Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2020 ประกาศนโยบายว่าจะจับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon แยกเป็นบริษัทย่อยๆ เพื่อลดอิทธิพลของบริษัทเหล่านี้ลง เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
Warren บอกว่าบริษัทไอทีเหล่านี้มีอิทธิพลสูงเกินไปแล้ว ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาธิปไตย บริษัทเหล่านี้พยายามจำกัดการแข่งขันจากคู่แข่งที่เล็กกว่าด้วยการทุ่มตลาดหรือไล่ซื้อกิจการ, นำข้อมูลส่วนตัวของประชาชนไปใช้หากำไร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายเล็กและการสร้างนวัตกรรมโดยภาพรวม
Google แบนโฆษณาการเมืองทั้งหมดในแคนาดาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น โดยเหตุผลหลักๆ คือ แคนาดาผ่านกฎหมายเลือกตั้ง C-76 ที่เรียกร้องให้มีแพลตฟอร์มออนไลน์เก็บบันทึกการลงโฆษณาการเมืองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยบทลงโทษมีทั้งค่าปรับและจำคุก
เมื่อ Google เห็นว่ากฎใหม่นั้นมันท้าทายมากที่จะปฏิบัติตาม Google จึงเลือกแบนโฆษณาการเมืองทั้งหมดในแคนาดาไปเลย Colin McKay หัวหน้านโยบายสาธารณะของ Google แคนาดา ระบุว่าได้ตัดสินใจแล้วว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับ Google ในการปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งแคนาดา ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเจ็บปวดสำหรับบริษัทเช่นกัน
ย้อนไปในปี 2014 ที่ พรรค BJP (Bharatiya Janata Party) ได้เป็นรัฐบาล ประเทศอินเดียมีนโยบายเปิดกว้างกับบริษัทเทคโนโลยีอย่างมาก พยายามดึงดูดต่างชาติให้มาลงทุนเต็มที่ นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ก็เคยไปเยือนและพบผู้บริหารแทบจะทุกบริษัทในซิลิคอนวัลเล่ย์ Jeff Bezos ซีอีโอ Amazon เองยังเคยบอกว่าอินเดียเป็นตลาดที่ดีที่จะมาทำธุรกิจด้วย
ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน ปี 2019 ที่กำลังก้าวเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไป เรียกได้ว่าอินเดียมีนโยบายต่อบริษัทต่างชาติเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ
ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีที่ รินดา พรศิริพิทักษ์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่องข่าวลือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยาโอนเงินหลักหมื่นล้านไปยังธนาคารในสิงคโปร์ โดยการกระทำดังกล่าวถูกฟ้องในข้อหาผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) แต่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นว่าข้อความอาจจะกระทบกระเทือนต่อผู้ถูกพาดพิง แต่ยังไม่มีลักษณะกระทบต่อความมั่นคง
เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ยให้สัมภาษณ์พิเศษกับ BBC ตอบคำถามในหลายประเด็นทั้งความพยายามของสหรัฐในการคว่ำบาตรหัวเว่ย และ การจับกุม Wanzhou Meng รองประธานหัวเว่ยและลูกสาว ความท้าทายที่หัวเว่ยต้องเจอแรงกดดันในเวลานี้ แต่เหริน เจิ้งเฟย ตอบอย่างมั่นใจว่า สหรัฐฯ ไม่มีทางบดขยี้เราได้
