ทางไฟร์ฟ็อกซ์ออกมาประกาศว่าได้มีผู้ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ยอดนิยมตัวนี้ไปแล้วมากกว่า 300 ล้านครั้ง นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้ดาวน์โหลดครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 หรือเมื่อ 827 วันมาแล้ว เมื่อกดเครื่องคิดเลขดูแล้วจะเห็นว่ามีคนดาวน์โหลดไฟร์ฟ็อกซ์ประมาณวันละเกือบ 40,000 คน ยอดนี้เป็นยอดรวมการดาวน์โหลดตั้งแต่ออกเวอร์ชัน 1.0 จนมาถึงปัจจุบัน
ตลอดเวลาที่ผ่านมา MySQL นั้นดำเนินกิจการด้วยเงินจาก Venture Capital มาโดยตลอด จนถึงเวลานี้ Marten Mickos, CEO ของ MySQL ก็ออกมาให้ข่าวว่าทางบริษัทเตรียมตัวที่จะเข้าตลาดหุ้นเพื่อระดมทุนด้วยตัวเองแล้ว โดยเขากล่าวว่าระยะเวลาที่แน่นอนนั้นยังไม่มีการกำหนดแต่อย่างใด แต่เขาหวังว่าการดำเนินการจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ MySQL AB เพิ่งได้รับเงินก้อนสุดท้ายจากกลุ่มนักลงทุนไปถึง 39 ล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว โดยบริษัทระบุว่าเงินก้อนนี้หลังเหลืออยู่ว่าครึ่ง
ซึ่งเป็น CEO ของ MySQL AB. ออกมาให้ข่าวว่า บริษัทออราเคิล มีแผนที่จะขายการสนับสนุนระบบฐานข้อมูล MySQL เหมือนกับที่ทำกับ Redhat Linux (ข่าวเก่า) ซึ่ง Marten เองก็ให้ความเห็นว่า "ผมหวังว่าเขาจะทำจริงๆ" ถึงแม้ว่าถ้าออราเคิลออก "Unbreakable MySQL" ออกมาจริง ๆ ก็จะกลายเป็นคู่แข่งของ MySQL AB ซึ่งเน้นรายได้หลักจากการขายการสนับสนุนเหมือนกัน
ข่าวจาก /.
เช้านี้อ่านข่าวบล็อกนั้น เห็นข่าว Mandriva Linux ออกแผ่น Live CD ที่สามารถใช้ Metisse (โครงการจากประเทศฝรั่งเศสด้วยกัน เข้าใจว่าจะอ่านว่า เมตีส) ได้ทันที ในชื่อ Mandriva One 2007 GNOME – Metisse Inside! และจากการที่เคยเข้าไปที่เว็บไซต์ของโครงการ Metisse ดูการสาธิตทั้งภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหวมาแล้ว เลยเกิดกิเลสอยากลองเล่นดูบ้าง ครั้นจะโหลด ISO ขนาด 717,486 KiB มาเพียงเพื่อจะลองเล่นดูก็ใช่ที่ เลยลองค้นวิธีติดตั้ง Metisse บน Ubuntu จาก Ubuntu Forums ดู พออ่านไปเรื่อย ๆ พบว่าหลายคนประสบปัญหาการคอ
ผลพวงจากความตกลงระหว่างไมโครซอฟท์และโนเวลล์เริ่มส่งผลชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Wal-Mart ได้ตกลงที่จะซื้อบริการซัพพอร์ตของ SUSE Linux ผ่านทางไมโครซอฟท์ จากที่ก่อนหน้านี้ Wal-Mart เคยใช้งาน RedHat อยู่ก่อนแล้ว เรื่องนี้อาจะไม่น่าแปลกใจนักเนื่องจาก Kevin Turner ผู้บริหารของไมโครซอฟท์นั้นเป็นอดีตผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศของ Wal-Mart
Open Source Development Labs (OSDL - ที่ทำงานของลินุส ทอร์วัลด์) ได้ประกาศรวมตัวกับ Free Standards Group โดยมีชื่อองค์กรใหม่ว่า "Linux Foundation"
หน่วยงานใหม่จะมีสมาชิกระดับองค์กรจากหน่วยงานเดิมรวมกันประมาณ 70 ราย โดยจะได้รับเงินอุดหนุนจากสมาชิกเหล่านี้ (เช่น IBM หรือ HP) เป้าหมายของ Linux Foundation ก็ใกล้เคียงกับเป้าหมายเดิมของ OSDL และ FSG คือ ดูแลเครื่องหมายการค้า Linux, ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย, ให้เงินสนับสนุนนักพัฒนาอิสระ เป็นต้น
ที่มา - Ars Technica
