Android 15 ออกรุ่นทดสอบ Beta 1 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
Windows 10 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 หลังซัพพอร์ตมายาวนานครบ 10 ปี โดยไมโครซอฟท์เคยประกาศว่าจะออก Windows 10 Extended Security Updates แบบเสียเงิน เพื่อต่ออายุแพตช์ความปลอดภัยได้อีก 3 ปี แบบเดียวกับกรณีของ Windows 7
NetBSD โครงการระบบปฏิบัติการสายยูนิกซ์ตระกูล BSD อีกตัว ออกเวอร์ชัน 10.0 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบ 4 ปี (เวอร์ชัน 9.0 ออกปี 2020)
ของใหม่ใน NetBSD 10.0 มีทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพหลายจุด รองรับฮาร์ดแวร์ใหม่จำนวนมากโดยเฉพาะบอร์ดสาย Arm, ปรับปรุงการทำงานกับ virtualization ทั้ง Xen และ HyperV, รองรับ WireGuard สำหรับการเชื่อมต่อ VPN, ปรับปรุงการเข้ารหัส cryptography ให้แข็งแรงขึ้น
ที่มา - NetBSD, Notebookcheck
กูเกิลออก Android 15 Developer Preview 2 (DP2) มีการเปลี่ยนแปลงที่ระดับ OS หลายอย่าง ดังนี้
สถิติจาก StatCounter ระบุว่าลินุกซ์มีส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อป 4.03% เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ถือเป็นครั้งแรกที่ทำได้เกิน 4% และใช้เวลาเพียง 8 เดือน นับจากส่วนแบ่งตลาดเกิน 3% ในเดือนมิถุนายน 2023 (กว่าจะทำได้ถึง 3% แรกใช้เวลา 30 ปี)
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนนักว่าทำไมส่วนแบ่งตลาดของลินุกซ์บนเดสก์ท็อปถึงเติบโตเร็วในรอบปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ ZDNet คาดว่ามาจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น การเล่นเกมบนลินุกซ์ได้รับความนิยมมากขึ้นจาก Steam ช่วยดัน, ตัวเลขผู้ใช้งานลินุกซ์ในอินเดีย (ซึ่งมีประชากรเยอะ) เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลัง ตอนนี้ส่วนแบ่งตลาดลินุกซ์ในอินเดียเกิน 15.23% แล้ว ในขณะที่ macOS มีเพียง 3.11%
ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดทำ Windows Subsystem for Android (WSA) ของ Windows 11 โดยจะซัพพอร์ตถึงวันที่ 5 มีนาคม 2025 (อีกหนึ่งปีจากนี้) ส่วนสโตร์ Amazon Appstore on Windows ก็จะปิดบริการในวันเดียวกัน
ตอนนี้ Amazon Appstore on Windows ปิดการรับแอพใหม่เพิ่ม และตัวสโตร์ไม่สามารถเข้าถึงได้จาก Microsoft Store แล้ว แต่นักพัฒนาแอพเดิมยังอัพเดตแอพได้ต่ออีก 1 ปี และผู้ใช้ที่ติดตั้งแอพไปแล้วสามารถใช้งานได้ตามปกติเช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศออกอัพเดตฟีเจอร์ให้ Windows 11 รุ่นเสถียร (22H2 และ 23H2) โดยเป็นการอัพเดตแยกจากเวอร์ชันของตัวแกนระบบปฏิบัติการ (ยังไม่ใช่ 24H1)
ฟีเจอร์หลายตัวเคยประกาศและทดสอบกับกลุ่ม Insider ไปแล้ว โดยไมโครซอฟท์จะทยอยปล่อยฟีเจอร์แต่ละตัวไม่พร้อมกัน และปล่อยอัพเดตให้ผู้ใช้ทีละกลุ่มไปจนครบในเดือนเมษายน
Mishaal Rahman นักแกะข้อมูลสาย Android ชื่อดัง รายงานว่ากูเกิลเตรียมใช้ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอ AV1 ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้มือถือรุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีชิปถอดรหัส AV1 ในตัวสามารถดูวิดีโอ AV1 ด้วยซีพียู แต่ประหยัดแบตเตอรี่กว่าเดิม
