นักวิจัยสร้างกระจกตาเทียมด้วยคอลลาเจนจากหนังหมู นำมาทดลองปลูกถ่ายให้อาสาสมัคร 20 ราย ทำให้ผู้รับการปลูกถ่ายได้การมองเห็นกลับคืนมา
งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยสมาชิกทีมวิจัยจากหลายสถาบันใน 3 ประเทศ อันได้แก่สวีเดน, อิหร่าน และอินเดีย โดยมีการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเทียมแล้วเฝ้าติดตามผลหลังการผ่าตัดนาน 2 ปี ก่อนมีการสรุปผลวิจัย
ทีมวิศวกรชีวการแพทย์จาก Purdue University และ National Institute of Agricultural Sciences จากเกาหลีใต้ ร่วมมือกันวิจัยพัฒนาแผ่น QR code แบบกินได้ ใช้สำหรับติดภายในขวดบรรจุเหล้าหรือติดบนเม็ดยา ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อเหล้าหรือผู้ที่จะทานยาสามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่อสแกนตรวจสอบยืนยันได้ว่าเหล้าขวดดังกล่าวหรือยาเม็ดดังกล่าวเป็นของแท้หรือไม่
ในขณะที่สติ๊กเกอร์ป้องกันการปลอมแปลงที่ใช้กันในปัจจุบันนี้สามารถติดลงได้บนกล่องหรือขวดที่เป็นบรรจุภันฑ์ภายนอกเท่านั้น จุดอ่อนประการแรกคือการปลอมแปลง QR code ที่เป็นงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ทั่วไปก็ยังทำได้ไม่ยากนัก ในขณะที่จุดอ่อนอีกประการคือมีความเสี่ยงที่จะพบเหล้าปลอมหรือยาปลอมที่อาศัยการสวมรอยนำเอาสินค้าปลอมมาใส่ในบรรุจภัณฑ์จริงได้
นักวิจัย MIT พัฒนาชุดทดสอบภูมิคุ้มกัน COVID-19 สำหรับให้คนใช้งานทดสอบด้วยตนเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน
ชุดทดสอบนี้เป็นชุดทดสอบแบบ lateral flow test หรืออธิบายอย่างง่ายก็คือมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับชุดทดสอบการติดเชื้อ COVID-19 ที่จะต้องหยดของเหลวที่ผสมกับส่วนผสมทางเคมีลงบนแผ่นทดสอบแล้วรอให้สารละลายซึมไปตามแผ่นทดสอบก่อนจะตรวจดูว่ามีแถบสีปรากฎขึ้นหรือไม่ สิ่งที่แตกต่างกันมีแค่เพียงของเหลวที่ใช้ในการทดสอบภูมิคุ้มกันนี้จะใช้หยดเลือดในการทดสอบ
นักวิจัยจาก University of South Australia พัฒนาเซ็นเซอร์โดยใช้ใยแก้วนำแสงติดผ้าปูเตียงสำหรับปูบนเตียงผู้ป่วย สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของร่างกายผู้ป่วยเพื่อช่วยเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับจากการนอนบนเตียงด้วยท่าทางเดิมเป็นเวลานานเกินไป
ตัวเส้นใยแก้วที่ใช้เป็นเซ็นเซอร์นี้ถูกออกแบบให้ติดตั้งเป็นแนวต่อเนื่องกระจายไปทั่วพื้นที่ของเตียง เมื่อผู้ป่วยนอนบนเตียงที่ติดตั้งชุดเซ็นเซอร์นี้ไว้ แรงกดทับจากน้ำหนักของร่างกายคนจะไปทำให้ใยแก้วเกิดการยืดตัวหรือโค้งงอตามตำแหน่งต่างๆ ที่มีแรงกดทับกระทำกับมัน
นักวิจัยสาธิตการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถไปควบคุมการทำงานของแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอส้มผัสได้ราวกับว่ามี "นิ้วล่องหน" ไปแตะสัมผัสหน้าจอเพื่อใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ อยู่จริง
การสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวทำได้โดยการปล่อยสัญญาณออกจากแผงเสาอากาศที่ถูกติดตั้งซุกซ่อนไว้ในตำแหน่งใกล้หน้าจอของอุปกรณ์เป้าหมาย ซึ่งเทคนิคการโจมตีเพื่อแฮคอุปกรณ์ที่ว่านี้เรียกว่า Intentional Electromagnetic Interference (IEMI) attack
นักวิจัยจากญี่ปุ่นค้นพบว่าหมูสามารถรับเอาออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักได้แทนการหายใจตามปกติทางจมูกและปาก ซึ่งนี่อาจนำไปสู่แนวทางใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ทีมนักวิจัยพบจาก Tokyo Medical and Dental University ได้ทำการทดลองอัดของเหลวที่มีส่วนผสมของออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักผ่านไปยังลำไส้ของหมู ทำให้มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้แม้ไม่มีการหายใจด้วยปอด กล่าวคือร่างกายของหมูสามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านลำไส้
ซึ่งการวิจัยทดลองนี้มาจากการสังเกตธรรมชาติของปลาชนิดหนึ่ง ก่อนจะเริ่มทดลองกับสัตว์ขนาดเล็กอย่างหนู และมาสู่การทดลองกับหมูในงานวิจัยล่าสุด ซึ่งอนาคตก็เตรียมจะทำการทดลองกับร่างกายคนเป็นลำดับถัดไป
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟแล้ว กาแฟสกัดเย็นคือทางเลือกหนึ่งที่ให้ความแตกต่างจากกาแฟดริปแบบร้อน ทั้งกลิ่น, ระดับคาเฟอีน รวมถึงรสชาติ ทว่าปัญหาหนึ่งของการให้ได้มาซึ่งกาแฟสกัดเย็นสักแก้วนั้นคือกระบวนการทำที่ต้องอาศัยเวลานานซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาข้ามวันเลยกว่าจะได้กาแฟที่พร้อมดื่ม
แต่งานวิจัยใหม่จาก Universitat Duisberg Essen มหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมนีอาจเปิดความเป็นไปได้ใหม่ให้กับวงการกาแฟ ด้วยการประยุกต์ใช้เลเซอร์มาทำการสกัดเย็น ช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องใช้ในกระบวนการสกัดเย็นจากนานนับสิบชั่วโมงลงมาเหลือเพียงแค่ไม่กี่นาที
Akamai ผู้ให้บริการ CDN รายใหญ่ ออกรายงานว่าด้วยการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเน้นไปที่บริการเกมออนไลน์ต่าง ๆ พบว่าการโจมตีในช่วง 12 เดือนตั้งแต่พฤษภาคม 2021 ถึงเมษายน 2022 เฉพาะส่วนที่เป็น Web Application มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 167%
สาเหตุที่การโจมตีที่เน้นไปในกลุ่มเกมออนไลน์มีมากขึ้น เนื่องจากบริการเกมย้ายมารันบนคลาวด์มากขึ้น ทำให้เพิ่มจุดที่สามารถโจมตีได้ นอกจากนี้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมเกมก็มีมากขึ้น ทำให้ดึงดูดให้คุ้มต่อการโจมตี
นักวิจัยจาก KAIST พัฒนาหมึกเพนต์ตัวแบบพิเศษที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าและยึดเกาะผิวหนังร่างกายได้ดี โดยมันสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการวาดลายเพื่อใช้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดคลื่นสัญญาณต่างๆ ของร่างกาย ทดแทนการใช้แผ่นวัสดุเซ็นเซอร์มาเกาะติดผิวหนัง
หมึกพิเศษนี้มีส่วนประกอบของโลหะเหลวที่มีแกลเลียม (Ga) เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ผสมกับอนุภาค carbon nanotube โดยหมึกดังกล่าวสามารถใช้งานด้วยการทาลงบนผิวหนังโดยตรงแล้วรอให้แห้งภายในไม่กี่วินาทีก็พร้อมใช้งาน
หนึ่งในโรคที่ทาสแมวรู้จักกันดีคือโรคไข้ขี้แมว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือโรค Toxoplasmosis เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Toxoplasma gondii (T.gondii) ซึ่งนักวิจัยทำการทดลองและตั้งข้อสังเกตว่าเชื้อดังกล่าวอาจมีผลทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีเสน่ห์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น
โรค Toxoplasmosis นั้นพบได้มากในแมวก็จริง แต่ความจริงแล้วสัตว์ฟันแทะและมนุษย์ก็สามารถเป็นโรคนี้เมื่อติดเชื้อ T.gondii ได้เช่นกัน สำหรับคนที่ติดเชื้อนี้นอกเหนือจากอาการเจ็บป่วยอย่างต่อมน้ำเหลืองอักเสบ, ตัวร้อน, ปวดกล้ามเนื้อแล้ว แต่นอกเหนือไปจากนั้นนักวิจัยพบว่ามันยังมีผลทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ติดเชื้อที่เป็นเพศชายเพิ่มสูงขึ้นด้วย อีกทั้งยังพบว่าผู้ติดเชื้อไข้ขี้แมวยังมีลักษณะโครงหน้าที่มีความสมมาตรมากกว่าผู้ไม่ติดเชื้อ
นักวิจัยจาก MIT ได้พัฒนาแผ่นสติ๊กเกอร์แปะผิวหนังเพื่อใช้สำหรับบันทึกภาพอัลตร้าซาวด์ของอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ได้ต่อเนื่องนาน 48 ชั่วโมง
แผ่นสติ๊กเกอร์ดังกล่าวถูกเรียกว่า BAUS (bioadhesive ultrasound) เป็นแผงรับภาพอัลตร้าซาวด์ขนาดเล็กใกล้เคียงกับสแตมป์ (ขนาด 2*3 เซนติเมตร) ในการใช้งานก็เพียงแค่แปะแผ่น BAUS ลงบนผิวหนังในตำแหน่งที่ต้องการบันทึกภาพอัลตร้าซาวด์ของอวัยวะที่อยู่ภายใน และทำการเชื่อมต่อแผ่น BAUS เข้ากับอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อการบันทึกและวิเคราะห์ผล
ทีมวิจัยจาก University of British Columbia (UBC) พัฒนาวัสดุเคลือบผิวชนิดใหม่ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ 99.7% ภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเข้าช่วย
วัสดุเคลือบผิวนี้มีส่วนประกอบของทองแดงและสังกะสี โดยคุณสมบัติพิเศษของมันคือผิวสัมผัสที่มีความขรุขระเล็กในระดับนาโนเมตร ซึ่งความขรุขระของพื้นผิวนี้เองที่จะไปเจาะทำลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดอยู่กับมัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นตายไปเอง
William H. Grover จากภาควิชา Bioengineering มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เสนอ CandyCode แนวทางการแจกหมายเลขประจำตัวให้กับยาทุกเม็ดด้วยการเคลือบน้ำตาลสีระหว่างการผลิต ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ว่าเป็นยาที่ออกมาจากโรงงานจริงหรือไม่
