หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในตลาดอุปกรณ์พกพาอย่างแรง ล่าสุดมีข่าวว่า HP เตรียมขายสิทธิบัตรด้านอุปกรณ์พกพาที่ตกทอดมาจาก Palm ให้กับบริษัทอื่นๆ แล้ว
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าววงในว่า HP เริ่มเดินสายเสนอขายสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์พกพาแก่บริษัทบางแห่งแล้ว โดยช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา HP ยังปรับปรุงเงื่อนไขทางกฎหมายให้สิทธิบัตรเหล่านี้น่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
ปัจจุบัน HP ยังพัฒนาระบบปฏิบัติการ webOS อยู่ภายใต้บริษัทลูกชื่อ Gram ที่บริหารงานเป็นอิสระจากบริษัทแม่ ส่วนยุทธศาสตร์หลักของ HP ตอนนี้คงชัดเจนแล้วว่าเน้นไปที่ Windows/Android นั่นเองครับ
Samsung ยื่นจดสิทธิบัตรงานออกแบบแว่นตาแบบใหม่ โดยยื่นจดในประเทศเกาหลีใต้
Samsung ระบุว่าสิ่งที่ถูกจดสิทธิบัตรคืองานออกแบบแว่นตาสำหรับสวมใส่เล่นกีฬา บริเวณขาแว่นมีหูฟังในตัว สามารถใช้งานเพื่อการโทรศัพท์และแสดงการแจ้งเตือนได้เมื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนด้วยสาย microUSB โดยในส่วนของเลนส์ใกล้ดวงตามีจอแสดงภาพที่สามารถปรับให้แสดงภาพได้ทั้งแบบทึบแสงและโปร่งแสง
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการจดสิทธิบัตรด้านการออกแบบเท่านั้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าหากมีการนำไปผลิตเป็นสินค้าวางขายจริง อาจมีความสามารถอื่นที่ถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลังอีกก็เป็นได้
เมื่อปลายปีที่แล้ว สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐ หรือ USPTO ได้ออกมาตัดสินขั้นแรกว่าสิทธิบัตรมัลติทัช (หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า “สิทธิบัตรสตีฟ จ็อบส์”) ของแอปเปิล ไม่สามารถทำมาใช้ได้จริง แต่ล่าสุดมีทางสำนักงานฯ ได้ออกใบประกาศสิทธิให้แก่แอปเปิลอีกครั้ง หลังจากการตรวจสอบความถูกต้องและข้อเท็จจริงอีกครั้งตามคำเรียกร้องของซัมซุงและกูเกิล เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้งว่าแอปเปิลเป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้จริง
Google จดสิทธิบัตรที่เรียกได้ว่าสร้างแนวทางใหม่ในการสั่งการ Google Glass จากวิธีเดิมๆ อย่างการส่งคำสั่งเสียงหรือการแตะ โดยจดสิทธิบัตรการทำมือเป็นรูปหัวใจเป็นท่าทางที่สั่งการได้ (gesture) ซึ่งตัวอย่างในรายละเอียดของสิทธิบัตรยกการทำมือรูปหัวใจเป็นการกดไลค์สิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือสถานที่
นอกจากนี้ กูเกิลยังเสนอการสั่งการในท่าทางอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างการทำมือเป็นมุมฉากรูปตัว L แล้วลากในลักษณะเดียวกับการคลุมดำในวินโดว์ หรือการวาดมือเป็นวง หรือการสร้างรูปสี่เหลี่ยมโดยทำมือเป็นมุมฉากทั้งสองมือเป็นท่าสั่งถ่ายรูปอีกด้วย
Apple คิดค้นวิธีช่วยบรรเทาปัญหาที่หลายคนไม่อยากเจอกับตนเอง นั่นคือการที่เครื่อง iPhone ตกพื้นจนหน้าจอแตกร้าว หรืออุปกรณ์ภายในเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ และตอนนี้ Apple ก็ได้ยื่นจดสิทธิบัตรวิธีดังกล่าวแล้ว
