รายได้หลักของกูเกิลนั้นมาจาก "โฆษณา" ตระกูล AdWords ที่แสดงโฆษณาได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ในสมัยแรกๆ กูเกิลจะนำคำค้นหรือ keyword มาคำนวณหาโฆษณาที่เหมาะสมให้ แต่ภายหลังก็นำปัจจัยอื่นๆ อีกสารพัดมาคำนวณ เพื่อให้ได้ผลโฆษณาที่แม่นยำกว่าเดิม
เทคนิคนี้เป็นดาบสองคม เพราะผู้ใช้จำนวนหนึ่งมองว่า "ละเมิดความเป็นส่วนตัว" และส่งผลให้กูเกิลถูกสอบสวนจากองค์กรภาครัฐหลายแห่งในหลายประเทศ
กูเกิลจึงต้องพยายามผ่อนคลายความกดดันนี้ และความพยายามครั้งล่าสุดคือเพิ่มลิงก์ "why these ads?" อยู่ข้างๆ โฆษณาใน Google Search และ Gmail เพื่อบอกที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงเห็นโฆษณาชิ้นนี้
หลังจากที่ Facebook เปิดตัวหน้า Profile แบบใหม่ Timeline และ API ใหม่ Open Graph ตามข่าวก่อนหน้านี้ โดยตอนนี้ยังอยู่ในช่วงทดลองสำหรับนักพัฒนา (แต่คนแถวนี้คงไปลองกันเยอะแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว FBI ของสหรัฐจับกุมแฮกเกอร์ผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวกับกลุ่ม LulzSec/Anonymous เพิ่มอีกสองราย
แฮกเกอร์รายหนึ่งคือ Cody Kretsinger จะโดนข้อหาเจาะระบบของโซนี่และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ และอาจโดนตัดสินให้จำคุกนาน 15 ปี
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Kretsinger ใช้บริการพร็อกซีชื่อ Hidemyass.com เพื่อซ่อนตัวเองจากทางการขณะปฏิบัติการโจมตี แต่ภายหลัง Hidemyass.com ให้ความร่วมมือกับ FBI เพื่อตามรอยของ Kretsinger ซึ่งนำไปสู่การจับกุมตัว
เมื่อต้นปีเราเห็นข่าวใหญ่ iOS 4 เก็บข้อมูลพิกัดทุกคนไว้โดยตั้งใจ กันไปแล้ว คราวนี้เป็นคิวของ Windows Phone บ้าง
เมื่อประมาณเดือนสองเดือนก่อน มีบริษัทด้านความปลอดภัยค้นพบว่า WP7 แอบส่งข้อมูลพิกัดของผู้ใช้กลับไปยังไมโครซอฟท์ มีคนยื่นฟ้องศาล และไมโครซอฟท์ออกมาปฏิเสธ
สิ่งหนึ่งที่เราพบบ่อยในบริการเช็คอินแบบ Foursquare คือการ "เช็คอินที่บ้าน" ซึ่งสะดวกในการบอกให้คนรอบตัวรู้ว่าเราอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ก็เป็นดาบสองคม เพราะเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นๆ รู้พิกัดที่แน่นอนของบ้านเรา
ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่ Foursquare ได้รับการร้องขอมาโดยตลอด และตอนนี้บริษัทได้ปรับวิธีการระบุตำแหน่งของ "บ้าน" เสียใหม่แล้ว
เจ้าของสถานที่จะต้องเลือกหมวดของสถานที่เป็น "Home" เสียก่อน และจะมีเฉพาะเพื่อนของเราใน Foursquare เท่านั้นที่เห็นหมุดบอกพิกัดบ้านของเรา ถ้าเป็นบุคคลอื่นๆ จะเห็นเฉพาะแผนที่ของบริเวณนั้นในระยะที่ค่อนข้างห่าง และไม่มีหมุดบอกพิกัดให้เห็น
บริการระบุพิกัดของกูเกิลนั้นอาศัยโทรศัพท์ Android นับล้านตัวทั่วโลก แม้บริการนี้จะถามความสมัครใจของเจ้าของโทรศัพท์ว่าอยากส่งข้อมูลกลับไปหรือไม่ แต่ไม่เคยถามความสมัครใจของเข้าของเราท์เตอร์ว่าอยากให้บันทึกพิกัดและหมายเลข MAC ลงฐานข้อมูลหรือไม่ จนเป็นเหตุให้กูเกิลเริ่มโดนสอบสวนในประเทศที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของประชาชนสูงๆ เช่นเยอรมัน
