บริการสตรีมมิ่ง Disney+ เริ่มให้บริการในอเมริกาและอีกไม่กี่ประเทศไปแล้ว (อ่านรีวิว) โดยเตรียมขยายจำนวนประเทศที่ให้บริการเพิ่มเติมในวันที่ 31 มีนาคม ปีหน้า อย่างไรก็ตามคำถามที่หลายคนอยากทราบก็คือแล้วเมืองไทยจะมาเมื่อใด?
เว็บไซต์ TechCrunch อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง 2 ราย ระบุตรงกันว่าแผนเปิดตัว Disney+ ในต่างประเทศเพิ่มเติมนั้นวางไว้เป็น อินเดีย กับบางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มให้บริการได้เร็วที่สุดในช่วงครึ่งหลังปี 2020 หรือปีหน้า
Grab ประกาศเข้าลงทุนในบริษัทขนส่งพัสดุสินค้า Ninja Van ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย ซึ่งจากนี้บริการของ Ninja Van จะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงผลในแอปของ Grab ผ่านบริการขนส่งพัสดุ GrabExpress
นอกจากความร่วมมือด้านขนส่งสินค้า Ninja Van ยังเตรียมเพิ่มตัวเลือกการจ่ายเงินผ่าน GrabPay และให้บริการประกันภัยผู้ขนส่งสินค้าผ่าน Grab Financial อีกด้วย
Ninja Van เป็นบริษัทให้บริการขนส่งพัสดุสินค้าที่ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้บริการอยู่ใน 450 เมือง และมีสาขาในประเทศไทย
ที่มา: Channel News Asia
วันนี้ในงาน Google Playtime 2018 งานสรุปภาพรวมประจำปีของ Google Play ระบุว่าผู้ใช้ใหม่ที่จ่ายเงินมักนิยมการจ่ายเงินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์หรือบัตรเติมเงินมากกว่า 80% ขณะที่การจ่ายแบบดั้งเดิมเช่นบัตรเครดิตนั้นคิดเป็น 20% เท่านั้น
กูเกิลไม่ได้เปิดเผยว่าผู้ใช้ที่จ่ายเงินในแอปทั้งหมดมีอัตราส่วนเป็นอย่างไร แต่สถิตินี้ก็แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้รายใหม่ๆ นิยมการจ่ายเงินที่ไม่ต้องผูกบัตรเครดิตอย่างมาก โดยตอนนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย กูเกิลสามารถตัดเงินผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์ได้ 25 เครือข่ายใน 7 ประเทศ และมีบัตรเติมเงินขายใน 4 ประเทศ
Blognone ได้รับเกียรติจาก AIS ไปชมการแข่งขัน PVP E-Sports Championship ณ Suntec City Convention Center ประเทศสิงคโปร์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ชิงความเป็นหนึ่งประจำภูมิภาค พร้อมชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 ดอลลาร์
รายการ PVP E-Sports Championship เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันในระดับภูมิภาคระหว่าง Singtel Group และ โอเปอเรเตอร์ในเครือรวม 6 ประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ AIS จากประเทศไทย โดย AIS จัดการแข่งขัน Thailand PVP E-Sports Championship Powered by AIS เพื่อเฟ้นหาตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันในรายการนี้ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ทีมได้เป็นตัวแทนคือทีม ALPHA X สำหรับ RoV และ Hashtag?.DOTA สำหรับ Dota 2
หลัง Grab ควบรวมกิจการของ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อให้เกิดคำถามตัวใหญ่ๆ ถึงการผูกขาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ทางฝั่ง Grab เองกลับมองว่าการแข่งขันด้านนี้ในภูมิภาคยังมีพื้นที่เหลืออีกมาก
Hooi Ling Tan ผู้ร่วมก่อตั้ง Grab แสดงความคิดเห็นใน Rise Conference งานประชุมด้านเทคโนโลยีที่ฮ่องกงว่า การแข่งขันด้านนี้ยังคงมีอยู่ และเขาเองก็ไม่คิดว่าการแข่งขันจะหายไป Grab ยังคงเรียนรู้ยุทธศาสตร์และแทคติคจากผู้ให้บริการทางเลือกอื่นๆ อยู่ตลอด
Ming Maa ประธานบริษัท Grab ให้สัมภาษณ์โดยเปิดเผยตัวเลขผลการดำเนินงานเป็นครั้งแรก บอกว่า Grab มีรายได้ 12 เดือนย้อนหลังรวมทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ แล้ว แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดเพิ่มเติม และบอกว่าแม้จะมีรายได้ระดับนี้ แต่บริษัทก็ยังไม่อยู่สถานะที่มีกำไร ซึ่งก็ยังไม่มีแผนจะกำไรในระยะสั้นด้วย
