เครื่อง L-CSC ของ GSI Helmholtz Center ในเยอรมันได้ขึ้นอันดับหนึ่งของรายการคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพพลังงานดีที่สุด ด้วยประสิทธิภาพพลังงาน 5.27 กิกะฟลอบต่อวัตต์ ในการจัดอันดับเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
เซิร์ฟเวอร์นี้สร้างโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ ASUS ESC4000 ใช้ซีพียู Intel Xeon E5-2690v2 10 คอร์ ร่วมกับ AMD FirePro S9150
ตัว ASUS ESC4000 มีจุดเด่นที่สามารถใส่การ์ดกราฟิกได้จำนวนมากในเซิร์ฟเวอร์ขนาด 2U โดยมีสล็อต PCI-E จำนวนถึง 9 สล็อต สามารถเลือกติดตั้งแบบ PCI-E 2.0 x16 4 ใบ หรือPCI-E 2.0 x8 8 ใบ
ในงานประชุมนักลงทุนของ Qualcomm ปีนี้มีแผนใหม่แกะกล่องสำหรับบุกตลาดใหม่ประกาศออกมาในงานด้วย นั่นก็คือการประกาศบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วยชิป ARM อย่างเป็นทางการ
แม้ว่าจะประกาศลุยตลาดเซิร์ฟเวอร์แล้ว แต่ทาง Qualcomm ยังไม่ได้บอกรายละเอียดของชิป ARM ที่จะงัดมาใช้แต่อย่างใด แต่น่าจะใช้สถาปัตยกรรม ARMv8-A ที่ออกแบบมาเพื่อเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ (และมี HP ที่จับไปทำเซิร์ฟเวอร์จริงๆ แล้ว) อันมีจุดเด่นเรื่องอัตราการบริโภคพลังงานต่ำมาก
สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าววงในว่าไมโครซอฟท์กำลังพัฒนา Windows Server บนสถาปัตยกรรม ARM อยู่ในขณะนี้ ซึ่งสะท้อนทิศทางของโลกเซิร์ฟเวอร์ที่เราเริ่มเห็นซีพียู ARM ทำตลาดมากขึ้น (เช่น โครงการ Moonshot ของ HP)
ตามข่าวบอกว่าไมโครซอฟท์ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเปิดตัว Windows Server เวอร์ชัน ARM หรือไม่ และตัวแทนของไมโครซอฟท์ก็ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้
ที่ผ่านมาเราเห็นไมโครซอฟท์ออกระบบปฏิบัติการสำหรับ ARM อย่าง Windows RT มาแล้ว ความพร้อมในแง่ของการแปลง Windows Server ไปเป็น ARM ก็คงมีอยู่บ้างในระดับหนึ่ง ที่เหลือคงขึ้นกับแผนธุรกิจของไมโครซอฟท์เป็นหลักว่าจะสนใจตลาดนี้หรือไม่
เอชพีเปิดตัวชุดเซิร์ฟเวอร์ในตระกูล Moonshot เพิ่มอีกสามรุ่นเป็น Xeon หนึ่งรุ่น และ Atom อีกสองรุ่น
รุ่นใหญ่ที่สุดได้แก่ HP Moonshot ProLiant m710 ค่อนข้างแหวกแนวจาก Moonshot รุ่นอื่นๆ ที่เน้นซีพียูขนาดเล็ก แต่ m710 ใช้ Xeon E3-1284Lv3 ทำให้หนึ่งชุดเซิร์ฟเวอร์จะมีซีพียูเพียงตัวเดียว แต่ความได้เปรียบคือซีพียูที่แรงขึ้นและกราฟิก Intel Iris P5200 สามารถช่วยประมวลผลวิดีโอ เช่นการแปลงฟอร์แมตหรือขนาดวิดีโอได้มีประสิทธิภาพสูง
HP Moonshot ProLiant m350 มีจุดขายที่จำนวนซีพียูต่อเซิร์ฟเวอร์ Moonshot มากที่สุด โดยกล่องเซิร์ฟเวอร์ Moonshot ขนาด 4.3U หากติดตั้ง m350 เต็มระบบจะได้เซิร์ฟเวอร์จำนวนถึง 180 เครื่อง แต่ละเครื่องเป็นซีพียู Atom C2730 8 คอร์
ไมโครซอฟท์จัดงานแถลงข่าวด้าน Cloud เมื่อคืนนี้ นอกจากประกาศข่าว Azure รองรับ CoreOS ยังมีของใหม่ที่สำคัญอีกอย่างคือ Microsoft Cloud Platform System (CPS)
CPS คือเซิร์ฟเวอร์สำเร็จรูปที่องค์กรซื้อไปแล้วจะได้กลุ่มเมฆที่มีความสามารถทัดเทียมกับ Azure ทันที (ไมโครซอฟท์เรียกมันว่า cloud-in-a-box)
ส่วนประกอบของมันได้แก่
Oracle เปิดตัวฮาร์ดแวร์ปรับแต่งพิเศษ (Engineered System) ตัวใหม่ในชื่อยาวเฟื้อยว่า Zero Data Loss Recovery Appliance หรือชื่อสั้นๆ ว่า Recovery Appliance โดยประโยชน์ของมันคือใช้สำรองและกู้คืนฐานข้อมูล Oracle โดยเฉพาะ
Recovery Appliance เหมาะสำหรับองค์กรที่ใช้ฐานข้อมูล Oracle อยู่แล้ว และต้องการหาวิธีสำรองและกู้คืนข้อมูลที่มีต้นทุนการดูแลรักษาน้อยๆ โดยเครื่องนี้เครื่องเดียวสามารถสำรองและกู้คืนฐานข้อมูลได้ "หลักพัน" นอกจากนี้มันยังมีประสิทธิภาพสูงในการสำรอง-กู้คืนฐานข้อมูล (สำรองข้อมูลเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม) และรองรับการถ่ายข้อมูลลงเทปด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดให้ดาวน์โหลด Windows 10 Technical Preview ไปเรียบร้อยแล้ว ฝั่งของระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์รุ่นหน้า Windows 10 Server ก็เปิดให้ดาวน์โหลดไปทดสอบพร้อมๆ กันครับ
ไมโครซอฟท์ยังไม่เปิดเผยชื่อของระบบปฏิบัติการตัวนี้ และใช้คำเรียกว่า "Windows Server Technical Preview" ไปพลางๆ ก่อน (ผมขอใช้ว่า Windows 10 Server เพื่อไม่ให้สับสน แต่ถ้าไมโครซอฟท์ยังยึดแนวทางเดิม ชื่อจริงน่าจะเป็น Windows Server 2016)
นอกจากระบบปฏิบัติการ Windows 10 ฝั่งไคลเอนต์แล้ว ไมโครซอฟท์ยังพูดถึงระบบปฏิบัติการฝั่งเซิร์ฟเวอร์รุ่นถัดไป (ยังไม่มีชื่อเรียก แต่จะขอเรียก Windows 10 Server ไปก่อนนะครับ) ดังนี้
ข่าว Lenovo ซื้อกิจการเซิร์ฟเวอร์ x86 ของ IBM ที่ประกาศเมื่อเดือนมกราคม ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มมีผลในวันพรุ่งนี้ (1 ตุลาคม) เป็นต้นไป
สรุปข้อมูลของดีลนี้คือ Lenovo จะซื้อเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายตระกูล System x, BladeCenter, x-86 based Flex System, NeXtScale, iDataPlex จาก IBM ด้วยมูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์ ส่วน IBM จะยังเก็บเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจตระกูล System z, Power Systems, Storage Systems, Power-based Flex, PureApplication, PureData เอาไว้
นอกจากนี้ Lenovo จะยังช่วยผลิตเซิร์ฟเวอร์ให้ IBM ในแบบ OEM และช่วยขายสตอเรจ-ซอฟต์แวร์ของ IBM บางตัวด้วย
โครงการ Moonshot ของเอชพีที่เน้นเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กคอร์จำนวนมากเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบเบลดเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2011 ตอนนี้มีเบลดใหม่มาเพิ่มอีกสองรุ่น ได้แก่ M800 และ M400
M800 ใช้ซีพียู Texas Instruments KeyStone Cortex-A15 4 คอร์ทำงานที่ 1GHz ในตัวซีพียูมี DSP C66x อีก 8 ชุด รองรับแรม 32GB ต่อเบลด เน้นงานประมวลผลสัญญาณ เช่น ระบบ VoIP ที่ต้องประมวลข้อมูลเสียงจำนวนมากๆ
M400 ใช้ซีพียู Applied Micro X-Gene เป็น ARMv8 64 บิต 8 คอร์ รองรับแรม 64GB เน้นงานที่ต้องการ I/O สูงๆ เช่น ระบบแคชเว็บ
ทางเอชพียกตัวอย่างลูกค้าที่ใช้งานเซิร์ฟเวอร์ Moonshot อยู่แล้วคือ PayPal ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า
Lenovo และ IBM ออกมาอธิบายแผนโครงสร้างของผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ หลัง Lenovo ควบกิจการเซิร์ฟเวอร์ x86 ของ IBM เสร็จสมบูรณ์ช่วงปลายปีนี้
IBM ระบุว่าผลิตภัณฑ์จากทั้งสองบริษัทจะตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย และ IBM จะยังให้บริการหลังขายกับลูกค้าของตัวเองต่อไปอีก 5 ปี หลังการควบกิจการเสร็จสิ้นแล้ว
ล่าสุด IBM ยังเปิดตัว System x M5 และ Flex M5 ที่ใช้ซีพียูตัวใหม่ Intel Xeon E5 v3 ด้วย - IBM
อินเทลเปิดตัวซีพียูเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง Xeon E5 รุ่นที่สาม (v3) โดยเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรม Haswell ตาม Xeon E3 v3 ที่เปิดตัวไปแล้ว และแบ่งเป็น 2 รุ่นคือ Xeon E5-2600 v3 กับ Xeon E5-1600 v3
Xeon E5-2600 v3 รหัส Grantley ถือเป็นซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ของอินเทลที่แรงที่สุดในปัจจุบัน (เพราะยังไม่มี Xeon E7 v3 ออกวางขาย) ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบ 2 ซีพียู (dual processor)
ดีล Lenovo ซื้อธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ x86 ของ IBM เมื่อต้นปีนี้ ผ่านการอนุมัติจากทางการจีนไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม ล่าสุด IBM ออกมาระบุว่าหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐ นำโดยคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนจากต่างชาติ (Committee on Foreign Investment in the United States หรือ CFIUS) ก็อนุมัติดีลนี้แล้วเช่นกัน
Lenovo แจ้งว่าดีลนี้จะเสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดเดิม คือช่วงปลายปีนี้
ที่มา - Re/code
Facebook เปิดเผยข้อมูลเชิงวิศวกรรมของ Autoscale ตัวกระจายโหลด (load balancer) ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูลอย่างคุ้มค่า
การทำงานของ Facebook มีเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมาก โดยเซิร์ฟเวอร์มีอัตราการใช้พลังงานแตกต่างกันตามปริมาณงาน (โหลด) ที่ทำอยู่ในตอนนั้น
สมาชิก Blognone คงคุ้นเคยกับชื่อแบรนด์ Opteron ในฐานะซีพียู x86 สมรรถนะสูงสำหรับเซิร์ฟเวอร์ แต่ความหมายของชื่อ Opteron กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะ AMD เตรียมออกซีพียู ARM 64 บิตสำหรับเซิร์ฟเวอร์ด้วยแบรนด์ Opteron เช่นกัน (แต่จะใช้รุ่นย่อยเป็น Opteron A Series)
ซีพียูตัวแรกในสาย Opteron A คือ Opteron A1100 (รหัส "Seattle") ที่เปิดตัวไปแล้วแต่ยังไม่วางขายจริง ล่าสุด AMD ออกบอร์ดสำหรับนักพัฒนาให้นำไปทดสอบกับแอพพลิเคชันของตัวเองแล้ว
ตัวซีพียู Opteron A1100 ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม Cortex-A57 มีทั้งรุ่น 4 และ 8 คอร์, แคช L2 4MB, แคช L3 8MB, รองรับ 10 Gbps LAN สองพอร์ต, PCI Express 3.0 x8, และ SATA 8 พอร์ต
ตามปกติแล้ว ซีพียูสายเซิร์ฟเวอร์ของอินเทล (Xeon) จะตามหลังซีพียูสายเดสก์ท็อปในเรื่องรุ่นของสถาปัตยกรรมอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น อินเทลเปิดตัว Core ที่ใช้แกน Haswell ตั้งแต่ต้นปี แต่เพิ่งอัพเกรด Xeon E3 ให้เป็น Haswell เมื่อเดือนที่แล้ว
ล่าสุดเป็นคิวของ Xeon E5 โดยอินเทลเริ่มส่ง Xeon E5 รหัส "Grantley" ที่ใช้แกน Haswell ให้ผู้ผลิตเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว และสินค้าจริงจะเริ่มขายภายในไตรมาสที่สามนี้
ฟีเจอร์ของ Grantley นอกจากการเปลี่ยนมาใช้แกน Haswell ยังมีการรองรับแรม DDR4 และมีจำนวนคอร์มากขึ้นกว่า Xeon E5 รุ่นก่อน
การหมดอายุของ Windows XP ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้ทั่วโลก แต่เราไม่ได้มีแค่ Windows XP เพียงรุ่นเดียวที่หมดอายุในช่วงนี้ เพราะ Windows Server 2003 R2 กำลังจะตามไปในวันที่ 15 กรกฎาคม 2015 หรืออีกประมาณ 1 ปีต่อจากนี้ (ตารางอย่างละเอียดบนเว็บไซต์ไมโครซอฟท์)
นักวิเคราะห์คาดว่าปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 10 ล้านเครื่องที่ยังรัน Windows Server 2003 และบริษัท AppZero ที่เชี่ยวชาญด้านการย้ายระบบไอทีก็เคยสำรวจพบว่าองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากยังใช้งาน Windows Server 2003 กันอยู่ และยังไม่มีแผนการชัดเจนว่าจะย้ายระบบอย่างไร
มีรายงานถึงช่องโหว่ของเมนบอร์ด Supermicro ที่มักเป็นเมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์ประกอบ โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์รันบนไบออส IPMI ที่พอร์ต 49152 และวางไฟล์ IPMIdevicedesc.xml ที่เก็บข้อมูลคอนฟิกรวมถึงรหัสผ่านเอาไว้ให้ดาวน์โหลดออกไปได้
ช่องโหว่นี้ทำให้หากแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่ IPMI ทำงานอยู่ได้ก็จะสามารถเข้าควบคุมเครื่องได้ทั้งหมดทันที
ระหว่างนี้ยังไม่มีแพตช์มาจากทาง Supermicro โดยทาง CARISIRT หน่วยแจ้งเตือนปัญหาความปลอดภัยของผู้ให้บริการคลาวด์ CARI ระบุว่าได้ติดต่อกับทาง Supermicro มาแล้วตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
HP เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูลใหม่แบรนด์ Apollo เน้นตลาดซูเปอร์คอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (high performance computing)
จุดเด่นของ Apollo คือการออกแบบระบบไฟ ระบบระบายความร้อนใหม่ ให้ประหยัดพลังงานและพื้นที่มากขึ้น เบื้องต้น HP ออก Apollo มาสองรุ่นคือ
จากข่าว IBM ขายธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ x86 ให้ Lenovo เมื่อต้นปี คู่แข่งตัวฉกาจอย่าง HP ก็ออกมาคุยว่าลูกค้าเดิมของ IBM จำนวนมากไม่มั่นใจในการขายกิจการครั้งนี้ ส่งผลให้ HP สามารถแย่งลูกค้าจาก IBM ได้มากกว่า 600 รายในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา
Marc Waters ผู้บริหารของ HP UK ให้สัมภาษณ์กับ The Register ว่าความไม่แน่นอนของการซื้อขายทำให้ลูกค้าสับสนและไม่มั่นใจ ทำให้เป็นโอกาสทองของ HP ในการขายเซิร์ฟเวอร์ให้ลูกค้าแทน
