ในงานแถลงข่าวของ NVIDIA ที่งาน CES 2013 นอกจากเปิดตัว Tegra 4 และเครื่องเล่นเกม Project SHIELD แล้วยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 1 ตัวครับ
ชื่อของมันคือ NVIDIA Grid อธิบายง่ายๆ มันเป็นแร็คที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์สีเขียว-ดำ 20 ตัว ภายในอัด GeForce มาทั้งหมด 240 ตัว (ไม่ระบุรุ่น) พลังประมวลผลรวมกัน 200 TFLOPS เทียบได้กับ Xbox 360 จำนวน 700 เครื่อง
เอเอ็มดีอัพเกรดชิปในตระกูล Opteron จากสาย 6200 มาเป็น 6300 ประสิทธิภาพรวมเพิ่มขึ้นสูงสุด 24% และประสิทธิภาพต่อพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 40%
ฟีเจอร์ในชิปรุ่นนี้ได้แก่ Turbo CORE ที่เร่งความเร็วตามการใช้งานจริง, AMD-P ระบบจัดการพลังงานแบบใหม่, หน่วยความจำแบบ 4 channel รองรับสูงสุด 12 สล็อต 384GB, และบัส HyperTransport 3.0 x16
ชิปออกมาพร้อมกัน 10 รุ่น ไล่ราคาตั้งแต่ 293 ดอลลาร์ต่อชิป ในรุ่น 6320 (8 คอร์ 115 วัตต์ 2.8-3.3 GHz) ไปจนถึง 1,392 ดอลลาร์ต่อชิปในรุ่น 6386 S (16 คอร์ 140 วัตต์ 2.8-3.5 GHz)
นอกจากตระกูลใหญ่อย่าง 6300 แล้วเอเอ็มดียังประกาศว่าจะเปิดตัว Opteron อีกสองตระกูล คือ 4300 และ 3300 ภายในสิ้นปีนี้
ความหวังว่า ARMv8 จะบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ได้จริงจัง ชัดเจนหนักกว่าเดิมเมื่อเอเอ็มดีประกาศว่าจะผลิต Opteron รุ่นที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM หลังจากเอเอ็มดีบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วยสถาปัตยกรรม AMD64 (x86-64) อย่างเดียมาตลอดเกือบสิบปีจนทุกวันนี้
การแถลงข่าวนี้มี เรดแฮด, เดลล์, เฟซบุ๊ก, และอเมซอน ร่วมแถลงข่าวด้วยว่าสนใจจะใช้ซีพียู ARM สร้างความหวังว่าถึงเวลาที่สินค้าออกขาย เราอาจจะเห็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลใหญ่ๆ ของเฟซบุ๊กและอเมซอนใช้งานจริง ส่วนเรดแฮดนั้นท่าทีชัดเจนว่าสนับสนุน ARMv8
ช่วงหลังนี้ Red Hat เป็นอีกบริษัทที่ส่งสัญญาณว่ากำลังจริงจังกับแพลตฟอร์ม ARM มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เราเพิ่งเห็นข่าว RedHat กำลังพัฒนา OpenJDK สำหรับ ARMv8 กันไปแล้ว
สำหรับข่าวนี้เกี่ยวข้องกับ ARM อีกเช่นกัน โดย Red Hat ประกาศจับมือกับบริษัท Applied Micro ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ตระกูล ARM ว่าจะร่วมกันผลักดันแพลตฟอร์ม ARMv8 รุ่น 64 บิตในโลกของเซิร์ฟเวอร์ เป้าหมายของ Red Hat คือผลักดันเซิร์ฟเวอร์ ARM ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของศูนย์ข้อมูลนั่นเอง
ในเบื้องต้น Red Hat จะรีบเข็น Fedora 19 รุ่นรองรับสถาปัตยกรรม ARM แบบ 64 บิต (AArch64) ให้เสร็จทันการวางขายฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ARMv8 ในปีหน้า
