ในยุคที่งานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ถูกย้ายขึ้นคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ ยังมีงานบางประเภท โดยเฉพาะซอฟต์แวร์รุ่นเก่าๆ (legacy) บางตัวที่ไม่ได้ออกแบบมาสู่ยุคคลาวด์ ทำให้ย้ายขึ้นคลาวด์ได้ยาก เพราะตัวซอฟต์แวร์ค่อนข้างผูกกับฮาร์ดแวร์อยู่มาก อาจจำเป็นต้องรันบนเครื่องจริงๆ (Bare Metal) เนื่องจากรันใน VM ไม่ได้ด้วยซ้ำ
ที่งาน Mobile World Congress ปีนี้ NVIDIA ประกาศแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ที่จะมุ่งไปยัง Kubernetes เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ธุรกิจอื่นๆ โดยแนวทางนี้มีมาตั้งแต่บริษัทเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ EGX เมื่อเดือนพฤษภาคม แต่ตอนนี้ก็เพิ่มโครงการ NGC-Ready for Edge สำหรับรองรับเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้กับปลายทาง (edge)
NGC-Ready for Edge มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าเซิร์ฟเวอร์ที่จะได้รับการรับรอง ต้องรองรับชิป TPM สำหรับรักษาความปลอดภัยระบบ และมีระบบจัดการจากระยะไกล
ในงาน HUAWEI CONNECT 2019 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Huawei เปิดตัวคอมพิวเตอร์สำหรับเทรน AI ชื่อว่า Atlas โดยมีจุดเด่นที่การใช้หน่วยประมวลผล AI ของตัวเองชื่อ Huawei Ascend (ชื่อเหมือนกับชื่อเดิมของมือถือตระกูล Ascend Mate/P ที่ภายหลังตัดคำว่า Ascend ออก)
Ascend ถือเป็นหนึ่งในหน่วยประมวลผลของ Huawei ตามยุทธศาตร์สร้างชิปเองทุกระดับชั้น ตอนนี้ Huawei มีหน่วยประมวลผลทั้งหมด 4 แบรนด์คือ Kunpeng ซีพียูสำหรับงานทั่วไป, Ascend สำหรับงาน AI, Kirin สำหรับสมาร์ทโฟน และ Honghu สำหรับอุปกรณ์กลุ่มมีจอภาพ (smart screen)
เดือนที่แล้ว AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 2 โดยซีพียูตัวที่แรงที่สุดคือ EPYC 7742 มาพร้อม 64 คอร์ 128 เธร็ด, คล็อค 2.25GHz อัดไปได้ถึง 3.4GHz อัตราการใช้พลังงาน TDP 225 วัตต์
ล่าสุด AMD เปิดตัว EPYC ที่แรงกว่านั้นอีกชั้นคือ EPYC 7H12 ที่ยังเป็น 64 คอร์ 128 เธร็ดเท่าเดิม แต่เพิ่มคล็อคฐานให้สูงขึ้นเป็น 2.6 (คล็อคสูงสุดลดลงเหลือ 3.3GHz) และเพิ่ม TDP เป็น 280 วัตต์
AMD ระบุว่า EPYC 7H12 ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เท่านั้น และต้องใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวถึงจะเอาอยู่ ผลคือ EPYC 7H12 สามารถให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่า EPYC 7742 อีก 11% (วัดจากเบนช์มาร์ค LINPACK)
ช่วงนี้แนวคิด Edge Server หรือการตั้งเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล AI ที่ปลายทาง (แล้วค่อยส่งขึ้นคลาวด์) กำลังมาแรง เราเริ่มเห็นโซลูชันจากหลายๆ บริษัทออกสู่ตลาด เช่น ฮาร์ดแวร์ Coral ของกูเกิล, ซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์, คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมของ Lenovo เป็นต้น
