลิปวีดีโอสั้น สาธิตการทำงานของอุปกรณ์ชื่อ AlterEgo ที่พัฒนาโดยนักวิจัยของ MIT ซึ่งดูแล้วราวกับหลุดมาจากโลกอนาคต
AlterEgo เป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้งานได้โดยผู้ใช้เพียงแค่ อ่านออกเสียงในใจ (vocalizing internally) โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา หรือ แม้แต่ขยับเขยื้อนส่วนใดๆ ของร่างกาย
เมืองไทยเข้าสู่หน้าร้อนแล้ว หลายคนคงอดนึกถึงทะเลไม่ได้ ข่าวคราวเทคโนโลยีนี้ก็เกี่ยวกับทะเลเช่นกัน เป็นเรื่องของหุ่นยนต์ AUV (autonomous underwater vehicle) ที่มีรูปร่างหน้าตาและการเคลื่อนไหวเหมือนกับปลาจริงๆ หุ่นยนต์นี้มีชื่อว่า SoFi เป็นผลงานการพัฒนาโดยทีมวิจัยของห้องปฏิบัติการ CSAIL แห่ง MIT
ทีมวิจัยสร้าง SoFi ขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อการสำรวจระบบนิเวศใต้น้ำ โจทย์สำคัญที่แสนท้าทายของการสำรวจการใช้ชีวิตของสรรพสัตว์ใต้น้ำ ก็คือ จะทำอย่างไรถึงจะเข้าไปดูเหล่าปลาได้ใกล้ๆ โดยที่มันจะไม่ว่ายเผ่นหนีไปเสียก่อน ทางออกจึงกลายเป็นหุ่นยนต์ปลาที่จะว่ายเข้าไปหาปลาจริงได้แบบเนียนๆ โดยไม่ทำให้เกิดการแตกตื่น
Blognone เคยลงข่าวหุ่นยนต์เล่นรูบิคให้ได้ทึ่งกันมาแล้ว เมื่อเกือบ 8 ปีก่อนก็มีข่าวหุ่น Lego แก้รูบิคได้ ให้หลังจากนั้นปีนึงก็มีหุ่นยนต์ทำลายสถิติความเร็วในการแก้รูบิคของมนุษย์ได้สบายด้วยเวลา 5.35 วินาที รอบนี้มาดูผลงานจาก MIT ที่แก้รูบิคได้เร็วเสียจนนึกว่าเป็นมายากล
สถิติโลกของการแก้รูบิคขนาด 3x3x3 ด้วยหุ่นยนต์เมื่อปี 2016 ใช้เวลาไปแค่ 0.637 วินาที แน่นอนว่านั่นก็ถือเป็นความเร็วระดับที่น่าเหลือเชื่อแล้ว แต่ 2 นักศึกษาต่างสาขา Ben Katz และ Jared Di Carlo จาก MIT ที่มารู้จักกันในงานแฮคเกอร์ที่นักศึกษา MIT จัดขึ้นเป็นการภายใน เชื่อว่าพวกเขาสามารถสร้างสถิติที่เหนือกว่านั้นได้
นักวิจัยจาก MIT พัฒนาชุดทดสอบสารเคมีแบบใหม่ใส่กล่องพกพา โดยในกล่องดังกล่าวสามารถใส่ตัวอย่างเนื้อเยื่อแบบต่างๆ ใส่เข้าไปเพื่อทดสอบได้นับ 10 แบบ
ทีมวิจัยเรียกชุดอุปกรณ์นี้ว่า "physiome on a chip" มันมีลักษณะเป็นกล่องที่มีช่องเล็กๆ ไว้สำหรับใส่เนื้อเยื่อแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น ตับ, ปอด, สมอง, หัวใจ, ไต, ไส้, กระดูก และอวัยวะอื่นๆ ตามแต่ต้องการ ในช่องสำหรับใส่เนื้อเยื่อเหล่านั้นมีรูที่สามารถปั๊มของไหลให้ไหลเวียนผ่านเข้าออกแต่ละช่องได้ การปั๊มของไหลเป็นการจำลองกระแสเลือดที่เจือไปด้วยสารเคมีอันเป็นหัวข้อการทดสอบ ซึ่งอาจจะเป็นยา หรือวัคซีนต่างๆ ไหลเวียนผ่านเนื้อเยื่ออวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย โดยชุดอุปกรณ์นี้สามารถเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้เพื่อการทดสอบได้นาน 4 สัปดาห์
นักวิจัยจาก MIT และ Stanford ร่วมกันทำการทดสอบโปรแกรมวิเคราะห์ใบหน้าจาก 3 บริษัทใหญ่ พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ผลการทำงานที่ดีกับภาพใบหน้าผู้ชายเหนือกว่าภาพใบหน้าผู้หญิง ทั้งยังทำการวิเคราะห์ภาพใบหน้าคนผิวขาวได้ดีกว่าภาพใบหน้าคนผิวสีด้วย
ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบโปรแกรมวิเคราะห์ใบหน้าของ Microsoft, IBM และ Face++ โดยใช้ภาพใบหน้าบุคคลต่างๆ จำนวน 1,270 ภาพ ซึ่งทีมวิจัยได้ทำการคัดเลือกภาพใบหน้าของผู้คนที่มีสิผิวคล้ำแตกต่าง โดยปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการแบ่งภาพใบหน้าออกเป็น 6 กลุ่มตามความเข้มของสีผิว (อิงตามมาตรวัดโทนสีผิว Fitzpatrick) และได้ผลการทดสอบที่น่าสนใจดังนี้