เดิมทีนั้น Android ใช้ไลบรารี libgav1 ของกูเกิลเองมาตั้งแต่ Android 10 แต่ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอที่นิยมใช้กันในวงการคือ libdav1d ของ VideoLAN ซึ่งมีข้อดีกว่าตรงที่บางส่วนเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ทำงานกับชิป ARMv8 โดยตรง ช่วยลด overhead ของซีพียูลงได้มาก เหมาะกับการถอดรหัส AV1 บนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าๆ
กูเกิลประกาศปรับสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการ Wear OS 4 ให้รองรับหน่วยประมวลผลคู่แบบไฮบริด (dual-chipset) ที่เริ่มใช้งานใน OnePlus Watch 2 ซึ่งเปิดตัววันนี้เหมือนกัน
แนวทางของนาฬิกา Wear OS ของ OnePlus (และคงมียี่ห้ออื่นทยอยตามมา) ใช้ชิปสองตัว ได้แก่ชิปหลัก application processor (AP) และชิปประหยัดพลังงาน microcontroller unit (MCU) เพื่อรองรับสถานการณ์ประมวลผลที่ต่างกัน เป้าหมายเพื่อให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานกว่าเดิม
ปัญหา Windows อัพเดตแล้วต้องรีบูตเครื่องบ่อยๆ เป็นสิ่งที่น่ารำคาญสำหรับทุกคน ไมโครซอฟท์พยายามแก้ปัญหานี้ด้วยฟีเจอร์ Windows Hotpatching ที่มีบางแพตช์ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องรีบูต ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้งานใน Windows Server บน Azure มาได้สักระยะแล้ว และกำลังจะนำมาใช้กับ Windows Server 2025
ฝั่งของพีซี ล่าสุดมีสัญญาณว่าไมโครซอฟท์กำลังนำฟีเจอร์มาใช้งานแล้วเช่นกัน โดย Windows 11 Insider Build 26058 ที่เปิดฟีเจอร์ Virtualization Based Security (VBS) จะได้รับแพตช์ย่อย Build 26058.1400 ที่ไม่ต้องรีบูตหลังติดตั้ง
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 26063 ให้กลุ่มทดสอบ Canary Channel มีของใหม่ที่สำคัญคือรองรับ Wi-Fi 7 แล้ว หลังจากกลุ่ม Wi-Fi Alliance เริ่มออกตรารับรองอุปกรณ์ที่ใช้งาน Wi-Fi 7 ได้ เมื่อเดือนมกราคม
Wi-Fi 7 หรือ IEEE 802.11be Extremely High Throughput (EHT) พัฒนาต่อจาก Wi-Fi 6E โดยใช้คลื่นย่าน 6GHz ความกว้างสูงถึง 320 MHz เพื่อให้ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคการส่งสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น 4096-QAM modulation และ Multi-Link operation (MLO)
ในหน้าจอบอกข้อมูล Network & internet > Wi-Fi หากเราเตอร์ที่เราเชื่อมต่ออยู่เป็น Wi-Fi 7 ก็จะแสดงสถานะของเครือข่ายตามภาพตัวอย่าง
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 26058 รุ่นทดสอบ Canary/Dev Channels มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจด้าน UI หลายอย่าง
กูเกิลเริ่มโฆษณาระบบปฏิบัติการ ChromeOS Flex สำหรับองค์กรที่จะต้องเจอปัญหาพีซีเก่าที่เป็น Windows 10 หมดระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 และไม่สามารถอัพเกรดเป็น Windows 11 ได้ด้วยข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์
ChromeOS Flex หรือชื่อเดิม Neverware ก่อนกูเกิลซื้อกิจการในปี 2020 เป็นการนำระบบปฏิบัติการ ChromeOS มาดัดแปลงให้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์พีซีและแมครุ่นเก่าๆ ที่หมดระยะซัพพอร์ตแล้ว จุดเด่นของมันคือฟรี ปลอดภัย เล็ก เร็ว อัพเดตง่าย ดูแลง่าย และมีอินเทอร์เฟซหลักเป็นเบราว์เซอร์ Chrome ที่คนจำนวนมากคุ้นเคย
กูเกิลออก Android 15 Developer Preview 1 ตามรอบปกติที่ออกในช่วงต้นปี (คราวนี้โค้ดเนมขึ้นต้นด้วยตัวอักษร V ซึ่งคาดว่าจะเป็น Vanilla Ice Cream) ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ยังเน้นไปที่ตัวแกนของระบบปฏิบัติการเช่นเคย หลังจากกูเกิลพยายามแยกส่วน Android ให้อัพเดตแยกจาก OS ได้ง่ายขึ้นแล้ว