NVIDIA ในฐานะผู้สร้างหน่วยประมวลผลจีพียูสำหรับงาน AI ก็ไม่พลาดสงครามนี้เช่นกัน ล่าสุดเปิดตัว NVIDIA EGX โดยเรียกตัวเองว่าเป็น "GPU Edge Server"
ช่วงหลังเราเห็นชิปเฉพาะทางสำหรับเร่งการประมวลผล AI ออกสู่ตลาดมากขึ้น เช่น TPU ของกูเกิล, โซลูชันของไมโครซอฟท์ที่ใช้ FPGA เข้าช่วย, ชิปสำหรับรถยนต์ไร้คนขับของอินเทล
ล่าสุด Qualcomm เจ้าพ่อชิปมือถือกระโดดลงมาเล่นในตลาดนี้ ด้วยการเปิดตัว Qualcomm Cloud AI 100 ชิปสำหรับประมวลผล AI ในเซิร์ฟเวอร์-ศูนย์ข้อมูล
นักวิจัยจาก Eclypsium บริษัทด้านความปลอดภัยฮาร์ดแวร์รายงานการค้นพบช่องโหว่บนเฟิร์มแวร์ BMC (Baseboard Management Controller) ที่เอาไว้ให้แอดมินติดตามสถานะและสั่งการเครื่องผ่านทางไกลบนเซิร์ฟเวอร์ Bare-Metal โดยช่องโหว่เปิดให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์หรือส่งคำสั่งควบคุมได้ แม้ตัวเซิร์ฟเวอร์จะผ่านการลบข้อมูลของผู้ให้บริการคลาวด์ก่อนส่งต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่อไปให้ลูกค้ารายใหม่ก็ตาม
IDC รายงานภาพรวมของตลาดสินค้าโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure) สำหรับคลาวด์ ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์, สตอเรจระดับองค์กร และสวิตช์อีเธอร์เน็ต ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 พบว่ามีการเติบโต 47.2% จากช่วงเดียวกันในปี 2017 มีรายได้รวมมากกว่า 16,800 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวรวมทั้งการขายอุปกรณ์สำหรับคลาวด์แบบ Public และ Private หากคิดตัวเลขรวมไปถึงระดับผู้ให้บริการคลาวด์ รายได้รวมจะอยู่ที่ 65,200 ล้านดอลลาร์
คลาวด์แบบ Public เป็นรายได้ส่วนใหญ่ของตลาดอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็น 68.8%
เก็บตกข่าว AMD ที่เหลือจากงาน CES 2019 นอกจาก Ryzen Mobile Gen 2, Ryzen Desktop Gen 3, Radeon VII ยังมีซีพียูเซิร์ฟเวอร์ EPYC รุ่นที่สองรหัส "Rome"
AMD เคยโชว์ EPYC "Rome" มารอบหนึ่งแล้วเมื่อปลายปีก่อน มันเป็นการอัพเกรดใหญ่ของ EPYC รุ่นแรก มาใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 และกระบวนการผลิตขนาด 7 นาโนเมตร เช่นเดียวกับ Ryzen Gen 3 ที่จะออกช่วงกลางปีนี้ โดยบริษัทระบุว่ามีประสิทธิภาพต่อซ็อคเก็ตดีขึ้น 2 เท่า, ประสิทธิภาพการประมวลผลทศนิยมดีขึ้น 4 เท่า และยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดียวกับรุ่นก่อน
เรารู้จักซีพียูตระกูล Kirin ของ Huawei ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพา แต่บริษัทก็เพิ่งเปิดตัวซีพียู ARM สำหรับงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ในชื่อว่า Kunpeng 920
สถาปัตยกรรมของ Kunpeng 920 อิงอยู่บน ARMv8 โดย Huawei ออกแบบเพิ่มเติมเอง ชิปมีทั้งหมด 64 คอร์ ใช้คล็อค 2.6GHz, แรม DDR4 8-channel, ใช้กระบวนการผลิตระดับ 7 นาโนเมตร เหมาะสำหรับงานด้าน big data และ distributed storage
