Red Hat เปิดตัว Ansible Automation Platform ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว โดยเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมสคริปต์สำหรับการแปลงงานให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ปีนี้ Ansible Automation Platform เพิ่มฟีเจอร์อีกสองรายการหลัก
อย่างแรกคือ automation services catalog ตรวจสอบการใช้งานทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์, virtual machine, คลาวด์, หรือคอนเทนเนอร์ ว่ามีการรันสคริปต์ใดไปแล้วบ้าง ควบคุมการทำตามนโยบายองค์กร อย่างที่สองคือ Automation Analytics แสดงสถิติและสถานะของการรัน automation เช่น ระยะเวลาที่รัน, อัตราความสำเร็จและล้มเหลว
นอกจากการอัพเดตฟีเจอร์ สคริปต์ automation ใน Ansible Content Collections ก็เพิ่มขึ้น มีสคริปต์จากพันธมิตร 26 ราย และโมดูลรวมกว่า 1,200 โมดูล
Red Hat ประกาศตั้งซีอีโอคนใหม่ Paul Cormier ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัท ขึ้นมาทำหน้าที่แทนซีอีโอคนเดิม Jim Whitehurst ที่โปรโมทไปเป็นประธานบริษัทของ IBM บริษัทแม่
Paul Cormier อยู่กับ Red Hat มาตั้งแต่ปี 2001 โดยเป็นผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจเก็บค่าสมาชิก (subscription) ที่ทำให้ Red Hat ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้จนทุกวันนี้ ช่วงหลังเขายังมีบทบาทผลักดัน OpenShift ที่ทำให้ Red Hat เป็นหนึ่งในผู้นำของวงการ Kubernetes ด้วยเช่นกัน
Red Hat เปิดตัว JBoss Enterprise Application Platform เวอร์ชันเสถียร 7.3 (ช่วงหลังออกเวอร์ชันเสถียรประมาณปีละ 1 รอบ)
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ รองรับการใช้งานบน Jarkarta EE 8 จาก โครงการโอเพนซอร์สของ Java EE ที่ไปอยู่กับ Eclipse Foundation ผู้ใช้งานจึงเลือกได้ว่าจะรันบน Java EE 8 หรือ Jakarta EE 8 (ซึ่งตอนนี้ยังเหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นชื่อ)
ของใหม่ที่สำคัญอีกอย่างคือ รองรับ Microsoft SQL Server 2017 บน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) นอกเหนือจากบนวินโดวส์ ซึ่งมาจากความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับ Red Hat ก่อนหน้านี้
CoreOS Container Linux (CL) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับคอนเทนเนอร์ ของบริษัท CoreOS เดิมที่ถูก Red Hat ซื้อกิจการเมื่อปี 2018 จะสิ้นอายุขัยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020
Red Hat ซื้อ CoreOS แล้วผนวกเอาดิสโทร Container Linux เข้ามารวมกับโครงการ Fedora กลายเป็น Fedora CoreOS (FCOS) ทำให้ตัว Container Linux ต้องหลีกทางให้กับดิสโทรใหม่
ตอนนี้ทีมงาน CoreOS ถอด Container Linux ออกจากหน้าอิมเมจของ AWS Marketplace แล้ว จากนั้นจะออกอัพเดตครั้งสุดท้ายให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 และปิดเซิร์ฟเวอร์อย่างถาวรในวันที่ 1 กันยายน