ในช่วง 12 เดือนย้อนหลังที่ผ่านมา Grab ยังขยายพื้นที่ให้บริการไปอีกถึง 162 เมือง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Maa บอกว่า Grab ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยโฟกัสที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากภูมิภาคนี้อัตราที่ประชากรมีรถยนต์ส่วนตัวนั้นต่ำ และระบบขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดีนัก
Go-Jek แพลตฟอร์มบริการรถแท็กซี่จากอินโดนีเซีย ซึ่งถูกคาดหมายมาก่อนหน้านี้ว่าน่าจะเตรียมบุกตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่าเตรียมเปิดให้บริการใน 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ และไทย โดยใช้เงินลงทุนราว 500 ล้านดอลลาร์
การประกาศบุกตลาดนอกอินโดนีเซียของ Go-Jek นั้นไม่เกินคาด หลังจากที่ Uber ประกาศขายธุรกิจในภูมิภาคนี้ให้กับ Grab จึงเป็นโอกาสที่ Go-Jek จะเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ในตลาด ทั้งนี้ Go-Jek เริ่มต้นในอินโดนีเซียจากการเป็นแอพเรียกมอเตอร์ไซด์รับจ้าง จากนั้นจึงขยายสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งแท็กซี่, รถยนต์ส่วนตัว, จ่ายเงินผ่านมือถือ, ส่งอาหาร ฯลฯ
Jon Russell แห่ง TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า Alibaba กำลังเจรจาเข้าร่วมลงทุนในแอพแท็กซี่ Grab ด้วยมูลค่าที่ยังไม่ได้สรุป และอาจต้องรอให้ดีลควบรวมกับ Uber ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสร็จสิ้นก่อน
ตัวแทนทั้ง Grab และ Alibaba ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกับข่าวดังกล่าว
ตามที่มีข่าวออกมาเมื่อวานนี้ เช้าวันนี้ Uber ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะขายธุรกิจทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ให้กับคู่แข่งรายสำคัญในพื้นที่ Grab ซึ่ง Grab ระบุว่าเป็นดีลบริษัทสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่เคยมีมา
รายละเอียดของดีลนั้น Uber จะได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น 27.5% ใน Grab และ Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber จะเข้ามานั่งเป็นบอร์ดบริหารใน Grab ด้วย โดยการควบรวมนี้ Grab จะได้ทุกธุรกิจของ Uber ในภูมิภาคคือบริการแชร์รถ และบริการส่งอาหาร Uber Eats ด้วย
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Uber ได้บรรลุข้อตกลง เพื่อเตรียมขายธุรกิจทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ให้กับคู่แข่งสำคัญในพื้นที่อย่าง Grab โดยจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในเช้าวันพรุ่งนี้ (จันทร์ที่ 26 มีนาคม 2018)
มีรายงานมาก่อนหน้านี้แล้วว่า Uber มีแผนจะขายกิจการเพื่อออกจากภูมิภาคนี้ และไปโฟกัสเฉพาะพื้นที่ซึ่งทำกำไรได้อย่างในอเมริกา คล้ายกับตอนขายธุรกิจในจีนและรัสเซีย
Alibaba ประกาศวันนี้ว่าจะเพิ่มเงินลงทุนในอีคอมเมิร์ซ Lazada อีกถึง 2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้เมื่อรวมกับเงินลงทุนในอดีต ในปี 2016 และ 2017 ตอนนี้ Alibaba ได้ลงทุนไปแล้วรวมถึง 4 พันล้านดอลลาร์
Alibaba บอกว่าการลงทุนเพิ่มเติมต่อเนื่อง มาจากความมั่นใจในอนาคตของ Lazada กับตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นส่วนหนึ่งในแผนการเติบโตของเครือ Alibaba
แถลงการณ์นี้ยังระบุว่า Max Bittner ซีอีโอคนปัจจุบันจะเปลี่ยนไปรับบทบาทที่ปรึกษาอาวุโสให้กับกลุ่ม Alibaba โดย Lucy Peng ประธานบอร์ด Lazada จะมารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่เพิ่มเติมอีกตำแหน่งแทน
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Grab ใกล้ปิดดีลเพื่อซื้อกิจการทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Uber แล้ว หลังจากที่มีข่าวก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้งหมดใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า
