Huawei เปิดตัว NestOS ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ขนาดเล็กสำหรับรันบนคลาวด์ โดยอิงอยู่บน OpenEuler/EulerOS ดิสโทรลินุกซ์ของ Huawei (ซึ่งอิงมาจาก CentOS อีกที)
Huawei เรียก NestOS ว่าเป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็ก (minimal) ที่อัพเดตตัวเองอัตโนมัติ เน้นใช้งานบนคอนเทนเนอร์ ลักษณะคล้ายๆ Fedora CoreOS, SUSE Micro, AWS Bottlerocket, VMware Photon OS เป็นต้น
โครงการโอเพนซอร์สจำนวนมากอยู่บน GitHub และการที่ GitHub มีฐานนักพัฒนาจำนวนมาก ทำให้การส่งแพตช์เข้าร่วมโครงการทำได้ง่ายขึ้น แต่ในมุมกลับ นักพัฒนาผู้ดูแลโครงการก็เจอปัญหาการสแปม pull request จากนักพัฒนาที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
GitHub เลยออกฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ดูแลโครงการสามารถกำหนดผู้ใช้ที่สิทธิ code review (สั่งอนุมัติ pull request) ได้แบบเจาะจงบุคคล เพื่อจำกัดเฉพาะคนที่ไว้วางใจได้ เป็นผู้ตรวจสอบโค้ดที่มีคนส่งเข้ามา
หน้าจอตั้งค่านี้ กำหนดได้ตาม repository ที่ต้องการ หรือเป็นจะทุก repository ขององค์กรก็ได้เช่นกัน
สัปดาห์ที่ผ่านมาชุมชน .NET เกิดดราม่าขนาดกลางๆ ขึ้นเมื่อไมโครซอฟท์รับ pull request หมายเลข 22217 เข้ามายัง .NET SDK รุ่นโอเพนซอร์ส เป็นการถอนฟีเจอร์ Hot Reload ออกไปโดยระบุเหตุผลว่าฟีเจอร์นี้จะรองรับเฉพาะผู้ใช้ Visual Studio 2022 เท่านั้น และวันนี้ไมโครซอฟท์ก็ยอมถอย ใส่ฟีเจอร์กลับเข้ามาใหม่พร้อมเขียนบล็อกขอโทษชุมชน
แนวทางนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ถูกโจมตีอย่างหนักว่าไม่ได้สนใจจะทำให้ .NET เป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับนักพัฒนาจริงๆ แต่มุ่งจะขาย Visual Studio เท่านั้น
หลังจากเมื่อหลายปีก่อน ทาง Alibaba ได้เปิดตัวชิปเซ็ต Xuantie 910 ของตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาสงครามการค้ากับสหรัฐ
ล่าสุดจากงาน Apsara Conference 2021 ของ Alibaba Cloud ที่ผ่านมา ทาง Alibaba โดย Zhang Jianfeng ผู้อำนวยการ Alibaba Cloud Intelligence ได้ประกาศโอเพนซอร์ซชิป Xuantie ซึ่งเป็นชิปบนสถาปัตยกรรม RISC-V ของตัวเองออกมา ได้แก่ชิป Xuantie E902, E906, C906 และ C910 ที่สามารถรัน Android ได้ รวมไปถึงซอฟต์แวร์และเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับสถาปัตยกรรม RISC-V
จากข่าว Donald Trump เปิดตัวโซเชียลของตัวเองชื่อ Truth Social โดยมีหน้าตาเหมือนกับทวิตเตอร์ ถึงแม้ตัวบริการยังไม่เปิดใช้งานในตอนนี้ แต่มีคนลองไปแกะหน้าเว็บดูแล้วพบว่าเป็นการนำโค้ดของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Mastodon มาใช้งาน
Mastodon เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่เขียนเพื่อสร้างบริการ microblogging ลักษณะเดียวกับทวิตเตอร์ เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2016 โดยผู้ที่สนใจสามารถนำโค้ดไปรันบนเซิร์ฟเวอร์เพื่อเปิดบริการโซเชียลของตัวเองได้