Eric Schmidt อดีตประธานบอร์ดของ Alphabet ที่เพิ่งลงจากตำแหน่ง เข้าไปรับตำแหน่งด้านส่งเสริมนวัตกรรม (visiting innovation fellow) ที่สถาบัน MIT เป็นเวลาหนึ่งปี เขาจะรับหน้าที่ทำงานร่วมกับอาจารย์ใน MIT เผื่อผลักดันนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ ที่ไปไกลกว่าการประดิษฐ์ (invention) เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ๆ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่
Schmidt จะเข้าเป็นที่ปรึกษาให้โครงการ MIT Intelligence Quest ที่หน่วยงานของทั้งมหาวิทยาลัยจะร่วมกันค้นคว้าเรื่องปัญญาประดิษฐ์ และการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรด้วย
Tencent เผยรายงานสถานการณ์ AI ของโลกไปแล้ว คราวนี้ถึงตานิตยสาร MIT Technology Review กันบ้าง โดย MIT ระบุว่า AI มีความก้าวหน้าขึ้นมาก แต่ก็ยังไม่พร้อมจะใช้งานในระดับที่ความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ได้
Lamborghini เผยโครงการรถสร้าง Terzo Millennio ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ Lamborghini พัฒนาร่วมกับ MIT ชูจุดเด่นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแต่เป็นรถสปอร์ตที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แต่ยังมีการพัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ ที่จะใช้วัสดุโครงสร้างและตัวถังที่สามารถตรวจสอบรอยแตกร้าวของตัวเองได้ แถมยังทำหน้าที่สนับสนุนแบตเตอรี่โดยจะช่วยกักเก็บประจุไฟฟ้าได้ด้วย
Terzo Millennio เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า "สหัสวรรษที่สาม" ที่มันได้ชื่อนี้ก็เพราะผู้พัฒนาพยายามสื่อถึงความล้ำหน้าทางด้านงานออกแบบและงานวิศวกรรม โดยเฉพาะเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์เรื่องการสร้างคาร์บอนไฟเบอร์แบบพิเศษที่จะถูกนำมาใช้เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างและตัวถังของรถ
MIT รันโปรเจค Intrepid ด้วยการใช้สติ๊กเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ติดไว้ที่บราชุดชั้นในของผู้หญิงที่สวมใส่ เพื่อสามารถตรวจจับการถูกล่วงละเมิดทางเพศและสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังเพื่อนและครอบครัวของเหยื่อให้ช่วยเหลือได้แบบเรียลไทม์
จากงานวิจัยภายใต้โปรเจค Intrepid ระบุว่า ภายในห้วงเวลา 98 วินาที จะมีคนในสหรัฐฯ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และทุกๆ 16 ชั่วโมง ผู้หญิงจะถูกฆาตกรรมโดยคนรักของเธอหรือไม่ก็แฟนเก่า โปรเจคนี้จัดทำขึ้นมาก็เพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งรวมทั้งเด็ก คนสูงอายุ และคนพิการด้วย
อินเทอร์เน็ตยุคแรกๆ มีการแจกจ่ายไอพีกันค่อนข้างง่ายดาย บริษัทที่ร่วมทดสอบไอพีมักได้วง /8 หรือ /16กันได้โดยง่าย แต่เมื่อการเปลี่ยนไปยัง IPv6 ไม่สามารถทำได้รวดเร็วอย่างที่หวังกันไว้ ตอนนี้ไอพีก็กลายเป็นของมีค่า ทำให้ MIT ตัดสินใจตัดแบ่งไอพีวง 18.0.0.0/8 ออกขายแล้ว
การตัดสินใจนี้ทำให้ตัววง 18.0.0.0/8 ถูกโอนกลับไปยัง ARIN ที่บริหารไอพีในอเมริกาเหนือ และเริ่มแบ่งขายบางวงให้กับบริษัทต่างๆ เช่น 18.145.0.0/16 กลายเป็นของอเมซอน ขณะที่ 18.146.0.0/16 ยังอยู่กับ MIT เอง
