MIH ผู้บริการอินเทอร์เน็ตในพม่ากลุ่มเดียวกับ UIH ในไทย เปิดตัวอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์บนโครงข่ายสื่อสารระดับ 100 Gbps ในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เตรียมโครงสร้างพื้นฐานรับการลงทุนจากต่างประเทศ
Facebook ประกาศแบนครั้งใหญ่ในพม่า หวังแก้ปัญหาข่าวปลอมและความเกลียดชัง ประกอบด้วย Facebook จำนวน 18 บัญชี, Instagram 1 บัญชี, เพจ 52 แห่ง ซึ่งมีคนติดตามรวมกันถึง 12 ล้านคน Facebook ยังระบุด้วยว่าได้แบนคนและองค์กรรวมกัน 20 ราย รวมถึงนายพลมินอองฮวายผู้บัญชาการกองกำลังทหาร และสถานีโทรทัศน์ Myawady ซึ่งเป็นของทหารด้วย
บัญชีและเพจที่ถูกแบนเป็นรายชื่อที่มีอยู่ในรายงานของ UN ซึ่งพบหลักฐานว่าบุคคลและองค์กรเหล่านี้ได้กระทำหรือทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในประเทศ และมีเพจ 46 เพจ และอีก 12 บัญชี ที่ Facebook พบว่าพวกเขาใช้เผยแพร่แหล่งข่าวอิสระและเพจแสดงความคิดเห็นสนับสนุนฝ่ายทหารด้วย
Facebook อัพเดตความเคลื่อนไหวต่อสถานการณ์ในพม่า ทำอะไรไปแล้วบ้างพร้อมระบุแนวทางดำเนินการในอนาคต Facebook ยอมรับว่าแก้ไขวิกฤตข่าวปลอมที่ส่งผลกระทบให้เกิดอาชญากรรมบนโลกจริงได้ช้ามาก และต้องรับผิดชอบเต็มที่ในฐานะที่คนพม่าใช้โซเชียลมีเดียเป็นอินเทอร์เน็ตสำหรับพวกเขา
กลุ่มเคลื่อนไหวในเมียนมาร์ ประกอบด้วย Phandeeyar ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ เขียนจดหมายเปิด วิจารณ์ Facebook ว่าปล่อยให้ข่าวปลอมใส่ร้ายชาวโรฮิงญาในพม่าอยู่บน Facebook โดยไม่แก้ปัญหาเท่าที่ควร
เพียงวันเดียวหลังกลุ่มเคลื่อนไหวเขียนจดหมายเผยแพร่ Mark Zuckerberg ก็เขียนอีเมลตอบกลับ โดยขอโทษที่ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าองค์กรของกลุ่มเคลื่อนไหวช่วยให้ Facebook เข้าใจสถานการณ์ในเมียนมาร์อย่างไร และยังบอกอีกว่านอกจากพัฒนาเทคโนโลยีแก้ปัญหาแล้วยังใช้คนมากขึ้นเพื่อดูแลปัญหานี้
ทางกลุ่มเคลื่อนไหวตอบกลับอีเมลของ Zuckerberg ระบุว่าขอบคุณที่ตอบกลับด้วยตัวเอง มันมีความหมายมากจริงๆ และยังถามข้อมูลเชิงลึกว่า Facebook มีการรายงานโพสต์ที่เป็นเท็จในเมียนมาร์กี่โพสต์, มีบัญชีผู้ใช้กี่รายที่ถูกรายงาน และมีกี่รายที่เป็นบัญชีปลอม, ในองค์กรมีผู้ที่เข้าใจภาษาเมียนมาร์กี่ราย และมีคนที่ทำหน้าที่ดูแลปัญหาในเมียนมาร์แบบเต็มเวลากี่ราย เป็นต้น
องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นได้เตือนว่า ตอนนี้แพลตฟอร์ม Facebook ได้เป็นตัวเร่งในการกระจาย hate speech และแนวคิดด้านความรุนแรงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ในเมียนมาร์ เนื่องจากตัวแพลตฟอร์มมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนในเมียนมาร์อย่างมาก โดยปัจจุบัน Facebook ถูกกลุ่มนักศาสนาพุทธที่มีแนวคิดชาตินิยมรุนแรงใช้ในการปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง และความเกลียดชังชาวโรฮิงญารวมถึงชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ
Marzuki Darusman ประธานฝ่ายที่ดูแลเรื่องเมียนมาร์โดยเฉพาะกล่าวว่า ปัจจุบันโซเชียลมีเดียนั้นได้มีบทบาทสำคัญมากในเมียนมาร์ โดยมีส่วนทั้งในความรุนแรงและความขัดแย้ง ซึ่งในกรณีของเมียนมาร์นั้นโซเชียลมีเดียคือ Facebook
