กูเกิลโอเพนซอร์สไลบรารีเรียงลำดับข้อมูล (sorting) ที่ใช้ชุดคำสั่งแบบเวคเตอร์ในซีพียู ทำให้ไลบรารีทำงานได้เร็วขึ้น 9-19 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ std::sort
ในภาษา C++
ชุดคำสั่งแบบเวคเตอร์เป็นชุดคำสั่งที่ซีพียูประสิทธิภาพยุคใหม่ๆ อิมพลีเมนต์กันเป็นส่วนมาก และการเขียนฟังก์ชั่นเรียงลำดับข้อมูลด้วยชุดคำสั่งประเภทนี้ก็มีการศึกษามาระยะหนึ่งแล้วว่าใช้เร่งความเร็วได้ แต่โค้ดของกูเกิลในครั้งนี้มีความพิเศษคือมันรองรับซีพียูหลากหลายรุ่น รวม 3 สถาปัตยกรรม รองรับชุดคำสั่งเวคเตอร์ 6 รูปแบบ โดยอาศัยไลบรารี Highway ของกูเกิลเองเพื่อทำให้โค้ดที่ใช้คำสั่งแบบเวคเตอร์นี้พอร์ตข้ามสถาปัตยกรรมได้
Ubuntu ประกาศเปลี่ยน text editor ของระบบปฏิบัติการ จากของเดิม Gedit ที่ใช้มานานตั้งแต่ Ubuntu เวอร์ชันแรก มาเป็น GNOME Text Editor ตัวใหม่ของโครงการ GNOME
GNOME เพิ่งเปลี่ยน text editor ในเวอร์ชันล่าสุดคือ GNOME 42 และดิสโทรอื่นคือ Fedora 36 เริ่มนำมาใช้ก่อนแล้ว กรณีของ Ubuntu เวอร์ชันล่าสุด 22.04 LTS ใช้ GNOME 42 เหมือนกัน แต่ยังคงแพ็กเกจ Gedit ไว้เป็นดีฟอลต์อยู่ ในเวอร์ชันถัดไป Ubuntu 22.10 จะย้ายมาใช้ GNOME Text Editor แทน
AlmaLinux โครงการลินุกซ์ทดแทน CentOS ที่เคยเป็นเวอร์ชั่นฟรีของ RHEL ประกาศออกเวอร์ชั่น 9.0 ตามหลัง RHEL 9 เพียง 2 สัปดาห์ นับว่าเป็นโครงการที่เร็วที่สุดในบรรดาโครงการที่ประกาศตัวทดสอบ CentOS โดยโครงการซัพพอร์ตแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ใกล้เคียงกับโครงการต้นน้ำคือ RHEL
Gitee บริการเก็บซอร์สโค้ดแบบเดียวกับ GitHub ประกาศล็อก repository สาธารณะให้กลายเป็นแบบปิดทั้งหมดชั่วคราว และขอตรวจสอบเนื้อหาใหม่หมดก่อนจะค่อยๆ เปิดมาทีละส่วนอีกครั้ง
ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนเคยประกาศเลือก Gitee เป็นแพลตฟอร์มโอเพนซอร์สของรัฐบาล ตอนนี้มีผู้ใช้กว่า 8 ล้านคน และโครงการบนแพลตฟอร์มกว่า 20 ล้านโครงการ
ส่วนประกอบต่างๆ ใน Kubernetes นั้นที่ผ่านมามักมีการอิมพลีเมนต์จากหลายค่ายมาแข่งกัน เช่น Ingress ที่มีเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายค่ายสร้างมาให้ถอดเปลี่ยนกันได้ แต่ใน Gateway API ที่กำลังพัฒนา โครงการใหญ่ 3 โครงการ คือ Envoy, Contour, และ Emissary ก็เตรียมร่วมมือกันพัฒนา Envoy Gateway ตัวเดียว
Gateway API จะเทียบเคียงกับ Ingress หรือ Load Balancer ที่ใช้งานกันอยู่ตอนนี้ แต่ปรับแต่งแยกส่วนกันได้มากขึ้น ตัว Gateway สามารถควบคุมนโยบายการเชื่อมต่อ ขณะที่แบ่งส่วนต่างๆ เป็น Route ให้ทีมพัฒนาแอปแต่ละส่วนควบคุมอิสระ โดยสามารถแยกกันคนละ namespace ในคลัสเตอร์ได้ ทำให้แบ่งสิทธิ์กันชัดเจน
Google Cloud เปิดโครงการ Assured Open Source Software (Assured OSS) ดูแลความปลอดภัยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้จากซอร์สโค้ดจนถึงแพ็กเกจพร้อมติดตั้ง โดยคาดว่าช่วงแรกจะเริ่มกับแพ็กเกจบางส่วนของจาวาและไพธอนก่อน
