Freedom House องค์กรสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ ทำรายงานเสรีภาพสื่อออกมาเป็นประจำทุกปี ส่วนหนึ่งของรายงานในปี 2017 มีพูดถึงเรื่องข่าวปลอมออนไลน์ โดยชี้ให้เห็นว่าข่าวปลอมไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เจอปัญหา แต่มีอีกหลายประเทศ
ข่าวปลอมฝั่งสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นการแทรกแซงจากภายนอก แต่ในหลายประเทศพบว่าเป็นข้อมูลปลอมที่เกิดขึ้นจากการจัดทำภายในประเทศเอง หรือแม้แต่เป้นข้อมูลที่ทำขึ้นโดยกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล โดยปี 2017 มีถึง 30 ประเทศ (นับจาก 65 ประเทศที่มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต) สูงที่สุดนับตั้งแต่ทำรายงานมา
Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มีคนใช้มากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน แม้จะมีฐานผู้ใช้ที่แข็งแกร่งแต่กลับไม่มีสำนักงาน Facebook ตั้งอยู่ เช่นในประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ หรือไทยก็มีเพียงสำนักงานเล็กๆ ทั้งที่ Facebook มีอิทธิพลมากถึงขนาดสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองหรือแม้กระทั่งจุดชนวนขัดแย้งได้ เจ้าหน้าที่รัฐยังใช้ Facebook เป็นหลักฐานสำคัญในการจับกุมนักเคลื่อนไหวนักกิจกรรมทางการเมือง ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าถึงเวลาหรือยังที่บริษัท Facebook จะเข้ามามีบทบาทการจัดการนโยบายมากกว่านี้ในอาเซียน
Google ได้กระตุ้นให้ Federal Election Commission หรือ FEC ซึ่งเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ให้พิจารณากฎเกี่ยวกับการโฆษณาการเมืองออนไลน์ หลังจากที่ช่วงนี้หลายบริษัทตรวจพบว่ามีโฆษณาจากรัสเซียเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง โดยกฎนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงการเมืองจากรัฐบาลรัสเซีย หรือประเทศอื่น ๆ ในการเลือกตั้งครั้งถัด ๆ ไป
คำเรียกร้องจาก Google คือทางบริษัทต้องการให้ FEC ออกกฎเฉพาะสำหรับการโฆษณาด้านการเมืองออนไลน์ที่ใช้ทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากทาง Google อนุญาตให้มีการโฆษณาทางการเมืองบน AdSense บนเว็บไซต์ที่อยู่ในเครือข่าย, ผลการค้นหา และ YouTube จึงต้องการกฎที่ชัดเจนและแตกต่างจาก Facebook หรือ Twitter ในการกระจายโฆษณา
ปัญหาข่าวปลอม (fake news) บนโลกโซเชียลกลายเป็นเรื่องบานปลายในสหรัฐ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำครหาที่ว่าข่าวปลอมสามารถเปลี่ยนผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ได้ Blognone จึงสรุปเหตุการณ์จากประเด็นดังกล่าว เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า fake news บานปลายและมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
เป็นสัปดาห์ที่หนักหนาของ Facebook เพราะนอกจากจะต้องเข้าให้ข้อมูลแก่สภาคองเกรสเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมาแล้ว Facebook ยังถูกกดดันจากหลายฝ่ายให้ไปหาวิธีแจ้งข้อมูลแก่ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและเห็นโพสต์ของโฆษณาแฝงรัสเซียที่มีเป้าหมายแทรกแซลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 มีแคมเปญกดดันใน Change.org ด้วย มีผู้ลงนามกว่า 8 หมื่นคนแล้ว