บริษัท Canonical เปิดตัวฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ The Orange Box (ไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆ กับ Half-life) มันคือคลัสเตอร์ 10 ตัวในฮาร์ดแวร์กล่องเดียว สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ภายในติดตั้ง Ubuntu 14.04 LTS และระบบบริการจัดการคลาวด์ MAAS, Juju ของ Canonical เอง
ภายในกล่อง Orange Box ประกอบด้วยไมโครเซิร์ฟเวอร์ 10 ตัวที่ใช้ซีพียู Intel Core i5-3427U ควอดคอร์, แรม 16GB, SSD 128GB, Gigabit Ethernet นอกจากนี้เครื่องเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวในกล่องจะฝัง Centrino Advanced-N 6235 Wi-Fi Adapter (เสา Wi-Fi ถอดได้) และฮาร์ดดิสก์ขนาด 2TB จาก Western Digital มาให้ด้วย
เทคโนโลยีด้าน virtualization เริ่มถูกใช้ในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่งานด้าน workstation พลังสูงอย่างการประมวลผลทางวิศวกรรม การประมวลผลมัลติมีเดีย และงานออกแบบ CAD จำเป็นต้องย้ายมาบนเครื่อง workstation "เสมือน" กันแล้ว
HP ที่ทำตลาดเครื่อง workstation ใต้แบรนด์ Z Workstation อยู่ก่อนแล้ว จึงเริ่มขยับตัวมาทำเครื่องแบบเสมือนกันบ้าง โดยออกฮาร์ดแวร์ใหม่ในตระกูล Z คือ DL380z ที่รองรับผู้ใช้พร้อมกันสูงสุด 8 คนบนเครื่องเดียว
HP ประกาศจับมือกับ Foxconn ร่วมพัฒนาฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์สายตระกูลใหม่ ที่มุ่งจับตลาดผู้ให้บริการกลุ่มเมฆโดยเฉพาะ
HP บอกว่าฮาร์ดแวร์สายใหม่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มผลิตภัณฑ์สาย ProLiant ของตัวเองในปัจจุบัน โดยเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่จะเน้นค่าใช้จ่ายที่ลดลง รองรับการขยายตัวได้ดีขึ้น และบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้น ส่วน Foxconn จะเข้ามาช่วยเรื่องการผลิตและห่วงโซ่อุปทานตามที่ถนัด
ส่วนรายละเอียดของเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่นี้จะประกาศต่อไปในอนาคต
ที่มา - HP
เอชพีประกาศเตือนลูกค้าว่าเฟิร์มแวร์ที่มากับ HP Service Pack for Proliant 2014.02.0 สามารถทำให้การ์ดเน็ตเวิร์ค Broadcom รุ่น G2 ถึง G7 เสียหายจนอาจจะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดหรือการ์ดเน็ตเวิร์ค
ตอนนี้ยังไม่มีทางแก้อื่นนอกจากเรียกช่างของเอชพีมาเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ที่เสียหาย ในกรณีที่ชิปเน็ตเวิร์คอยู่บนเมนบอร์ดก็ต้องรื้อเครื่องใหม่แทบทั้งหมด
เอเอ็มดีสาธิตซีพียู Opteron X ชื่อรหัส Berlin ในงาน Red Hat Summit 2014 เป็นครั้งแรก โดยแสดงความสามารถของซีพียูที่รองรับสถาปัตยกรรม HSA บน Fedora โดยตัวแอพพลิเคชั่นพัฒนาบน Java 8 ที่มี API ชุดใหม่ในโครงการ Sumatra ทำให้สามารถย้ายงานไปมาระหว่างซีพียูและจีพียูได้ในโค้ดเดียวกัน
ตัว Opteron X ยังไม่ระบุวันเปิดตัวแน่ชัดบอกเพียงว่าจะเปิดตัวภายในปีนี้ และตัว Fedora ที่ใช้สาธิตก็ยังไม่มีแผนว่าทาง Red Hat จะรวมความสามารถนี้เข้าไปใน RHEL เมื่อใด การใช้งานระดับองค์กรจริงๆ จึงน่าจะใช้เวลาอีกนับปี