Hewlett Packard Enterprise (HPE) เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล ProLiant รุ่นที่สิบ (Gen 10) ที่อัพเกรดมาใช้ซีพียู Xeon Scalable ตัวใหม่ของอินเทล
แต่จุดขายสำคัญของ HPE ProLiant Gen 10 คือระบบความปลอดภัยที่ระดับชิป ฝังมาตั้งแต่โรงงานของ HPE เอง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะปลอดภัยตั้งแต่ฐานรากระดับซิลิคอน (silicon root of trust) ไม่โดนยัดไส้เปลี่ยนเฟิร์มแวร์มากลางทาง
ชิปตัวนี้เรียกว่า HPE Integrated Lights Out (iLO) จะอนุญาตให้บูทเฉพาะเฟิร์มแวร์ที่มี fingerprint ตรงกันเท่านั้น ทาง HPE คุยว่าเป็นผู้ควบคุมการผลิตชิปตัวนี้เองทั้งหมด ถือเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายเดียวในตอนนี้ที่ให้ความมั่นใจกับลูกค้าได้
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Qualcomm (ภายใต้บริษัทลูก Qualcomm Datacenter Technologies) และ Cavium ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์สาย ARM เปิดตัวต้นแบบ Windows Server เวอร์ชันที่ทำงานบนซีพียูสถาปัตยกรรม ARM แล้ว
เซิร์ฟเวอร์ของ Qualcomm ใช้ซีพียู Qualcomm Centriq 2400 ซึ่งเป็นซีพียู ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ผลิตที่ระดับ 10 นาโนเมตร มีจำนวน 48 คอร์ ส่วนเซิร์ฟเวอร์ของ Cavium ใช้ซีพียู ThunderX2 ARMv8-A ของตัวเอง
เซิร์ฟเวอร์ทั้งสองรุ่นรัน Windows Server เวอร์ชันพิเศษที่ใช้ภายในศูนย์ข้อมูลไมโครซอฟท์ โดยทีมงานของไมโครซอฟท์แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ ARM ไม่มีซอฟต์แวร์รองรับ ด้วยการพอร์ตตัวระบบปฏิบัติการ, รันไทม์, มิดเดิลแวร์มาสู่สถาปัตยกรรม ARM
สำนักข่าว The Information รายงานว่า Apple ปลดอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Supermicro ออกจากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง และคืนอุปกรณ์ที่เพิ่งซื้อมาให้กับบริษัท เนื่องจากพบปัญหามัลแวร์ฝังตัวอยู่ในเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์
Apple ตรวจพบปัญหาขณะกำลังพัฒนาระบบของ App Store โดยในรายงานบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่จัดการคำสั่งจาก Siri ก็มีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท Supermicro ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวของ Ars Technica เผยว่าปัญหาดังกล่าวเกิดเฉพาะเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานในห้องปฏิบัติการออกแบบเท่านั้น
ถึงแม้อินเทลจะหมางเมินกับซีพียูตระกูล Itanium ไปมากในรอบหลายปีให้หลัง แต่ Itanium ก็ยังไม่ตายสนิท หลังจากการออก Itanium 9500 "Poulson" ในปี 2012 เวลาผ่านมาห้าปี อินเทลก็เตรียมออก Itanium รุ่นถัดไปรหัส "Kittson" ในครึ่งหลังของปีนี้
อินเทลประกาศข่าวของ Kittson มานานมาก (ข่าวเก่าปี 2013) ตอนนี้ชิปเสร็จและส่งทดสอบให้กับลูกค้าบางรายแล้ว และมี Hewlett Packard Enterprise หนึ่งรายที่ประกาศนำ Kittson ไปใช้กับเซิร์ฟเวอร์ระดับบน HPE Integrity Servers ของตัวเอง
