Podman โครงการสร้างเอนจินคอนเทนเนอร์ ภายใต้การดูแลของ Red Hat ประกาศรุ่น 1.0 พร้อมสำหรับการใช้งานเป็นการทั่วไปแล้ว
โครงการ Podman พยายามสร้างเอนจินรันคอนเทนเนอร์แบบเดียวกับ Docker Engine ที่ไม่ต้องการ daemon มารันไว้ล่วงหน้า แต่อาศัยการ fork โปรเซสทุกครั้งที่ผู้ใช้สั่งรันคอนเทนเนอร์ขึ้นมา ทำให้กระบวนการรันคอนเทนเนอร์ไม่ต้องการสิทธิ์ root เลย
ในเวอร์ชั่นนี้รองรับคำสั่ง podman play kube
สำหรับการรัน YAML ของ Kubnernetes แล้ว, รองรับการเซ็นอิมเมจ, การดึงอิมเมจทำแบบขนานทำให้ความเร็วดีขึ้น
หลังจาก AWS เปิดตัว Amazon DocumentDB ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยสร้างระบบฐานข้อมูลใหม่ที่มี API ตรงกับ MongoDB 3.6 ทาง Dev Ittycheria ซีอีโอของ MongoDB ก็ให้สัมภาษณ์กับทาง TechCrunch แสดงความไม่พอใจต่อการเปิดตัวครั้งนี้
Ittycheria ระบุว่า DocumentDB มาอาศัยความนิยมของ MongoDB เพื่อทำรายได้ และสิ่งที่ออกมาก็เป็นเพียง "การเลียนแบบที่น่าเศร้า" (poor imitation) และ API ของ MongoDB 3.6 ก็เก่าถึงสองปีแล้วทำให้ขาดฟีเจอร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะ ACID, global cluster, และการซิงก์จากอุปกรณ์เคลื่อนที่
หลังออราเคิลเปลี่ยนนโยบายการปล่อยแพตช์ Java SE 8 ที่จะไม่มีแพตช์ต่อสาธารณะอีกต่อไปหลังจากมกราคม 2019 นี้ และทาง AWS ก็เข้ามาประกาศ Corretto ที่เป็นจาวาปล่อยแพตช์ฟรี ตอนนี้ Red Hat ก็เข้ามาตลาดนี้อีกรายด้วยการประกาศขายซัพพอร์ต OpenJDK บนวินโดวส์ด้วย
การซื้อกิจการระหว่าง IBM กับ Red Hat ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ (คาดว่าเสร็จสิ้นครึ่งหลังของปี 2019 หรืออีกประมาณหนึ่งปี เพราะเป็นดีลใหญ่) ดังนั้น Red Hat ยังมีสถานะเป็นบริษัทอิสระไปอีกสักพักใหญ่ๆ และสามารถซื้อกิจการบริษัทอื่นได้ตามปกติ
ล่าสุด Red Hat ประกาศซื้อบริษัท NooBaa ที่พัฒนาซอฟต์แวร์จัดการสตอเรจข้ามคลาวด์หลายยี่ห้อ เข้ามาเสริมแพลตฟอร์ม OpenShift ของตัวเอง
NooBaa ก่อตั้งในปี 2013 เน้นการจัดการข้อมูลแบบ unstructured ที่กระจายตัวอยู่บนคลาวด์หรือเซิร์ฟเวอร์หลายรูปแบบ จึงต้องมีซอฟต์แวร์อีกตัวมารันบนระบบสตอเรจเดิมเพื่อให้จัดการง่ายขึ้น ตามแนวทางขององค์กรสมัยนี้ที่เน้นไฮบริดคลาวด์
ความสำคัญของการพัฒนาบนแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์และระบบ orchrestration เช่น kubernetes เริ่มแสดงความสำคัญขึ้นอย่างมากในช่วงหลังที่องค์กรต้องการรูปแบบการพัฒนาที่รวดเร็ว แม้ว่า kubernetes จะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แต่ก็อาจจะขาดส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับโลกองค์กรหลายประการ โดยเฉพาะการรับประกันในระยะเวลาที่ยาวนาน และฟีเจอร์สำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
โอกาสนี้ Blognone ได้พูดคุยกับคุณสุพรรณี อํานาจมงคล Senior Solutions Architect ที่ทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียนมานานกว่าสิบปี ถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
Red Hat เปิดตัว Red Hat Enterprise Linux 8 หรือ RHEL 8 รุ่นเบต้า หลังจากเปิดตัวรุ่น 7.0 ในปี 2014 โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการรองรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนเนอร์เพิ่มอีกหลายตัว ได้แก่ Buildah ตัวสร้างอิมเมจ, Podman ตัวรันคอนเทนเนอร์ที่ใช้แทนคำสั่ง docker, และ Skepeo สำหรับการแชร์อิมเมจ ทั้งสามแพ็กเกจเข้ามาเป็นแพ็กเกจมาตรฐานของ RHEL 8
การปรับปรุงในส่วนอื่น ได้แก่ การปรับปรุงการควบคุมระบบผ่านเว็บให้เป็นเว็บเดียว, การควบคุมนโยบายการเข้ารหัสจากศูนย์กลาง, รองรับ OpenSSL 1.1.1 และ TLS 1.3, ปรับปรุง TCP ให้รองรับระบบ congestion control แบบ Bandwidth and Round-trip propagation time (BBR), รองรับดิสก์เข้ารหัสแบบ LUKSv2
ซอฟต์แวร์ประสานงานคอนเทนเนอร์ หรือ orchrestration นั้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลังเพราะมันช่วยให้องค์กรจัดการกระบวนการพัฒนาและการดีพลอยแอปอย่างเป็นระบบมากขึ้น ฝั่ง Red Hat เองก็มี OpenShift เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราสามารถดึงโค้ดมาสู่การวางระบบทั้งชุดได้ในขั้นตอนเดียว
บทความนี้เราจะทดลองใช้งาน OpenShift Online บริการคลาวด์ของ Red Hat ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถทำแอปขึ้นคลาวด์ได้โดยไม่ต้องยุ่งกับการเซ็ตอัพระบบปฎิบัติการมากนัก โดยตัว OpenShift Online นั้นเป็นบริการสำเร็จรูป หลังจากนั้นเราจะแนะนำชุดซอฟต์แวร์ Red Hat Container Development Kit (CDK) ชุดพัฒนาที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง OpenShift ขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาในเครื่องของตัวเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์
แนวทางการใช้งานคอนเทนเนอร์เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ บน Docker และแยกเซอร์วิสออกเป็นส่วนย่อยๆ (microservice) เป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงหลัง เพราะช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการสภาพแวดล้อมกันพัฒนา และการขยายความสามารถของระบบได้ง่ายขึ้น แต่การเชื่อมต่อบริการขนาดเล็กเข้าด้วยกันก็ทำให้เกิดภาระใหม่คือการจัดการล็อกที่อาจจะกระจัดกระจาย, การมอนิเตอร์ส่วนต่างๆ ของซอฟต์แวร์ และการปรับสเกลให้รองรับโหลดที่มากขึ้น
ช่วงหลังโครงการ Kubernetes ของกูเกิลจึงได้รับความนิยมขึ้นมา ในฐานะซอฟต์แวร์ container orchrestration ที่ช่วยจัดการเชื่อมต่อระหว่างคอนเทนเนอร์เข้าด้วยกัน มอนิเตอร์การทำงานของคลัสเตอร์ว่ายังอยู่ในสภาพดี พร้อมกับการจัดการกระจายโหลดของบริการต่างๆ
Donald Fischer อดีตผู้บริหาร Red Hat ที่ทำงานกับบริษัทในช่วงปี 2003 ถึง 2008 โดยสามปีแรกเป็นผู้จัดการดูแลโครงการ RHEL ได้ออกมาเขียนบล็อกอธิบายว่าทำไมบริษัทที่เน้นขายแต่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ถึงได้มีคนมาซื้อบริษัทไปด้วยมูลค่าถึง 1.1 ล้านล้านบาท
เขาระบุว่า Red Hat มองเห็นก่อนคนอื่นส่วนใหญ่ว่าโลกโอเพนซอร์สกำลังทำให้องค์กรเลิกจ่ายเงินค่าโค้ด ขณะที่บริษัทเหล่านี้ต้องการให้มีหน่วยงานมาดูแลความปลอดภัยซอฟต์แวร์ และรับผิดชอบเมื่อมีปัญหาทางกฎหมาย และพร้อมจะจ่ายเงินค่าซัพพอร์ตมากขึ้นเรื่อยๆ
ข่าว IBM ซื้อกิจการ Red Hat ถือเป็นข่าวใหญ่ของโลกไอทีในสัปดาห์นี้ ด้วยมูลค่าการซื้อกิจการที่สูงถึง 34 พันล้านดอลลาร์ ถือเป็นการซื้อกิจการบริษัทไอที่ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับสามของประวัติศาสตร์ (อันดับหนึ่งคือ Dell+EMC มูลค่า 67 พันล้านดอลลาร์ อันดับสองคือบริษัทอุปกรณ์สื่อสาร JDS Uniphase Corporation ซื้อ SDL มูลค่า 41 พันล้านดอลลาร์ในปี 2000)
หลายคนอาจสงสัยว่าดีลนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แถมยังเป็นข่าวเงียบแบบไม่มีใครระแคะระคายมาก่อน อีกทั้ง 2 บริษัทก็มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง ไม่ได้ต้องการซื้อ/ขายเพื่อเลี่ยงสภาวะขาดทุนหรือล้มละลาย บทความนี้คือการวิเคราะห์เพื่อพยายามตอบคำถามข้างต้น
ไอบีเอ็มประกาศเข้าซื้อ Red Hat ผู้ผลิตลินุกซ์รายสำคัญ โดยจ่ายเงินสด 190 ดอลลาร์ต่อหุ้น รวมมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.12 ล้านล้านบาท
Red Hat จะเข้าไปเป็นฝ่าย Hybrid Cloud ที่มีอิสระจากส่วนอื่น และยืนยันว่าจะเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการคลาวด์อื่นๆ ต่อไป เช่น AWS, Azure, GCE, หรือ Alibaba โดย Jim Whitehurst ซีอีโอของ Red Hat จะยังบริหารทีม Hybrid Cloud ต่อไป และจะเข้ารับตำแหน่งบริหารในไอบีเอ็ม
Red Hat ออก OpenShift Container Platform เวอร์ชันใหม่ 3.11 ที่เริ่มผนวกเทคโนโลยีจากบริษัท CoreOS ที่ซื้อกิจการมาตอนต้นปี
OpenShift Container Platform คือดิสโทร Kubernetes Enterprise เวอร์ชันของ Red Hat สำหรับจัดการแอพพลิเคชันองค์กรบนสถาปัตยกรรมยุคคลาวด์ (เทียบได้กับ RHEL คือดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชันองค์กร)
ของใหม่ในเวอร์ชัน 3.11 ได้แก่ Kubernetes 1.11 เวอร์ชันเกือบล่าสุด (ล่าสุดคือ 1.12 ที่เพิ่งออกเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน), ระบบมอนิเตอร์คลัสเตอร์ Prometheus เข้าสถานะ GA, แดชบอร์ด Grafana, พ่วงด้วยฟีเจอร์จาก CoreOS ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในเดือนมกราคม 2018 ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ซ้อนทับกันคือดิสโทรลินุกซ์จากทั้งสองบริษัท ได้แก่ Container Linux ของ CoreOS และ Red Hat Atomic Host ที่ออกแบบมาสำหรับรันในคอนเทนเนอร์เหมือนกัน
เดือนที่แล้ว Red Hat ประกาศว่าจะยุบดิสโทรสองตัวนี้เข้าด้วยกัน โดยจะให้ Container Linux เป็นตัวหลัก และเปลี่ยนชื่อตัวดิสโทรมาเป็น CoreOS แทน
Red Hat แจ้งเตือนช่องโหว่ในไคลเอนต์ DHCP เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถสั่งรันโค้ดจากระยะไกล โดยอาศัยการสร้าง DHCP response ที่มุ่งร้ายสามารถรันโค้ดในสิทธิ์ NetworkManager ซึ่งเป็น root ได้
ช่องโหว่ได้หมายเลขประจำตัวเป็น CVE-2018-1111 ความร้ายแรงระดับวิกฤติ โดยกระทบทั้ง RHEL 6 และ 7 และลินุกซ์อื่นๆ ที่อาศัยโค้ดต้นน้ำเดียวกันทั้งหมด แต่โค้ดเป็นโค้ดที่เพิ่มเติมโดย Red Hat เอง ไม่ได้กระทบถึงโครงการ dhcp โดยตรง
แพ็กเกจ dhcpclient ออกอัพเดตให้กับ RHEL 6.4, 6.5, 6.6, 6.7, 7.2, 7.3, 7.4 แล้ว
ที่มา - Red Hat,
ที่งาน Red Hat Summit นอกจากการเปิดตัวสินค้าใหม่ต่างๆ แล้ว ยังมีการบรรยายช่วงหนึ่งจาก Ben Breard ผู้จัดการฝ่ายคอนเทนเนอร์ และ Lennart Poettering ผู้ร่วมก่อตั้ง systemd เล่าถึงการยอมรับ systemd ในชุมชนลินุกซ์ว่าดีขึ้นมากในช่วงหลัง
ทั้งสองคนยอมรับว่าตอนแรกที่ Red Hat เลือกใช้ systemd ใน RHEL 7 เมื่อปี 2014 ชุมชนมีเสียงตอบรับตั้งแต่ไม่มั่นใจไปจนถึงไม่พอใจ แต่ในช่วงหลังเสียงต่อต้านก็น้อยลง และผู้ดูแลระบบที่เข้าใจมันก็ชอบมันมากขึ้นเรื่อยๆ
Poettering ยกตัวอย่างการปิดเซอร์วิสที่ซับซ้อนกว่าที่คิด เพราะหลายเซอร์วิสต้องมีลำดับการปิดที่ซับซ้อน แต่ systemd สามารถจัดการได้โดยอัตโนมัติ
Red Hat เผยแผนการในอนาคตของ CoreOS หลังซื้อกิจการมาในเดือนมกราคม 2018 ด้วยมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์
ปัญหาของการซื้อกิจการครั้งนี้คือ CoreOS มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ทับซ้อนกับ OpenShift เพราะเป็นผลิตภัณฑ์สาย Docker/Kubernetes เหมือนกัน ทำให้ต้องเลือกว่าตัวไหนจะอยู่ตัวไหนจะเลิกทำ
Red Hat ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ นำแพลตฟอร์มจัดการแอพพลิเคชัน OpenShift ไปให้บริการบนคลาวด์ Azure
OpenShift เป็นแพลตฟอร์มจัดการแอพพลิเคชันสำหรับยุคคลาวด์ ตัวมันเองประกอบด้วย Docker, Kubernetes, Red Hat Atomic และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้งานสามารถรันได้ทั้งแบบ on premise และบนคลาวด์ของ Red Hat (ในชื่อ OpenShift Online)
ที่ผ่านมา Red Hat มีบริการนำ OpenShift ไปรันบนคลาวด์หลายยี่ห้อ แต่ความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้ให้บริการคลาวด์อย่างไมโครซอฟท์ เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมบริหาร OpenShift ร่วมกับ Red Hat ด้วย
Red Hat ประกาศออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชัน 7.5 ที่มีของใหม่เป็นจำนวนมาก
การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานคืออัพเดตเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น GNOME 3.26, LibreOffice 5.3, รองรับฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ ตามเวอร์ชันของเคอร์เนล, ปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Active Directory บน Windows Server 2016, รองรับ Distributed File System (DFS) บน SMB v2/v3, ผนวกเอาเครื่องมือจัดการอย่าง Cockpit และปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Ansible
RHEL 7.5 ยังรองรับสถาปัตยกรรมอื่นนอกจาก x86-64 ได้แก่ ARM64, IBM POWER9 และ IBM z Systems
Red Hat เผยผลสำรวจการใช้งานลินุกซ์บน public cloud โดยสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบด้านไอทีของบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกาเหนือและยุโรป 500 ราย การสำรวจเกิดขึ้นช่วงกลางปี 2017
ถึงแม้ผลออกมาเป็น Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ได้รับความนิยมสูงสุด (ตามคาด) แต่ข้อมูลอื่นๆ ในรายงานก็ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของลินุกซ์บนคลาวด์ได้มากขึ้น
Red Hat ประกาศซื้อบริษัท CoreOS หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ container ในราคา 250 ล้านดอลลาร์
CoreOS เป็นสตาร์ตอัพที่ก่อตั้งในปี 2013 โดยพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ขนาดเล็กชื่อ Container Linux เหมาะสำหรับ container และได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดคลาวด์ โดยมีทั้ง Google Cloud, DigitalOcean, Azure ให้การสนับสนุน