Facebook มีข่าวปลอมแพร่กระจายเยอะอาจเป็นเรื่องที่คนรู้กันอยู่แล้ว ล่าสุดฝ่ายกฎหมายของสภาอังกฤษออกรายงานอย่างเป็นทางการระบุชัดเจนว่า Facebook คือแหล่งแพร่กระขายข่าวปลอม ไม่ปฏิบัติตามกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว ถือเป็นนักเลงบนดิจิทัลหรือ digital ganster เลยก็ว่าได้
คณะกรรมการดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อและการกีฬาของรัฐบาลอังกฤษ ออกรายงานที่ใช้เวลา 18 เดือนในการสืบสวนสถานการณ์ข่าวปลอมบน Facebook รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวในการแก้ปัญหา พบว่า Facebook ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และระบุด้วยว่าการบิดเบือนข้อมูลที่ไม่รู้ว่าคนทำเป็นใครและยังเจาะกลุ่มเป้าหมายชัดเจนนั้น เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย
ในขณะที่ไมโครซอฟท์และ Amazon พยายามโปรโมทเรื่องการใช้กฎหมายกำกับดูแลเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไม่ให้ละเมิดสิทธิพลเมือง จีนกลับมีแนวทางที่แตกต่าง โดยเว็บไซต์ Financial Times รายงานว่ารัฐบาลจีนได้ทำสัญญากับบริษัทเทคโนโลยี SenseNets ใช้การจดจำใบหน้าจับตาดูกลุ่มมุสลิมอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง
ที่ด่านอุรุมชี เมืองหลวงของเขตซินเจียง รัฐบาลจีนติดตั้งเครื่องมือสแกนใบหน้าอย่างแพร่หลายในหลายๆ สถานที่ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางการขนส่งต่างๆ สถานีบริการน้ำมัน โรงแรม ธนาคาร และในเมืองอื่นๆ แม้แต่มีดทำครัวยังติด QR Code เพื่อจะได้รู้ข้อมูลคนซื้อว่าเป็นใคร
นักวิจัยด้านสื่อมหาวิทยาลัยฮ่องกง ทำการวิจัยประเด็นที่มีการเซนเซอร์มากที่สุดบน WeChat ในปี 2018 คือ พบว่าในบรรดาเนื้อหาที่ถูกเซนเซอร์มีประเด็น ประเด็นสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ, การแบนอุปกรณ์ ZTE และการจับกุมซีเอฟโอหัวเว่ย รวมอยู่ด้วย
อินเดียจัดประชุมว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองบนโซเชียลมีเดียเมื่อวันจันทร์ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยทวิตเตอร์ส่งคนอื่นมาแทนตัว Jack Dorsey ซีอีโอ และดูเหมือนจะทำให้อินเดียไม่พอใจ สภาอินเดียจึงเรียกตัวซีอีโอเข้าให้การอีกครั้งโดยกำหนดไทม์ไลน์ภายใน 25 ก.พ. นี้ Anurag Thakur ประธานคณะกรรมการรัฐสภาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) บอกว่า การที่ Dorsey ไม่ปรากฏตัว ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ของรัฐสภา
ในอินเดียตอนนี้ มีกรณีว่า ฝ่ายขวาของอินเดีย มีความเห็นว่าทวิตเตอร์มีความลำเอียง พยายามกดเสียงและเนื้อหาของฝ่ายขวาเอาไว้
Netflix ได้สิทธิ์ฉาย Knock Down the House สารคดีว่าด้วยนักการเมืองหญิงไฟแรงในสหรัฐฯ หนึ่งในนั้นมีสมาชิกสภาคองเกรสหญิงที่ได่รับการกล่าวถึงมากที่สุดคนหนึ่งอย่าง Alexandria Ocasio-Cortez หรือ AOC อีกด้วย
ถือเป็นดีลที่ดีของ Netflix อีกหนึ่งรายการ เพราะ Knock Down the House ได้รางวัล Festival Favorite Award ในงานเทศกาลภาพยนตร์ Sundance เทศกาลภาพยนตร์หนังนอกกระแสที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดย Knock Down the House ได้รับเสียงโหวตจากคนดูสูงสุดในบรรดาหนัง 121 เรื่องที่เข้าร่วม
