Wikileaks ปล่อยเอกสารสำเนาใบเรียกเก็บเงินของบริษัทผลิตซอฟต์แวร์สอดแนมในประเทศเยอรมนีชื่อ FinFisher ทำให้รายชื่อลูกค้าของบริษัทดังกล่าวถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ และในบรรดาลูกค้าของ FinFisher ก็มีบริษัทเอกชนจากสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย
ตามเอกสารที่ Wikileaks ปล่อยออกมา บริษัทจากสิงคโปร์มีชื่อว่า PCS Security ได้ซื้อสิทธิ์ใช้งานซอฟต์แวร์จำนวน 19 ชุด ก่อนจะยกเลิกไป 15 ชุดในภายหลัง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 4 ล้านดอลลาร์ โดยในบรรดาซอฟต์แวร์ PCS Security ขอซื้อสิทธิ์ไปใช้นั้น มี FinSpy รวมอยู่ด้วย
The Fifth Estate คือภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากชีวประวัติของ Julian Assange ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์จอมแฉ WikiLeaks ที่โด่งดังไปทั่วโลก กำกับโดย Bill Condon และได้ดาราอย่าง Benedict Cumberbatch (ตัวร้ายจาก Star Trek Into Darkness) มารับเป็น Julian Assange, Daniel Brühl รับบท Daniel Domscheit-Berg (โฆษกของ WikiLeaks) ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากหนังสือ
พลทหาร Bradley Manning ซึ่งเป็นผู้นำข้อมูลเคเบิลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐมาปล่อยผ่าน Wikileaks ถูกตัดสินโทษแล้ว
ข้อหาหลักที่ Manning โดนคือ "ช่วยเหลือศัตรู" (aiding the enemy) ซึ่งเขาหลุดข้อหานี้ แต่ไปโดนข้อหาจารกรรมหลายกระทงแทน ซึ่งศาลตัดสินลงโทษจำคุกรวม 35 ปี (อัยการสั่งฟ้อง 60 ปี โทษสูงสุดตามกฎหมาย 90 ปี)
Manning ถูกคุมขังมาก่อนแล้ว 1,294 วัน ซึ่งศาลได้หักลดโทษส่วนนี้ให้แล้ว
ที่มา - Mashable
พลทหาร Bradley Manning ยอมรับผิด 10 ข้อหาสำหรับการเปิดเอกสารเคเบิล ให้กับสื่อและเว็บ Wikileaks โทษขั้นต่ำของแต่ละข้อหาคือติดคุกสองปี ทำให้โทษรวมที่เขารับสารภาพทั้งหมดเป็น 20 ปีด้วยกัน แต่ขณะเดียวกันก็ปฎิเสธข้อกล่าวหาอีก 12 ข้อ รวมถึงข้อหาให้ความช่วยเหลือศัตรูที่มีโทษสูงสุดถึงการติดคุกตลอดชีวิต
ก่อนหน้านี้ คดีของ Manning อยู่ระหว่างการพิสูจน์ว่าเขาเป็นผู้ส่งเอกสารทั้งหมดจริงหรือไม่ แต่ในเมื่อเขารับสารภาพเองว่าเป็นผู้ส่งเอกสารทั้งหมด ในการขึ้นศาลเนื้อหาที่ต่อสู้กันคงเป็นเรื่องของความผิดและการตีความว่าการกระทำของเขาอยู่ในระดับการช่วยเหลือศัตรูตามข้อกล่าวหาหรือไม่
WikiLeaks ประกาศเปิดตัวโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คของตัวเองภายใต้สโลแกน 'Encrypted Facebook' หรือ Facebook ในรูปแบบที่ผ่านการเข้ารหัส หลังจากมีการอ้างว่า Facebook ได้ขายข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาลและยังประณามการที่ Facebook สนับสนุนร่างกฎหมาย Cyber Intelligence Sharing and Protection Act (CISPA) ซึ่งว่าด้วยการที่ผู้ให้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลใดๆ ก็ได้ภายใต้ข้ออ้างความปลอดภัยทางไซเบอร์
สำหรับโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คนี้ยังอยู่ในช่วงเบต้า และยังเปิดให้ทุกคนสามารถสมัครสมาชิกได้ภายในลิงก์ที่มาข่าวครับ
