Amazon ออกมาปฏิเสธข่าวลือเมื่อต้นสัปดาห์อย่างเป็นทางการ ที่ระบุว่าบริษัทอาจทำสวิตซ์เครือข่ายเอง เพื่อไว้ขายให้กับลูกค้าของ AWS
โฆษกของ Cisco ยืนยันว่า Chuck Robbins ซีอีโอของ Cisco และ Andy Jassy ซีอีโอของ AWS ได้มีการพูดคุยแล้ว โดยยืนยันว่า AWS ไม่สนใจผลิตสวิตซ์เครือข่ายขาย โดยทั้ง Cisco และ AWS นั้นเป็นทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจมายาวนาน ด้านโฆษกของ AWS ก็ยืนยันว่ามีการพูดคุยดังกล่าวเช่นกัน
ทั้งนี้บริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่นกูเกิล, Facebook ต่างมีการผลิตอุปกรณ์เครือข่ายเพื่อใช้กันเองภายในศูนย์ข้อมูลอยู่แล้ว แต่ไม่ได้นำออกมาจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไป เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เข้ากับการใช้งานของตนโดยเฉพาะ
The Information รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า Amazon กำลังพิจารณาผลิตอุปกรณ์สวิตซ์เครือข่ายเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าเอง เนื่องจากบริษัทมีความเข้าใจในธุรกิจอุปกรณ์ดังกล่าวมากขึ้น จากการเติบโตของคลาวด์ อีกทั้งการขายอุปกรณ์เครือข่ายเองเพื่อสนับสนุนผู้ใช้คลาวด์ AWS ก็ดูสอดคล้องดี
ถึงแม้แนวทางดังกล่าวอาจฟังดูเป็นไปได้ แต่นักวิเคราะห์จาก Nomura ก็มองว่าการที่ Amazon จะบุกตลาดอุปกรณ์เครือข่ายนั้นไม่ง่ายเสียทีเดียว โดยมีข้อมูลว่าบริษัทขนาดใหญ่ระดับ Fortune 500 นั้น มักไม่เลือกใช้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) จากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว ทำให้ Amazon ไม่ได้มีแต้มต่อเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับผู้จำหน่ายอุปกรณ์รายอื่นอย่างเช่น Cisco
สัปดาห์ที่ผ่านมา Cisco จัดงานสัมมนาประจำปี Cisco Live! 2018 มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากงานปี 2017 ที่เน้นให้วิศวกรเครือข่ายหัดเขียนโปรแกรม
ประกาศสำคัญในงานคือแพลตฟอร์ม Cisco DNA Center (ชื่อเรียก Software-Defined Networking หรือ SDN ของ Cisco) เปิด API ให้เรียกใช้งานแล้วกว่า 100 ตัว โดยมีบริษัทพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น ServiceNow, Accenture โชว์เดโมการเข้ามาเชื่อมต่อ API ของ Cisco ในแง่ต่างๆ
Cisco บอกว่าในโลกของ OS บนคอมพิวเตอร์หรือมือถือ เปิดให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาสร้างแอพกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในโลกของเครือข่ายเป็นระบบปิดมาโดยตลอด ตอนนี้ถึงเวลาเปลี่ยนมันเป็นระบบเปิดสักที
Microsoft เปิดตัวฟีเจอร์ Accelerated Networking อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ทดสอบแบบเบต้ามากว่าปีครึ่ง โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ใช้คลาวด์ Microsoft Azure สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้เร็วสุด 30Gbps
สัปดาห์ที่ผ่านมา Cisco จัดงานประจำปี Cisco Live 2017 โดยเปิดตัววิสัยทัศน์ใหม่ Intent-based Networking ระบบเครือข่ายแห่งอนาคตที่ฉลาดขึ้น นำเทคนิค big data, machine learning เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนคอนฟิกของเครือข่ายให้เหมาะสมกับทราฟฟิกตลอดเวลา
Cisco ระบุว่าสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบใหม่ จำเป็นต้องใช้ทักษะใหม่ๆ ในการจัดการ โดยเป้าหมายของ Cisco คือคนสองกลุ่ม
