ทวิตเตอร์ออกไกด์ไลน์สำหรับนักการเมืองในการโพสต์ ให้รายละเอียดว่าประเด็นอะไรบ้างที่ถ้าโพสต์แล้วจะผิดกฎแพลตฟอร์ม พร้อมระบุว่าแม้จะเป็นนักการเมืองก็ต้องอยู่ภายใต้กฎแพลตฟอร์มเช่นกัน
แนวทางดังกล่าวมีดังนี้
Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย
เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม
จากกรณี Blizzard แบนโปรเพลเยอร์เกม Hearthstone จากเรื่องประท้วงฮ่องกง ก็มีกระแสวิจารณ์ Blizzard ตามมาอย่างหนักจากหมู่เกมเมอร์ และแม้กระทั่งพนักงานของ Blizzard เองก็ออกมาประท้วงเรื่องนี้ด้วย
พนักงานของ Blizzard จำนวนหนึ่ง (จากข่าวคือรวมกันตลอดงานไม่เกิน 30 คน) ตัดสินใจประท้วงด้วยการ walkout หรือลุกออกจากที่นั่งขณะทำงาน เพื่อมายืนรวมตัวกันที่รูปปั้น Orc จากเกมซีรีส์ Warcraft หน้าสำนักงานของบริษัท และพนักงานบางคนได้ยืนถือร่ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงที่ฮ่องกงด้วย
แอปเปิลอัพเดตระบบ iOS 13.1 และผู้ใช้งานบางส่วนสังเกตเห็นว่า อีโมจิธงไต้หวันหายไป โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอีโมจิธงไต้หวันหายนั้น เป็นผู้ใช้งานในฮ่องกงและมาเก๊า
โซเชียลมีเดียมีรายได้หลักคือโฆษณา และหนึ่งในภาคส่วนที่นำเม็ดเงินมาลงกับโซเชียลเพื่อเข้าถึงคนหมู่มากก็คือฝ่ายการเมือง และเรื่องนีก็ทำให้เฟซบุ๊กเจอปัญหาสาหัสมาแล้วช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016
แต่ TikTok มีความแตกต่าง วางตัวเองเป็นแอพเพื่อความบันเทิง ประกาศไม่รับลงโฆษณาการเมืองใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาหาเสียง สนับสนุนพรรคหรือนักการเมือง
The Guardian เผยเอกสารที่ระบุว่า TikTok แอพวิดีโอสั้นยอดนิยมได้แนะผู้ใช้อย่าทำคอนเทนต์ต้องห้ามตามแนวทางรัฐบาลจีน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือดที่จตุรัสเทียนอันเหมิน, การเรียกร้องเอกราชของทิเบต, กลุ่มลัทธิ Falun Gong เป็นต้น
จากปัญหาการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ที่มีข่าวว่าถูกแทรกแซงจากต่างประเทศ การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า รัฐบาลสหรัฐเลยพยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ด้วยการเชิญตัวแทนจากบริษัทไอทีทั้ง Facebook, Google, Twitter และ Microsoft ไปจนถึงหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้ง FBI, หน่วยข่าวกรองแห่งชาติและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
Reuters รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า Telegram แอพพลิเคชั่นแชทเข้ารหัสจะออกฟีเจอร์ใหม่ ให้ผู้ประท้วงฮ่องกงสามารถปกปิดตัวตนด้วยการปิดบังหมายเลขโทรศัพท์ตัวเองได้ หลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ โดยฟีเจอร์ใหม่จะเปิดให้ใช้ภายในไม่กี่วันข้างหน้า
จากประเด็นมีข้อสังเกตที่ว่า ทวิตเตอร์แสดงโฆษณาที่ได้รับการโปรโมทจากสื่อ Xinhua ของจีน มีเนื้อหาโจมตีผู้ประท้วงชาวฮ่องกง ทวิตเตอร์ก็ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการประกาศห้ามไม่ให้สื่อรัฐบาล (state-controlled news media) ซื้อโฆษณาเนื้อหาของตัวองได้อีกต่อไป
ทวิตเตอร์ยังบอกด้วยว่าทางแพลตฟอร์มได้ระงับ 936 บัญชีที่มีพฤติกรรมเผยแพร่ข่าวปลอมที่มีเนื้อหาบั่นทอนความชอบธรรมของการประท้วงในฮ่องกง และจากการตรวจสอบอย่างละเอียด ทวิตเตอร์มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าบัญชีเหล่านั้นมีการสนับสนุนจากรัฐ
