Nintendo ได้รับสิทธิบัตรใหม่ว่าด้วยระบบซอฟต์แวร์อีมูเลเตอร์ที่จะแปลงเกมสำหรับ Game Boy, Game Boy Color และเครื่องเกมพกพาอื่น ให้สามารถเล่นได้บนอุปกรณ์พกพา, คอมพิวเตอร์ หรือกระทั่งหน้าจอบริเวณที่นั่งโดยสารบนเครื่องบิน
ปัญหาหนึ่งที่นักวิเคราะห์บางรายอธิบายสาเหตุที่นาฬิกาอัจฉริยะยังไม่ได้รับความนิยมเปรี้ยงปร้าง เป็นเพราะธรรมชาติของมันที่จะถูกออกแบบมาให้มีขนาดหน้าจอเล็กพอเหมาะต่อการสวมใส่บนข้อมือ จึงทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับบางคนที่จะต้องมาคอยกดคอยจิ้มหน้าจออันจิ๋วเหล่านี้
Apple คือตัวอย่างที่ดีของความพยายามตีโจทย์นี้ด้วยการใส่เม็ดมะยมเข้ามาใน Apple Watch เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งสำหรับการสั่งงานนาฬิกาของตน มาตอนนี้เราพอมองเห็นความพยายามด้านงานออกแบบของ Samsung บ้างที่เพิ่งมีการเปิดเผยออกมาว่าได้ยื่นจดสิทธิบัตรที่มีเรื่องการควบคุมนาฬิกาอัจฉริยะด้วยวงแหวนรอบตัวเรือนที่ผู้ใช้สามารถหมุนปรับได้
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อหลายปีมาแล้ว Nortel บริษัทอุปกรณ์โทรคมนาคมแคนาดาล้มละลาย และ
หลังจากที่ Samsung และ Qualcomm โดน NVIDIA ยื่นฟ้องด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับตัวประมวลผลกราฟิก ตอนนี้ขาใหญ่แดนโสมได้ออกมาตอบโต้ด้วยการยื่นฟ้อง NVIDIA บ้าง ด้วยข้อหาลักษณะเดียวกันคือการละเมิดสิทธิบัตร แถมพ่วงด้วยข้อกล่าวหาโฆษณาเกินจริงที่ทำให้เข้าใจว่าชิป Tegra K1 เป็นชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาที่เร็วที่สุดในโลก
Disney ได้รับสิทธิบัตรใหม่ว่าด้วยเรื่องของระบบซอฟต์แวร์เครื่องมือค้นหาที่สามารถหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตโดยคัดกรองลิงก์ที่นำไปสู่เว็บอันมีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
โดยมากแล้วเครื่องมือค้นหาจะเน้นการนำเสนอผลการค้นหาโดยอ้างอิงจากความนิยมเป็นหลักอันเนื่องมาจากแนวคิดว่า ลิงก์ผลการค้นหาไหนที่คนนิยมเข้าชมหรือมีปฏิสัมพันธ์ด้วยมากที่สุดย่อมหมายความว่าลิงก์ผลการค้นหานั้นถูกใจตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดเช่นกัน
Samsung ยื่นจดสิทธิบัตรระบบการสร้างพลังงานไฟฟ้าจ่ายกลับสู่แบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟน โดยพลังงานดังกล่าวจะได้มาจากการกดสัมผัสหน้าจอด้วยปลายนิ้วของผู้ใช้นั่นเอง
สิทธิบัตรด้านการถ่ายภาพที่ Sony ได้รับการรับรองมาใหม่เป็นเรื่องของส่วนกลไกที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับระยะห่างระหว่างเซ็นเซอร์รับภาพกับเลนส์ได้
การปรับระยะห่างที่ว่านี้ จะให้ประโยชน์ได้ 2 ประการ อย่างแรกเป็นเรื่องของกระบวนการประกอบและผลิตกล้องของ Sony เองซึ่งจะสามารถปรับตั้งระยะของเซ็นเซอร์รับภาพกับเลนส์ชนิดพิเศษแต่ละตัวได้แม่นยำทำให้การรับภาพคมชัดได้อย่างเต็มที่ อีกประการหนึ่งคือเป็นวิธีการทางเลือกที่ผู้ใช้สามารถปรับค่าโฟกัสภาพได้เอง (จากแต่เดิมที่ต้องไปปรับระยะโดยใช้กลไกในส่วนของชุดเลนส์)