อินเทลเปิดตัว Xeon ตัวใหม่ที่แรงที่สุดในตอนนี้ E7-8894 v4 ที่มาพร้อมสมรรถนะจัดเต็ม มีทั้งหมด 24 คอร์ 48 เธร็ด, สัญญาณนาฬิกา 3.4GHz, แคช 60MB, ใช้งานได้สูงสุดแบบ 8 ซ็อคเก็ต และรองรับแรมสูงสุด 24TB
อินเทลระบุว่าประสิทธิภาพของ Xeon E7-8894 v4 สูงกว่า Xeon รุ่นก่อนหน้า 33% และเซิร์ฟเวอร์จากผู้ผลิตรายต่างๆ ที่ใช้ซีพียูตัวนี้ก็ทำลายสถิติโลกของเบนช์มาร์คหลายตัว เช่น SPEC หรือ LINPACK ด้วย
ราคาของ Xeon E7-8894 v4 ขายตัวละ 8,898 ดอลลาร์ (ประมาณ 3.1 แสนบาท) ทำให้มันกลายเป็นซีพียูที่แพงที่สุดของอินเทลในตอนนี้ (แชมป์เก่าคือ Xeon Phi 7290F ตัวละ 6,401 ดอลลาร์)
Alibaba เตรียมใช้เซิร์ฟเวอร์ ARM ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวของ ARM ในการเดินเข้าสู่ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ที่อินเทลมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 90%
ศูนย์ข้อมูลของ Alibaba ใช้กับทั้งบริการอีคอมเมิร์ซของตัวเอง และบริการคลาวด์ Alibaba Cloud (หรือชื่อในจีนคือ Aliyun) ซึ่งเป็นคลาวด์ลักษณะเดียวกับ AWS
ความเชื่อมโยงของ ARM กับ Alibaba คือ SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ ARM เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ Alibaba ในปัจจุบัน
Cisco เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล UCS (Unified Computing System) ซีรีส์ใหม่ S-Series ที่เน้นการใช้งานด้านสตอเรจเป็นพิเศษ ออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลแบบ unstructured data สำหรับยุค IoT
เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกใน S-Series คือรุ่น UCS S3260 Storage Server ใช้สถาปัตยกรรมแบบ modular, ใส่ไดรฟ์ได้สูงสุด 56 ตัว, รองรับการเก็บข้อมูลสูงสุด 600TB ต่อหนึ่งระบบ และถ้านำหลายระบบมาต่อกันก็สามารถขยายขึ้นไปถึงระดับ PB ได้, ขยาย I/O ผ่านการ์ด PCIe ได้, รองรับการใช้หน่วยความจำแฟลชแบบ NVMe
สเปกอื่นๆ ของ S3260 คือซีพียู Xeon processor E5-2600 v2/v4 สูงสุด 36 คอร์ต่อโหนด, แรมสูงสุด 512GB ต่อโหนด, เครือข่าย 40 Gbps สองพอร์ต, เซิร์ฟเวอร์หนึ่ง chassis ขนาด 4RU ใส่ได้ 2 โหนด
ผลงานแรกของการควบรวม Dell กับ EMC เข้าด้วยกัน คือสตอเรจเซิร์ฟเวอร์แบบ hyper-converged แบรนด์ VxRail ของ EMC เดิม จะได้อัพเกรดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล จากเดิมที่ใช้ชิ้นส่วนเซิร์ฟเวอร์แบบไม่มีแบรนด์ ก็เปลี่ยนมาเป็น Dell PowerEdge แทน ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนของการควบรวมกันของทั้งสองบริษัท
VxRail เป็นอุปกรณ์กลุ่ม hyper-converged infrastructure (HCI) หรือสตอเรจที่ฝังหน่วยประมวลผลและระบบเครือข่ายเข้ามาด้วย สามารถขยายตัวได้แบบ scale-out แค่วางต่อๆ กันตามจำนวนที่ต้องการ ตัวอุปกรณ์ออกแบบมาให้ทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องคอนฟิก (Dell เรียกว่าเป็น appliance) ส่วนซอฟต์แวร์บริหารจัดการเป็นของ VMware ที่ Dell เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ช่วงนี้มีงานสัมมนา Flash Memory Summit เลยมีข่าวผลิตภัณฑ์ SSD ใหม่ๆ ออกมาเยอะพอสมควร บริษัทล่าสุดที่เข้ามาร่วมวงคือ Lenovo ที่กำลังพัฒนาบอร์ด SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ในชื่อโครงการ "Project Spark" มีความจุ 48TB
Project Spark ของ Lenovo มีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น Seagate, Toshiba, NxGn Data, Amphenol รูปแบบคือการนำชิป DRAM ความจุสูงมาวางบนบอร์ดที่เสียบเข้ากับพอร์ต PCIe ของเซิร์ฟเวอร์ มีอัตราเร็วการอ่านเขียนสูงถึง 1 ล้าน IOPS
ตอนนี้ Project Spark ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา รุ่นที่นำมาโชว์ในงานมีความจุ 6GB ส่วนตัวจริงจะวางขายกลางปีหน้า 2017
เมื่อต้นปีนี้ กูเกิลร่วมเป็นสมาชิก Open Compute Project ที่มี Facebook เป็นผู้ก่อตั้ง
ล่าสุดกูเกิลออกมาเผยผลงานชิ้นแรกที่ร่วมพัฒนากับ Facebook คือสเปกตู้แร็ค Open Rack v2.0 Standard และเผยแพร่ร่างออกสู่สาธารณะแล้ว
Open Rack v2.0 ใช้ระบบจ่ายไฟแบบ 48V ที่กูเกิลใช้มาตั้งแต่ปี 2010 โดยกูเกิลอธิบายว่าเป็นระบบที่ประหยัดพลังงานกว่าการจ่ายไฟแบบ 12V มาก เดิมทีสเปก Open Rack เวอร์ชันแรกอิงอยู่บนระบบไฟ 12V และกูเกิลพยายามนำเสนอสเปกที่ปรับปรุงขึ้นจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้วงการย้ายจากระบบ 12V มาเป็น 48V ในท้ายที่สุด
ผู้อ่าน Blognone หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับ Nutanix ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์แนวใหม่ที่เรียกว่า hyperconverged (อ่านบทสัมภาษณ์เมื่อปีที่แล้วได้) อยู่บ้าง ในฐานะสตาร์ทอัพรายใหม่ซึ่งมีบทบาทในกลุ่มองค์กรอย่างมาก และเพิ่งจะประกาศคุณสมบัติใหม่สำหรับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่งานประชุมของ .NEXT ของบริษัทที่เพิ่งผ่านไป (มีนอกจาก Xpress ด้วย) แต่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของทิศทางบริษัทจาก hyperconverged ไปสู่ Enterprise Cloud Platform
Dell เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล PowerEdge รุ่นใหม่ประจำปี 2016 โดยเซิร์ฟเวอร์ชุดนี้ยังนับเป็นรุ่นที่ 13 (PowerEdge 13G) แต่เป็นการปรับปรุงย่อย เน้นการปรับรุ่นซีพียู Xeon ตามอินเทลเป็นหลัก (ภาษารถเรียก minor change แต่ Dell มีชื่อเรียกภายในว่า MLK)
Dell PowerEdge 13G MLK ทยอยปล่อยออกมาทีละกลุ่ม (wave) โดยชุดแรกออกเมื่อเดือนเมษายน 2016 (Xeon E5-2600 v4) ชุดที่ 2-3 ในเดือนมิถุนายน (Xeon E7 v4) และจะมีอีกชุดคือกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ซ็อคเก็ตเดียว (Xeon E3 v5) ตามมาในอนาคต
รายงานตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกจากทั้ง IDC และ Gartner แสดงข้อมูลตรงกันว่าตลาดนี้กำลังหยุดชะงักลงจากรอบการอัพเกรดที่หยุดไปแล้ว
ในแง่รายได้ IDC ระบุว่ารายได้รวมลดลง 3.6% ขณะที่ Gartner ระบุว่าลดลง 2.3% ในแง่ยอดส่งมอบ IDC ละบุว่าลดลง 3% แต่ Gartner ระบุว่าเพิ่มขึ้น 1.7% ผู้ผลิตสี่อันดับแรกจากรายงานทั้งสองแห่ง ได้แก่ HPE อันดับหนึ่ง, Dell อันดับสอง, IBM อันดับสาม ส่วนที่สี่และห้านั้น Lenovo และ Cisco ใกล้เคียงกัน ในจำนวนนี้ IBM มีรายได้ลดลงอย่างหนักเพราะขายกิจการ x86 ให้กับ Lenovo ไป ขณะที่ปีที่แล้วมีเมนเฟรม z13 เพิ่งเปิดตัว
Nutanix ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์แนวคิดใหม่ hyperconverged (อ่านบทสัมภาษณ์ของ Blognone) เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ Nutanix Xpress ที่ราคาถูกลง (ราคาทั้งชุด ฮาร์ดแวร์ 3-4 โหนดพร้อมซัพพอร์ต 3 ปี จะต่ำกว่า 25,000 ดอลลาร์) เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางมากขึ้น จุดขายนอกจากราคายังเป็นความง่ายในการติดตั้ง ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 60 นาทีก็รันงานได้แล้ว
ฮาร์ดแวร์ Nutanix Xpress รหัส SX-1065 ใช้ซีพียู Intel Xeon E5 v4 (Broadwell) เลือกรุ่นย่อยเองได้, หน่วยความจำสูงสุด 512GB, ใส่สตอเรจได้สูงสุด 6TB ต่อโหนด (สเปกละเอียด) ฝั่งของซอฟต์แวร์ใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชัน Xpress ที่ปรับลดความสามารถบางอย่างออก แต่ก็ออกแบบให้เหมาะกับ SME, รองรับ virtualization/hypervisor หลายยี่ห้อ ทั้ง AHV ของ Nutanix เอง, VMware ESXi และ Hyper-V
สินค้าจะเริ่มขายในเดือนกรกฎาคม 2016
นโยบายของซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ คือซอฟต์แวร์เวอร์ชันคลาวด์ (cloud) กับเวอร์ชันบนเซิร์ฟเวอร์ (on-premise) ต้องมีฟีเจอร์เท่ากัน สามารถนำแอพพลิเคชันรันข้ามกันได้โดยไม่ต้องแก้ไขอะไร ปัจจุบันซอฟต์แวร์เกือบทุกตัวไม่ว่าจะเป็น SharePoint, Exchange, Skype for Business ต่างก็พัฒนาบนแนวทางนี้
อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์บางตัวของไมโครซอฟท์กลับเกิดมาจากฝั่งคลาวด์ ในกรณีนี้คือ Office Online หรือ Microsoft Office เวอร์ชันเว็บแอพที่ทำงานผ่านเบราว์เซอร์ (ชื่อเดิมคือ Office Web Apps) ไมโครซอฟท์จึงออก Office Online Server (OOS) เผื่อกรณีที่ลูกค้าต้องการรัน Office ผ่านเว็บบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองด้วย
Mesosphere สตาร์ตอัพด้านระบบปฏิบัติการ "คลัสเตอร์" สำหรับศูนย์ข้อมูล มีซอฟต์แวร์ชื่อ DC/OS ที่พัฒนาต่อมาจากโครงการโอเพนซอร์ส Apache Mesos ที่ถูกนำไปใช้งานในบริษัทใหญ่ๆ หลายราย (DC/OS ย่อมาจาก Datacenter Operating System)
