ย้อนไปเมื่อปี 2015 มีการก่อตั้ง OpenAI เป็นบริษัทวิจัยแบบไม่หวังผลกำไร ที่ก่อตั้งโดย Elon Musk และ Sam Altman ซีอีโอ Y Combinator (แต่เพิ่งประกาศลาออกไม่กี่วันก่อนหน้า) เป้าหมายคือการวิจัยงานด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อให้เป็นสมบัติของมนุษยชาติ มุ่งหวังทดแทนงานของมนุษย์ทั่วไปและให้เกิดประโยชน์สูงสุด แตกต่างจากการวิจัยของบริษัทใหญ่ที่เน้นทำกำไรจากงานวิจัย โดยได้ผู้สนับสนุนเงินลงทุนช่วงแรก 1,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม OpenAI ยอมรับว่าเงินเท่านี้คงไม่พอจึงต้องหาทางแก้ไข
รายงานเว็บที่เก็บรหัสผ่านโดยไม่เข้ารหัส (plaintext) นั้นมักมีรายงานเป็นระยะเมื่อมีเว็บใหญ่ๆ ที่มีความสำคัญ ถูกพบว่าเก็บรหัสผ่านอย่างไม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตามรายงานการศึกษาจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัย Bonn ในเยอรมันพบว่าตัวแปรสำคัญคือผู้ว่าจ้างร้องขอให้โปรแกรมเมอร์เก็บรหัสผ่านให้ปลอดภัย
การศึกษานี้ทีมงานแสดงตัวเป็นสตาร์ตอัพจ้างโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ 43 รายให้ทำเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยแบ่งกลุ่มใน 2 เงื่อนไข คือ อัตราค่าจ้าง 100 ยูโรหรือ 200 ยูโร และการแจ้งเงื่อนไขว่าต้องเก็บรหัสผ่านให้ปลอดภัยหรือไม่บอก
รายงานจาก Edison Research พบว่า Facebook สูญเสียฐานผู้ใช้งานในสหรัฐฯ 15 ล้านคน นับตั้งแต่ปี 2017 จนถึงปัจจุบัน โดยช่วงอายุคนที่เลิกใช้งานมากที่สุดอยู่ในกลุ่ม 12-34 ปี
บ่อยครั้งที่มีข่าวเรื่องความรุนแรงของเด็ก เรามักจะพบเห็นคอมเม้นท์ที่โยงว่าพฤติกรรมก้าวร้าวดังกล่าวเกิดจากการเล่นเกมที่รุนแรงแทบทุกครั้งไป ล่าสุดงานวิจัยที่มหาวิทยาลัย Oxford และ Cariff ทำร่วมกันได้ชี้ว่า ไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่าความรุนแรงของเกม จะส่งผลต่อพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของเด็กแต่อย่างใด
งานวิจัยนี้ได้ทำกับวัยรุ่นอายุราว 14-15 ปีและพ่อแม่ รวมกันทั้งหมด 1,000 คน ขณะที่คำถามก็มีระยะเวลาที่เล่น, เล่นเกมประเภทไหน, เรตติ้งเกม, รู้สึกว่าตัวเองหรือลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นหลังเล่นหรือไม่ เป็นต้น โดยพบว่าเด็กผู้ชายกว่า 2 ใน 3 และผู้หญิงราว 50% ที่ทำแบบสอบถามระบุว่าตัวเองเล่นเกม ขณะที่การวิเคราะห์ ทีมวิจัยเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์แบบถดถอย (regressive analysis)
บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ RSA ทำการสำรวจความคิดเห็นคนสหรัฐฯและยุโรป 6,000 คน ถึงประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประมวลผลต่างๆ ทั้งโฆษณาเจาะกลุ่ม และการแสดงข้อมูล News Feed ตามความสนใขของแต่ละบุคคล