งานนี้กูเกิลยอมถอยด้วยการเปิดให้เจ้าของเราท์เตอร์ทั่วโลกสามารถถอนตัวออกจากบริการนี้ได้ โดยหลังจากถอนตัวแล้วกูเกิลจะไม่ใช่เราท์เตอร์ตั้วนั้นๆ หาสถานที่อีกต่อไป
บริการนี้จะเริ่มใช้งานได้ภายในหน้าช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนนี้
หลังจากที่เป็นข่าวว่าปุ่ม Facebook Like นั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวในรัฐ Schleswig-Holstein ประเทศเยอรมนี เพราะเป็นการส่งข้อมูลไปยัง server ของ Facebook โดยผู้เข้าชมเว็บไซต์ไม่มีทางเลือก เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีเยอรมัน heise online (ชื่อเว็บไซต์ตัวพิมพ์เล็ก) ก็หาทางให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ยังสามารถเลือกที่จะกด Like ข่าวต่าง ๆ ได้โดยไม่ผิดกฎหมายจนได้
ในยุคที่ข้อมูลเกือบทุกอย่างสามารถมีพิกัด location แปะติดไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ร้ายแรงขึ้นกว่าเดิม เพราะพิกัดเหล่านี้สามารถเชื่อมไปยังที่อยู่จริงๆ ของเราได้โดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาเราก็เห็นคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการระบุตำแหน
Facebook ประกาศปรับปรุงการแชร์ใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการแบ่งปันกับคนที่คุณต้องการเท่านั้น
ส่วนที่ปรับปรุงคือโพสต์ รูปภาพ แท็ก และเนื่อหาอื่นๆ โดยย้ายการตั้งค่าการแชร์จากเดิมที่เป็นเมนูรวมกัน มาอยู่ด้านขวาของโพสต์นั้นๆ ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจว่ากำลังแชร์กับใครอยู่บ้าง
การปรับปรุงครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หน้าโปรโฟล์ของคุณ และสิ่งที่คุณแชร์ออกไป
สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ตัวย่อภาษาเยอรมัน ULD) ของรัฐ Schleswig-Holstein ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนี ประกาศให้หน่วยงานภาคของรัฐนำปุ่ม Facebook Like ออกจากเว็บไซต์
ประกาศนี้มีขึ้นหลัง ULD ประเมินว่าปุ่ม Like ผิดกฎหมายด้านโทรคมนาคม และการคุ้มครองข้อมูลภาครัฐ (ของรัฐบาลกลาง) และผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ของรัฐ Schleswig-Holstein) เพราะจะส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Facebook ในสหรัฐอย่างไม่มีทางเลือก ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ Facebook ก็ตาม
มีรายงานจากคุณ patikorn ที่ห้องมาบุญครองเว็บ Pantip.com ว่ามีเอกสารพร้อมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า รวมถึงสำเนาบัตรประชาชนหลุดออกไปเป็นถุงกล้วยแขก