Mitch McConnell หัวหน้าสมาชิกวุฒิสภาจาก Republican ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Hugh Hewitt Show ว่าบริษัทไอทีทั้งหลายควรจะช่วยรัฐบาลในการตอบโต้กับแรงผลักดันจากรัสเซีย ซึ่งกระจายผ่านข่าวปลอมในช่องทางโซเชียลมีเดียในระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 และระบุว่าเขานั้นมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความพยายามกำหนดกฎเกณฑ์โฆษณาด้านการเมืองที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มเหล่านั้นด้วย (Facebook, Twitter)
คณะกรรมการข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุพบอีเมลการเจรจาขายพื้นที่โฆษณาบน Twiiter แก่สื่อรัสเซียหรือ RT โดย Twitter เสนอราคาพื้นที่โฆษณาแบบ SOV หรือ share of voice ในสัดส่วนมากกว่า 15% บนแพลตฟอร์มคิดเป็นเงิน 3 ล้านดอลลาร์
จากเนื้อหาอีเมล พบว่า Twitter เสนอราคาโฆษณาให้ RT ในระดับราคาต่างๆ ตั้งแต่ในจำนวนเงิน 1 ล้านดอลลาร์ จะได้สัดส่วน SOV 4%, 2 ล้านดอลลาร์ ได้สัดส่วน SOV 10% และ 3 ล้านดอลลาร์ ได้ SOV 15% แต่อย่างไรก็ตาม Twitter ยังต้องให้พื้นที่ SOV แก่สื่อหลักในสหรัฐฯคือ CNN และ Fox ในสัดส่วน 56% และ 32% ตามลำดับ ซึ่ง RT ปฏิเสธข้อเสนอ
Google เผยผลการสืบสวนโฆษณาหวังผลทางการเมืองจากรัสเซีย จากที่ก่อนหน้านี้เคยเผยข้อมูลคร่าวๆ ว่ามีโฆษณารันกระจายตัวบนแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Google คิดเป็นมูลค่า 4,700 ดอลลาร์ ในเอกสารล่าสุดมีตัวเลขเพิ่มเติมจาก YouTube
โดยพบ 18 ช่องที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญโฆษณาการเมือง มีวิดีโอที่อัพโหลด 1,108 ตัว ระยะเวลารวมแล้ว 43 ชั่วโมง มียอดรับชมจากผู้ใช้ในสหรัฐฯ 309,000 ครั้ง ช่วงเดือนมิถุนายน 2015 - พฤศจิกายน 2016 และจากการวิเคราะห์ของ Google ระบุว่า ยอดรับชมอยู่ในระดับต่ำ มีเพียง 3% ของวิดีโอทั้งหมดที่มียอดดูเกิน 5,000
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ได้เผยถึงวิธีที่จะจัดการเกี่ยวกับการโฆษณาด้านการเมืองบนแพลตฟอร์ม Facebook เพื่อให้การโฆษณาบนแพลตฟอร์มมีความโปร่งใส และเป็นการรับมือกับปัญหาข่าวปลอมที่อาจเกิดขึ้นได้อีกบนแพลตฟอร์ม โดยมีทั้งหมด 3 ข้อดังนี้
Twitter ออกประกาศถอดโฆษณาจากสำนักข่าวสัญชาติรัสเซีย RT และ Sputnik ออกจากแพลตฟอร์ม พร้อมระบุจะนำเงินที่เคยได้จากการโฆษณาจากทั้งสองบริษัทตั้งแต่เริ่มลงโฆษณารวมเป็นเงิน 1.9 ล้านดอลลาร์ไปบริจาคทั้งหมด โดยนโยบายใหม่นี้มีผลทันที
Twitter ระบุว่าการตัดสินใจเป็นผลจากการสอบสวนโฆษณาแฝงจากรัสเซีย ที่มีเป้าหมายแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 และได้ข้อสรุปจากสำนักข่าวกรองว่าโฆษณาจาก RT และ Sputnik มีความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้ง
การตัดสินใจนี้ยังไม่มีผลกับผู้ลงโฆษณารายอื่น และบัญชีผู้ใช้ของ RT และ Sputnik จะยังคงสามารถอยู่บนแพลตฟอร์มต่อไปได้
Twitter ออกนโยบายด้านการโฆษณาใหม่โดยเน้นโฆษณาการเมืองโดยเฉพาะ เพิ่มสัญลักษณ์ระบุว่าโฆษณาถูกโปรโมทโดยพรรคใดใต้โพสต์ และเพิ่มข้อกำหนดต่อโฆษณาการเมือง เปิดเผยข้อมูลว่าซื้อโฆษณาไปจำนวนเท่าไร ระบุข้อมูลบุคคลและหน่วยงานที่ซื้อโฆษณา ทำกราฟิกตัวเลขกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งข้อมูลประวัติการซื้อโฆษณาของบุคคลหรือหน่วยงานนั้นๆ
จากนโยบายโดยรวมสอดคล้องกับข้อเรียกร้องของฝ่ายรัฐบาล ที่ออกมาเรีียกร้องให้บริษัทโซเชียลมีเดียเปิดเผยข้อมูลโฆษณาโดยเฉพาะโฆษณาการเมืองสู่สาธารณะ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอให้บรรจุเป็นกฎหมาย และวันที่ 1 พ.ย. นี้ Twitter Facebook และ Google ต้องเข้าพบรัฐบาลเพื่อชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อกรณีแคมเปญโฆษณาจากรัสเซียบนโซเชียลมีเดียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ขณะนี้ออกกฎหมายการโฆษณาออนไลน์ออกมาโดยมีเนื้อหาคร่าวๆ คือ โซเชียลมีเดียนั้นๆ ต้องเปิดเผยสำเนาการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ข้อมูลผู้ใช้ที่ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้ ข้อมูลองค์กรที่ซื้อโฆษณา และค่าใช้จ่าย เปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
CNN ชี้กลุ่มแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2016 ด้วยการซื้อโฆษณารันบนโซเชียลมีเดียนั้นไม่ได้มีเพียง Instagram, Twitter, YouTube, Tumblr แต่ยังรวมถึง Pokémon Go ซึ่งมีฐานผู้เล่นในสหรัฐฯถึง 30 ล้านคน
จากการสืบสวนพบว่ามีบัญหนึ่งที่เชื่อมโยงกับกลุ่ม IRA (Internet Research Agency) ในรัสเซีย และเป็นหนึ่งใน 470 บัญชีที่ถูกระงับไปแล้ว เป็นบัญชีใช้แคมเปญโฆษณาชื่อว่า Don't Shoot Us จากประเด็นชายผิวสีถูกจับกุมและกระทำการรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นประเด็นโด่งดังมาก่อนหน้านี้ แพร่ในโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทาง และพบในเกม Pokémon Go ด้วย
The Washington Post รายงานว่า ตอนนี้ Google กำลังตรวจสอบรายละเอียดเรื่องนี้ในขั้นต้น โดยทางบริษัทกำลังอยู่ในกระบวนการแยกโฆษณา โดยพบว่าโฆษณาเหล่านี้แพร่ไปทั้ง Gmail, YouTube และ Google Search
โฆษกของ Google ให้รายละเอียดกับ The Verge ว่าทางบริษัทได้ตั้งกฎเกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งมีการจำกัดเป้าหมายการโฆษณาทางด้านการเมือง และการปิดกั้นการตั้งเป้าหมายโฆษณาตามเชื้อชาติและศาสนา ซึ่งทางบริษัทกำลังจะตรวจสอบรายละเอียดให้ลึกลงไปอีกเกี่ยวกับความพยายามในการใช้ระบบในทางที่ผิด โดยจะทำงานร่วมกับนักวิจัยและบริษัทอื่น ๆ ในการสืบสวนหารายละเอียดต่อไป
Facebook เขียนบล็อกตอบคำถาม Hard Questions เรื่องบัญชีปลอมจากรัสเซียเข้าซื้อโฆษณา 3,000 ชิ้นช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016
หนึ่งในคำถามที่ประชาชนอยากรู้คือ บรรดาโฆษณาดังกล่าวเข้าถึงคนจำนวนเท่าไร ซึ่ง Facebook เผยว่าเข้าถึง (reach) ผู้ใช้ Facebook ในสหรัฐฯประมาณ 10 ล้านคน และ 44% ของโฆษณาทั้ง 3,000 ชิ้น ผ่านตาผู้ใช้ก่อนถึงวันเลือกตั้ง, 56% ปรากฏหลังการเลือกตั้งจบ, 25% ไม่ผ่านตาผู้ใช้ Facebook
ส่วนเม็ดเงินซื้อโฆษณา Facebook ระบุว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของโฆษณาที่เป็นปัญหาซื้อในราคาต่ำกว่า 3 ดอลลาร์ มี 1% ของโฆษณาที่ซื้อแพงมากกว่า 1,000 ดอลลาร์
บริษัทความปลอดภัย FireEye รายงานว่าขณะนี้เกาหลีเหนือได้ช่องทางใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มอีกช่องทางแล้ว เป็น Bandwidth ที่มาจากบริษัทเครือข่ายโทรคมนาคมของรัสเซีย TransTeleCom