วิธีแก้ปัญหาของ Apple คือแทนที่จะทำให้หน้าจอแข็งแรงและทนทานต่อแรงกระแทกยิ่งขึ้น กลับพุ่งเป้ามุ่งแก้ปัญหาตรงต้นเหตุคือทำอย่างไรไม่ให้ iPhone เอาหน้าจอลงสัมผัสกับพื้นเมื่อตกจากที่สูง ซึ่งทางออกก็คือการทำให้ iPhone สามารถพลิกตัวได้กลางอากาศเพื่อหันส่วนแข็งลงกระทบพื้น ไม่ต่างกับแมวที่เอาเท้าลงพื้นในยามตกจากที่สูงทุกครั้ง ซึ่งนอกจากจะลดโอกาสหน้าจอแตกแล้ว ยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่ชิ้นส่วนภายในด้วย
Google ยื่นขอสิทธิบัตรเกี่ยวกับการจ่ายเงินด้วยสมาร์ทโฟน โดยประเด็นสำคัญอยู่ที่การชำระค่าใช้จ่ายแบบกลุ่ม ทำให้กลุ่มผู้ใช้สามารถบันทึกได้ว่าในการจ่ายเงินร่วมกันแต่ละครั้งนั้น ใครออกเงินเท่าไหร่ และใครยังติดเงินคนอื่นอยู่อีกบ้าง
ตัวอย่างเช่นการที่ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งไปสังสรรค์รับประทานอาหารกันในร้าน และตกลงว่าจะช่วยกันออกเงินค่าอาหาร จนเมื่อถึงตอนเรียกเก็บเงินแล้วก็จะต่างคนต่างนำเงินออกมาจ่าย แต่บางครั้งก็อาจให้ใครคนใดคนหนึ่งออกเงินไปก่อน โดยคนอื่นๆ ที่เหลือก็จะจ่ายเงินคืนให้ในภายหลัง (ว่าง่ายๆ ก็คือติดเงินกันไว้ก่อนนั่นเอง) กรณีนี้ระบบที่ Google ยื่นขอจดสิทธิบัตรจะสามารถช่วยบันทึกเพื่อติดตามยอดเงินที่ค้างกันระหว่างผู้ใช้ให้โดยอัตโนมัติ
สิทธิบัตรใหม่ของ Google ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติ เป็นเทคนิคการเชื่อมต่อกรอบรูปดิจิทัลแบบไร้สายเข้ากับสมาร์ทโฟนเพื่อดึงข้อมูลภาพมาแสดงผล
เมื่อผู้ใช้แท็กรูปภาพบุคคลใดก็ตามและเพิ่มมันเข้าในบัญชีรายชื่อผู้ติดต่อในสมาร์ทโฟน ข้อมูลดังกล่าวจะถูกซิงก์กันระหว่างสมาร์ทโฟนและกรอบรูปดิจิทัลโดยอัตโนมัติ เมื่อบุคคลที่โดนแท็กรูปภาพโทรเข้ามาที่สมาร์ทโฟน รูปของผู้โทรเข้าจะแสดงที่กรอบรูปดิจิทัลโดยอัตโนมัติ
Apple เพิ่งได้รับสิทธิบัตรใหม่ที่น่าสนใจอีกครั้งหนึ่ง ทว่าคราวนี้มันไม่ใช่นวัตกรรมด้านไอที หากแต่เป็นผลงานการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งผลงานที่ได้รับพิจารณาอนุมัติสิทธิบัตรนี้ ก็คือบันไดเวียนซึ่งทำจากกระจกที่ได้รับการออกแบบและตกแต่งไว้เพื่อใช้งานที่ Apple Store ในเมืองเซี่ยงไฮ้
สิทธิบัตรที่ Apple ได้รับนี้ ครอบคลุมในแง่ของงานออกแบบ, วิธีการผลิตและประกอบติดตั้ง ตลอดไปจนถึงเรื่องวัสดุที่นำมาใช้งาน
จากข่าว LG ฟ้อง Samsung ว่าละเมิดสิทธิบัตร OLED จำนวน 7 รายการ และถูก Samsung ฟ้องกลับโดยให้เหตุผลว่าสิทธิบัตรขาดความเป็นนวัตกรรม ตอนนี้บริษัททั้ง 2 ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเดียวกัน ได้ยอมความกันแล้ว โดย Samsung ออกแถลงการณ์ว่า "เราทั้ง 2 บริษัทควรที่จะร่วมมือกันก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านตลาดจอภาพ มากกว่าการที่จะมาทำสงครามสิทธิบัตรกัน" ส่วน LG ก็ออกมาแถลงการณ์เช่นกันว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดของเราทั้ง 2 บริษัท คือการพัฒนาหน้าจอที่ดีเพื่อแข่งขันกันขยายตลาดไปทั่วโลก"
ถือว่าเป็นข่าวดีของวงการจอภาพนะครับ แทนที่จะเอาเวลาไปฟ้องกัน ก็เอาเวลาไปพัฒนาสินค้ามาแข่งขันกันดีกว่า happy ending...