เว็บไซต์ Deadline รายงานว่า Netflix ทุ่มเงินเพื่อให้ได้ดีลหนังสารคดีเรื่องนี้ถึง 10 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าเป็นความจริง ถือเป็นดีลหนังซันแดนซ์ที่แพงที่สุดเท่าที่เคยมีมา
จอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีของโลกพูดที่เวทีประชุม World Economic Forum ว่า การที่จีนใช้ AI ควบคุมคน และสี จิ้นผิง คือภัยคุกคามร้ายแรงของโลกเสรี
จอร์จ โซรอส บอกว่า ความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะเมื่อมันถูกใช้ในรัฐบาลระบอบเผด็จการ และในขณะที่จีนไม่ได้เป็นรัฐเผด็จการรัฐเดียวในโลก แต่จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจและก้าวหน้าที่สุดในด้านเทคโนโลยี สิ่งนี้ทำให้สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เป็นคู่ต่อสู้ที่อันตรายที่สุดของโลกเสรี
แม้ประเทศเวียดนามจะมีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวด ล่าสุดรัฐบาลออกมาบอกว่า Facebook ละเมิดกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ของเวียดนามโดยอนุญาตให้ผู้ใช้โพสต์ความคิดเห็นต่อต้านรัฐบาล
สำนักข่าวเวียดนามอ้างคำพูดกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารเวียดนามบอกว่า Facebook ยังไม่มีการตอบกลับใดๆ จากการที่รัฐบาลร้องขอให้ Facebook ลบแฟนเพจที่กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่นำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล
กฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่เวียดนามที่มีผลบังคับใช้ 1 มกราคมที่ผ่านมามีข้อกำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตตั้งสำนักงาน และศูนย์จัดเก็บข้อมูลไว้ในประเทศ ทำให้เกิดความกังวลว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจะไม่ปลอดภัย และเจ้าหน้าที่รัฐบาลจะใช้อำนาจควบคุมบริษัทอินเทอร์เน็ต
บน Netflix มี Patriot Act With Hasan Minhaj เป็นรายการพูดถึงสังคมการเมืองและถ่ายทอดออกมาในฉบับทอล์คโชว์ โดยตอนหนึ่งในรายการมีพูดวิจารณ์ถึงนโยบายของ Mohammed bin Salman มกุฎราชกุมารของซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้รายการตอนดังกล่าวถูกแบนในประเทศตามคำขอของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย
รายงานจาก Senate Intelligence Commission เผยว่า รัสเซียนอกจากจะใช้ Facebook เป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวปลอมให้กระทบการเลือกตั้งสหรัฐฯ แล้ว ยังใช้เกม โปเกมอน โก ด้วย โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้เล่นสัญชาติ แอฟริกัน-อเมริกัน
ไมโครซอฟท์ชี้ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่เห็นได้ชัดว่าเริ่มจะถูกนำไปใช้ในทางที่แย่ลงโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ไมโครซอฟท์ชี้ว่าตอนนี้เทคโนโลยีกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น และรัฐควรเริ่มมีกฎควบคุมภายในปี 2019 เพราะหากปล่อยให้มีการใช้ในทางไม่ดีไปอีกหลังจากนี้การกลับมากำกับดูแลก็จะยากแล้ว โดยข้อเสนอการกำกับดูแล ไมโครซอฟท์ระบุให้ทุกบริษัทมีความรับผิดชอบพื้นฐานร่วมกัน จะได้ไม่ต้องแข่งขันตามความต้องการตลาดไปเสียทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดและมี 3 ประเด็นที่รัฐควรตระหนักและจัดการคือ