แนวทางการใช้หมายเลขประจำสินค้าเพื่อสืบย้อนกลับไปถึงผู้ผลิตมีมานาน และหลายครั้งผู้ผลิตก็เปิดให้ตรวจสอบสินค้าว่าเป็นของจริงหรือไม่บนตัวกล่อง แต่แนวทางนี้ก็มีข้อจำกัดเพราะบางครั้งผู้ผลิตสินค้าปลอมใช้กล่องจริงที่ใช้แล้ว หรือในกรณียาบางครั้งผู้ซื้อได้รับยาจากร้านยาโดยไม่ได้รับกล่องจากผู้ผลิตโดยตรง ขณะที่ก่อนหน้านี้มีการเสนอให้พิมพ์ QR ลงบนยาทุกเม็ดมาก่อนแล้ว แต่ QR ที่พิมพ์ลงไปมีขนาดเล็กมากจนต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการอ่าน
กูเกิลประกาศในงาน I/O 2022 ว่าจะขยายคุณสมบัติ Real Tone การปรับปรุงภาพถ่ายสีผิวบุคคลให้สมจริงที่สุด ที่เปิดตัวใน Pixel 6 เมื่อปีที่แล้ว ไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นของกูเกิลทั้งหมด
โครงการนี้กูเกิลพัฒนาร่วมกับ Dr. Ellis Monk จาก Harvard ที่ศึกษาข้อมูลรูปแบบสีผิวของบุคคลมากว่า 10 ปี จนได้สเกลสีผิวออกมา 10 เฉด เรียกว่า Monk Skin Tone (MST) ซึ่งกูเกิลพบว่าเหมาะสมในการใช้งานจริงมากกว่ามาตรฐานปัจจุบันที่แบ่งเป็น 6 ระดับหรือ Fitzpatrick Skin Type
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MIT โชว์นวัตกรรมลำโพงที่มีความบางเหมือนกระดาษ แต่สามารถปล่อยเสียงได้ดังไม่แตกต่างจากลำโพงทั่วไป
ตัวลำโพงกระดาษนี้ทำจากวัสดุที่เรียกว่า Piezoelectric พื้นผิวมีลักษณะเหมือนโดมขนาดเล็กๆ ทำหน้าที่คอยสั่นเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า และสั่นไหวอากาศที่อยู่ด้านบนโดมลักษณะเดียวกับการปล่อยเสียงของลำโพง
ตัวแผ่น Piezoelectric มีความหนาเพียง 8 ไมครอน และมีแผ่นฟิล์มพลาสติก PET ประกบหน้าหลัง โดยฟิล์มด้านหน้าจะมีรูเล็กๆ ให้โดมที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงสั่นไหวได้อิสระ ส่วนฟิล์มด้านหลังมีหน้าที่เป็นพื้นผิวป้องกันแผ่น Piezoelectric กับพื้นผิวอื้นๆ เช่นกำแพง
ACM หรือ Association for Computer Machinery ประกาศเปิดฐานข้อมูลบทความ 50 ปีแรกที่ก่อตั้ง หรือบทความที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1951 จนถึงสิ้นปี 2000 ให้อ่านได้ฟรี รวม 117,500 บทความ นอกจากตัวบทความแล้ว ยังเปิดข้อมูลอื่นๆ เช่น ชุดข้อมูล, ซอฟต์แวร์, สไลด์นำเสนอ, และบันทึกนำเสนอออกมาพร้อมกัน
Gabriel Kotsis ประธาน ACM ระบุว่าการเปิดฐานข้อมูลครั้งนี้เป็นการเตรียมการเพื่อปรับให้ ACM กลายเป็นแหล่งตีพิมพ์บทความวิชาการแบบ open access ให้อ่านได้ฟรีในอนาคตภายในห้าปีข้างหน้า
โปรแกรมจัดการการอ้างอิงงานวิจัยฟรี Zotero ออกเวอร์ชั่น 6 ฟีเจอร์สำคัญคือสามารถอ่าน PDF ได้ในตัวแทนที่จะจัดการการอ้างอิงอย่างเดียว พร้อมกับการไฮไลต์ หรือการจดโน้ตลงงานวิจัยเพิ่มเติม
ทาง Zotero ยังออกแอป iOS ออกมาพร้อมกัน ทำให้สามารถอ่านและไฮไลต์งานวิจัยบนโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต และซิงก์กลับมายังเวอร์ชั่นเดสก์ทอป ตัวบริการซิงก์มีพื้นที่ให้ฟรี 300MB และซื้อเพิ่มได้