Bryce Boland หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ FireEye กล่าวในการสัมภาษณ์สื่อเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ปกติแล้ว เกาหลีเหนือมีช่องทางอินเทอร์เน็ตทางเดียวมาจากบริษัทจีนคือ China United Network Communications Ltd. ล่าสุด เว็บไซต์ 38 North รายงานพบว่ามีเว็บไซต์ของเกาหลีเหนือที่ไม่ได้ใช้ช่องทางจากบริษัทจีน แต่ใช้ช่องทางจากบริษัท TransTeleCom ของรัสเซีย ซึ่ง Boland ก็ยืนยันว่ารายงานดังกล่าวเป็นความจริง
จากประเด็นบัญชี Facebook ปลอมรันโฆษณาช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ จุดกระแสประเด็นข่าวปลอมช่วยให้โดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งให้กลับมาอีกครั้ง และดูเหมือนว่าสายตาเพ่งเล็งไปที่ Facebook มากเป็นพิเศษ
ล่าสุดทวิตเตอร์ออกมาเผยว่า ได้เข้าเจรจากับคณะกรรมการรัฐสภา เรื่องการสืบสวนหาหลักฐานการแทรกแซงของรัสเซียในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 โดยวันนี้ Colin Crowell รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะของทวิตเตอร์ เข้าพูดคุยกับคณะกรรมการด้านข่าวกรอง หรือ House Permanent Select Committee on Intelligence รวมทั้งเผยข้อสงสัยการผลการสืบสวนภายในเป็นตัวเลขคร่าวๆ
ทวิตเตอร์เผยว่า จากบัญชีน่าสงสัยใน Facebook ประมาณ 450 บัญชี มีประมาณ 22 บัญชีที่เกี่ยวข้องกับทวิตเตอร์ด้วย บัญชีเหล่านั้นถูกระงับเรียบร้อยแล้ว และจากการสอบสวนต่อ พบว่ามีอีกประมาณ 179 บัญชีที่เชื่อมโยงกันและละเมิดกฎของทวิตเตอร์ แต่ทวิตเตอร์ระบุว่าบัญชีกลุ่มดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์ม
หลังจากที่ทรัมป์มีวิวาทะกับ Mark Zuckerberg เรื่องการโจมตี Facebook ไป ล่าสุด มีคนพบว่าทรัมป์แอบลบทวีตสนับสนุน Luther Strange ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภารัฐ Alabama หลัง Luther แพ้การเลือกตั้ง และหลายคนระบุว่าอาจผิดกฎหมายอีกด้วย
โคจรมาพบกันจนได้กับสองผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดี Donald Trump ทวีตขึ้นมาว่า Facebook มักต่อต้านเขา ("Facebook was always anti-Trump) เช่นเดียวกับสื่อทีวีกระแสหลัก และหนังสือพิมพ์อย่าง The New York Times และ Washington Post อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังสนับสนุนเขา และไม่มีประธานาธิบดีคนใดมีผลงานเท่ากับเขาในช่วง 9 เดือนแรกที่มารับตำแหน่ง
Trump ทวีตโจมตีสื่อกระแสหลักอยู่บ่อยๆ จนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เขาเอ่ยถึง Facebook โดยตรง
จากประเด็นบัญชีปลอมจากรัสเซียซื้อโฆษณาเพื่อการเมืองบน Facebook ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ซีอีโอ Mark Zuckerberg ต้องออกมาประกาศว่าจะจัดการแพลตฟอร์มโฆษณาของตัวเองให้ดีขึ้น หาโซลูชั่นยืนยันตัวตนบุคคลและกลุ่มคนที่มาซื้อโฆษณา ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองก็ออกมาเรียกร้องว่าให้มีการเปิดเผยข้อมูลการซื้อโฆษณาของ Facebook โดยเฉพาะโฆษณาที่มีเป้าหมายทางการเมือง
The Washington Post รายงานว่า หลังจากผลการเลือกตั้งปี 2016 ออกมาเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ถึงกับมาพูดคุยกับ Zuckerberg ด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาตระหนักว่าปัญหาข่าวปลอมบน Facebook สร้างผลกระทบแย่กว่าที่คิด