ผลการสำรวจพบว่า 59% คิดเห็นว่าการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อแสดงผลบนหน้าฟีดของ Facebook, Twitterและโซเชียลประเภทอื่นนั้นเป็นเรื่องผิดจริยธรรม 48% เชื่อว่ามีหนทางที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับบริษัทที่จะนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ มีเพียง 17% เท่านั้นที่เชื่อว่าการนำข้อมูลไปใช้เพื่อการโฆษณานั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสม และ 24% ที่เชื่อว่าการนำข้อมูลไปใช้เพื่อแสดงข้อมูลหน้าฟีดนั้นเป็นเรื่องถูกต้องเหมาะสม
Google ออกรายงานโครงการ bug bouty ประจำปี 2018 โดยแยกโปรแกรมออกเป็นสองอย่างคือการแจกรางวัลเมื่อแจ้งช่องโหว่ และแจกรางวัลให้งานวิจัยความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
ในส่วนของการแจกรางวัลเมื่อแจ้งช่องโหว่ Google ระบุว่า เป้าหมายของโครงการนี้คือเพื่อจูงใจให้นักวิจัยความปลอดภัย รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจมาแจ้งช่องโหว่ให้ Google อุด และมีเงินรางวัลตอบแทนตั้งแต่ 100-200,000 ดอลลาร์ตามความร้ายแรงของช่องโหว่
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเพื่อความเป็นส่วนตัวออกผลสำรวจเรื่องการใช้ฟีเจอร์ Do Not Track หรือ “อย่าตามรอย” เพื่อติดตามการใช้งานฟีเจอร์นี้ โดยทำการสำรวจผู้ใช้สหรัฐฯ 503 คนในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
Do Not Track เป็นฟีเจอร์ที่เบราว์เซอร์จะส่งสัญญาณเพื่อขอความร่วมมือเว็บไซต์และเว็บเซอร์วิสที่ผู้ใช้กำลังเข้าใช้งานว่าผู้ใช้ไม่ต้องการให้ตามรอย แต่เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือ ดังนั้นเว็บไซต์จะทำหรือไม่ก็ได้ ปัจจุบันเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ก็มีฟีเจอร์นี้ทั้งนั้น
งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่าการตีตัวออกห่างจาก Facebook ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น ล่าสุดมีงานวิจัยอีกชิ้นจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ระบุว่า คนที่เลิกเล่น Facebook 1 เดือนนั้นมีความสุขขึ้นจริงๆ
Facebook ร่วมกับ Technical University of Munich สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิจัยจริยธรรม AI ในชื่อตรงไปตรงมาว่า Institute for Ethics in Artificial Intelligence (สถาบันจริยธรรมในปัญญาประดิษฐ์) โดย Facebook สนับสนุนเงินในรอบห้าปีเป็นเงิน 7.5 ล้านดอลลาร์
Facebook ระบุว่า ตัวสถาบันจะดำเนินการวิจัยอย่างอิสระ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึก และให้คำแนะนำแก่อุตสาหกรรม, ผู้ออกกฎหมาย และผู้มีอำนาจตัดสินทั้งภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับจริยธรรม AI และจะสื่อสารในวงกว้างถึงกรอบกำหนดใช้ AI อย่างไม่เกิดปัญหาทางจริยธรรม
Facebook มีวิธีแบ่งประเภทผู้ใช้งานขึ้นอยู่กับความสนใจ เพื่อจะได้นำข้อมูลไปเสนอให้กับผู้ลงโฆษณาเพื่อยิงโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน โดย Facebook มีหน้าเพจ Your ad preferences ให้ผู้ใช้ระบุความสนใจของตัวเอง และยังปิดการตั้งค่าส่วนนี้ได้ด้วย (แต่ก็จะเจอโฆษณาอื่นที่เราไม่สนใจแทน)