สถาบัน MIT ทำแอพพลิเคชั่นเรียนรู้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศ ตัวแอพจะปรากฏต่อเมื่อผู้ใช้กำลังรอแอพพลิเคชั่นอื่นทำงาน รอสัญญาณไวไฟ รอเพื่อตอบกลับแชท รออีเมล รอลิฟต์ เป็นต้น
แอพพลิเคชั่นชื่อว่า WaitChatter ทำงานได้ทั้งบนเดสก์ทอปและมือถือ MIT บอกเหตุผลที่ทำแอพออกมาว่า ในชีวิตคนเราต้องมีการรออะไรบางอย่างอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำแอพออกมาเพื่อให้การรอใช้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างคำศัพท์ในภาษาอื่น
ระบบในแอพพลิเคชั่นจะตรวจหาโดยอัตโนมัติหากอุปกรณ์ของผู้ใช้อยู่ะหว่างมองหาการเชื่อมต่อ WiFi และสามารถตรวจจับ iBeacons Bluetooth ที่ระบุว่าผู้ใช้อยู่ใกล้ลิฟต์ จากนั้นตัวแอพจะปรากฏขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
เว็บไซต์ MIT Technology Review ชี้ประเด็นปัญหาใหม่ของโลก AI ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากเทคนิค Deep Learning คือ AI เก่งขึ้นมากจนผู้สร้างมันขึ้นมาก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่ามันทำงานได้อย่างไร
การเรียนรู้ของ AI ตามแนวทาง Deep Learning จะแบ่งงานย่อยๆ เป็นจำนวนมาก และทำงานหลายชั้นซ้อนกันเหมือนเส้นประสาทของมนุษย์ โดย AI จะเรียนรู้รูปแบบจากข้อมูลปริมาณมหาศาล แล้วสร้างโมเดลของตัวเองขึ้นมา ในยุคที่ AI ยังไม่ซับซ้อนมาก เราอาจเข้าใจโมเดลที่มันสร้างขึ้นได้ไม่ยากนัก แต่พอมาถึงยุคปัจจุบัน มนุษย์อาจเริ่มตามมันไม่ทันแล้ว
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สร้างรถสกูตเตอร์ขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ให้ผู้ใช้เดินทางในสนามบิน หรือแม้แต่ในห้าง โดยทาง MIT ร่วมมือกับนักวิจัยสิงคโปร์สร้างระบบในรถไร้คนขับ ที่นอกจากจะใส่ในรถยนต์ขนาดทั่วไปแล้ว ยังใส่ในยานพาหนะขนาดเล็กเช่นรถกอล์ฟ และสกูตเตอร์อีกด้วย
เบื้องต้นตัวสกูตเตอร์ทดลองใช้ภายในอาคารก่อน หากทดลองระบบจนเสถียรเต็มที่แล้ว จะขยายพื้นที่ให้วิ่งในสวน หรือลานจอดรถ การทดสอบมาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญสำหรับระบบโมดูลาร์ นักวิจัยใช้ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และยานพาหนะซึ่งเคยทำมาก่อนในรถกอล์ฟ หากอัลกอริทึมดีขึ้น มีการเรียนรู้ดีขึ้น ก็จะสามารถถ่ายโอนไปยังพาหนะอื่นได้ ซึ่งในที่นี้คือ สกูตเตอร์
ถึงแม้จะไม่ได้มีญาณวิเศษหยั่งรู้ ไม่ได้มีตาทิพย์ และพลังพิเศษแบบมนุษย์กลายพันธุ์หรือยอดมนุษย์จากดาวอันไกลโพ้น แต่นักวิจัย MIT และ Georgia Tech ก็อ่านข้อความในหนังสือได้โดยไม่ต้องเปิดมันออกมา เบื้องหลังของความน่าทึ่งนี้คือการทำงานด้านรังสีและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้านการวิเคราะห์ภาพอักขระ
การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อการ "ส่องผ่าน" วัตถุนั้นเป็นเรื่องที่มีการค้นพบและประยุกต์ใช้งานกันมานานเกินกว่าศตวรรษแล้ว คลื่นที่ใช้เพื่อการนี้อันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคงหนีไม่พ้นรังสี X ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี 1895 โดย Wilhelm Röntgen ซึ่งจนทุกวันนี้รังสี X ก็ยังถูกนำมาใช้เพื่อส่องดูสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเพราะถูกบางสิ่งบดบังอยู่ ทั้งที่ใช้เพื่อการแพทย์, งานด้านความมั่นคง, งานตรวจสอบซ่อมบำรุงสิ่งต่างๆ ตลอดจนงานค้นคว้าวิจัย