นอกจาก GitHub และ GitLab ที่คุ้นชื่อกัน ยังมีบริษัทที่ชื่อขึ้นต้นด้วย Git อีกรายคือ Gitpod เป็นสตาร์ตอัพหน้าใหม่จากเยอรมนีที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2020
สิ่งที่ Gitpod ทำคือการสร้าง developer environment บนคลาวด์ที่พร้อมให้นักพัฒนาเรียกใช้งานแบบรีโมทในทันที ไม่ต้องเสียเวลามาเซ็ตสภาพแวดล้อม ติดตั้งโมดูลซอฟต์แวร์ หรือรอสั่งคอมไพล์ ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ GitHub Codespaces ที่เปิดตัวในปีที่แล้วเช่นกัน
โครงการ Electron ที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเดสก์ทอปประกาศหยุดพักโครงการ (quiet month) ในเดือนธันวาคมนี้เพื่อให้นักพัมนาได้พักผ่อนเต็มที่ ทำให้เดือนธันวานี้ จะไม่มีการออกเวอร์ชั่นใหม่ไม่ว่าจะเป็นเบต้าหรือเวอร์ชั่นเสถียร, ไม่รับ pull request, ไม่ตอบ issue, ไม่มีนักพัฒนาช่วย debug ใน Discord, และช่องทางโซเชียลไม่มีอัพเดต
ทางโครงการยืนยันว่าโครงการยังอยู่ แต่อยากให้ผู้ดูแลโครงการได้พักผ่อนเต็มที่ และเดือนธันวาคมหลายบริษัทก็มีแนวทางลดงานช่วงนี้อยู่แล้ว การที่โครงการโอเพนซอร์สพักไปเหมือนกันทำให้ผู้ร่วมโครงการได้พักผ่อนเต็มที่ และทาง Electron สนับสนุนให้โครงการโอเพนซอร์สอื่นๆ ทำตามด้วย
Huawei ใช้เวทีงานสัมมนา Huawei Connect เปิดตัวระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์ชื่อ OpenEuler
OpenEuler ไม่ใช่โครงการใหม่หมด เพราะเป็นการนำดิสโทรลินุกซ์ EulerOS ของ Huawei เอง (ตัวมันดัดแปลงมาจาก CentOS) มาโอเพนซอร์สบน GitHub ได้สักระยะหนึ่งแล้ว (ออกปีละสองครั้ง ใช้เลขเวอร์ชันเป็น 21.09 แบบเดียวกับ Ubuntu) แต่เพิ่งได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการบนเวทีใหญ่ของบริษัท
เมื่อปี 2018 Oracle ประกาศนโยบายหยุดออกแพตช์ฟรีให้ Oracle JDK ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ อยากได้ต้องเสียเงินสมัครสมาชิก Oracle Java SE Subscription เท่านั้น
ประกาศของ Oracle ทำให้ผู้ใช้ Java เหลือทางเลือกแค่ 2 ทางคือ ใช้ OpenJDK เวอร์ชันฟรี แต่อัพเดตสั้น หรือเสียเงินให้ Oracle เท่านั้น ช่องว่างนี้จึงมีบริษัทอื่นๆ เข้ามาออกอัพเดต Java ให้ฟรีหลายราย เช่น Red Hat, Amazon หรือแม้แต่ Microsoft
ลินุกซ์ มีอายุครบ 30 ปีในวันนี้ (25 สิงหาคม 2021) หลัง Linus Torvalds นักศึกษาชาวฟินแลนด์ โพสต์ข้อความเปิดตัวลินุกซ์ในบอร์ด comp.os.minix
ตอนแรก ลินุกซ์เป็นแค่โครงการส่วนตัวของ Torvalds เท่านั้น (เจ้าตัวเขียนเล่าเรื่องไว้ในหนังสือ Just for Fun ในปี 2002 ซึ่งมีฉบับแปลเป็นภาษาไทยด้วย) แต่ด้วยพลังของโลกโอเพนซอร์สก็ผลักดันให้ลินุกซ์กลายเป็นระบบปฏิบัติการสำคัญของโลกอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้
