Netflix ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ GMM Grammy ให้นำซีรีส์ของช่องไปออกอากาศให้กับสมาชิกของ Netflix ที่มีผู้ใช้งาน 125 ล้านคนได้
ตัวอย่างซีรีส์ของค่าย GMM Grammy ที่จะนำไปลง Netflix คือบรรดาซีรีส์เก่าที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็น Hormones, Bad Genius, O-Negative รวมทั้งซีรีส์เรื่องใหม่ 11 เรื่องที่กำลังจะออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็น Girl From Nowhere The Series, The Judgement, Monkey Twins, Bangkok Love Stories Season 2 และ Sleepless Society
Bumble แอพนัดเดทมีฟีเจอร์เชื่อมต่อแอพผ่าน Facebook ได้ ล่าสุดทางบริษัทออกมาประกาศว่าจะไม่พึ่ง Facebook แล้ว ผู้ใช้เดิมสามารถยกเลิกการเชื่อมโยงบัญชีกับ Facebook ได้โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ และผู้ใช้ใหม่ก็ลงทะเบียนการใช้งานด้วยตนเองเข้าแอพได้เลย
Bumble ระบุว่า มีการร้องขอจากผู้ใช้ที่ไม่ประสงค์จะเชื่อมโยงบัญชีกับ Facebook แล้ว และยังบอกด้วยว่า การลงทะเบียนเข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นด้วยตนเอง จะช่วยหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากแอพ third party
แอพอื่นเช่น Tinder, Match และ OkCupid ต่างก็มีทางเลือกการลงทะเบียนด้วยตนเอง แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อมบัญชีผ่าน Facebook ก่อนหน้านี้ที่ Facebook เริ่มจำกัดสิทธิการเข้าถึงของแอพนอก ซึ่งเป็นมาตรการแก้ไขหลังข้อมูลหลุด ส่งผลให้ผู้ใช้หลายรายเข้าแอพ Tinder ไม่ได้
ก่อนหน้านี้ Google เปิดตัว Google Play Instant ทดลองเล่นเกมก่อนดาวน์โหลด ล่าสุด Facebook เอาด้วย โดย Facebook กำลังทดลองระบบเล่นเกมก่อนโหลด โดยทดลองกับโฆษณาเกมผ่านหน้า News Feed
ในช่วงแรก ทดลองระบบในกลุ่มผู้พัฒนาเกม จากนั้นก็จะขยายไปยัง Audience Network หรือเครือข่ายโฆษณาแบบแอพพลิเคชั่นของ Facebook จากนั้นก็จะขยายไปยังผู้ลงโฆษณาทุกรายภายในปีนี้
Amazon เผยข้อมูลในจดหมายถึงผู้ถือหุ้น พบว่าสมาชิก Amazon Prime มี 100 ล้านรายแล้ว Jeff Bezos ซีอีโอเผยว่า เฉพาะปี 2017 Amazon มียอดส่งมอบสินค้า 5 พันล้านชิ้น เป็นผลจากการขยายการบริการไปยังลักเซมเบิร์ก, เม็กซิโก, สิงคโปร์, เนเธอร์แลนด์
Soompi เว็บไซต์ข่าวด้านเพลง K-pop และวงการบันเทิงของเกาหลี จัดรางวัล Soompi Award ครั้งที่ 13 เป็นการจัดอันดับสาขาต่างๆ ของวงการบันเทิงเกาหลี และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ Twitter ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการใน Soompi Award เพิ่มสาขารางวัล #TwitterBestFandom
วิธีการนับคะแนนคือให้บรรดาแฟนคลับติดแฮชแท็ก #TwitterBestFandom ตามด้วยวงเกาหลีที่แฟนคลับชื่นชอบและอยากให้ชนะรางวัลสาขาดังกล่าว ส่งผลให้มีการโหวตรางวัลดังกล่าวใน Twitter ถึง 42 ล้านทวีต ภายในระยะเวลาการโหวตเพียง 24 ชั่วโมง
TeamGOT7 เป็นผู้ชนะในสาขา TwitterBestFandom ด้วยจำนวนการโหวตราว 40 เปอร์เซ็นต์ ของการทวิตโหวตทั้งหมด และประเทศไทยเป็นประเทศที่มี unique voters (จำนวนผู้โหวตสุทธิ) สูงสุดเป็นอันดับ 1
Amazon อัพเดตแอปพลิเคชั่นให้สามารถสั่งสินค้าส่งไปยังที่บ้านได้แม้ตัวอยู่อีกประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถซื้อของด้วยสกุลเงินบาทได้ด้วย คนต่างชาติที่อยู่ในไทยก็กดซื้อของส่งไปที่บ้านได้
แอปเวอร์ชั่นใหม่มีบริการ 5 ภาษาคือ อังกฤษ, สเปน, จีน, เยอรมัน, บราซิล ซื้อของได้ทั้ง 25 สกุลเงิน ผู้ใช้สามารถตั้งค่าภาษา ประเทศที่จะจัดส่ง รวมทั้งสกุลเงินได้ที่เมนูตั้งค่าตามรูปภาพตัวอย่างด้านล่าง
Facebook ประกาศเริ่มโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวในอินเดียแล้ว โดยจับมือกับองค์กรตรวจสอบข่าวในอินเดีย โดยอินเดียถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Facebook
จากข้อวิจารณ์เรื่องเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2016 ที่ Facebook ไม่พยายามหยุดการระบาดของข่าวปลอม Facebook ก็พยายามแก้ไขตัวเองเรื่อยมา และครั้งนี้จะเป้นการพิสูจน์ว่าเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่พัฒนามาเพื่อหยุดข่าวปลอมโดยเฉพาะระหว่างการเลือกตั้งจะใช้ได้ผลหรือไม่
ด้านองค์กรที่ Facebook จะเข้าไปจับมือคือ Boom หน่วยงานตรวจสอบข่าวซึ่งได้รับการรับรองจาก International Fact-Checking Network ทำการทดลองระบบในเมือง Karnataka ของอินเดียที่จะมีการเลือกตั้งของรัฐเกิดขึ้นใน 12 พฤษภาคม โดย Boom จะตรวจสอบเนื้อหาข่าวภาษาอังกฤษที่แชร์บนแพลตฟอร์ม
ไอเดียเก็บเงินค่าเล่น Facebook เพิ่งจะมาเกิดขึ้นหลังข่าวฉาว Facebook ข้อมูลหลุด โดยหนทางที่ข้อมูลผู้ใช้จะปลอดภัย ไม่ถูกเก็บไปทำแคมเปญโฆษณาการตลาด การเมือง และไม่ต้องเจอโฆษณารบกวนนั้น คือจ่ายเงินเพื่อเล่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่แอปพลิเคชั่นอื่นก็ทำกัน
มีคำถามเรื่องนี้ปรากฏขึ้นในเหตุการณ์ที่ Mark Zuckerberg เข้าชี้แจงรายละเอียดต่อวุฒิสภาด้วย ซึ่งเขาระบุชัดว่า ตอนนี้ Facebook จะไม่เก็บเงินจากผู้ใช้งาน (คำว่า "ตอนนี้" ทำให้หลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่า อนาคตอาจมีโมเดลเก็บเงินขึ้นมาจริงๆ ก็ได้) ถ้าลองสมมติเหตุการณ์ว่าถ้า Facebook เก็บเงินค่าเล่นขึ้นมาจริงๆ ควรจะเก็บเท่าไร
Google เปิดตัวโครงการ Maharat min Google สอนทักษะดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ให้ชาวอาหรับเน้นคนอายุน้อยและผู้หญิง โดยคำว่า Maharat min Google แปลว่า การสร้างความสามารถด้วย Google จุดประสงค์ของโครงการคือ เพื่อเตรียมพร้อมบุคคลเหล่านี้ให้พร้อมกับตลาดงานในอนาคต
สถิติจาก World Economic Forum ระบุว่า ทักษะอาชีพดิจิทัลยังไม่แพร่หลายนักในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นหลัก ซึ่งภายในปี 2020 ทักษะดิจิทัลจะเป็นหนึ่งในห้าทักษาะงานที่ตลาดงานต้องการ
ในโครงการ Maharat min Google มีการฝึกทักษะดิจิทัลแบบส่วนตัวให้กับผู้เรียน และยังมีแพลตฟอร์มออนไลน์ประกอบด้วยบทเรียนมากกว่า 100 บท พร้อมด้วยวิดีโออธิบายทักษะด้านการตลาดดิจิทัล, การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ
ผู้ใช้ Facebook บางรายน่าจะได้เห็นการแจ้งเตือนจาก Facebook แล้วเนื่องจากวันที่ 9 เมาษายนที่ผ่านมา Facebook ประกาศจะแจ้งผู้ใช้ 87 ล้านรายให้รู้ว่าข้อมูลถูก Cambridge Analytica เก็บไป
โดยการแจ้งเตือนมีสองรูปแบบคือ แบบปกติ ที่จะให้กด Go To Apps And Websites เพื่อปิดการใช้งานแอปนอกได้ง่ายๆ เมื่อกดเข้าไปแล้วจะแสดงหน้าจอแอปพลิเคชั่นต่างๆ ให้เห็นง่ายๆ ว่ามีแอปนอกอะไรที่ยัง active ผ่าน Facebook อยู่ ผู้ใช้สามารถเลือกปิดแอปที่ไม่ใช้แล้ว หรือปิดทั้งหมดเลยก็ได้
และในกรณีที่หากผู้ใช้ Facebook คนไหน ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเก็บข้อมูลของแอป This Is Your Digital Life ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Cambridge Analytica หน้าจอจะแสดงปุ่ม See How You're Affected ให้กด เพื่อดูว่าเราได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
Google Arts & Culture แอปพลิเคชั่นเพื่องานศิลปะของ Google ร่วมมือกับ CyArk บริษัทสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบสามมิติเน้นเก็บข้อมูลสถานที่ขนาดใหญ่ ทำสถานที่โบราณที่เสียหายไปแล้วในรูปแบบสามมิติ ให้ผู้ใช้ได้ชื่นชม เช่น วัด Ananda Ok Kyaung ในเมียนมาร์ที่เสียหายจากภัยธรรมชาติในปี 2016, โบราณสถานสมัยอยุธยาของไทย, โบราณสถานในอัฟกานิสถานที่เสียหายจากกลุ่มตอลีบัน เป็นต้น
เทคโนโลยีของ CyArk สามารถจับภาพสถานที่โบราณและแสดงภาพที่ให้รายละเอียดอื่นเช่น พื้นผิวผนัง สี รูปทรงเรขาคณิต โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ที่ให้ความแม่นยำสูง เก็บข้อมูลด้วยโดรน เมื่อได้ข้อมูลมาก็สร้างโบราณสถานแห่งใหม่รูปแบบดิจิทัลในสภาพก่อนที่จะเกิดความเสียหายจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ เก่าไปตามกาลเวลา หรือเสียหายจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ในขณะที่ Facebook ถูกเพ่งเล็งเรื่องปัญหาการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล และยังถูกบางฝ่ายมองว่ามีอำนาจผูกขาดในตลาดโฆษณาดิจิทัล นำมาสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของ Facebook ที่ Mark Zuckerberg ตอบคำถามวุฒิสภาเรื่องข้อมูลหลุด 1,2 ในวันที่ 10-11 เมษายนที่ผ่านมา
คำถามคือ Facebook เป็นบริษัทไอทีรายเดียวที่ถือข้อมูลผู้ใช้ไว้ในมือหรือไม่
คำตอบก็คือ ไม่ใช่อย่างแน่นอน บริษัทอื่น ยกตัวอย่างเช่น Google มีมูลค่าโฆษณาดิจิทัลอาจจะมากกว่า Facebook ถึง 2 เท่า และมีผลิตภัณฑ์ถึง 7 ตัว เช่น Gmail, YouTube และแสดงโฆษณาโดยอาศัยข้อมูลของผู้ใช้หรือความสนใจของผู้ใช้ Amazon เองก็ใช้กลยุทธ์โฆษณาเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลประวัติการซื้อสินค้า และยังมีความกังวลจากผู้ใช้เรื่องลำโพงอัจฉริยะที่มีไมโครโฟนในอุปกรณ์ที่ตั้งอยู่ในบ้านเลย
