ทีโอที และดีแทค ประกาศความร่วมมือให้บริการบนคลื่นความถี่ 2300 MHz เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในชื่อ “dtac-T” ด้วยโครงข่ายและเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อก้าวสู่ 5G พร้อมขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0
ดร.มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า สัญญาทางธุรกิจและความร่วมมือระหว่างทีโอทีและดีแทคในการใช้งานคลื่นความถี่ 2300 MHz บนแบนด์วิดท์ที่กว้างที่สุดถึง 60 MHz ถือเป็นการปักหมุดความก้าวหน้าครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง 4G LTE-TDD มาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Fixed Wireless broadboard) เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุมชุมชนและครัวเรือนต่างๆ ในพื่นที่ห่างไกลทั่วประเทศ
แผนการควบกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint มีการคุยกันมาอย่างยาวนาน และล่มมาแล้วหลายรอบ (รอบล่าสุดคือ พ.ย. 2017) แต่ในที่สุด ทั้งสองบริษัทก็สามารถเจรจากันได้สำเร็จ (สักที)
บริษัทใหม่จะใช้ชื่อว่า T-Mobile โดย John Legere ซีอีโอของ T-Mobile จะนั่งเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่ ส่วน Marcelo Claure ซีอีโอของ Sprint จะไม่มีตำแหน่งบริหาร แต่จะได้เป็นบอร์ดของบริษัทใหม่ ร่วมกับ Masayoshi Son ประธานและซีอีโอของ SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ Sprint
ภายใต้โครงสร้างของบริษัทใหม่ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile จะถือหุ้น 42% และ SoftBank จะถือหุ้น 27% ส่วนที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์
TOT และ บริษัทเทเลแอสเสท บริษัทในเครือของกลุ่มดีแทค ลงนามในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคม และสัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศระบบ 2300 MHz อย่างเป็นทางการ เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD คลื่น 2300 MHz
หลังจาก กสทช. เรียกทรูเข้าชี้แจง กรณีภาพบัตรประชาชนที่ลงทะเบียนสามารถเข้าถึงได้เป็นสาธารณะ ล่าสุด กสทช. ส่งหนังสือถือบริษัท เรียล มูฟ จำกัด (TrueMove H) ให้รับผิดชอบและเยียวยาความเสียหาย ทั้งทางแพ่งและอาญา ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมจัดให้มีช่องทางการตรวจสอบการได้รับผลกระทบโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
กสทช. ยังระบุให้ TrueMove H จัดมาตรการป้องกันและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางเทคนิคและการจัดการภายในองค์กร โดยระดับการรักษาความปลอดภัยต้องเหมาะสมกับความเสี่ยงที่จะเกิด ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นอย่างน้อย และจะต้องมีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
จากการดูงานการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมประเทศวากันด้า พบว่าช่วงปีที่ผ่านมา กิจการโทรคมนาคมในวากันด้าผ่านประสบการณ์น่าสนใจ และมีการจัดการปัญหาได้อย่างน่าทึ่ง จนควรเขียนเป็นรายงานว่ากสทช. วากันด้า มีแนวทางการจัดการปัญหาอย่างไรบ้าง
เริ่มตั้งแต่สามปีที่แล้ว กสทช. วากันด้ามีแนวคิดจะให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องยืนยันตัวตนเสมอ จึงเตรียมออกมาตรการเพื่อให้บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เช่น Wakanda Telecom, Panther Move ร่วมกันยืนยันตัวตนผู้ใช้ แต่กสทช. วากันด้าก็ตระหนักว่า ถ้าสักแต่สั่งให้เก็บข้อมูลก็จะได้แต่ข้อมูลที่เป็นขยะ ใช้งานอะไรไม่ได้ แถมข้อมูลจริงที่ส่งมาก็ต้องเตรียมแนวทางจัดเก็บให้ดี