โฆษก Facebook เผยกับ AFP ว่า ได้ลบเพจของพระวีรธุ พระชาวเมียนมาร์ที่ปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญาออกไปตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว
พระวีรธุเป็นพระสงฆ์ผู้นำทางจิตวิญญาณของขบวนการต่อต้านมุสลิมในพม่า สนับสนุนให้ส่งชาวมุสลิมไปยังประเทศอื่น พระวีรธุยังเคยถูกขนานนามว่าเป็น Buddhist Bin Laden ด้านเพจ Facebook ของพระวีรธุในระยะหลัง ถูกใช้เป็นอีกช่องทางในการโจมตีชาวมุสลิมหรือโรฮิงญาด้วย
ทางโฆษก Facebook ระบุเพิ่มเติมว่า "มาตรฐานชุมชนของเราคือ ห้ามองค์กรและผู้คนใน Facebook ส่งเสริมความเกลียดชังและความรุนแรงต่อผู้อื่น ซึ่งหากมีคนแชร์เนื้อหาเกลียดชัง ทาง Facebook จะเริ่มดำเนินการจากแบนชั่วคราว ไปจนถึงลบเพจออก"
Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มีคนใช้มากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน แม้จะมีฐานผู้ใช้ที่แข็งแกร่งแต่กลับไม่มีสำนักงาน Facebook ตั้งอยู่ เช่นในประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ หรือไทยก็มีเพียงสำนักงานเล็กๆ ทั้งที่ Facebook มีอิทธิพลมากถึงขนาดสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองหรือแม้กระทั่งจุดชนวนขัดแย้งได้ เจ้าหน้าที่รัฐยังใช้ Facebook เป็นหลักฐานสำคัญในการจับกุมนักเคลื่อนไหวนักกิจกรรมทางการเมือง ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าถึงเวลาหรือยังที่บริษัท Facebook จะเข้ามามีบทบาทการจัดการนโยบายมากกว่านี้ในอาเซียน
Grab ประกาศเข้าไปให้บริการในเมียนมาร์ตั้งแต่ต้นปี ก่อน Uber จะตามมาช่วงกลางปี ยิ่งทำให้การแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ล่าสุด Grab ประกาศลงทุนในเมียนมาร์เพิ่มเติมอีกราว 100 ล้านเหรียญในช่วงระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
Grab ที่ให้บริการเฉพาะในนครย่างกุ้งและเติบโตค่อนข้างเร็ว มีแผนจะขยายบริการไปเมืองอื่นๆ เพิ่มเติมที่มีอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น รวมถึงกำลังพิจารณานำฟีเจอร์ Grab for Work โซลูชันบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับลูกค้าฝั่งธุรกิจด้วย เช่นเดียวกับ Grab Pay ก็อยู่ในแผนเปิดตัวในเมียนมาร์เร็วๆ นี้
ผู้ใช้ Facebook ในพม่าไม่พอใจเมื่อ Facebook แบนผู้ใช้จำนวนหนึ่งชั่วคราว เนื่องจากใช้คำว่า "kalar" ที่มักถูกใช้เป็นคำสบถเวลาพูดถึงชนกลุ่มน้อยมุสลิมในพม่า ต่อผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ทางรัฐบาลพม่าได้ส่งอีเมลขอรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวไปยัง Facebook แล้วแต่ยังไม่ตอบอะไรกลับมา
ในประเทศพม่ามีปัญหาเรื่องอคติของคนนับถือศาสนาพุทธที่มีต่อคนนับถือศาสนาอิสลาม (ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในประเทศพม่า) อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยต่อการแบนคำว่า Kalar เพราะคำนี้เป็นคำใช้อ้างถึงชาวต่างชาติโดยทั่วไป แต่ในระยะหลังถูกใช้ในทางลบต่อกลุ่มมุสลิม
วันนี้ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า มีการเปิดตัว Uber เปิดให้บริการในประเทศพม่า โดยเริ่มให้บริการในย่างกุ้ง นอกจากนี้ รัฐบาลพม่ายังให้การต้อนรับอย่างดี