The UK Free Software Network (UKFSN) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายหนึ่งในเมือง Hertfordshire ของอังกฤษ ได้ประกาศว่าจะให้เงิน กับนักศึกษาที่พัฒนาโปรแกรมที่ผู้อื่นสามารถเอาไปดัดแปลงได้ หรือโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ นั่นเอง โดยนักศึกษาคนแรกที่ได้เงินนี้ไปคือ นาย Andrew Price นักศึกษาวิทย์คอมชั้นปีที่ 2 ของ Swansea University โดยได้เงินไป 4,680 ปอนด์ จากการเขียนโปรแกรมสำรองข้อมูลที่มีชื่อว่า pyBackPack
ที่มา - PingWales
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า Prototype นั้นเริ่มเป็นที่นิยมในบรรดา JavaScript Library ทั้งหลาย แต่สำหรับ Java programmer แล้ว การใช้ Prototype เป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อยครับ พอดีไปเจองานของ Jason Bell ออก alpha release ของ JSP Tag library ใหม่ใน sourceforge.net ตั้งชื่อว่า "prototaglib" เห็นชื่อก็คงเดาออกว่าเป็น JSP tag library สำหรับเรียกใช้ prototype
การทำงานเจ้าตัวคุยว่าเหมือน Ruby On Rails แถมมี screencast แสดงตัวอย่างคล้ายๆกับตัวอย่างยอดนิยมของ Ruby on Rails ออกมาบนเว็ปไซต์ด้วย เป็นการสร้าง web application ทั้งตัวโดยใช้ Flickr API โดยทำงานทั้งหมดบน NetBeans IDE ใช้เวลาสร้าง web application ตัวอย่างนี้แค่ 6 นาที
ขณะที่ฝั่งพีซีเรามีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่อุปกรณ์ที่เราใช้ๆ กันอยู่ทุกวันอย่างมือถือนั้นกลับไม่ค่อยมีการพัฒนาแบบเปิดสักเท่าใหร่ แต่เมื่อมูลค่าตลาดสูงขึ้นอย่างไม่น่าไม่หยุดยั้ง บริษัทไต้หวันอย่าง First International Computer (FIC) จึงมองเห็นช่องทางแจ้งเกิดด้วยการสร้างแพลตฟอร์ม OpenMoko ซึ่งก็คือลินุกซ์ดัดแปลงเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ขนาดเล็กโดยเฉพาะ
หลังจากต้นปีที่แล้ว มีข่าวเรื่องรัฐบาลเกาหลีเตรียมตั้งเมืองลินุกซ์ ล่าสุดได้มีการดำเนินโครงการนี้แล้ว โดยใช้ชื่อโครงการว่าเมืองโอเพนซอร์ส โดยดำเนินโครงการที่เมือง Gwangju เมืองใหญ่อันดับห้าของเกาหลี จนผ่านเฟสแรกที่เป็น การวางแผนกลยุทธ์ และสำรวจพื้นที่ ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้โอเพนซอร์ส ไปแล้ว ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้จะแตกต่างกับโครงการอื่นของเมืองในยุโรป ตรงที่เน้นการใช้โอเพนซอร์ส เป็นเทคโนโลยีหลัก ในทุกภาคอุตสาหกรรมของเมือง ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ อุปกรณ์สื่อสาร โดยใช้ใน เซิร์ฟเวอร์, ดาตาเบสเซิร์ฟเวอร์, กรุ๊ปแวร์เซิร์ฟเวอร์, เมลเซิร์ฟเวอร์, ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และ เดสก์ท็อป
ประกาศโอเพนซอร์สได้ซักระยะ ก็ได้เวลาเปิดให้ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดกันสักที
Java ตัวแรกที่เปิดให้ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดกลับเป็น Java ME ไม่ใช่ Java SE แต่อย่างใด โดยซันใช้ชื่อโครงการโอเพนซอร์ส Java ME ว่า phoneME (คาดว่าติดประเด็นเครื่องหมายการค้า)
phoneME จะแบ่งเป็น MR (Milestone Release) และ DR (Development Release) โดยปัจจุบันออกถึง MR2 ซึ่งก็ยังมีรุ่นปกติและรุ่น advance แยกให้ดาวน์โหลด แพลทฟอร์มที่สนับสนุนคือ Windows/x86, Linux/x86 และ Linux/ARM