Rakuten ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซราชใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นประกาศว่า ตอนนี้ทางบริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการเข้าสู่ธุรกิจการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์แล้วหลังจากที่แสดงความสนใจมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งจะถือเป็นผู้ให้บริการรายที่ 4 ของญี่ปุ่น จากปัจจุบันที่มี NTT DoCoMo, KDDI และ SoftBank และถือเป็นการให้ใบอนุญาตผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหม่ครั้งแรกนับตั้งแต่ eMobile ที่ได้รับใบอนุญาตไปตั้งแต่ 13 ปีที่แล้ว (ปัจจุบัน eMobile อยู่ภายใต้ SoftBank)
กูเกิลประกาศลงทุนในโครงการเคเบิลใต้น้ำ Japan-Guam-Australia (JGA) Cable System ที่ลากสายเคเบิลจากญี่ปุ่น ผ่านเกาะกวม ลงมายังซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ความยาว 9,500 กิโลเมตร
เคเบิลเส้น JGA มีความสำคัญต่อแผนการของกูเกิลในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมันจะเชื่อมต่อกับสายเคเบิลอื่นๆ ที่กูเกิลเคยลงทุนไว้ก่อนหน้าจนครบเป็นวงกลมพอดี (ดูภาพประกอบ) โดยกูเกิลเรียกมันว่า Southeast Asia - Australia Constellation
จากประเด็นหลายๆ อย่างของ dtac ในช่วงหลัง ตั้งแต่ยอดลูกค้าถดถอย ไปจนถึงการประกาศลาออกของซีอีโอ ลาร์ส นอร์ลิ่ง อาจทำให้ความเชื่อมั่นใน dtac สั่นคลอน
วันนี้ Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณซิกเว่ เบรกเก้ ประธานและซีอีโอของ Telenor Group ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ dtac ที่เดินทางมายังประเทศไทยพอดี และได้ถามคำถามที่หลายคนอยากรู้ว่า "Telenor จะยังอยู่ในเมืองไทยต่อไปหรือไม่"
นอกจาก Qualcomm เปิดตัวชิปโมเด็ม LTE ตัวใหม่ที่รองรับ Category 20 บริษัทยังประกาศทำชิปโมเด็มสำหรับ 5G แล้ว
ชิปโมเด็มตัวใหม่จะใช้ชื่อรุ่นว่า Snapdragon X50 5G modem โดยพัฒนาขึ้นบนสเปกของ 5G New Radio ที่ออกเป็นมาตรฐานแล้ว
Qualcomm โชว์พันธมิตรที่ร่วมทดสอบ X50 เป็นโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่จากทั่วโลก เช่น AT&T, Verizon, China Mobile, Vodafone, Docomo, KDDI, T-Mobile รวมไปถึงผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สมาร์ทโฟน ทั้ง Asus, HTC, LG, HMD Global, Oppo, OnePlus, Sony, Vivo, Xiaomi, ZTE
การทดสอบโมเด็ม X50 จะมีขึ้นภายในปีนี้ และสินค้าจริงจะวางขายในปี 2019
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแทบจะในทุกมิติของชีวิต ทั้งผู้ใช้ทั่วไปที่มีการใช้งานอุปกรณ์ไร้สายกันมากขึ้น มีการเชื่อมต่อแทบจะตลอดเวลา ขณะที่ฝั่งภาคธุรกิจก็เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานและช่วยเหลือในแง่ของการปรับตัวไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ที่กำลังเป็นกระแสและหลายองค์กรทั่วประเทศเริ่มนำมาปรับใช้
ก่อนหน้านี้มีรายงานเอกสารหลุดจาก National Security Council ว่ารัฐบาล Trump กำลังหาวิธีการป้องกันข้อมูลหลุดไปจีนโดยจะหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมจากจีน ซึ่งมีวิธีที่พิจารณาตั้งแต่การให้รัฐลงทุนเองทั้งหมดแล้วให้เอกชนเช่าใช้งาน หรือให้เอกชนรวมตัวกันสร้างเครือข่ายเดียว
ล่าสุด Recode ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวหลายคน โดยกล่าวว่าเอกสารที่หลุดออกมานั้นเก่าแล้ว และตอนนี้ข้อเสนอดังกล่าวก็ตกไปแล้ว รวมถึงข้อเสนอนี้ก็ไม่ใช่ข้อเสนอที่จริงจังมากของ NSC แต่เป็นเพียงไอเดียที่นำเสนอโดยพนักงานคนหนึ่งเท่านั้น และไม่น่าจะมีผลกับการปรับนโยบายใด ๆ