จุดเด่นของ Kunpeng 920 ที่ Huawei ชูขึ้นมาคือเรื่องประสิทธิภาพ ได้คะแนนเบนช์มาร์ค SPECint 930 คะแนน สูงกว่าอันดับสองในตอนนี้ถึง 25% และมีอัตราประหยัดพลังงานดีกว่าคู่แข่ง 30% จึงเป็นประโยชน์กับงานประมวลผลในศูนย์ข้อมูล เพราะช่วยลดการใช้พลังงานลง
จากกรณี รายงานจาก Bloomberg เผยจีนฝังชิปบนเมนบอร์ด Supermicro เปิดทางควบคุมเครื่อง ซึ่งทาง Supermicro ก็ออกมาปฏิเสธ
ล่าสุด Supermicro ยังใช้ผู้ตรวจสอบภายนอกบริษัทมาตรวจสอบเรื่องนี้อีกชั้น (เพื่อความเป็นกลาง) โดยตรวจสอบจากบอร์ดหลายรุ่นและหลายช่องทาง ผลคือไม่พบร่องรอยใดๆ ของการถูกฝังชิป
Supermicro บอกว่ากระบวนการของบริษัทใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของซัพพลายเชนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมีพนักงานของบริษัทเข้าไปกำกับกระบวนการผลิตของโรงงานตลอดเวลา จึงอยากให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ารายงานของ Bloomberg ไม่เป็นความจริง
ปีที่แล้ว โลกของ Windows Server มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือไมโครซอฟท์ออก Project Honolulu ตัวจัดการเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บตัวใหม่ และเริ่มทดสอบมาสักระยะหนึ่ง
ล่าสุด Project Honolulu เข้าสถานะ GA (general availability) พร้อมชื่ออย่างเป็นทางการคือ Windows Admin Center
Windows Admin Center สามารถใช้จัดการได้ทั้งพีซีไคลเอนต์ Windows 10, เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Windows Server และเชื่อมต่อกับเครื่องบนคลาวด์ Azure ได้ด้วย ฟีเจอร์ด้านการบริหารจัดการก็มีครบถ้วน รวมถึงมีระบบ Extension สำหรับส่วนขยายจากบริษัทอื่นๆ ด้วย
กูเกิลเปิดตัวโครงการ Agones ไลบรารีสำหรับรันเซิร์เวอร์เกมบนเทคโนโลยีจัดการเซิร์ฟเวอร์สมัยใหม่ Kubernetes
การรันเซิร์ฟเวอร์เกมในปัจจุบันมีความท้าทายในการรองรับผู้เล่นจำนวนมากๆ ที่เข้ามาเล่นเกมพร้อมกัน ในขณะที่ Kubernetes กลายเป็นโซลูชันมาตรฐานของการประมวลผลแบบกระจายในยุคคลาวด์ กูเกิลจึงจับมือกับ Ubisoft พัฒนา Agones เพื่อให้ใช้ Kubernetes รันเซิร์ฟเวอร์เกมได้สะดวกขึ้น
กูเกิลบอกว่าบริษัทขนาดใหญ่ๆ มีเทคนิคในการจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่แตกต่างกันไป และอาจเป็นความลับของแต่ละบริษัท แต่ Agones ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์ส จะช่วยลดภาระของนักพัฒนาเกมในการจัดการคลัสเตอร์ และการขยายเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับปริมาณผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หลายคนอาจไม่ทราบว่าแอปเปิลมีระบบปฏิบัติการ macOS Server (สมัยก่อนคือ Mac OS X Server) ออกคู่กับ macOS มาทุกเวอร์ชัน (ช่วงหลังมีสถานะเป็นแพ็กเกจเสริมของ macOS รุ่นปกติ) แม้ช่วงหลังมันถูกลดความสำคัญลงมาก เนื่องจากความนิยมในการใช้แมคเป็นเซิร์ฟเวอร์น้อยลงมาก เพราะแอปเปิลเลิกขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์มาตั้งแต่ปี 2010
