เมื่อต้นปีนี้ Apple แพ้คดีสิทธิบัตร FaceTime ถูกศาลสั่งจ่ายเงินชดเชยให้บริษัท VirnetX สูงถึง 625.6ล้านดอลลาร์
ล่าสุดผู้พิพากษา Robert Schroeder ของคดีดังกล่าว ให้ผลการตัดสินเดิมเป็นโมฆะ เพราะคณะลูกขุนอาจสับสนกับรายละเอียดของคดี และไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายแอปเปิล การไต่สวนคดีรอบใหม่ (retrial) มีผลออกมาว่าแอปเปิลยังแพ้คดีเหมือนเดิม แต่ค่าเสียหายลดลงมาเหลือ 302.4 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม VirnetX ยังมีคดีใหม่อีกคดีที่ฟ้องแอปเปิลเรื่องสิทธิบัตรด้านความปลอดภัยและแอพ iMessage ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการ
ที่มา - Reuters
ไมโครซอฟท์จดสิทธิบัตร Fingerprint Detection with Transparent Cover ซึ่งกล่าวถึงการผนวกตัวอ่านลายนิ้วมือเข้ากับหน้าจอของอุปกรณ์
สิทธิบัตรอธิบายว่า จะใช้ท่อนำคลื่น (wave guide) ที่อยู่ใต้กระจกจอภาพกับฟิลเตอร์ที่ทำให้เซ็นเซอร์ที่อยู่ด้านข้างของกระจกจอภาพนั้นสามารถจับริ้วของลายนิ้วมือบนหน้าจอได้ สิทธิบัตรยังระบุว่าสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมกับจอ LED และ AMOLED ได้
หวังว่าจะได้เห็นไมโครซอฟท์นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับอุปกรณ์ของบริษัทนะ
ที่มา: WIPO ผ่าน MSPoweruser
Google ได้ยื่นคำขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบของรถยนต์ไร้คนขับ โดยระบบที่ว่านี้คือระบบตรวจจับรถฉุกเฉินที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อให้รถยนต์ไร้คนขับสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
รถฉุกเฉินที่ว่านี้ อาจเป็นรถตำรวจ, รถดับเพลิง หรือรถพยาบาลก็ได้ ด้วยเหตุจากการปฏิบัติงานเป็นการฉุกเฉิน รถเหล่านี้อาจมีการแล่นที่ไม่เป็นไปตามกฎจราจรปกติ และเพื่อให้รถยนต์ไร้คนขับได้เข้าใจว่านี่ไม่ใช่รถธรรมดา มันจึงต้องมีวิธีการตรวจจับรถฉุกเฉินเหล่านี้เพื่อให้รถยนต์ไร้คนขับสามารถตัดสินใจและคิดเองได้ว่าควรทำอย่างไรเมื่อเจอกับรถฉุกเฉิน ซึ่งอาจเป็นการชะลอความเร็วและจอดชิดไหล่ทาง หรืออาจเป็นหลบเพื่อให้ทาง ขึ้นอยู่กับกรณี
Google ยื่นขอจดสิทธิบัตรการให้บริการโดรนกู้ชีพ ซึ่งจะช่วยนำเวชภัณฑ์และสิ่งจำเป็นสำหรับการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุดไปยังพื้นที่เกิดเหตุต่างๆ ด้วยระบบการเรียกผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุ
แนวคิดของ Google คือการจัดโดรนที่พร้อมเคลื่อนที่เร็วนำสิ่งจำเป็นสำหรับการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บไป โดยโดรนที่ว่านี้จะมีหลายลำซึ่งใช้สำหรับบรรทุกจัดส่งสิ่งของแตกต่างกันไปเพื่อให้เหมาะสมต่อการเรียกใช้งานแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ อาทิ การช่วยชีวิตคนจมน้ำก็จะใช้โดรนที่บรรทุกสิ่งของสำหรับกู้ภัยทางน้ำ เป็นต้นว่า อุปกรณ์ชูชีพเพื่อช่วยในการลอยน้ำ, อุปกรณ์สำหรับระบบการให้ก๊าซออกซิเจน และคู่มือที่จะช่วยแนะนำการผายปอดและปั๊มหัวใจได้อย่างถูกต้อง หรือหากเป็นเหตุการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนน ก็อาจมีอุปกรณ์สำหรับการห้ามเลือดและดามกระดูกที่หัก