Cloudflare ผู้ให้บริการ CDN รายใหญ่ซึ่งได้มาทำ peering ในไทยไว้กับ JasTel ตั้งแต่เมื่อกลางปีที่แล้วนั้น ที่ผ่านมาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนัก เนื่องจากแทนที่การเข้าใช้งานจากในไทยจะจบในไทยดังที่มุ่งหวังไว้ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการในไทยกลับต้องวิ่งไปจบที่ปลายทางที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงแทน ซึ่งทำให้มีข้อเสียในเรื่องของการที่ต้องใช้แบนด์วิธต่างประเทศ ซึ่งก็มักจะมีราคาแพงกว่าแบนด์วิธในประเทศอยู่หลายเท่าตัว โดยเฉพาะสำหรับลูกค้าองค์กรที่ใช้บริการอย่าง Leased Line หรือ MPLS หรือ MetroNet
ชะตากรรมของ Avaya บริษัท IP phone ที่เคยยิ่งใหญ่ แต่สุดท้ายต้องขอล้มละลายเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการหลังล้มละลาย Avaya ประกาศว่าขายธุรกิจด้านเครือข่าย (Networking) ได้แก่สวิตช์, อุปกรณ์ไร้สาย, SDN ให้กับ Extreme Networks, Inc. ผู้ยื่นประมูลสูงสุดในราคาประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ กระบวนการซื้อขายหน่วยธุรกิจจะผ่านการดูแลของศาลล้มละลายสหรัฐ ตามกฎหมายล้มละลาย
หลังขายธุรกิจเครือข่ายแล้ว Avaya จะยังเหลือธุรกิจด้านโทรศัพท์ (Unified Communications) และคอลล์เซ็นเตอร์ (Contact Center) ที่จะเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ ปรับโครงสร้างบริษัทให้พ้นสภาพล้มละลายต่อไป
Amazon Web Services เดินหน้าสนับสนุน IPv6 อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศว่าเครื่อง EC2 ที่รันอยู่บนบริการ Virtual Private Clouds (VPC) รองรับการใช้ IPv6 แล้ว
ก่อนหน้านี้ AWS รองรับ IPv6 บนบริการสตอเรจ S3, CloudFront, Route 53 มาแล้ว การรองรับ IPv6 บน EC2 และ VPC ย่อมช่วยให้การใช้งานแพร่หลายมากขึ้น
รูปแบบการทำงานของ IPv6 ของ AWS จะเป็น dual-stack นั่นคือหนึ่ง instance จะมีทั้ง IPv4 และ IPv6 ไปพร้อมกัน เพื่อให้ทำงานเข้ากันได้กับระบบเดิม
ตอนนี้ IPv6 บน EC2 เริ่มใช้ได้ในเขต US East (Ohio) เป็นที่แรก และจะค่อยๆ ขยายไปยังเขตอื่นในภายหลัง
ที่มา - AWS Blog
เมื่อวานนี้ Google ปล่อยส่วนเสริม Network File Share for Chrome OS ให้กับระบบปฏิบัติการ Chrome OS ทำให้ Chrome OS สามารถเข้าถึงไฟล์ที่แชร์อยู่บนเครือข่ายผ่านโปรโตคอล SMB (Server Message Block) ได้โดยง่าย พร้อมเปิดโค้ดเอาไว้บน GitHub ให้กับนักพัฒนาด้วย
ส่วนเสริมดังกล่าวใช้ API ของระบบที่มีชื่อว่า File System Provider ทำให้ตัวระบบปฏิบัติการสามารถเข้าถึงไฟล์จากเครือข่ายได้ทันที แบบเดียวกับที่เข้าถึง Google Drive ได้ (ผู้ใช้ที่น่าจะได้ประโยชน์ที่สุดจากส่วนเสริมนี้ น่าจะเป็นผู้ใช้ในองค์กร หรือไม่ก็คนที่มีระบบเก็บข้อมูลภายในบ้านแบบไร้สายอย่างพวก NAS) โดยในคำบรรยายของส่วนเสริมระบุว่าพอร์ตมาจากไคลเอนต์ของ Samba
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559 มีการเผยแพร่เอกสารผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คเรื่องที่ประชุมสภาวิศวกรกำลังพิจารณาให้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร จากแต่เดิมที่ดูแลเฉพาะงานด้าน analog ให้ดูแลงานด้าน digital ด้วย ทำให้อนาคตงานสื่อสารคอมพิวเตอร์ จะต้องได้รับการควบคุมงานจากวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
