วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคมนี้ (ตามเวลาในสหรัฐ) จะเป็นวันที่สมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตจัดการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตัวแทนพรรคสู้ศึกประธานาธิบดีในช่วงปลายปีนี้ ซึ่ง Twitch ที่รายการถ่ายทอดสดเกี่ยวข้องกับเกมเสียส่วนใหญ่ ได้ประกาศว่าจะถ่ายทอดสดตลอดการประชุมของทั้งสองพรรคนี้ในหน้า /GoPConvention และ /DNC2016
Twitch ระบุว่ามองว่าบริษัทมองการถ่ายทอดสดนี้เป็นบริการสาธารณะให้กับชาวอเมริกัน ขณะเดียวกันการเมืองภายในของสหรัฐ ก็ส่งผลต่อประชาคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในโอกาสนี้ Twitch ได้ทำ emotes ขึ้นมา 5 ตัวสำหรับใช้ในช่วงการถ่ายทอดสดนี้ด้วย
นโยบายของ Donald Trump แต่ละอย่างสร้างความกระอักกระอ่วนให้คนสหรัฐฯไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นต่อต้านผู้อพยพ ต่อต้านศาสนาอื่น และหนึ่งในนโยบายที่ทำให้คนวงการไอทีไม่ปลื้มอย่างรุนแรงคือ ปิดอินเทอร์เน็ตเพื่อความมั่นคงของชาติ จนต้องออกจดหมายเปิดผนึกต่อต้าน Trump ลงนามโดยคนวงการไอทีทั้งพนักงาน นักลงทุน CEO กว่า 140 คน เนื้อหาในจดหมายถ้าเปรียบเป็นเชิงมวยคงต้องเรียกว่าออกหมัดตรงเข้าจุดตายของคู่ต่อสู้ได้เลย
งานนี้ใครเกาะกระแส Pokemon Go ได้ก่อน ก็ดังก่อน และนักการเมืองสหรัฐฯคนแรกที่ใช้ประโยชน์จากเกมในการหาเสียงคือ Hillary Clinton แห่งพรรคเดโมแครต
Clinton จัดงานปราศรัยซึ่งเป็นเรื่องปกติของช่วงหาเสียง สถานที่คือ Madison Park ในโลกจริง Madison Park ก็คือสถานที่แห่งหนึ่ง อยู่ในเขต Lakewood มลรัฐ Ohio แต่ในโลกของ Pokemon Go มันคือ Pokestop และ Pokemon GYM ซึ่งในเว็บไซต์ของ Clinton มีข้อความว่า Gotta Catch 'Em' All มาร่วมกับเราที่โปเกสต็อป มาล่าโปเกมอน มาสู้กัน ระหว่างนั้นอย่าลืมลงทะเบียนฟังปราศรัย
คิดภาพไม่ออกว่างานปราศรัยวันเสาร์นี้ Clinton จะปราศรัยยังไงเพราะทุกคนคงกำลังล่าโปเกมอนอย่างเมามันส์ (ฮา)
ที่มา - Venture Beat
เรื่องการเมืองสหรัฐฯ ใครจะเป็นประธานาธิบดี พรรคไหนจะได้รับชัยชนะ ยังไม่มีใครรู้
แต่ตอนนี้ผู้สมัครเป็นวุฒิสมาชิกของรัฐแคลิฟอร์เนียสองท่าน กำลังต่อสู้แย่งชิงบัลลังก์ในศึก Pokemon Go
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ Jane Kim ผู้สมัครวุฒิสภาของรัฐ ประกาศท้าแข่ง Pokemon Go กับ Scott Wiener ผ่านทวิตเตอร์ และ Wiener ผู้ซึ่งเป็นคู่แข่งสมัครชิงเก้าอี้ในสภาก็รับคำท้า เรียกได้ว่าแม้แต่นักการเมืองก็คลั่งไคล้เกมนี้ไม่แพ้เหล่าเกมเมอร์เลย
ลองคิดว่า Hillary Clinton กับ Donald Trump ท้าชน Pokemon Go กัน คงสนุกกว่าลุ้นว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯซะอีก (ฮา)
ที่มา - Venture Beat
จากเหตุการณ์ที่ผู้หญิงผิวสี Diamond Reynolds ใช้ Facebook Live ถ่ายทอดเหตุการณ์คู่หมั้นของเธอ Philando Castile ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิตบนรถ หลังจากนั้น Facebook ก็ลบคลิปดังกล่าวออก
เหตุการณ์นี้มี 3 ประเด็นใหญ่ที่ควรกล่าวถึง หนึ่งคือ เป็นอีกครั้งที่คนผิวสีถูกตำรวจยิงตาย สอง Facebook กลายเป็นที่พึ่งของคนที่รู้สึกไม่ปลอดภัย และสาม Facebook กลายเป็นด่านเซ็นเซอร์ข้อมูลก่อนออกสู่สังคมไปแล้ว
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จีนได้หัวหน้าทางหน่วยงานไซเบอร์คนใหม่แล้วคือ Xu Lin ผู้ซึ่งได้รับการคาดหวังว่าจะดำเนินการการควบคุมอินเทอร์เน็ตไปพร้อมกับพรรคคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ สำนักข่าว South China Morning Post ยังอธิบายเกี่ยวกับ Xu Lin ว่า เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและเป็นผู้สนับสนุนหลักของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงด้วย
แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อความอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีนเรื่องเปลี่ยนหัวหน้าหน่วยไซเบอร์อย่างกะทันหัน และดูเหมือน Lu Wei จะยังมีตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์กลางของพรรคอยู่
ที่มา - The Register
เดือนที่แล้ว Twitter เปิดฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้โพสต์ live video ผ่านแอพพลิเคชั่น Periscope ใครจะรู้ว่าฟีเจอร์ตัวนี้จะเป็นเส้นทางสำคัญของสมาชิกพรรคเดโมแครตในการประท้วงสภาคองเกรสเรื่องกฎหมายควบคุมอาวุธปืน หลังกล้อง ที่ถ่ายทอดการประชุมในสภาถูกปิด
ที่งานประชุม Bloomberg technology conference นาย Omid Kordestani ประธาน Twitter กล่าวถึงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆใน Twitter โดยเฉพาะประเด็นการเมืองกระแสความเกลียดชังผู้อพยพว่า ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ ความคิดเห็นที่หยาบคายรุนแรง ก็ควรมีที่ยืนใน Twitter
ในบรรยากาศหาเสียงและการเลือกตั้งหยั่งเสียง นโยบายต่อต้านผู้ลี้ภัยของ Donald Trump ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าย Republican ก็ได้รับการพูดถึงทั่วสหรัฐฯ มีทั้งกระแสต้าน และกระแสหนุน พื้นที่ใน Twitter เป็นอีกช่องทางที่มีประเด็นทางการเมือง ความเกลียดชัง Hate Speech จากเหล่าผู้ใช้ตลอดเวลา
Kordestani ยังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจว่า วาทกรรมเป็นสิ่งสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย แทนที่จะเป็นรถถังและกองกำลังบนถนน เพราะเป็นบรรยากาศที่ทำให้การถกเถียงมันเกิดขึ้น
ที่มา - Techcrunch
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายที่ชาวบริติชสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อไปเลือกตั้งประชามติ กรณีว่าสหราชอาณาจักรจะยังคงเป็นชาติสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ ล่าสุดเกิดความวุ่นวายขึ้นเมื่อเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเวลาปิดรับลงทะเบียน เว็บลงทะเบียนประชามติของรัฐบาลอังกฤษกลับล่ม ทำให้ชาวบริติชหลายคนที่ตัดสินใจลงทะเบียนนาทีสุดท้าย ไม่สามารถลงทะเบียนได้
เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา ชายชาวรัสเซียคนหนึ่งชื่อ Andrei Bubeyev ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 3 เดือน ข้อหาแชร์รูปภาพที่มีลักษณะแชร์รูปภาพที่ถูกตีความว่าต่อต้านรัฐบาลลงใน VKontakte โซเชียลที่ได้รับความนิยมในรัสเซีย มีบัญชีผู้ใช้ถึง 270 ล้านบัญชี
รูปภาพเจ้าปัญหาที่ทำให้ Andrei Bubeyev ติดคุกเป็นรูปยาสีฟัน ที่น้ำยาเป็นสีธงชาติรัสเซีย มีข้อความใต้ภาพว่า "Squeeze Russia out of yourself!" หรือ รีดความเป็นรัสเซียออกจากตัวคุณ
เราอาจจะพอทราบว่า FCC หรือหน่วยงานด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (ใกล้เคียงที่สุดในบ้านเราคือ กสทช.) ออกกฎเรื่องของ Net Neutrality ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามพรรคริพับลิกัน ซึ่งค้านกฎนี้มาตลอดแต่ไม่สำเร็จ เตรียมที่จะออกมาตรการตอบโต้กับ FCC โดยใช้วิธีการเสนอร่างงบประมาณฉบับใหม่ (ฉบับปีหน้า) ซึ่งจะตัดงบประมาณของ FCC ลง รวมถึงกำหนดการบังคับใช้กฎ Net Neutrality ด้วย
ช่วงที่ผ่านมาอาจจะพอทราบกับว่า Hillary Clinton มีประเด็นเรื่องของการใช้อีเมลส่วนตัวในการติดต่องานสมัยที่ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ล่าสุด ผู้ตรวจการประจำกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ส่งรายงานถึงสภาคองเกรสว่า Clinton ได้ละเมิดระเบียบรัฐบาลกลางจากรณีที่ใช้อีเมลส่วนตัวในการติดต่องานทางการระหว่างดำรงตำแหน่ง
รายงานระบุว่า ตามหลักการแล้วจะต้องส่งมอบอีเมลทั้งหมดให้กับทางกระทรวงก่อนออกจากตำแหน่ง แต่เธอก็ไม่ได้ทำ นอกจากนั้นแล้วยังไม่ได้ขออนุมัติให้ติดต่องานทางการผ่านอีเมลส่วนตัวของเธอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย Engadget ระบุว่า เหตุผลที่ Clinton และทีมงานไม่ได้ขออนุมัติก็ตรงไปตรงมา คือไม่มีทางที่จะได้รับการอนุมัติเพราะความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย
ช่วงนี้ที่ออสเตรเลียกำลังมีการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป (general election) ในวันที่ 2 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ และที่สหรัฐอเมริกาก็มีการสรรหาตัวแทนผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากสองพรรคใหญ่ ทำให้ Google เปิดคุณสมบัติใหม่ให้กับพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครหาเสียงเลือกตั้งของทั้งสองประเทศ สามารถใส่ข้อความรณรงค์หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้จากระบบค้นหาโดยตรง
จากที่มีกระแสว่า Facebook มีหน่วยคัดกรองคุมเนื้อหาที่จะขึ้นในหน้า feed หรือมีบรรณารักษ์ข่าวนั้น Mark Zuckerberg โพสต์เฟสบุคย้ำจุดยืนของ Facebook ว่าเป็นพื้นที่ให้ทุกความคิด และในบ่ายวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น) ตัวเขาจะเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยกับผู้นำทางการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม (conservative) จำนวนหนึ่ง เพื่อทำให้แน่ใจว่า Facebook ยังคงเป็นพื้นที่สำหรับทุกความคิดทางการเมือง
Jakob Lykkegaard Pedersen ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Playlab บริษัทผลิตแอพโดยเฉพาะในสายเกมบนสมาร์ทโฟน ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ VentureBeat ว่าการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ส่งผลดีต่อนักพัฒนาเกมบนสมาร์ทโฟน เพราะคนมักจะอยู่บ้านกันเป็นส่วนมาก
Pedersen ระบุว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่ดีที่สุดของภูมิภาค เพราะการใช้จ่ายค่อนข้างดีรวมถึงมีค่าครองชีพที่ต่ำ และการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ก็เป็นสภาวะที่ดีสำหรับนักพัฒนาเกมบนสมาร์ทโฟน เพราะผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเล่นเกมผ่านสมาร์ทโฟนอยู่บ้าน แทนที่การออกไปอยู่ที่สวนสนุกนั่นเอง
สถานีข่าว FOX News รายงานว่า เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ชุดล่าสุดที่ถูกเปิดเผยโดย Judicial Watch องค์กรด้านการเมืองของสหรัฐอเมริกา พบว่า Hillary Clinton อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้สมัครเข้าเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตเพื่อเป็นผู้ชิงประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ได้ใช้โทรศัพท์และกระบวนการที่มีความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสารระหว่างที่เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
Donald Trump ตัวเก็งว่าที่ผู้สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคริพับลิกัน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ FOX News ของสหรัฐอเมริกา โดยระบุว่า Jeff Bezos เจ้าของหนังสือพิมพ์ Washington Post และ Amazon มีพฤติกรรมที่ผูกขาดและพยายามหลบเลี่ยงภาษี
Trump กล่าวหา Bezos ว่าใช้หนังสือพิมพ์ Washington Post ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับตัวเอง ซึ่งทำให้นักการเมืองไม่ออกมาตรวจสอบการเสียภาษีและการดำเนินธุรกิจของ Amazon ที่พยายามหลีกเลี่ยงไม่จ่ายภาษีในสิ่งที่ควรจะจ่าย (ว่าง่ายๆ คือ Trump กล่าวหาว่า Bezos ใช้ Washington Post เพื่อเบี่ยงประเด็นการเลี่ยงภาษีของ Amazon) เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อทั้ง Bezos และ Amazon เพื่อขอความเห็น ต่างได้รับการปฏิเสธที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้