Twitter ยังคงเป็นแพลตฟอร์มทรงคุณภาพในการรับรู้ความเคลื่อนไหวของสังคมใกล้ตัวและสังคมโลกว่า ขณะนี้ คนในประเทศกำลังพูดถึงเรื่องอะไรกัน หรือเทรนด์ทั่วโลกขณะนี้คนกำลังสนใจอะไรอยู่ เว็บไซต์ Engadget ออกมาวิเคราะห์ Twitter ในปี 2018 ว่าเป็นแพลตฟอร์มแห่งแฟนคลับ K-Pop และในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่แห่งการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองด้วย
Google ยังเจอการประท้วงต่อเนื่องหลังเหตุการณ์ล่าสุดที่พนักงานออกมาประท้วงว่า Google ปกป้อง Andy Rubin แม้เขาจะทำผิดร้ายแรง ล่าสุดมาที่เรื่อง Dragonfly หรือบริการเสิชในจีนที่ทำโดย Google ซึ่งเป็นบริการค้นหาที่ Google ทำโดยยอมเซนเซอร์ข้อมูลตามแนวทางรัฐบาลจีน แม้จะยังไม่มีผู้บริหารคนไหนใน Google ออกมาพูดเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ
กลุ่มพนักงาน Google ยังร่วมมือกับ Amnesty International ในการประท้วงครั้งนี้ด้วยเพราะบริการดังกล่าวกระทบสิทธิมนุษยชน กลุ่มผู้ประท้วงบอกว่า นี่ไม่เกี่ยวกับการที่บริการนี้ไปเปิดในจีน แต่จุดยืนคือ คัดค้านเทคโนโลยีที่กดขี่และเป็นภัยกับผู้คน ไม่ว่ามันจะไปเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม
จากข่าวตัวแทนรัฐบาล 8 ประเทศเชิญ Mark Zuckerberg ตอบคำถามข้อมูลหลุด โดยเป็นการเชิญครั้งที่สองหลัง Mark Zuckerberg ปฏิเสธไปแล้วรอบหนึ่ง แต่ล่าสุดยอมแล้วโดยส่ง Richard Allan หัวหน้าด้านนโยบายไปแทน แม้กลุ่มตัวแทนรัฐบาลจะต้องการตัว Mark Zuckerberg มากกว่าก็ตาม
การเรียกคุยครั้งนี้เกิดขึ้นหลัง New York Times ออกมาเปิดเผย Facebook จ้างล็อบบี้ยิสต์คุ้ยประวัติคู่แข่ง และปกปิดปัญหาข่าวปลอมรัสเซียทั้งที่เจอปัญหาก่อนแล้ว สร้างคำถามต่อสังคมโลกว่า Facebook ตั้งใจจะแก้ปัญหาอย่างจริงจังหรือไม่
มีความเคลื่อนไหวของ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ฉบับล่าสุด ที่มีการจัดรับฟังความเห็นไปช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จนได้ข้อสรุปถึงข้อกังวลตามจุดต่างๆ ของฉบับนี้ ที่เห็นชัดที่สุดคือ การให้อำนาจ กปช. หรือ คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติมากในการควบคุมดูแลและปราบปราม ดังนั้นในร่างฉบับใหม่ล่าสุดนี้ จึงเพิ่มคณะกรรมการย่อยมาช่วยทำงาน (แต่ กปช.เป็นผู้แต่งตั้งอยู่ดี) ลดอำนาจ กปช.
Facebook พยายามแก้ไขปัญหาความเกลียดชังในพม่ามาได้ระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจาก Facebook เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นสำคัญต่อเหตุสลดและการฆาตกรรมชาวโรฮิงญา เช่น แบนเพจที่มีส่วนเผยแพร่ความเกลียดชัง เพิ่มบุคลากรแก้ปัญหานี้โดยตรง
Facebook เผยว่าในการแก้ปัญหาได้ร่วมมือกับ Business for Social Responsibility หรือ BSR องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการทำรายงานและหาแนวทางแก้ไขปัญหาในพม่า
ผลการรายงานคือ Facebook มีสิ่งต้องทำอีกมากในการแก้ปัญหานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ Facebook ต้องบังคับใช้นโยบายด้านเนื้อหาอย่างเคร่งครัด และเพิ่มการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพม่าและกลุ่มประชาสังคมในพม่าด้วย รวมทั้งต้องเตรียมรับมือกับข้อมูลเท็จข่าวปลอมที่อาจแพร่สะพัดในช่วงเลือกตั้งพม่าปี 2020
