อินเทลเพิ่งประกาศรีแบรนด์ Xeon ใหม่เป็น Xeon Scalable ที่แยก 4 รุ่นย่อยคือ Bronze, Silver, Gold, Platinum โดยมีผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ หลายรายเริ่มใช้แล้ว
ล่าสุด Red Hat ประกาศว่า Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ทั้งเวอร์ชัน 6.9 และ 7.3 รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Xeon Scalable อย่างชุดคำสั่ง Advanced Vector Extensions 512 (Intel AVX-512) และตัวช่วยเร่งความเร็วการเข้ารหัส Intel QuickAssist แล้ว ผลคือลูกค้าองค์กรที่สั่งซื้อ Xeon ตัวใหม่ไปใช้กับ RHEL ก็จะได้ประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ
Red Hat พบว่าประสิทธิภาพของ Xeon Scalable ดีขึ้นเฉลี่ย 1.2-1.6 เท่าเทียบกับซีพียูรุ่นก่อน
Red Hat ประกาศซื้อกิจการบริษัท Codenvy ผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนา Eclipse Che
Eclipse Che เป็นโครงการย่อยในสังกัด Eclipse Foundation มันคือ Cloud IDE หรือ IDE เวอร์ชันที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ แล้วเรียกใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์
ตัวของ Che เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใครๆ ก็ดาวน์โหลดไปรันในเซิร์ฟเวอร์เองได้ ส่วนบริษัท Codenvy หารายได้จากการโฮสต์ Che บนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองให้เช่าใช้งานพร้อมซัพพอร์ต และมีเวอร์ชัน Che Team/Enterprise สำหรับตลาดองค์กร
Red Hat เปิดตัวบริการ OpenShift.io บริการพัฒนา microservice ครบวงจรจากโค้ดไปจนถึงการ deploy โดยมีเครื่องมือตั้งแต่การวางแผนการพัฒนา, การโค้ดและทดสอบระบบ, ระบบวิเคราะห์หารูปแบบโค้ดผิดปกติและช่องโหว่สำคัญ, ไปจนถึงการทำ continuous integration ละ continuous delivery โดยไม่ต้องติดตั้งระบบเองในช่วงเริ่มโครงการ
ผู้ใช้ OpenShift.io จะได้รับสมาชิก Red Hat Developer Program ไปพร้อมกัน ทำให้สามารถใช้งานสินค้าของ Red Hat ในการพัฒนาไปได้ด้วย เช่น RHEL หรือ Jboss
บริการนี้เป็นบริการฟรี แต่จะรองรับผู้ใช้ในช่วงแรกจำกัด ผู้สนใจสามารถสมัครใช้งานได้ที่ OpenShift.io
Red Hat ออก RHEL 6.9 รุ่นสุดท้ายในตระกูล 6.x ก่อนจะเข้าสู่ช่วง Production Phase 3 ที่จะมีอัพเดตเฉพาะบั๊กระดับวิกฤติและรายงานการอัพเดตฉุกเฉินในเดือนพฤษภาคมนี้
RHEL 6.9 ที่อยู่ในช่วง Production Phase 2 รองรับฮาร์ดแวร์เพิ่ม คือ Realtek RTS5205 การอัพเดตโครงการต้นน้ำจำนวนมาก ทำให้ได้รับฟีเจอร์ใหม่ๆ บางส่วน รวมไปถึงการรองรับ TLS 1.2 ในเซิร์ฟเวอร์หลายตัว และเซิร์ฟเวอร์หลายบริการสามารถปิดการรองรับการเข้ารหัสเก่าๆ ได้ เช่น Postfix
ปี 2016 นับเป็นปีแห่งโอเพนซอร์ส จากที่เรามีคำถามว่าโอเพนซอร์สเหมาะกับการใช้ในองค์กรหรือไม่ ในปัจจุบันผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายสำคัญในโลกทุกราย ล้วนแต่สร้างบริการหรือซัพพอร์ตซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส รวมถึงใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สภายในองค์กรกันเป็นเรื่องปกติ
ในปีที่ผ่านมา Red Hat ยังคงเป็นผู้นำในการช่วยให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลก ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์สได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Ian Duffy วิศวกรซอฟต์แวร์พบช่องโหว่ของโครงสร้างการอัพเดต Red Hat Enterprise Linux (RHEL) บน Azure