WikiLeaks ได้ออกหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการให้กับ Najib Razak นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตของประเทศร่วมกับผู้นำฝ่ายค้าน Anwar Ibrahim ซึ่งในการอภิปรายครั้งนี้ดูแลโดย Julian Assange โดยผู้ก่อตั้ง WikiLeaks ด้วยตนเอง หากทุกฝ่ายยอมรับการอภิปรายในครั้งนี้ จะมีการถ่ายทอดสดการอภิปรายครั้งนี้ในรูปแบบออนไลน์ให้ผู้ชมทั่วโลกได้ชม
ในผลสำรวจภายในประเทศของ Merdeka Center พบว่า 54% ของผู้ถูกสำรวจในมาเลเซียต้องการที่จะเห็นการอภิปรายระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งน่าจะส่งผลไปยังการเลือกตั้งภายในปี 2012 นี้ด้วย
หลังจาก Anonymous ได้แฮกเข้าบริษัท Stratfor ซึ่งเป็นบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยและเป็นหนึ่งในคู่สัญญาของกองทัพสหรัฐฯ และได้ข้อมูลไปเป็นจำนวนมาก เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมานี้ WikiLeaks (ซึ่งอย่างที่รู้ๆ กันว่ามี Anonymous คอยสนับสนุน) ได้ทำการเผยแพร่อีเมลภายในทั้งหมดของบริษัท Stratfor บนเว็บไซต์ของ Wi
สำนักข่าว Fox News ของสหรัฐรายงานข่าววงในจากแหล่งข่าวหลายสายที่พูดตรงกันว่า นักลงทุนผู้อยู่เบื้องหลัง Wikileaks และ Julian Assange กำลังเริ่มย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปยังน่านน้ำสากล เพื่อไม่ให้อยู่ใต้เขตกฎหมายของประเทศใดๆ
ตามกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน เขตน่านน้ำสากลจะใช้กฎหมายพาณิชย์นาวี (maritime law) ซึ่งไม่มีอำนาจฟ้องร้องหรือดำเนินคดี
แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะช่วงหลังสงครามโลกก็มีชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งไปตั้งถิ่นฐานบนป้อมปืนในทะเลเหนือ นอกชายฝั่งอังกฤษ และประกาศตัวเป็นเอกราชในชื่อประเทศ Sealand ถึงแม้จะไม่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ แต่ศาลอังกฤษก็เคยตัดสินว่าไม่มีอำนาจทางกฎหมายต่อ Sealand เพราะอยู่นอกอาณาเขตของอังกฤษ
เอกสารทางการทูตของสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่าเคเบิล เข้าสู่ช่วงการฟังข้อมูลก่อนการพิจารณาคดีของศาลทหาร (Article 32 hearing) โดยตอนนี้ยังเป็นการแสดงหลังฐานที่ผูกผู้ต้องหา Bradley Manning เชื่อมโยงเข้ากับเอกสารที่มีการปล่อยให้หลุดออกไป
Bradley Manning นั้นเป็นนักวิเคราะห์ของกองทัพสหรัฐฯ เขาได้รับลิงก์สำหรับเข้าถึงเอกสารเคเบิลทั้งหมดจากหัวหน้าของเขา
เอกสาร WikiLeaks ชุดล่าสุดที่เปิดเพิ่มขึ้นมาจำนวนมากก็เกิดประเด็นใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ ล่าสุดเอกสาร 06TUNIS2424 เป็นเอกสาร (ที่อ้างว่าเป็น) บันทึกการพูดคุยระหว่างทูตสหรัฐฯ กับผู้จัดการทั่วไปของไมโครซอฟท์ตูนิเซียถึงข้อตกลงกันเมื่อปี 2006
เอกสารระบุว่าในตอนนั้นรัฐบาลตูนิเซียดำเนินนโยบายโอเพนซอร์สเต็มรูปแบบมาตั้งแต่ปี 2001 แต่ตกลงที่จะเริ่มเปลี่ยนนโยบาย โดยเริ่มจากการระบุให้อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต้องทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ได้ และใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกต้องจากทางไมโครซอฟท์ด้วยการซื้อซอฟต์แวร์ชุดแรก 12,000 ชุด
