กระแสเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ยังคงเป็นกระแสที่เริ่มได้รับความสนใจจากแบรนด์หลักอย่าง Dell เมื่อมีการเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล Dell PowerEdge C ที่สามารถรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กได้ 12 เครื่องในตัวถังขนาด 3U
เครื่องที่เปิดตัวมาชุดแรกมีสองรุ่นคือ C5125 ที่ใช้ซีพียู AMD และ C5220 ที่ใช้ซีพียูอินเทล โดยเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวจะรองรับ UDIMMS 4 ช่อง, ฮาร์ดดิสก์แบบ 3.5" 2 ลูกหรือ 2.5" 4 ลูก, และพอร์ตแลนกิกะบิต 2 พอร์ต, พร้อมกับระบบจัดการเครีื่องแบบ IPMI และ iKVM
ตระกูล C5000 เป็นรุ่นที่สามของ PowerEdge C โดยแนวคิดคือการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับซีพียูซ๊อกเก็ตเดียวและบีบขนาดให้เล็กที่สุด แล้วออกแบบตัวถังให้แชร์ระบบระบายความร้อนและระบบจ่ายพลังงานร่วมกัน
กระแสตอบรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมาก (micro server) นั้นเกิดขึ้นมากในต่างประเทศโดยเฉพาะจีน จนโดยตอนนี้ตลาดหลักมักใช้ชิป Atom ทั้งที่ตัวมันเองไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ จนกระทั่ง ARM เตรียมวางตลาดชิป ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์เข้ามาชิงส่วนแบ่ง ล่าสุดอินเทลเองก็เริ่มส่งสัญญาณว่าอินเทลจะลงมายังตลาดนี้ด้วย
Boyd Davis ผู้จัดการทั่วไปของกลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) ระบุว่าตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการชิปพลังงานต่ำมากนั้นเป็นตลาดเฉพาะทางที่มีขนาดใหญ่ถึง 10% ของตลาดรวม และอินเทลจะส่งชิปทั้ง Xeon และ Atom เข้ามาเติมช่องว่างในส่วนนี้
ข้อดีของ ARM ที่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องที่ ARM นั้นขาย "พิมพ์เขียว" ให้บริษัทอื่นๆ นำไปแก้ไขกันได้ตามใจชอบ และบริษัทหน้าใหม่อย่าง Calxeda ก็ซื้อพิมพ์เขียวของ ARM ไปออกแบบชิปรุ่นใหม่ ที่สามารถต่อเข้าด้วยกันได้ถึง 120 ตัวในเมนบอร์เดียว
ชิปที่ Calxeda ใช้นั้นเป็น ARM Cortex-A9 แบบ 4 คอร์ ทำให้คอร์ทั้งหมดใส่ได้สูงสุด 480 คอร์ โดยขนาดเครื่องจะอยู่ในช่องเซิร์ฟเวอร์เพียง 2U เท่านั้น โดยความพิเศษของชิปจาก Calxeda คือส่วนสื่อสารระหว่างซีพียูที่เพิ่มเข้ามา ทำให้ Cortex-A9 ซึ่งปรกติมีข้อจำกัดอยู่ที่ 4 คอร์ในชิปเดียว สามารถสื่อสารข้ามชิปกันได้
บริษัทเซิร์ฟเวอร์เล็กๆ อย่าง SeaMicro กำลังอาศัยความสามารถในการรับแรมที่เพิ่มขึ้นของ Atom N570 ตัวใหม่ที่รับแรมได้ถึง 4GB จากเดิมจำกัดอยู่เพียง 2GB ทำให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์กว่าเดิม
เครื่อง SM10000-64 รองรับ Atom N570 จำนวน 256 ตัวแต่ละตัวสามารถใส่แรมได้ 4GB โดยภายในแบ่งเป็นการ์ดจำนวน 64 ใบแต่ละใบใส่ Atom ไว้ 4 ตัว ตัวบอร์ดมี Atom, แรม, และชิปเฉพาะของ SeaMicro เอง
ทาง SeaMicro ระบุว่าเครื่อง SM10000-64 ใช้พลังงานรวมน้อยกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปร้อยละ 75 ขณะที่สามารถติดตั้งได้ถึง 2048 คอร์ต่อตู้