Google ยื่นขอจดสิทธิบัตรการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้เครื่องเรือนต่างๆ ภายในบ้านเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือ) เพื่อทำการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เรื่องสุขภาพของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน
เนื้อหาสำคัญของคำขอจดสิทธิบัตรนี้ไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคว่าทำอย่างไรให้เครื่องใช้ภายในบ้านมีสภาพเป็นเซ็นเซอร์เก็บข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายคนได้ หากแต่ Google กำลังขอจดสิทธิบัตรในแง่ความแปลกใหม่ของระบบทั้งระบบที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้อยู่อาศัยในบ้านจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการตั้งใจวัดโดยเฉพาะ
หลังจากที่เจอปัญหาด้านเครื่องหมายการค้าไปเมื่อเดือนที่แล้ว ล่าสุดทาง No Man’s Sky ต้องประสบปัญหาสิทธิบัตรของอัลกอริทึมภายในเกม เจ้าของสิทธิบัตรของอัลกอริทึม “Superformula” ดังกล่าวคือองค์กร Genicap จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งยังไม่ได้อนุมัติให้ทางผู้พัฒนานำอัลกอริทึมดังกล่าวไปใช้งาน
เมื่อเดือนพฤษภาคม Huawei ได้ฟ้องร้อง Samsung ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในประเทศจีนฐานละเมิดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีในสมาร์ทโฟน และในระหว่างที่คดีดังกล่าวยังไม่ได้เดินหน้าไปไหน Huawei ก็จัดการฟ้อง Samsung อีกครั้งในจีน โดยครั้งนี้ระบุว่าสมาร์ทโฟนของ Samsung จำนวน 16 รุ่นได้ละเมิดสิทธิบัตรของ Huawei ที่ว่าด้วยเรื่องการออกแบบไอคอนและวิดเจ็ต
Nest บริษัทลูกของ Alphabet ได้ยื่นจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์เปลเด็กอัจฉริยะ โดยเปลที่ว่านี้จะมีเซ็นเซอร์และกล้องถ่ายภาพเพื่อคอยเฝ้าดูเด็กที่อยู่ในเปล
เปลในที่นี้อาจจะต่างกับเปลเด็กที่คนไทยคุ้นเคยอยู่สักหน่อย หากเรียกว่าคอกก็ดูจะเหมาะสมกับลักษณะของมันมากกว่า โดยเปลตามแนวคิดสิทธิบัตรของ Nest นั้นจะมีกล้องถ่ายภาพเพื่อสตรีมภาพสดๆ ไปยังโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเฝ้าดูเด็กได้ตลอดเวลา นอกจากนี้มันจะมีเซ็นเซอร์เพื่อสำรวจพฤติกรรมของเด็ก และเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาความเปลี่ยนแปลงของเด็กตลอดจนสิ่งแวดล้อมรายรอบเปลนั้น
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าวว่าผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของจีนทั้ง Huawei, ZTE, Lenovo กำลังเร่งสะสมสิทธิบัตรกันยกใหญ่ ทั้งผ่านการซื้อขาด ซื้อสิทธิ และการลงทุนวิจัยเอง
กรณีของ Huawei ถือว่าชัดเจนที่สุด เพราะจดสิทธิบัตรมากถึง 3,898 รายการในปี 2015 ส่วนงบวิจัยของบริษัทก็สูงถึง 9.2 พันล้านดอลลาร์ต่อปี (แอปเปิลใช้งบวิจัย 8.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี) และก่อนหน้านี้ไม่นาน Huawei เพิ่งเปิดสงครามสิทธิบัตรกับซัมซุง และ WSJ ยังรายงานข่าวที่ไม่ยืนยันว่าแอปเปิลยอมจ่ายเงินค่าสิทธิบัตรให้ Huawei แล้ว