เว็บ WikiLeaks เปิดเผยรายงาน [ที่อ้างว่าเป็น] รายงานของทูตสหรัฐฯ ที่พูดคุยกับกลุ่มธุรกิจของสหรัฐฯ ในเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ถึงโอกาสทางธุรกิจของสหรัฐฯ ในประเทศไทย
รายงานพูดถึงแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีของสหรัฐฯ โดยทั่วไปว่าต้องมีการสนับสนุนภาคการศึกษากับภาครัฐฯ ให้มากขึ้นโดยเฉพาะการร่วมมือในการสร้างแรงงานมีฝืมือที่ได้รับใบรับรองต่างๆ เพราะแม้เมืองไทยจะมีแรงงานมีฝืมือจำนวนมากแต่กลับขาดการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นระบบ ส่วนหอการค้าสหรัฐฯ (The American Chamber of Commerce in Thailand - AMCHAM) เน้นว่าประเทศไทยต้องปลดล็อกโครงสร้างพื้นฐานทั้งแบบมีสายและไร้สาย รวมถึงการเปิดใช้งานโครงสร้างสายไฟเบอร์ระดับประเทศที่รัฐวิสาหกิจถือครองไว้
ต่อเนื่องจากข่าวที่แล้ว Wikileaks ได้ออกมากล่าวหาผ่านทาง Twitter ว่า หนังสือพิมพ์ The Guardian ได้เปิดเผยรหัสที่ใช้สำหรับเปิดดูไฟล์โทรเลขฉบับที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ และกำลังจะดำเนินการทางกฎหมายต่อไป (ทวีตดังกล่าวถูกลบไปแล้ว แต่เว็บไซต์ WLCentral ได้บันทึกเอาไว้) ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่า ไฟล์ดังกล่าวคือไฟล์ชื่อ Wikileaks_insurance ขนาด 1.4 GB ที่ถูกเผยแพร่บน The Pirate Bay ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว
รายงานทางการทูตของสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า Cables นั้นหลุดออกมาเป็นเวลานาน โดย WikiLeaks นั้นได้รับไปจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัว และค่อยๆ เปิดเผยออกมาโดยมีการเซ็นเซอร์ชื่อที่อ่อนไหวออกไปหลายจุด แต่ล่าสุดมีรายงานจากหนังสือพิมพ์ Der Spiegel ว่าไฟล์รหัสผ่านนั้นหลุดออกมาสู่อินเทอร์เน็ตแล้ว
ไม่บ่อยนักครับที่ Julian Assange จะปรากฎตัวต่อสาธารณะ ล่าสุดเขาไปบรรยายที่มหาวิทยาลัย Cambridge และได้เตือนให้คนระวังการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม
Assange กล่าวว่าแม้อินเทอร์เน็ตจะช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร แต่มันก็อำนวยความสะดวกให้รัฐจับกุมผู้ต่อต้านได้ไม่แพ้กัน โดยอ้างกรณีที่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ นักเคลื่อนไหวในอียิปต์ถูกจับกุมเพราะทิ้งร่องรอยบน Facebook
Assange ยังกล่าวอีกว่าบทบาทของ Twitter และ Facebook ในการลุกฮือของประชาชนตะวันออกกลาง มีน้อยกว่าสำนักข่าว Al Jazeera ด้วยซ้ำ
ที่มา - The Guardian
แคมเปญ Courage to Resist เป็นการรณรงค์เพื่อสนับสนุนทหารสหรัฐที่ต่อต้านสงครามและไม่ต้องการไปรบ (ซึ่งจะถูกอีกฝ่ายโจมตีว่า "ขี้ขลาด" โครงการนี้จึงตั้งชื่อว่า "กล้าที่จะปฏิเสธ") โครงการนี้ขอรับเงินบริจาคเพื่อช่วยพลทหาร Bradley Manning ซึ่งเป็นคนที่ปล่อยข้อมูลให้ WikiLeaks
เรื่องที่เป็นข่าวคือบัญชีของ Courage to Resist ถูก PayPal ระงับการใช้งาน จึงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพราะ PayPal โดนกดดันมาอีกที (ดูข่าวเก่า PayPal หยุดให้บริการแก่ WikiLeaks) และเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะตัดท่อน้ำเลี้ยง WikiLeaks