6 พฤศจิกายนตามเวลาสหรัฐฯ คือวันเลือกตั้งกลางเทอมหรือการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งสภาซึ่งจัดขึ้นทุก 2 ปี ส่งผลให้ในวันนั้นคนอเมริกันเป็นล้านๆ คนต้องออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามเขตของตัวเอง แต่จุดลงคะแนนมีจำนวนลดลง ทำให้หลายคนต้องเดินทางไกลกว่าเดิมในการจะไปให้ถึงจุดลงคะแนน บรรดาบริการเรียกรถก็ใช้โอกาสนี้ทำส่วนลด แคมเปญพาคนไปเลือกตั้ง
กำลังเป็นกระแสสำหรับเพลง ประเทศกูมี ของวงแรปเปอร์ไทย Rap Against Dictatorship ที่ล่าสุดทำสถิติแซงเพลงฮิตหลายเพลงในชาร์ต iTunes Thailand Charts ขึ้นเป็นอันดับ 1 แล้ว
MV เพลงประเทศกูมีถูกเผยแพร่บน YouTube ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม จนถึงตอนนี้มีคนดูแล้วกว่า 6 ล้านครั้ง และดูท่าจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ นอกจากนี้แฮชแท็ก #ประเทศกูมี ยังขึ้นเป็นอันดับ 1 บน Twitter ประเทศไทยด้วยอย่างรวดเร็ว
โซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Facebook กำลังแก้ปัญหาข่าวปลอม และยิ่งต้องแก้กันอย่างเข้มข้นเพราะการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯกำลังจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายน
ข้ามมาที่ฝั่งจีนบ้าง Wechat คือโซเชียลมีเดียที่คนจีนใช้มากที่สุด นอกจากคุยกับเพื่อนแล้วยังเป็นแหล่งหาข้อมูลด้วย และเช่นกันกับโซเชียลอื่นที่ต้องเจอปัญหาข่าวปลอม สแปม และหนึ่งในวิธีที่ Wechat แก้ปัญหาคือ ใช้บัญชี Wechat ที่เป็นออฟฟิเชียล โพสต์ 10 อันดับข่าวปลอมยอดนิยมเองเสียเลย โดยทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้คนรู้โดยทั่วกันว่าเนื้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องแต่ง
ตัวอย่างข่าวปลอมที่แพร่ใน Wechat คือ ห้ามใช้ไมโครเวฟเพราะทำให้เป็นมะเร็ง, ใช้แอพ QQ สแกนเงินจีนได้เพื่อดูว่าเป็นเงินปลอมหรือไม่, ห้ามโพสต์โจมตีพรรคคอมมิวนิสต์ และประเด็นการเมืองบน Wechat (แต่รัฐบาลก็เซนเซอร์เนื้อหาทำนองนี้จริงๆ)
หลังจาก Bloomberg นำเสนอรายงานพิเศษที่อ้างว่าทางการจีนอยู่เบื้องหลังการติดตั้งชิปพิเศษที่เปิดทางเข้าควบคุมเครื่องบนเมนบอร์ดของ Supermicro และนำไปสู่ราคาหุ้นของบริษัทที่ร่วงกว่า 40% รวมถึงบริษัทที่มีชื่อในรายงานต่างปฎิเสธ
ล่าสุด เจ้าหน้าที่และนักการเมืองของสหรัฐจำนวนหนึ่งเริ่มให้สัมภาษณ์แสดงความกังวลกับกรณีในรายงานของ Bloomberg แล้ว
ยังไม่มีความชัดเจนอย่างเป็นทางการเรื่อง Google จะกลับไปเปิดบริการเสิร์ชในจีนหรืออีกนามว่า Dragonfly แต่มีข่าวลือว่าตัวบริการเสิร์ชนี้นอกจากจะบล็อคคำและเว็บไซต์ตามนโยบายเซนเซอร์เนื้อหาของจีนแล้ว ยังจะสามารถเชื่อมเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวของคนจีนได้ด้วย
เว็บไซต์ The Intercept อ้างอิงแหล่งข่าววงในบอกว่า ตัวเสิร์ชสามารถเชื่อมไปยังเบอร์มือถือของผู้ใช้งานแอนดรอยด์ได้ ซึ่งหมายความว่าการค้นหาของผู้ใช้แต่ละรายสามารถติดตามได้ง่ายและผู้ใช้ที่หาข้อมูลที่รัฐบาลห้าม นอกจากนี้มีรายงานตัวอย่างคำภาษาจีนที่เป็นคำต้องห้ามบนตัวเสิร์ชคือ "สิทธิมนุษยชน" "การประท้วงของนักศึกษา" และ "รางวัลโนเบล"