กรณีของ Lenovo ก็ได้สิทธิบัตรจำนวนมากมาจากการซื้อ Motorola, ส่วน ZTE ก็เร่งขยายงบวิจัย แม้จะเจอปัญหาการกีดกันจากรัฐบาลสหรัฐก็ตาม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา Qualcomm ออกแถลงการณ์ประกาศว่าได้ยื่นฟ้อง Meizu ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาของจีน โดยระบุว่า Meizu ละเมิดสิทธิบัตรของ Qualcomm หลายตัว ซึ่งรวมไปถึงสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 3G (ทั้ง WCDMA และ CDMA2000) และ 4G LTE ด้วย
Qualcomm ระบุว่าบริษัทได้พยายามเจรจากับทาง Meizu ด้วยดีมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อตกลงการใช้งานสิทธิบัตรที่เป็นไปตามข้อกำหนดของทางการจีน แต่ Meizu กลับปฏิเสธที่จะลงนาม ขณะที่บริษัทอื่นๆ กลับยอมลงนามด้วย
การยื่นฟ้องนี้นอกจากจะขอให้ศาลชี้ขาดเรื่องของการละเมิดสิทธิบัตรแล้ว ยังเป็นการขอให้ระบุเพิ่มว่า ข้อตกลงที่ Qualcomm ขอให้ Meizu ทำ ไม่ขัดกฎการผูกขาดของจีน และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติอีกด้วย
สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาในกรุงปักกิ่งของจีน (Beijing Intellectual Property Office) มีคำสั่งให้แอปเปิลและ Zhongfu Telecon ตัวแทนจำหน่าย ระงับการจำหน่าย iPhone 6 และ iPhone 6 Plus หลังพบว่า iPhone รุ่นดังกล่าวเลียนแบบดีไซน์ของโทรศัพท์รุ่น 100C ของบริษัท Baili ในเสิ่นเจิ้น
ถึงแม้โทรศัพท์รุ่น 100C และ iPhone 6 จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย (ดูรูปได้จากที่มา) แต่สำนักงานทรัพย์สินฯ ระบุว่าความแตกต่างนั้นแทบจะแยกกันไม่ออก และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค ซึ่งทางแอปเปิลเองก็ยื่นเรื่องไปยังศาลด้านทรัพย์สินทางปัญญาในกรุงปักกิ่งเพื่อให้ศาลมีคำตัดสินเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยศาลได้รับเรื่องแล้ว
หากศาลยังคงยืนตามคำสั่งของสำนักงานทรัพย์สินฯ iPhone 6 และ 6 Plus จะถูกแบนเฉพาะในกรุงปักกิ่งและเมืองใกล้เคียง
อัพเดต: แก้ไขเนื้อหา
ที่มา - Forbes, China.org.cn
อยากที่ทราบกันว่าสถานการณ์ของ Yahoo ตอนนี้ค่อนข้างระส่ำระส่าย และกำลังมีหลายบริษัทให้ความสนใจที่จะซื้อกิจการโดยเฉพาะธุรกิจหลักอย่างเสิร์ชและอีเมล ล่าสุด Wall Street Journal รายงานว่า Yahoo กำลังเตรียมการขายสิทธิบัตรผ่านการประมูล
Yahoo ยืนยันกับ WSJ ว่าจะประมูลสิทธิบัตรกว่า 3,000 รายการ ประเมิณมูลค่าคร่าวๆ ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยสิทธิบัตรบางชิ้นจดทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 1996 ด้วยซ้ำไป และจะเปิดประมูลรอบแรกไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายนนี้
โฆษกของ Yahoo ระบุด้วยว่าการประมูลซื้อธุรกิจเว็บ ที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัท จะมาพร้อมกับสิทธิบัตรกว่า 500 รายการ บวกับ 600 รายการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาที่ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเว็บของ Yahoo ทั้งสิ้น
ปัจจุบันอุปกรณ์หลายตัวรอบตัวผู้ใช้รองรับการสั่งการด้วยเสียงเพื่อปลุกเครื่องขึ้นมาทำงาน (voice activation) แต่ก็เป็นไปได้ที่อุปกรณ์เหล่านั้นหากอยู่ใกล้กันจะทำงานพร้อมกันเมื่อรับคำสั่งเสียงเดียวกัน