เว็บไซต์ข่าว Axios ได้เอกสารหลุดจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council คนละหน่วยกับ NSA) ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐในยุคทรัมป์ กำลังวางแผนจะลงทุนสร้างเครือข่าย 5G ด้วยตัวเอง เพื่อรับมือภัยคุกคามจากจีน
ในเอกสารให้เหตุผลว่า จีนกำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในตลาดอุปกรณ์เครือข่าย (ในเอกสารมีชาร์ทแสดงว่า Huawei กลายเป็นอันดับหนึ่งของตลาดแทน Nokia/Ericsson) และปัญหาภัยคุกคามด้านข่าวกรองไซเบอร์จีน ทำให้รัฐบาลสหรัฐมองว่าต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร (ในที่นี้คือ 5G) ที่ควบคุมได้
NTT DoCoMo ผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ของญี่ปุ่นประกาศร่วมมือกับโนเกียในการพัฒนาโครงข่าย 5G สำหรับใช้งานภายในประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทจะเลือกใช้ฮาร์ดแวร์จากโนเกียสำหรับการติดตั้งโครงข่าย 5G ในประเทศ คาดว่าน่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2020
สำนักข่าว BusinessKorea รายงานแผนของ Samsung ว่าชิพ Exynos 5G ซึ่งเป็นชิพโมเด็ม 5G สำหรับใช้ในสมาร์ทโฟนจะเริ่มนำมาใช้งานในมือถือรุ่นปี 2019
การพัฒนา Exynos 5G ของ Samsung นี้เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตอื่น และเพิ่มอัตราการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตโดย Samsung เอง ซึ่งโมเด็ม 5G แบบใหม่นี้จะรองรับร่างมาตรฐานของ 3GPP สำหรับ Release 15 ซึ่งเป็นร่างมาตรฐาน 5G ที่คาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนปีนี้ ชิพของ Samsung จะรองรับทั้งมาตรฐาน non-standalone (NSA) และ standalone (SA) ซึ่งหมายความว่าชิพนี้จะรองรับการเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณ LTE เก่า และเสาสัญญาณแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อ 5G โดยเฉพาะ
Infocomm Media Development Authority (IMDA) หรือกสทช. สิงคโปร์ เสนอแนวทางกำกับดูแลใหม่สำหรับการแก้ปัญหาเมื่อผู้บริโภคร้องทุกข์ว่าถูกคิดค่าบริการเกินจริง เช่น ค่าโรมมิ่ง, หรือค่าอินเทอร์เน็ตเกินแพ็กเกจ โดยจะตั้งหน่วยงานตัดสินเฉพาะทางขึ้นมา เรียกว่า alternative dispute resolution (ADR)
ตามข้อเสนอนี้ ข้อร้องเรียนที่จะเข้ากระบวนการ ADR ต้องร้องเรียนความผิดพลาดกับผู้ให้บริการก่อน 14 วันเพื่อขอให้แก้ไข หากตกลงกันไม่ได้ต้องประชุมเยียวยา (mediation) เพื่อสร้างข้อเสนอใหม่ ถ้าตกลงกันได้ข้อตกลงจะผูกพันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าไม่ได้กรรมการ ADR จะเป็นผู้ตัดสินเอง (adjudication) แต่คำตัดสินนี้จะผูกพันต่อเมื่อผู้บริโภคยอมรับเท่านั้น หากผู้บริโภคไม่ยอมรับก็สามารถกลับไปใช้กระบวนการศาลตามปกติต่อไป
3GPP กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ประกาศโหวตรับรองมาตรฐาน 5G ฉบับแรกคือ 5G NR (New Radio) แล้ว ถือเป็นก้าวแรกของการผลักดัน 5G ในการใช้งานจริง
ตามแผนของการออกมาตรฐาน 5G จะออกเวอร์ชันเต็ม (Standalone) ในเดือนมิถุนายน 2018 แต่ทางกลุ่ม 3GPP ตัดสินใจรีบออกส่วนที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นวิทยุ (New Radio) มาก่อน เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm หรือ Intel มีเวลาพัฒนาอุปกรณ์ของตัวเองให้รองรับคลื่นชุดใหม่ได้ก่อน
ตามสเปกของ 5G รองรับคลื่นหลายย่าน ตั้งแต่คลื่นความถี่ต่ำ 600-700MHz ไปจนถึงคลื่นความถี่สูงถึง 50GHz ตัวเอกสารฉบับเต็มจะออกตามมาภายในสัปดาห์นี้
ตลาดพรีเพดบ้านเรายกระดับไปอีกขั้น เมื่อค่ายสีฟ้า dtac เปิดตัว "ซิมเติมเงินรายปี" สำหรับการใช้เน็ตแบบระบุความเร็วแบบไม่จำกัดปริมาณ ไม่ลดสปีด ซื้อซิมครั้งเดียวใช้ได้นาน 12 เดือน ในราคาที่ถูกกว่าซื้อแพ็กเกจเอง 50%)