นอกจากการอ่าน PDF แล้วยังมีฟีเจอร์ย่อยๆ เช่น จดโน้ตโดยอ้างอิงข้อความในงานวิจัย, ใส่ภาพในโน้ต, copy แบบ Markdown, หรือการตรวจคำผิดในภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ
ที่มา - Zotero
งานวิจัยที่ยังไม่ตีพิมพ์ (preprint) ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science) ที่นำคำถามทางจิตวิทยาที่ใช้ประเมินสภาวะซึมเศร้าและติดเหล้าไปลองถาม AI chatbots ชั้นนำต่างๆ
AI ที่เข้ารับการทดสอบมี Blenderbot ของ Facebook, DiabloGPT ของ Microsoft, DialoFlow ของ Wechat และ Plato ของ Baidu การทดสอบพบว่า AI ทั้งหมดมีคะแนน “ความเห็นอกเห็นใจ” ต่ำ รวมถึงตอบคำถามในแบบประเมินเหมือนคนเป็นซึมเศร้าและติดเหล้า โดย Blender และ Plato ทำคะแนนได้แย่กว่าเพื่อน
นักวิจัยประสบความสำเร็จในการใช้อัลกอริทึม ตีความสัญญาณสมองผู้พิการ และแปลออกมาเป็นตัวหนังสือ เพื่อให้ผู้พิการสามารถสื่อสารผ่านตัวหนังสือได้แบบเรียลไทม์
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการต่อยอดจากระบบเชื่อมสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface - BCI) ของ Brown University ที่เรียกว่า BrainGate ฝังเข้าไปในคอร์เท็กซ์สั่งการ (Motor Cortex) ของสมอง ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาด้วยเครือข่ายนิวรอนแบบ RNN (Recurrent Neural Network)
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเพจ Urban Creature เผยแพร่ข่าว ทีมนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน Thai Eco font ลดปริมาณพื้นที่ภายในตัวอักษร ประหยัดหมึกพิมพ์ร้อยละ 30 โดยยังคงความคมชัดไว้ได้ไม่แตกต่างจากเดิม พร้อมจดลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ (มวล.) เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันหน่วยงานราชการในประเทศไทยใช้ฟอนต์ TH Sarabun กันมาก ซึ่งในแต่ละปีหน่วยงานต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหมึกพิมพ์จำนวนมาก ทางทีมวิจัยเกิดแนวคิดในการออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน (Thai Eco font) ลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ได้
ทีมวิจัยจาก University of Applied Sciences Graubünden ในสวิตเซอร์แลนด์ประกาศความสำเร็จใจการคำนวณค่า Pi เป็นทศนิยมจำนวน 62.8 ล้านล้านหลัก ทำลายสถิติเดิมของ Timothy Mullican ที่คำนวณไว้ 50 ล้านล้านหลักเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา
นอกจากการทำลายสถิติโลกแล้ว ทีมวิจัยยังแสดงถึงประสิทธิภาพของอัลกอริธึม โดยการทำลายสถิติการคำนวณค่า Pi เมื่อปี 2019 กูเกิลทำไว้ที่ 31.4 ล้านล้านตำแหน่ง แต่ใช้คลัสเตอร์เครื่อง n1-standard-16 ถึง 24 เครื่อง ร่วมกับเครื่องแม่ n1-megamem-96 อีกหนึ่งเครื่อง รันนาน 112 วัน ขณะที่ Mullican นั้นรันนานกว่า 300 วันแต่ไม่มีข้อมูลว่าใช้ฮาร์ดแวร์อะไรบ้าง
UK Research and Innovation (UKRI) หน่วยงานด้านการให้ทุนวิจัยของสหราชอาณาจักร (เทียบกับบ้านเราคงใกล้เคียงกับ สกว./สกสว.) ประกาศนโยบายใหม่ว่า งานวิจัยที่รับทุนจาก UKRI และจะส่งเผยแพร่หลังจากเดือนเมษายน 2022 เป็นต้นไป จะต้องเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่ต้องเสียเงิน (open access) รวมถึงใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons
นโยบาย open access ถูกนำมาใช้แก้ปัญหางานวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารที่ต้องเป็นสมาชิกแบบเสียเงินถึงจะอ่านได้เท่านั้น ทำให้การต่อยอดงานวิจัยทำได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นงานวิจัยที่ได้รับเงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว ทำให้หน่วยงานอย่าง UKRI ออกมากำหนดนโยบายเรื่อง open access สำหรับงานที่ต้องการรับทุน
Mayflower เป็นชื่อของเรือที่ขนผู้อพยพชาวอังกฤษไปยังทวีปอเมริกาในปี 1620 จนสามารถตั้งเป็นอาณานิคมแห่งแรกๆ ในอเมริกา (และเป็นต้นกำเนิดของเทศกาลขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐอเมริกา)
เวลาผ่านมา 400 ปี ในยุคของยานพาหนะไร้คนขับ IBM ร่วมกับองค์กรวิจัยทางทะเล ProMare จึงสร้างเรือ Mayflower Autonomous Ship (MAS) ขึ้นมาในปี 2020 และหลังจากทดสอบในทะเลจริงมาหลายเดือน เรือ MAS ก็พร้อมจะเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ตามเส้นทางของเรือ Matflower ต้นฉบับแล้ว แต่รอบนี้ไม่ต้องมีมนุษย์อยู่บนเรือเลย
ปัจจุบันระบบจดจำใบหน้ามีการใช้งานทั้งในแง่ความสะดวกสบายอย่างการสแกนใบหน้าเพื่อทำธุรกรรมและการยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยในการทำกิจกรรมต่างๆ บนออนไลน์ ระบบจดจำใบหน้ายังถูกใช้งานในแง่ความมั่นคงและสอดส่องประชาชนด้วย
ล่าสุดเว็บไซต์ Motherbord ออกรายงานพบว่าตอนนี้หลายๆ บริษัทเทคโนโลยีกำลังวิจัยพัฒนาระบบอ่านริมฝีปาก เริ่มจาก Liopa เป็นสตาร์ทอัพในไอร์แลนด์ พัฒนาแอปพลิเคชั่น SRAVI (Speech Recognition App for the Voice Impaired) เป็นแอปอ่านปากเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ในกรณีที่คนไข้ต้องการอะไรบางอย่างแต่ไม่สามารถเปฃ่งเสียงพูดออกมาได้ ก็สามารถใช้แอป SRAVI ช่วยอ่านริมฝีปากคนไข้ โดยขณะนี้ SRAVI กำลังอยู่ในขั้นตอนขอใบรับรองเป็นหนึ่งในอุปกรณ์การแพทย์
Facebook เตรียมเปิดตัว Researcher API เปิดทางนักวิจัยศึกษาพฤติกรรมหรือสำรวจความคิดเห็นของคน กลุ่ม หรือเพจสาธารณะจากแพลตฟอร์ม Facebook ที่เปิดสาธารณะได้ง่ายขึ้น เตรียมเปิดตัวในปีนี้
โดย API ใหม่นี้ช่วยให้นักวิจัยที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เข้ามาศึกษากิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงข้อความโพสต์ของผู้ใช้งาน ซึ่ง Facebook ระบุว่าจะแสดงชื่อเป็น anonymous ซ่อน username เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว นักวิจัยยังสามารถเข้าถึงตัวชี้วัดผู้ติดตามและสถิติการมีส่วนร่วมสำหรับกลุ่ม เหตุการณ์ และเพจต่างๆ ได้ด้วย