ทิศทางที่ ARM จะขึ้นมาบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์นั้นค่อนข้างชัดเจนในช่วงปีที่ผ่านมา นับแต่ ARM Cortex สามารถฝ่ากำแพง 1GHz ขึ้นมาได้ทำให้หลายคนถามว่าถ้าใช้ชิป ARM ทำเซิร์ฟเวอร์จะสามารถประหยัดไฟฟ้าไปได้เพียงใด ทาง ARM เองก็ยืนยันหลายครั้งว่าจะมีสินค้าระดับเซิร์ฟเวอร์ออกมาในเร็ววันนี้ ล่าสุด Warren East ซีอีโอของ ARM ก็ออกมาระบุว่า ARM น่าจะมีส่วนแบ่งในตลาดนี้อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2012 ไป
ผลิตภัณฑ์สายเซิร์ฟเวอร์องค์กรของไมโครซอฟท์นั้นมี Office Communication Server สำหรับการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรอยู่ด้วย ตอนนี้เวอร์ชันล่าสุดคือ 2007 R2 ออกเมื่อปี 2009 (ชื่อก่อนหน้านี้คือ Live Communications Server)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้รีแบรนด์ Office Communication Server ใหม่อีกรอบ โดยใช้ชื่อว่า "Lync" (อ่านว่า "ลิงค์") และออกรุ่นแรกใต้ชื่อใหม่ Lync Server 2010 แล้ว
Lync Server 2010 สามารถทำงานได้กับ client สองตัวคือ Microsoft Lync (เฉยๆ ไม่มีชื่อเซิร์ฟเวอร์ห้อยท้าย) กับ Windows Live Messenger แต่ตัวหลังจะทำงานได้ไม่เต็มรูปแบบนัก
บ้านเราอาจจะไม่ค่อยมีคนใช้เสียเท่าไหร่ แต่วันนี้แอปเปิลก็ได้ออกมาประกาศว่าจะหยุดทำการผลิตและจำหน่าย Server ตระกูล Xserve ในวันที่ 31 มกราคม ปีหน้าครับ
ทางแอปเปิลนั้นไม่ได้ให้เหตุผลใดๆ ว่าทำไมถึงจะเลิกจำหน่าย โดยแอปเปิลนั้นแนะนำให้ผู้ดูแลระบบเปลี่ยนไปใช้ Mac Pro หรือ Mac mini ที่มาพร้อมกับ Snow Leopard Server แทน (สามารถดูตารางเปรียบเทียบได้จากที่มา) ซึ่งแอปเปิลได้อัพเกรดสเปคของ Mac Pro ให้ทันสมัยขึ้นด้วยการเพิ่มแรมขึ้นเป็น 8GB และสนับสนุนไดรว์แบบ RAID แต่อย่างไรก็ดีมีผู้ได้ให้ข้อสังเกตว่า Mac Pro นั้นมีขนาดเครื่องใหญ่เกินไปสำหรับการทำเป็น Server ในขณะที่ Mac mini ก็มีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด
หลังจากที่ผู้บริหารของ ARM เริ่มพูดถึงเซิร์ฟเวอร์เพียงสองสัปดาห์ ก็เริ่มมีข่าวว่าสองผู้ผลิตคือเดลล์และไอบีเอ็ม กำลังทดสอบและดูความเป็นไปได้ที่จะทำตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป ARM
สำหรับเดลล์, นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใจอะไรโดยก่อนหน้านี้เดลล์เคยทำตลาดเครื่อง Dell DCS ที่ผลิตให้กับศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งเป็นพิเศษ โดยศูนย์ข้อมูลนั้นใช้ซีพียู VIA Nano ถึงห้าพันชุด และในข่าวนี้เองทางเดลล์ก็ออกมาให้ข่าวว่าบริษัทได้ทดสอบการทำงานของชุดซอฟต์แวร์ LAMP บนชิป ARM Cortex A8 แล้ว และเตรียมจะทดสอบกับ Cortex A9 ที่ Marvell กำลังจะวางตลาด
อินเทลทุ่มทรัพยากรมหาศาลเพื่อนำสถาปัตยกรรม x86 ลงมาบุกตลาดโทรศัพท์มือถือ (ข่าวเก่า) แล้วทำไมเจ้าตลาดโทรศัพท์อย่าง ARM จะไม่บุกตลาดเซิร์ฟเวอร์กลับ ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสแรก Warren East ซีอีโอของ ARM ก็ให้ข่าวว่าเขาคิดว่าเซิร์ฟเวอร์ ARM จะเริ่มบุกตลาดในอีก 12 เดือนข้างหน้า
แม้ว่า ARM จะขายเพียงแบบพิมพ์เขียวของซีพียูโดยไม่ได้ขายตัวบอร์ด และชิปเหมือนอินเทล แต่จากสถาปัตยกรรมของ Cortex A9 ก็ชัดเจนว่า ARM วางหมากให้มีการใช้สถาปัตยกรรม ARM บนเซิร์ฟเวอร์ จากการรองรับ 4 คอร์ในชิปเดียวและสัญญาญนาฬิกาที่รองรับสูงสุดถึง 2GHz