พื้นที่โฆษณาบน Facebook สร้างรายได้ให้ Facebook มหาศาล ด้วยพลัง machine learning ทำให้โฆษณาเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม ในขณะเดียวกันก็เป็นดาบสองคม เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา Facebook เจอปัญหามีบัญชีปลอมจากรัสเซียรันโฆษณาจำนวนมากช่วงก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016 มีการใช้เพจและบัญชีปลอมกว่า 470 บัญชีในการเข้าซื้อโฆษณาทั้งหมด 3,000 โฆษณา คิดเป็นเงิน 1 แสนดอลลาร์ ตั้งแต่ช่วงมิถุนายน 2015 - พฤษภาคม 2017
ความเคลื่อนไหวล่าสุดต่อกรณีนี้คือ สมาชิกพรรคเดโมแครต Amy Klobuchar และ Mark Warner เรียกร้องให้มีการออกกฎหมายเพิ่มความโปร่งใสในการโฆษณาการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย
Communist Youth League of China หรือเยาวชนพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน เปิดบัญชีทวิตเตอร์ชื่อ CYL @ccylchina เพื่อต้องการส่งต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพรรค โดยโพสต์ข้อความเป็นภาษาจีนแมนดารินทั้งหมด
ช่วงเปิดบัญชีใหม่ๆ @ccylchina มีผู้ติดตาม 15 บัญชี เป็นบัญชีสำนักข่าวจีน เช่น CCTV, Xinhua, China Daily และ People’s Daily จนถึงตอนนี้มีคนติดตาม @ccylchina แล้ว 1,813 ราย คำถามคือ ทำไมพรรคเยาวชนคอมมิวนิสต์ถึงเปิดบัญชีทวิตเตอร์ได้ทั้งที่ทวิตเตอร์ถูกแบนในจีน
Chen Daoyin นักวิเคราะห์การเมืองระบุว่าการเปิดบัญชีทวิตเตอร์ของพรรคครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่และพยายามให้คนภายนอกรู้และเข้าใจแนวคิดพื้นฐานการเมืองของจีน ไม่ใช่แค่เผยแพร่วัฒนธรรมจีนเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการสร้างอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานการเมืองจีนไปยังประชาชนในต่างประเทศ
เว็บไซต์ BuzzFeed วิเคราะห์อนาคตกลุ่มไอทีระดับโลกเช่น Facebook Apple Google Amazon Uber ว่าสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองในสหรัฐฯอย่างคาดไม่ถึง และหลีกเลี่ยงการต่อต้านการผูกขาดได้ยาก
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมลงนามในคำสั่งยกเลิกโครงการ DACA (Deferred Action for Childhood Arrivals) อนุญาตให้เยาวชนที่หลบเข้ามาในประเทศตั้งแต่ยังเด็ก สามารถอาศัย ศึกษาและทำงานได้อย่างถูกกฎหมายในสหรัฐฯ ต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนในโครงการหรือ Dreamer เกือบ 800,000 คน และเป็นอีกครั้งที่เหล่าผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับบิ๊กต้องออกมาประกาศจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของประธานาธิบดี
ยังคงเป็นข้อถกเถียงว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ซึ่งมีสถานะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะสามารถบล็อคผู้ใช้รายอื่นบนทวิตเตอร์ได้หรือไม่ เพราะข้อมูลที่เผยแพร่จากประธานาธิบดีควรเป็นข้อมูลสาธารณะห้ามปิดกั้นการเข้าถึง ก่อนหน้านี้มีกรณีฟ้องร้องไปแล้ว คือสถาบัน The Knight First Amendment จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ฟ้องโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไล่บล็อคผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่น กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูล ล่าสุดหน่วยงานรัฐออกมาโต้แล้วว่า คำสั่งศาลไม่มีอำนาจในการบังคับการใช้งานทวิตเตอร์ส่วนตัวของทรัมป์ หรือ @realDonaldTrump ได้