Massachusetts Institute of Technology
เมื่อวานนี้ นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และ Ecole Polythenique Federale de Lausanne จากสมาพันธรัฐสวิส ได้ประกาศเปิดตัวเครือข่ายนิรนาม (anonymity network) แบบใหม่ที่มีชื่อว่า "Riffle" และจะนำเสนอครั้งแรกที่งาน Privacy Enhancing Technologies Symposium ในเดือนนี้ โดยระบุว่าเครือข่ายนี้มีความปลอดภัยมากกว่า Tor ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
งานวิจัยของ MIT เกี่ยวกับโดรนนั้นมีมาต่อเนื่องหลายปี โดยกลุ่ม Robust Robotics Group แห่งห้องปฏิบัติการ CSAIL ของ MIT ในปัจจุบันได้พัฒนาโดรนให้มีขีดความสามารถในการบินเพิ่มมากขึ้น ด้านหนึ่งของงานนี้คือการพัฒนาความฉลาดของโดรนให้ใช้พลังงานลดน้อยลง อันจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ในการบินแต่ละครั้ง ซึ่งการทำ "แผนที่ลม" ก็เป็นเทคนิคหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่านี้
นักวิจัย MIT พัฒนาโซลาร์เซลล์ที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มากกว่าค่าขอบเขตทางทฤษฎีที่ตั้งไว้ว่าจะไม่สามารถแปลงพลังงานได้เกิน 33.7% โดยทีเด็ดสำคัญที่ทำให้โซลาร์เซลล์แบบใหม่ทำงานได้ดีเหนือกว่าทฤษฎีที่เคยมีมา คือการพัฒนาชิ้นส่วนที่ดูดซับพลังงานทุกรูปแบบของแสงอาทิตย์เอาไว้แล้วปล่อยแสงออกมาให้เหมาะกับโซลาร์เซลล์มากที่สุด
นักวิจัยจากทีม CSAIL แห่ง MIT ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์ Origami หุ่นยนต์ที่พับได้ (อันเป็นที่มาของชื่อของมัน) ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานในพื้นที่จำกัด ซึ่งหลังจากเริ่มนำออกแสดงในปี 2014 เป็นครั้งแรก ซึ่งตอนนี้หุ่นยนต์ Origami รุ่นล่าสุดที่มีนักวิจัยของ University of Sheffield และ Tokyo Institute of Technology มาช่วยพัฒนาด้วย ก็ได้รับการปรับปรุงจนกลายมาเป็นหุ่นยนต์เพื่อการปฏิบัติงานในร่างกายมนุษย์
นักวิจัย CSAIL แห่งสถาบัน MIT พัฒนาระบบ Wi-Fi ที่สามารถรับรู้ตำแหน่งของผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับมันอยู่ ที่ไม่ใช่แค่รู้ว่ามีกี่ชิ้น แต่มันสามารถรู้ตำแหน่งที่ชัดเจนได้ว่าห่างออกไปเท่าไหร่จาก access point ในทิศทางไหน ชื่อของโครงการวิจัยนี้คือ Chronos
Chronos ใช้วิธีจับเวลา "time-of-flight" ซึ่งหมายถึงระยะเวลาที่สัญญาณจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ถูกส่งมายังอุปกรณ์ Wi-Fi มันสามารถจับเวลาได้แม่นยำระดับที่ว่าค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนนั้นมีแค่เพียง 0.47 ns หรือไม่ถึงครึ่งของหนึ่งในพันล้านวินาทีเท่านั้น
เหล่าวิศวกรชีววิทยาแห่ง MIT ได้สร้างภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ด้วยการเขียนโปรแกรมดังกล่าว พวกเขาจะสามารถออกแบบวงจรรหัสพันธุกรรมให้แก่เซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อกำหนดลักษณะเฉพาะของเซลล์นั้นได้