Red Hat อัพเดต OpenShift แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่พัฒนาจาก Kubernetes 1.16 เป็นรุ่น 4.3 เน้นเพิ่มมาตรการความปลอดภัยและการเข้ารหัสเพิ่มเติมตามมาตรฐาน FIPS เช่น
สำหรับผู้ใช้แบบไฮบริดคลาวด์ สามารถใช้งาน OpenShift แล้วเชื่อมต่อกับคลาวด์ผ่าน VPN/VPC โดยเรียก LoadBalancer ผ่านทางไอพีภายใน (private facing endpoint)
Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 และประกาศรวมดิสโทรโอเพนซอร์ส CoreOS Container Linux เข้ากับโครงการ Fedora
Fedora CoreOS จะกลายเป็นดิสโทรตัวเดียวสำหรับงานรันคอนเทนเนอร์ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง CoreOS กับ Fedora Atomic) โดยมันออกรุ่นทดสอบแรกเมื่อกลางปี 2019 และตอนนี้พร้อมใช้งานแบบ production แล้ว
Fedora CoreOS ถือเป็นอีก edition ในสังกัด Fedora โดยเวอร์ชันเสถียรตัวแรกพัฒนาต่อมาจาก Fedora 31 ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.4, systemd 243, Podman 1.7
ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server รองรับลินุกซ์มาตั้งแต่เวอร์ชัน 2017 และพอมาถึงเวอร์ชัน 2019 ก็จับมือกับ Red Hat เพื่อปรับจูนประสิทธิภาพให้ดีขึ้น
สัปดาห์นี้ไมโครซอฟท์ประกาศรับรอง (certified) SQL Server 2019 กับการใช้งานบน Red Hat Enterprise Linux 8 (RHEL 8) อย่างเป็นทางการแล้ว ทำให้เราสามารถรัน SQL Server 2019 บน RHEL 8 สำหรับงาน production ได้เต็มรูปแบบ (ก่อนหน้านี้ SQL Server 2017 รับรองบน RHEL 7)
Red Hat ประกาศเปิดซอร์สโครงการ Quay (อ่านว่า คี) โครงการต้นน้ำของ Red Hat Quay สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้าง Docker registry ในองค์กรเอง และบริการ Quay.io
Quay เป็นซอฟต์แวร์ที่ Red Hat ได้มาจากการเข้าซื้อ CoreOS ตัว registry รองรับการสแกนหาซอฟต์แวร์ที่มีช่องโหว่ผ่านทางบริการ Clair การเปิดซอร์สครั้งนี้ยังไม่มี release เป็นทางการ มีเพียงการ commit โค้ดเริ่มต้นของการเปิดซอร์สเท่านั้น พร้อมคำเตือนว่าการใช้โค้ดโดยตรงจาก master อาจจะไม่เสถียร ดังนั้นหากต้องการใช้งานจริงคงต้องรอระยะหนึ่ง
Red Hat เปิดตัว Quarkus เฟรมเวิร์คจาวาสำหรับการใช้งานแบบคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ โดยเน้นการเริ่มโปรแกรมที่รวดเร็ว, ต้องการหน่วยความจำเริ่มต้นต่ำ, และตอบสนองต่อ request ในเวลาอันสั้น โดยบริษัทประกาศโครงการเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาและตอนนี้โครงการก็อยู่ในสถานะ 1.0 release candidate แล้ว คาดว่าจะออกรุ่น 1.0 ตัวจริงได้ภายในเดือนนี้
Quarkus เน้นการเริ่มโปรเซสได้เร็วเป็นอย่างมาก เพราะสำคัญสำหรับการออกแบบแบบ microservice ที่บริการต้องรันโปรเซสขึ้นมารับโหลดได้เร็วๆ โดยหากใช้ GraalVM การเริ่มโปรเซสใช้เวลาเพียง 8ms และเริ่มตอบรีเควส REST ได้ใน 16ms เท่านั้น ตัวไลบรารีภายในยังมี MicroProfile OpenTracing สำหรับมอนิเตอร์ทราฟิกข้ามบริการและ MicroProfile Metric มอนิเตอร์ประสิทธิภาพระบบ