ที่มา - Slashdot
ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับโนเวลล์สร้างกระแสต่อต้านในโลกโอเพนซอร์สค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะโครงการ Samba ที่เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกผนวกในสัญญาไม่ฟ้องการละเมิดสิทธิบัตรต่อกัน ทางโครงการ Samba นั้นแสดงท่าที่ไม่พอใจโนเวลล์อย่างชัดเจน และเคยยื่นจดหมายขอให้ถอนโครงการ Samba ออกจากสัญญาดังกล่าว
อาศัยช่วงที่กระแสโอเพนซอร์สยังไม่ตก มาทำอะไรเล่นสนุกๆ ได้ประโยชน์กันดีกว่าครับ
ปัญหาใหญ่อันหนึ่งของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคือมีเยอะมากจนเลือกไม่ถูก บางโปรแกรมก็ดีเวอร์ บางโปรแกรมก็เด็กหัดเขียน ดังนั้นถ้าเรามีข้อมูลของโปรแกรมที่ลองใช้แล้ว เฮ้ย เข้าท่าว่ะ ก็จะมีประโยชน์ต่อคนอื่นที่กำลังหาโปรแกรมประเภทเดียวกัน
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่า Blognone จะมีรีวิวโปรแกรมขนานใหญ่ เข้าใจถูกต้องแล้วครับ เพียงต่อตอนนี้ยังไม่มีรีวิวที่ว่า เพราะคนรีวิวก็คือคนอ่านของเราน่ะเอง 1 คน 1 โปรแกรม จะรีวิวซอฟต์แวร์ได้แค่ไหนกันเชียว
อัพเดต มีคนเสนอว่าไม่น่าจะจำกัดแพลทฟอร์มของโปรแกรม เลยแก้กติกาเป็นโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการอะไรก็ได้ หรือจะเป็น web-based ก็ได้แล้วครับ
เนื่องจากคุณ willwill มาเขียนถึง Nvu ในรวมรีวิวซอฟต์แวร์ทดแทน ผมเลยอยากรู้ว่าสถานการณ์ของ Nvu ตอนนี้เป็นอย่างไร จึงเข้าไปไล่อ่านใน forum ของ Nvu พบว่ามีอะไรเยอะกว่าที่คิด
สรุปสั้นๆ ว่า Nvu ไม่พัฒนาต่อแล้ว ตอนนี้เป็นศึกชิงความเป็นทายาทของ Nvu ระหว่าง KompoZer กับ Composer2
ประวัติศาสตร์ของ Nvu ต้องขอเท้าความนานมาก เกือบสิบปี
Free Software Foundation เปิดเว็บ BadVista.org โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลจากอีกฝั่ง ว่า Vista มีผลเสียต่อผู้ใช้ในแง่อิสรภาพการใช้งาน, เสียการควบคุมคอมพิวเตอร์ของตัวเอง และประเด็น Digital Right Management
FSF ยังถือโอกาสนี้แนะนำให้ใช้ซอฟต์แวร์เสรีแทน โดยมี gNewSense (Ubuntu เวอร์ชันที่มีแต่ซอฟต์แวร์เสรี เช่น เอา restricted กับ multiverse ออกไป) เป็นเรือธง
ที่ OSNews กำลังเถียงกันมันส์หยด
ที่มา - BadVista Blog
หลังจากได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในช่วงหลัง ทางกูเกิลก็ออกมาประกาศถึง GWT 1.3 RC ที่โดยใช้ไลเซนส์แบบ Apache 2.0 โดยการออกรุ่น 1.3 นี้แทบไม่มีอะไรต่างไปจากรุ่น 1.2 ที่ออกมาก่อนหน้ายกเว้นการปรับปรุงซอร์สโค้ดในบางส่วน แลัการใส่ Build Script ให้สามารถนำซอร์สโค้ดไปคอมไพล์ได้เอง
กูเกิลระบุมาเสมอว่าการที่ทางกูเกิลปล่อย GWT มาให้ใช้งานกันฟรีๆ นี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้เว็บได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น ผ่านทางการสร้างเฟรมเวิร์คที่ให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่น AJAX ที่สามารถรันบนบราวเซอร์หลักทุกตัวได้
จาวาโอเพนซอร์ส GWT ก็โอเพนซอร์ส ผมเริ่มอยากเขียนจาวาล่ะ แต่ผมไม่ชอบ Applet...