ลักษณะงานที่จะได้รับผลกระทบจากประกาศฉบับนี้ เช่น งานให้คำปรึกษา งานจัดวางแผนโครงการ งานออกแบบ งานติดตั้ง ซ่อมบำรุง รื้อถอน และงานตรวจรับระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยจะต้องมีวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารที่ขึ้นทะเบียนสภาวิศวกรเป็นผู้ควบคุมงานด้วย
ตั้งแต่กูเกิลเข้ามาเล่นในตลาดเราเตอร์ด้วยการเปิดตัว OnHub เราเตอร์ใช้ง่ายแต่ทรงพลัง ก็นับเป็นการเปิดตลาดเราเตอร์แนวใหม่ไปในตัว และตอนนี้ก็มีคู่แข่งมาร่วมวงบ้างแล้วในชื่อ Luma
Luma เป็นทั้งชื่อของเราเตอร์ และระบบจัดการเครือข่าย โดยความสามารถหลักๆ คือสามารถขยายการครอบคลุมของเครือข่าย และตรวจสอบอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพื่อเร่งกำลังส่งไปยังอุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ใช้การขยายสัญญาณผ่านเราเตอร์หลายเครื่องแทน โดยทาง Luma เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า "Surround WiFi" พร้อมทั้งระบบจัดการความปลอดภัย และควบคุมเด็กอย่างง่ายมาด้วย
กูเกิลร่วมมือกับ TP-Link เปิดตัวเราเตอร์ทรงกระบอกในชื่อ OnHub ซึ่งโฟกัสที่ความง่ายในการใช้งานและมีประสิทธิภาพสูง โดยผู้ใช้จะเซ็ตอัพและควบคุมมันด้วยแอพชื่อ Google On แอพตัวนี้จะบอกข้อมูลได้หลากหลาย เช่นขนาดแบนด์วิดท์ที่ใช้งานอยู่ หรือจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเวลานั้น กูเกิลบอกว่าด้วยความที่มันเป็นทรงกระบอกทำให้สัญญาณที่ปล่อยออกมาสามารถทะลุทะลวงกำแพงได้ดีขึ้น อีกทั้งยังมีเสาอากาศภายในถึง 13 เสาเลยทีเดียว
สำหรับสเปกมีดังนี้
Canonical เปิดตัวระบบเครือข่ายแบบใหม่ในชื่อ Fan สำหรับใช้งานกับคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ มันทำให้เครื่องคอนเทนเนอร์สามารถใช้หมายเลขไอพีในวงขนาดใหญ่ เช่น 10.0.0.0/8 ขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงอยู่ในเน็ตเวิร์คที่เล็กกว่า เช่น 172.16.0.0/16
ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลเป็นเรื่องที่กูเกิลปิดเป็นความลับมาโดยตลอดว่ามีสถาปัตยกรรมภายในอย่างไรบ้าง แม้จะมีการบรรยายเป็นครั้งๆ แต่ก็ไม่ลงรายละเอียดมากนัก ที่งาน Open Network Summit ปีนี้กูเกิลบรรยายถึงการออกแบบระบบเครือข่ายในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง เรียกว่า Google Jupiter Superblock
กูเกิลระบุว่า Jupiter เป็นระบบเครือข่ายรุ่นที่ 5 ของกูเกิลนับแต่เริ่มออกแบบระบบเครือข่ายของตัวเองเมื่อสิบปีก่อน โดย Jupiter fabric มีความสามารถในการส่งข้อมูลถึง 1 เพตาบิตต่อวินาที
ช่วงนี้มีเรื่องเป็นที่ชวนฉงนสงสัยของใครหลายคนที่ใช้ Internet บ้านของ True เหตุใดบางครั้ง มันถึงช้าจนใช้งานไม่ได้ แถมมาเจาะจงเป็นเฉพาะกับบริการของ Google
และ ถ้าเจาะจงมากกว่านั้น ทำไมมันมีปัญหากับเฉพาะ Google Chrome
บางคนได้ถามไปทางผู้ให้บริการแล้วได้คำตอบที่ไม่แน่ชัด แต่ละคนก็มีทฤษฎีตีความกันไปต่างๆ นาๆ แต่คนที่สรุปได้ว่าเป็นเพราะอะไร ไม่ได้ออกมาอธิบายให้รู้ทั่วกัน แถมตัวปัญหาก็ไม่ได้ใหญ่โตเกินแก้ เป็นไปได้หรือไม่ว่า วิศวกรผู้รับผิดชอบของบริษัทดังกล่าว จนบัดนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
ทุกวันนี้ผู้ใช้ส่วนใหญ่น่าจะพบปัญหาการใช้งาน Wi-Fi กันเกือบหมด ตั้งแต่แกะกล่องมาแล้วเซ็ทอัพไม่เป็น, สัญญาณ Wi-Fi อ่อน, มีจุดอับสัญญาณ, พอสัญญาณอ่อนแล้วทำให้ความเร็วตกลงมาก, อยู่ๆ ก็เข้าเว็บไม่ได้ ต้องไปดึงปลั๊กเสียบใหม่ ฯลฯ แต่ตอนนี้มีบริษัทหน้าใหม่เปิดตัวไวร์เลสเราเตอร์ในชื่อ eero (อีโร) ที่สัญญาว่าทุกปัญหาในการใช้งาน Wi-Fi จะหมดไป!