ชะตากรรมของ macOS Server ยิ่งดูน่าสงสารเข้าไปอีก เพราะแอปเปิลประกาศหยุดทำเซอร์วิสสำคัญหลายตัวบน macOS Server เช่น DHCP, DNS, Mail/Calendar/Contacts, VPN, Websites, Wiki และให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สตัวอื่นๆ (เช่น Apache/Nginx/Lighttpd ในกรณีของเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ Bind ในกรณีของ DNS) แทน
ปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกับลินุกซ์ในฐานะของ "ระบบปฏิบัติการ" แต่ล่าสุด ลินุกซ์กำลังจะก้าวข้ามพรมแดนไปอยู่ในเฟิร์มแวร์ตอนบูตเครื่องก่อนเข้าสู่ระบบปฏิบัติการด้วย
มูลนิธิ Linux Foundation เพิ่งเปิดตัวโครงการ LinuxBoot เพื่อนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้ในเฟิร์มแวร์ของเซิร์ฟเวอร์ ปกติแล้ว เฟิร์มแวร์ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยโค้ดหลายส่วน เช่น ส่วนที่บูตฮาร์ดแวร์ในช่วงแรก (hardware init - UEFI PEI) และส่วนที่เริ่มการทำงานของหน่วยความจำ (memory initialized) ซึ่ง LinuxBoot จะเข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ดส่วนหลัง (UEFI DXE)
ก่อนหน้านี้ Fedora ประกาศแผนว่าจะออก Fedora 27 Server แนวใหม่ที่เรียกว่า Modular Server แยกส่วนการทำงานเป็นโมดูลมากขึ้น
ล่าสุดแผน Fedora 27 Modular Server ถูกพับไว้ชั่วคราว โดยทีมงานเปลี่ยนมาออก Fedora 27 Server แบบดั้งเดิม (เหมือน Fedora 26 Server) แทน การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นแค่การอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น
เหตุผลที่แผน Modular Server ถูกชะลอ เป็นเพราะการทดสอบกับรุ่นเบต้ายังให้ผลลัพธ์ไม่ดีพอ ปัจจัยมาจากตัวซอฟต์แวร์ต้นน้ำเอง ที่บางตัวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการแยกโมดูล ทางทีมงานจึงตัดสินใจกลับไปทำการบ้านมาใหม่ และลองออกแบบแนวทาง Modular ในทางอื่นที่ใช้ได้จริงมากขึ้น
ปีนี้นอกจาก Ryzen แล้ว AMD ยังมี EPYC ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์มาทำตลาดด้วยอีกตัว
ล่าสุด AMD ประกาศเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ EPYC จากผู้ผลิตหลายราย เช่น ASUS, BOXX, EchoStreams, Gigabyte, HPE, Penguin Computing, Supermicro, TYAN โดยมีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไป เช่น เซิร์ฟเวอร์ของ ASUS เน้นตลาด HPC/Virtualization หรือ HPE เน้นที่งานประมวลผลที่ซับซ้อน
นอกจากนี้ยังมีเครื่อง Inventec P47 ที่ใช้ EPYC เป็นซีพียูร่วมกับ Radeon Instinct อีก 4 ตัว ทำสมรรถนะได้ 12.3 TFLOPS ซึ่งถ้าใช้เครื่องนี้ 20 เครื่องก็สามารถอัดขึ้นไปแตะหลัก PetaFLOPS ได้ด้วย ของจะเริ่มวางขายในไตรมาสแรกของปี 2018