ใครพยายามทำ Virtualization เพื่อใช้งานอยู่ในตอนนี้อาจจะต้องพบกับความลำบากในการติดตั้งซักหน่อย เพราะโครงการ Xen นั้นยังรวมเข้าตัว Kernel ได้ไม่เต็มร้อยเท่าใหร่ แต่วันนี้ทางไลนัส ทอร์วัลด์ ก็ออกมาประกาศว่่าลินุกซ์ตั้งแต่รุ่น 2.6.20 เป็นต้นไป จะมีการอินทริเกรตความสามารถในการทำ Virtualization มาในตัวแล้ว ที่หลายคนอาจจะแปลกใจคือไลนัสเลือกเทคโนโลยี KVM ที่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการเมื่อสองเดือนก่อนนี้เอง
โปรแกรมเล่นไฟล์มันติมีเดียที่ผมชอบที่สุดในตอนนี้คงเป็น VLC ที่ค่อนข้างเล็กและรองรับไฟล์ได้หลากหลาย สำหรับตอนนี้คนส่วนใหญ่คงใช้เวอร์ชั่น 0.8.5 กันอยู่ แต่สำหรับแม้เลขเวอร์ชั่นจะขึ้นมาเพียง 0.0.1 แต่ความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับเวอร์ชั่นนี้ค่อนข้างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
ส่วนที่เหลือเป็นการแก้บั๊กจำนวนมาก และการรองรับไฟล์ฟอร์แมตอื่นๆ
จากที่ช่วงนี้กระแสภาษาสคริปต์มาแรงทั้ง Ruby และ Python ซันเลยนำ Groovy มาปัดฝุ่นอีกครั้งหลังทิ้งไปนาน ตอนนี้ก็ได้ฤกษ์ออก RC1 มาแล้วล่ะครับ อ่านรายละเอียดของเวอร์ชั่นนี้ได้ที่ Blog ของคุณ Guillaume Laforge
ใครที่สนใจภาษาสคริปต์น่าจะลองดูตัวนี้บ้างนะครับ ไม่แน่ซันอาจจะดันจนดังขึ้นมาก็ได้
ที่มา - Theserverside.com
Open Source Development Labs (OSDL) ที่ทำงานของ Linus Torvalds ได้ปลดพนักงานจำนวน 1 ใน 3, เปลี่ยนตัว CEO และปรับเป้าหมายมาเน้นด้านกฎหมายแทน
OSDL เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ใช้, ผู้พัฒนา และบริษัท โดยได้รับเงินอุดหนุนจาก IBM, Hewlett-Packard, Novell, Intel และบริษัทอื่นๆ ที่สนใจในด้านโอเพนซอร์ส ในบรรดาพนักงานที่ปลดไป 9 คนนี้ ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะ Linus Torvalds กับ Andrew Morton ยังอยู่
ประเด็นสิทธิบัตรเป็นประเด็นที่ดูเหมือนจะไม่มีวันจบสิ้น เมื่อประเด็นร้อนครั้งล่าสุดเกิดขึ้นกับบริษัท Blackboard ที่เพิ่งได้รับสิทธิบัตรหมายเลข 6,988,138 ในเรื่องของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนการศึกษา
ปัญหาของสิทธิบัตรใบนี้คือมันมีอันตรายต่อโครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูงๆ เช่น Moodle เป็นอย่างยิ่ง งานนนี้ร้อนถึุงศูนย์กฏหมายเพื่อเสรีภาพซอฟต์แวร์ (Software Freedom Law Center-SFLC) ต้องออกมาเจรจากับบริษัท Blackboard โดยในช่วงเริ่มต้นนั้นทาง SFLC พยายามของให้ทาง Blackboard ให้สิทธิคุ้มกันซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหมดจากสิทธิบัตรนี้ แต่ทาง Blackboard ปฎิเสธโดยระบุว่าบริษัทไม่ได้สนใจที่จะมุ่งเป้าไปที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และหน่วยงานการศึกษาอยู่แล้ว