เก็บตกงาน Oracle OpenWorld 2012 ครับ นอกจากซอฟต์แวร์หลักอย่าง Oracle Database 12c แล้ว ออราเคิลยังเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์สำหรับงานฐานข้อมูล Exadata รุ่นที่สาม ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า Oracle Exadata X3 Database In-Memory Machine
หลังจากเปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา วันนี้ไมโครซอฟท์ได้ปรับสถานะของ Windows Server 2012 ที่ปล่อยให้ดาวน์โหลดบนโครงการ Dreamspark จากตัว RC มาเป็นตัว RTM ให้สมาชิก Dreamspark Student ดาวน์โหลดไปใช้งานกันได้แล้วครับ
โดยบน Dreamspark Student จะสามารถดาวน์โหลดได้เพียงสองเวอร์ชันคือ Standard กับ Datacenter และมีแต่แบบ 64 บิตอย่างเดียวเท่านั้น ส่วน Dreamspark Academic นี่ผมไม่แน่ใจว่าเค้าปล่อยเวอร์ชั่น Foundation กับ Essential ด้วยหรือเปล่า ยังไงก็ต้องรบกวนคนที่เป็นสมาชิก Dreamspark Academic ตรวจสอบอีกทีนะครับ ส่วนคนที่เป็นสมาชิก Dreamspark Student แล้วนั้น สามารถดาวน์โหลดได้จากที่มาครับ
ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณประนิติ ฐิตะวรรโณ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กลุ่มธุรกิจออราเคิล ฟิวชั่น มิดเดิลแวร์ โดยมีประเด็นอยู่ที่ผลิตภัณฑ์สายฮาร์ดแวร์ของออราเคิลเป็นหลัก
ทิศทางของโลกไอทีองค์กรนั้นชัดเจนมากว่า บริษัทไอทีใหญ่ๆ ให้บริการโซลูชันครบวงจร ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ไปจนถึงแอพ (vertical integration) ซึ่งผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์กลุ่ม Exa ของออราเคิลถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากในประเด็นนี้
จากที่ Windows Server 2012 เข้าสถานะ RTM เมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย ไมโครซอฟท์ก็จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว Windows Server 2012 อย่างเป็นทางการ (สถานะเป็น GA = general availability)
ของใหม่ของ Windows Server 2012 คงหนีไม่พ้นเรื่อง virtualization ตามสมัยนิยม, ปรับปรุงให้ทำงานสมรรถนะสูงได้ดีขึ้นมาก, ขยายจำนวนฮาร์ดแวร์สูงสุดที่รองรับ เช่น เพิ่มจำนวนซีพียูที่รองรับเป็น 320 ตัว, แรมเพิ่มเป็น 4TB เป็นต้น นอกจากนี้ยังเปลี่ยนโลโก้ใหม่มาเป็นแบบเดียวกับ Windows 8 (แต่คนละสีกัน)
ระบบระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีหากันมาตลอด เพราะค่าพลังงานสำหรับระบบระบายความร้อนเป็นต้นทุนก้อนใหญ่สำหรับบริษัทเหล่านี้ บริษัทเช่นกูเกิลเคยใช้ระบบระบายความร้อนด้วยลมในประเทศที่หนาวเย็นมาแล้ว แต่อินเทลเสนอแนวทางใหม่คือการใช้น้ำมันมาหล่อเย็นแทนอากาศตามปกติ
ความได้เปรียบของน้ำมันคือค่าความจุความร้อน (heat capacity) นั้นอยู่ที่ประมาณ 2.0 ตามประเภทของน้ำมัน (ดูรายการค่าความจุความร้อนของน้ำมัน) ขณะที่อากาศนั้นประมาณ 1.0 เท่านั้น แสดงว่าน้ำมันที่ไหลผ่านชิ้นส่วนต่างๆ ในปริมาตรเท่ากันสามารถพาความร้อนออกไปจากชิ้นส่วนได้มากกว่าถึงสองเท่าตัว
ช่วงหลังมานี้มีข่าวลือของ BES 10 ออกมาหลายครั้ง วันนี้ทาง RIM ออกมาแถลงข้อมูลอย่างเป็นทางการของ BES 10 แล้ว
อย่างแรกที่สำคัญแต่หลายคนอาจมองข้าม (ผมก็อ่านข้ามในตอนแรก) คือชื่อเต็มของ BES เปลี่ยนมาเป็น BlackBerry Enterprise Service (ไม่ใช่ Server อีกแล้ว) ส่วนตัวย่อยังใช้เป็น BES เหมือนเดิม
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนว่า BES 10 ไม่ใช่เซิร์ฟเวอร์เดี่ยวๆ เหมือนกับ BES 5.x อีกแล้ว เนื่องจากมันมีองค์ประกอบเพิ่มเข้ามาหลายอย่างจนต้องเรียกเป็น Service แทน
ใกล้งานสัมมนาด้านการออกแบบซีพียูประสิทธิภาพสูง Hot Chips (27-29 ส.ค. นี้) ทางยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ก็ออกมาเผยรายละเอียดบางส่วนของซีพียูระดับสูงรุ่นถัดๆ ไปของบริษัท ดังนี้
รายละเอียดสำหรับซีพียูเหล่านี้จะเปิดเผยในงาน Hot Chips ช่วงปลายเดือนนี้ครับ
นอกจาก Windows 8 เข้าสถานะ RTM แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศพร้อมกันว่าแฝดคนละฝาอย่าง Windows Server 2012 ก็เข้าสถานะ RTM เช่นกัน
กระบวนการขั้นถัดไปของ Windows Server 2012 ก็คล้ายกับของ Windows 8 คือไมโครซอฟท์จะส่งซอฟต์แวร์เวอร์ชันสมบูรณ์ให้พาร์ทเนอร์นำไปติดตั้งบนฮาร์ดแวร์เตรียมขายจริง เพียงแต่กรณีของ Windows Server 2012 จะเปิดตัวก่อนในวันที่ 4 กันยายนนี้ ซึ่งไมโครซอฟท์จะจัดงานแถลงข่าวใหญ่ผ่านเว็บไซต์ windows-server-launch.com (เหมือนกับตอนที่เปิดตัว SQL Server 2012)
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปีที่แล้ว Facebook เปิดโครงการ Open Compute โดยเปิดเผยรายละเอียดทางวิศวกรรมในศูนย์ข้อมูลของตัวเองต่อบุคคลภายนอก
โครงการย่อยที่สำคัญอย่างหนึ่งของ Open Compute คือ Open Rack หรือการออกแบบแร็คเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพการทำงานสำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่มากขึ้น
แร็คเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันมักพัฒนาจากมาตรฐาน EIA 310-D ที่ออกแบบมานานแล้ว ไม่สอดคล้องกับความต้องการของศูนย์ข้อมูลในยุคปัจจุบัน รวมถึงมาตรฐานบางอย่างไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน ทำให้แร็คข้ามยี่ห้อทำงานด้วยกันไม่ได้
เซิร์ฟเวอร์ ARM ดูจะได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงหลัง อีกแนวทางที่เป็นไปได้คือการเอา ARM มาให้บริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนในแบบเดียวกับ Amazon EC2 ล่าสุด TryStack บริการฟรีที่ดำเนินการโดย OpenStack ก็เปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์ ARM กันได้ฟรี ผ่าน OpenStack และ LXC แล้ว
ตัวเซิร์ฟเวอร์จริงที่นำมาใช้งานเป็น HP Redstone ในการใช้งานจริงมันก็คือเซิร์ฟเวอร์ลินุกซ์ตัวหนึ่งที่ให้เราเข้าไปใช้งานได้เท่านั้น ความแตกต่างคงเป็นพลังงานที่เซิร์ฟเวอร์ 4 คอร์นั้นกินพลังงานสูงสุดเพียง 5 วัตต์ และหากไม่ได้ประมวลผลหนักๆ จะกินพลังงานเพียง 0.5 วัตต์เท่านั้น
เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีพียูขนาดเล็กจำนวนมากๆ กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงหลัง โครงการ Moonshot ของเอชพีนั้นแม้จะเปิดตัวไปก่อนโดยใช้ชิป ARM ในชื่อ Redstone และตอนนี้ก็ถึงเวลาของรุ่น Atom ที่ใช้ชื่อว่า Gemini
Atom Centerton นั้นมีข้อได้เปรียบที่เป็นสถาปัตยกรรม x86_64 ทำให้รองรับแรมได้มากกว่า 4GB และยังมีเทคโนโลยีที่เราใช้กันในเซิร์ฟเวอร์ เช่น VTx
แม้ว่า Gemini จะเปิดตัวมาพร้อมกับ Atom แต่ทางเอชพีระบุว่ากล่อง Gemini จะมีการ์ดที่ใส่ซีพียูของผู้ผลิตรายอื่นมาใส่ได้ด้วย
เครื่องทดสอบที่ห้องแลปของเอชพีจะเปิดให้ลูกค้าสามารถเข้าไปทดสอบได้เร็วๆ นี้ ส่วนการจำหน่ายจริงจะเริ่มประมาณปลายปี
ถึงแม้ Windows Server 2012 จะยังไม่ออกตัวจริง (ล่าสุดคือรุ่น Release Candidate) แต่ล่าสุดก็ได้ลูกค้ารายใหญ่แล้ว ซึ่งไม่ใช่ใครอื่นไกลแต่เป็นทีม Bing ของไมโครซอฟท์นั่นเอง
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเซิร์ฟเวอร์นับพันที่รัน Bing.com เปลี่ยนมาใช้ Windows Server 2012 RC แล้ว เหตุผลสำคัญที่เปลี่ยนคือประสิทธิภาพที่ดีกว่า Windows Server 2008 อย่างมาก
ฟีเจอร์ที่ทีม Bing พบว่าใช้ประโยชน์ได้จาก Windows Server 2012 มี 4 อย่าง (ส่วนมากเกี่ยวกับ .NET เพราะโค้ดทั้งหมดของ Bing เป็น managed code) ได้แก่
หลังจากปล่อยชิป Xeon รุ่นใหญ่ในซีรีส์ E5-2600 ไปได้ซักระยะแล้ว ก็ถึงคราวบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กด้วยการอัพเกรดชิปเดิมในรุ่น E3-1200 เป็น E3-1200v2 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ใช้ซีพียูรหัส Ivy Bridge แล้วด้วย โดยสเปคของ E3-1200v2 มีดังนี้
ตารางเปรียบเทียบรายละเอียดกับรุ่นก่อนหน้าอยู่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - The Register
เดลล์ประเทศไทยชวนสื่อมวลชนมาแสดงประสิทธิภาพของ PowerEdge 12G เซิร์ฟเวอร์สำหรับตลาดธุรกิจที่ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว หลังจากได้ไปสำรวจลูกค้าหลายพันรายในหลายประเทศ
คำตอบของการสำรวจดังกล่าวคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คือเทคโนโลยีเปิดที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และมีความปลอดภัย
HP บริษัทแม่ประกาศข่าว Proliant Gen8 ไปเมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้ HP ประเทศไทยจัดงานแถลงข่าวการวางขายในไทยแล้วเช่นกัน
รายละเอียดของตัวเซิร์ฟเวอร์ย้อนอ่านจากข่าวเก่ากันเองนะครับ
แบบสรุปๆ คือ ProLiant Gen8 มีพื้นฐานมาจากโครงการวิจัยของ HP จำนวน 3 โครงการคือ Moonshot, Odyssey, Voyager ผลที่ได้คือเทคโนโลยีการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก (จดเป็นสิทธิบัตรรวม 900 รายการ) ครอบคลุมตั้งแต่การบำรุงรักษา การจัดการความร้อน การควบคุมจากระยะไกล ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้องค์กรที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ ProLiant Gen8 ลดค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ลงได้มาก
Mark Shuttleworth ประกาศว่าเอชพีได้ตัดสินใจรองรับ Ubuntu บนเครื่อง Proliant แล้ว โดยการใช้ Ubuntu จะไม่ทำให้ลูกค้าเสียซัพพอร์ตไป
การซัพพอร์ตตัวซอฟต์แวร์จะเป็นหน้าที่ของ Canonical ต่อไป และเซิร์ฟเวอร์เอชพีจะยังไม่มีการติดตั้ง Ubuntu มาให้แต่อย่างใด
ก้าวนี้อาจจะเป็นก้าวแรกของการก้าวเข้ามาในตลาดองค์กรของ Canonical ที่ตามรอยรุ่นพี่อย่าง Redhat แต่จะสำเร็จหรือไม่อาจจะต้องอาศัยความพยายามมากกว่าการรองรับแต่ไม่ได้ช่วยขายเช่นนี้
ที่มา - ExtremeTech
ข่าวนี้เก่าไปหลายเดือน แต่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากรู้ว่าบริการยอดฮิตอย่าง Instagram สามารถรองรับโหลดปริมาณมหาศาลจากผู้ใช้ทั่วโลกได้อย่างไร
เรื่องนี้มีอธิบายไว้ในบล็อก Instagram Engineering
เซิร์ฟเวอร์
ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์เป็น Ubuntu 11.04 โดยทีมงานบอกว่า Ubuntu รุ่นก่อนๆ มีปัญหากับ EC2 แต่ในรุ่นนี้ไม่มีแล้ว
Load Balancing
เดิมที Instagram ใช้เซิร์ฟเวอร์ NGINX สองตัว สลับกันแบบ DNS Round-Robin
ถ้ายังจำข่าว เอเอ็มดีเข้าซื้อ SeaMicro บริษัททำเซิร์ฟเวอร์แบบใช้ซีพียูจำนวนมาก กันได้ เดิมทีบริษัท SeaMicro ทำเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ใช้ซีพียู
AMD ยังทำตลาดซีพียู Opteron อย่างต่อเนื่อง โดยออก Opteron 3200 Series ซีพียูเซิร์ฟเวอร์รุ่นถูกแบบ 1 ซ็อคเก็ต ที่กดราคาให้เท่ากับซีพียูเดสก์ท็อป
กลุ่มเป้าหมายของ Opteron 3200 คือลูกค้ากลุ่มเว็บโฮสติ้งแบบ dedicated server ที่ไม่ต้องการพลังซีพียูสูงมากเหมือนกับเซิร์ฟเวอร์แบบแชร์หรือเซิร์ฟเวอร์องค์กร
Opteron 3200 มีคุณสมบัติดังนี้
เรื่องที่อเมซอนปิดบังเหมือนกับกูเกิลนั่นคือการออกแบบศูนย์ข้อมูลของตัวเองว่าหน้าตาหรือขนาดเป็นอย่างไร จนทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้จำนวนเครื่องที่แน่นอนของอเมซอน แต่ Huan Liu นักวิเคราะห์จาก Accenture ก็ประเมินว่ามีเครื่องทั้งหมด 445,000 เครื่อง
กระบวนการประเมินนี้อาศัยชื่อโดเมนและหมายเลขไอพีของเครื่องในอเมซอนที่ย้อนกลับไปได้ว่าเครื่องใดอยู่ตู้แร็กใด แล้วประมาณการณ์ว่าแต่ละตู้น่าจะมีเครื่องอยู่จำนวน 64 เครื่อง โดยเขายอมรับว่าการประเมินแบบนี้เป็น "การเดาอย่างมีหลักการ"