นายเพียว มิน เธียน มุขมนตรีประจำกรุงย่างกุ้งระบุว่า "ผมขอต้อนรับ Uber ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีร่วมเดินทางจากสหรัฐอเมริกา ที่ขยายพื้นที่ให้บริการไปทั่วโลก รวมทั้งยังเป็นศูนย์รวมของคนรุ่นใหม่ ผมเชื่อมั่นว่า Uber จะช่วยให้เมียนมาร์กลายเป็นตลาดที่น่าดึงดูดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านการให้บริการด้านความปลอดภัยและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการให้บริการจาก Uber จะเป็นก้าวสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมาร์และสหรัฐอเมริกา"
ด้านไมเคิล บราวน์ ผู้จัดการ Uber ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวขอบคุณรัฐบาลเมียนมาร์ "เราตื่นเต้นกับการเปิดบริการในเมียนมาร์ ซึ่งเมืองย่างกุ้งได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการรับและนำนวัตกรรม พร้อมทั้งยังออกกฎระเบียบรองรับอย่างเป็นรูปธรรม"
Grab ผู้ให้บริการแท็กซี่และพาหนะเรียกผ่านแอพ ประกาศเปิดตัวให้บริการที่ประเทศเมียนมาร์ นับเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลำดับที่ 7 ที่บริษัทนี้เข้าไปในดำเนินธุรกิจ ซึ่งตอนนี้เข้าไปเริ่มที่แท็กซี่กลุ่มเล็กๆ แล้วในนครย่างกุ้ง
ด้าน Uber ก็ประกาศในวันเดียวกันว่าจะเข้าไปดำเนินธุรกิจที่เมียนมาร์ในเร็วๆ นี้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศขาย Office 365 เพิ่มในอีก 10 ประเทศ ซึ่งรายชื่อประเทศชุดใหม่นี้มีเพื่อนบ้านของเรา 3 ประเทศคือ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา รวมอยู่ด้วย
ตอนนี้ Office 365 มีขายแล้วใน 150 ประเทศทั่วโลก และไมโครซอฟท์เตรียมขยายอีก 97 ประเทศในปีหน้า
ที่มา - Microsoft
ในงาน Digital Winners Asia ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา วันก่อนที่จะมีการประกาศผล มีโอกาสไปเยี่ยมชม Co-working Space ในเมืองย่างกุ้งชื่อว่า Phandeeyar (พาน-ดี-ยา)
วันที่ 1-2 พฤศจิกายน เทเลนอร์จัดงานประกวด Digital Winners Asia ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า มีสตาร์ทอัพเอเชียร่วมชิง 9 ทีม และทีมที่ชนะเป็นสตาร์ทอัพของไทยนี้เอง คือ TakeMeTour โดยสตาร์ทอัพที่ชนะจะได้รับเงินจากเทเลนอร์นำไปต่อยอดทางธุรกิจถึง 1 แสนนอร์วีเจียนโครน หรือประมาณ 4 แสนบาท
กูเกิลเปิดตัว Android One ในพม่าผ่านทางบริษัท Cherry Mobile ใช้ชื่อรุ่นว่า Cherry Mobile One มาพร้อมกับ Android 5.1.1
Cherry Mobile One เคยเปิดตัวไปก่อนหน้านี้แล้วในฟิลิปปินส์ ราคาเปิดตัวในพม่าคือ 109,000 จ๊าด หรือประมาณ 3,300 บาท
กูเกิลเพิ่มภาษาพม่าในอินเทอร์เฟซของ Gmail โดยถือเป็นภาษาที่ 74 ของ Gmail เพื่อรองรับประชากรที่พูดภาษาพม่าจำนวน 43 ล้านคนที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ
กูเกิลบอกว่าได้ตรวจสอบคุณภาพของการแปลภาษาพม่าเป็นอย่างดีกับคนพม่าจริงๆ เมื่อพร้อมแล้วก็ได้เวลาเปิดให้ใช้งาน (Google Translate รองรับการแปลภาษาพม่าตั้งแต่ปีที่แล้ว)
กูเกิลประกาศเพิ่มภาษาที่ Google Translate รองรับอีก 10 ภาษา โดยภาษาที่สำคัญคือภาษาพม่า (Burmese) ที่มีคนพูดภาษานี้มากถึง 33 ล้านคน กูเกิลบอกว่าพัฒนาภาษาพม่ามานานแล้ว แต่กว่าจะทำเสร็จก็ต้องใช้เวลานานเพราะเป็นภาษาที่ซับซ้อน ทั้งในแง่โครงสร้างภาษาและการเข้ารหัสฟอนต์ (font encoding) ที่มีหลายวิธี