ซอฟต์แวร์ที่เข้าโครงการนี้จะถูกสแกนหาและวิเคราะห์ช่องโหว่, รัน fuzz-test เพื่อหาบั๊ก กระบวนการคอมไพล์เป็นแพ็กเกจต้องรันบน Cloud Build จากนั้นแพ็กเกจที่ได้จะถูกเซ็นดิจิทัลโดยกูเกิลและแจกจ่ายผ่านบริการ Artifact Registry
มูลนิธิด้านโอเพนซอร์ส 2 แห่งคือ Linux Foundation และ Open Source Software Security Foundation (OpenSSF) ประกาศแผน 10 ข้อเพื่อยกระดับความปลอดภัยของวงการโอเพนซอร์ส และป้องกันปัญหา supply chain attack ในอนาคต
เมื่อปีที่แล้ว กูเกิลมีโครงการชื่อ Open Source Insights สแกนซอร์สโค้ดในโครงการโอเพนซอร์สยอดนิยมจำนวนมาก (เช่น npm, PyPI, Go, Maven, Cargo) เพื่อมาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงในแง่มุมต่างๆ
ประเด็นหนึ่งที่ถูกจับตามองอย่างมากในโลกโอเพนซอร์สคือ supply chain security ช่องโหว่ความปลอดภัยในแพ็กเกจยอดนิยม ที่อาจส่งผลสะเทือนต่อซอฟต์แวร์จำนวนมาก (เช่น กรณีของ log4j) การสแกนซอร์สโค้ดย่อมเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้โอกาสค้นพบช่องโหว่มากขึ้น
บริษัท Meta ประกาศยกโครงการ Jest เฟรมเวิร์คสำหรับรันทดสอบจาวาสคริปต์ ให้เป็นของมูลนิธิ OpenJS Foundation
Jest ถือเป็นเฟรมเวิร์คสำหรับรันทดสอบยอดนิยมตัวหนึ่ง มียอดดาวน์โหลดสัปดาห์ละ 17 ล้านครั้ง ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ปี 2011 ในชื่อว่า "jst" โดยใช้กับฟีเจอร์ Facebook Chat (ในขณะนั้นยังไม่เรียก Messenger) ที่ถูกเขียนใหม่เป็นจาวาสคริปต์ แต่บริษัทพบว่าไม่มีเฟรมเวิร์คสำหรับจาวาสคริปต์ที่ดีพอ จึงสร้างขึ้นมาเอง
Stripe ผู้ให้บริการรับจ่ายเงินออนไลน์ประกาศโอเพนซอร์สโครงการ Markdoc ส่วนขยายของ Markdown ที่ Stripe สร้างไว้ใช้งานภายใน
จุดเด่นของ Markdoc คือรองรับเอกสาร Markdown ตามปกติ แต่เปิดให้สร้างแท็กเพิ่มเติมได้เอง โดยแท็กที่ Markdoc เพิ่มเติมมาให้แต่แรก ได้แก่
ผู้ใช้ลินุกซ์หลายๆ คนอาจจะรอคอยให้ NVIDIA เปิดซอร์สของไดรเวอร์ GPU บนลินุกซ์สักที วันนี้ ความฝันได้เข้าใกล้ความจริงอีกขั้น เมื่อ NVIDIA เริ่มปล่อยซอร์สของไดรเวอร์ GPU ของตัวเองในฝั่งเคอร์เนลแล้ว
โค้ดดังกล่าวมาพร้อมกับไดรเวอร์รุ่น R515 (ยังเป็นเบต้าอยู่) และยังไม่รวมถึงโค้ดในฝั่ง userspace ที่จะยังปิดซอร์สต่อไป ไดรเวอร์ฝั่งเคอร์เนลตัวใหม่นี้สามารถใช้ร่วมกับจีพียูตระกูล Turing เป็นต้นไป (นั่นคือตั้งแต่ GTX 16xx และ RTX 20xx) เนื่องจากไดรเวอร์ใช้ GPU System Processor (GSP) ซึ่งเป็นชิปใหม่ที่รับผิดชอบการเริ่มการทำงานและการบริหารจัดการจีพียู
หลายคนอาจลืมโปรแกรมอีเมล Thunderbird กันไปแล้ว เพราะเงียบไปมากในช่วงหลัง แต่ล่าสุด Ryan Lee Sipes ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Thunderbird เปิดเผยว่ากำลังพัฒนาแอพบนมือถืออยู่ ซึ่งจะเริ่มจาก Android ก่อน ส่วน iOS อาจจะตามมาใน 1-2 ปีหลังจากนี้