ซิสโก้เพิ่งแถลงผลประกอบการประจำไตรมาสไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และผลออกมาไม่ดีนักเมื่อกำไรในบัญชีแบบ GAAP ลดลงถึง 54.5% ทั้งที่รายได้ลดลงไม่มากนัก ปรากฎว่าเงินจำนวนถึง 655 ล้านดอลลาร์เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากหน่วยความจำจากซัพพลายเออร์รายหนึ่งเสียหายมากกว่าปกติ กระทบสินค้าที่ขายไปในช่วงปี 2005-2010
หน่วยความจำมีอายุการใช้งานและมีโอกาสเสียหายเมื่อใช้งานไปเวลานานเป็นเรื่องปกติ บางครั้งเมื่อเสียหายจะไม่สามารถเปิดกลับมาใช้งานได้หลังปิดเครื่อง แต่สินค้าจำนวนหนึ่งกลับเสียหายด้วยอัตราผิดปกติ ทำให้ผู้บริหารซิสโก้ตัดสินใจเข้าาจัดการปัญหานี้แม้สินค้าส่วนใหญ่จะหมดประกันไปแล้วก็ตาม
โครงการ Open Compute Project ที่นำโดยเฟซบุ๊กเพื่อสร้างฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางที่มีประสิทธิภาพสูง ตอนนี้หันมาบุกตลาดอุปกรณ์เครือข่ายโดยเริ่มจากสวิตซ์สำหรับติดตั้งบนตู้เซิร์ฟเวอร์ (top-of-rack switch)
สวิตซ์ตามมาตรฐานจะแบ่งเป็นสองส่วนได้แก่ตัวฮาร์ดแวร์ Open Network Switch, และซอฟต์แวร์ Open Network Install Environment (ONIE)
ในฝั่งฮาร์ดแวร์ตอนนี้มีผู้ผลิตสองรายออกมารองรับมาตรฐานแล้วได้แก่
ซิสโก้ส่งอีเมลแจ้งคู่ค้ากว่าพันรายในภูมิภาค EMEA (ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) ว่าจะหยุดขายสินค้าและบริการให้กับคู่ค้าเหล่านี้ เนื่องจากถูกใส่ชื่อในรายการ "Denied Partner List" (DNP) ทำให้คู่ค้าเหล่านี้ไม่สามารถสั่งสินค้าเพิ่มเติม หรือเปิดการใช้งานซัพพอร์ตกับทางซิสโก้ได้อีกต่อไป
ซิสโก้ประกาศเปิดตัวชุดเราท์เตอร์ Network Convergence System (NCS) ขึ้นใหม่ เสริมกับชุดเราท์เตอร์เดิมอย่าง Aggregation Services Router (ASR) และ Carrier Routing System (CRS) โดยวางให้เป็นเราท์เตอร์เพื่อเชื่อมต่อทุกอย่างเข้ากับอินเทอร์เน็ต (Internet of Everything)
ความสามารถของ NCS คือการโปรแกรมและให้บริการแบบเสมือน เพื่อรองรับความต้องการไปใช้งาน Software Defined Network (SDN) และ Network Function Virtualization (NFV) ภายในใช้ชิปประมวลผลเน็ตเวิร์ค nPower X1 แบบเดียวกับที่ใช้ใน CRS-X ให้ประสิทธิภาพรวมระดับเพตาบิต สามารถทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์ UCS เพื่อการโยกย้ายทรัพยากรไปมาได้อย่างรวดเร็ว และทำงานแบบเสมือนทำให้สามารถขยายทรัพยากรทั้งเน็ตเวิร์คและการประมวลผลไปได้พร้อมกัน
ข่าวลือจากสำนักข่าว Bloomberg ระบุว่าซิสโก้กำลังจ้างธนาคาร Barclays เพื่อจัดการขายกิจการส่วนของ Linksys ที่เน้นสินค้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและอุปกรณ์สำหรับผู้ใช้ตามบ้านออกไป
ซิสโก้เข้าซื้อแบรนด์ Linksys มาตั้งแต่ปี 2003 ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าซิสโก้จะฆ่า "แบรนด์" ไปเฉยๆ (แต่ยังขายสินค้าต่อ) แต่แม้ทุกวันนี้โลโก้ของซิสโก้บนสินค้า Linksys จะชัดเจนขึ้น แต่แบรนด์ก็ยังคงอยู่