Red Hat Enterprise Linux ประกาศรองรับสถาปัตยกรรม ARM อย่างเป็นทางการ ทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ARM มีอนาคตสดใสขึ้น เพราะดิสโทรชื่อดังอย่าง RHEL พร้อมแล้วกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ (เริ่มที่ RHEL 7.4 for ARM)
Red Hat เตรียมพร้อมเรื่อง ARM มาหลายปี และก่อนหน้านี้ Red Hat Enterprise Linux Server for ARM ก็เปิดให้ทดสอบแบบพรีวิวมานานตั้งแต่ปี 2014 โดยมีพาร์ทเนอร์เป็นผู้ผลิตชิปอย่าง Cavium และ Qualcomm
เซิร์ฟเวอร์ ARM รุ่นแรกที่รองรับ RHEL คือ HPE Apollo 70 ซึ่งเปิดตัวในวันนี้เช่นกัน
ยุทธศาสตร์ของ Red Hat คือการขยาย RHEL ให้รองรับสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย นอกจาก x86 ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังจะรองรับสถาปัตยกรรม Power และ z ของ IBM รวมถึง ARM ตามข่าวนี้ด้วย
Nutanix ผู้พัฒนาระบบประมวลผลคลาวด์สำหรับองค์กร โดยมีแนวคิดแบบใหม่ให้การจัดการหลังบ้านทำได้ง่ายมากขึ้น บริษัทได้ผ่านหลักไมล์สำคัญคือเดินจากการเป็นสตาร์ทอัพ ไปสู่การเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อปีที่แล้ว และขยายการบริการจากเซิร์ฟเวอร์ ไปสู่แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับองค์กร
ล่าสุดในงานการประชุม .NEXT ที่สิงคโปร์ Blognone ได้มีโอกาสร่วมฟังและพูดคุยกับผู้บริหารของ Nutanix เพื่อสรุปแนวโน้มและทิศทางของการจัดการระบบประมวลผลของศูนย์ข้อมูลในยุคถัดไป ตลอดจนแนวทางที่ Nutanix ต้องการเป็น โดยเฉพาะแนวคิดมุ่งสู่การเป็น iPhone ของโลกเซิร์ฟเวอร์ นั้นน่าสนใจทีเดียว
ของใหม่อีกอย่างในงาน Oracle OpenWorld 2017 คู่มากับฐานข้อมูล Oracle Database 18c (เลขเวอร์ชันก้าวกระโดดอย่างลึกลับ) คือเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล Oracle Exadata รุ่นใหม่ X7
Exadata คือเซิร์ฟเวอร์กลุ่มที่เรียกว่า Engineered System ปรับแต่งมาอย่างดีโดยวิศวกรของ Oracle ว่ารีดประสิทธิภาพของฐานข้อมูล Oracle Database ได้ดีที่สุด
สัปดาห์ที่ผ่านมา ออราเคิลเปิดตัวซีพียู SPARC M8 ซึ่งเป็นรุ่นต่อของ SPARC M7 ที่ออกในปี 2015
ออราเคิลคุยว่า SPARC M8 มีประสิทธิภาพดีว่า SPARC M7 ถึง 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านการประมวลผล Java และการเข้ารหัสดีกว่าซีพียูสถาปัตยกรรม x86 (ไม่ระบุว่ารุ่นไหน) 2 เท่า, มีประสิทธิภาพด้านฐานข้อมูลดีกว่า x86 ถึง 7 เท่า
ฟีเจอร์อีกอย่างของ SPARC M8 ที่ต่อเนื่องมาจาก M7 คือ Software in Silicon v2 หรือการป้องกันมัลแวร์ในหน่วยความจำ และ Data Analytics Accelerator (DAX) ที่ช่วยเร่งความเร็วในงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