Jason Kint ผู้บริหารระดับสูงของ Digital Content Next ตั้งข้อสังเกตว่าตั้งแต่ Facebook มีประเด็นฉาวข้อมูลหลุดขึ้นมา ทั้ง Twitter และ Google ก็พยายามทำตัวเงียบมาตลอด
Toei Tokusatsu Fan Club คือบริการดูคอนเทนต์สตรีมมิ่ง เตรียมเปิดตัวหนังฮีโร่ Hero Mama League โดยนำอดีตฮีโร่หญิงสามคนมาทำเวอร์ชั่นใหม่ นอกจากบทบาทฮีโร่ที่พวกเธอต้องรับมือแล้ว ยังมีบทบาทคุณแม่เข้ามาด้วย
คุณแม่ฮีโร่สามคนคือ
เมืองออสตินของรัฐเท็กซัส ทดลองใช้แพลตฟอร์มบล็อคเชนพัฒนาบริการและการจัดการข้อมูลอัตลักษณ์ประชากรคนไร้บ้าน โดย Steve Adler นายกเทศมนตรีเมืองออสตินบอกว่าเป้าหมายคือ รวบรวมข้อมูลประจำตัวและบันทึกที่สำคัญของคนไร้บ้าน โดยข้อมูลถูกเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยและเป็นความลับ ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการเพื่อคนไร้บ้านเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งบล็อคเชนจะสามารถเชื่อมโยงคนไร้บ้านกับความต้องการของพวกเขาเข้าด้วยกัน
นับวัน จีนยิ่งมีมาตรการคุมเข้มทางวัฒนธรรมบนโลกดิจิทัลเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนก็แบนเว็บไซต์ขายคัมภีร์ไบเบิล ล่าสุด Weibo หรือ Twitter ของจีน ทำแคมเปญ clean-up กำจัดเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงและผิดกฎหมายจีน ไม่ว่าจะเป็นมังงะญี่ปุ่น เนื้อหาเกย์ เนื้อหาโป๊ รวมทั้งเนื้อหาเกมรุนแรงด้วย เช่น Grand Theft Auto
จากมาตรการดังกล่าวของแพลตฟอร์มสร้างความไม่พอใจให้ชาวเน็ต ต่างพากันสร้างแฮชแท็ก I am gay ที่มีการใช้ไปกว่า 170,000 ครั้ง ก่อนที่ Weibo จะแบนออก มีข้อความจากชาวเน็ตบอกด้วยว่า ไม่น่าเชื่อที่ประเทศจีนมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่มาตรการดังกล่าวทำให้รู้สึกเหมือนย้อนกลับไปยังยุคศักดินา
หลัง Mark Zuckerberg ตอบข้อสงสัยกรณีข้อมูลหลุด สมาชิกวุฒิสภาก็วางแผนเสนอกฎหมายให้ Facebook และบริษัทไอทีอื่นยกระดับความโปร่งใส ให้เจ้าของข้อมูลควบคุมข้อมูลตัวเองมากขึ้น และทางบริษัทต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลรู้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังข้อมูลหลุด
Facebook มีฟังก์ชั่นดาวน์โหลดข้อมูลออกมาได้ แต่ Instagram ยังไม่มี ล่าสุดทางบริษัทระบุว่ากำลังทำฟีเจอร์ให้ผู้ใช้โหลดข้อมูลใน Instagram ออกมาได้ ทั้งรูปภาพ วิดีโอ ข้อความ
กฎหมายปกป้องข้อมูลในอังกฤษ ระบุให้แลพตฟอร์มต้องทำให้ผู้ใช้งานสามารถย้ายข้อมูลของตัวเองจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ง่าย Facebook เองที่ตกเป็นประเด็นข้อมูลหลุดก็ต้องพยายามทำทุกทางให้ทั้ง Facebook และ Instagram มีนโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้รัดกุม และสอดคล้องกับกฎใหม่ GDPR ที่ Facebook ระบุว่าจะนำมาเป็นมาตรฐานของ Facebook ทั่วโลก
Twitter ออกอีโมจิใหม่เวอร์ชั่น Twemoji 2.6 ใช้แทนอีโมจิปืน เป็นปืนฉีดน้ำ ตามรอย Apple ที่ทำมาก่อนแล้วในปี 2016 ตามด้วย WhatsApp และ Samsung
เรียกได้ว่า การเปลี่ยนแปลงอีโมจิของ Apple ใน iOS 10 ส่งผลต่อบริษัทไอทีอื่นๆ และอีโมจิเองก็ถือเป็นการสื่อสารยุคใหม่รูปแบบหนึ่งที่คเห็นแล้วเข้าใจโดยไม่มีกำแพงภาษากั้น อีโมจิจึงเป็นมากกว่าเครื่องมือตกแต่งบทสนทนา การพยายามสร้างอีโมจิให้ครอบคลุมและหลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญ
กรณีปืนฉีดน้ำนั้นส่วนหนึ่งมาจากความรุนแรงของปืนที่เพิ่มมากขึ้นทุกทีในสหรัฐฯ และเป็นจุดยืนของ Twitter ที่พยายามแก้ปัญหาการคุกคาม hate speech บนแพลตฟอร์ม
จัดเต็มทั้งหนังเพลง เมื่อ Spotify กับ Hulu ทำโปรโมชั่นลดราคาร่วมกัน โดยจ่ายรายเดือน 12.99 ดอลลาร์ ได้ทั้งแพ็กเกจฟังเพลงพรีเมี่ยมของ Spotify และได้ดูคอนเทนต์จาก Hulu ด้วย ใช้ได้ทั้งผู้ใช้ที่จะสมัครใหม่ และผู้ใช้เดิม เริ่มเปิดใช้ในสหรัฐฯช่วงฤดูร้อนที่จะถึงนี้
ส่วนแพ็กเกจที่ผู้ใช้จะได้จาก Hulu เป็น Limited Commercials ที่มีคอนเทนต์กว่า 75,000 เรื่องบนแพลตฟอร์ม ซึ่งปกติราคา 7.99 ดอลลาร์ ถือว่าประหยัดสตางค์ไปได้เยอะทีเดียว สำหรับคอนเทนต์เด่นๆ ของ Hulu คือซีรี่ส์แนวดิสโธเปีย The Handmaid’s Tale
เป็นระยะเวลา 5 ชั่วโมงที่ Mark Zuckerberg โดนบรรดาสมาชิกวุฒิสภายิงคำถามไม่ยั้งเรื่องข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด มีคำถามหนึ่ง Dick Durbin สมาชิกวุฒิสภาถาม Zuckerberg ว่า สบายใจที่จะบอกไหม ว่าเมื่อคืนพักที่โรงแรมอะไร Zuckerberg ลังเลไปชั่วขณะหนึ่งก่อนจะตอบว่า ไม่
Durbin ถามอีกว่า บอกชื่อคนที่ Zuckerberg คุยแชทด้วยในช่วงสัปดาห์นี้ได้หรือไม่ Zuckerberg ตอบว่า เขาขอไม่เปิดเผยในที่นี้
นัยสำคัญของคำถามดังกล่าวคือ ความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นสิทธิของเจ้าของข้อมูลที่จะบอกหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของการไต่สวน Facebook ในวันนี้
วันนี้ (11 เมษายน 2018) Mark Zuckerberg เข้าให้รายละเอียดเรื่อง Facebook/Cambridge Analytica ต่อหน้าคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐฯ ถือเป็นการเผชิญหน้าอีกครั้งระหว่างบริษัทไอทีและฝ่ายนิติบัญญัติหลังจากปีที่แล้ว Facebook เข้าให้การต่อสภาคองเกรสเรื่องข่าวปลอมรัสเซีย
ในการรับฟังวันนี้ นอกจากเป็นโอกาสที่ Zuckerberg จะได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อประเด็นร้อนแล้ว ยังเป็นช่องทางให้ฝ่ายกฎหมายเพิ่มแรงกดดันต่อบริษัทไอที และเป็นการบอกใบ้ว่าในอนาคต บริษัทไอทีจะต้องเจอกับมาตรการทางกฎหมายมากขึ้น ตัวอย่างคำถามในการรับฟังมีดังนี้
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าโพสต์บน Twitter มีบอทคอยช่วย ล่าสุดสำนักวิจัย Pew Research Center เผยว่า 2 ใน 3 ของเว็บไซต์มีชื่อเสียง ใช้บอทโพสต์บน Twitter
ทีมวิจัยสำรวจเว็บไวต์ที่มีชื่อเสียง 2,315 เว็บไซต์ ยอดทวีตรวม 1.2 ล้านทวีต (เฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษ) ในช่วงฤดูร้อนปี 2017 กินระยะเวลา 6 เดือน พบว่า 66% ของเว็บไซต์เหล่านี้ใช้บอทแชร์คอนเทนต์ลง Twitter