Risto Siilasmaa ซีอีโอรักษาการของโนเกีย (เขาเป็นชาวฟินแลนด์ที่ก่อตั้งบริษัทความปลอดภัย F-Secure และขึ้นเป็นประธานบอร์ดโนเกียเมื่อปี 2012 ก่อนจะมาเป็นรักษาการณ์ซีอีโอแทน Elop) เผยชะตาชีวิตของ "โนเกียยุคใหม่" (เขาใช้คำว่า Nokia Reinvented) ที่ไร้ธุรกิจอุปกรณ์และบริการว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
Siilasmaa ยังยืนยันแนวทางเดิมตามที่โนเกียเคยแถลงไว้คือ 3 สายงานธุรกิจ ได้แก่
มีคนไปพบว่าโนเกียได้จดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สวมใส่ได้สองฉบับ ดังนี้
โน้ตบุ๊คลูกครึ่ง Android/Windows 8 อย่าง Samsung ATIV Q มีแววต้องเป็นอันยกเลิกสายการผลิตลงแล้ว หลังจากที่มีรายงานว่าผลิตภัณฑ์นี้มีปัญหาในเรื่องสิทธิบัตรจนทำให้ต้องเลื่อนการวางจำหน่ายออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ในโอกาสที่เลวร้ายที่สุด อาจจะต้องยกเลิกการผลิตเลยทีเดียว
ทั้งนี้รายงานระบุว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีปัญหาในเรื่องของสิทธิบัตรที่ว่าด้วยการรันระบบปฏิบัติการพร้อมกันสองตัวในเวลาเดียวกัน แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ทราบได้ว่าสิทธิบัตรตัวนี้คลอบคลุมถึงการรันระบบปฏิบัติการพร้อมกันสองตัวแบบที่ตัวที่หนึ่งเป็น Full Load และตัวที่สองเป็นระบบจำลองหรือ VM หรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้เจ้าของสิทธิบัตรยังไม่ได้ออกมาชี้แจงอย่างชัดเจนครับ
Google ซื้อสิทธิบัตรหลายรายการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี augmented reality จาก Foxconn ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์สวมใส่ Google Glass
Foxconn เป็นผู้ออกมาเผยเรื่องการขายสิทธิบัตรในครั้งนี้ โดยเผยรายละเอียดว่าสิทธิบัตรที่ถูกขายต่อให้ Google นั้นเป็นงาน augmented reality สำหรับอุปกรณ์แสดงผลแบบสวมศีรษะ (HMD) โดยในคำบรรยายสิทธิบัตรนั้นระบุว่าเป็นการแสดงภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ทาบทับลงบนภาพวิสัยทัศน์ของโลกจริง ซึ่งเป็นแบบที่เห็นกันบ่อยในวิดีโอเกม และโปรแกรมจำลองต่างๆ
เมื่อสัปดาห์ก่อนมีการเปิดเผยสิทธิบัตรที่ Apple ยื่นจดไว้ โดย 2 ในนั้น คือสิทธิบัตรข้อต่อหูฟังแบบยืดหยุ่นได้ ป้องกันการหักเสียหาย และสิทธิบัตรระบบให้ของขวัญโดยการซื้อเพลงหรือภาพยนตร์จาก iTunes หรือเลือกเอาจากคลังข้อมูลส่วนตัวให้แก่ผู้ใช้คนอื่น
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Google ได้สิทธิบัตรอีกหนึ่งใบว่าด้วยเรื่องส่วนติดต่อผู้ใช้งานสำหรับการแบ่งปันและส่งผ่านไฟล์ข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ระหว่างกันในหมู่ผู้ใช้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยประเด็นที่สำคัญคือสามารถส่งและแบ่งปันข้อมูลได้แบบเป็นกลุ่ม แทนที่จะต้องส่งเป็นรายคน
มีคนไปพบสิทธิบัตรของโนเกียที่เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมสำหรับแท็บเล็ตสองรายการ ดังนี้