อิมเมจ RHEL บน Azure จะถูกคอนฟิกให้อัพเดตจาก repository ภายในของ Azure เอง โดยค่าเริ่มต้นจะปิดการตรวจสอบแพ็กเกจด้วย gpg เอาไว้ แต่ตรวจสอบการเชื่อมต่อด้วย SSL อย่างเดียว
Ian พบว่าตัวเซิร์ฟเวอร์อัพเดตเปิดให้คนภายนอกเข้าถึง API ได้ และยังมีช่องโหว่ทำให้แฮกเกอร์สามารถอัพโหลดแพ็กเกจใหม่ขึ้นไปได้ ช่องโหว่นี้ทำให้แฮกเกอร์สามารถปลอมแพ็กเกจแล้วส่งเข้าเครื่องที่รัน RHEL บน Azure จำนวนมาก ทันทีที่เครื่องเหล่านั้นสั่ง yum update
ปัญหาสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถรองรับการเล่นไฟล์เพลงหรือภาพยนต์หลายประเภท แต่ตอนนี้ทาง Red Hat ก็ประกาศจะรองรับการเล่นไฟล์ MP3 ใน Fedora Workstation 25 แล้ว
สิทธิบัตร MP3 มีจำนวนมาก โดยมีหน่วยงานกลางอย่าง MPEG-LA เป็นผู้รวบรวมสิทธิบัตรเข้ามาเก็บค่าสิทธิบัตร
Tom Callaway จาก Red Hat ผู้ประกาศเรื่องนี้ระบุว่าทางบริษัทจะไม่แสดงความเห็นว่าสิทธิบัตรตัวใดหมดอายุจึงยอมรับไฟล์ MP3 ในครั้งนี้ แต่ OSNews เคยรวบรวมสิทธิบัตรของ MP3 ระบุว่าสิทธิบัตรสุดท้ายที่มีการอ้างกันจะหมดอายุเดือนเมษายนปี 2017
Red Hat ยักษ์ใหญ่ของวงการลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ประกาศเปิดสำนักงานในประเทศไทย โดยมีคุณริชาร์ด โกะ (Richard Koh) ผู้บริหารชาวสิงคโปร์ รับหน้าที่เป็น Country Manager ของทั้งประเทศไทยและสิงคโปร์พร้อมกัน ตอนนี้สำนักงานในไทยมีพนักงาน 7 คนแล้ว
ประเทศไทยถือเป็นสำนักงานแห่งที่สี่ของ Red Hat ในอาเซียน โดยงานเปิดสำนักงานวันนี้ได้ Jim Whitehurst ซีอีโอของ Red Hat บินมาทำพิธีเปิดเองด้วย
ปัจจุบัน Red Hat ไม่ได้มีแค่ลินุกซ์ แต่ยังมีธุรกิจอื่นๆ เช่น สตอเรจ มิดเดิลแวร์ คลาวด์ ฯลฯ โมเดลรายได้เป็นการขาย subscription เป็นหลัก ตัวอย่างลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของ Red Hat ในไทยคือ AIS, True, Krungsri, TCC Technology และ G-able
Red Hat Virtualization เป็นการนำเอาซอฟต์แวร์ virtualization รุ่นโอเพนซอร์ส KVM มาพัฒนาต่อให้เหมาะกับตลาดองค์กร (ลูกค้ากลุ่มเดียวกับที่ซื้อ VMware) โดยเทคโนโลยีนี้มาจากบริษัท Qumranet ผู้เริ่มพัฒนา KVM ที่ Red Hat ซื้อกิจการมาตั้งแต่ปี 2008
ตัวผลิตภัณฑ์ Red Hat Virtualization ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนหลักคือตัว hypervisor หรือตัวระบบปฎิบัติการฐานล่างที่รันอยู่ก่อน OS ปกติ และตัวบริการจัดการผ่านเว็บเบส
สำหรับของใหม่ในเวอร์ชัน 4 คือ hypervisor ที่พัฒนาโดยใช้แกนของ Red Hat Enterprise Linux 7.2 ที่มีขนาดเล็กลง ประสิทธิภาพดีขึ้น ติดตั้งง่ายขึ้น รองรับการรัน container มากขึ้น
เมื่อปลายปี 2015 ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat หลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการซัพพอร์ต .NET บนลินุกซ์
ตอนนี้โอกาสที่ว่ามาถึงแล้ว หลังจาก ไมโครซอฟท์ออก .NET Core 1.0 ที่ทำงานบนลินุกซ์ ฝั่งของ Red Hat ก็ประกาศรองรับ .NET Core บน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) และ OpenShift ทันที ถือเป็นดิสโทรเชิงพาณิชย์รายเดียวที่ซัพพอร์ต .NET อย่างเป็นทางการ ลูกค้าสามารถใช้บริการซัพพอร์ตจาก Red Hat และไมโครซอฟท์ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat และ Codenvy บริษัทที่รับผิดชอบการพัฒนา Eclipse รุ่นถัดไป สร้างมาตรฐานกลางสำหรับการเพิ่มภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ให้ซอฟต์แวร์ IDE (Integrated Development Environment) รองรับได้ง่ายขึ้น