บัญชีทวิตเตอร์ Pinboard และผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งสังเกตว่า ทวิตเตอร์ แสดงโฆษณาจากสื่อ Xinhua ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลจีนที่มีเนื้อหาโจมตีการประท้วงฮ่องกง
ในเนื้อหาของโฆษณา มีความพยายามแสดงให้เห็นถึงการประท้วงว่าเป็น "การเพิ่มความรุนแรง" (escalating violence) และมีการเรียกร้องให้ใช้คำสั่งเรียกคืนด้วย
ทวิตเตอร์ต้องตกอยู่ในสถานการณ์กระอักกระอ่วน เว็บไซต์ Engadget ติดต่อไปยังทวิตเตอร์เรื่องนี้แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับแต่อย่างใด
Elon Musk ซีอีโอ Tesla โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ ประกาศจุดยืนสนับสนุน Andrew Yang นักการเมืองเชื้อสายอเมริกัน-จีน จากพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2020
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ชัดเจนว่า Donald Trump จะลงสมัครเลือกตั้งกับพรรครีพับลิกันเพื่อเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง ส่วนพรรคเดโมแครตมีผู้ประกาศตัวลงสมัครเกือบ 20 คน ทั้งอดีตรองประธานาธิบดี Joe Biden, วุฒิสมาชิก Bernie Sanders และ Elizabeth Warren เป็นต้น
Donald Trump เปิดฉากถล่มกูเกิล โดยทวีตข้อความหา Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลโดยตรง และเล่นงานกูเกิลในหลายประเด็น
ตุรกีออกกฎให้ผู้ให้บริการคอนเทนต์ออนไลน์ทุกแห่งต้องมาขอใบอนุญาตให้ออกอากาศจาก RTUK หน่วยงานควบคุมสื่อของตุรกีกฎใหม่กระทบเว็บไซต์คอนเทนต์ต่างๆ ทั้งข่าว,หนัง ทั้งในและนอกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ Netflix
หนึ่งในผู้สมัครรับเลือกตั้งสหรัฐฯ ปี 2020 ที่มีนโยบายลดอิทธิพลบริษัทเทคโนโลยีคือ Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต เธอบอกว่า บริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon ควรถูกจับแยกเป็นบริษัทย่อยๆ
ล่าสุดมีสถิติน่าสนใจจากเว็บไซต์ Recode เผยว่า กลุ่มพนักงานบริษัทกูเกิลบริจาคเงินสนับสนุนแคมเปญของ Warren กันไม่น้อยเลย (ตัวเลขเงินนับเฉพาะสองไตรมาสแรกของปีนี้)
สร้างความเดือดดาลให้ชาวเน็ตเมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์ทวิตเตอร์ ให้ สมาชิกสภาคองเกรสหญิง กลับประเทศของตัวเองไป ชาวเน็ตรวมถึงดาราดังก็ออกมาโพสต์ว่านี่คือถ้อยคำเหยียดเกลียดชังอย่างชัดเจน แต่ทวิตเตอร์บอกว่า โพสต์ของทรัมป์ ไม่ผิดกฎแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่ได้บอกว่าทำไมถึงไม่ผิด
มีการสืบสวนจาก Guardian ระบุว่ารัฐบาลจีนติดตามข้อมูลนักท่องเที่ยวจากการที่เจ้าหน้าที่เขตแดน Kyrgyzstan ซึ่งเป็นเขตก่อนจะข้ามไปซินเจียง ให้นักท่องเที่ยวติดตั้งแอพซึ่งจะสามารถติดตามข้อมูลอีเมล อุปกรณ์ที่ใช้ ข้อความ รายชื่อข้อมูลติดต่อ โดยที่เจ้าของเครื่องก็ไม่รู้ตัว
โดยเจ้าหน้าที่จะขอโทรศัพท์และรหัสเข้าเครื่องมาจากนักท่องเที่ยว จากนั้นก็นำเครื่องแยกไปอีกห้องหนึ่ง และโทรศัพท์ก็กลับมาพร้อมกับมีการติดตั้งแอพดังกล่าวไว้แล้ว และพบแต่เครื่องแอนดรอยด์ที่โดนลักษณะนี้
Elizabeth Warren ผู้สมัครประธานาธิบดีปี 2020 จากพรรคเดโมแครต ผู้ซึ่งมีความแข็งขันในนโยบาลลดอิทธิพลบริษัทไอที ล่าสุด เธอขึ้นป้ายบิลบอร์ดที่ตอกย้ำถึงนโยบายของเธอถึงถิ่นบริษัทเทคโนโลยีในซานฟรานซิสโกเลย