Dell EMC เปิดตัวสินค้าหลักกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge รุ่นใหม่ (นับเป็นรุ่นที่ 14 หรือ 14G) ที่อัพเกรดมาใช้ซีพียู Xeon Scalable รุ่นใหม่ของอินเทล และถือเป็นเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge รุ่นแรกที่ปรับมาใช้แบรนด์ของบริษัทใหม่ Dell EMC (เอกลักษณ์คือเปลี่ยนหน้ากากด้านหน้ามาเป็นลายรังผึ้งแบบ 6 เหลี่ยม)
จุดเด่นของ Dell EMC PowerEdge 14G มีด้วยกัน 3 ส่วนคือ
เมื่อพูดถึงแบรนด์ Lenovo เรามักนึกถึงคอมพิวเตอร์ทั้งเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก แต่จริงๆ แล้ว Lenovo ยังมีธุรกิจไอทีองค์กรที่เน้นขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ และถ้ายังไม่ลืมกัน ธุรกิจเซิร์ฟเวอร์เดิมของ IBM เกือบทั้งหมด (ยกเว้นกลุ่มซีพียู Power) ถูกขายมาให้ Lenovo ตั้งแต่ปี 2014
สำหรับในประเทศไทย Lenovo Thailand ยังไม่ได้ทำตลาดเซิร์ฟเวอร์อย่างจริงจังนัก แต่ด้วยทีมงานของ IBM เดิมก็ยังส่งผลให้มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับสามของไทย
ล่าสุด Blognone มีโอกาสคุยกับผู้บริหารฝั่ง data center ของ Lenovo ทั้งจากสำนักงานใหญ่และจากสำนักงานภูมิภาค คือ Sumir Bhatia (Vice President, Data Centre Group, Asia Pacific) และ Scott Tease (Executive Director, Hyperscale and HPC) ถึงแผนขั้นต่อไปของ Lenovo ในการบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กร
เอเอ็มดีประกาศชิปตระกูล EPYC 7000 ซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สำหรับเซิร์ฟเวอร์ โดยเปิดตัวชุดแรก 9 รุ่น ตั้งแต่ 8 คอร์ 16 เธรด ไปจนถึง 32 คอร์ 64 เธรด
ซีพียูทุกตัวที่เปิดมารองรับ PCIe 3.0 128 เลนทั้งหมด พร้อมแรม 8 channel 16 ซ็อกเก็ต เซิร์ฟเวอร์ 2 ซ็อกเก็ตสามารถใส่แรมได้สูงสุดถึง 4TB ตัวซีพียูรองรับแรมหลายรูปแบบ ทั้ง RDIMM, LRDIMM, NVDIMM-N, 3DS DIMM
เอเอ็มดีเทียบประสิทธิภาพด้วย EPYC 7601 รุ่นสูงสุดกับ Xeon E5-2699Av4 ระบุว่า SPECint (เลขจำนวนเต็ม) ดีกว่า 47% และ SPECfp ดีกว่า 75% ขณะที่แบนวิดท์หน่วยความจำสูงกว่า 2.5 เท่าตัว ขณะที่ประสิทธิภาพของรุ่นลองๆ ลงไปก็ยังชนะทุกช่วงราคา
AMD ประกาศวางขายซีพียู EPYC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen และเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว (ออกเสียงเหมือนคำว่า Epic)
ซีพียู EPYC ชุดแรกมีด้วยกัน 9 รุ่นย่อย ตั้งแต่รุ่นเล็ก 8 คอร์ ไปจนถึงรุ่นใหญ่สุด 32 คอร์ (ทุกคอร์มี 2 เธร็ด) โดยมีทั้งแบบซ็อคเก็ตเดี่ยว (มีรหัส P ห้อยท้ายรุ่น) และดูอัลซ็อคเก็ต
ส่วนผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ที่เข้าร่วมก็มีหลายราย ทั้ง HPE, Dell EMC,Supermicro เป็นต้น รายชื่อลูกค้าที่สั่งซื้อแล้วคือ Microsoft Azure, Baidu Cloud, Dropbox, Bloomberg
เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่า EPYC 7601 รุ่นท็อปสุด ทำคะแนนเบนช์มาร์คได้ดีกว่า Xeon E5-2699A V4 ที่ระดับราคาเดียวกัน ถึง 47% (integer) และ 75% (floating point)