Red Hat ปล่อย RHEL 8.1 ตัวจริงตามนโยบายใหม่ที่จะออกรุ่นย่อยทุกๆ 6 เดือนแบบคาดเดาได้ โดยทั่วไปเป็นการอัพเดตซอฟต์แวร์สำหรับการพัฒนาต่างๆ ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
เวอร์ชั่นนี้ Red Hat ซัพพอร์ตการแพตช์เคอร์เนลโดยไม่ต้องบูตเครื่อง (live kernel patching) เต็มรูปแบบ ขณะที่ SELinux มีโปรไฟล์สำหรับการรันแอปแบบคอนเทนเนอร์เพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการรันแอปในคอนเทนเนอร์
รันไทม์สำหรับการพัฒนาต่างๆ อัพเดตรุ่นย่อยตามรอบ เช่น PHP 7.3, Ruby 2.6, Node.js 12,
ที่มา - Red Hat
Red Hat ออก OpenShift 4.2 ดิสโทรของ Kubernetes เป็นการอัพเดตอัพเดตรุ่นย่อยตามรอบ โดยหันมาเน้นฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับนักพัฒนาโดยตรง ได้แก่
Red Hat ออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 8 ตัวจริงเมื่อเดือน พ.ค. ทำให้ RHEL เวอร์ชัน 7.x ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2014 ลดความสำคัญลง
ล่าสุด Red Hat จึงออก RHEL 7.7 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของ RHEL 7 ที่จะมีฟีเจอร์ใหม่เพิ่ม (หลังจากนี้ RHEL 7 จะเข้าสถานะ Maintenance Phase ที่ออกเฉพาะแก้บั๊กหรือแพตช์ช่องโหว่เท่านั้น) ส่วนระยะการซัพพอร์ตของ RHEL 7 ทั้งหมดจะนาน 10 ปี (สิ้นสุด 2024) ตามที่บริษัทเคยสัญญาไว้
เหตุผลสำคัญที่ IBM ต้องทุ่มเงินมหาศาลซื้อ Red Hat เป็นเพราะยุทธศาสตร์คลาวด์ก่อนหน้านี้ของ IBM ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และบริการ IBM Cloud ในฐานะ public cloud ก็มีส่วนแบ่งตลาดตามหลังผู้นำตลาดอยู่ไกล
การซื้อ Red Hat เพื่อครองซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานชิ้นสำคัญๆ ทั้งระบบปฏิบัติการ RHEL และดิสโทร OpenShift (ที่ข้างในเป็น Kubernetes) จึงเป็นก้าวสำคัญของการปรับยุทธศาสตร์มาเป็น hybrid cloud (อ่านบทวิเคราะห์ที่นี้)
ไม่นานหลัง IBM ซื้อ Red Hat เสร็จสมบูรณ์ วันนี้ IBM ก็ประกาศข่าวสำคัญคือ บริษัทปรับปรุงซอฟต์แวร์ของตัวเองกว่า 100 ตัวให้รันบน Red Hat OpenShift ได้เป็นอย่างดี และลูกค้าองค์กรสามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านี้ไปรันบนคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ IBM Cloud (ที่ระบุชื่อคือ AWS, Azure, Google, Alibaba รวมถึง private cloud ในองค์กร)
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นายเดเมียน วอง รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพแห่งภูมิภาคอาเซียน (GEMs) ของเร้ดแฮท ได้เดินทางมาพบสื่อมวลชนในกรุงเทพฯ และตอบคำถามถึงความเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ไอบีเอ็มได้เข้าซื้อเร้ดแฮท โดยยืนยันเหมือนประกาศของทั้งสองบริษัทก่อนหน้านี้ว่าทั้งสองบริษัทยังแยกกันอยู่ต่อไป แม้แต่สำนักงานก็ยังมีสำนักงานใหญ่แยกกันอยู่เหมือนเดิม
เดเมียนพูดถึงการเข้าซื้อของไอบีเอ็มว่า เป็นการประสานกัน (synergy) ไม่ใช่การรวมตัวเข้าด้วยกัน (integration) โดยสิ่งที่เร้ดแฮทจะได้จากไอบีเอ็มคือขนาดของบริษัทที่มีพนักงานถึง 381,000 คนทั่วโลก ยอดขายรวมถึง 78,000 ล้านดอลลาร์
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน
เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว
Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง
ไอบีเอ็มประกาศปิดดีลเข้าซื้อเรดแฮท ที่ราคาหุ้นละ 190 ดอลลาร์ คิดเป็นมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1 ล้านล้านบาท โดยสามารถปิดดีลนี้ได้ตามกำหนดการเดิมที่ระบุว่าจะปิดภายในครึ่งปีหลังของปี 2019
เมื่อปลายเดือนที่แล้วสหภาพยุโรปเพิ่งอนุมัติให้ทั้งสองบริษัทรวมตัวกันได้โดยไม่มีเงื่อนไข นับเป็นก้าวสำคัญก่อนจะปิดดีลสำเร็จในวันนี้
ช่วงปีที่ผ่านมาเรดแฮทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง รายได้เพิ่มขึ้น 15% จากปีที่แล้ว
สหภาพยุโรปอนุมัติให้ IBM เข้าซื้อ Red Hat หลังตรวจสอบแล้วพบว่าการรวมบริษัทไม่มีข้อน่ากังวลต่อการแข่งขัน
IBM ประกาศเข้าซื้อ Red Hat ตั้งแต่ปีที่แล้วด้วยมูลค่าดีล 1.12 ล้านล้านบาท (34 พันล้านดอลลาร์)
นับตั้งแต่การประกาศเข้าซื้อ หุ้น Red Hat ที่เคยอยู่ในช่วง 120-150 ดอลลาร์ต่อหุ้น ก็ยืนราคาเหนือ 180 ดอลลาร์ต่อหุ้นมาได้ยาวนาน โดย IBM เสนอซื้อที่ราคา 190 ดอลลาร์ต่อหุ้น
IBM ประกาศแต่แรกว่ากระบวนการเข้าซื้อน่าจะสิ้นสุดภายในครึ่งหลังของปี 2019
ที่มา - Reuters
มีคนตาดีไปเห็นว่า ในบรรดา ThinkPad P Series ที่เพิ่งเปิดตัวปีนี้ สามารถเลือกใส่ระบบปฏิบัติการลินุกซ์มาได้ตั้งแต่โรงงาน โดยเลือกได้ว่าจะเป็น Ubuntu 18.04 LTS (พรีโหลดมาให้จากโรงงาน) หรือถ้าต้องการ Red Hat Linux ก็รองรับอย่างเป็นทางการ (certified)
ThinkPad ที่เข้าข่ายคือ P1 Gen 2, P53, P73, P53s, P43s แต่เนื่องจากตอนนี้บนหน้าเว็บของ Lenovo US ยังไม่เปิดให้สั่งซื้อ จึงไม่สามารถดูราคาได้ว่าถ้าเลือกระบบปฏิบัติการเป็นลินุกซ์ ราคาจะแตกต่างจากวินโดวส์หรือไม่
Red Hat เปิดตัว OpenShift 4 แพลตฟอร์ม Kubernetes สำหรับองค์กรรุ่นต่อไป พร้อมกับระบุว่าตอนนี้มีลูกค้าระดับองค์กรแล้วกว่า 1,000 ราย ประมาณ 50 รายเป็นองค์กรใน Fortune 100
ฟีเจอร์ของ OpenShift 4 เพิ่มมาหลายอย่างเช่น
ไมโครซอฟท์และเรตแฮตประกาศความร่วมมือ ให้บริการ Azure Red Hat OpenShift ให้บริการ Kubernetes ระดับองค์กร โดยทั้งสองบริษัทจะเป็นผู้ดูแลคลัสเตอร์และแพตช์ช่องโหว่ต่างๆ ให้เอง และบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ จะออกผ่าน Azure รายเดียว
บริการเริ่มให้บริการแล้ววันนี้ ราคาเริ่มต้นสำหรับเครื่อง 4 ซีพียู แรม 16GB อยู่ที่ 0.761 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง หรือประมาณเดือนละ 17,500 บาท (รวมค่าเซิร์ฟเวอร์ 0.953 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง)