ล่าสุด ไมโครซอฟท์จดสิทธิบัตร Device Arbitration for Listening Devices ที่กล่าวถึงวิธีการที่อุปกรณ์จะสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นในเครือข่ายก่อนที่จะตื่นขึ้นอย่างสมบูรณ์ และตัดสินใจว่าอุปกรณ์ใดจะตื่นขึ้นจากเสียงสั่งการ อาทิ มีการกำหนดค่าอุปกรณ์หลักไว้ หรือตามกิจกรรมที่ถูกตรวจจับโดยอุปกรณ์
ดูรายละเอียดสิทธิบัตรทั้งหมดได้จากที่มาของข่าว
ที่มา: WIPO ผ่าน MSPoweruser
Xiaomi ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์ในข้อตกลงการใช้งานสิทธิบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ร่วมกัน รวมถึงการติดตั้งแอพของไมโครซอฟท์อย่าง Skype และ Microsoft Office บนอุปกรณ์ของ Xiaomi มาให้ตั้งแต่แกะกล่องด้วย
รองประธานอาวุโสของ Xiaomi ระบุว่าข้อตกลงครั้งนี้ จะทำให้ Xiaomi ขยายอาณาจักรสมาร์ทโฟนของตัวเองไปได้ทั่วโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางไมโครซอฟท์ได้ขายสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรให้กว่า 1,500 รายการ ขณะที่อุปกรณ์ของ Xiaomi ที่ติดตั้ง Skype และ Microsoft Office เท่าที่ประกาศมามีตั้งแต่ Mi 5, Mi Max, Mi 4s, Redmi Note 3 และ Redmi 3 โดยจะมีผลตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology - CalTech) ได้ยื่นฟ้องแอปเปิลและ Broadcom ผู้ผลิตชิพให้แอปเปิล ฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Wi-Fi ทั้งหมด 4 ชิ้น
CalTech ระบุว่า Broadcom ผลิตชิพ Wi-Fi ที่ละเมิดสิทธิบัตรของตนให้แอปเปิลใช้งานในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ iPhone 5 เป็นต้นมา รวมถึง iPad, Mac และ Apple Watch ด้วย โดยทาง CalTech ได้เรียกร้องค่าเสียหายและขอให้ออกคำสั่งห้ามขายสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตร
สิทธิบัตรที่ CalTech อ้างนั้นเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน 802.11n และ 802.11ac ซึ่งทางเลือกที่แอปเปิลมีก็น่าจะเป็นการจ่ายค่าเสียหายนอกศาล หรือต่อสู้คดีไปก่อนจนศาลตัดสิน แต่ที่แน่ๆ คือแอปเปิลไม่น่าจะยอมยกเลิกใช้มาตรฐาน Wi-Fi ข้างต้นแน่นอน
คดีฟ้องร้องระหว่างออราเคิลและกูเกิลที่ออราเคิลฟ้องกูเกิลว่าละเมิดสิทธิ์ API ของจาวามาถึงศาลชั้นต้นรอบที่สอง และรอบนี้กูเกิลชนะอีกครั้งเมื่อคณะลูกขุนตัดสินว่าการใช้ API จาวาเป็นการใช้งานโดยธรรม (fair use)
คดีนี้จบรอบแรกไปตั้งแต่ปี 2012 เมื่อผู้พิพากษา William Alsup พิพากษาว่า API ไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทำให้คดีจบในศาลชั้นต้นไปโดยกูเกิลชนะ แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินโดยระบุว่า API มีลิขสิทธิ์ ทำให้คดีต้องกลับมาที่ศาลชั้นต้นอีกครั้งเพื่อพิจารณาว่าหาก API มีลิขสิทธิ์แล้ว การใช้งานแบบที่กูเกิลใช้นั้นเป็นการใช้งานโดยธรรมหรือไม่
คณะลูกขุนทั้งสิบคนระบุว่าการใช้งานของกูเกิลเป็นการใช้งานโดยธรรม (ลูกขุนชุดแรกในคดีนี้เสียงแตกในประเด็นนี้)