แนวคิดของเรื่องนี้คือตัว IDE หรือ Editor จะรองรับภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ต้องมีข้อมูลของภาษานั้นเพื่อใช้ตรวจ syntax, เติมโค้ด (code completion) รวมถึงทำ refactoring ดังนั้น IDE จะถูกออกแบบให้ดึงข้อมูลของภาษาโปรแกรมจาก "Language Servers" ที่มีข้อมูลของแต่ละภาษาอยู่
Ceph Storage ซอฟต์แวร์คลัสเตอร์สตอเรจของ Red Hat ออกเวอร์ชั่นใหม่ ปรับปรุงการทำงานเพิ่มเติม โดยเวอร์ชั่นนี้พัฒนาต่อมาจาก Ceph 10.2 Jewel เพิ่มฟีเจอร์จากรุ่นแรกมาหลายอย่าง
Red Hat ประกาศซื้อกิจการบริษัท 3scale เจ้าของเทคโนโลยีบริหารจัดการ API สำหรับแอพพลิเคชันทางธุรกิจ (API Management Platform)
บริการของ 3scale จะเป็นคลาวด์สำหรับให้บริการ API ของแอพพลิเคชันที่มีอยู่แล้ว นอกจากช่วยเรื่องการขยายตัว (scaling) รองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก องค์กรยังสามารถควบคุมการเข้าถึง API ได้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น สามารถจำกัดการเรียก API ตามสถานะบัญชี, การคิดเงินค่าใช้งาน API, การวิเคราะห์การใช้ API ได้ด้วย
นอกจากการทำลินุกซ์ Red Hat ยังมีธุรกิจด้านแอพพลิเคชันสำหรับองค์กรคือ JBoss, Red Hat Mobile Application Platform และ OpenShift อยู่แล้ว การซื้อ 3scale จึงเข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจเหล่านี้ ให้ทันยุคสมัยที่องค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องเปิด API ให้กับพาร์ทเนอร์หรือลูกค้าภายนอกองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ
Red Hat เปิดตัวโครงการ Ansible Container สำหรับการสร้างอิมเมจ Docker โดยใช้ไฟล์ Ansible playbook แทนที่ Dockerfile
ทาง Ansible ระบุว่าไฟล์ playbook นั้นได้เปรียบกว่า Dockerfile หลายอย่าง เพราะตัว Dockerfile นั้นจริงๆ แล้วเหมือนกับ shellscript เท่านั้น ขณะที่ playbook สามารถจัดการได้มากกว่า เช่นการสร้างโครงการ Django หลายครั้งต้องใส่ไฟล์เข้าไปในอิมเมจด้วย กระบวนการเช่นนี้ทำใน playbook ได้โดยง่าย และกระบวนการจัดการคอนเทนเนอร์หลายครั้งก็ใช้ Ansible อยู่แล้ว การใช้ playbook อย่างเดียวช่วยลดความซ้ำซ้อน
Ansible Container สามารถสร้างอิมเมจได้โดยไม่ต้องติดตั้ง SSH ในคอนเทนเทอร์ หรือมีเอเจนต์ของ Ansible อยู่ในอิมเมจแต่อย่างใด
Red Hat ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่สี่ของปีและผลประกอบการรวมทั้งปีนับคงเติบโตต่อเนื่อง รายได้ไตรมาสที่สี่รวม 544 ล้านดอลลาร์เติบโต 17% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และรายได้รวมทั้งปี 2.05 พันล้านดอลลาร์ เติบโต 21% เมื่อไม่คิดถึงอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ Red Hat ก้าวข้ามหลักสำคัญในการทำรายได้ต่อปีเกิน 2 พันล้านดอลลาร์แล้ว
กำไรในไตรมาสที่สี่อยู่ที่ 53 ล้านดอลลาร์ และกำไรทั้งปีอยู่ที่ 199 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ backlog ของปี 2016 อยู่ที่ 2.13 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าไตรมาสแรกของปีนี้รายได้จะเติบโตต่อไปอยู่ระหว่าง 558 ล้านดอลลาร์ถึง 566 ล้านดอลลาร์
