เราเห็นความร่วมมือด้านแอพมือถือสำหรับองค์กร MobileFirst ระหว่างแอปเปิลกับไอบีเอ็มมาก่อนแล้ว ล่าสุด Red Hat และซัมซุงก็ประกาศความร่วมมือแบบเดียวกันบ้าง
รายละเอียดของข้อตกลงระหว่าง Red Hat กับซัมซุงก็มาแนวเดียวกัน คือทั้งสองบริษัทจะพัฒนาแอพสำหรับภาคธุรกิจในสาขาต่างๆ โดยรันอยู่บน Red Hat Mobile Application Platform ซึ่ง Red Hat จะรับผิดชอบงานฝั่งคลาวด์ และซัมซุงรับผิดชอบฝั่งฮาร์ดแวร์-คอนซูเมอร์
บริษัททั้งสองรายยังจะทำงานร่วมกันทั้งด้านการตลาดและการซัพพอร์ตลูกค้า ในระยะแรกจะเน้นเฉพาะลูกค้าในสหรัฐเป็นหลักเพียงประเทศเดียว
ศึกมาตรฐานของวงการ container เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ บริษัทรายล่าสุดที่ลงมาร่วมวงคือ Red Hat ที่ประกาศตัวชัดเจนว่ายืนอยู่ข้างเดียวกับ Docker
Red Hat ออกมาบอกว่าโลกของ container ควรมีมาตรฐานเปิด (open standard) เพื่อให้เทคโนโลยีทำงานข้ามกันได้ และเสนอแนวทางมาตรฐานสำหรับเทคโนโลยี 4 ระดับ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายงานบั๊กใน RHEL 6.7 ระบุว่าหากผู้ใช้รันพรอกซี่ Squid 3.1.23-4.el6 แล้วเพียงแค่สั่งรีสตาร์ตเท่านั้น สคริปต์รีสตาร์ตก็จะล้างไฟล์ทั้งเครื่องทำให้เครื่องใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
บั๊กนี้จะไม่เกิดขึ้นหากสั่งหยุด Squid แล้วสั่งสตาร์ตใหม่แยกจากกัน แต่จะมีผลเฉพาะการสั่งรีสตาร์ตเท่านั้น
UPDATE: ตัวแพ็กเกจรุ่นที่มีบั๊กนี้เป็นรุ่นทดสอบ และแก้ไขเรียบร้อยแล้วก่อนปล่อยออกมาในรุ่น Squid 3.1.23-5.el6
ที่มา - Redhat Bugzilla #1202858
Red Hat เปิดให้นักพัฒนาทดสอบ RHEL 7 Atomic Host ที่เน้นการใช้งานบนคลาวด์มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ทางบริษัทก็เปลี่ยนสถานะเป็นพร้อมใช้งานทั่วไป (general availability) ทำให้เราน่าจะเห็น Red Hat ทำตลาด RHEL 7 Atomic Host มากขึ้น
RHEL 7 Atomic Host เหมาะกับการใช้งานกับคลาวด์ด้วยคุณสมบัติหลายอย่าง
The Linux Foundation องค์กรดูแลการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์รายงานผลการพัฒนาประจำปี ครอบคลุมระยะเวลาพัฒนาจากรุ่น 3.11 ถึง 3.18
สิบบริษัทแรกที่ส่งโค้ดเข้ามายังลินุกซ์มากที่สุด ได้แก่ อินเทล, เรดแฮท, Linaro, ซัมซุง, ไอบีเอ็ม, SUSE, Texas Instruments, Vision Engraving Systems, กูเกิล, และ Renesas โดยอินเทลขึ้นมาที่หนึ่งจากการส่งโค้ดรวม 10,000 ชุด แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งคือนักพัฒนาที่ได้รับค่าจ้างจากบริษัทเพื่อให้ส่งโค้ดเข้ามามีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้มากกว่า 80% ของนักพัฒนาได้รับค่าจ้างจากบริษัท
Red Hat ซื้อกิจการบริษัท FeedHenry ผู้สร้างแพลตฟอร์มพัฒนาแอพมือถือสำหรับตลาดองค์กร (enterprise mobile application platform - PaaS) ด้วยมูลค่าประมาณ 82 ล้านดอลลาร์
FeedHenry ทำตัวเป็นแพลตฟอร์มให้นักพัฒนาไปสร้างแอพมือถือหลายแพลตฟอร์ม (iOS, Android, WP, BlackBerry) ด้วยเครื่องมือพัฒนาหลากรูปแบบ (HTML5, Cordova, Xamarin, Sencha หรือ native ก็ได้) ตัวแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆของ FeedHenry จะคอยเชื่อมต่อกับระบบ backend ภายในองค์กรให้ และช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลให้ด้วย ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเรียบง่ายและรวดเร็วขึ้น
โครงการ Docker กำลังมาแรงมากๆ ในโลกฝั่งเซิร์ฟเวอร์-กลุ่มเมฆ อย่างไรก็ตาม Docker ทำตัวเป็นแค่ "ลังใส่ของ" (container) เพื่อใส่สภาพแวดล้อมของแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น สิ่งที่ยังขาดอยู่คือ "ตัวจัดการลัง" (container manager) ในกรณีที่ต้องบริหาร container เป็นจำนวนมากๆ (บริษัท Docker มีเครื่องมือชื่อ libswarm ที่เพิ่งเริ่มต้นพัฒนา)
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กูเกิลประกาศโครงการ Kubernetes ตัวจัดการ "คลัสเตอร์" ของ container โดยมุ่งเป้าใช้งานกับ Google Compute Engine แต่ก็เปิดซอร์สโค้ดให้หน่วยงานอื่นๆ ใช้งานด้วย
Red Hat เปิดโครงการ Challenge@Labs ประจำปี 2014 เปิดให้นักเรียน-นักศึกษาจากเอเชียแปซิฟิกเข้าประกวดโซลูชันไอที โดยนักศึกษาที่มีสิทธิ์เข้าร่วมต้องอยู่ใน 7 ประเทศคือ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย
ธีมการประกวดของปี 2014 คือ "Smart Living, Smart Homes" หรือ "บ้านอัจฉริยะเพื่อเมืองอัจฉริยะ" รางวัลใหญ่คือเงินสด 10,000 ดอลลาร์ (300,000 บาท) และโอกาสฝึกงานกับ Red Hat ที่ปักกิ่ง
หลังจากที่ปล่อย Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 7 Beta มาเกือบๆ ครึ่งปี วันนี้ทางเรดแฮตได้ปล่อยระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ของตนออกมาแล้วครับ
ความสามารถในรุ่นนี้ยังคงเป็นไปตามข่าวเก่าคือ เพิ่มการรองรับ Docker มาตั้งแต่ต้น เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับทรัพยากรให้สูงขึ้น และอื่นๆ
สำหรับ CentOS ที่ถูกรวมเข้าในบริษัทเรดแฮต ขณะนี้ก็กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะออกตามมาในเร็วๆ นี้ สามารถดูความคืบหน้าได้ที่ CentOS Seven ครับ
ที่มา: Red Hat
Google Compute Engine เปิดให้ผู้ใช้วงจำกัดสามารถเลือกใช้ Red Hat Enterprise Linux มาระยะหนึ่ง ตอนนี้ก็เปิดให้เลือกใช้งานได้ทุกคนแล้ว โดยคิดราคาเพิ่มชั่วโมงละ 0.06 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงสำหรับเครื่องที่มีซีพียูน้อยกว่า 8 คอร์ และ 0.13 ดอลลาร์สำหรับเครื่องที่มีซีพียู 8 คอร์หรือมากกว่า
ทางด้าน Red Hat ก็เปิดให้ลูกค้าที่ซื้อไลเซนส์ไว้แล้วสามารถย้ายไลเซนส์ของตัวเองไปรันบน Google Compute Engine ได้ต่อและยังรับซัพพอร์ตเหมือนรันในเครื่องของตัวเองต่อไป โดยสามารถจัดการผ่าน Red Hat Cloud Access ย้ายเครื่องเข้าออกจากศูนย์ข้อมูลตามความต้องการ โดยก่อนหน้านี้มีเพียง Amazon Web Service เท่านั้นที่รองรับบริการนี้
โครงการ Red Hat และ CentOS ได้ประกาศความร่วมมือระหว่างกันในการสร้าง new CentOS เพื่อให้มีความสามารถเพียงพอต่อการรองรับการพัฒนา Open Source ยุคถัดไป
ความร่วมมือครั้งนี้ Red Hat จะนำทรัพยากรที่มีเข้ามาช่วยในการพัฒนา CentOS ซึ่งหลังจากประกาศครั้งนี้ หัวหน้าโครงการและสมาชิกหลักของโครงการ CentOS จะเข้าไปทำงานให้ Red Hat แต่ว่าตัวโครงการ CentOS จะยังไม่เข้าไปรวมกับ RHEL แบบเต็มตัว โดยยังมีส่วนสำคัญที่แยกจากกันอยู่ ซึ่งผู้ใช้ CentOS สามารถสบายใจได้ว่า CentOS จะไม่หายไปไหน
Fedora ซึ่งเป็นดิสโทรตั้งต้นของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ประกาศออกรุ่น 20 โดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ ARM กลายเป็นสถาปัตยกรรมหลัก (primary architecture) ทำให้ต่อจากนี้การซัพพอร์ต ARM จะเทียบเท่ากับ x86
Fedora รองรับหลายสถาปัตยกรรมมาก่อนแล้ว แต่การปรับ ARM เป็นสถาปัตยกรรมหลักจะทำให้กระบวนการพัฒนาจะต้องคิดถึง ARM ด้วยเสมอ การ check-in โค้ดใดที่ทำให้การทำงานของสถาปัตยกรรมหลักตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาจะถูกปฎิเสธแพตซ์และต้องแก้บั๊กก่อนจึงรับโค้ดเข้ามาได้
Fedora 20 ยังรองรับการทำงานบนกลุ่มเมฆเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่ง โดยจะมีอิมเมจของ EC2 และ OpenStack มาให้
ช่วงนี้มีงาน Dell World งานใหญ่ประจำปีของ Dell พอดี บริษัทเลยอาศัยเวทีนี้ประกาศข่าวความเคลื่อนไหวด้าน cloud computing ชุดใหญ่ดังนี้ครับ
ลินุกซ์ระดับองค์กรอย่าง Red Hat Enterprise Linux หรือ RHEL นั้นกว่าจะปล่อยรุ่นใหม่กันแต่ละรอบมักใช้เวลาหลายปี RHEL 6 เปิดตัวรุ่นแรกในปี 2011 ตอนนี้รุ่นเบต้าของ RHEL 7 ก็เปิดให้ดาวน์โหลดกันแล้ว
RHEL 7 จะพัฒนาต่อจาก Fedora 19 ใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 3.10 โดยเน้นการเป็นระบบปฎิบัติการสำหรับกลุ่มเมฆ เช่น การรองรับ Docker ในตัว สามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับ container แต่ละชุด และแยกส่วนความปลอดภัยออกจากกัน ในส่วนระบบไฟล์จะใช้ระบบไฟล์ XFS เป็นค่าเริ่มต้น ทำให้รองรับดิสก์ได้สูงสุด 500TB เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเมื่อต้องทำงานกับเครือข่ายความเร็วสูงระดับ 40Gbps
ผู้ที่ต้องการดาวน์โหลดต้องสมัคร Partner Early Access Program จึงสามารถดาวน์โหลดไปทดสอบได้
เมื่อเดือนที่แล้ว Red Hat จัดงาน Red Hat Summit 2013 ไปมีการเปิดตัวสินค้าหลายตัวที่ตอนนี้นำมาเปิดตัวอีกครั้งในไทยแล้ว
สินค้าสำคัญสองตัวที่เปิดตัวในงานนี้คือ Red Hat Enterprise Linux OpenStack และ Red Hat Cloud infrastructure
บริษัท Red Hat ผู้พัฒนาดิสโทรลินุกซ์รายใหญ่ประกาศว่า Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชันถัดไปจะเปลี่ยนไปใช้ MariaDB เป็นฐานข้อมูลดีฟอลต์แทน MySQL ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
การประกาศในครั้งนี้ก็ตามที่หลายคนได้คาดการณ์ไว้ เนื่องจากโครงการ Fedora ที่ทาง Red Hat ให้การสนับสนุนอยู่ก็ได้เปลี่ยนไปใช้ MariaDB ไปก่อนหน้านี้แล้ว
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็ส่งผลถึงทาง CentOS ที่เป็นเหมือนรุ่นฟรีของ RHEL ก็จะเปลี่ยนไปใช้ MariaDB เป็นฐานข้อมูลดีฟอลต์ด้วยเช่นกัน
หลังๆ มานี้มีแต่ข่าวคนเลิกใช้ MySQL เยอะจริงๆ น่าหนักใจแทนออราเคิลเหมือนกันแฮะ
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นชื่อ Red Hat ในฐานะผู้นำของวงการลินุกซ์ที่ได้ดิบได้ดีจนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐ ถึงแม้ว่าระยะหลัง Red Hat จะขยายธุรกิจออกมาด้านอื่นๆ นอกเหนือจากระบบปฏิบัติการเพียงอย่างเดียว แต่ภาพในใจของเราก็มักมองว่า Red Hat ทำลินุกซ์อยู่ดี
ในโอกาสที่ผู้บริหาร Red Hat มาแถลงข่าวด้านธุรกิจในประเทศไทย (พร้อมกับลูกค้าในไทยคือธนาคารกรุงศรีฯ) ผมเลยไปร่วมคุยเพื่อดูว่าตอนนี้ Red Hat ไปถึงไหนบ้างแล้ว จากบริษัทที่มีต้นกำเนิดจากลินุกซ์ ปัจจุบันทำอะไรอยู่บ้าง
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นชื่อ OpenStack ซอฟต์แวร์สร้างกลุ่มเมฆแบบโอเพนซอร์สที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง มีบริษัทใหญ่ๆ สนับสนุนมากมาย
อย่างไรก็ตาม OpenStack ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ย่อยๆ จำนวนมาก (ซอฟต์แวร์หลัก 7 ตัว และซอฟต์แวร์ย่อยๆ อีกเป็นสิบ - OpenStack Projects) ทำให้กระบวนการติดตั้งระบบ OpenStack ให้ทำงานได้จริงกลายเป็นเรื่องยุ่งยากและต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง
Red Hat ประกาศรับช่วงบทบาทการเป็นผู้นำโครงการ OpenJDK 6 ต่อจากออราเคิล หลังจากออราเคิลหยุดสนับสนุน Java 6 อย่างเป็นทางการเมื่อช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
Red Hat อธิบายว่าหน่วยงานจำนวนมากยังใช้ Java 6 อยู่ (โดยเฉพาะลูกค้า JBoss ของบริษัทเอง) และต้องการสนับสนุน Java 6 ต่อไปผ่านโครงการ OpenJDK ที่เป็นโอเพนซอร์ส (Red Hat มีส่วนกับ OpenJDK มานานแล้ว แต่ไม่ได้เป็นผู้นำโครงการ)
ที่มา - Red Hat
OpenShift เป็นบริการการแพลตฟอร์ม (PaaS) ของ Red Hat ที่ให้บริการแพลตฟอร์มที่หลากหลายตั้งแต่ J2EE, PHP CodeIgnitor, ไปจนถึง Python Django และตอนนี้ก็มี OpenShift Enterprise ให้สร้างบริการบนกลุ่มเมฆภายในองค์กรได้เอง
โดยรวม OpenShift Enterprise คือการจัดชุดซอฟต์แวร์ RHEL, JBoss ที่เป็นแพลตฟอร์มหลัก, และ OpenShift Origin ระบบจัดการหน่วยสภาพแวดล้อมจำกัดสำหรับแพลตฟอร์มที่ Red Hat เรียกว่า Gear
Red Hat เป็นอีกบริษัทที่กำลังจริงจังกับเซิร์ฟเวอร์ ARM 64 บิตมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2)
ตอนนี้มีความคืบหน้าแล้วว่าวิศวกรของ Red Hat กำลังพัฒนา Fedora ให้ทำงานบนสถาปัตยกรรม ARMv8/AArch64 อยู่ โดยเบื้องต้นงานคืบหน้าไปแล้ว 2 ใน 6 ส่วน แต่ยังเป็นการทดสอบกับอีมูเลเตอร์ของ ARMv8 เท่านั้น เพราะฮาร์ดแวร์ตัวจริงจะส่งถึงมือทีม Fedora ช่วงต้นปี 2013
ในส่วนของเคอร์เนลลินุกซ์เอง ก็เคยประกาศไว้ว่าเคอร์เนลรุ่นหน้า 3.7 จะสนับสนุนสถาปัตยกรรม AArch64 เช่นกัน
ช่วงหลังนี้ Red Hat เป็นอีกบริษัทที่ส่งสัญญาณว่ากำลังจริงจังกับแพลตฟอร์ม ARM มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เราเพิ่งเห็นข่าว RedHat กำลังพัฒนา OpenJDK สำหรับ ARMv8 กันไปแล้ว
สำหรับข่าวนี้เกี่ยวข้องกับ ARM อีกเช่นกัน โดย Red Hat ประกาศจับมือกับบริษัท Applied Micro ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ตระกูล ARM ว่าจะร่วมกันผลักดันแพลตฟอร์ม ARMv8 รุ่น 64 บิตในโลกของเซิร์ฟเวอร์ เป้าหมายของ Red Hat คือผลักดันเซิร์ฟเวอร์ ARM ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของศูนย์ข้อมูลนั่นเอง
ในเบื้องต้น Red Hat จะรีบเข็น Fedora 19 รุ่นรองรับสถาปัตยกรรม ARM แบบ 64 บิต (AArch64) ให้เสร็จทันการวางขายฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ARMv8 ในปีหน้า
ซอฟต์แวร์กลุ่มเมฆยอดฮิตอย่าง OpenStack ออกรุ่นใหม่แล้ว โดยรุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า "Essex" (นับเป็นรุ่นที่ห้า วิธีการตั้งชื่อจะเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ออกทุก 6 เดือนแบบ Ubuntu)
ก่อนเข้าข่าวต้องปูพื้นก่อนนิดนึงว่า ผลิตภัณฑ์หลักของ Red Hat ในตอนนี้คือ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ซึ่งเปิดซอร์สโค้ด แต่ไม่แจกไบนารี (ดังนั้นถ้าอยากได้อัพเดตก็ต้องเสียเงินค่า subscription/support)
เมื่อ RHEL เปิดซอร์สโค้ด ก็มีองค์กรหลายแห่งเอาซอร์สไปทำดิสโทรของตัวเอง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ CentOS (ฟรีทั้งหมดแต่อัพเดตช้าหน่อย)
ฝั่งของ Oracle ก็มี Oracle Linux ที่นำซอร์สโค้ดของ RHEL มาปรับแต่งให้เหมาะกับการรันแอพพลิเคชันของตัวเอง (แต่การทำงานข้างในยังเหมือน RHEL เกือบทั้งหมด) และใช้วิธีขาย subscription/support เหมือนกัน ซึ่งก็ถือว่าเจาะตลาดของ Red Hat ไปบางส่วน (โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยากรัน Oracle 11g บน RHEL ก็หันมาใช้ Oracle Linux แทนจะดีกว่า)
คดีระหว่างออราเคิลและเอชพียังคงอยู่ในช่วงของการค้นหาความจริงก่อนการพิจารณาคดี แต่ในภาพของคนภายนอกช่วงเวลานี้กลับกลายเป็นช่วงเวลาของการ "แฉรายวัน" ที่ทางออราเคิลหาประเด็นใหม่ๆ มาใส่ในเอกสารคดีได้เรื่อยๆ ล่าสุดก็มีสองประเด็นสำคัญคือ การขอข้อมูลจากอีกสองบริษัทคือไมโครซอฟท์และเรดแฮต และการระบุว่าเอชพีสัญญาจะจ่ายเงินอินเทลไปถึง 690 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2009 เพื่อยืดอายุการซัพพอร์ตชิป Itanium ไปจนถึงปี 2017