ระบบของกูเกิลจะรองรับ encoding ภาษาพม่าหลายรูปแบบ แต่ตอนแปลกลับคืนจะออกมาเป็น Unicode เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ภาษาอื่นๆ ที่ Google Translate รองรับได้แก่ ภาษาสิงหล (ศรีลังกา), ภาษาตระกูลเอเชียกลาง (คาซัค-ทาจิก-อุซเบก) และภาษาอื่นๆ ในแถบแอฟริกา, อินโดนีเซีย, อินเดีย
ให้หลังจากการเปิดตัวประเทศของพม่าตั้งแต่ปี 2011 ได้เปลี่ยนผ่าน และยอมรับการเข้ามาของเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบริษัทวิจัยอย่าง On Device Research ได้เข้าไปสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพาของพม่า จนออกมาเป็นภาพรวมแบบคร่าวๆ ของผู้ใช้ในพม่าว่าตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว
จากการที่ราคาของซิม และแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตเริ่มถูกลง ทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และเกือบครึ่งของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเหล่านั้นยังใช้งานเฉพาะบนอุปกรณ์พกพาอย่างมือถือ และแท็บเล็ตเท่านั้นอีกด้วย
หลังจากที่ทางรัฐบาลพม่าเปิดให้ประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปเมื่อเดือนเมษายน มีกลุ่มบริษัทผู้สนใจร่วมประมูลกว่า 90 กลุ่ม ผ่านการคัดเลือกจนเหลือ 11 กลุ่ม ในวันนี้ก็ได้ 2 ผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อย ได้แก่ Telenor บริษัทโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ และ Ooredoo จากกาตาร์ (ชื่อเดิม Qatar Telecom)
กระทรวงการสื่อสารของพม่าระบุว่า ทั้งสองกลุ่มจะได้รับใบอนุญาตภายในเดือนกันยายนนี้ และต้องเปิดให้บริการภายใน 9 เดือนหลังจากได้รับใบอนุญาต โดยภายใน 5 ปีต้องให้บริการเสียงครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของประเทศ และบริการข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่ง
หลังจากที่ทางรัฐบาลพม่าเปิดให้ประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปเมื่อเดือนเมษายน มีกลุ่มบริษัทผู้สนใจร่วมประมูลกว่า 90 กลุ่ม ผ่านการคัดเลือกจนเหลือ 11 กลุ่ม ในวันนี้ก็ได้ 2 ผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อย ได้แก่ Telenor บริษัทโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์ และ Ooredoo จากกาตาร์ (ชื่อเดิม Qatar Telecom)
กระทรวงการสื่อสารของพม่าระบุว่า ทั้งสองกลุ่มจะได้รับใบอนุญาตภายในเดือนกันยายนนี้ และต้องเปิดให้บริการภายใน 9 เดือนหลังจากได้รับใบอนุญาต โดยภายใน 5 ปีต้องให้บริการเสียงครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ของประเทศ และบริการข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่ง
พม่าเริ่มกระบวนการเฟ้นหาและคัดเลือกกลุ่มโทรคมนาคม 2 กลุ่มที่จะเข้ามาสร้างและปรับปรุงระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของชาติ
กระบวนการนี้ดึงดูดความสนใจจากทั้งนักลงทุนและกลุ่มโทรคมนาคมชั้นนำทั่วโลก เนื่องจากระบบโทรคมนาคมของพม่ายังเป็นตลาดที่ยังไม่ได้รับการบุกเบิก อีกทั้งยังมีความน่าสนใจเนื่องจากพม่ามีจำนวนประชากรถึงประมาณ 60 ล้านคน ในขณะที่จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังมีต่ำกว่า 10 เปอร์เซนต์ รวมถึงมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงถึง 5.5 เปอร์เซนต์ต่อปี