ที่มา - BusinessWire
GlusterFS เป็นระบบไฟล์แบบกระจายศูนย์สำหรับคลาวด์ที่ขยายตัว (scale out) ข้ามเครือข่ายได้ง่าย ระบบไฟล์ตัวนี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Gluster ที่ถูก Red Hat ซื้อไปในปี 2011 มีจุดเด่นที่ความทนทานต่อความผิดพลาดของระบบ (high availability/fault tolerant) (ชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ Red Hat Gluster Storage)
ที่ผ่านมา Gluster ถูกใช้ในระบบคลัสเตอร์ที่ส่วนใหญ่ติดตั้งลงในระบบเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเอง แต่ล่าสุด กูเกิลจับมือกับ Red Hat นำระบบไฟล์นี้มาให้บริการบน Google Compute Engine แล้ว ถือเป็นระบบไฟล์ทางเลือกอีกตัวหนึ่ง นอกเหนือจากการใช้ Google Cloud Storage หรือ Compute Engine Persistent Disks
เมื่อปลายปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat วันนี้ผลลัพธ์อย่างรูปธรรมเกิดขึ้น เมื่อไมโครซอฟท์จะขาย Red Hat Enterprise Linux (RHEL) บน Azure Marketplace เฉกเช่นเดียวกับการขายระบบปฏิบัติการมีไลเซนส์อื่นๆ บน Azure
RHEL ที่ขายจะมีให้เลือกทั้ง 6.2 และ 7.2 ตอนนี้ใครที่อยากสร้าง VM รัน RHEL ก็สามารถกดซื้อและสั่งดีพลอยได้จาก Azure โดยตรงครับ
ในโอกาสเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังขยายบริการ Azure Container Service รุ่นพรีวิวให้กับทุกคนที่สนใจ สามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ได้ตามชอบ ทั้ง Docker Swarm และ Mesosphere Marathon
ทีมงานกูเกิลและ Redhat พบช่องโหว่ความปลอดภัยในไลบรารี glibc ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันโดยไม่ได้นัดหมาย กูเกิลระบุว่าวิศวกรพบพฤติกรรมแปลกๆ ว่าซอฟต์แวร์ SSH client จะแครชทุกครั้งที่พยายามเชื่อมต่อไปยังเครื่องๆ หนึ่ง เมื่อตรวจสอบบั๊กนี้จึงพบว่าเป็นช่องโหว่ความปลอดภัย
ช่องโหว่นี้รายงานโดย Robert Holiday มาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว แต่เมื่อทีมงาน Redhat พบว่าเป็นช่องโหว่ความปลอดภัยภายหลัง การพูดคุยหลังจากนั้นจึงเป็นการพูดคุยนอกช่องทางสาธารณะทั้งหมด และทาง Redhat ก็ปล่อยแพตช์ออกมาในวันนี้พร้อมกันกับรายงานของกูเกิล
Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 7.2 ของใหม่ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือครั้งใหญ่กับเรดแฮท ข้อตกลงแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
Red Hat ประกาศเข้าซื้อ Ansible Inc. บริษัทผู้ดูแลการพัฒนาโครงการ Ansible ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายแต่อย่างใด
ทาง Red Hat ระบุว่า Ansible จะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าของ Red Hat สามารถควบคุมคลาวด์ได้ง่ายขึ้น ทั้งคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนตัวในองค์กร, สามารถส่งมอบบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น, ควบคุมการติดตั้งและอัพเกรด OpenStack ได้ง่ายขึ้น, และช่วยอำนวยความสะดวกในการปรับไปใช้ container