ชื่อซิม "โชคดีปีจอ" อาจฟังดูแปลกๆ อยู่บ้างเวลาไปซื้อ (มาพร้อมกับเบอร์มงคลด้วย ชื่อภาษาอังกฤษเรียก Golden Dog Sim) แต่เงื่อนไขการให้บริการก็ถือว่าน่าสนใจ
การประมูลคลื่น 1800MHz ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า 2561 มีประเด็นถกเถียงมากมาย
บริษัทที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมและการประมูลคลื่นความถี่ NERA Economic Consulting (เคยเป็นที่ปรึกษาของ กสทช. ในการประมูลคลื่นย่าน 2100MHz ในปี 2552) ก็ออกรายงาน whitepaper พูดถึงความเสี่ยงของการประมูลครั้งนี้ (Spectrum Auction Risks Leaving Thailand
Stranded in a Mobile Data Slow Lane)
Hans-Martin Ihle ที่ปรึกษาอาวุโสของ NERA มาให้ความเห็นต่อการประมูลครั้งนี้ที่ประเทศไทย (ภายใต้การจ้างศึกษาของ dtac ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของการประมูล) ให้ความเห็นสำคัญ 2 ประการคือ เมืองไทยกำลังประสบปัญหาคลื่นไม่พอใช้จนทำให้เน็ตช้า และราคาตั้งต้นของการประมูลรอบใหม่นั้น "แพงเกินไป" และอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
ปีหน้า 2561 จะเป็นปีสำคัญของวงการโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อ กสทช. ประกาศจัดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ (คลื่นของ dtac ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2561) ถือเป็นการประมูลครั้งสำคัญของ dtac ที่จะต้องทุ่มสุดตัว คว้าคลื่นมาครองให้จงได้
ในภาพรวม การประมูลครั้งนี้ถือเป็นภาคสุดท้ายของ "ไตรภาค" การประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่จะเป็นการปิดฉากความถี่ในระบบสัมปทานเดิม และเป็นการพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของใบอนุญาตอย่างสมบูรณ์
ในโอกาสนี้เรามาย้อนดูการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมในไทยทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา
Rakuten ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น ประกาศแสดงความสนใจขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโทรคมนาคม 4G ภายในประเทศ ซึ่งหาก Rakuten ได้สิทธินี้ อาจทำให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่เบอร์ 4 ภายในประเทศ จากที่ปัจจุบันญี่ปุ่นมีผู้ให้บริการใหญ่ 3 รายคือ NTT Docomo, SoftBank และ KDDI
ในเอกสารแถลงของ Rakuten นั้นระบุว่าโทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในฐานะจุดเชื่อมต่อระหว่างลูกค้ากับบริการต่างๆ ของบริษัทมากขึ้นเรื่อยๆ การได้สิทธิใบอนุญาตจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยบริษัทคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในปี 2019 และคาดจะมีฐานลูกค้าราว 15 ล้านเลขหมาย
Facebook ลงทุนวิจัยเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใหม่ๆ มาได้สักระยะ เช่น การใช้โดรน Aquila กระจายสัญญาณเน็ตจากที่สูง หรือที่เรียกว่า high altitude platform station (HAPS)
ล่าสุด Facebook ประกาศความร่วมมือกับบริษัทเครื่องบิน Airbus เพื่อพัฒนาเทคนิคการส่งสัญญาณสำหรับ HAPS ที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม
ข่าวคราวที่น่าสนใจของตลาดบรอดแบนด์ในบ้านเรา เมื่อ AIS Fibre ออกโปรโมชั่นใหม่ที่เพิ่มความเร็วเน็ตให้เป็นพิเศษในตอนกลางวัน
แพ็กเกจใหม่ชื่อว่า PowerBoost เน้นลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก (Home Office และ SME) ที่ใช้งานเน็ตเยอะในช่วงกลางวันเวลางาน โดยจะเพิ่มความเร็วเน็ตให้มากกว่าปกติระหว่าง 6.00-18.00 น.
Ofcom หรือกสทช.อังกฤษ ทำความตกลงกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provier - ISP) รายใหญ่ 5 รายได้แก่ BT, Sky, TalkTalk, Virgin Media, และ Zen Internet ให้เข้าโครงการชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีความผิดพลาดในการบริการโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องยื่นคำร้องขอค่าชดเชยใดๆ
ตอนนี้ Ofcom ระบุให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องชดใช้ค่าเสียหายอัตโนมัติใน 3 กรณี ได้แก่ บริการใช้งานไม่ได้เกิน 2 วันเริ่มชดเชยวันละ 8 ปอนด์, ช่างไม่มาตามนัดโดยไม่แจ้งล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ครั้งละ 25 ปอนด์, และเปิดบริการล่าช้ากว่าที่นัดไว้ วันละ 5 ปอนด์
dtac ทำโครงการ Flip for Site เปิดให้กลุ่มคนเสนอพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณมายัง dtac เพื่อแจ้งให้ทางบริษัททราบว่าพื้นที่ที่เสนอมาสามารถตั้งเสาสัญญาณได้ ไม่ติดขัดปัญหาเรื่องผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
dtac ระบุว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่บริษัทเจอเวลาระบุพื้นที่ตั้งเสา คือหาผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและมีอำนาจตามกฎหมายที่จะเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ติดตั้งเสาไม่เจอ dtac จึงทำโครงการ Flip for Site ขึ้นมา เป็นรูปแบบขอความร่วมมือจากกลุ่มคนจำนวนมากหรือ Crowdsourcing ให้แจ้งพิกัดพื้นที่ที่สามารถตั้งเสาผ่านเว็บไซต์ ทีมงาน dtac จะนำพิกัดที่เสนอมา มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาแผนขยายพื้นที่เสาสัญญาณ เพื่อให้สามารถตั้งเสาได้เร็วขึ้น
นายบุญชัย ตันติวุฒิพงศ์ พนักงานดีแทค หนึ่งในทีมที่คิดริเริ่มโครงการ Flip for Site ระบุว่า มีผู้เสนอจุดติดตั้งเสาสัญญาณเกือบ 8,000 แห่ง ผู้เสนอพื้นที่ยังได้รับเงิน 10,000 บาท หากพื้นที่นั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งเสาสัญญาณดีแทคอีกด้วย
มาเลเซียเตรียมสืบสวนการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ 46.2 ล้านเบอร์ในประเทศ ซึ่งถือเป็นการรั่วไหลของข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของเอเชีย และเชื่อว่าการรั่วไหลของข้อมูลครั้งนี้จะกระทบกับชาวมาเลเซียเกือบทั้งหมด
เว็บไซต์ Lowyat.net ซึ่งเป็นเว็บข่าวเทคโนโลยีมาเลเซียเผยรายละเอียดเรื่องนี้เป็นครั้งแรก โดยกล่าวว่าทางเว็บไซต์เห็นข้อมูลจากคนบางคนที่ต้องการขายฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้ผ่านทางฟอรั่มของเว็บ