ก่อนหน้านี้มีข่าวบริษัทด้านความปลอดภัย HBGary ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสืบหาผู้ร่วมขบวนการกลุ่ม Anonymous ถูกทางกลุ่มโจมตีและเอาอีเมลจำนวนมากมาเปิดเผย ปรากฏว่ามีข้อมูลการวางแผนดิสเครดิต Wikileaks อยู่ในนั้นครับ
มีการพบสไลด์ข้อเสนอโครงการชื่อ "The Wikileaks Threat" ที่ร่างโดยบริษัท HBGary และอีกสามบริษัท ที่บรรยายแนวทางทำลายความน่าเชื่อถือของ Wikileaks เช่น การส่งข้อมูลปลอมให้ การสร้างกระแสความไม่ไว้ใจในการรักษาความลับ ไปจนถึงการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตไปที่แหล่งเก็บข้อมูล
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันว่าแผนเหล่านี้จะถูกนำไปใช้จริง หรือแม้แต่ว่าเป็นของจริงหรือไม่ ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ
ข่าวล่า(ช้า)ไปหน่อยครับ ตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว จากที่มีข่าวว่าทีมงานบางส่วนของ Wikileaks แยกตัวออกมาตั้งองค์กรใหม่นั้น ตอนนี้องค์กรดังกล่าวคือ OpenLeaks เปิดเว็บไซต์ของตัวเองอย่างเป็นทางการแล้ว
หลักการของ OpenLeaks ที่จะปรับปรุงจุดอ่อนที่ทีมงานเห็นจาก Wikileaks ก็คือ จะไม่เผยแพร่ข้อมูลลับต่าง ๆ เอง แต่จะทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" เชื่อมโยงระหว่างแหล่งข่าวกับสื่อ ทำให้แหล่งข่าวเลือกช่องทางและวิธีการเผยแพร่ข้อมูลได้ พร้อมกับไม่ต้องเปิดเผยตนเองต่อสื่อ และบุคลากรในองค์กรไม่ต้องเสี่ยงถูกคุกคามอย่างที่ Julian Assange โดน
หลังจากมีข่าวโด่งดังเกี่ยวกับการที่รัฐบาลอียิปต์สั่งปิดอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศนั้น สมาชิกในกลุ่ม Anonymous กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดังจึงออกมาตอบโต้โดยการหันมาใช้วิธีย้อนยุคในการเผยแพร่เอกสารของ Wikileaks ที่เกี่ยวกับอียิปต์ โดยทางกลุ่ม Anonymous ได้ทำการแฟกซ์เอกสารเหล่านี้ไปยังโรงเรียนต่างๆ โดยหวังว่าเมื่อนักเรียนในโรงเรียนได้รับแฟกซ์จะนำเอกสารเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อกลุ่มผู้ประท้วงต่อไป
น่าจะยังพอจำกันได้ถึงกลุ่ม Anonymous ที่เคยใช้เทคนิค DDoS โจมตีเว็บไซต์อย่าง Paypal และ Mastercard เพื่อ "แก้แค้น" ให้ Wikileaks นะครับ
มาวันนี้ตำรวจอังกฤษได้จับกุมชายห้าคนที่มีอายุตั้งแต่ 15 - 26 ปี เพราะเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Anonymous ซึ่งกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการกระทำผิดด้วยคอมพิวเตอร์
กลุ่ม Anonymous เคยออกแถลงการณ์บอกว่าพวกตนไม่ใช่แฮ็กเกอร์ แต่เป็นแค่ "พลเมืองเน็ต" ที่รวมตัวกันเพราะทนความอยุติธรรมไม่ได้ เคยมีการถกเถียงกันว่าการทำ DDoS จะเรียกว่าเป็นอารยะขัดขืนได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับที่เคยมีการรุมเข้าไปนั่งในร้านอาหารจนเต็มเพื่อประท้วงเรื่องการจ้างงาน
ที่มา - BBC
เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ส.ส. ไอซ์แลนด์ Birgitta Jónsdóttir ซึ่งเคยเป็นอาสาสมัครให้ Wikileaks ทวีตถึงเรื่องที่ Twitter แจ้งเธอว่ามีหมายศาลมาถึงบริษัทเพื่อขอข้อมูลทวีตและข้อความส่วนตัวของเธอ และเธอมีเวลา 10 วันในการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อคัดค้าน