Red Hat แจ้งว่าพบการบุกเจาะเว็บชุมชน Ceph ทั้ง ceph.com และ download.inktank.com ที่เป็นจุดปล่อยโค้ดและแพ็กเกจไปยังดิสโทรอื่นๆ แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่พบว่าไฟล์ที่เปิดให้ดาวน์โหลดถูกดัดแปลงไป แต่เพื่อความปลอดภัยทาง Ceph ก็เปลี่ยนกุญแจเซ็นรับรองแพ็กเกจแล้ว
ทาง Red Hat แนะนำให้ใช้กุญแจใหม่เพื่อตรวจสอบแพ็กเกจ โดยกุญแจเซ็นรับรองแพ็กเกจของ Inktank คือ 5438C7019DCEEEAD และกุญแจของชุมชน Ceph คือ 7EBFDD5D17ED316D ควรถูกเปลี่ยน ทางฝั่งชุมชน Ceph นั้นประกาศกุญแจใหม่เป็น E84AC2C0460F3994 ส่วนเวอร์ชั่นของ Inktank นั้นทาง Red Hat แนะนำให้ลูกค้า Red Hat Ceph Storage เปลี่ยนไปใช้กุญแจ release ของ Red Hat โดยตรง โดยทาง Red Hat จะนำแพ็กเกจรุ่นเก่ากลับมาเซ็นรับรองใหม่ด้วย
Red Hat Enterprise Linux หรือ RHEL ออกรุ่น 6.7 อัพเดตย่อยหลายส่วน แต่มีส่วนสำคัญ เช่น รองรับโปรโตคอล Security Content Automation Protocol (SCAP) สำหรับการตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยในองค์กรว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
การปรับปรุงเรื่องอื่นๆ เช่น ยกเลิกการรองรับ SSLv3 และบังคับไปใช้ TLS, การเสียบไดรฟ์ USB จะอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้นเป็นค่าเริ่มต้น, รองรับ noexec ทำให้สามารถกำหนดได้ว่าดิสก์บางส่วนห้ามรันไฟล์
ลูกค้าของ Red Hat สามารถเข้าไปดาวน์โหลด RHEL 6.7 ได้ผ่าน Red Hat Customer Portal
ที่มา - Red Hat
หลังจากทำธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 5 ปี ล่าสุด Red Hat ขยับตัวครั้งใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจในประเทศไทยเห็นความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากขึ้น ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนในภาคส่วนต่างๆ
ด้วยเทรนด์การมใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่มากขึ้นในหลายธุรกิจ ทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมา Red Hat ได้กระตุ้นการรับรู้ของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สด้วยการเข้าไปจับมือกับ SIPA เพื่อแนะนำให้ผู้คนในแวดวงไอทีได้เริ่มใช้งาน OpenStack ด้วยการจัดอบรมและให้ใบรับรอง Certified System Administratorsของ OpenStack กับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ โดยทาง Red Hat ย้ำว่าการย้ายจากซอฟต์แวร์แบบมีกรรมสิทธิ์ (proprietary) ไปสู่ซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สจะช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ไปสู่ระดับภูมิภาค
งาน Red Hat Summit ปีนี้ Magnus Glantz ผู้จัดการฝ่ายไอทีของของ IKEA ขึ้นเล่าประสบการณ์การอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์กว่า 3,500 ตัวทั่วโลกเพื่อแก้ช่องโหว่ Shellshock โดยทาง IKEA สามารถทดสอบและอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดได้ในเวลาสองชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
Glantz ระบุว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้เขาสามารถอัพเกรดได้เร็วแม้จะเป็นระบบขนาดใหญ่ เพราะมีการวางมาตรฐาน Standard Operating Environment (SOE) ที่ดีเอาไว้ในองค์กร โดยมาตรฐานนี้ระบุตั้งแต่ฮาร์ดแวร์, ลินุกซ์ที่ใช้งาน, และแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้ง จากนั้นมีการบังคับติดตั้งระบบจัดการเอาไว้เพื่อบังคับใช้ SOE ทั้งระบบ