Tags:
Node Thumbnail

แนวทางการขอข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้จากรัฐบาลจากเว็บใหญ่ๆ เริ่มกลายเป็นแนวทางมาตรฐาน ตอนนี้ Yahoo! ก็ออกมาเปิดรายงานการขอข้อมูลจากรัฐบาลแล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ข้อข้อมูลมากที่สุด 12,444 ครั้ง รวมเป็นผู้ใช้ 40,322 คน รายงานไม่มีตัวเลขของรัฐบาลไทยเพราะ Yahoo! ไม่มีบริษัทลูกอยู่ในประเทศไทย

รายงานของ Yahoo! นั้นระบุแยกการขอข้อมูลเป็นจำนวนครั้ง และปริมาณบัญชีผู้ใช้ที่ถูกขอข้อมูล จากนั้นจึงแยกการตอบกลับของ Yahoo! ว่าไม่ให้เพราะไม่พบข้อมูล หรือไม่ให้เพราะคำขอมีปัญหา (เช่นบัญชีนั้นอยู่นอกอำนาจของหน่วยงานที่ขอข้อมูล) ในกรณีที่ให้ข้อมูล มีทั้งการให้แบบไม่ให้เนื้อหา (non-content data - NCD) และให้ข้อมูลเนื้อหาไปด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ในช่วงที่มีข่าวปอท. กำลังไปขอข้อมูลจาก LINE แต่ทาง LINE ระบุว่ายังไม่ได้ให้ความร่วมมือใดๆ ผมได้ส่งอีเมลไปสอบถามทาง LINE ทั้งเรื่องการขอข้อมูล และประเด็นการเข้ารหัสที่ LINE กลับไม่ยอมเข้ารหัสเมื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 3G

LINE ยืนยันว่าไม่มีการส่งมอบข้อมูลใดๆ ให้รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแชต หรือข้อมูลอื่นๆ อย่างไรก็ดี กระบวนการร่วมมือกับหน่วยงานรักษากฎหมายนั้นเป็นไปตามกฎหมายในแต่ละประเทศที่ LINE ดำเนินการ

Tags:
Node Thumbnail

ข่าวความสามารถในการดักฟังของ NSA ที่มีรายละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องกลับมาสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้กันอีกครั้ง หนึ่งในผู้ให้บริการที่ NSA ระบุว่าสามารถดึงข้อมูลออกมาได้คือกูเกิล และตอนนี้กูเกิลก็ระบุว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเข้ารหัสระหว่างศูนย์ข้อมูลแล้ว

แม้ว่ากูเกิลจะเข้ารหัสในบริการต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง Gmail และ Google+ แต่การเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ข้อมูลทั่วโลกที่เช่าสายไฟเบอร์ออปติกส์ไว้เฉพาะนั้นมักไม่ได้เข้ารหัสเพราะโดยมากแล้วความเสี่ยงจากการดักฟังโดยผู้ให้บริการเช่าสายไฟเบอร์นั้นค่อนข้างต่ำ แต่มุมมองของกูเกิลตอนนี้มองว่าต้องเตรียมพร้อมกับรัฐบาลของตัวเอง (ที่มีความสามารถในการดักฟังเครือข่ายไฟเบอร์)

Tags:
Node Thumbnail

The Washington Post รายงานถึงเอกสารของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ได้มาจาก Edward Snowden แสดงงบประมาณด้านข่าวกรองโดยรวมจากทุกหน่วยงานของสหรัฐฯ รวมเป็นเงิน 52,600 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณส่วนนี้เป็นความลับทั้งหมด การเปิดเผยครั้งนี้ทำให้เราเห็นว่าการใช้เงินเป็นอย่างไร แม้จะเป็นแค่ระดับกว้างๆ

นับแต่ปี 2004 งบประมาณ 5 หน่วยงานที่ใช้งบประมารข่าวกรองนี้มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆหน่วยงานเช่น CIA และ NSA นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา งบประมาณแบ่งออกเป็น 5 หมวดได้แก่

Tags:
Node Thumbnail

รายงานจำนวนผู้ใช้จากโครงการ TOR ซึ่งสร้างเครือข่ายที่ไม่สามารถตามต้นตอของข้อมูลได้ พบว่าผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากก่อนหน้านี้ที่เฉลี่ยประมาณห้าแสนคนทั่วโลก เพิ่มเป็นกว่า 1,200,000 คน แนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นนี้เป็นแนวโน้มที่เหมือนกันหมดทั้งโลก แต่บางประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าประเทศอื่นๆ อย่างชัดเจน เช่นประเทศไทยนั้นจากเดิมที่มีคนใช้งานประมาณวันละสองพันคน เพิ่มขึ้นสิบเท่าเป็นประมาณสองหมื่นคนในเดือนที่ผ่านมา ยกเว้นประเทศที่ป้องกันการใช้งาน TOR อย่างแน่นหนาเช่นจีน ที่มีการใช้งานเพียงหลักร้อยคนเท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

Facebook ออกรายงาน Global Government Requests Report เปิดเผยสถิติการขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลทั่วโลก ระหว่างครึ่งแรกของปี 2013

สำหรับกรณีของประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐไทยยื่นขอข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง นับจำนวนผู้ใช้รวม 5 บัญชี ซึ่งก็ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (สหรัฐอเมริกาขอ 11,000-12,000 ครั้ง รวม 20,000-21,000 บัญชี)

Facebook เปิดเผยเฉพาะสถิติรวมของแต่ละประเทศเท่านั้น ไม่ได้แยกย่อยว่าหน่วยงานที่ขอคือหน่วยงานใด และขอข้อมูลผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

ที่มา - Facebook

Tags:
Node Thumbnail

เอกสารลับสุดยอดจาก Edward Snowden เปิดเผยว่าโครงการ PRISM ต้องจ่ายเงินเพื่อรับบริการจากบริษัทภายนอกหลายล้านดอลลาร์ต่อปีในกระบวนการรับรองการทำงานเพื่อให้เข้ากับกฎหมาย FISA

กฎหมาย FISA ของสหรัฐฯ นั้นเปิดให้หน่วยงานความมั่นคงเช่น NSA สามารถดักฟังการสื่อสารได้แต่ต้องมีกระบวนการจำกัดบุคคลที่อยู่ในการสื่อสาร ว่าต้องไม่ดักฟังพลเมืองสหรัฐฯ ที่กำลังสื่อสารถึงพลเมืองสหรัฐฯ ด้วยกันเอง กระบวนการคัดกรองนี้ต้องได้รับการรับรองซึ่งมีค่าใช้จ่ายนับล้านดอลลาร์กับหน่วยงานที่ให้ข้อมูลแก่ NSA

เอกสารที่ The Guardian เปิดเผยออกมาเป็นจดหมายข่าวของ NSA ฉบับเดือนธันวาคม 2012 ที่ผ่านมา ระบุว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จ่ายโดย Special Service Operations

Tags:
Node Thumbnail

เครือข่ายพลเมืองเน็ตเปิดรายงานสำรวจสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวออนไลน์ในครึ่งปีแรกของปีนี้ รายงาน 6 เหตุการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวออนไลน์ ในสามรูปแบบคือ การละเมิดของธุรกิจเอกชน, การละเมิดจากรัฐ, และการละเมิดจากผู้ใช้ด้วยกันเอง

รายงานแสดงให้เห็นถึงการถูกละเมิดนับแต่ความเลินเล่อของผู้ให้บริการที่อาจจะทำข้อมูลเช่นอีเมลหลุดออกมา หรือในกรณีมหาวิทยาลัยทำภาพนิสิตหลุดออกมาเป็นจำนวนมาก การละเมิดจากความตั้งใจทางธุรกิจเช่นการส่งต่อข้อมูลให้กับบริษัทอื่นๆ เพื่อหาผลประโยชน์ และการละเมิดจากการกลั่นแกล้งให้ได้รับความเดือดร้อน

Tags:
Node Thumbnail

Groklaw เว็บกฎหมายไซเบอร์ชื่อดัง (มีผลงานโดดเด่นด้านกฎหมายกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยเฉพาะช่วงคดี SCO) ประกาศปิดเว็บหลังจากเปิดมาตั้งแต่ปี 2003

ผู้ก่อตั้งเว็บคือ Pamela Jones หรือ PJ ให้เหตุผลของการปิดเว็บว่าเกิดจากการสอดส่องของ NSA และหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐในช่วงหลัง โดยปัจจัยสำคัญคือเธอเห็นข่าวบริษัท Lavabit ที่ทำธุรกิจด้านการเข้ารหัสอีเมลยังต้องปิดตัว ทำให้เธอรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะใช้อีเมล (ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารหลักของ Groklaw กับแหล่งข่าว) อีกต่อไป และเลือกการปิดเว็บแทนการทำข่าวต่อไปด้วยอีเมลที่ไม่ปลอดภัย

Tags:
Node Thumbnail

ทีม CyanogenMod เผยข้อมูลของฟีเจอร์ใหม่ "CyanogenMod Account" หน้าที่ของมันคือการบริหารจัดการเครื่องจากระยะไกล เช่น การตามหามือถือหาย หรือการสั่งลบข้อมูลภายในเครื่อง

ผู้ใช้ CM Account ต้องลงทะเบียนกับโครงการ CyanogenMod โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่บังคับว่าต้องใช้งาน ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเข้ารหัส ทางโครงการไม่สามารถดูได้ว่ามือถือแต่ละเครื่องอยู่ที่ไหน และโค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่บริหารจัดการบัญชีจะโอเพนซอร์สด้วยสัญญาอนุญาตแบบ Apache

ตอนนี้โครงการ CM Account ยังเพิ่งเริ่มต้น และต้องพัฒนาอีกสักพักก่อนจะเริ่มใส่เข้ามาใน CM รุ่น nightly เบื้องต้นคนที่สนใจสามารถติดตามได้จาก Github

Tags:
Node Thumbnail

หลังมีกรณี LINE Corporation ปฏิเสธว่าทางตำรวจไทยไม่ได้ติดต่อไป ล่าสุด พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แถลงยืนยันว่าได้ติดต่อ LINE Corporation ไปก่อนหน้านั้นจริง อีกทั้ง LINE Corporation ก็ตอบรับพร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย

ส่วนการที่ LINE Corporation แถลงปฏิเสธนั้น พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ กล่าวว่าอาจเป็นเพราะ LINE Corporation ต้องการปกป้องธุรกิจของตัวเอง อีกทั้ง LINE Corporation ก็ยังยืนยันเสียงแข็งในนโยบายการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในระดับสากล

Tags:
Node Thumbnail

Consumer Watchdog เปิดเผยเอกสารจากทนายของกูเกิลที่ยื่นต่อศาลแขวงในเขตภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อให้ศาลยกฟ้องคดีหนึ่งว่า ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ใช้ Gmail ไม่ควรหวังความเป็นส่วนตัวในทางกฎหมายเมื่อรับส่งอีเมลกับผู้ใช้ Gmail โดยกล่าวว่าผู้ใช้ต้องพึ่งเข้าใจว่าการโต้ตอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic corresponded) ใดก็ตามที่เข้าออกจากเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลสามารถถูกเข้าถึงและถูกใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ รวมถึงการขายโฆษณาได้

Tags:
Node Thumbnail

จากกรณี ปอท. ออกมาชี้แจงการเข้าตรวจสอบแอพ LINE และได้ส่งตำรวจ ปอท. ไปที่ญี่ปุ่นเพื่อขอความร่วมมือนั้น ล่าสุด LINE Corporation ได้ชี้แจงตอบกลับมาว่ายังไม่ได้รับการติดต่อจากตำรวจไทย

LINE Corporation ที่ญี่ปุ่นได้ออกแถลงการณ์กรณีมีหลายสื่อจากไทยสอบถามไปเป็นจำนวนมาก ถึงเรื่องที่ตำรวจ ปอท.ของไทย ขอความร่วมมือแอพ LINE และจะเข้าตรวจสอบข้อมูล และในช่วงเย็นเมื่อวานนี้ LINE Corporation แจ้งกลับมาทางสื่อเครือเนชั่น มีใจความว่าทาง LINE เองยังไม่ได้รับการติดต่อหรือร้องขอข้อมูลใดๆ จากทางตำรวจ ปอท. ของไทย

เมื่อผลเป็นเช่นนี้ ทางตำรวจ ปอท. ของไทยยังไม่มีการชี้แจง ว่าสรุปแล้วได้ติดต่อ LINE Corporation ไปจริงหรือไม่ ?

Tags:
Node Thumbnail

หลังมีข่าวการขอความร่วมมือจาก LINE วันนี้ ปอท. ก็ออกมาแถลงข่าวแสดงความชัดเจนอีกรอบ ว่ากำลังขอข้อมูลใดบ้างจากทาง LINE ข้อมูลเหล่านั้นได้แก่

  • ชื่อผู้ใช้: น่าจะหมายถึง username ในระบบของ LINE
  • ผู้ลงทะเบียนการใช้: ไม่แน่ชัดนักว่าเป็นอะไร แต่อาจจะเป็นสิ่งที่ระบุตัวของผู้ใช้ เช่น อีเมล
  • หมายเลขที่ใช้ลงทะเบียน

ที่น่าสนใจ คือ ปอท. ระบุว่าจะขอข้อมูลการพูดคุย (น่าจะหมายถึง chatlog) จะดำเนินการต่อเมือพบมีการกระทำความผิดแล้วเท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้ชี้แจงกรณีการเข้าตรวจสอบแอพยอดนิยมในบ้านเราอย่าง LINE หรือแอพแนวโซเชียลอื่นๆ นั้น เป็นเรื่องจริงและได้ประสานไปยังบริษัทแม่ที่ต่างประเทศแล้ว แต่จะเข้าตรวจสอบเฉพาะกรณีที่ผิดกฎหมายและกระทบความมั่นคงของประเทศ สรุปมีดังนี้

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าว โครงการ XKeyscore ของ NSA ที่ดักฟังกิจกรรมของผู้ใช้ใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่วิ่งอยู่บน HTTP

ทาง Wikimedia Foundation องค์กรแม่ของ Wikipedia ออกมาแสดงความกังวลในเรื่องนี้ และประกาศแผนการใช้ HTTPS เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้แล้ว

Tags:
Node Thumbnail

หนังสือพิมพ์ The Guardian เปิดเผยเอกสารฝึกอบรมนักวิเคราะห์ของ NSA ในโครงการ XKeyscore เพื่อค้นหากิจกรรมของผู้ใช้ใดๆ จากตามเวลาจริง โดยสามารถค้นหาจากชื่อล็อกอิน, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, และภาษาที่ใช้งาน

ระบบค้นหาเปิดให้ผู้ใช้ตั้งช่วงเวลาที่ค้นหาโดยต้องใส่ "เหตุผล" (justification) ของการค้นหา และเลือกเหตุผลที่ทำให้เชื่อได้ว่าผู้ที่กำลังถูกค้นนั้นเป็นชาวต่างชาติ (เพราะหากเป็นการดักฟังพลเมืองสหรัฐฯ จะต้องเข้ากระบวนการขอหมายศาล) จากนั้น Xkeyscore จะดักค้นทุกจุดดักฟังเพื่อจับทุกอย่างที่ "ดูเหมือน" อีเมลที่กำลังค้นหานั้น

Tags:
Node Thumbnail

Joseph Bonneau นักวิจัยความปลอดภัยจากกูเกิล ได้รับรางวัลงานวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์จากงานวิจัยหัวข้อ "The science of guessing: analyzing an anonymized corpus of 70 million passwords" ที่ตีพิมพ์ลง IEEE เมื่อปีที่แล้ว

หลังการรับรางวัลเขาเขียนบล็อกถึงความรู้สึกจากรางวัลที่ได้รับความมีความรู้สึกขัดแย้งกันเอง เมื่อคิดถึง NSA ที่กำลังดักฟังการสื่อสารเป็นวงกว้างโดยไม่มีการตรวจสอบย้อนกลับที่ชัดเจน เขารู้สึกอับอายในฐานะพลเมืองสหรัฐฯ ที่มีนักการเมืองที่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

Tags:
Node Thumbnail

เป็นข่าวต่อเนื่องจากแผนการตลาดของซัมซุง ที่ให้ผู้ใช้ Samsung Galaxy ดาวน์โหลดแอพ Magna Carta บน Google Play เพื่อฟังเพลงของศิลปิน Jay-Z อัลบั้ม Magna Carta Holy Grail ได้ก่อนใคร 72 ชั่วโมงครับ โดยนักวิจารณ์เพลง Jon Pareles แห่ง The New York Times ติงว่าแอพตัวนี้รุกล้ำความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งานมากเกินไป มีรายละเอียดคือ

Tags:
Node Thumbnail

iPredator ผู้ให้บริการ VPN ที่เน้นการสร้างความเป็นส่วนตัวระบุว่าบริการรับจ่ายเงิน PaySon ถูกกดดันจากมาสเตอร์การ์ดและวีซ่าให้หยุดให้บริการกับผู้ให้บริการปกปิดตัวตน ทำให้ iPredator ไม่สามารถรับเงินผ่านทางบัตรเครดิตทั้งสองรายได้อีกต่อไป

บริการ iPredator ยังคงเปิดให้บริการ และยังรับเงินผ่านทั้ง BitCoin และ paysafecard อย่างไรก็ดียังมีผู้ให้บริการ VPN รายอื่นๆ ที่รับเงินผ่านทาง PaySon จึงไม่แน่ชัดว่านโยบายที่บังคับกับ iPredator ต่างจากรายอื่นอย่างไร

ที่มา - The Register

Tags:
Node Thumbnail

บริษัทที่ทำธุรกิจออนไลน์ และกลุ่ม NGO เพื่อเสรีภาพออนไลน์ทำแคมเปญประท้วง NSA ที่ดักฟังประชาชนของตัวเองผ่านโครงการ PRISM โดยแกนนำหลัก คือ หน่วยงานที่ชื่อว่า Fight for the Future และมีบริษัทและหน่วยงานที่ร่วมด้วยได้แก่ Wordpress, Namecheap, Reddit, 4chan, Mozilla, Fark, TOR, Cheezburger, Demand Progress, MoveOn, และ EFF

แคมเปญนี้สร้างวิดีโอชักชวนให้คนมาลงชื่อ (อีเมล) เพื่อประท้วงโครงการ PRISM, นำแบนเนอร์ไปติดบนเว็บของตัวเอง, แชร์ข้อความประท้วงบนทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก, หาทางแสดงวิดีโอประท้วงบนโทรทัศน์, ประท้วงบนถนนที่กำลังฉลองวันชาติ, โทรหาผู้แทนเรียกร้องให้มีการสอบสวนโครงการ PRISM, ส่งอีเมลหาสภาเพื่อขอความชัดเจนของโครงการ PRISM

Tags:
Node Thumbnail

Facebook ออกมาประกาศบั๊กของระบบ ที่สร้างผลกระทบให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลที่อยู่ติดต่อ (เบอร์โทรศัพท์และอีเมล) ของผู้ใช้คนอื่นๆ ที่มีเพื่อนคนเดียวกันได้

บั๊กนี้เกิดจากระบบ friend recommendation ของ Facebook ที่จะอ่านข้อมูลจากสมุดที่อยู่ของเราเพื่อเช็คว่าตรงกับผู้ใช้คนใดในระบบบ้าง (สมมติว่าเป็นผู้ใช้ A) ในกรณีที่มีคนอัพโหลดข้อมูลจากสมุดที่อยู่ขึ้นไปพร้อมกันหลายคน (เช่น ผู้ใช้ B และผู้ใช้ C ที่เป็นเพื่อนของ A ทั้งคู่ แต่อาจไม่รู้จักกันเอง) Facebook จะรวมเอาข้อมูลของ A ที่มาจาก B และ C ไว้ด้วยกันบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง (ซึ่ง B อาจไม่มีข้อมูลบางอย่างของ A แต่ C มีข้อมูลนั้น) โดยมีแค่ Facebook เท่านั้นที่เห็นข้อมูลทั้งหมด

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ PRISM ที่พนักงานบริษัทรับงานจาก NSA เปิดเผยออกมาทำให้สื่อทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับกระบวนการดักฟังของรัฐบาลสหรัฐฯ และตอนนี้ The Guardian ก็เปิดเอกสารขั้นตอนการดักฟังอย่างละเอียดออกมา

เอกสารยังคงใจความคล้ายกับที่ NSA ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่าไม่ได้เป็นการดักฟังประชาชนของตัวเอง (ซึ่งต้องขอดักฟังผ่านหมายศาล) การดักฟังด้วยเหตุผลทางความมั่นคงจะต้องไม่ใช่พลเมืองของสหรัฐฯ และเชื่่อได้ว่าอาศัยอยู่นอกสหรัฐฯ

Tags:
Node Thumbnail

ปกติเวลาเราจะติดตั้งแอพบนระบบปฏิบัติการ Android นั้น ระบบจะแสดงรายการ permission ที่แอพนั้นต้องการให้เราเห็นก่อนยอมรับ ซึ่งเราสามารถทำได้แค่ 2 ทางเลือกคือ ไม่ยอมรับแล้วยกเลิกการติดตั้ง หรือยอมรับ permission ทั้งหมดเพื่อติดตั้งแอพนั้น หมายความว่าถ้าเราอยากติดตั้งแอพนั้น แต่มีบาง permission ที่เราไม่อยากให้แอพเรียกใช้ เราจะสูญเสียความเป็นส่วนตัวไป เนื่องจากต้องยอมรับ permission ทั้งหมด

Steve Kondik ผู้นำทีม CyanogenMod ได้เล็งเห็นความสำคัญตรงจุดนี้ จึงได้คิดโหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito Mode) ซึ่งทำเครื่องหมายแต่ละแอพว่าจะเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดหรือข้อมูลแค่บางส่วนได้ โดยฟีเจอร์ของระบบจะเป็นดังนี้

Pages