สิทธิบัตรนี้พูดถึงคีย์บอร์ด ที่มีเซ็นเซอร์รับรู้แรงกดและตอบสนองต่อการกดด้วยการปรับพื้นผิวสัมผัส (electrotactile) บนปุ่มบนคีย์บอร์ดที่ผู้ใช้กดลงไป นอกจากนั้นสามารถเป็นขาตั้งแท็บเล็ตได้ในตัว มีแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ และมีช่องใส่ปากกาสไตลัสที่บริเวณฐานของขาตั้ง
Google ได้สิทธิบัตรฉบับใหม่ว่าด้วยเรื่องของการตรวจจับการมองวัตถุของผู้ใช้ด้วยวิธีการใหม่ ซึ่งคาดว่าเป็นเทคนิคที่จะเริ่มนำมาปรับใช้งานใน Google Glass เป็นงานแรก
แต่เดิมนั้น Google Glass มีการใช้งานสิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบ augmented reality ซึ่งจะแสดงภาพบนตัวแว่นให้สัมพันธ์กับภาพที่ผู้ใช้มองผ่านแว่น Google Glass ซึ่งวิธีการดังกล่าวตัวอุปกรณ์เพียงแค่เก็บภาพที่อยู่ตรงหน้าผู้ใช้งานด้วยกล้องถ่ายภาพขนาดเล็ก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ใช้อาจไม่ได้กำลังมองสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก็เป็นได้ เพราะอาจกำลังเหลือบมองด้านข้าง หรือแม้แต่หลับตาด้วยซ้ำ
ไมโครซอฟท์จดสิทธิบัตร Priority Telephonic Communications ที่กล่าวถึงการระบุสายโทรออกที่เบอร์ปลายทางว่าเป็นสายสำคัญได้ แบบเดียวกับอีเมลที่ผู้ส่งสามารถระบุลำดับความสำคัญ (flag) ว่าอีเมลนั้นสำคัญ เพื่อที่ผู้รับจะได้ไม่พลาดการติดต่อ
Google ตัดสินใจเปิดสิทธิบัตร 79 รายการที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบกลุ่มเมฆ ให้นักพัฒนาใช้งานสำหรับโครงการโอเพ่นซอร์สได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
สิทธิบัตรข้างต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์เพื่อบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล, และอุปกรณ์สื่อกลางต่างๆ ตลอดจนระบบกระจายการจัดเก็บข้อมูล, ระบบจัดการฐานข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบระบบและการแจ้งเตือน โดยบางส่วนเป็นสิทธิบัตรที่ Google ซื้อมาจาก IBM และ CA Technologies ซึ่งมีสิทธิบัตรที่ยื่นจดในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และเอเชีย
มีรายงานว่ากูเกิลได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่หนึ่งตัว คือสิทธิบัตรหมายเลข 8504842 ซึ่งมันคือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับระบบ Pattern Unlock ที่ได้รับความนิยมพอสมควรสำหรับผู้ใช้งาน Android หลายๆ คนครับ
โดยสิทธิบัตรตัวใหม่ที่กูเกิลขอจดไป จะเป็นเรื่องของฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใน Pattern Unlock นั่นก็คือเมื่อผู้ใช้วาด Pattern ที่ใช้ปลดล็อกได้ถูกแล้ว ระบบจะขึ้นไอคอนให้สองอัน คือไอคอนรูปโทรศัพท์และไอคอนรูปกล้องถ่ายรูป ซึ่งผู้ใช้สามารถลากเพื่อเลือกแอพพลิเคชันที่เราต้องการได้ หรือจะปล่อยนิ้วเพื่อปลดล็อกตามปกติก็ได้เช่นกัน และเราสามารถเปลี่ยนแอพพลิเคชันที่ต้องการได้จากหน้าการตั้งค่าได้ทันที
หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐ ภายใต้การนำของนายบารัค โอบามา ได้ออกมายับยั้งการแบนนำเข้า iPhone 4 และ iPad 2 บางรุ่น แอปเปิลได้ประกาศว่าพวกเขาดีใจกับการตัดสินใจดังกล่าวแล้ว
แอปเปิล: "เราขอสรรเสริญรัฐบาลสหรัฐ ที่ได้ยืนหยัดสนับสนุนฝั่งนวัตกรรมในคดีนี้ ซัมซุงผิดตั้งแต่แรกที่เอาระบบสิทธิบัตรมาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง"
ในขณะที่ซัมซุงได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจในครั้งนี้
ไมโครซอฟท์ขอจดสิทธิบัตร Transparent Display for Mobile Device ที่ประกอบด้วยจอภาพแล็ปท็อปที่มีลักษณะโปร่งใส (ต้นฉบับเรียก holographic optical element หรือ HOE) และมีโปรเจกเตอร์ขนาดเล็กอยู่บริเวณคีย์บอร์ดภาพฉายขึ้นไปสะท้อน HOE ไปปรากฏหลังแล็ปท็อปในลักษณะภาพโฮโลแกรมได้ โดยภาพที่ปรากฏจะมีลักษณะกึ่งโปร่งแสง จากภาพในสิทธิบัตร (ดูได้ที่ท้ายข่าว) ผู้ใช้สามารถมองทะลุหน้าจอแล็ปท็อปไปเห็นภาพโฮโลแกรมข้างหลังได้
ไมโครซอฟท์กล่าวถึงการประยุกต์ใช้สิทธิบัตรนี้ อาทิ การแสดงผลจากแอพประเภท augmented reality บริษัทยังกล่าวเป็นนัยในเอกสารว่านี่อาจกลายเป็นอุปกรณ์พกพาประเภท HUD (heads-up display) ได้ด้วย
มีรายงานว่า USPTO ประกาศยกเลิก หนึ่งในกลุ่มสิทธิบัตรที่เป็นลูกรักของแอปเปิล ซึ่งนั่นก็คือสิทธิบัตร Pinch to Zoom หรือการขยับนิ้วเพื่อย่อหรือขยายรูปภาพ หน้าเว็บไซต์ และเอกสารต่างๆ ครับ
ในเร็ว ๆ นี้ คำตัดสินของ ITC ที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุง และสินค้าหลายตัวของแอปเปิลจะโดนแบนไม่ให้นำเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ล่าสุดทีมกฎหมายของค่ายมือถือ Verizon ในสหรัฐ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกให้แก่ออฟฟิศประธานาธิบดี ว่าให้ออกมายับยั้งคำสั่งแบนนี้
ในจดหมายเปิดผนึก ระบุไว้ว่าสินค้าไอทียุคนี้ จะต้องใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรหลายใบมาก และถ้ามีสินค้าใดละเมิดสิทธิบัตรเพียงแค่ใบเดียวจากหลายพันใบนี้ ITC มีสิทธิในการแบนการนำเข้าสินค้านั้นได้ เพราะนั่นคือวิธีในการลงโทษผู้ผลิตที่ละเมิดสิทธิบัตรวิธีเดียวที่ ITC สามารถทำได้ตามอำนาจที่มี สุดท้ายแล้ว ผู้บริโภคจะได้รับความเสียหายมากกว่าใคร
กูเกิลได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีที่เตรียมเอามาใส่ใน Chromebook โดยสิทธิบัตรนี้ว่าด้วยการตรวจสอบลักษณะท่าทางของมือ ที่ยื่นจดตั้งแต่ปี 2012 และได้รับการตีพิมพ์ในปี 2013
เรื่องเกิดขึ้นเมื่อบุคคลตาดีได้ไปเห็นสิทธิบัตรใบนี้ของกูเกิล และพบว่ารูปนั้นออกจะละม้ายคล้ายสิทธิบัตรของแอปเปิลเกี่ยวกับ Trackpad ขนาดยาว ที่ได้ยื่นจดไปตั้งแต่ปี 2004 และได้รับการตีพิมพ์ในปี 2012 จึงทำให้เป็นข่าวขึ้นมา
หากสงสัยว่าเหมือนกันไหม ดูได้ท้ายเบรค และท่องไว้ว่ามันคือ "แรงบันดาลใจ" ครับ