กรณีนี้ถูกเรียกว่า Patent Troll (พูดอย่างไม่เป็นทางการคือแอปเปิลถูกเกรียนใส่) เมื่อ Corydoras Technologies ยื่นฟ้องแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตร 6 ชิ้น จากฟีเจอร์อย่างการโทรออก เฟสไทม์ และการวางกล้องหน้าไว้ด้านเดียวกับหน้าจอ บนอุปกรณ์ของแอปเปิลกว่า 20 ชิ้น
นอกจากประเด็นข้างต้นแล้ว ยังมีการแสดงผลตำแหน่งที่อิงกับภูมิศาสตร์ ความสามารถในการบล็อคเบอร์และความสามารถในการส่งอีเมล์ โดย Corydoras Technologies เคยฟ้องซัมซุงในกรณีคล้ายๆ กันนี้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
CNET รายงานว่า Pantent Troll ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แอปเปิลตกเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ที่โดนฟ้องร้องในลักษณะนี้เมื่อปีที่แล้ว
เว็บไซต์ข่าว Engadget รายงานว่า Samsung ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรชิ้นใหม่ที่ทำให้นาฬิกาอัจฉริยะสามารถฉายรายละเอียดเพิ่มเติมจากหน้าจอแสดงของ smart watch ไปยังที่มือหรือพื้นผิวอื่นๆ เพื่อแสดงข้อมูลเพิ่มเติมได้
จากภาพที่ปรากฏในข้อมูลยื่นขอสิทธิบัตร (ดูภาพได้ท้ายข่าว) หน้าจอดังกล่าวจะฉายออกมาจากด้านข้างของ smart watch โดยจะมีตัวตรวจจับปฏิสัมพันธ์กับบริเวณที่ฉายภาพดังกล่าว หรือแม้กระทั่งตรวจจับลักษณะของมือที่เราสวมใส่อยู่ หากมีพื้นที่มากพอก็สามารถแสดงปุ่มสั่งทำงานต่างๆ ได้ด้วย
อย่างไรก็ตามสิทธิบัตรนี้เป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้น ส่วนจะเป็นผลิตภัณฑ์จริงได้เมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับว่า Samsung จะตัดสินใจเอาสิทธิบัตรนี้ไปใช้จริงหรือไม่ด้วย
สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา (USPTO) ให้การรับรองสิทธิบัตร Cover Attachment with Flexible Display ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับ Smart Cover ใหม่ของแอปเปิล ที่ได้เพิ่มความสามารถของ cover ให้ smart มากยิ่งขึ้น
สิทธิบัตรใหม่ของแอปเปิล มีการเพิ่มเซ็นเซอร์เข้าไปใน Smart Cover ทำให้ด้านนอกสามารถรองรับการเขียนจาก Apple Pencil ขณะที่สิทธิบัตรอีกตัว มีการเพิ่มแผงโซลาเซลล์ลงไปใน Smart Cover เพื่อให้พลังงานแก่ iPad รวมถึงทำให้ Smart Cover กลายเป็นหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์ดสำหรับ iPad ได้ในตัวเอง
Google ยื่นจดสิทธิบัตรระบบทำความร้อนให้ชุดแบตเตอรี่ เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ให้นานขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างใช้งานในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ
ตามธรรมชาติของแบตเตอรี่ที่อยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำนั้นจะทำให้ความสามารถในการคายประจุแย่ลง ตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสนั้นไม่เพียงแต่จะจ่ายไฟได้ไม่ดีแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่เสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุใช้งานตามปกติมาก ยิ่งหากทำการชาร์จไฟให้มันในพื้นที่เย็นจัดอย่างที่ว่าแล้วอาจถึงขั้นทำให้แบตเตอรี่เสียหายไม่สามารถใช้งานได้อีกก็เป็นได้
เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลทุกวันนี้ก้าวหน้าไปมาก คนรุ่นพ่อรุ่นแม่เราตอนที่พวกท่านยังหนุ่มสาวคงยากจะคิดว่าการจะเก็บภาพนับพันนับหมื่นภาพในอุปกรณ์ที่เล็กกว่าอุ้งมือแทนอัลบั้มภาพกองพะเนินนั้นจะเป็นอย่างไร ตอนที่พวกเรายังเด็กก็อาจจะไม่เคยฉุกคิดว่าไม่ทันที่เราจะแก่เราจะได้เห็นเทคโนโลยีที่เก็บบทเพลงจากเทปคาสเซทนับร้อยม้วนลงในการ์ดความจำที่เล็กเพียงปลายนิ้วมือได้สำเร็จ แต่ที่ว่ามานั้นยังห่างไกลจากการเก็บข้อมูลของสมอง กระบวนการธรรมชาติที่มีกลวิธีในการจดจำบันทึกเรื่องราวแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ที่มองทุกอย่างด้วยพื้นฐานเลข "0" และ "1"
ITC (คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา) ได้เริ่มทำการสืบสวนผู้ผลิตสมาร์ทโฟน 7 ราย ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการเล่นไฟล์สื่อหรือไม่ ซึ่งงานนี้หากผลการสืบสวนออกมาว่าเป็นการละเมิดจริง ITC จะสั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมาขายในสหรัฐอเมริกา
ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ว่านั้นมีด้วยกัน 8 แบรนด์ (จาก 7 บริษัท) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์อันเป็นที่รู้จักกันดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Samsung, Sony, LG, HTC, ZTE, Lenovo, Motorola และ BlackBerry
Immersion ได้ฟ้องร้อง Apple เรื่องการละเมิดสิทธิบัตร haptic feedback ในอุปกรณ์ MacBook, MacBook Pro และ iPhone 6s โดยเป็นการฟ้องร้องเพิ่มเติมจากการฟ้องร้องครั้งที่แล้ว
Immersion รายงานว่า ฟีเจอร์ 3D Touch และ Force Touch นั้นได้ละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท 4 สิทธิบัตร ได้แก่
ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตกล้องรายหนึ่ง Sony เองก็มีการคิดค้นวิจัยงานพัฒนาการถ่ายภาพอยู่เรื่อย ล่าสุดก็ได้ยื่นจดสิทธิบัตรว่าด้วยการถ่ายภาพแบบสุดล้ำ มันคือสิทธิบัตรคอนแทคเลนส์ที่ถ่ายภาพได้เมื่อผู้ใช้กะพริบตา
ความคิดของ Sony คือการยัดกล้องถ่ายรูปเข้าไปกระจุกอยู่ในคอนแทคเลนส์ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ถ่ายภาพ, ส่วนรับภาพ, เซ็นเซอร์, จอแสดงผล, ส่วนบันทึกข้อมูล, ส่วนสื่อสารไร้สาย, แบตเตอรี่, หน่วยประมวลผล ร่วมด้วยแผงวงจรและระบบควบคุมเพื่อการปรับเลนส์และส่วนรับภาพ โดยทั้งหมดที่ว่ามานี้ไม่เพียงแต่จะต้องเล็กจนสามารถจัดวางไว้ด้วยกันให้อยู่ในคอนแทคเลนส์ได้แล้ว ยังต้องเล็กจิ๋วขนาดที่จะแน่ใจได้ว่าไม่ไปบดบังการรับภาพผ่านทางรูม่านตาของผู้ใช้ด้วย ยกเว้นก็แต่เพียงจอแสดงผลเท่านั้นที่จะมีลักษณะโปร่งใสและถูกวางไว้ปิดทับรอบรูม่านตาโดยตรง จอที่ว่านี้จะทำหน้าที่แสดงภาพที่ถ่ายได้ให้ผู้ใช้มองเห็นและรู้ว่าถ่ายภาพได้ตามที่ต้องการหรือไม่
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นป้ายประกาศแบบมีชิ้นส่วนให้ฉีกออกได้ที่แปะอยู่ตามกระดานข่าวบ้าง ในตู้โทรศัพท์บ้าง ตามเสาไฟฟ้าบ้าง อาจจะเป็นประกาศให้เช่าห้องพัก, ประกาศโฆษณาเงินกู้นอกระบบ หรือประกาศตามหาสัตว์เลี้ยง ตอนนี้ Google จดสิทธิบัตรสำหรับป้ายประกาศโฆษณาแบบคล้ายๆ กันนี้สำเร็จแล้ว แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือมันไม่ใช่ป้ายประกาศที่ทำจากกระดาษ หากแต่เป็นหน้าจอแสดงผลแบบฉีกได้