ด้วยภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ ไม่ว่าใครก็สามารถออกแบบฟังก์ชั่นของเซลล์ได้ เช่น สั่งให้เซลล์ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและทำการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนด จากนั้นพวกเขาก็จะสร้างรหัสพันธุกรรมขึ้นมาตามโปรแกรมที่เขียนเอาไว้ ก่อนจะนำไปใส่ไว้ในเซลล์สิ่งมีชีวิต
สัญญาณไฟจราจรถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 โดยสัญญาณไฟจราจรถือเป็นอุปกรณ์ช่วยการจราจรตรงทางแยก แต่ในอนาคตที่รถยนต์กำลังจะไร้คนขับอย่างเต็มตัวแล้ว เทคโนโลยีที่ใช้มานับร้อยปีอาจต้องเปลี่ยนใหม่
นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจาก MIT ได้เสนอสัญญาณไฟจราจรยุคใหม่ ใช้วิธีการจัดตาราง (จากรายงานใช้คำว่า Slot-based Intersections หรือ SI) โดยใช้ทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เนื่องจากเมื่อรถกลายเป็นรถยนต์ไร้คนขับแล้ว การจะเปลี่ยนไปใช้ระบบจัดตารางการจราจรตรงทางแยกจึงเป็นไปได้ เพราะว่ารถยนต์แต่ละคันสามารถคุยกับคอมพิวเตอร์ หรือคุยกันระหว่างรถยนต์ได้ ฉะนั้นการจัดตารางก็จะให้รถยนต์คุยกับคอมพิวเตอร์
ทีมนักวิจัยของ MIT โชว์ผลงานการพัฒนา SensorTape เซ็นเซอร์วัดแสงและตรวจจับการเคลื่อนไหวออกแบบในรูปของเทปกาว เพื่อใช้สำหรับงานพัฒนาต่างๆ โดยผู้พัฒนาสามารถติดเซ็นเซอร์เข้ากับวัตถุหรือชิ้นงานอื่นได้โดยสะดวก
ทีมผู้พัฒนา SensorTape นั้นประกอบไปด้วย Artem Dementyev, Cindy Hsin-Liu Kao และ Joe Paradiso แห่ง MIT Media Lab โดยพวกเขาทำเทปกาว ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์และไฟ LED เพิ่มเข้าไป มันสามารถตรวจวัดแสงและรับรู้ถึงการโก่งบิดของตัวแถบเซ็นเซอร์เองได้โดยอาศัยเซ็นเซอร์วัดอัตราเร่งและไจโรสโคป เหล่าเซ็นเซอร์แต่ละหน่วยจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยอาศัยสารตัวนำไฟฟ้าที่ถูกพิมพ์ลงบนฟิล์ม
ที่งาน ISSCC ทีมวิจัยจาก MIT เสนอสถาปัตยกรรมซีพียู Eyeriss ที่ออกแบบมาเพื่อการจำลองเครือข่ายประสาทเทียมโดยเฉพาะ ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลแบบปัญญาประดิษฐ์ระดับสูงในชิปที่กินพลังงานต่ำได้
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้มักอาศัยการสื่อสารระหว่างซีพียูผ่านหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ แม้แต่ชิปกราฟิกที่มีคอร์ขนาดเล็กจำนวนมากๆ ก็ยังต้องสื่อสารผ่านหน่วยความจำหลักอยู่ดี แต่ Eyeriss เปิดช่องทางให้แต่ละคอร์มีหน่วยความจำขนาดเล็กเป็นของตัวเองและสื่อสารกันได้โดยตรงล้อรูปแบบมาจากการประมวลผลเครือข่ายประสาทเทียม ขณะที่ช่องทางการสื่อสารระหว่างคอร์ก็สามารถปรับแต่งเส้นทางได้
ที่งาน ISSC ปีนี้ ทีมวิจัยจาก MIT ร่วมกับ Texas Instruments (TI) สาธิตชิป RFID รุ่นใหม่ที่มีแหล่งพลังงานในตัวเพื่อประเด็นความปลอดภัย