ตอนนี้ยังไม่มีหน้าตาของ Thunderbird for Android ออกมาให้เห็น โดย Sipes ใช้คำว่า "Mobile app is coming soon." และขยายความว่าแอพมือถือมีความสำคัญเป็นอันดับสอง รองจากการปรับ UI ของ Thunderbird บนเดสก์ท็อปให้ใช้ง่ายขึ้น
ปัจจุบัน Thunderbird อยู่ภายใต้การดูแลของ MZLA Technology อีกหน่วยงานของ Mozilla Foundation แต่เป็นคนละหน่วยกับ Mozilla Corporation ที่ดูแล Firefox
ไมโครซอฟท์เปิดซอร์สของโปรแกรมสร้างแอนิเมชันสามมิติ 3D Movie Maker ที่ออกมาในยุค Windows 95 (คนละตัวกับโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ Windows Movie Maker)
เรื่องนี้เกิดจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @Foone โพสต์ข้อความเรียกร้องไปยังไมโครซอฟท์ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2022 และเวลาผ่านมาเกือบ 1 เดือน พนักงานฝ่ายนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ Scott Hanselman ก็โพสต์ลิงก์ตอบมาว่า เปิดซอร์สให้แล้วบน GitHub โดยใช้สัญญาอนุญาตที่เปิดกว้างแบบ MIT
Anaconda โครงการภาษา Python สำหรับงาน data science เปิดโครงการ PyScript โครงการโอเพนซอร์สสำหรับนำภาษา Python ไปใช้งานแทนจาวาสคริปต์ หรือแม้แต่จะทำงานร่วมกับจาวาสคริปต์ก็ยังได้
PyScript ไม่ใช่เพียงแค่ตัว Python เปล่าๆ แต่รองรับการดาวน์โหลดโมดูลเพิ่มเติม เช่น Bokeh, numpy และยังมีคอนโซล REPL (ช่องให้พิมพ์และดูผลแบบเดียวกับ Python notebook) โดยตัวโครงการต่อยอดมาจาก pyodide โครงการ Python บน WASM แต่การเรียกใช้งานง่ายกว่ามากเพราะแค่โหลดสคริปต์เข้าไว้ใน HTML ก็สามารถใช้แท็ก <py-script>
และ <py-repl>
ได้เลย
ท่ามกลางประเด็นถกเถียงต่างๆ หลัง Twitter ตอบรับข้อเสนอซื้อของ Elon Musk ฝั่งของสหภาพยุโรปก็เริ่มทดลองเปิดบริการโซเชียลของตัวเอง ได้แก่ EU Voice (โซเชียลแบบ Twitter) และ EU Video (บริการวิดีโอแบบ YouTube)
บริการทั้งสองตัวเป็นการทดลองสร้างโซเชียลมีเดียทางเลือก (an alternative social media pilot program) โดยหน่วยงานด้านคุ้มครองข้อมูลของยุโรป European Data Protection Supervisor (EDPS) เป้าหมายหลักคือสร้างบริการโซเชียลที่คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ไม่หารายได้จากโฆษณา และสร้างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่โปร่งใส
Istio ซอฟต์แวร์ service mesh สำหรับจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ที่ริเริ่มโดยกูเกิลเมื่อปี 2017 ยื่นเรื่องขอเข้าเป็นโครงการของมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) แล้ว (หลังไปทำแยกเองเป็นเวลานาน 5 ปี)
Canonical ปล่อย Ubuntu 22.04 LTS ตัวล่าสุดตามรอบสองปี เพิ่มแพ็กเกจภาษา Rust ปรับไปใช้ OpenSSL v3 และ GNOME42 นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหญ่ๆ อยู่หลายตัว เช่น
สำหรับคลาวด์ทาง Canonical ออปติไมซ์สำหรับชิป AWS Gravitron ให้ใช้งานได้ทั้งแบบ VM หรือ Docker
Python ย้ายระบบรายงานปัญหา (issue tracking) จาก Roundup มาเป็น GitHub หลังจากมีข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ปี 2018
เหตุผลสำคัญคือระบบซอร์สโค้ดของ Python นั้นย้ายไป GitHub ตั้งแต่ปี 2017 แล้ว การใช้ระบบ issue tracking ในระบบเดียวกันช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นมาก และยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น รองรับ markdown, ระบบ reaction ในความเห็นใช้โหวตได้, รองรับการล็อกอินสองขั้นตอน ที่สำคัญคือลดภาระทีมงานในการซ่อมบำรุงเว็บไซต์
Roundup นั้นเป็นระบบ issue tracking ที่มีมานานตั้งแต่ปี 2003 แม้จะยังมีการพัฒนาอยู่แต่ทุกวันนี้ทีมงานยังใช้ Mercurial พัฒนา และตัวโครงการไม่มีระบบ CI เพื่อทดสอบทำให้การแพตช์ทำได้ลำบาก
Grafana Labs ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แดชบอร์ด Grafana และ Prometheus ประกาศรับเงินลงทุนซีรี่ส์ D เพิ่มอีก 240 ล้านดอลลาร์ นำโดยกองทุน GIC จากสิงคโปร์ ร่วมด้วย J.P.Morgan ซึ่งเข้ามาลงทุนเป็นครั้งแรก
ก่อนหน้านี้ Grafana Labs เพิ่มทุนรอบซีรี่ส์ C ไป 220 ล้านดอลลาร์ เมื่อสิงหาคมปีที่แล้ว ที่มูลค่ากิจการ 3 พันล้านดอลลาร์ แต่ในรอบซีรี่ส์ D นี้ บริษัทไม่ได้บอกมูลค่ากิจการ
Thonny โครงการ Python IDE แบบโอเพนซอร์สเพื่อการศึกษา ใช้งานง่ายมี Python ในตัวพร้อมระบบตัวดีบั๊ก เปิดตัวเวอร์ชั่น 4.0.0b1 โดยประกาศว่าเวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นที่อุทิศเพื่อชาวยูเครนที่ต่อต้าน "กองกำลังก่อการร้ายของปูติน" พร้อมกับเพิ่มไอคอนธงชาติยูเครนเพื่อให้ไปร่วมบริจาค
ความเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคของเวอร์ชั่นนี้คือการรองรับ Python 3.10 และถอด Python 3.5, 3.6, และ 3.7 ออก เปลี่ยนไบนารีเป็น 64 บิต
Thonny เป็นโครงการที่เกิดมาจากมหาวิทยาลัย Tartu ในเอสโตเนีย และตอนนี้เองก็ดูแลโครงการโดยบริษัท Cybernetica ในเอสโตเนียเช่นกัน ทำให้ผู้พัฒนาโครงการจะมีความผูกพันกับยูเครนมากกว่าโครงการอื่นๆ เป็นพิเศษ
mitmproxy โปรแกรมโอเพนซอร์สสำหรับคั่นกลางการเชื่อมต่อเว็บ ออกเวอร์ชั่น 8 โดยมีส่วนเปลี่ยนแปลงสำคัญคือหน้า UI แบบเว็บ หรือ mitmweb ปรับปรุงใหญ่
ตัว mitmweb ปรับปรุงโดย Toshiaki Tanaka ที่ได้รับทุนสนับสนุนในโครงการ Google Summer of Code 2021 ความสามารถที่เพิ่มขึ้นคือการแสดงการเชื่อมต่อทั้ง TCP และ WebSocket ได้เพิ่มจาก HTTP/HTTPS นอกจากนั้นการเชื่อมต่อ HTTP ยังสามารถแปลงเป็นคำสั่ง curl หรือ HTTPie ในตัว แบบเดียวกับ Developer Tools ในเบราว์เซอร์
สำหรับความเปลี่ยนแปลงภายใน มีการปรับปรุง event hook สำหรับการพัฒนาปลั๊กอินเพิ่ม API เช่นการตรวจสอบการเชื่อมต่อ TLS และแก้ช่องโหว่ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถซ่อนการเชื่อมต่อจาก mitmproxy ได้