วันนี้ Mesosphere ออกมาประกาศโอเพนซอร์สตัว DC/OS เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุผลว่าอยากกระจายเทคโนโลยีนี้ออกไปในวงกว้างที่สุด โครงการ DC/OS ประกอบด้วยโครงการย่อยๆ หลายตัว เช่น ตัวจัดคิวงาน Apache Mesos, ตัวจัดการคลัสเตอร์ Marathon, ตัวติดตั้ง, อินเทอร์เฟซจัดการระบบ, ตัวจัดการแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่มารันบน DC/OS ฯลฯ ซึ่งโค้ดทั้งหมดจะถูกเปิดภายใต้สัญญาอนุญาต Apache 2.0
Oracle มีฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์กลุ่มที่เรียกว่า Engineered System อยู่หลายตัว (ข่าวเก่าเรื่องยุทธศาสตร์ฮาร์ดแวร์) จุดเด่นของฮาร์ดแวร์ตระกูลนี้คือปรับแต่งมาให้ทำงานกับซอฟต์แวร์ของ Oracle ได้เป็นอย่างดี สินค้าตัวหลักในกลุ่มคือ Exadata ที่ออกแบบมาสำหรับรันฐานข้อมูล Oracle Database
Exadata ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาแล้วหลายรุ่น (เฉลี่ยแล้วออกประมาณปีละรุ่น ดูข่าวเก่า Exadata รุ่น X3) ล่าสุดเมื่อต้นเดือนนี้ Oracle เปิดตัว Exadata X6 ถือเป็นรุ่นที่หกในซีรีส์แล้ว
Pure Storage บริษัทสตอเรจน้องใหม่ที่ทำอุปกรณ์สตอเรจแบบแฟลชอย่างเดียว (All-Flash Array) ขยายสายผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ออก FlashBlade มาจับตลาดสตอเรจข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ที่ต้องการความสามารถด้านการขยายตัวแบบ scale-out โดยใช้แนวทางแบบเดียวกับ blade server
FlashBlade ออกแบบมาสำหรับการเก็บข้อมูลแบบ unstructured data (file/object) โดยเน้นประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ขยายตัวได้ง่าย รองรับโพรโทคอลเก็บข้อมูลหลายรูปแบบ (ตอนแรกยังได้แค่ NFS และ Object/S3 แต่จะพัฒนาเพิ่มในอนาคต) ระบบไม่ซับซ้อน ดูแลง่าย
GoDaddy เว็บโฮสติ้งรายใหญ่ของโลก เปิดตัวบริการ GoDaddy Cloud Servers เซิร์ฟเวอร์บนกลุ่มเมฆลักษณะเดียวกับ Amazon EC2
GoDaddy Cloud Servers มีฟีเจอร์เท่าที่คลาวด์สมัยใหม่พึงมี แต่ตัวเลือกจะจำกัด เพราะเน้นไปที่เซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูงหน่อย ทุกตัวใช้สตอเรจแบบ SSD ทั้งหมด, รันอยู่บน OpenStack และ KVM, มีระบบแบ็คอัพและ Snapshot, ระบบเครือข่ายแบบ Private, หมายเลขไอพีถาวร และมี API สำหรับควบคุมระบบ
GoDaddy คุยว่าระบบของตัวเองมีระยะเวลา provisioning เตรียมเครื่องให้พร้อมใช้งานไม่ถึง 54 วินาที, การันตีอัพไทม์ 99.99% ส่วนระบบปฏิบัติการที่รองรับได้แก่ Ubuntu 14.04, CentOS 6 & 7, Fedora 23, Debian 8, FreeBSD, CoreOS, Arch Linux นอกจากนี้ยังจับมือกับบริษัท Bitnami นำแอพพลิเคชันโอเพนซอร์สดังๆ อย่าง WordPress, Drupal, OpenERP, Magento มาให้พร้อมใช้งาน ติดตั้งเพียงคลิกเดียวก็ใช้งานได้เลย
งานเปิดตัว Raspberry Pi 3 ที่ผ่านมา ทาง Mythic Beasts บริษัทโฮสต์ที่มูลนิธิใช้บริการอยู่ก็ตัดสินใจทดลองใช้ Raspberry Pi 3 เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับผู้ใช้เว็บ
โดยปกติแล้วเว็บ Raspberry Pi จะรันบน virtual machine ของทางโฮสต์อยู่แล้ว แต่ทางทีมงานก็ปรับ load balancer ให้กระจายทราฟิกไปยัง Raspberry Pi 2 หนึ่งตัวสัดส่วน 3% และ Raspberry Pi 3 อีกหนึ่งบอร์ด 5%
Raspberry Pi ทำงานได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อผ่านไป 12 ชั่วโมง บอร์ด Pi 3 กลับเกิด kernel panic ตัว load balancer จึงย้ายผู้ใช้ไปยังเครื่องอื่นๆ ทีมงานตรวจสอบพบว่าขณะนั้นแรมของ Pi 3 หมดและเมื่อพยายามเขียน swap ตัว micro SD ก็เกิดเสียหายขึ้นมาเสียอีก
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Server Management Tools เครื่องมือจัดการเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2016 จากระยะไกล ในชุดมีทั้งเครื่องมือแบบคอมมานด์ไลน์ และ GUI ผ่านเว็บ
เครื่องมือตัวนี้ออกแบบมาสำหรับ Nano Server และ Server Core ซึ่งเป็น Windows Server 2016 แบบลดรูปที่ไม่มี GUI ในตัว การมีเครื่องมือที่ควบคุมเซิร์ฟเวอร์จากภายนอก ช่วยให้การบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ๆ อย่างนี้ได้ง่ายขึ้นมาก
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัว ระบุว่าในงานประชุมนักลงทุนวันที่ 11 นี้ Qualcomm จะประกาศว่าได้รับการ "สนับสนุน" จากกูเกิล ลูกค้ารายใหญ่ตลาดซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์
แหล่งข่าวนี้ระบุว่าสองบริษัททำงานด้วยกันมาเป็นเวลานานแล้ว และกูเกิลสัญญาว่าจะซื้อซีพียูจาก Qualcomm หากสามารถพัฒนาประสิทธิภาพซีพียูได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
เดือนตุลาคมที่ผ่านมา Qualcomm เปิดเผยว่ากำลังออกแบบชิป ARM เพื่อใช้ในเซิร์ฟเวอร์ตามข่าวเก่า
ความคืบหน้าล่าสุดคือเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Qualcomm ประกาศความร่วมมือกับรัฐบาลมณฑลกุ้ยโจวของจีน ก่อตั้งบริษัทร่วมค้า Guizhou Huaxintong Semi-Conductor Technology ขึ้น บริษัทนี้จะเน้นการออกแบบ การพัฒนา และการขายชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงในจีน
Qualcomm ให้เหตุผลของการเปิดบริษัทร่วมค้าว่าจีนเป็นตลาดเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์เพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และ Qualcomm จะเปิดบริษัทลงทุนในกุ้ยโจว เพื่อนำร่องในการลงทุนในจีนของ Qualcomm ในอนาคตอีกด้วย
เว็บไซต์ The Register รายงานข่าวการปิดเซิร์ฟเวอร์ตัวหนึ่งที่รันมาตลอด 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ปี 1997 จนถึงวันที่ปิดใช้งานเป็นระยะเวลา 18 ปี 10 เดือน
เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้เป็นคอมพิวเตอร์ประกอบไม่มียี่ห้อ สเปกเครื่องใช้ Pentium 200MHz, แรม 32MB, ฮาร์ดดิสก์ SCSI-2 ขนาด 4GB, ติดตั้ง FreeBSD 2.2.1 โดยรับหน้าที่รันงานหลายอย่างในองค์กร เช่น เก็บสำเนาใบเสร็จ, เก็บข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ฯลฯ เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้เปิดให้ใช้งานเฉพาะคนในบริษัท และลูกค้าบางรายเท่านั้น