Grafana Labs บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แดชบอร์ด Grafana และ Prometheus ประกาศระดมทุน Series C มูลค่า 220 ล้านดอลลาร์ ตอนนี้มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์แล้ว
Grafana เพิ่งระดมทุน Series A ในปี 2019 และ Series B ในปี 2020 มูลค่าบริษัทเพิ่มถึง 10 เท่าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานเกือบ 500 คนใน 40 ประเทศทั่วโลก
การระดมทุนรอบนี้ทำให้ Grafana ประกาศ "อัพเกรด" แพ็กเกจการใช้งานแบบฟรี เพิ่มจำนวนแดชบอร์ดเป็น 3 อัน, ปริมาณสตอเรจเก็บ log เพิ่มอีก 50GB และขยายเมทริก Prometeus เพิ่มเป็น 10,000 ซีรีส์
AlmaLinux โครงการทดแทน CentOS หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบาย ประกาศว่าได้รับการสปอนเซอร์จากจากไมโครซอฟท์ เพื่อกระจายการใช้งานไปยังลูกค้า Azure
ไมโครซอฟท์ได้นำอิมเมจของ AlmaLinux ขึ้นบน Azure Marketplace และตั้งเครือข่าย mirror สำหรับแจกจ่ายไฟล์อัพเดตและแพ็กเกจของ AlmaLinux สำหรับผู้ใช้ Azure ทั่วโลก โดยทีมงาน AlmaLinux ยังเป็นผู้อัพเดตและซัพพอร์ตอิมเมจที่อยู่บน Azure โดยตรง
Debian 11.0 โค้ดเนม "Bullseye" (ตุ๊กตาม้าใน Toy Story) เข้าสถานะเสถียรหลังพัฒนามานาน 2 ปีกว่า ระบบปฏิบัติการจะใช้ได้นาน 5 ปี
ของใหม่ใน Debian 11 คือเป็น Debian รุ่นแรกที่รองรับระบบไฟล์ exFAT ที่ใช้ใน SD card, รองรับเครื่องพิมพ์ผ่านโปรโตคอล IPP-over-USB
แพ็กเกจซอฟต์แวร์ของ Debian 11 ก็ปรับให้ใหม่ขึ้น ฝั่งเดสก์ท็อปมีให้เลือกหลากหลาย Gnome 3.38, KDE Plasma 5.20, LXDE 11, MATE 1.24, Xfce 4.16 แพ็กเกจซอฟต์แวร์อื่นได้แก่ GIMP 2.10.22, Inkscape 1.0.2, LibreOffice 7.0, PHP 7.4 เป็นต้น
บริษัทไอทีรายใหญ่ 5 บริษัท ได้แก่ Facebook, Google, Isovalent, Microsoft, และ Netflix ประกาศตั้ง eBPF Foundation ภายใต้ Linux Foundation เพื่อดูแลการพัฒนาของโครงการ eBPF โมดูลสำหรับการตรวจสอบค่าภายในของเคอร์เนล
eBPF เป็นโมดูลอเนกประสงค์ที่ใส่ไว้ในเคอร์เนลลินุกซ์ตั้งแต่ปี 2014 ความพิเศษคือมันเป็นโมดูลที่รับโค้ดจากภายนอกเข้าไปรันในเคอร์เนลเพื่อเก็บค่าต่างๆ เพื่อให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นมองเห็นการทำงาน แทนที่ต้องรอให้เคอร์เนลแสดงค่าบางส่วนออกมาทางช่องทางต่างๆ เพื่อให้ระดับ userspace เห็นตามความจำเป็น การเปิดช่องทาง eBPF ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ๆ เพื่อสังเกตการทำงานในระดับเคอร์เนลอย่างละเอียด
อินเทลมีสินค้าชิ้นสำคัญในสายซอฟต์แวร์คือ Intel C++ Compiler ที่รีดประสิทธิภาพซีพียูได้ดีกว่าคอมไพล์เลอร์โอเพนซอร์สทั่วไป แต่ปีนี้อินเทลก็เตรียมย้ายเอนจินภายในของคอมไพล์เลอร์นี้ไปใช้ LLVM แทนแล้ว
LLVM เป็นโครงการที่มีโครงการย่อยๆ อยู่จำนวนมาก เช่น คอมไพล์เลอร์ภาษา C++ นั้นมีโครงการ Clang เป็นตัวคอมไพล์ภาษา (frontend) อยู่ โดยอินเทลจะพัฒนาให้ LLVM สามารถออปติไมซ์โค้ดได้ดีขึ้น โดยโค้ดส่วนหนึ่งจะส่งกลับเข้าโครงการ LLVM แต่บางส่วนจะเก็บไว้กับคอมไพล์เลอร์ Intel oneAPI เท่านั้น