dav1d ซอฟต์แวร์ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ของกลุ่ม VideoLAN ที่เปิดตัวในปี 2018 ออกเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
dav1d (ชื่อย่อมาจาก av1 + decoder) เป็นไลบรารีโอเพนซอร์สที่ใช้ถอดรหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิลและกลุ่ม AOpen Media ปัจจุบันเริ่มใช้งานแล้วทั้งบน YouTube และ Netflix
ทีมพัฒนา dav1d บอกว่าตอนนี้มันเป็นไลบรารีที่ถอด AV1 ได้เร็วที่สุดในท้องตลาด รองรับทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM รวมถึงสามารถใช้ชุดคำสั่งเฉพาะทางอย่าง SSE3, AVX2, AVX-512 เพื่อเร่งความเร็วการถอดรหัสไฟล์วิดีโอได้แล้ว
Python เป็นภาษาโปรแกรมที่มีแนวคิดสำคัญคือการรวมเอาไลบรารีมาตรฐานชุดใหญ่ (battery included) ทำให้มีไลบรารีที่อยู่ในชุดมาตรฐานมานานนับสิบปีอยู่ในโครงการจำนวนมาก ตอนนี้ทาง Python Steering Council ก็ประกาศยอมรับ PEP-594 ข้อเสนอสำหรับการถอดไลบรารีจำนวน 21 ตัวออกจากไลบรารีมาตรฐาน
ไลบรารีบางตัวเริ่มใส่มาในโครงการ Python ตั้งแต่ปี 1992 เช่น audioop, nntplib, pipes และบางตัวก็มีประกาศเตือนให้หยุดใช้งาน (deprecated) มานานแล้ว เช่น asynchat, asyncore, smtpd โดยโมดูลส่วนใหญ่ไม่มีผู้ดูแลรับผิดชอบโดยตรงแล้ว
โครงการ Drupal ประกาศปิดโครงการซัพพอร์ต Drupal 6 อย่างสมบูรณ์ หลังจากออกรุ่น 6.0 ตั้งแต่ปี 2008 และออกรุ่นย่อยซัพพอร์ตมา 38 เวอร์ชั่นหมดซัพพอร์ตแบบโอเพนซอร์สเมื่อมี 2016
แม้จะหมดอายุซัพพอร์ตแบบโอเพนซอร์สไปนานแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทขายซัพพอร์ตระยะยาวต่อมาอีก 3 บริษัท ได้แก่ Tag1, Acquia, และ myDropWizard โดยมีการปล่อยแพตช์ให้ลูกค้ากลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ
การปิดโครงการซัพพอร์ตระยะยาว แปลว่าผู้ให้บริการทั้งหมดจะเลิกพัฒนาแพตช์ให้แล้ว ไม่มีระบบการนัดแนะเพื่อเปิดเผยแพตช์อีกต่อไป ทำให้หากมีนักวิจัยพบช่องโหว่ใหม่ก็จะรายงานต่อสาธารณะทันที รวมถึงหลังจากนี้เว็บไซต์ Drupal เองก็อาจจะปิดไม่ให้ดาวน์โหลดไฟล์และโมดูลต่างๆ อีกแล้วหากมีการอัพเกรดเว็บในอนาคต
โครงการ curl ไคลเอนต์ HTTP แบบ command line ยอดนิยม ออกรุ่น 7.82.0 มีฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับ JSON ในตัว ตามที่ Daniel Stenberg ผู้ดูแลโครงการได้ประกาศไว้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ออปชั่น --json
จะเป็นการประกาศ header ว่ากำลังส่ง JSON โดยอัตโนมัติพร้อมๆ กับ header ว่าต้องการข้อมูลแบบ JSON สามารถใช้งานได้ทั้งการอ่านจากไฟล์, เขียน JSON โดยตรงในอาร์กิวเมนต์, และการอ่านจาก STDIN
การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงย่อย เช่น เลิกซัพพอร์ตไลบรารี MesaLink ที่เลิกพัฒนาไปนานแล้ว หรือการแก้ไขบั๊กอื่นๆ