ทั้งสองบริษัทยังมีความร่วมมือกันอีกหลายอย่าง เช่นนำ RHEL8, Ansible 2.8, และโมดูล Ansible ไปให้บริการบน Azure ที่สำคัญคือกำลังอยู่ระหว่างการปรับแต่งประสิทธิภาพ SQL Server 2019 ให้ทำงานบน RHEL8 ได้ดีขึ้น
ไอบีเอ็มประกาศซื้อ Red Hat ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2018 ตอนนี้กระบวนการอยู่ระหว่างขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่างๆ ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ก็อนุมัติให้ทั้งสองบริษัทรวมกันแล้ว โดยระบุว่าไม่พบปัญหาการผูกขาดหากสองบริษัทรวมกันแต่อย่างใด
ทั้งสองบริษัทยังต้องรออนุมัติจากประเทศอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง โดยคาดว่ากระบวนการจะเสร็จจริงๆ ครึ่งหลังของปีนี้ตามกำหนดเดิม
ที่มา - Chicago Tribune, SEC
Red Hat เปิดตัว Red Hat Enterprise Linux 8 (RHEL8) ตัวจริงในงาน Red Hat Summit วันนี้ หลังจากออกรุ่นเบต้ามาตั้งแต่ปลายปี 2018 ที่สำคัญคือ Red Hat ประกาศปล่อยอิมเมจสำหรับทำคอนเทนเนอร์ให้ใช้งานได้ฟรี ในชื่อ Universal Base Image (UBI)
RHEL8 ปรับการคอนฟิกและมอนิเตอร์มาใช้เว็บคอนโซลเป็นหลัก ตัวเคอร์เนลใช้ลินุกซ์ 4.18 ที่ออกมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2018, OpenSSL 1.1.1 รองรับ TLS 1.3 สามารถใช้งานเป็น guest บน OpenShift 4, Red Hat OpenStack Platform 15, และ Red Hat Virtualization 4.3 ได้ทันที
ไมโครซอฟท์ร่วมกับ Red Hat เปิดตัว KEDA ระบบการประมวลผลอีเวนต์ ที่ทำให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ serverless บนเครื่องในองค์กร เมื่อใช้ร่วมกับ Azure Functions runtime ทำให้องค์กรสามารถย้ายซอฟต์แวร์ที่พัฒนาสำหรับคลาวด์กลับมารันในคลัสเตอร์ Kubernetes ในองค์กรได้
KEDA รองรับอีเวนต์สี่แบบ ได้แก่ Kafka, RabbitMQ, Azure Storage Queue, และ
Azure Service Bus Queues and Topics สำหรับอีเวนต์ HTTP สามารถอยู่ร่วมกับ Knative เพื่อรองรับอีเวนต์ HTTP ไปพร้อมกัน ในอนาคตทางไมโครซอฟท์เตรียมเพิ่มประเภทอีเวนต์ที่รองรับให้มากขึ้นอีกหลายอย่าง
Red Hat ประกาศเปลี่ยนโลโก้ใหม่ในวันนี้ โดยเปลี่ยนจากโลโก้ผู้ชายในเงาสวมหมวกสีแดง (Shadowman) เหลือเพียงหมวกสีแดงเท่านั้น สอดคล้องกับชื่อบริษัทมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยก็ไม่ได้เปลี่ยนเป็นหมวกสีฟ้าตามเจ้าของใหม่ไอบีเอ็ม
โลโก้เดิมนั้น Red Hat ใช้มาตั้งแต่ปี 1999
Red Hat ประกาศรับช่วงดูแลโครงการ OpenJDK 8 และ OpenJDK 11 ซึ่งเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ต่อจาก Oracle ที่เป็นบริษัทแกนหลักของโลก Java
เรื่องนี้ไม่น่าประหลาดใจนัก เพราะ Red Hat เคยทำแบบนี้มาก่อนแล้วกับ OpenJDK 6 และ OpenJDK 7 เพื่อการันตีว่าลูกค้าของตัวเองจะมีแพตช์ของ OpenJDK ต่อไป แม้ Oracle หยุดซัพพอร์ตไปแล้ว เนื่องจากโมเดลธุรกิจของ Red Hat ขายซัพพอร์ต Java (เวอร์ชัน OpenJDK) บน RHEL ด้วย และล่าสุดเพิ่งเพิ่มการขายซัพพอร์ต OpenJDK บนวินโดวส์อีกช่องทางหนึ่ง