ป้ายบิลบอร์ดระบุว่า Break Up Big Tech เป็นป้ายเดี่ยวที่ดูไม่ได้โดดเด่นมาก และตั้งอยู่ในจุดที่ไม่ได้มีคนสัญจรไปมาเยอะ แต่สถานที่ตั้งนั้นเป็นจุดที่ไม่ไกลจากสถานี Caltrain มีบริษัทเทคโนโลยีทำงานอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น Lyft Dropbox และในบริเวณนั้นก็เป็นที่ตั้งของบริษัทใหญ่กูเกิล เฟซบุ๊กด้วย เรียกได้ว่าจุดที่ป้ายบิลบอร์ดตั้งอยู่ คนทำงานบริษัทเทคโนโลยีจะต้องเห็น
โฆษณาการเมืองใน Facebook เป็นหนามยอกอก Facebook มาตั้งแต่ปี 2016 ที่รัสเซียใช้ช่องทางในการซื้อแคมเปญโฆษณาแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ล่าสุด Wall Street Journal รายงานว่า Facebook จะงดให้ค่าคอมมิชชั่นพนักงานที่ขายโฆษณาการเมืองได้
Katie Harbath ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเลือกตั้งระดับโลกของ Facebook กล่าวว่า แนวทางใหม่ของ Facebook ในการขายโฆษณาทางการเมืองนี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดแรงจูงใจให้พนักงาน ในการพยายามจะผลักดันแคมเปญโฆษณาการเมืองใหม่ๆ โดยตอนนี้ช่องทางซื้อโฆษณาส่วนใหญ่ให้บริการตัวเองโดยมีเจ้าหน้าที่ Facebook คอยให้ความช่วยเหลือในการลงทะเบียนเพื่อซื้อโฆษณา แต่พนักงานขาย จะไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่นหากขายโฆษณาการเมืองได้ ทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศ
Harbath กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “ตอนนี้ Facebook มองว่าธุรกิจโฆษณาการเมืองเป็นความรับผิดชอบของพลเมือง มากกว่าจะเป็นตัวผลักดันรายได้
Financial Times รายงานว่า วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียลงนามในกฎหมายควบคุมอินเทอร์เน็ต ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียสามารถตัดขาดการเชื่อมต่อจากเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ และระบุให้มีการสร้างระบบโดเมนระดับประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถออนไลน์ได้หากถูกตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนปีนี้
กฎหมายนี้จะเพิ่มการใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในชาติมากขึ้นไปอีก จากเดิมที่บล็อคเว็บไซต์ จำกัดการใช้งาน VPN การแชร์เนื้อหาสุ่มเสี่ยงก็สามารถติดคุกได้ เป็นต้น
Human Rights Watch เผยว่าได้ทำการทดสอบแอพที่เจ้าหน้าที่ในมณฑลซินเจียงใช้ในการระบุและแบ่งประเภทประชากรในบริเวณนั้นโดยแอพได้ใช้ข้อมูลจากทั้งกล้องวงจรปิดและระบบจดจำใบหน้าที่รัฐบาลใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่
Mark Zuckerberg ได้ประกาศเป้าหมายของเขาในปี 2019 ไว้ว่าจะออกไปพูดคุยแบบเปิดเผยกับสังคมมากขึ้น หลังจาก Facebook เจอปัญหามามากมาย โดยหัวข้อที่ออกไปพูดคุยจะครอบคลุมเรื่องของอนาคตของเทคโนโลยี ล่าสุด เขานั่งพูดคุยกับ Yuval Noah Harari ผู้เขียนหนังสือดัง Sapiens
ประเด็นที่น่าสนใจของการพูดคุยครั้งนี้คือ การตั้งศูนย์ข้อมูลในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย Zuckerberg คัดค้านอย่างเต็มที่ ถ้าจะต้องตั้งศูนย์ข้อมูลในประเทศเหล่านั้น เขาบอกว่าในประเทศที่รัฐบาลมีอำนาจมาก นโยบายข้อมูลของพวกเขาจะแตกต่างจากกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมทั่วทั้งยุโรปหรือ GDPR เขาสมมติตัวเองว่าถ้าเขาเป็นรัฐบาล เขาสามารถส่งทหารเข้าไปที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อสอดส่องเฝ้าระวังและเข้าถึงข้อมูลประชาชนได้เลย และจะสามารถระบุได้ว่าคุณเป็นใคร ซึ่งนั่นถือเป็นอนาคตที่เลวร้ายมากจริงๆ