กูเกิลเปิดเผยว่าได้เพิ่ม "เสียงเอฟเฟคต์" ให้ระบบปฏิบัติการ ChromeOS เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2023 โดยก่อนหน้านั้น ChromeOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ไม่เคยมีเสียงของระบบ (system sound) มาก่อนเลย
กูเกิลตัดสินใจเพิ่มเสียงชุดแรก 2 เสียงคือ เสียงร้องเวลาเสียบสายชาร์จ และเสียงเตือนตอนแบตเตอรี่ลดต่ำลง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ รวมถึงผู้ใช้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น การมีเสียงบอกว่าเสียบสายชาร์จเข้าแล้ว หรือ แบตเตอรี่ต่ำถึงระดับที่ควรชาร์จ ช่วยลดความจำเป็นในการเรียกแอพอ่านหน้าจอ (screen reader) ลงได้
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @PhantomOfEarth โพสต์ภาพของฟีเจอร์ใหม่ใน Windows 11 Insider 24H2 ที่ยังไม่เปิดตัว ชื่อว่า Automatic Super Resolution หรือชื่อย่อ Auto SR โดยเป็นตัวเลือกอยู่ในหน้า Settings > System > Display > Graphics
คำอธิบายฟีเจอร์นี้ระบุว่าเป็นการใช้ AI ช่วยปรับแต่งรายละเอียดของภาพ โดยสามารถใช้ได้ทั้งแอพและเกม และสามารถตั้งค่าเปิดใช้ได้กับแอพเป็นรายตัวด้วย
Cristiano Amon ซีอีโอ Qualcomm ยืนยันข้อมูลในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2023 ว่า Windows เวอร์ชันใหม่จะออกพร้อมกับพีซีที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite ช่วงกลางปีนี้ (mid-2024)
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวลือจาก Windows Central ระบุว่าปีนี้ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว AI PC พร้อม Windows เวอร์ชันใหม่ โดยเราจะเห็น Surface รุ่นใหม่ใช้ชิป Snapdragon X Elite พร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ที่แยกอัพเดต 2 รอบคือ ส่วนแกนระบบปฏิบัติการ โค้ดเนม Germanium และส่วนฟีเจอร์ โค้ดเนม Hudson Valley
แอปเปิลอัพเดตส่วนแบ่งผู้ใช้ iOS แต่ละเวอร์ชัน โดยเป็นการรายงานตัวเลขครั้งแรก หลังจาก iOS 17 ออกมาเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งข้อมูลนี้เป็นตัวเลขวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2024
iOS 17 มีส่วนแบ่งผู้ใช้งาน 76% ของผู้ใช้ iPhone ทั้งหมดที่ขายในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่วน iOS 16 มี 20% หากนับรวม iPhone ทั้งหมดทุกรุ่น iOS 17 คิดเป็น 66% ตัวเลขนี้น้อยกว่าตอน iOS 16 ที่มีส่วนแบ่งถึง 81% ในระยะเวลาเดียวกัน
จากที่มีข่าวว่า Amazon กำลังทำระบบปฏิบัติการตัวใหม่โค้ดเนม Vega มาใช้แทน Fire OS และเริ่มใช้กับหน้าจออัจฉริยะ Echo Show 5 แล้ว
ฝั่งของ Amazon ไม่เคยแถลงใดๆ ในเรื่องนี้ แต่ล่าสุดมีข้อมูลอย่างเป็นทางการชิ้นแรกบนเว็บไซต์ Amazon (แม้ไม่ตั้งใจ) นั่นคือประกาศรับสมัครงานตำแหน่ง Software Development Engineer, Fire TV Experience ประจำที่สาขาเบอร์ลิน
ข้อมูลสำคัญคือบอกเนื้อหางานนี้ว่าต้องพัฒนาโค้ดฝั่งไคลเอนต์ของ Fire TV ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจาก FOS/Android (FOS หมายถึง Fire OS) มาสู่ native/Ruse และ React Native
พบกันทุกสามปี ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows Server เวอร์ชันหน้าจะเรียกว่า Windows Server 2025 ถือเป็นการนับเลขต่อจาก Windows Server 2022 ที่ออกในปี 2021
ช่วงหลังไมโครซอฟท์ใช้วิธีออก Windows Server Insider รุ่นทดสอบอยู่เรื่อยๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อกลางๆ ว่า Windows Server vNext ไม่ได้ระบุเลขปีชัดเจน ตอนนี้ไมโครซอฟท์เปลี่ยนชื่อ Insider ตัวล่าสุดเป็น 2025 เรียบร้อยแล้ว
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการรอบใหญ่ iOS 17.3 และ iPadOS 17.3 สำหรับคนใช้ iPhone และ iPad ตามที่ประกาศก่อนหน้านี้ สามารถอัพเดตแบบ OTA โดยไปที่ Settings > General > Software Update
ในอัพเดต iOS 17.3 นี้ มีฟีเจอร์สำคัญคือ Stolen Device Protection ที่เพิ่มความปลอดภัยให้กับ iPhone ที่ถูกขโมย เช่น เพิ่มการใช้ Face ID ยืนยันตัวตนถ้าเปลี่ยนรหัสผ่าน, มีการหน่วงเวลาเปลี่ยนรหัสผ่าน หากพบอุปกรณ์อยู่ในพิกัดที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น
เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวลือจาก Windows Central บอกว่าระบบปฏิบัติการ Windows ของปี 2024 จะเรียกว่า Windows 12 ชูฟีเจอร์ด้าน AI
แต่ล่าสุด Windows Central รายเดิมอ้างแหล่งข่าวว่า น่าจะยังเรียก Windows 11 ต่อไปก่อน โดยคงระบบเลขเวอร์ชันแบบเดิมคือ 24H2 ที่ออกช่วงครึ่งหลังของปีนี้
แหล่งข่าวของ Windows Central ให้เหตุผลที่ไมโครซอฟท์ยังเรียก Windows 11 ต่อไปเป็นเพราะ Panos Panay หัวหน้าทีม Windows ลาออกจากไมโครซอฟท์ ถึงแม้ไม่มีรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ก็พอเดาได้ว่าเป็นเพราะทิศทางของทีม Windows ยังไม่นิ่ง ไมโครซอฟท์จึงอาจเลือกไม่เสี่ยงเปลี่ยนเลขเวอร์ชันใหญ่ก็เป็นได้
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 23619 (Dev Channel) มีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือ ส่งภาพจากมือถือ Android ไปยังแอพ Snipping Tool บนพีซีได้อัตโนมัติ
วิธีใช้งานต้องตั้งค่า Settings > Bluetooth & devices > Mobile devices เชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับพีซีก่อน และเลือกเปิด Get new photo notifications
เมื่อเราถ่ายภาพหรือจับภาพหน้าจอบนมือถือ จะมีการแจ้งเตือนขึ้นมาบนจอพีซีทันทีว่า New photo และหากต้องการนำภาพนั้นไปใช้ต่อบนพีซี ก็สามารถกดเพื่อเรียกภาพขึ้นมาในแอพ Snipping Tool เพื่อตัดแต่งภาพก่อนอีกรอบได้เลย
ระบบปฏิบัติการที่เรารู้จักกันในชื่อ MS-DOS หรือ Microsoft Disk Operating System ไม่ได้ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟท์มาตั้งแต่แรก แต่เป็นไมโครซอฟท์ไปซื้อระบบปฏิบัติการ QDOS (Quick and Dirty Operating System) หรือภายหลังใช้ชื่อ 86-DOS ทำตลาด มาจากบริษัท Seattle Computer Products ในราคาราว 50,000 ดอลลาร์ แล้วนำไปขายต่อให้บริษัทอื่นๆ (รวมถึง IBM ในยุคนั้น ที่ใช้ชื่อ PC DOS ทำตลาด)
ล่าสุดมีการค้นพบไฟล์ของ 86-DOS เวอร์ชัน 0.1 C ที่ถูกเขียนขึ้นในปี 1980 ซึ่งน่าจะเป็นไฟล์ของ DOS เวอร์ชันเก่าที่สุดที่ย้อนหากันจนเจอ
ไมโครซอฟท์ยังไม่เคยออกมาแถลงใดๆ เกี่ยวกับแผนการออก Windows ของปี 2024 ที่ลือกันว่าใช้โค้ดเนม Hudson Valley และจะเรียกว่า Windows 12 รวมถึงแผนการเรียกชื่อฮาร์ดแวร์ว่า AI PC
อย่างไรก็ตาม ในการเปิดตัวโน้ตบุ๊ก Dell XPS ของปี 2024 มีคนเห็นข้อความดอกจันตัวเล็กๆ ว่าฟีเจอร์ Wi-Fi 7 ของ XPS จำเป็นต้องรออัพเดต Windows 11 v24H1 ที่จะเปิดให้ดาวน์โหลดเดือนเมษายน 2024 และจะพรีโหลดมาพร้อมเครื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2024 เป็นต้นไป