คุณ patikorn ระบุว่าต้นทางของรูปนี้เป็นเมลที่ลูกค้าของ TrueMove แจ้งเข้าไปยังบริษัทเพื่อร้องเรียนความหละหลวมนี้ โดยเอกสารที่หลุดออกมาเป็นเอกสารขอยกเลิกใช้บริการ เท่าที่สังเกตดูพบว่าบัตรประชาชนของผู้เสียหายนั้นหมดอายุในวันที่ 5 สิงหาคม 2552 อาจจะแสดงว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารเก่าหลายปีแล้ว
เรื่องนี้เป็นเป็นกรณีศึกษาว่าจะให้สำเนาบัตรประชาชนกับใครควรขีดคร่อมให้ชัดเจนเสมอครับ ไม่งั้นหลุดไปยังไงไม่มีใครรู้เลย
ไมโครซอฟท์ออกโฆษณาใหม่ของ Office 365 ซึ่งท้าชน Google Apps ในตลาดอีเมลองค์กร โฆษณาชุดนี้มีชื่อว่า Gmail Man ซึ่งโจมตีกูเกิลว่า "แอบดู" อีเมลของลูกค้าเพื่อใช้ประโยชน์จากโฆษณา
ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของ Gmail ถูกวิจารณ์มานานแล้ว แต่โฆษณาชิ้นนี้ได้นำตัวละครมาแสดงเป็น "Gmail man" ที่คอยเดินส่งอีเมลแต่ก็แอบอ่านจดหมายของคนอื่นไปพลาง ช่วยให้เห็นภาพกันมากขึ้น
ที่มา - ZDNet
หลังการค้นพบว่าโทรศัพท์ iOS เก็บพิกัดของผู้ใช้ไว้ตลอดเวลาอยู่ในเครื่องโดยไม่ได้ขอผู้ใช้ล่วงหน้า แอปเปิลก็ถูกสอบสวนและดำเนินคดีในหลายประเทศ แม้จะแก้ไขปัญหานี้แล้วใน iOS รุ่น 4.3.3 แต่ความผิดและคดีก็ไม่หายไปด้วย และศาลเกาหลีก็มีคำพิพากษาให้แอปเปิลจ่ายเงินแก่นาย Kim Hyung-suk เป็นเงิน 1 ล้านวอนหรือประมาณ 30,000 บาทไปตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแต่ไม่เป็นข่าวในวงกว้างนัก
ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ต เป็นปัญหาใหญ่ที่ชาวเน็ตต้องเจอ ช่วงหลังเราจึงเห็นข่าวองค์กรภาครัฐเริ่มเข้ามากดดันให้บริษัทไอทีต่างๆ ใส่ใจกับเรื่องนี้มากขึ้น
แต่ความเป็นส่วนตัวเป็นแนวคิดที่เข้าใจได้ยาก แถมข้อมูลต่างๆ มักเขียนด้วยภาษากฎหมายที่คนธรรมดาอ่านกันไม่รู้เรื่องอีกต่างหาก บริษัทหลายแห่งจึงพยายามอธิบายนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวด้วยวิธีใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น Facebook ที่ปรับหน้า Privacy Policy ใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น
วันนี้ Zynga เจ้าพ่อแห่งเกมบนเน็ตได้ก้าวไปอีกขั้น โดยอธิบายเรื่องความเป็นส่วนตัวด้วยเกมมันเสียเลย และนี่คือ "PrivacyVille"
ภายหลังจาก Google Dashboard เกือบสองปี ล่าสุดกูเกิลเปิดตัว Google Takeout เครื่องมือสำหรับส่งออกข้อมูลของผู้ใช้งานบริการต่างๆ ของกูเกิล โดยข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจะอยู่ในรูปแบบของมาตรฐานเปิดภายในไฟล์ zip
ในตอนนี้รองรับเพียง 5 บริการ ได้แก่ Buzz, Contact and Circles, Picasa Web Albums, Profile และ Stream (Circles และ Stream มาพร้อมกับ Google+)
วิดีโอแนะนำจากทีม Data Liberation Front หลังเบรกครับ
ที่มา - Data Liberation Blog
Facebook งานเข้าเสียแล้ว เพราะฟีเจอร์ Facial Recognition ที่เปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลกเมื่อวาน กลายเป็นประเด็นถูกเพ่งเล็งด้านข้อมูลส่วนบุคคล
หลังเปิดตัวฟีเจอร์นี้ ก็มีองค์กรในยุโรป 3 องค์กรเข้ามาสนใจเรื่องนี้ โดยคณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารของอังกฤษและไอร์แลนด์ เข้ามาหาข้อมูลว่าละเมิดกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ประเด็นปัญหาคือการตั้งค่าของ Facebook เองที่ค่า default อนุญาตให้ผู้ใช้ถูกแท็กอัตโนมัติได้
องค์กรที่สามเป็นกลุ่ม NGO ด้านข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรปชื่อ Article 29 Data Protection Working Party ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก 27 ประเทศ และมีอิทธิพลต่อการออกกฎเกณฑ์ด้านข้อมูลส่วนตัวในยุโรปมาก
เมื่อปลายปีที่แล้ว Facebook เพิ่มฟีเจอร์ Facial Recognition ช่วยแนะนำว่าในรูปภาพที่อัพโหลดขึ้นไป มีเพื่อนเราคนไหนบ้าง ซึ่งก็มีประโยชน์อย่างมากในการแท็กภาพจำนวนมากๆ แต่ข้อเสียก็ชัดเจนว่าเป็นโอกาสทองของสแปม และช่วยให้เราโดนแท็กภาพโดยไม่รู้ตัวเยอะขึ้น
วันนี้ Facebook ประกาศว่าเพิ่มฟีเจอร์นี้ให้ผู้ใช้ทุกคนแล้ว และนี่คือวิธีปิดครับ (แบบมีภาพประกอบดูตามลิงก์)
บริษัท Burson-Marsteller ซึ่งเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์อันดับต้นๆ ได้พยายาม "กระซิบ" ข่าวเกี่ยวกับบริการด้านเครือข่ายสังคมใหม่ของกูเกิลว่ามันกำลังจะสร้างปัญหาในเรื่องของความเป็นส่วนตัว โดยที่ผ่านมาบริษัทนี้ได้ยอมรับว่าได้รับการว่าจ้างจากลูกค้าเพื่อปล่อยข่าวนี้ และวันนี้หนังสือพิมพ์ The Daily Beast ก็ออกมาแฉว่าลูกค้าดังกล่าวก็คือ Facebook นั่นเอง
Facebook ระบุว่าการจ้างนี้ทำขึ้นเพื่อเหตุผลสองข้อคือ Facebook เชื่อว่าระบบเครือข่ายสังคมของกูเกิลจะสร้างประเด็นความเป็นส่วนตัวใหม่, และ Facebook เชื่อว่ากูเกิลพยายามใช้ข้อมูลของ Facebook เพื่อบริการใหม่นี้
ประเด็นเรื่องการ "ห้ามตามรอย" หรือ Do Not Track กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐอเมริกา โดยฝ่ายนิติบัญญัติพยายามเสนอกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขไม่ให้เว็บไซต์ตามรอยผู้ใช้
กฎหมายที่เสนอมีทั้งระดับรัฐและระดับชาติ ในกรณีของระดับรัฐคือรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนระดับชาติกำลังจะเสนอโดยวุฒิสมาชิก Jay Rockefeller ซึ่งเป็นประธานกรรมาธิการด้านการค้าของวุฒิสภาสหรัฐ ร่างกฎหมายนี้จะให้อำนาจคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) ในการลงโทษหน่วยงานที่ไม่ยอมปฏิบัติตามเกณฑ์เรื่อง Do Not Track
โครงการ Tor ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับซ่อนตัวตนบนโลกออนไลน์เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว เดิมที Tor แนะนำให้ติดตั้ง add-on ชื่อ Torbutton สำหรับ Firefox ซึ่งติดตั้งแล้วจะมีปุ่มเข้าโหมด Tor เพื่อท่องเว็บแบบตามรอยไม่ได้
แต่ล่าสุดโครงการ Tor ประกาศเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาแล้ว โดยเลิกทำ Torbutton เป็น add-on และเปลี่ยนมาสร้างชุดเบราว์เซอร์ Tor Browser Bundle โดยอิงฐานจาก Firefox แทน
จากปัญหาการเก็บข้อมูล Location ของผู้ใช้งานที่เป็นปัญหา แอปเปิลก็ออกอัพเดท iOS 4.3.3 ออกมาตามคาดเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถอัพเดทผ่าน iTunes ได้เช่นเคย โดยรายการแก้ไขที่ประกาศออกมาเป็นเรื่องฐานข้อมูล Location ทั้งหมด
ที่มา: Mashable
ปัญหา PlayStation Network โดนโจมตีและเจาะข้อมูล ยังไม่ทันจะเรียบร้อยดี โซนี่ก็ออกมาประกาศว่าระบบเซิร์ฟเวอร์ของ Sony Online Entertainment (บริษัทเกมออนไลน์ของโซนี่ พวก Everquest และ DC Universe Online) โดนโจมตีและแฮ็กเกอร์อาจได้ข้อมูลบัตรเครดิตไปอีกจำนวนหนึ่ง
การโจมตี Sony Online Entertainment เกิดขึ้นวันที่ 16-17 เมษายน โดยแฮ็กเกอร์อาจได้ข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ อีเมล รหัสผ่าน) จำนวน 24.6 ล้านบัญชี, ข้อมูลบัตรเครดิตอีก 12,700 ใบ (เป็นบัตรของผู้ใช้นอกสหรัฐ เก็บเฉพาะเลขบัตรกับวันหมดอายุ) และข้อมูลการหักบัญชีธนาคาร (direct debit) ของผู้ใช้ในยุโรปอีก 10,700 คน
ตำรวจเกาหลีใต้บุกค้นสำนักงานกูเกิลในกรุงโซล จากการสงสัยว่าบริการ AdMob ของกูเกิลนั้นจะแอบเก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะที่กรณีของ Android นั้นดูจะไม่เกี่ยวข้องกับการบุกค้นครั้งนี้แต่อย่างใดเพราะ Android ขอผู้ใช้ก่อนส่งข้อมูลกลับไปยังกูเกิล
ตำแหน่งของผู้ใช้เป็นตัวแปรสำคัญในการแสดงโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นในประเด็นแรงจูงใจก็นับได้ว่ากูเกิลมีแรงจูงใจที่จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ แต่ข่าวในตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานอื่นๆ จากฝั่งตำรวจว่าได้เบาะแสอะไรจึงเชื่อว่า AdMob ใช้ข้อมูลตำแหน่งโดยไม่ขออนุญาตล่วงหน้า
ที่มา - Mobiledia
หลังจากที่แอปเปิลได้ออกมาตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาการตรวจจับพิกัดของผู้ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ตอนนี้ BGR ได้ออกมารายงานว่าแอปเปิลได้เตรียมอัพเดต iOS เวอร์ชั่น 4.3.3 เพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะแล้ว โดยจากรายงาน iOS 4.3.3 มีการปรับปรุงดังนี้:
หลังจากกรณี PSN โดนเจาะ โซนี่ออกมาตอบคำถามต่างๆ ผ่าน PlayStation Blog แล้ว เนื้อหาส่วนมากยังเหมือนเดิม ยกเว้นส่วนของข้อมูลบัตรเครดิต ซึ่งโซนี่ระบุว่า "เข้ารหัสเอาไว้"
โซนี่ยังยืนยันว่าไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าข้อมูลบัตรเครดิตถูกเจาะไปด้วย (แต่ก็ยังไม่การันตี 100%) โดยโซนี่บอกว่าไม่เคยเก็บรหัสผ่านของบัตร (security code หรือ CSC) เอาไว้ ดังนั้นไม่โดนเจาะไปแน่ เป็นไปได้มากที่สุดคือหมายเลขบัตรและวันหมดอายุเท่านั้น
โซนี่ยังให้ข้อมูลว่าระบบของ PSN/Qriocity ยังไม่พร้อมจะนำกลับมาออนไลน์ และขอให้สมาชิก "รอเปลี่ยนรหัสผ่าน" ต่อไป ตอนนี้โซนี่กำลังสอบสวนหาผู้กระทำผิดร่วมกับบริษัทด้านความปลอดภัย และหน่วยงานภาครัฐอยู่