AMD ได้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์แบบใช้พลังงานต่ำเพื่อใช้ต่อกรกับอินเทลบ้างแล้ว โดยแพลตฟอร์มนี้มีชื่อว่า Adelaide มีรายละเอียดสำคัญๆ ดังนี้
กระแสการใช้ซีพียูความเร็วต่ำจำนวนมากในเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวนั้นเริ่มมาจากโครงการ Molecule ของบริษัท SGI แต่ก็เงียบไปเนื่องจากฐานะทางการเงินของบริษัทที่ย่ำแย่ แต่ล่าสุดทางเดลล์ก็เตรียมจะวางตลาดเซิร์ฟเวอร์แบบเดียวกันในชื่อว่า Dell DCS
Dell DCS นั้นเป็นการออกแบบเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นโมดูลขนาดเล็กพอๆ กับดิสก์ 3.5 นิ้ว ทำให้ตัวถังขนาด 2U นั้นสามารถใส่เครื่องได้ถึง 12 เครื่อง
ตัวเครื่องแต่ละเครื่องนั้นมีสเปคดังนี้
หลังจากที่ Apple ได้ปิด Online Store ไปแปปนึง ตอนนี้ ก็ได้กลับมาออนไลน์แล้ว พร้อมกับการอัพเดตผลิตภัณฑ์สาย Server ที่มีชื่อว่า Xserve
สำหรับรุ่นใหม่นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆที่เห็นได้ชัดอยู่ 2 อย่างก็คือ
1. เปลี่ยนมาใช้ Intel "Nehalem" Xeon ตามที่หลายๆคนคาดการณ์กันไว้ โดย Apple ได้อ้างว่ามันเร็วขึ้นถึงเกือบ 2 เท่าเลยทีเดียว
2. มี Option ให้เลือก SSD สำหรับใช้เป็น System Drive นอกเหนือจาก HDD ปกติ
Xserve นี้ สนนราคาอยู่ที่ $2,999 สำหรับรุ่นปกติที่มี Xeon 2.66Ghz ตัวเดียว และ $3,599.00 สำหรับรุ่นที่มี 2 CPUs
ที่มา - MacRumours
หลังจากครองตลาดเน็ตเวิร์คได้เกือบจะเบ็ดเสร็จ ซิสโก้ก็ประกาศบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างเต็มรูปแบบแล้วในปีนี้ หลังจากส่งสัญญาณมาตั้งแต่สองปีก่อนด้วยการเปิด API ให้นักพัฒนาเข้าพัฒนาซอฟต์แวร์บน IOS ได้
การประกาศครั้งนี้สร้างแรงกระทบให้กับพันธมิตรของซิสโก้เองเช่น ไอบีเอ็มและเอชพีมากพอสมควร โดยไอบีเอ็มนั้นระบุว่าไม่ใช่เรื่องปรกติที่บริษัทไอทีจะเป็นทั้งพันธมิตรและคู่แข่งในเวลาเดียวกัน (ซิสโก้บังคับให้ไอบีเอ็มเลือก???) ส่วนเอชพีนั้นบลั๊ฟทันทีว่าสิ่งที่ซิสโก้ประกาศว่ากำลังจะขายนั้นเอชพีขายอยู่แล้วในวันนี้
ไอบีเอ็มขายสินค้าของซิสโก้ในปีที่แล้วเป็นมูลค่าสองพันล้านดอลลาร์
Gartner รายงานว่ายอดส่งมอบเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 12.2% ในไตรมาสที่สองของปี 2008 โดย IBM, HP, Dell และ Sun ทำยอดขายรวมถึง 13.8 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐ และมีจำนวนถึง 2.3 ล้านเครื่อง
ตามข้อมูลของ Gartner
IBM ทำยอดขายมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 31.2
HP อันดับสองด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 27.6
Dell อันดับสามด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 13
ถึงแม้ว่า Dell มาเป็นอันดับสามแต่เป็นผู้ขายที่มียอดจำหน่ายที่เติบโตเร็วที่สุดโดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 15% ขณะเดียวกัน Sun ขายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ได้มากเป็นลำดับที่สี่ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 11.8% ซึ่งลดลงถึง 7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
เกิดอะไรขึ้นกับขาใหญ่อย่างซัน