SolidEnergy ห้องแล็บพัฒนาแบตเตอรี่ของ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Lithium-metal ซึ่งสามารถจุไฟฟ้าได้มากกว่าแบตเตอรี่แบบ Lithium-ion ในปัจจุบันได้ถึง 2 เท่า
ประเด็นสำคัญของการจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อยู่ที่การเปลี่ยนวัสดุของแอโนด (anode) จากกราไฟต์ (graphite) มาเป็นฟอยล์ lithium-metal ซึ่งมีความบางกว่าและจุไอออนได้มากกว่า ทำให้แบตเตอรี่แบบ Lithium-metal สามารถให้พลังงานได้เทียบเท่า Lithium-ion ในไซส์เพียงครึ่งเดียว และให้พลังงานได้ถึง 2 เท่าในไซส์ที่เท่ากัน
MIT Media Lab ร่วมกับ Microsoft Research นำเสนองานวิจัย DuoSkin สติกเกอร์สำหรับลอกแปะบนผิวหนังที่ไม่ได้ใช้เพื่อประดับความงาม แต่สามารถใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำหน้าที่เป็นอินพุต, เอาท์พุต, หรือวงจรสื่อสารกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้
ตัวอย่างของการใช้งานเช่นการควบคุมโทรศัพท์มือถือด้วยปุ่มที่พิมพ์ไว้บนผิวหนัง, การเปลี่ยนสีภาพพิมพ์บนผิวหนังตามการควบคุมของโทรศัพท์มือถือ, หรือการสื่อสารด้วย NFC
งานวิจัย "DuoSkin: Rapidly Prototyping On-Skin User Interfaces Using Skin-Friendly Materials." นำเสนอในงานประชุมวิชาการ International Symposium on Wearable Computers 2016 เดือนกันยายนนี้
อุปกรณ์สำคัญของรถยนต์ไร้คนขับคือ LIDAR (light detection and ranging) เซ็นเซอร์วัดแสงที่มักติดอยู่บนหลังคารถยนต์ การทำงานของ LIDAR จะเหมือนกับเรดาร์ แต่มีความละเอียดสูงกว่า เพราะใช้วิธียิงแสงเลเซอร์ออกไปแล้ววัดการสะท้อนกลับมาว่าวัตถุนั่นอยู่ไกลแค่ไหน เพื่อนำข้อมูลไปสร้างโมเดล 3 มิติของสภาพแวดล้อมรอบตัวรถต่อไป
เรามักเห็น LIDAR เป็นวัตถุทรงกระบอกติดอยู่บนหลังคารถ เพราะต้องให้หมุนเพื่อกวาดจับแสดงสะท้อนจากทุกทิศทาง ปัญหาของ LIDAR ในปัจจุบันจึงเป็นทั้งขนาด น้ำหนัก และราคา ที่เริ่มต้นที่ 1,000 ดอลลาร์ไปจนถึง 70,000 ดอลลาร์
ห้องวิจัย Photonic Microsystems Group ของ MIT พยายามแก้ปัญหานี้ โดยเปลี่ยน LIDAR จากระบบกลไกมาเป็นชิป CMOS ซึ่งลดขนาดลงได้มากและลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้รถยนต์ไร้คนขับและหุ่นยนต์ต่างๆ ใช้เทคโนโลยี LIDAR ได้กว้างขวางขึ้น
ทีมวิจัย CSAIL แห่ง MIT ได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่ในชื่อ Interactive Dynamic Video ซึ่งเป็นเทคนิคเพิ่มลูกเล่นให้ภาพนิ่งที่ได้จากการถ่ายวิดีโอให้ตอบสนองทำปฏิสัมพันธ์กับการดึง-ดันวัตถุในภาพได้ โดยไม่ต้องทำการสร้างโมเดลกราฟิกแบบ 3 มิติใส่ลงในภาพนั้น
อธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น ผู้ใช้สามารถใช้เม้าส์เพื่อไกวเปลในภาพนิ่งให้แกว่งได้, ใช้เม้าส์เพื่อเขย่าต้นไม้ให้สั่นไหว หรือดันพุ่มไม้ให้ยกตัวขึ้นก็ได้เช่นกัน (ไม่ใช่ในลักษณะก้อนโพลีกอนที่มีพื้นผิวสีเขียวเหมือนต้นไม้ หากแต่มีการแสดงผลให้เห็นการสั่นไหวของแต่ละกิ่งก้าน แต่ละใบอย่างเป็นธรรมชาติ) หรืออีกตัวอย่างก็เช่นสามารถใช้เม้าส์ดันสะพานแขวนในภาพให้ไหวเอน ทำได้แม้กระทั่งกดวางวัตถุลงในภาพสะพานในบริเวณต่างๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ภาพสะพานแขวนยุบตัวลงได้ราวกับเป็นการตอบสนองของกราฟิก 3 มิติ