Sony ยื่นคำขอจดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์รับภาพที่จะทำให้การถ่ายภาพ HDR ในช็อตเดียวสามารถเป็นไปได้
โดยทั่วไปภาพถ่าย HDR จะอาศัยการเก็บภาพมากกว่า 1 ครั้ง โดยแต่ละครั้งมีการปรับค่าช่วงเวลาให้เซ็นเซอร์รับแสงแตกต่างกัน แล้วนำภาพที่ได้เหล่านั้นมาผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์เพื่อดึงเอารายละเอียดของภาพในส่วนพื้นที่สว่าง (ซึ่งเก็บได้จากการถ่ายโดยตั้งค่ารับแสงน้อย) และพื้นที่มืดของภาพ (ที่เก็บได้จากการถ่ายโดยตั้งค่ารับแสงนาน) เอามาผนวกรวมเป็นภาพเดียวกัน
Apple เพิ่งได้รับอนุมัติสิทธิบัตรมาอีกชุดใหญ่ ซึ่งรวมถึงฟีเจอร์ที่คุ้นเคยกันดีอย่าง Find My iPhone รวมทั้งแผนที่พร้อมระบบนำทางแบบ 3 มิติ และลายเซ็นดิจิทัลสำหรับอีบุ๊ก
สำหรับฟีเจอร์ Find My iPhone นั้นก็เป็นฟีเจอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ติดตามเครื่อง iPhone ที่อาจถูกวางลืมทิ้งไว้ หรือโดนใครขโมยไป โดยมันจะช่วยให้เจ้าของ iPhone สามารถติดตามตำแหน่งของ iPhone ที่เปิดใช้ระบบนี้ได้
ส่วนสิทธิบัตรแผนที่พร้อมระบบนำทาง 3 มิติที่ Apple ได้รับอนุมัตินั้นจะครอบคลุมส่วนติดต่อผู้ใช้งานที่สามารถสลับไปมาได้ระหว่างการนำเสนอแบบ 2 มิติและ 3 มิติ รวมทั้งการแสดงผลเคลื่อนไหวที่ตอบสนองการสั่งงานโดยผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ
LG และ Google ประกาศแสดงความร่วมมือระหว่างกันในการแลกกันให้สิทธิ์ใช้งานสิทธิบัตรของแต่ละฝ่ายที่มีการจดไว้ทั่วโลก โดยคาดว่าข้อตกลงนี้จะมีผลผูกพันธ์ไปอีก 10 ปี
อย่างไรก็ตามรายละเอียดของข้อตกลงที่ว่านี้ไม่ได้รับการเปิดเผยออกมา จึงไม่สามารถระบุได้ว่าสิทธิบัตรที่อยู่ในข่ายการแลกกันเพื่อใช้งานนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง
ที่มา - Ubergizmo
LG Electronics ประกาศข้อตกลงด้านสิทธิบัตรกับกูเกิล โดยทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรระหว่างกันในระยะยาวนาน 10 ปี แต่ไม่เผยรายละเอียดว่ามีสิทธิบัตรเกี่ยวกับอะไรบ้าง
ช่วงหลังเราเห็นข่าวกูเกิลหันมาสนใจสะสมสิทธิบัตรเพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องมากขึ้น ทั้งสิทธิบัตรที่ได้จากการซื้อโมโตโรลา และการเซ็นสัญญาข้อตกลงด้านสิทธิบัตรกับหลายๆ บริษัท เช่น สัญญานาน 10 ปีกับซัมซุง และสัญญากับซิสโก้
ที่มา - LG Newsroom
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ฟ้องซัมซุงเนื่องจากเบี้ยวค่าสิทธิบัตร ล่าสุดมีปฏิกิริยาจากทางซัมซุง โดยทางซัมซุงระบุว่า สาเหตุที่ซัมซุงเลือกที่ไม่จ่ายค่าสิทธิบัตร เนื่องจากดีลการเข้าซื้อกิจการแผนกอุปกรณ์และบริการของโนเกียที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้ไมโครซอฟท์กลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับซัมซุง
แม้ว่าจะเหมือนกับข้ออ้างเดิม ๆ ที่เคยอ้างไว้ แต่สิ่งที่แตกต่างจากคราวก่อนคือ ซัมซุงเลือกที่เจาะจงไปยังประเด็นการป้องกันการผูกขาด อันเนื่องมาจากประเด็นด้านการเป็นคู่แข่งโดยตรงของไมโครซอฟท์
ย้อนกลับไปประมาณปลายเดือนกรกฎาคม Bose ได้ยื่นฟ้อง Beats ฐานละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีตัดเสียงรบกวน รวมทั้งยื่นเรื่องให้คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (International Trade Commission: ITC) ระงับการนำเข้าสินค้าของ Beats ที่ละเมิดสิทธิบัตรด้วย อย่างไรก็ดีผ่านมา 3 เดือน ดูเหมือน 2 ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องเสียงจะสามารถตกลงกันแล้ว
Bloomberg รายงานว่าทาง Bose และ Beats ได้ยื่นเรื่องต่อศาลร่วมกันว่าสามารถหาข้อยุติต่อประเด็นข้างต้นได้แล้ว รวมไปถึงยื่นเรื่องให้ทาง ITC ยกเลิกการสอบสวนกรณีดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ไมโครซอฟท์จดสิทธิบัตร Camera Non-touch Switch ซึ่งกล่าวถึงกล้องแบบสวมใส่ได้ (wearable camera) ที่ไม่มีสวิตช์ควบคุมการทำงาน โดยระบบจะบันทึกภาพหรือวิดีโอลงหน่วยความจำในตัวโดยอัตโนมัติ และเมื่อหน่วยความจำเต็มภาพหรือวิดีโอเก่าจะถูกลบเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับเก็บภาพหรือวิดีโอใหม่
กล้องนี้สามารถผนวกเข้ากับอุปกรณ์สวมใส่ศีรษะอื่น อาทิ หมวก แว่นตา หมวกกันน็อก หรือหนีบเข้ากับเสื้อผ้าได้ ตัวอย่างหน้าตากล้องเป็นดังภาพท้ายข่าว จุดที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือตัวกล้องมีโลโก้ Skype แปะอยู่ด้วย แต่สิทธิบัตรกลับไม่ได้ลงรายละเอียดแต่อย่างใด
NSA มีเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับการดักฟังและการประมวลสัญญาณระดับสูงจำนวนมาก แม้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นความลับทางด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ แต่ NSA ก็มีโครงการส่งต่อเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับเอกชนด้วย โดยเทคโนโลยีที่จะส่งต่อเหล่านี้เป็นสิทธิบัตรที่เปิดเผยมาก่อนแล้ว ทาง NSA ถึงกับมีแคตตาล็อก สี่สีให้เอกชนที่สนใจสามารถเข้าไปเจรจาซื้อสิทธิบัตรได้
ทาง NSA ระบุว่าราคาและเงื่อนไขการใช้งานขึ้นกับการเจรจาโดยจะดูศักยภาพตลาด เงื่อนไขการใช้งานที่อาจจะเจรจาขอซื้อสิทธิแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้งาน
เทคโนโลยีส่วนมากเป็นเทคโนโลยีการประมวลสัญญาณ เกี่ยวข้องกับการระบุตัวตน เช่น
ในขณะที่ Apple ถูกปฏิเสธคำขอให้มีการไต่สวนคดีสิทธิบัตรเสียใหม่ คู่ความอย่าง Samsung อาจมีความรู้สึกที่ต่างออกไป หลังผู้พิพากษาเริ่มคล้อยตามข้อชี้แจงของ Samsung และเปลี่ยนคำตัดสินใหม่ ระบุว่าการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิบัตร slide-to-unlock นั้นเป็นไปโดย "ไม่ได้จงใจ"
ในการต่อสู้คดีนี้เมื่อครั้งก่อนจนได้คำตัดสินจากคณะลูกขุนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาแล้วว่า Samsung ได้จงใจละเมิดสิทธิบัตรของ Apple จริง 3 รายการ โดย 1 ในสิทธิบัตรที่ว่านั้นเป็นฟีเจอร์เด่น slide-to-unlock ที่ใช้สำหรับการปลดล็อคสมาร์ทโฟน
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศาลแขวงของ Northern District ใน California ได้พิพากษาตัดสินให้ Samsung ชดใช้เงินแก่ Apple เป็นมูลค่า 119.6 ล้านดอลลาร์ ในคดีละเมิดสิทธิบัตรของ Apple ที่ว่าด้วยเรื่องการซิงก์ข้อมูล และฟีเจอร์ slide-to-unlock
NVIDIA ประกาศว่ายื่นคำฟ้อง Samsung และ Qualcomm ไปยังหน่วยงานสองแห่งคือ คณะกรรมการการค้าระหว่างชาติของสหรัฐ (ITC) และศาลเขตเดลาแวร์ ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรจีพียูจำนวน 7 รายการ (ไม่บอกรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง)
ในคำร้องต่อ ITC มีเนื้อหาขอให้หยุดการนำเข้าอุปกรณ์แบรนด์ Galaxy ที่ใช้จีพียู Qualcomm Ardreno, ARM Mali, Imagination PowerVR ส่วนคำฟ้องต่อศาลเดลาแวร์คือชดเชยค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตร
สินค้าของซัมซุงที่เข้าข่ายมีตั้งแต่ Galaxy S4 ไล่มาจนถึง Note 4 และ Note Edge ส่วนอุปกรณ์สายแท็บเล็ตมีหลายตัว เช่น Galaxy Tab S, Note Pro, Tab 2 โดยส่วนใหญ่ใช้หน่วยประมวลผล Snapdragon กับ Exynos
Blognone มีข่าวเรื่องการนำอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน มาใช้งานก็หลายข่าว สำหรับข่าวนี้เป็นการนำโดรนมาใช้งานด้านความบันเทิง ที่ทำให้เห็นว่าโดรนสามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่าที่คิดครับ
Disney ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตร 3 รายการที่เกี่ยวข้องกับโดรน ซึ่งทั้งสามสิทธิบัตรนี้ทำให้เห็นว่า Disney กำลังศึกษาการนำโดรนมาใช้ประกอบการแสดงเพื่อความบันเทิงในสวนสนุก Disneyland ที่อาจยกระดับโชว์ไปอีกขั้น สิทธิบัตรทั้งสามประกอบด้วย
ดูเหมือน Google Glass กำลังจะมีรุ่นใหม่ออกมาอีกแล้ว หลังจากเว็บไซต์ Phandroid ไปพบกับสิทธิบัตรชิ้นใหม่ของกูเกิลที่มีภาพของ Google Glass โฉมใหม่ ซึ่งปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้าไปหลายอย่างด้วยกัน
จากภาพที่แนบมากับสิทธิบัตร Google Glass จะมีขนาดเล็กลง แบนลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสองรุ่นก่อนที่ออกมา และตัดก้านด้านข้างที่รวมฮาร์ดแวร์ทั้งหมดตั้งแต่บอร์ด หน้าจอ แบตเตอรี่ และกล้องออกไป
หนึ่งในสิทธิบัตรที่ Apple เพิ่งได้รับอนุมัติมาใหม่ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการสร้างเมาส์ที่รับรู้ได้ถึงความแรงของการกดคลิกโดยผู้ใช้ อันสะท้อนถึงความรู้สึกของผู้ใช้ในขณะนั้น
แนวคิดนั้นตรงไปตรงมาโดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดแรงกดที่กระทำต่อตัวเมาส์นั่นเอง โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นก้านยื่นที่มีความยืดหยุ่นโค้งงอและบิดขดได้ติดตั้งอยู่ใต้ส่วนรับการกดคลิก เมื่อมีการคลิกโดยผู้ใช้ ก้านเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะถูกแรงกระทำจนเปลี่ยนรูปร่างซึ่งจะทำให้ตัววัดความเค้นของก้านเซ็นเซอร์นั้นรับรู้ได้
แอปเปิลจดสิทธิบัตร "ผู้ช่วยดิจิทัลบนระบบเดสก์ท็อป" (Intelligent digital assistant in a desktop environment) หรืออธิบายง่ายๆ ว่ามันคือ Siri for Mac ก็พอได้
ข้อมูลจากเอกสารสิทธิบัตรแสดงให้เห็นไอคอนไมโครโฟนแบบเดียวกับ Siri บนหน้าจอ OS X ที่สามารถพูดคุยกับผู้ใช้ด้วยเสียงได้ ตัวไอคอนสามารถวางไว้บน Dock หรือจะวางลอยอยู่ที่ตำแหน่งอื่นก็ได้
ที่พิเศษกว่าเวอร์ชัน iOS คือระบบผู้ช่วยส่วนตัวบนเดสก์ท็อปจะดู "บริบท" (context) ของการใช้งานจากตำแหน่งของเมาส์ เช่น วางเมาส์ไว้บนไอคอนไฟล์ แล้วสั่ง "copy" ด้วยเสียงพูด เป็นต้น
ที่มา - AppleInsider
ซัมซุงและแอปเปิลได้ออกมาประกาศว่าทั้งสองบริษัทตกลงที่จะยุติการฟ้องร้องการละเมิดสิทธิบัตรทุกคดีที่มีการฟ้องกันนอกสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายความว่าคดีที่ยังอยู่ในชั้นศาลของทั้งสองบริษัทในประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักรจะจบลงทันที
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทยังจะคงสู้กันต่อไปในศาลสหรัฐอเมริกา และทั้งสองบริษัทยังไม่มีการยอมความหรือมอบไลเซ่นส์ให้กันโดยที่การต่อสู่ในสหรัฐฯ ยังไม่จบลง
ที่มา - Bloomberg
ไมโครซอฟท์ออกมาให้ข่าวว่ายื่นฟ้องซัมซุงเกี่ยวกับสัญญาใช้งานสิทธิบัตร Android (ไม่ใช่เรื่องละเมิดสิทธิบัตร)
คดีนี้เป็นผลมาจากสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรระหว่างไมโครซอฟท์-ซัมซุงในปี 2011 ซึ่งเป็นสัญญาลักษณะเดียวกับที่ไมโครซอฟท์เซ็นกับผู้ผลิต Android รายอื่นๆ
Wall Street Journal รายงานว่า Bose บริษัทผู้ผลิตหูฟังและลำโพงยื่นฟ้อง Beats คู่แข่งที่เพิ่งขายบริษัทให้แอปเปิล ในฐานละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวนในหูฟังรุ่น Studio และ Studio Wireless
ในการฟ้องร้อง Bose ได้เรียกร้องค่าเสียหาย และได้ยื่นเรื่องไปทางคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (International Trade Commission: ITC) ให้สั่งระงับการขายและนำเข้าสินค้าของ Beats ที่ละเมิดสิทธิบัตรด้วย
อย่างไรก็ดีการฟ้องร้องนี้ จะไม่มีผลต่อการปิดดีลเข้าซื้อ Beats ของแอปเปิลในเดือนกันยายนนี้