RFID ที่มีแหล่งพลังงานในตัวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แนวคิดการออกแบบ RFID เช่นนี้มักใช้งานเพื่อการสื่อสารทางไกล เช่นการอ่านค่าจากระยะทางหลายๆ เมตร แต่ครั้งนี้ข้อเสนอมาจากงานวิจัยการโจมตีบัตร RFID ด้วยการตัดพลังงานอย่างแม่นยำ ทำให้บัตรหยุดเขียนข้อมูลลงไปยังหน่วยความจำได้
ทีมวิจัย CSAIL แห่งสถาบัน MIT ได้เผยแพร่คลิปแสดงความสามารถของอัลกอริทึมที่พัฒนามาสำหรับโดรน ทำให้มันสามารถบินผ่านพื้นที่ซึ่งมีสิ่งกีดขวางจำนวนมากได้อย่างแม่นยำ
นักวิจัยจาก MIT ได้พัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้สัญญาณ Wi-Fi เพื่อระบุตัวตนของมนุษย์ผ่านกำแพง โดยนักวิจัยได้สร้างอุปกรณ์ชื่อ RF-Capture ซึ่งจะปล่อยสัญญาณไร้สายเพื่อวิเคราะห์การสะท้อนกลับ และเพื่อดูว่ามีลักษณะเหมือนมนุษย์หรือไม่
แม้ในทางวิชาการ MIT (Massachusetts Institute of Technology) จะได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นเลิศอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก (QS World Ranking ของปี 2014/15 อยู่อันดับที่ 1 ในภาพรวม) แต่ในเชิงความปลอดภัยทางด้านไอที MIT กลับถูกบริษัทวิจัยด้านความปลอดภัย SecurityScorecard จัดลำดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบด้านความปลอดภัยสำหรับไอที ต่ำที่สุดในสหรัฐอเมริกา
ทีมวิจัยจาก MIT เตรียมนำเสนอระบบไฟล์ที่ทนทานต่อความเสียหายหากคอมพิวเตอร์แครชไปในเวลาใดๆ ก็ตามระหว่างการเขียนไฟล์
ก่อนหน้านี้ระบบไฟล์มีการออกแบบเพื่อให้ทนทานต่อการแครชของคอมพิวเตอร์ ที่อาจจะหยุดทำงานไปบางเวลา หรืออาจจะไฟดับไปกลางคัน ทีมงานระบุว่าการออกแบบก่อนหน้านี้อาจจะทนทานต่อการแครชในเวลาใดๆ แต่ไม่เคยมีใครพิสูจน์จริงๆ ว่าหากมีการแครชระหว่างการทำงานช่วงที่ไม่คาดคิด จะมีบางช่วงที่ระบบไฟล์เสียหายได้หรือไม่
วงการเครื่องพิมพ์สามมิติกำลังจะก้าวไปอีกขั้นแล้ว หลังจากทีมวิจัยของ MIT เพิ่งปล่อยผลงานวิจัยตัวใหม่ ว่าด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติที่รองรับการพิมพ์หลากหลายวัสดุในชื่อ MultiFab
เจ้าเครื่องพิมพ์สามมิติ MultiFab ที่ว่านี้เป็นผลงานของศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (CSAIL) ซึ่งรองรับการพิมพ์สามมิติหลากหลายวัสดุ มากถึง 10 ชนิดในเวลาเดียวกัน (เทียบกับเครื่องพิมพ์ในท้องตลาดที่ทำได้ราว 4 ชนิด) ยังพิมพ์ด้วยความละเอียดถึง 13 ไมครอน และใช้พิมพ์วัสดุได้หลากหลายตั้งแต่พลาสติก แก้ว หรือแม้กระทั่งแผ่นวงจรพิมพ์ และสายไฟ จึงสามารถใช้พิมพ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่แต่เดิมต้องพิมพ์แยกชิ้นมาประกอบภายหลัง เป็นการพิมพ์ครั้งเดียวได้เลย