ขออาศัยช่วงที่กระแสโอเพนซอร์สยังไม่ตก แนะนำให้อ่านบล็อก Thailand FOSS Retrospects ของคุณเทพพิทักษ์ น่าจะทำให้หลายคนเข้าใจถึงรากเหง้าและวิธีคิดของซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์สในยุคแรกเริ่ม รวมถึงแยกแยะเหตุผลที่ทำให้จิตวิญญาณเหล่านี้ในประเทศไทยหายไปเยอะในช่วงหลังๆ
เอกสารอีกฉบับที่ทุกคนน่าจะอ่านคือ มหาวิหารกับตลาดสด ฉบับแปลไทยของ The cathedral and the bazaar เอกสารแนวคิดโอเพนซอร์สชิ้นสำคัญของ Eric S. Raymond ซึ่งเอกสารนี้แหละที่ทำให้ Netscape เปิดซอร์สโค้ดของ Mozilla ในปี 1998
สาเหตุน่าจะมาจากการที่รัฐบาลของฝรั่งเศสคิดว่าสูญเสียเงินจากการที่ไมโครซอฟท์ยัดซอฟต์แวร์ที่ไร้ประโยชน์จนเกินไป
โดยจะเริ่มมีการใช้ซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สในเดือนมิถุนายนปี 2007 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและแบบเซิร์ฟเวอร์จะถูกเปลี่ยนไปใช้เป็นระบบปฏิบัติการของลีนุกซ์, เว็บเบราว์เซอร์ของโมซิลล่า ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ซึ่งในขณะนี้ยังใช้เวอร์ชั่น 2.0.4 และเป็นคู่แข่งโดยตรงของทางไมโครซอฟท์
ที่มา: Yahoo
จาก การเข้าพบ รมว. ICT เมื่อวานนี้ ทางไทยรัฐออนไลน์ ก็ได้นำข่าวนี้ไปลงแล้วครับ
เป็นนิมิตรหมา่ยที่ดี ที่สื่อหลักก็หันมาสนใจข่าวนี้เช่นกันครับ
ผมไม่แน่ใจสื่อฉบับอื่นจะลงด้วยหรือเปล่า ยังไงก็อัพเดทกันในนี้ด้วยก็ดีครับ
ที่มา - ไทยรัฐ ออนไลน์
เผอิญว่ามีงานแถลงนโยบายของ SIPA รอต่อคิวพอดี นักข่าวเลยเยอะ พรุ่งนี้คงเห็นลงข่าวกันหลายฉบับ เอาเวอร์ชันคร่าวๆ ลวกๆ ของผมไปก่อนละกันครับ ขอเขียนทางการนิดนึงเผื่อมีใครอ้างอิงจะได้ดูดีหน่อย
รายงานการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT เพื่อชี้แจงเรื่องโอเพนซอร์สในประเทศไทย วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 เวลา 14.30-15.30 ที่กระทรวง ICT อาคาร 9 ชั้น ICT3 บริษัท ทีโอที จำกัด มหาชน
จากกระทรวง ICT ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ดร. สิทธิชัย โภไคยอุดม, ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ดร. อาวุธ พลอยส่องแสง, ที่ปรึกษาและเลขานุการของรัฐมนตรี 2-3 ท่าน
ผู้เข้าพบ ได้แก่