ข่าวลือนี้ไม่ใช่รอบแรก ปีที่แล้วก็มีข่าวลือเดียวกันว่าซิสโก้จะขาย Linksys พร้อมๆ กับ WebEx หลังจากไม่ประสบความสำเร็จกับสินค้าสำหรับผู้ใช้ตามบ้านอย่าง Flip
แนวการการกำหนดพฤติกรรมเน็ตเวิร์คด้วยซอฟต์แวร์ หรือ Software Defined Network (SDN) ด้วยแพลตฟอร์มเปิด เช่น OpenFlow นั้นกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ทางซิสโก้ก็กระโดดลงตลาดนี้แล้ว ในชื่อแพลตฟอร์ม Open Network Environment (ONE)
โดยหลักแล้ว Cisco ONE คือการเปิด API ให้กับ IOS, IOS-XR, และ NX-OS ให้นักพัฒนาสามารถเข้าไปจัดการการทำงานได้ลึกกว่าปกติ โดยชุดพัฒนานั้นมีชื่อว่า ONE platfrom kit หรือ ONEpk รองรับภาษา C, Java, และ Python
นอกจาก API ของตัวเองแล้วซิสโก้ยังสัญญาว่าจะสร้าง OpenFlow agent สำหรับ Catalyst 3750-X และ 3560-X ด้วยแม้จะเป็นเพียงตัวทดสอบเท่านั้นก็ตาม
เบต้าจะออกปลายปีนี้ บริษัทเน็ตเวิร์คอาจจะต้องเตรียมโปรแกรมเมอร์กันจริงๆ ก็งานนี้
Ubiquiti Networks บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไร้สายชื่อดัง มีสินค้าที่น่าสนใจและขายดีอยู่หลายตัว ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (WISPs) ในบ้านเรา (อาทิ Winet (TOT), 3BB Hotspot (3BB), Airnet (AIS) น่าจะรู้จักกันดีไม่แพ้ผู้ผลิตรายอื่น อย่าง Cisco, Motorola, Wavion, Proxim เป็นต้น
เราจะได้เห็น Juniper ค่ายผู้ผลิตอุปกรณ์เน็ตเวิร์กรายใหญ่คู่แข่งของ Cisco เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สนับสนุนโปรเจ็กต์ Stratus ของตัวเอง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์คอมพิวติงในปีหน้าแน่นอน อันประกอบด้วยสวิตช์และเราเตอร์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันในรูปของ Virtual Chassis
Juniper ได้ร่วมมือกับ IBM พัฒนาโครงการ Stratus เพื่อยุบรวม switching fabric ระดับต่างๆ ไว้ในฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความล่าช้าในการส่งข้อมูลบนระบบคลาวด์
Juniper นั้นแม้จะมีชื่ออยู่พอตัวในกลุ่มสินค้าเราท์เตอร์แกน (Core Router) แต่ด้วยขนาดบริษัทแล้ว ความครบของสินค้าก็ยังขาดเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างซิสโก้อยู่พอตัว ล่าสุด Juniper ก็เข้าซื้อ Trapeze Networks ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายระดับองค์กรมาเสริมให้ครบช่วงแล้ว
ก่อนหน้านี้ Juniper มีเพียง AX411 ที่เป็น Access Point เป็นสินค้าในกลุ่มเครือข่ายแลนไร้สายเพียงตัวเดียว แต่สินค้าจาก Trapeze Networks นั้นมีความสามารถในการจัดการช่องสัญญาณได้ดีขึ้น ตลอดจนเทคโนโลยี mesh
การซื้อขายครั้งนี้มีมูลค่า 152 ล้านดอลลาร์ ไม่แพงนักหาก Juniper สามารถทำตลาดได้ดี เพราะบริษัทวิจัยอย่าง Dell'Oro Group คาดว่าตลาดนี้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2014