หลายคนอาจจะทราบว่าปัญหาหนึ่งที่พบกันทั่วโลกคือเรื่องของการแสดงความเห็นทางการเมืองบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งในหลายประเทศทำได้อย่างเสรี แต่ในหลายๆ ประเทศ (รวมถึงบางประเทศแถบนี้) ก็ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เพราะมีการควบคุมและตรวจตรา (surveillance) จากรัฐ คำถามคือ การควบคุมเหล่านี้มีผลเช่นไรในทางปฏิบัติ? งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเวย์นสเตต สหรัฐอเมริกา เผยว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเลือกที่จะไม่แสดงความเห็นออกมา หากรัฐบาลมีกลไกในการควบคุมหรือตรวจตราอินเทอร์เน็ต
เมื่อวานนี้ในระหว่างการประชุมรัฐสภาของสิงคโปร์ นาย Chan Chun Sing รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ตอบคำถามของสมาชิกรัฐสภาที่มีการถามว่า รัฐบาลจะจัดการเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับพลเมืองสิงคโปร์ที่อยู่ต่างประเทศ โดยใช้อินเทอร์เน็ตหรือไม่ ซึ่งเขาระบุว่าคงไม่สามารถจัดได้ ด้วยปัญหาความโปร่งใสและความปลอดภัยของระบบโดยรวม
หนังสือพิมพ์ The New York Times ของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์รายงานพิเศษ เปิดเผยว่าขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ของทำเนียบขาว กำลังทำการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของทำเนียบขาวเป็นการครั้งใหญ่ หลังจากที่ไม่ได้ปรับปรุงมานานหลายสิบปี และจะเป็นการวางระบบพื้นฐานของทำเนียบขาวใหม่สำหรับประธานาธิบดีและทีมงานชุดใหม่ ที่จะเข้ารับตำแหน่งบริหารงานต่อจากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Barak Obama
เว็บไซต์สำนักข่าว Bloomberg Businessweek ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์พิเศษ Andrés Sepúlveda ซึ่งปัจจุบันเป็นนักโทษอยู่ในคุกความปลอดภัยขั้นสูงสุดของประเทศโคลอมเบีย จากโทษจำคุก 10 ปี ฐานแฮกระบบและจารกรรมข้อมูล และอดีตแฮกเกอร์ซึ่งเคยถูกจ้างให้ลงมือปฏิบัติการแฮกและเจาะระบบเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยทาง Bloomberg ระบุว่าบทสัมภาษณ์นี้จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขอสนับสนุนเพื่อลดหย่อนโทษจำคุกดังกล่าว
แอพหาคู่ชื่อดัง Bumble เพิ่มฟิลเตอร์การสนับสนุนผู้สมัครชิงตำแหน่งรับเลือกตั้งประธานาธิบดี (สหรัฐ) ของผู้ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจนัดเดทได้ โดยแสดงทั้งพรรค และผู้สมัครที่สนับสนุน
อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์ ผู้ใช้หลายคนให้ความเห็นว่าไม่อยากตัดสินคน จากผู้สมัคร หรือพรรคที่สนับสนุน เพราะหลายๆ ครั้งการพูดคุยกับคนที่เห็นต่าง แม้สนับสนุนคนละพรรคการเมือง ก็ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ขึ้น ขณะที่บางคนให้ความเห็นว่าเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ประกอบการตัดสินใจ
หนังสือพิมพ์ The Guardian ตีพิมพ์ข้อเขียนของ Evgeny Morozov บรรณาธิการนิตยสารวิชาการด้านการเมืองระหว่างประเทศ Foreign Policy และนักวิชาการรับเชิญ (visiting scholar) ของมหาวิทยาลัย Stanford ที่สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าต่อไปในอนาคต บริษัทไอทีขนาดใหญ่ในโลกตะวันตกจะมีความสำคัญมากกว่ารัฐ (the state) และรัฐบาล ที่กำลังเผชิญหน้าวิกฤตความชอบธรรมในการปกครองอยู่ในเวลานี้
หนังสือพิมพ์ The Washing Post ของสหรัฐอเมริกา ได้สัมภาษณ์ของ Joe Mohen อดีตซีอีโอของเว็บไซต์ election.com เว็บไซต์ที่จัดการเลือกตั้งออนไลน์ โดยเขาระบุว่าปัจจัยที่มีผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ระบบการเลือกตั้งบนอินเทอร์เน็ตยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เกิดจากการที่นักการเมืองต้องการรักษาระบบการเลือกตั้งแบบเดิมเอาไว้
นอกจากจะเอาไว้หาคนรู้ใจด้วยการปัดขวาปัดซ้าย วันนี้ Tinder ประกาศความร่วมมือกับ Rock The Vote องค์กรเอกชนส่งเสริมการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ในการนำเอาระบบของ Tinder มาใช้ในการรณรงค์ให้ผู้ใช้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะเกิดขึ้นในสิ้นปีนี้ด้วย