หมายศาลนั้นออกโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา ผ่านทางศาลในรัฐเวอร์จิเนีย สั่งให้ Twitter ส่งข้อมูลโดยละเอียดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Wikileaks หลายคนให้กับกระทรวงฯ โดยอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "การสืบสวนอาชญากรรม"
เว็บไซต์ ReadWriteWeb ได้รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์แนว Wikileaks หรือที่เรียกว่า Whistleblower (ไม่รู้จะแปลไทยว่าอะไรให้มันกระชับ) จากหลายประเทศ หลายแนว มาให้ดูกันครับ
(ยึดการสะกดชื่อ เว้นวรรค ตามเว็บไซต์ข่าวที่มานะครับ)
หนังสือพิมพ์ Aftenposten (The Evening Post) ของนอร์เวย์เปิดเผยว่าเอกสารการทูตสหรัฐฯ ทั้งหมดกว่า 250,000 ฉบับที่ Wikileaks ทยอยปล่อยในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้น ตนเองได้มาในครอบครองหมดแล้ว
หนึ่งในกองบรรณาธิการให้สัมภาษณ์ว่าหนังสือพิมพ์จะปฏิบัติกับเอกสารเหล่านั้นเช่นเดียวกับข้อมูลข่าวอื่น ๆ คือ อาจจะเผยแพร่หรือไม่ก็ได้ อาจจะเลือกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตหรือบนกระดาษ
แต่ข่าวไม่ได้บอกนะครับว่าได้มาได้อย่างไร
[Update] พอดี @chayanin ท้วงมาว่าเขียนไม่ค่อยชัดเจนและผิดพลาดบางจุด เลยขอแก้ไขเพิ่มเติมครับ
เรื่องขำ ๆ ในข่าวเครียด ๆ ครับ เมื่อ CIA ตั้งคณะงานพิเศษขึ้นมาเพื่อประเมินผลกระทบต่อตัวองค์กรเองจากการที่ Wikileaks เผยแพร่เอกสารลับทางการทูต และหน่วยงานนั้นชื่อว่า Wikileaks Task Force
ใช่แล้วครับ WTF นั่นเอง แม้แต่ที่สำนักงานของ CIA เองก็เรียกกันอย่างนี้
ข่าวบอกอีกด้วยว่าที่ผ่านมามีเอกสารเกี่ยวกับ CIA น้อยมากที่ถูกแฉทาง Wikileaks อาจเพราะว่าใช้ระบบจัดการข้อมูลของตัวเองต่างจากหน่วยงานอื่นครับ
ประเด็น WikiLeaks บุกมาถึงอาณาจักรของแอปเปิลจนได้ ล่าสุดมีรายงานว่าแอปเปิลได้ถอดแอพที่เกี่ยวข้องกับ WikiLeaks ออกจาก App Store ของตัวเองแล้ว
แอพตัวนี้ขายในราคา 1.99 ดอลลาร์ มีไว้อ่านเนื้อหาใน WikiLeaks (ซึ่งเปิดให้อ่านฟรี) ด้านนักพัฒนาแอพตัวนี้คือ Igor Barinov ได้รับอีเมลแจ้งจากแอปเปิลว่าแอพของเขาเปลี่ยนสถานะมาเป็น Removed From Sale แต่ไม่ได้ระบุเหตุผลกำกับเอาไว้
ที่มา - TechCrunch
หลังจากที่ Wikileaks ได้ปล่อยเอกสารลับของสหรัฐอเมริกาจำนวนกว่า 250,000 ชิ้นออกมา โดเมน wikileaks.org ที่เป็นชื่อโดเมนหลักของ Wikileaks ได้ถูกบล็อคและเครื่องให้บริการก็ถูกโจมตีอย่างหนักจนต้องมีการเปิดเว็บไซต์สำรองขึ้นมาทั่วโลก
Laurence Muller เป็นหนึ่งในโปรแกรมเมอร์ที่สนใจการเติบโตของจำนวนเว็บไซต์สำรองของ Wikileaks เขาจึงทำการเขียนโปรแกรมสำหรับเก็บข้อมูลของเว็บไซต์สำรองนี้ขึ้นมา พบว่ามีการเพิ่มจำนวนมากถึง 2,000 เว็บไซต์ในเวลาเพียง 7 วัน โดยเมื่อจำแนกตามประเทศของเครื่องผู้ให้บริการแล้ว เครื่องผู้ใหบริการส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ในประเทศเยอรมัน โดยมีสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสตามมาติดๆ