โครงการ CentOS ภายใต้การดูแลของ Red Hat เปิดตัว CentOS Stream 9 ซึ่งถือเป็นยุคใหม่ของ CentOS หลังการเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่ เลิกซัพพอร์ต CentOS 8 เมื่อปลายปี 2020
เดิมที CentOS เป็นการนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ที่เป็นรุ่นเสถียรสำหรับองค์กร มาคอมไพล์เป็นไบนารี แจกจ่ายให้ฟรีโดยไม่ต้องซื้อ subscription จาก Red Hat โดยเลขเวอร์ชันของ CentOS จะเท่ากับ RHEL เสมอ และออกตามหลัง RHEL เล็กน้อย
Red Hat เปิดทดสอบ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 9 Beta ซึ่งเป็นรุ่นใหญ่รุ่นถัดไปของ RHEL
Red Hat ระบุว่า RHEL 9 ต่างไปจาก RHEL รุ่นใหญ่ในอดีต ตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง (แม้ยังมีฟีเจอร์ใหม่บ้าง) เพื่อให้แอดมินลดภาระการเรียนรู้ของใหม่ๆ ลงจากเดิม นอกจากนี้ RHEL 9 ยังเป็นดิสโทรเวอร์ชันแรกที่ดึงแพ็กเกจมาจาก CentOS Stream ตามแนวทางใหม่ของโครงการ CentOS ที่เปลี่ยนทิศทางใหม่ เลิกทำ CentOS ซัพพอร์ตระยะยาว กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL
Red Hat เป็นผู้พัฒนาส่วนขยายภาษา Java ให้กับ Visual Studio Code มาตั้งแต่ปี 2016 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Language Support for Java by Red Hat ที่ไม่มีใครเรียก ทุกคนเรียก vscode-java) ผ่านมาหลายปี ส่วนขยายนี้เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
Red Hat ประกาศอัพเกรด Ansible Automation Platform (APP) เป็นเวอร์ชั่น 2 โดยจัดรูปแบบเพ็กเกจใหม่ ตามแนวทางโครงการ Ansible ฝั่งโอนเพนซอรส์ที่แยกสคริปต์ต่างๆ ออกเป็นโครงการต่างหากออกจากตัวโครงการ Ansible
ใน AAP ทาง Red Hat จะแยก Ansible Tower ออกเป็นสองส่วน คือ automation controller และ automation execution environments และสองส่วนนี้แยกกันรันคนละโหนดได้ ในเวอร์ชั่นต่อๆ ไปจะเพิ่ม automation mesh เพื่อรองรับการรันในเครื่องบน edge หรือบนคลาวด์
ตอนนี้ AAP 2 ยังอยู่ในสถานะ Early Access ให้ลูกค้าของ Red Hat เข้าไปโหลดมาทดสอบเตรียมย้ายระบบ และภายในปีนี้คาดว่าจะออก AAP 2.1 ในสถานะ GA
Red Hat ประกาศจับมือกับ Nutanix เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเสนอโซลูชั่นคู่กันแม้ว่าทั้งสองบริษัทจะมีโซลูชั่นทับกันอยู่บ้างก็ตาม
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Nutanix จะแนะนำให้ลูกค้าที่ต้องการใช้ Kubernetes บน Nutanix Cloud Platform (AOS และ AHV) ให้ใช้ Red Hat OpenShift และในทางกลับกัน Red Hat ก็จะแนะนำลูกค้าทั้ง Red Hat Enterprise Linux และ Red Hat OpenShift ให้ใช้โซลูชั่น hyperconverged ของ Nutanix
นอกจากการแนะนำลูกค้าข้ามกันแล้ว ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกัน โดยทดสอบซอฟต์แวร์ว่าทำงานร่วมกันได้ดี และฟีเจอร์ที่เพิ่มเติมในอนาคตก็จะปรับให้เข้ากับสินค้าของอีกฝ่ายมากขึ้น
เมื่อต้นเดือนนี้ มีข่าว Jim Whitehurst อดีตซีอีโอ Red Hat ลาออกจาก IBM หลังควบกิจการมาได้ 14 เดือน สร้างความแปลกใจให้หลายคน
Whitehurst เป็นแกนหลักสำคัญในการขาย Red Hat ให้ IBM และหลังควบกิจการเสร็จ เขาเข้ามารับตำแหน่งเป็นประธานบริษัท (president) ของ IBM ถือเป็นเบอร์สองของบริษัท ในขณะที่ IBM แต่งตั้งลูกหม้อ Arvind Krishna เป็นซีอีโอคนใหม่
ล่าสุด Whitehurst ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่า สาเหตุที่เขาลาออกจาก IBM ก็เป็นอย่างที่หลายคนคาดกัน เป็นเพราะเขาไม่มีโอกาสได้ขึ้นเป็นซีอีโอของ IBM นั่นเอง จึงลาออกเพื่อจะไปเป็นซีอีโอของ "ที่ไหนสักแห่ง" ซึ่งคงต้องรอดูกันว่าจะเป็นที่ไหน
ไอบีเอ็มประกาศปรับเปลี่ยนตำแหน่งในฝ่ายบริหารของบริษัท โดย Jim Whitehurst จะลงจากตำแหน่งประธานบริษัท (President) ที่เขาได้รับการแต่งตั้งเมื่อต้นปีที่แล้ว และจะรับตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสโดยตรงของซีอีโอ Arvind Krishna ทั้งนี้ Jim เข้ามารับตำแหน่งประธานไอบีเอ็ม จากดีลซื้อกิจการ Red Hat ซึ่งเขาเป็นซีอีโออยู่ และมีส่วนสำคัญในการควบรวมสองกิจการนี้เข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ Bridget van Kralingen รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดทั่วโลก ก็ประกาศลงจากตำแหน่ง โดยจะมาดูแลโครงการพิเศษของไอบีเอ็มจนครบกำหนดเกษียณ โดย Rob Thomas รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจคลาวด์และแพลตฟอร์มข้อมูลจะมารับตำแหน่งนี้ต่อ
โลกธุรกิจในทุกวันนี้ ให้ความสำคัญกับความเร็วเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรต้องการลดเวลาที่บริการแต่ละตัวใช้ในการพัฒนา จนถึงนำออกมาให้บริการ (time to value) เพื่อให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากบริการใหม่ๆ ได้ทันที
แนวทางเช่นนี้ทำให้บริการคลาวด์เข้ามาช่วยองค์กรได้มากขึ้น เพราะนักพัฒนาสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอให้ใครมาเซ็ตอัพเครื่องมือต่างๆ ให้เหมือนระบบไอทียุคก่อน
Red Hat ประกาศชูแนวทาง Open Hybrid Cloud แนวทางที่เปิดทางให้องค์กรสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่โหลดงานเพิ่มขึ้นอย่างเกินการคาดเดาได้ในงาน Red Hat Summit 2021
Matt Hicks ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี Red Hat ชี้ว่าปี 2020 นับเป็นปีที่องค์กรต่างๆ พบความเปลี่ยนแปลงอย่างหนัก และพบความท้าทายอย่างมากไม่ว่าจะวางแผนไว้ดีเพียงใด ย้ำให้เห็นความสำคัญของแนวทาง open hybrid cloud ที่ Red Hat พยายามนำเสนอตลอดมา โดยแนวทางนี้เปิดทางให้องค์กรวางแผนถึงความเปลี่ยนแปลงระยะยาว ในขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในเพื่อรองรับความจำเป็นระยะสั้นได้ทันท่วงที
ไมโครซอฟท์ในอดีตเป็นศัตรูกับโลกโอเพนซอร์สมายาวนาน แต่ท่าทีของไมโครซอฟท์ช่วงหลังก็เปลี่ยนไปมาก ในปี 2019 เราเห็นข้อตกลงช็อกโลกอย่าง ไมโครซอฟท์ช่วย Red Hat ขาย OpenShift บน Azure รวมถึงการออก SQL Server บนลินุกซ์ เป็นต้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา Red Hat ออกมาเล่าตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือนี้ โดยลูกค้าคือบริษัทลอจิสติกส์ Andreani Logistics Group จากอเมริกาใต้ ที่เจอปัญหาดีมานด์พุ่งสูงขึ้นมาจาก COVID-19 จึงหาวิธีสเกลระบบไอทีของตัวเอง และลงเอยด้วยการเลือกใช้ Red Hat OpenShift รันบน Microsoft Azure
Red Hat ออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 8.4 ตามรอบการออกรุ่นย่อยทุก 6 เดือน ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
Red Hat เตรียมเปิดซอร์ส StackRox ซอฟต์แวร์ความปลอดภัย Kubernetes ที่ซื้อกิจการมาในเดือนมกราคม 2021
ซอฟต์แวร์ของ StackRox จะกลายมาเป็นโครงการต้นน้ำของ Red Hat Advanced Cluster Security for Kubernetes ที่เป็นผลิตภัณฑ์จับลูกค้าองค์กรแบบคิดเงิน ของ Red Hat (ลักษณะจะคล้าย Fedora ที่เป็นฐานของ RHEL)
Red Hat ประกาศร่วมมือกับ exida บริษัทตรวจสอบความปลอดภัยซอฟต์แวร์ เตรียมออกลินุกซ์ที่ผ่านมาตรฐาน ISO 26262 ที่รับรองความปลอดภัยคอมพิวเตอร์สำหรับรถยนต์
ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์รถยนต์นั้นมักตัดฟีเจอร์ต่างๆ ออก เพื่อลดความเสี่ยง จนกลายเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะทาง ทาง Red Hat เตรียมเสนอลินุกซ์ที่ได้รับการรับรองจาก exida ว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยเสมอ แม้มีการอัพเดตซอฟต์แวร์
ประกาศครั้งนี้ยังไม่มีกำหนดว่าลินุกซ์รุ่นสำหรับยานยนต์นี้จะออกมาเมื่อใด แต่ลูกค้าหลักคงเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่จะนำไปใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ช่วยควบคุมรถ หรือซอฟต์แวร์ในระบบความบันเทิง
Red Hat ประกาศแนวทาง Red Hat Edge แนวทางการขยายฟีเจอร์ซอฟต์แวร์ของ Red Hat ให้รองรับการทำงานบนอุปกรณ์ในกลุ่ม Edge มากขึ้น
แนวทาง Red Hat Edge ทำให้ทาง Red Hat ขยายผลักดันฟีเจอร์ที่ต้องทำงานบนอุปกรณ์ที่มีทรัพยากรไม่มากนัก เช่น Red Hat Universal Base Image (UBI) ก็ออกเวอร์ชั่น micro ขนาดเล็กมาก, OpenShift รองรับ remote worker ทำให้โหลดงานไปรันที่ปลายทางโดยตัวจัดการเป็นคลัสเตอร์ Kubernetes อยู่ในศูนย์ใหญ่, Red Hat 8.4 เพิ่มฟีเจอร์ Image Builder สำหรับติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์แบบ bare metal ได้สะดวก
Red Hat จัดชุด OpenShift ใหม่เพิ่มบริการด้านความปลอดภัยและการจัดการเข้ามา โดยเพิ่มจากการซื้อ OpenShift ปกติ 3 ฟีเจอร์ได้แก่
แนวทางการพัฒนาแอปยุคใหม่ย้ายไปอยู่บนคอนเทนเนอร์ หรือแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์อย่าง Kubernetes แล้วแทบทั้งหมด แต่ในการใช้งานจริง องค์กรก็มักจะติดตั้ง Kubernetes ลงบนเครื่องที่จัดการโดยแพลตฟอร์ม virtualization อีกต่อหนึ่ง เพื่อให้สามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์ในคลัสเตอร์ผ่านเครื่องมือต่างๆ นับจากการติดตั้ง, คอนฟิกค่าต่างๆ บนเครื่อง, ไปจนถึงการจัดการเครื่องในตลอดอายุการใช้งาน
จากกรณี Richard Stallman (RMS) กลับมาเป็นกรรมการ Free Software Foundation (FSF) โลกโอเพนซอร์สเรียกร้องให้ปลดกรรมการทั้งคณะ ความเคลื่อนไหวจากฝั่งโลกโอเพนซอร์สมักมาจากหน่วยงานระดับเดียวกัน เช่น มูลนิธิโอเพนซอร์สอื่นๆ อย่าง GNOME, X.Org หรือ Mozilla
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากฝั่งบริษัทแล้ว แถมเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกโอเพนซอร์สคือ Red Hat ที่ออกมาประกาศหยุดสนับสนุนเงินให้ Free Software Foundation และกิจกรรม งานอีเวนต์ต่างๆ ที่สนับสนุนหรือจัดโดย FSF ทั้งหมด นอกจากนี้ พนักงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ Red Hat จำนวนมากก็ประกาศไม่เข้าร่วมกิจกรรมของ FSF ด้วย
Red Hat พยายามแสดงท่าทีเป็นมิตรต่อชุมชนอีกครั้งด้วยการตั้งโครงการ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) for Open Source Infrastructure แจกไลเซนส์ RHEL ให้กับโครงการโอเพนซอร์สใช้งานได้ฟรี
โครงการนี้อนุญาตให้โครงการโอเพนซอร์สที่ใช้สัญญาอนุญาตที่ยอมรับโดย Fedora สามารถใช้ RHEL ทั้งสำหรับการ build โครงการ, การทดสอบ, และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์และอีเมล ผู้เข้าร่วมโครงการจะเข้าพอร์ทัลลูกค้าของ Red Hat ได้ฟรีด้วย แต่การซัพพอร์ตจะเป็นแบบบริการตัวเอง
หลังจาก Red Hat ประกาศตัดซัพพอร์ต CentOS 8 และย้ายไปเป็น CentOS Stream ที่กลายเป็นรุ่นพัฒนาสำหรับ RHEL ทำให้ชุมชนผู้ใช้เดิมไม่พอใจและมีหลายกลุ่มเปิดโครงการมาทดแทน CentOS (Rocky Linux, Oracle Linux, CloudLinux) ตอนนี้ทาง Red Hat ก็ออกมาระบุว่าได้ฟังเสียงชุมชนที่ใช้งาน CentOS อยู่เดิม และออกทางเลือกคือการใช้ RHEL ได้ฟรีหรือราคาถูกมาก
RedHat ประกาศซื้อกิจการ StackRock สตาร์ตอัพด้านความปลอดภัยสำหรับคอนเทนเนอร์ ที่ระบุว่าเป็น Kubernetes-native security platform ด้วยแนวคิดการฝังคอมโพเนนต์ตรวจสอบความปลอดภัยไว้ในแต่ละคลัสเตอร์ ช่วยให้การตรวจสอบความปลอดภัยของทั้งระบบทำได้ง่ายขึ้น
ซอฟต์แวร์ของ StackRock จะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Red Hat OpenShift แต่ซอฟต์แวร์เก่าก็ยังซัพพอร์ตต่อไป และใช้งานได้กับแพลตฟอร์ม Kubernetes ตัวอื่นๆ เช่น Google (GKE), Amazon (EKS), Azure (AKS)
จากกรณี Red Hat เตรียมทิ้ง CentOS 8 ส่งผลให้ผู้ก่อตั้งโครงการ CentOS หนีไปสร้างโครงการใหม่ Rocky Linux ใช้ทดแทน
อีกทางออกหนึ่งที่ฟังชื่อแล้วไม่น่าเป็นไปได้ (แต่ก็เกิดขึ้นจริงแล้ว) คือ Oracle เสนอตัวเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ CentOS
จริงๆ แล้ว Oracle มีโครงการ Oracle Linux มาตั้งแต่ปี 2006 โดยเป็นการนำซอร์สโค้ดของ RHEL มาคอมไพล์เป็นดิสโทรของตัวเองลักษณะเดียวกับ CentOS
Gregory Kurtzer ผู้ก่อตั้งโครงการ CAOS โครงการตั้งต้นของ CentOS ประกาศสร้างลินุกซ์ดิสโทรใหม่หลังจาก Red Hat เตรียมตัดการซัพพอร์ต CentOS 8 โดยตั้งชื่อว่า Rocky Linux และตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเซ็ตอัพโครงสร้างต่างๆ
ชื่อ Rocky Linux เองน่าจะหมายถึง Rocky McGough ที่เคยทำซอร์สโค้ดของ RHEL ไปคอมไพล์ใช้งานในบริษัทอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นจึงมารับตำแหน่ง tech lead คนแรกของ CentOS
โครงการ CentOS ประกาศเตรียมหยุดซัพพอร์ต CentOS 8 สิ้นปี 2021 จากเดิมที่ CentOS แต่ละเวอร์ชั่นจะซัพพอร์ตล้อไปกับ RHEL ยาวนานถึงเวอร์ชั่นละสิบปี ทำให้ CentOS 8 ควรได้ซัพพอร์ตถึง 2029
หลังจาก CentOS 8 หยุดพัฒนาแล้วทาง CentOS แนะนำให้ผู้ใช้ CentOS 8 ย้ายไปใช้งาน CentOS Stream 8 ที่กำลังเป็นดิสโทรรุ่นพัฒนาเวอร์ชั่นต่อๆ ไปของ RHEL
Red Hat ประกาศรองรับ Quarkus เฟรมเวิร์คจาวาสำหรับการใช้งานแบบคอนเทนเนอร์ บนแพลตฟอร์ม OpenShift ของตัวเองแล้ว
Red Hat เปิดตัว Quarkus ในปี 2019 เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของ Java ที่ "โหลดช้า-กินแรมเยอะ" ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการรันงานในคอนเทนเนอร์ (Quarkus โฆษณาตัวเองว่าเป็น Supersonic Subatomic Java) เมื่อบวกกับการที่ Quarkus เองก็ออกแบบมาสำหรับคอนเทนเนอร์อยู่แล้ว จึงทำงานร่วมกับ OpenShift ได้อย่างแนบเนียน
Red Hat ยังออกเครื่องมือช่วยย้ายแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Spring Boot บนเซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิม มารันบน Quarkus/OpenShift ด้วย
Red Hat ประกาศอัพเดตเวอร์ชัน OpenShift 4.6 เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ โดย OpenShift เวอร์ชันนี้จะใช้ Kubernetes 1.19 เป็นแกน
สำหรับของใหม่ในเวอร์ชัน 4.6 คือระบบติดตั้ง OpenShift บน bare metal ที่เป็นระบบติดตั้งอัตโนมัติแบบ full-stack เข้าสู่สถานะ GA แล้ว หมายความว่าผู้ใช้ OpenShift สามารถติดตั้งบนโฮสต์แพลตฟอร์มใดก็ได้ ไม่ต้องใช้ cloud provisioning, VM hosting หรือเทคโนโลยีตัวกลางอื่น ๆ
ตัว Bare Metal Operator ใหม่จะทำการ expose ตัวโหนดที่เป็น physical ไปยังตัวติดตั้ง OpenShift เพื่อให้ตัวติดตั้งสามารถจัดการตัวโหนดต่อไปได้ ซึ่ง Red Hat ระบุว่าฟีเจอร์นี้ใช้ Metal3 เป็นแกนในการจัดการโฮสต์แบบ base metal
ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น