ความน่าสนใจคือ ผลวิจัยจากสำนัก Pew พบว่าคนอเมริกันถึง 74% ไม่รู้ว่า Facebook เสนอโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ และไม่รู้ว่า Facebook มีอัลกอริทึมแบบนี้อยู่ด้วย
สำนักข่าว The Korea Herald อ้างอิงข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของซัมซุง ระบุว่าบริษัทเตรียมเปิด Samsung Research หรือศูนย์พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพิ่มอีก 2 แห่งในประเทศสวิสเซอร์แลนด์และเยอรมนีในปีนี้ จากเดิมที่มีอยู่ 7 แห่งทั่วโลก ซึ่งสาเหตุของการเปิดศูนย์ในหลายประเทศเป็นเพราะเรื่องของการแข่งขันจ้างงาน
ก่อนหน้านี้ซัมซุงเคยประกาศแผนว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในสาขาต่างๆ อย่างน้อย 1,000 คน ภายในปี 2020 พร้อมกับเปิดศูนย์วิจัย ซึ่งปีที่ผ่านมาซัมซุงเปิดศูนย์วิจัย 6 แห่ง ได้แก่ Silicon Valley, Cambridge, Toronto, Moscow, New York และ Montreal โดยมีสำนักงานใหญ่สำหรับงานวิจัยตั้งอยู่ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
นักวิจัยจากมหาิทยาลัย New York และ Princeton ทำงานวิจัยเผยให้รู้ว่า คนอเมริกันที่แชร์ข่าวปลอม ส่วนใหญ่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
งานวิจัยตีพิมพ์ใน Science Advance เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้งาน Facebook ในช่วงหลายเดือนก่อนและหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 โดยช่วงต้นปีนักวิจัยเริ่มทำงานกับบริษัทวิจัย YouGov เพื่อรวบรวมผู้คนให้ได้จำนวน 3,500 คน (มีทั้งคนที่ใช้และไม่ใช้ Facebook)
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและกูเกิลรายงานถึงการใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ CycleGAN เพื่อสร้างโมเดลที่แปลงภาพถ่ายทางอากาศมาเป็นแผนที่โดยอัตโนมัติ แต่ปรากฎว่าโมเดลที่ได้กลับพยายาม "ซ่อน" ข้อมูลภาพถ่ายที่มองไม่เห็นเอาไว้ในแผนที่ เพื่อให้แปลงแผนที่กลับมาเป็นภาพถ่ายได้อย่างแม่นยำ
CycleGAN เป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกเสนอเมื่อปี 2017 โดยเสนอว่าแทนที่จะสร้างปัญญาประดิษฐ์สำหรับแปลงข้อมูลทางเดียว เช่นโมเดลแปลงภาพม้าเป็นภาพม้าลาย ก็ให้สร้างโมเดลที่แปลงภาพกลับ จากม้าลายเป็นภาพม้า วนกลับมาเป็นวงกลม แนวทางนี้ทำให้สามารถสร้างภาพโดยไม่ต้องมีภาพที่คู่กันเป็นเฉลยไว้ล่วงหน้า มีเพียงภาพแต่ละประเภทก็เพียงพอ (unpaired training data)
การสำรวจจัดทำโดยกระทรวงศึกษาธิการวัฒนธรรมกีฬาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น พบว่าจำนวนนักเรียนที่มีวิสัยทัศน์สายตาต่ำกว่ามาตรฐานมีมากที่สุดเท่าที่เคยทำการสำรวจมา คือมีจำนวนมากถึง 25.3% จากนักเรียนทั้งหมด 3.4 ล้านคน โดยกระทรวงฯ คาดว่าเป็นเพราะสมาร์ทโฟน เกม
มีงานวิจัยน่าสนใจ โดยนักวิจัยทดลองให้คนมาประมูลเงินรางวัลให้คนเลิกใช้ Facebook ผลปรากฏว่าการจะทำให้คนๆ หนึ่ง เลิกใช้ Facebook สัก 1 ปี ต้องจ่ายถึง 1,000 ดอลลาร์หรือกว่า 3 หมื่นบาทเลยทีเดียว
