Mark Shuttleworth ประกาศโค้ดเนมของ Ubuntu รุ่นถัดไปที่จะออกในเดือนตุลาคม มีชื่อว่า "Gutsy Gibbon" (ดูหน้าตัว Gibbon ที่วิกิพีเดีย) โดยชื่อที่โหวตแพ้คือ "Glossy Gnu"
Gutsy หรือ 7.10 จะไม่ได้เป็น LTS (Long Term Support) ตามนโยบายที่ระบุไว้แต่แรกว่าจะทุก 3 รุ่น (ปัจจุบันคือ 6.04 LTS Dapper Drake > 6.10 Edgy Eft > 7.04 Feisty Fawn) ส่วนที่จะเน้นใน Gutsy มีสามอย่างได้แก่ การติดตั้ง, เซิร์ฟเวอร์ และเดสก์ท็อปแบบ 3D ที่ Shuttleworth หวังว่าจะเปิดมาตั้งแต่แรกได้เสียที
หลังจากมีปัญหาด้านข้อกฎหมายเกี่ยวกับชื่อของโปรแกรม GAIM กับ AOL มาเป็นเวลานาน ในที่สุด Luke Schierer ได้ประกาศใน mailing list ของ Gaim-i18n ว่าโปรเจค GAIM ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Pidgin IM และจะย้ายโปรเจคออกจาก sourceforge.net ไปที่ www.pidgin.im และ developer.pidgin.im แต่ในระหว่างนี้จะยังใช้ mirror ของ sorceforge ในการรีลีสอยู่
ทั้งนี้ libgaim ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น libpurple และ gaim-text ก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น Finch อีกด้วย
ที่มา - Slashdot
ไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่าจะไม่ทำการพัฒนา FoxPro เวอร์ชั่นถัดไปแล้ว (Visual FoxPro 10) และได้ตัดสินใจปล่อยให้แกนหลักของ FoxPro เป็น Open Source ในที่สุด โดยซอร์สโค้ดจะถูกนำไปไว้ใน CodePlex เพื่อให้ Community ได้นำไปพัฒนาต่อๆ ไป
FoxPro เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดย Fox Technologies และในเวลาต่อมาเมื่อบริษัทรวมเข้าไปกับไมโครซอฟท์แล้ว ก็ได้กลายมาเป็น Visual FoxPro โปรแกรม FoxPro ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากในอดีต จนถึงตอนนี้ก็ยังคงมีการใช้งานอยู่ แต่ก็น้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากมี RDBMS ตัวอื่นๆ เข้ามาแข่งขันมากขึ้น
หลังจากที่ Free Software Foundation ออกร่างที่สามของ GPLv3 ซึ่งในร่างนี้ได้แก้ไขประเด็นด้านสิทธิบัตรที่เคยเป็นรูรั่วให้ไมโครซอฟท์-โนเวลล์ ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโนเวลล์ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ผ่านบล็อกว่า
และปิดท้ายตามสูตรการประชาสัมพันธ์ว่าโนเวลล์เองก็เป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สรายใหญ่นะจ๊ะ
ที่มา - Novell Open PR
หลังจากที่มีข่าวพนักงานของเอชพีปฎิเสธที่จะให้บริการกับลูกค้าที่นำเครื่องเอชพีไปลงลินุกซ์ก่อนหน้านี้ ทางเอชพีได้ติดต่อกลับไปยัง Linux.com เพื่อชี้แจงประเด็นดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยระบุอย่างชัดเจนว่านโยบายการรับประกันฮาร์ดแวร์ของเอชพีนั้นจะครอบคลุมไม่ว่าผู้ใช้จะลงระบบปฎิบัติการใดๆ โดยกรณีปัญหานั้นเป็นเรื่องของคีย์บอร์ดซึ่งแน่นอนว่าไม่เกี่ยวกับระบบปฎิบัติการ ดังนั้นเครื่องดังกล่าวจะได้รับบริการต่อไป