ผู้ที่เคยใช้งาน VirtualBox คงทราบดีว่า ต้องติดตั้งแพ็กเกจ VirtualBox Guest Additions เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกราฟิกและเพิ่มฟีเจอร์บางอย่าง (ผ่านการติดตั้งไดรเวอร์เสมือน) ด้วยวิธีการเมาท์ไฟล์ ISO อีกครั้งหลังบูตระบบปฏิบัติการขึ้นมาใน VM แล้ว สร้างความยุ่งยากให้การใช้งาน VirtualBox ไม่น้อย
ล่าสุดมีข่าวดีว่า VirtualBox Guest Additions กำลังจะถูกผนวกรวมเข้าไปอยู่ในเคอร์เนลของลินุกซ์เลย โดยเริ่มจากเคอร์เนลเวอร์ชัน 4.16 เป็นต้นไป และฟีเจอร์จะทยอยเข้ามาทีละส่วน ผลงานนี้เป็นฝีมือของ Red Hat แต่ก็ใช้กับดิสโทรอื่นได้ด้วย
Red Hat Enterprise Linux ประกาศรองรับสถาปัตยกรรม ARM อย่างเป็นทางการ ทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ARM มีอนาคตสดใสขึ้น เพราะดิสโทรชื่อดังอย่าง RHEL พร้อมแล้วกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ (เริ่มที่ RHEL 7.4 for ARM)
Red Hat เตรียมพร้อมเรื่อง ARM มาหลายปี และก่อนหน้านี้ Red Hat Enterprise Linux Server for ARM ก็เปิดให้ทดสอบแบบพรีวิวมานานตั้งแต่ปี 2014 โดยมีพาร์ทเนอร์เป็นผู้ผลิตชิปอย่าง Cavium และ Qualcomm
เซิร์ฟเวอร์ ARM รุ่นแรกที่รองรับ RHEL คือ HPE Apollo 70 ซึ่งเปิดตัวในวันนี้เช่นกัน
ยุทธศาสตร์ของ Red Hat คือการขยาย RHEL ให้รองรับสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย นอกจาก x86 ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังจะรองรับสถาปัตยกรรม Power และ z ของ IBM รวมถึง ARM ตามข่าวนี้ด้วย
Ansible ระบบคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงถูก Red Hat ซื้อไปตั้งแต่ปี 2015 โดยสินค้าทำเงินของ Ansible คือ Ansible Tower ระบบจัดการระดับองค์กรที่สามารถจัดการสิทธิ์ควบคุมเซิร์ฟเวอร์ สร้างกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ และมีหน้าเว็บสำหรับการจัดการระบบ เมื่อเดือนที่แล้วทาง Red Hat ก็ปล่อย Ansible Tower ออกมาเป็นโครงการโอเพนซอร์สโดยใช้ชื่อว่า AWX
ตัว AWX จะใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache 2.0 ทำให้ใช้งานได้แทบทุกกรณี แต่ระบบการออกเวอร์ชั่นของ AWX จะถี่กว่ามาก (คาดว่าจะถี่ถึง 2 สัปดาห์ครั้ง แต่รอบล่าสุดเวอร์ชั่น 1.0.1 ใช้เวลาเกือบสองเดือน) แม้ว่าจะมีเวอร์ชั่น stable ออกมาเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะมีการซัพพอร์ตระยะยาวใดๆ รวมถึงไม่ได้เข้าโครงการ Red Hat Open Source Assurance ด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศ SQL Server 2017 เข้าสถานะ GA (general availability) ในวันที่ 2 ตุลาคม โดยมีให้ใช้งานบน 3 แพลตฟอร์มคือ Windows, Linux, Docker
เนื่องจาก SQL Server 2017 เป็นฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ตัวแรกที่รันได้บนลินุกซ์ ไมโครซอฟท์จึงจับมือกับ Red Hat เปิดให้ใช้งานบน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) พร้อมให้ส่วนลด 30% ด้วย และถ้าหากลูกค้ามีไลเซนส์ SQL Server อยู่แล้ว และซื้อไลเซนส์ RHEL เพิ่มก็จะได้ส่วนลดจาก Red Hat อีก 30%
ส่วนการใช้งานบน Docker ที่เปิดทดสอบมาเกือบปี ก็เข้าสถานะ GA เช่นกัน โดยสามารถใช้งานบน Docker Enterprise Edition อย่างเป็นทางการ
Red Hat Enterprise Linux หรือ RHEL ออกอัพเดตย่อยเป็นรุ่น 7.4 อัพเดตแพ็กเกจจำนวนมาก โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและการรองรับคอนเทนเนอร์
ประเด็นได้รับการปรับปรุงสำคัญคือความปลอดภัย