หลังจาก AWS ประกาศแยกโครงการ OpenSearch ออกจาก Elasticsearch โดยใช้ซอร์สโค้ดที่เป็นไลเซนส์แบบ Apache 2.0 มาพัฒนาต่อ ทั้งสองฝั่งก็เริ่มมีฟีเจอร์ต่างกันไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีไคลเอนต์ที่ใช้ฟีเจอร์พื้นฐานส่วนมากก็ยังเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้ทั้งสองตัว แต่เดือนที่ผ่านมา Elastic ก็เพิ่มโค้ดตรวจสอบว่าเชื่อมต่อกับ Elasticsearch จริงหรือไม่ ทำให้ไคลเอนต์ที่เคยเชื่อมต่อกับ OpenSearch ได้กลับใช้งานไม่ได้เมื่ออัพเดตไลบรารี
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของแพ็กเกจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ที่ถูกใช้เป็น dependency ในโครงการต่างๆ กลายเป็นจุดสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวเก่าของ npm และ PyPI)
ล่าสุด GitLab ออกเครื่องมือตัวใหม่ชื่อ Package Hunter ช่วยสแกนหาช่องโหว่ความปลอดภัยของแพ็กเกจที่ใช้งานในโปรเจค
วิธีทำงานของ Package Hunter คือลองติดตั้งแพ็กเกจที่เราเรียกใช้จริงๆ ในสภาพแวดล้อม sandbox แล้วเฝ้าระวังดูว่ามีการเรียก system call อะไรบ้าง (การสแกนระบบใช้ Falco) ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะแพ็กเกจของ Node.js และ Ruby Gems
CNCF องค์กรผู้ดูแลโครงการโอเพนซอร์สที่เกี่ยวข้องกับ Kubernetes รายงานถึงการสำรวจอัตราการพัฒนาซอฟต์แวร์โครงการต่างๆ ภายใต้ความดูแลของ CNCF โดยสำรวจจากมิติของอัตราการ commit, อัตราการส่ง pull request (PR), และจำนวนนักพัฒนาที่เข้าร่วมในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา
โครงการหลักของ CNCF คือ Kubernetes นั้นนำห่างในทุกมิติ โดยอัตราการพัฒนาเข้าใกล้ลินุกซ์ มีนักพัฒนาร่วมพัฒนาประมาณ 4,300 คนแต่จำนวน commit และ PR ยังน้อยกว่ามาก
Odoo บริษัทด้านซอฟต์แวร์ ERP/CRM โอเพนซอร์สจากประเทศเบลเยียม ประกาศข่าวการเข้ามาซื้อหุ้นมูลค่า 180 ล้านยูโรจาก Summit Partners ทำให้มูลค่ารวมของบริษัทตอนนี้อยู่ในระดับยูนิคอร์น (เกิน 1 พันล้านดอลลาร์) แล้ว
ธุรกรรมรอบนี้เป็น Summit Partners เข้ามาซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม (ด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นจนเป็นยูนิคอร์น) โดยไม่ได้ระดมทุนเข้าบริษัทเพิ่ม ซึ่ง Odoo ให้เหตุผลว่าไม่ได้ต้องการเงินเพิ่ม เนื่องจากบริษัทมีกำไร มีกระแสเงินสดเหลือเฟือ และมีอัตราการเติบโตปีละ 60%
Apache Cassandra ฐานข้อมูล big data / NoSQL ออกเวอร์ชัน 4.0 ซึ่งเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบ 6 ปี (เวอร์ชัน 3.0 ออกปี 2015)
ของใหม่ใน Cassandra 4.0 ได้แก่
Linkerd ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างบริการแบบ service mesh เลื่อนสถานะของโครงการภายใต้ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) สู่ระดับ Graduated ที่แสดงว่าโครงการมีกระบวนการชัดเจน มีกระบวนการเปิดกว้างต่อชุมชนภายนอก
เงื่อนไขของการเข้าสู่สถานะ Graduated ของ CNCF จะต้องมี committer จากองค์กรอย่างน้อยสององค์กร มีกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยโค้ดเป็นระยะ และมีการใช้งานเป็นวงกว้างโดยองค์กรที่ใช้งานเปิดเผยตัวชัดเจน พร้อมกับได้รับการยอมรับจากกรรมการของ CNCF ด้วยเสียงโหวตแบบ supermajority
AIS Business ประกาศความร่วมมือกับ IBM Thailand เปิดบริการ Open Source Support Service ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับลูกค้าองค์กรในไทย
บริการนี้เป็นการให้คำปรึกษาด้านโอเพนซอร์สในภาพรวม ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ระบุชื่อคือ MongoDB, Kubernetes, Red Hat OpenShift ซึ่งไม่น่าแปลกใจนัก เพราะ IBM ยุคใหม่มี OpenShift เป็นศูนย์กลาง
ผมสอบถามไปยัง AIS ได้ข้อมูลว่าบริการนี้จะซัพพอร์ตลูกค้าในไทย บนคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้คลาวด์ของ AIS แต่ AIS จะถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ในประเทศรายแรกที่มีบริการให้คำปรึกษาด้านโอเพนซอร์สเต็มรูปแบบ
OpenSearch โครงการที่ AWS แยกตัวมาจาก Elasticsearch ออกเวอร์ชัน 1.0 ถือว่ามีสถานะเป็น general availability (GA) พร้อมใช้งานจริงในโปรดักชัน
OpenSearch เป็นการ fork โครงการ Elasticsearch 7.10.2 กับ Kibana 7.10.2 มาพัฒนาเอง หลังจาก Elastic บริษัทผู้พัฒนา Elasticsearch ตัดสินใจเปลี่ยนไลเซนส์เมื่อต้นปี 2021 เพราะมองว่าบริษัทคลาวด์นำซอฟต์แวร์เหล่านี้ไปใช้งานฟรีๆ ทำให้ Elastic ไม่สามารถทำรายได้เท่าที่ควร
การเปลี่ยนแปลงใน OpenSearch 1.0 คือเริ่มถอดโค้ดที่เป็นเชิงพาณิชย์ (proprietary) ออก, เพิ่มการรองรับสถาปัตยกรรม ARM64 for Linux
mitmproxy พรอกซี่สำหรับแสดงข้อมูลการเชื่อมต่อเว็บแบบเข้ารหัส ออกเวอร์ชั่น 7.0 รองรับโปรโตคอลใหม่ๆ เช่น HTTP/2, WebSocket และการเชื่อมต่อ TCP เปล่าๆ ไม่เข้ารหัส
ในเวอร์ชั่นนี้ไคลเอนต์เช่นเบราว์เซอร์สามารถเชื่อมต่อแบบ HTTP/2 เข้าไปยัง mitmproxy หลังจากนั้น mitmproxy จะส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์แบบ HTTP/1
จุดแก้ไขสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการรองรับ WSL โดยเวอร์ชั่นนี้สามารถแสดงหน้าจอคอนโซลบนวินโดวส์ได้ถูกต้องแล้ว
ที่มา - mitmproxy
ไมโครซอฟท์เปิดซอร์สโค้ดดิสโทรลินุกซ์ที่ใช้ภายในบริษัท CBL-Mariner (CBL ย่อมาจาก Common Base Linux) ซึ่งปัจจุบันถูกใช้งานอยู่บน Azure
CBL-Mariner เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่ออกแบบมาสำหรับงานคลาวด์และ edge computing ใช้ได้ทั้งภายในคอนเทนเนอร์และเป็นโฮสต์ แนวทางการออกแบบเน้นแกน OS ขนาดเล็ก ต้องการแรมและดิสก์น้อย บูตเร็ว แล้วสามารถเพิ่มแพ็กเกจที่ต้องการ (เป็น RPM) ในตอนสร้างอิมเมจ
ไมโครซอฟท์บอกว่าได้แรงบันดาลใจจาก Linux from Scratch และใช้ไฟล์ SPEC สำหรับสร้างแพ็กเกจมาจาก Fedora กับโครงการ Photon OS ของ VMware