ท้ายข้อความชี้แจง ทางเอชพียังระบุว่าทางเอชพีจะดำเนินการต่อไปเพื่อไม่ให้พนักงานซัพพอร์ตทำงานผิดพลาดเช่นครั้งนี้อีก
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ไลนัสไม่พอใจกับร่างฉบับก่อนๆ ของ GPLv3 มาตลอด เนื่องจากเหตุผลส่วนหนึ่งคือเรื่อง DRM ที่ดูแล้ว GPLv3 จะไม่ยอมรับซะเท่าไหร่ และก็ไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ เนื่องจาก FSF ซึ่งเขียนร่างของ GPL ต้องการที่จะห้ามไม่ให้บริษัทฮาร์ดแวร์ต่างๆ กำหนด restriction ของซอฟต์แวร์ GPL ซึ่งถูกใช้งานบนผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งไลนัสคิดว่าบริษัทเหล่านั้นควรจะได้รับอนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้
มาถึงร่างฉบับที่ 3 นี้ซึ่งออกมาเมื่อวันพุธ ร่างฉบับนี้ได้แก้ไขปัญหาในส่วนนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น และไลนัสก็แสดงความเห็นว่าพอใจมากกับร่างฉบับนี้ เนื่องจากเค้าเห็นว่าถึงแม้มันจะไม่ได้สมบูรณ์ซะทีเดียว แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมากกว่าที่เค้าคาดหวังไว้จากร่างฉบับก่อนๆ จริงๆ
MogileFS(1)
เจ้า MogileFS เนี่ย มันเป็น open source ซึ่งเท่าที่รู้ ก็คือ มันไม่เสียตังค์ 555
MogileFS จะทำหน้าที่ เป็นตัวเก็บไฟล์ข้อมูล ต่างๆ เช่น รูปภาพ เป็นต้น
ถามว่า ถ้าแค่เอาไว้เก็บไฟล์พวกนี้ ทำไมเราถึงต้องเลือกใช้ MogileFS เป็นตัวเก็บด้วย ทำไมเราไม่ใช้ฐานข้อมูลธรรมดาเก็บแบบปกติ ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นการทำงานแบบปกติๆทั่วไป แล้วมันก็ใช้งานได้เหมือนกันนิ๊ ???
ตอบว่า เจ้า MogileFs จะช่วยให้การแสดงผลของเวปเร็วขึ้นอย่างมากมาย อ่าว อ่าว งง หละซี้ ทำไมหนะหรอ ก็จากการทำงานของตัว MogileFS นั่นแหละค้า
VLC โปรแกรมมัลติมีเดียครอบจักรวาลที่หลายๆ คนชอบใช้เพราะมันง่ายๆ ไม่เรื่องมากดี มีฟีเจอร์เด็ดแต่ลึกลับหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึง Linux.com มีรวมเทคนิคเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ตัวอย่างเรียกน้ำย่อย
หลังจากที่ไมโครซอฟท์เผลอสร้างช่องโหว่ในเคอร์เนลเวอร์ชั่นหนึ่งของ Xbox 360 จนทำให้ผู้ใช้สามารถนำโค้ดไปรันในระดับต่ำสุดของซีพียูได้ เหล่าแฮกเกอร์ก็เร่งวันเร่งคืนที่จะนำลินุกซ์ไปรันกันอย่างเต็มที่ และก็ดูเหมือนว่าความพยายามนั้นได้สำเร็จแล้วเมื่อผู้ใช้เว็บบอร์ด MaxConsole ที่ใช้ชื่อว่า becus25 ได้แสดงภาพและวีดีโอของการรัน Ubuntu บนเครื่อง Xbox 360 ได้เป็นผลสำเร็จ
งานนี้ผู้ใช้ต้องมีเครื่อง Xbox 360 ที่ใช้เคอร์เนลรุ่นที่มีช่องโหว่, แผ่นเกม King Kong, ไดร์ฟดีวีดีที่ได้รับการโปรแกรมใหม่, อแดปเตอร์สายซีเรียล และซอฟต์แวร์อื่นๆ เช่น Xell Loader ทั้งหมดนี้นับว่ายุ่งยากพอสมควร แต่ทาง Engadget ก็ระบุว่ากระบวนการทั้งหมดนี้สามารถทำได้จริง
เอาใจแฟนๆ KDE กันหน่อย (คงไม่ใช่เจ้าของเว็บ) ด้วยกำหนดการปล่อยตัวของ KDE 4.0 อย่างเป็นทางการ (ในนั้นบอกว่ามัน Finalise แล้ว แต่ไม่รู้มันจะมีเปลี่ยนอีกหรือเปล่า)
InformationWeek มีสัมภาษณ์ Linus Torvalds เกี่ยวกับ GPLv3 ประเด็นสำคัญที่ Linus ตอบมามีดังนี้
ออกอัพเดตใหม่อีกครั้งกับเวอร์ชั่น 2.0.0.3 ของ Firefox ซึ่งมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยกับ FTP ตัวเดียวครับ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่)
พร้อมๆ กันนี้สำหรับผู้ใช้ 1.5 ก็มีอัพเดตเวอร์ชั่น 1.5.0.11 ออกมาพร้อมกัน ซึ่งก็แก้ปัญหาเดียวกันกับ 2.0.0.3 พร้อมระบุด้วยว่าทาง Mozilla จะดูแล 1.5 ต่อไปถึงวันที่ 24 เมษายนนี้เท่านั้น
ที่มา - MozillaZine
Free Software Foundation ประกาศมาตั้งแต่ปี 2005 ว่าจะออก GPLv3 มาในเร็ววัน ซึ่งวันที่ล่าสุดบอกว่าจะออกมาในช่วง "early 2007" แต่นี่จะพ้นไตรมาสแรกแล้ว ยังไม่เห็นวี่แววของ GPLv3 เสียที
ทาง FSF ได้อธิบายว่าเกิดจากสัญญาความร่วมมือระหว่างโนเวลล์กับไมโครซอฟท์ ซึ่งพลิกแพลงในเรื่องสิทธิบัตรเล็กน้อยและทำให้ GPLv2 ไม่สามารถใช้งานกับกรณีนี้ได้ FSF จึงกลับมาไตร่ตรองกันใหม่ว่า GPLv3 ยังมีรูรั่วสำหรับกรณีพิเศษแบบนี้หรือเปล่า ร่างฉบับใหม่ซึ่งน่าจะเป็นฉบับสุดท้ายก่อนตัวจริงจะออกมาก่อนวันที่ 27 มีนาคม ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่ประจำปีของ FSF
GPLv3 ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์เท่าไร แต่โครงการอื่นๆ อย่าง Samba, Java และ MySQL ก็มีปฏิกิริยาตอบรับที่ดี
Ian Murdock ("ian" ใน "Debian" อีกครึ่งนึงก็ชื่อเมียเค้า) ประกาศในบล็อกตัวเองว่าจะย้ายจาก Linux Foundation ไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย operating system platform strategy ซึ่ง Ian ใบ้ว่าจะไปดูการพัฒนาของ Solaris ให้ทัดเทียมกับลินุกซ์ในแง่ usability มากยิ่งขึ้น
Google Summer of Code เริ่มมาได้ครึ่งเดือนแล้ว (ข่าวเก่า [2005, 2006, 2007]) ช่วงที่ผ่านมาเป็นการรับสมัคร Mentoring Organization ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี ลองเข้าไปดูผลได้ที่หน้าหลัก ขั้นตอนถัดไปก็เป็นการรับสมัครนักเรียนนักศึกษาทุกระดับชั้น รวมถึงป.โท และป.เอกด้วย ใครสนใจจะเข้าร่วมก็ต้องรีบเลือกหน่วยงานที่ต้องการแล้วเขียนโครงการส่งได้ทันที บางหน่วยงานจะมีโครงการไว้แล้ว ถ้าคิดว่าทำได้ก็อาสาได้ทันที
ออกมาแล้วสำหรับ Apache Tomcat 6 Web Server และ Servlet Container แบบโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสำหรับการพัฒนาระบบด้วย Java โดยมีความสามารถใหม่ๆ ดังนี้
ใครสนใจก็ไปดาวน์โหลดที่ Apache ได้นะครับ อย่าลืมด้วยว่ามันทำงานกับ J2SE 5.0 ขึ้นไปเท่านั้นด้วย
ถ้าเรียกตามตำแหน่ง Bill Hilf เป็น General Manager of Platform Strategy ของไมโครซอฟท์สำนักงานใหญ่ อันนี้ไม่มีอะไร แต่สิ่งที่ทำให้เขาน่าสนใจคือก่อนหน้านั้นเคยทำงานด้านลินุกซ์และโอเพนซอร์สให้กับ IBM มานานหลายปี ก่อนจะเข้ามาไมโครซอฟท์เพื่อ "สอนให้คนของไมโครซอฟท์รู้จักกับโอเพนซอร์ส" ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้า Open Source Software Lab ของไมโครซอฟท์ด้วย
Bill Hilf เคยมาเมืองไทยเมื่อปีที่แล้ว (ซึ่งผมก็ไปฟัง สนใจอ่านรายงานเก่าได้) วันที่ 11 มีนาคมนี้เขาจะมาอีกครั้ง และไมโครซอฟท์ประเทศไทยเชิญทุกคนที่สนใจไปคุยกับ Bill Hilf ใครอยากไปถามเรื่องสัญญากับ Novell หรือการสนับสนุน Mono นี่คงเป็นโอกาสทอง
หลังจากออกเคอร์เนลลินุกซ์รุ่น 2.6.20 มาได้ทาง LWN.net ได้ตีพิมพ์บทความวิเคราะห์ถึงผู้ที่ส่งแพตซ์เข้าไปในลินุกซ์ว่ามาจากไหนกันบ้าง ที่น่าสนใจคือจากจำนวนแพตซ์ทั้งหมด ลินุกซ์ถูกสร้างขึ้นจากนักพัฒนาอิสระที่ไม่มีผู้ว่าจ้างเพียงร้อยละ 7.7 เมื่อรวมเข้ากับอีกร้อยละ 25 ที่ไม่มีข้อมูล แสดงให้เห็นว่านักพัฒนาลินุกซ์ถึงสองในสาม มีงานทำและการพัฒนาลินุกซ์เป็นส่วนหนึ่งของงานอีกด้วย
บริษัทที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอันดับหนึ่ง ในชั่วโมงนี้ยังคงเป็นเรดแฮท ขณะที่บริษัทที่มีส่วนร่วมอันดับรองๆ ลงมาก็เป็นที่เรารู้จักกันเป็นจำนวนมาก เช่น ไอบีเอ็ม โนเวลล์ อินเทล ออราเคิล กูเกิล โนเกีย เอชพี โซนี่(!!!)
Gigabyte เปิดตัว M57SLI-S4 เมนบอร์ดตัวแรกที่ใช้ LinuxBIOS (BIOS แบบโอเพนซอร์สที่ใช้เคอร์เนลลินุกซ์เป็นพื้นฐาน)
LinuxBIOS เป็นความพยายามที่จะลดการผูกขาดของเฟิร์มแวร์ใน BIOS ที่เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ โดยเริ่มพัฒนาจาก Los Alamos National Laboratory และได้เงินสนับสนุนจากเอเอ็มดีและกูเกิล ตัวโค้ดเป็น GPL ถึงแม้ว่าชื่อมันจะมีคำว่า Linux แต่จริงๆ เป็นซอฟต์แวร์ BIOS เหมือนปกติ ใช้บูตระบบปฏิบัติการอะไรก็ได้ โครงการ OLPC ก็ใช้ LinuxBIOS ครับ
ส่วนตัวบอร์ดอันนี้เป็นซ็อคเก็ต AM2 ใช้ชิปเซ็ต nForce 570 SLI ฟีเจอร์อื่นๆ ก็ตามมาตรฐานเมนบอร์ดทั่วไป
ปัญหาหลักตอนผมย้ายมาใช้ลินุกซ์เมื่อครึ่งปีก่อนคือการตั้งค่าภาษาไทยที่มึนเอาพอสมควร แต่ความง่ายของ Ubuntu ที่มีฐานผู้ใช้อยู่เยอะก็ช่วยชีวิตมาได้ ตอนนี้ LinuxTLE 8.0 ที่รวมเอาสองพลังซักเข้าด้วยกันอาจจะช่วยให้คนที่กำลังอยากจะลองลินุกซ์ตัดสินใจกันได้ง่ายขึ้น
จากที่อ่านโดยทั่วไปแล้ว LinuxTLE 8.0 ก็ไม่ต่างจาก Ubuntu แต่ที่เด่นมากๆ คือด้านภาษาไทยที่ติดตั้ง libthai มาให้แต่แรก มีพจนานุกรมภาษาไทย Lexitron มาให้ในตัว ตลอดจนการตั้งค่าการแสดงฟอนต์ภาษาไทย
ใครสนใจจะรีวิวลงชื่อจองได้เลยครับ
ที่มา - OpenTLE, Release Note