นักวิเคราะห์ประเมินว่ามูลค่าตลาดโทรคมนาคมของพม่าอาจจะมีค่าสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพม่าได้เปิดให้ประมูลใบอนุญาตให้สร้าง, เป็นเจ้าของ และดำเนินงานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของพม่า 2 ฉบับ มีอายุใบอนุญาต 15 ปี
วันนี้ทางกูเกิลได้เปิด Google Search ภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งภาษาในหน้าแรกของการค้นหาแล้ว โดยทางกูเกิลนั้นได้นำเอาตัวอักษรตัวอย่างที่ชื่อว่า Myanmar 3 หรือ MM3 ซึ่งเป็นอักขระมาตรฐานสากล ที่สอดคล้องกับทุกโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ (Unicode-compliant) มาใช้กับหน้าแรกและระบบการค้นหาของ Google Search
พร้อมกันนี้ระบบ Google Search ภาษาพม่ายังสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในพม่าได้ด้วย อาทิ ภาษาม้ง, ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาบาลี, ภาษาปะหล่องรูไม และ ภาษาไทยใหญ่ เป็นต้น และถ้าใครอยากลองค้นหาในรูปแบบภาษาพม่าก็ลองเข้าไปที่ www.google.com.mm ได้เลย
สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีแป้นพิมพ์ภาษาพม่า ทางกูเกิลได้มีการใส่แป้นพิมพ์เสมือนไว้ในกล่องค้นหาเรียบร้อยแล้ว
หลังมีรายงานจากทาง The New York Times เกี่ยวกับประเด็นที่ว่านักข่าวที่ติดตามข่าวในประเทศพม่าหลายคนถูกแฮกอีเมลโดยมีการสนับสนุนจากทางรัฐบาลได้ไม่กี่วัน กูเกิลก็ออกมาเตือนนักข่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้แล้ว
ย้อนไปที่ประเด็นการแฮกอีเมลนักข่าว The New York Times ระบุว่านักข่าวที่เป็นเป้าหมายของการแฮคหลายคนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งของรัฐกะฉิ่นทางตอนเหนือของประเทศ ยกตัวอย่างเช่น Eleven Media และ The Voice Weekly ที่ช่วงหลังเริ่มมีบทความในหัวข้อหนักๆ ทำให้รัฐบาลทำงานกันอย่างอึดอัดมากขึ้น หลังจากที่พม่าเริ่มเบาความตรึงเครียดในการเซนเซอร์สื่อลงได้ไม่นาน
HTC เริ่มบุกตลาดพม่าอย่างเป็นทางการวันนี้ (14 ม.ค.) โดยเหตุผลส่วนหนึ่งของการบุกตลาดพม่า มาจากซีอีโอ Peter Chou ที่เป็นคนเชื้อชาติพม่า เกิดที่เมืองมัณฑเลย์ และรับการศึกษาชั้นต้นในพม่า ก่อนจะอพยพมายังไต้หวันเมื่อ 30 ปีก่อนและโอนสัญชาติเป็นไต้หวัน ในภายหลังเขาได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง HTC อีกด้วย
Chou บอกว่าอุปสรรคสำคัญของการใช้สมาร์ทโฟนในพม่าคือระบบปฏิบัติการ Android ยังไม่รองรับภาษาพม่ามาในตัว ผู้ใช้ต้องปรับแต่งเองผ่านการลงรอมซึ่งยุ่งยากและทำให้หมดระยะรับประกัน ทาง HTC จึงแก้ปัญหานี้โดยจับมือกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จากพม่า ปรับแต่ง Android โดยเพิ่มทั้งฟอนต์และคีย์บอร์ดภาษาพม่าเข้ามาด้วย
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเวอร์ชันปรับปรุงของบทความเดียวกันในไทยรัฐออนไลน์
ช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปเที่ยวประเทศพม่าหรือเมียนมาร์ เพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของเราที่กำลังเนื้อหอมมาก เลยถือโอกาสเก็บประเด็นในแง่สถานการณ์การใช้งานไอทีในพม่ามารายงานครับ
ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า ผมไปเที่ยวครั้งนี้ในฐานะ “ทัวริสต์” ไปกับทัวร์เต็มรูปแบบ ไม่ได้แบกเป้ไปเที่ยวเองแต่อย่างใด ดังนั้นข้อมูลที่ได้จึงมาจากการสังเกตป้ายโฆษณาตามท้องถนน และสอบถามจากไกด์ท้องถิ่นเป็นหลัก อาจจะไม่ถูกต้อง 100% กับสถานการณ์จริงในประเทศพม่า