ในเงื่อนไขการควบรวมนั้น Grab จะได้ตัวธุรกิจทั้งหมดของ Uber ในภูมิภาค ซึ่งสิ่งตอบแทนก็คือ Uber จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใน Grab ซึ่งตัวเลขจะอยู่ราว 20% ทำให้ Grab ต้องเจรจากับนักลงทุนปัจจุบันด้วยเนื่องจากต้องมีการออกหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งหนึ่งในนักลงทุนที่เจรจาก็คือ SoftBank ที่เป็นผู้ลงทุนหลักทั้ง Grab และ Uber
เว็บไซต์ CNBC อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า Uber เตรียมถอนตัวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะขายกิจการให้ Grab แลกกับการเข้ามาถือหุ้นใน Grab ด้วย
รูปแบบของดีลจะคล้ายกับในจีน ที่ Uber ขายกิจการให้คู่แข่ง Didi Chuxing ในปี 2016 แลกกับการถือหุ้นบางส่วนใน Didi และการถอนตัวจากรัสเซียโดยควบกิจการกับ Yandex Taxi ในปี 2017
การถอยทัพในภูมิภาคเหล่านี้ จะทำให้ Uber มีเวลาและทรัพยากรกลับไปโฟกัสในตลาดสำคัญๆ อย่างสหรัฐและยุโรปมากขึ้น
JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่เบอร์สองในจีน ประกาศแผนธุรกิจเตรียมบุกอเมริกาภายในครึ่งหลังของปี 2018 นี้ นอกจากนี้ยังเตรียมเพิ่มความแข็งแกร่งของธุรกิจ Logistics โดยให้ Tencent เข้ามาถือหุ้น 15% ในบริษัทย่อยด้านนี้
Richard Liu ประธานของ JD.com กล่าวว่าเมื่อบริษัทตัดสินใจเดินหน้าสู่แผนงานใดแล้ว เงินลงทุนจะไม่มีจำกัดในสิ่งนั้น จนกว่าบริษัทจะบรรลุเป้าหมายได้ตามต้องการ ทั้งนี้ในอเมริกาปัจจุบัน JD.com ได้มีความร่วมมือกับร้านค้าปลีก Walmart อยู่ก่อนหน้าแล้ว โดยมีเป้าหมายคือสามารจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกัน (Same-Day) แบบที่ Amazon ทำได้
JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่เบอร์สองของจีน เริ่มรุกสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยล่าสุดได้ประกาศเข้าลงทุนซีรี่ส์ C ใน Tiki อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของเวียดนาม ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย แต่ JD.com บอกว่าจะทำให้บริษัทเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Tiki
ปัจจุบัน JD.com มีการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว โดยมีอีคอมเมิร์ซอยู่ในอินโดนีเซีย และเป็นพาร์ทเนอร์กับกลุ่มเซ็นทรัลในประเทศไทย
ทั้งสองบริษัทจะร่วมมือกันทั้งเรื่องการบริการจัดการประสบการณ์ลูกค้า, การจัดซื้อ, การขนส่ง ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ
Go-Jek แพลตฟอร์มแอพเรียกแท็กซี่ของอินโดนีเซีย ประกาศเข้าซื้อกิจการคราวเดียวถึง 3 แห่ง โดยทั้งหมดเป็นธุรกิจด้านบริการทางการเงิน มีรายละเอียดดังนี้
เป็นที่รู้กันว่า SoftBank ได้ลงทุนในบริษัทเรียกรถมากมาย Ola, Grab, 99, DiDi Chuxing และล่าสุด Uber ซึ่งยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ
ล่าสุดสำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับ Grab ว่า SoftBank อาจจะรวมบริษัทเรียกรถที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นบริษัทเดียว (ทั้ง Uber และ Grab) ซึ่งดีลการควบบริษัทอาจจะคล้าย ๆ กับที่ Uber ควบกิจการกับ DiDi Chuxing ในจีนก็ได้
ยังมีประเด็นเพิ่มเติมจาก Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber ซึ่งไปพูดในงานสัมมนา DealBook ที่นิวยอร์ก เกี่ยวกับผลประกอบการของ Uber, การแข่งขันในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
Sea หรือชื่อเดิม Garena ได้ยื่นเอกสารไอพีโอเพื่อเตรียมเข้าตลาดหุ้นในอเมริกา โดยคาดจะระดมทุนราว 1 พันล้านดอลลาร์
Sea เปลี่ยนชื่อมาจาก Garena เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ยังใช้แบรนด์ Garena ในธุรกิจเกมออนไลน์ต่อไป เนื่องจากบริษัทมีการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ อาทิ อีคอมเมิร์ซ Shopee และบริการจ่ายเงิน AirPay
ธุรกิจเกม Garena มีผู้เล่นรวม 40.1 ล้านคน และเป็นผู้ที่เล่นประจำทุกวันถึง 12.9 ล้านคน ทำตลาดอยู่ใน 7 ประเทศคือ อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ไทย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ไต้หวัน และสิงคโปร์
ตัวเลขที่น่าสนใจคือ Shopee ซึ่งมีผู้ใช้งาน 5.4 ล้านคน ณ สิ้นปี 2016 ยอดขายรวมกว่า 1.15 พันล้านดอลลาร์ และมีคู่แข่งหลักคือ Lazada
Traveloka สตาร์ทอัพบริการด้านการท่องเที่ยวจากอินโดนีเซีย ที่เน้นทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งในไทย ได้รับเงินลงทุนเพิ่ม 350 ล้านดอลลาร์จาก Expedia ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ จึงเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรายก่อนหน้ามี Grab, Garena (ตอนนี้ชื่อ Sea), Go-Jek และ Lazada
Traveloka ได้รับเงินลงทุนไปในช่วงที่ผ่านมาแล้วราว 500 ล้านดอลลาร์ จากผู้ลงทุนอาทิ JD.com, Sequoia Capital, East Ventures และ Hillhouse Capital
Amazon ยังคงขยายตลาดอีคอมเมิร์ซสู่ประเทศใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด TechCrunch รายงานว่า Amazon เตรียมเปิดตัวบริการในประเทศสิงคโปร์ในสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งแรก
ในการเปิดตัวนี้ Amazon จะเปิดบริการ Amazon Prime และ Amazon Prime Now ไปพร้อมกันด้วย
แผนการตลาดของ Amazon ได้เริ่มมาระยะหนึ่งแล้ว โดยทำการตลาดผ่านบัญชี Instagram ที่มีผู้ติดตามเยอะของสิงคโปร์ โพสต์ภาพบอกใบ้เป็นนัยว่า Amazon จะมาให้บริการในประเทศเร็วๆ นี้
Alibaba ยักษ์อีคอมเมิร์ซจากประเทศจีน ประกาศลงทุนใน Lazada จากเดิมที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่แล้ว โดยลงทุนเพิ่มอีก 1 พันล้านดอลลาร์ ทำให้มีจำนวนหุ้นจากเดิม 51% เป็น 83% โดยเป็นไปตามยุทธศาสตร์เสริมความแข็งแกร่งในการลงทุนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ Alibaba จะใช้วิธีซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม โดยให้มูลค่ากิจการของ Lazada ที่ราว 3,150 ล้านดอลลาร์ ทำให้เงินลงทุนของ Alibaba ใน Lazada รวมเป็น 2 พันล้านดอลลาร์ (ปีที่แล้วซื้อหุ้นไป 1 พันล้านดอลลาร์)
จากที่เคยประกาศไว้เมื่อปลายปี และเริ่มให้บริการแบบไม่เป็นทางการ มาตั้งแต่เดือนเมษายน วันนี้ Google Cloud Platform ก็ประกาศเปิดบริการเขตสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ
ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของพื้นที่สิงคโปร์คือ asia-southeast1 ถือเป็นเขต (region) ที่สามของกูเกิลในเอเชีย ต่อจากญี่ปุ่นและไต้หวัน โดยเขตสิงคโปร์จะมีโซน (zone) ให้บริการ 2 โซน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากปัญหาต่างๆ
กูเกิลบอกว่าการเปิดศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ ช่วยให้ลดค่า latency ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลง 51-98% (วัด round-trip time) เมื่อเทียบกับการเรียกข้อมูลที่ไต้หวันหรือโตเกียว
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า JD.com ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในประเทศจีน ประกาศแผนลงทุนในประเทศไทยภายในปีนี้ จากที่ปัจจุบันลงทุนในประเทศอินโดนีเซียอยู่แล้วในภูมิภาคนี้
Richard Liu ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ JD.com กล่าวว่าเขาต้องการใช้ประเทศไทยเป็นฮับในให้บริการยังประเทศอื่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม และมาเลเซีย
อย่างไรก็ตามเขาปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลของขนาดเงินที่จะลงทุนในประเทศไทย
ที่มา: Reuters
Garena ค่ายเกมจากสิงคโปร์เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Sea หลังระดมทุนรอบใหม่ได้ 550 ล้านดอลลาร์ มีผู้ร่วมลงทุนรายใหญ่เช่น GDP Venture และ JG Summit Holdings
Garena หรือ Sea รุกตลาดเกมส์ในอาเซียนมาได้พักใหญ่แล้ว แต่มีประเทศอินโดนีเซียที่ Sea ยังไม่ได้เข้าไปทำตลาด เพราะมีรายใหญ่อย่าง Alibaba เป็นคู่แข่งสำคัญ ที่เข้าซื้อ Lazada Group SA มาตั้งแต่ปี 2016 โดยชื่อบริษัทใหม่ Sea มาจากคำว่า Southeast Asia นั่นเอง
Sea จะใช้เงินระดมทุนรอบใหม่นี้ลงทุนขยายตลาดอีคอมเมิร์ซ (Shopee) ในอินโดนีเซีย ที่นับวันตลาดค้าขายออนไลน์จะใหญ่ขึ้นทุกที โดยตัวเลขล่าสุดคือมูลค่าตลาด 3 พันล้านดอลลาร์