ช่วงหลังๆ โครงการโอเพนซอร์สจำนวนมากจำเป็นต้องมีหน่วยงานไม่หวังผลกำไรเอาไว้ในซัพพอร์ตโครงการกันเป็นเรื่องปรกติ อย่างที่เราเห็นๆ กันก็เช่น OSDL ของลินุกซ์ หรือ Mozilla Foundation ของไฟร์ฟอกซ์ งานนี้่ CMS ที่ทาง Blognone ใช้งานมานานอย่าง Drupal ก็ถึงเวลาตั้ง Drupal Association กันบ้าง
การตั้งหน่วยงานขึ้นมาซัพพอร์ตในครั้งนี้ทำให้ทาง Drupal สามารถรับเงินบริจาค สร้างพัธมิตรกับภาคธุรกิจ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ร่วมงานได้ ซึ่งน่าจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับ Drupal มากขึ้นในระยะยาว
หลังๆ ใช้ไปใช้มา ผมก็เริ่มติดแล้วนะเนี่ย เริ่มขี้เกียจอ่านตัวอื่น
ที่มา - Drupal Association
หลังข่าวการเปิดตัวเว็บ IdeaStorm เพียงสัปดาห์เดียว เดลล์ก็ออกมาแสดงการตอบรับความเห็นของผู้ใช้ด้วยการประกาศว่าทางเดลล์กำลังทำงานร่วมกับโนเวลล์ เพื่อเตรียมซัพพอร์ตลินุกซ์ในเครื่องตระกูล Optiplex (เดสก์ทอป), Precision (เวิร์คสเตชั่น) และ Latitude (โน้ตบุ๊กสำหรับธุรกิจ)
ทางเดลล์ระบุว่าการร่วมมือกับโนเวลล์เป็นเพียงขั้นแรกในการเข้าหาผู้ใช้ในโลกลินุกซ์ โดยทางเดลล์ตระหนักว่าผู้ใช้ที่เข้ามาให้ความเห็นนั้นแนะนำดิสโทรต่างๆ หลายสิบดิสโทร และทางเดลล์กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำดิสโทรเหล่านั้นมาในสายการผลิตด้วยเช่นกัน
นับแต่ระบบปฏิบัติการโอเพนซฮร์ส ตอนนี้เรามีมือถือโอเพนซอร์ส สารานุกรมโอเพนซอร์ส แต่ที่ไม่มีใครรู้คือเมื่อห้าหกปีก่อน ในสหรัฐฯ มีบริษัทผลิตโคล่ารสชาติคล้ายกับโค้กหรือแป๊ปซี่วางขายกันด้วยในชื่อว่า OpenCola แน่นอนตามชื่อของมัน มันคือโคล่าโอเพนซอร์ส โดยตัวซอร์สคือสูตรการปรุงนั่นเอง
น่าเสียดายว่าในตอนนี้บริษัทนี้เจ๊งไปซะแล้ว แต่เนื่องจากเป็นบริษัทผลิตโคล่าโอเพนซอร์ส เอกสารสูตรทุกอย่างจึงยังคงวนเวียนอยู่ในอินเทอร์เน็ตให้เราหามาปรุงได้เองที่บ้าน
ผมทำอาหารไม่เป็น แต่มีใครสนใจจะทำไปแจกงาน BTD3 บ้างรึเปล่า???
หลังจากประกาศว่าจะสร้างมือถือที่เป็นแพลตฟอร์มเปิด ทาง OpenMoko ก็ได้ออกมาประกาศสเปคฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในเครื่องเป็นที่เรียร้อยแล้ว งานนี้นับว่า OpenMoko เป็นมือถือแบบเปิดพันธุ์แท้เพราะชิปแทบทุกตัวที่ใช้งานมีเอกสารประกอบไว้ให้พร้อมหมดอยู่แล้ว ยกเว้นชิป CALYPSO ที่ติดสัญญาปกปิดความลับทางการค้า แต่ทาง OpenMoko ก็ระบุว่าการปิดข้อมูลส่วนนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะสุดท้ายแล้ววงจรส่วนนี้จะเชื่อมกับส่วนอื่นๆ ด้วย UART ทั่วไป ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ ก็ตามมือถือสมัยใหม่ทั่วไป เช่น หน่วยความจำแฟลช 64 เมกกะไบต์ แรม 128 เมกกะไบต์ ซีพียูเป็น ARM9 จากซัมซุงทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 266 เมกกะเฮิร์ต