ทีมวิจัย Mediated Matter จาก MIT ได้ปรับปรุงเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ จนสามารถสร้างงานพิมพ์โดยใช้แก้วเป็นวัสดุได้สำเร็จ พร้อมตั้งชื่อเทคนิคการพิมพ์นี้ว่า G3DP (Glass 3D Printing)
การพิมพ์ G3DP นี้จะใช้เนื้อแก้วที่ผ่านการหลอมละลายด้วยเตาเผามาก่อนแล้ว เติมลงสู่ถังพักของเครื่องพิมพ์ที่ออกแบบมาพิเศษทำจากเซรามิกฝังขดลวดทำความร้อนไว้ข้างใน เพื่อเลี้ยงเนื้อแก้วให้คงอุณหภูมิไว้ในช่วง 480 - 515 องศาเซลเซียส ส่วนหัวพิมพ์ซึ่งทำจากเซรามิกฝังขดลวดทำความร้อนไว้ข้างในเช่นกัน จะทำหน้าที่ฉีดขึ้นรูปชิ้นงานบนแท่นวางชิ้นงานที่อยู่บริเวณด้านล่างใต้หัวฉีด
งานวิจัยของ MIT ที่ได้รับความร่วมมือจาก Google อาจกลายเป็นหนึ่งฟีเจอร์สำคัญของกล้องและสมาร์ทโฟนในอนาคต ด้วยการใช้อัลกอริทึมของงานวิจัยนี้ ทำให้การถ่ายภาพหน้ารั้วตาข่าย หรือถ่ายวิวนอกห้องผ่านกระจกหน้าต่าง จะได้ภาพชัดที่ไม่ถูกบดบังด้วยภาพของรั้วหรือเงาสะท้อนในกระจกอีกต่อไป
ทีมวิจัยจาก MIT เสนอสถาปัตยกรรม BlueDBM สำหรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยแนวคิดว่าไม่ต้องเน้นการเพิ่มแรมเข้าไปมากๆ เหมือนแต่ก่อน
กรณีของข้อมูลสำหรับ BlueDBM เช่นการประมวลผลข้อมูลทวิตเตอร์ขนาด 5TB ถึง 20TB ที่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์นับร้อยตัว แต่ละตัวติดตั้งแรมจำนวนมากเพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่บนแรม ข้อเสนอของ BlueDBM เสนอให้ไปเน้นหน่วยความจำแบบแฟลชที่ประสิทธิภาพสูงแต่ยังมีราคาถูกและประหยัดไฟแทน
Software rot คือเหตุการณ์อันเนื่องมาจากโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ระบบปฏิบัติการ หรือฮาร์ดแวร์ที่ออกมาในช่วงนั้น เมื่อเวลาผ่านไป ระบบปฏิบัติการหรือฮาร์ดแวร์มีการพัฒนาและปรับปรุงใหม่ ทำให้โปรแกรมเดิมมีปัญหาเพราะไม่เข้ากันกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ ส่งผลให้โปรแกรมนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
นักพัฒนาต้องเลี่ยงเหตุการณ์นี้ด้วยการหมั่นทดสอบและอัพเดตซอฟต์แวร์ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นงานที่กินระยะเวลา MIT ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford, Adobe และ Google จึงได้วิจัยซอฟต์แวร์ชื่อว่า Helium เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเหล่านี้แทน
หากจะตอบคำถามข้างต้นว่าต้องเป็นคนที่เก่งพอจะเข้าไปทำงานวิจัยที่ MIT ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะวันนี้โปรแกรมที่แก้บั๊กด้วยตนเองได้เกิดขึ้นจริงแล้วจากฝีมือนักวิจัยของสถาบันแห่งนี้
แนวทางที่เหล่าโปรแกรมเมอร์ที่ MIT ร่วมกันพัฒนา คือโปรแกรมที่พวกเขาเรียกว่า CodePhage มันคือซอฟต์แวร์ที่จะตรวจหาจุดผิดในโค้ดที่ถูกเขียนขึ้น แล้วไปหยิบยกเอาโค้ดบางส่วนของโปรแกรมอื่น (ซึ่งมีทั้งบรรดาโปรแกรมแบบ open source และโปรแกรมที่มีผู้บริจาคมาให้เพื่องานพัฒนานี้โดยเฉพาะ) มาทำการ "ซ่อมแซม" จุดผิดพลาดเหล่านั้น