ในบรรดา 66% ของโพสต์ที่จัดการโดยบอทนั้นส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาผู้ใหญ่ รองลงมาเป็นกีฬา โพสต์โฆษณาผลิตภัณฑ์ ข่าว Pew ระบุเพิ่มเติมว่าในการประเวินว่าเว็บไหนใช้บอท ทางทีมวิจัยใช้ Botometer มาช่วยประเมิน โดยมีเกณฑ์การประเมินคือ เนื้อหา, ใครบ้างที่บัญชีนั้น follow, บัญชีนั้นมีมานานเท่าไรแล้ว เป็นต้น
Steve Wozniak ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple คนดังอีกรายที่ปิดบัญชี Facebook ต่อต้านที่บริษัทไม่สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีพอ พร้อมบอกด้วยว่า Apple ทำเงินจากผลิตภัณฑ์ที่ดี ไม่ใช่ทำเงินจากผู้ใช้
จากข่าวฉาวเรื่องข้อมูลหลุด Facebook จนมีกระแสเลิกใช้ Facebook กันทั่วไป Elon Musk เองก็ลบเพจของ SpaceX และ Tesla ออกแล้ว ล่าสุดเป็น Steve Wozniak ที่บอกว่าลบบัญชี Facebook แล้วด้วยเหมือนกัน เขาบอกว่ากำไรของ Facebook ทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อมูลของผู้ใช้ แต่ผู้ใช้ไม่มีผลตอบแทนใดๆ และสำหรับเขาเอง Facebook ให้ความรู้สึกเชิงลบมากกว่าเชิงบวก
กลุ่มเคลื่อนไหวในเมียนมาร์ ประกอบด้วย Phandeeyar ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ เขียนจดหมายเปิด วิจารณ์ Facebook ว่าปล่อยให้ข่าวปลอมใส่ร้ายชาวโรฮิงญาในพม่าอยู่บน Facebook โดยไม่แก้ปัญหาเท่าที่ควร
เพียงวันเดียวหลังกลุ่มเคลื่อนไหวเขียนจดหมายเผยแพร่ Mark Zuckerberg ก็เขียนอีเมลตอบกลับ โดยขอโทษที่ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าองค์กรของกลุ่มเคลื่อนไหวช่วยให้ Facebook เข้าใจสถานการณ์ในเมียนมาร์อย่างไร และยังบอกอีกว่านอกจากพัฒนาเทคโนโลยีแก้ปัญหาแล้วยังใช้คนมากขึ้นเพื่อดูแลปัญหานี้
ทางกลุ่มเคลื่อนไหวตอบกลับอีเมลของ Zuckerberg ระบุว่าขอบคุณที่ตอบกลับด้วยตัวเอง มันมีความหมายมากจริงๆ และยังถามข้อมูลเชิงลึกว่า Facebook มีการรายงานโพสต์ที่เป็นเท็จในเมียนมาร์กี่โพสต์, มีบัญชีผู้ใช้กี่รายที่ถูกรายงาน และมีกี่รายที่เป็นบัญชีปลอม, ในองค์กรมีผู้ที่เข้าใจภาษาเมียนมาร์กี่ราย และมีคนที่ทำหน้าที่ดูแลปัญหาในเมียนมาร์แบบเต็มเวลากี่ราย เป็นต้น
Facebook เตรียมแจ้งผู้ใช้งาน 87 ล้านรายให้รู้ว่าตนได้รับผลกระทบจากเหตุข้อมูลรั่วจากกรณี Facebook กับบริษัทข้อมูล Cambridge Analytica หรือไม่ โดย Facebook บอกว่าจะได้รับข้อความที่ปรากฏบน News Feed ของผู้ใช้
ในบรรดา 87 ล้านรายที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 70 ล้านรายเป็นผู้ที่อาศัยในสหรัฐฯ ประมาณ 1 ล้านรายในอังกฤษ, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และประมาณ 310,000 ราย อาศัยในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม Cambridge Analytica ยืนยันว่าได้ข้อมูลไปไม่เกิน 30 ล้านราย
นอกจากนี้ผู้ใช้ Facebook ทั้งหมด 2.2 พันล้านคนจะได้รับการแจ้งเตือน "การปกป้องข้อมูลของคุณ" พร้อมด้วยลิงก์เพื่อดูว่าแอพใดที่พวกเขาใช้และข้อมูลใดที่แชร์กับแอพเหล่านั้น โดยผู้ใช้จะสามารถปิดแอพหรือปิดการเข้าถึงของบุคคลที่สามได้