Google เผยผลสำรวจที่จัดทำขึ้นระหว่าง Google กับ TNS เพื่อจับพฤติกรรมการซื้อรถยนต์ของคนไทย 503 คนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า คนเข้าดูเว็บไซต์ของแบรนด์รถมากขึ้น และใช้วิดีโอออนไลน์ทั้งจากแบรนด์และรีวิวของคนทั่วไปเป็นสื่อหลักประกอบการตัดสินใจซื้อ
ตั้งแต่งาน Google I/O 2018 กูเกิลเปิดตัวโครงการวิจัยที่ใช้ AI วิเคราะห์อาการเบาหวานขึ้นตา ด้วยการใช้ AI อ่านภาพถ่ายนัยน์ตาและวิเคราะห์ว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และเปิดเผยในภายหลังว่าจะทำวิจัยในประเทศไทยด้วย
วันนี้กูเกิลแถลงข่าวประกาศความร่วมมือกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยในพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกทั่วประเทศ
NIPS (Neural Information Processing Systems) งานประชุมวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ (machine learning) ประกาศเปลี่ยนชื่อย่อเป็น NeurIPS หลังจากชื่อเดิม คล้องจองกับทั้ง nipple ที่แปลว่าหัวนม (อีกความหมายหนึ่ง nip ที่เป็นคำเรียกคนญี่ปุ่นแบบเหยียด)
NeurIPS เป็นงานประชุมวิชาการที่สำคัญอันดับต้นๆ ของโลก ทุกปีจะมีงานวิจัยจำนวนมากจากบริษัทชั้นนำ เช่น กูเกิล, ไมโครซอฟท์, หรือ DeepMind ส่งงานวิจัยเข้าร่วม ความนิยมของงานประชุมนี้สูงถึงขั้นที่บัตรร่วมงานในปีนี้ขายหมดในเวลาเพียง 11 นาที 38 วินาทีเท่านั้น
ไมโครซอฟท์ร่วมกับ Intel และ Techaisle บริษัทวิจัยตลาดไอทีในกลุ่ม SMB (Small/Medium Business) เผยงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบและค่าใช้จ่ายในการใช้งานพีซีที่มีอายุมากกว่า 4 ปีของ SMB ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าการซื้อเครื่องใหม่ ไม่รวมผลกระทบด้านความปลอดภัยที่จะตามมาด้วย
งานวิจัยนี้สำรวจจากบริษัท SMB กว่า 2,156 บริษัทใน 5 ประเทศได้แก่ออสเตรเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้และญี่ปุ่น และพบว่าต้นทุนในการใช้งานพีซีที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปอยู่ที่ราวว 2,736 เหรียญต่อเครื่อง (ราว 90,000 บาท) ซึ่งสูงกว่าการซื้อเครื่องใหม่ 2-3 เท่า โดยต้นทุนเหล่านี้มาจากการคำนวนค่าซ่อม ค่าบำรุงรักษาและค่าเสียโอกาสในการทำงาน (lost productivity cost) รวมกัน
Vocalize.ai ทำการทดสอบผู้ช่วยลำโพงอัจฉริยะทั้งสามรุ่นคือ Amazon Echo, HomePod, Google Home ว่ารับคำสั่งเสียงภาษาอังกฤษในสำเนียงอินเดีย สำเนียงจีน และสำเนียงอเมริกัน ได้มากขนาดไหน ผลคือ Google Home ทำได้ดีที่สุด
กูเกิลมีทีมด้าน AI อยู่หลายทีม ที่รู้จักกันกว้างขวางหน่อยคือ DeepMind ที่แยกเป็นบริษัทลูกไปเลย หรือ Google Brain ที่มีผลงานวิจัยออกมาบ่อยครั้ง (เช่น ระบบแปลภาษาตัวใหม่ของ Google Translate)
อีกทีมที่เราได้เห็นผลงานกันบ่อยๆ (แต่อาจไม่รู้จักชื่อทีม) คือ Cloud AI ที่เน้นการสร้างบริการ AI หลายตัวให้คนทั่วไปใช้งานผ่านคลาวด์
GSMA สมาคมของโอเปอเรเตอร์และผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เผยรายงานเรื่องการส่งข้อมูลข้ามพรมแดน หรือ Regional Privacy Frameworks and Cross-Border Data Flows ระบุว่าการปล่อยให้ข้อมูลไหลเวียนอย่างเป็นอิสระ จะช่วยเพิ่มจีดีพีโตขึ้น 10.1% คิดเป็นมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานและบริการใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศยังมีการจำกัดการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนด้วยเหตุผลหลายอย่าง ได้แก่ กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, กังวลเรื่องการสอดแนมจากต่างชาติ และ ความมั่นคงของชาติ
ผลวิจัยใหม่จากสำนักวิจัย Pew Research Center เผย คนสหรัฐฯ 42% กำลังอยู่ระหว่างห่างกันสักพักกับ Facebook และอีก 26% เผยว่าได้ลบแอพทิ้งไปแล้ว
โดยทีมวิจัยได้สอบถามคนสหรัฐฯ อายุ 18 ปีขึ้นไปช่วง 29 พ.ค.-11 มิ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่ Facebook กำลังมีประเด็นเรื่องข้อมูลหลุดกับ Cambridge Analytica ซึ่งสร้างความกังวลเรื่องข้อมูลส่วนให้แก่ผู้ใช้งานทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ใช้เริ่มตระหนักถึงความปลอดภัย และเริ่มเรียนรู้การตั้งค่าความปลอดภัยมากขึ้น
โดยสามพฤติกรรมหลักที่ผู้ใช้ทำหลังจากเกิดประเด็นฉาวคือ ตั้งค่าการใช้งานใหม่ให้ปลอดภัยมากขึ้น 54% ใช้ Facebook น้อยลง 42% และลบแอพออกเลย 26% รวมแล้วมีผู้ให้การสำรวจถึง 74% ที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่อประเด็น Facebook
Blognone สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ทามิยะ โอโนเดระ (Tamiya Onodera) รองผู้อำนวยการและหัวหน้า IBM Q ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มที่กรุงโตเกียว ในประเด็นเรื่อง Quantum Computing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้าใจยาก แต่ได้รับการจับตาอย่างมากว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอันใกล้นี้
โครงการ IBM Q เป็นโครงการที่มีเป้าหมายคือผลักดันให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมไปไกลกว่าแค่การวิจัย และกลายเป็นคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ที่ใช้กันแพร่หลายภายใน 5 ปีข้างหน้า
ดร.ทามิยะ เป็นนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มโตเกียวมายาวนานตั้งแต่ปี 1988 และได้รับการยกย่องให้เป็น IBM Distinguished Engineer มีผลงานวิจัยตีพิมพ์มากมาย (ประวัติบนเว็บไซต์ IBM Research)
นักวิจัยจากเกาหลีพัฒนาลำโพงที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งใสบางเฉียบที่สามารถแปะผิวหนังได้เหมือนกับเทปกาว และยังสามารถปรับปรุงมันใช้งานเป็นแผ่นฟิล์มไมโครโฟนได้ด้วย
ผลงานที่น่าทึ่งนี้เป็นงานวิจัยจาก Ulsan National Institute of Science and Technology (UNIST) ในประเทศเกาหลีใต้ ทีมวิจัยได้พัฒนาแผ่นเยื่อนาโนเมมเบรน โดยแผ่นเยื่อที่ว่านี้มีส่วนประกอบสำคัญคือเส้นลวดที่ทำจากเงินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับนาโนเมตรจัดวางเรียงกันเป็นมุมฉาก ทั้งนี้แผ่นลำโพงที่พัฒนามาได้มีความโปร่งใส อีกทั้งบางและเหนียว มีความยืดหยุ่นดีพอที่จะแปะติดไปกับพื้นผิวที่บิดงอหรือผิวหนังมนุษย์ได้แทบไม่ต่างกับรูปลอกลายน้ำ