MIT Media Lab เปิดตัวงานวิจัย Enigma แพลตฟอร์มการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลไปประมวลผลบนเครื่องที่ไม่น่าเชื่อถือ และผู้ประมวลผลเองก็ไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลได้
แนวทางของ Enigma อาศัยการแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ และจะไม่มีใครสามารถถอดรหัสข้อมูลกลับออกมาได้หากไม่ได้รับข้อมูลครบทุกส่วน แต่ผู้ที่ได้รับข้อมูลบางส่วนนั้นกลับสามารถประมวลผลตามคำสั่งได้ กระบวนการนี้เรียกว่า secure multiparty computation
Apple ถูกฟ้องร้องฐานใช้ชิปที่ผลิตโดยใช้กระบวนการที่สงวนไว้ตามสิทธิบัตรที่มีการจดไว้ตั้งแต่ปี 1997 โดยเจ้าของสิทธิบัตรผู้ยื่นฟ้องในครั้งนี้ก็คือ MIT
MIT ได้ยื่นฟ้องที่ศาลใน Boston โดยระบุว่าผู้ผลิตชิป Micron Technology จาก Idaho นั้นผลิตชิป DRAM ให้ Apple โดยอาศัยเทคนิคการผลิตที่มีการตัดวัสดุด้วยเลเซอร์ ซึ่ง MIT อ้างว่าเทคนิคการผลิตชิปดังกล่าวนั้นได้รับความคุ้มครองตามสิทธิบัตรหมายเลข 6,057,221 ที่ MIT ถือครองอยู่ ซึ่งสิทธิบัตรนี้ถูกยื่นจดตั้งแต่ปี 1997 และได้รับการอนุมัติในปี 2000 ทั้งนี้ชื่อของผู้คิดค้นกระบวนการตัดชิ้นงานผลิตชิปด้วยเลเซอร์ตามที่ระบุในสิทธิบัตรนั้นก็คือ Joseph Bernstein และ Zhihui Duan
นักวิจัยของ MIT พัฒนาภาษาใหม่สำหรับการสร้างเว็บ ให้ชื่อว่า Ur/Web โดยรวมเอาเทคโนโลยีสำคัญสำหรับการพัฒนาเว็บมาไว้ด้วยกัน
MIT อวดผลงานวิจัยใหม่ที่จะสร้างประสบการณ์ใช้งานสมาร์ทโฟนร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างลงตัวแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
งานวิจัยนี้มีชื่อว่า THAW เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่สร้างมาเป็นชุดสำหรับทำงานบนคอมพิวเตอร์และบนสมาร์ทโฟนไปด้วยกัน ผู้ใช้สามารถนำเอาสมาร์ทโฟนไปทาบกับหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานหรือเล่นเกมได้ หน้าจอสมาร์ทโฟนจะแสดงผลกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของจอคอมพิวเตอร์ (โดยที่จอคอมพิวเตอร์ก็เป็นจอปกติทั่วไป ไม่ใช่จอสัมผัส)
แม้ข่าวนี้จะมาช้าไปหน่อย (ราว 2 สัปดาห์) แต่ก็ถือว่าควรค่าแก่การติดตาม กับผลงานการวิจัยจาก MIT เกี่ยวกับเทคนิคที่เรียกว่า Visual Microphone ซึ่งสามารถถอดรหัสเสียงจากคลิปวิดีโอที่ถ่ายภาพวัตถุในบริเวณที่มีเสียงนั้น
เราคงพอรู้จักเทคนิคการอ่านปากจากในหนังหรือตามข่าวต่างๆ ถึงความสามารถในการเข้าใจคำพูดของบุคคลได้โดยพิจารณาจากลักษณะริมฝีปากของผู้พูด และนั่นทำให้เรารู้ได้ว่าเขากำลังพูดว่าอะไรแม้ว่าในความจริงแล้วเราจะไม่ได้ยินเสียงพูดนั้น แต่ผลงานวิจัยของ MIT นั้นล้ำไปกว่านั้น เพราะอัลกอริธึมของงานวิจัยนี้สามารถรู้ถึงเสียงพูดได้โดยการวิเคราะห์การสั่นไหวของวัตถุซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น