Donald Kersey ผู้อำนวยการการเลือกตั้งรัฐเวสต์เวอร์จิเนียระบุว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะใช้แอปพลิเคชั่นและบล็อคเชนในการเลือกตั้งนอกประเทศ หลังจากทดลองใช้งานมาแล้วในการเลือกครั้งกลางเทอมเมื่อปีที่แล้ว โดยจะใช้บริการของบริษัทสตาร์ตอัพ Voatz
Kersey ยอมรับว่าระบบไม่ได้สมบูรณ์และไม่ได้น่าเชื่อถือเต็มที่สำหรับการลงคะแนนเสียงทั่วไป แต่ปัญหาใหญ่ของการลงคะแนนนอกประเทศมีปัญหาใหญ่คือสัดส่วนผู้มาลงคะแนนนั้นต่ำมาก อยู่ที่ 7% เท่านั้นเทียบกับสัดส่วนการมาลงคะแนนในประเทศที่สูงกว่า 50% การใช้แอปลงคะแนนน่าจะช่วยให้ผู้มีสิทธิ์มาลงคะแนนกันได้ง่ายขึ้น
สหรัฐฯ เคยถูกรัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งในประเทศโดยใช้ Facebook ไต้หวันเองก็เตรียมรับมือกับปรากฏการณ์นี้ด้วย โดยไต้หวันเตรียมจะแบนวิดีโอสตรีมมิ่งของจีนจาก Baidu และ Tencent เพราะเกรงว่าจะมีเนื้อหาที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อแทรกแซงการเลือกตั้งไต้หวันที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2020
นาย Chiu Chui-Cheng รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการแผ่นดินใหญ่ของไต้หวันบอกว่า รัฐบาลเตรียมจะแบน iQiyi สตรีมมิ่งรายใหญ่ของจีนที่มี Baidu เป็นเจ้าของ รวมทั้งจะปิดกั้นการเข้ามาของสตรีมมิ่งจาก Tencent ที่จะเข้ามาตีตลาดในไต้หวันในปลายปีนี้ ด้วยเกรงว่าเนื้อหาสตรีมมิ่งจะมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเลือกตั้งในไต้หวัน ซึ่งเป็นไปได้มากว่า เนื้อหาจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อของจีน หรืออาจมีข้อความเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
Mark Zuckerberg เขียนบทความลงใน Washington Post เรียกร้องให้มีกฎควบคุมโซเชียลมีเดียใน 4 ประเด็น คือ เนื้อหาที่เป็นอันตราย, เนื้อหาด้านการเลือกตั้ง, ความเป็นส่วนตัว และ การถือครองและถ่ายโอนข้อมูล
Facebook ออกมาตรการเรื่องโฆษณาการเมืองในยุโรปก่อนจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอีก 2 เดือน โดยผู้ลงโฆษณาการเมืองต้องยืนยันตัวตนกับ Facebook อย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากต่างประเทศอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเลือกตั้งสหรัฐฯปี 2016
ผู้ลงโฆษณาต้องแสดงหลักฐานองค์กร ตัวตน พิกัดที่อยู่ และต้องเป็นองค์กรหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตในยุโรปให้ลงโฆษณาการเมืองได้ และ Facebook ระบุด้วยว่าจะตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงโฆษณาการเมืองจากขั้นตอนอัตโนมัติและการรายงานจากผู้ใช้ และระบบโฆษณาจะครอบคลุมประเด็นร้อนแรงในยุโรปอย่างผู้อพยพด้วย กล่าวคือไม่ใช่เป็นประเด็นแค่การเลือกคั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองเท่านั้น และโฆษณาการเมืองจากคนหรือองค์กรที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าใช้งานการลงโฆษณาใน Facebook จะถูกบล็อก