ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมามีข่าวเรื่อง Sender ID มาสร้างความวุ่นวายให้กับโลกเน็ตเวร์คมากพอดูทีเดียว
เรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรมากครับ ปัญหามันเริ่มจากที่ไมโครซอฟท์ต้องการระบบการกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพสูงๆ สุดท้ายก็มาลงตัวที่เรื่องของให้มี Sender ID หรือ ซึ่งก็คือระบบการกรองเมลผ่านทางเครื่องที่เป็นผู้ส่งเมลนั้นจริงๆ
วันนี้สำนักข่าว C|NET รายงานถึงการอัปเกรดครั้งใหญ่ของผลิตภัณฑ์ เราเตอร์ (Router) ของบริษัท Cisco โดยเราเตอร์ที่ออกใหม่ทั้งสามรุ่นได้แก่ 1800 2800 และ 3800 นั้น จะมีการเพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัยและการรองรับ VoIP เข้าไว้ในตัวด้วย
เราเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์หลักที่ขับเคลื่อนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ โดยมีเป็นตัวตัดสินเส้นทางของข้อมูลว่าควรเดินทางไปในทางใด ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ในโลกของเน็ตเวิร์ค และอินเทอร์เน็ต
ไม่รู้มีใครสังเกตรึเปล่าว่า Pentium 4 ติดอยู่ที่ 3 กิกะเฮิร์ตกว่าๆ มานานแล้ว ใช้แล้วครับ ต่อไป ตัวเลขความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่ใช่ประเด็นอีกแล้ว
หลังจากเอเอ็มดีปล่อย Athlon ที่ทำงานได้เร็วกว่ามา สามสี่ปีให้หลังก็เกิดสงครามที่เรียกว่า สงความสัญญาณนาฬิกา (Clock Race) เอเอ็มดีสู้ไม่ค่อยได้ ก็เอาเลข PR ออกมาสู้ และประกาศว่า ซีพียูดีไม่ดี ไม่ได้ดูที่คล็อกนะ ส่วนอินเทลก็ไม่สนใจ อัดสปีดต่อไป เพราะรู้ดีว่าผู้บริโภคจำนวนมาก ยังยึดติดกับเลขเมกะเฮิร์ตอยู่ ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาระหว่างสาวกของทั้งคู่ (ผมเดิมสาวกเอเอ็มดี ตอนนี้สาวกไอบีเอ็มแทนครับ อิๆ)
Transmeta บริษัทผลิตซีพียูประหยัดพลังงาน (ลินุส ทอร์วัลด์ก็เคยทำงานที่นี่) ได้ประกาศเปิดตัวซีพียูตัวใหม่ ้นEfficeon TM8800 ที่ใช้เทคโนโลยีขนาด 90 นาโนเมตร
ข่าวคร่าวๆ คือ ตอนนี้ Konqueror สามารถใช้ Gecko Engine ได้แล้ว รายละเอียดยาวๆ อ่านต่อครับ
สำหรับคนที่ไม่ใช้ลินุกซ์ ต้องอธิบายก่อนว่า Konqueror เป็น File Manager/Browser อย่างเป็นทางการของ KDE (สองอย่างรวมกันเหมือน Explorer ของ Windows ถ้าเป็น GNOME จะใช้ Nautilus เป็น File Manager และ Epiphany เป็น Web Browser ซึ่งพวกนี้สามารถเปลี่ยนได้ตามความชอบอยู่แล้วไม่บังคับ)
เป็นสไลด์ pdf โดยคุณ Colin Charles แนะนำฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Fedora Core 3 ที่กำลังจะออกครับ
ผมสรุปฟีเจอร์มาให้คร่าวๆ ดังนี้
ของใหม่
แพกเกจเอาออก
วันนี้เป็นวันแรกของงาน IDF (Intel Developer Forum) อินเทลก็ทำตามที่ตัวเองสัญญาไว้ตั้งแต่อาทิตย์ทีแล้วครับ คือเอา Dual-Core Processor ออกมาโชว์กันเสียที หลังจากถูก AMD แซงไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
ที่เอามาโชว์ในงานนี้ก็คือ Montecito มีมีแกนซีพียูถึงสองแกน และมีแคชระดับสามฝังในตัวถึง 24 เมกกะไบต์!!! และมีเทคโนโลยีฝังในตัวเพิ่มเติมอีกสองอย่างคือ Foxton ที่เป็นระบบจัดการพลังงานและ Pellston ที่เป็นตัวแก้ไขข้อมูลในแคชในกรณีที่เกิดความผิดพลาด
สำหรับรายละเอียดของเทคโนโลยีทั้งสองนั้นทางอินเทลยังไม่ได้เปิดเผยแต่อย่างใด
โซนี่เตรียมออก VAIO ราคาถูกในตลาดสหรัฐแล้ว หลังจากวางแบรนด์ของตัวเองอยู่ระดับสูงมาตลอด แต่ในช่วงหลังเราเริ่มเห็นของถูกแต่ดูหรู เช่น LG และ Samsung หลายชิ้น เช่น มอนิเตอร์หรือ lcd ทำให้ตลาดที่โซนี่เคยครองอยู่เริ่มหด โดย VAIO รุ่นของถูกจะมุ่งตลาดองค์กรระดับกลางและล่าง และใช้ชื่อที่ต่างออกไป คือ VAIO Business Professional Ars Techinca : Sony shakes up PC strategy Reuters : Sony Changes U.S. PC Strategy to Boost Share-Paper
Dell และ Gateway ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ของสหรัฐได้เริ่มขายพีซีที่ไม่มีฟลอปปี้ไดรว์กันแล้ว หลังจากแอปเปิลเป็นรายแรกที่ถอดฟลอปปี้ไดรว์ออกไป ใน iMac ตัวแรกที่ขายตั้งแต่ปี 1998 ตอนนั้นแอปเปิลโดนวิจารณ์เยอะอยู่บ้าง แต่ปี 2004 นี้ ฟลอปปี้ก็แทบไม่จำเป็นจริงๆ ด้วยการอุดช่องว่างด้านความจุด้วย CD-RW และอุดช่องว่างเรื่องความสะดวกด้วยแฟลชไดรว์ช่วงปีสองปีหลัง
Yahoo! บอกว่า ฟลอปปี้กำลังดำเนินตามรอยของม้าเมื่อมีรถยนต์เกิดขึ้น นั่นคือมันยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่สำคัญเหมือนเดิมอีกแล้ว ผู้ซื้อพีซีของเกตเวย์ต้องจ่ายเพิ่มอีก 10-20 เหรียญเพื่อเพิ่มฟลอปปี้ไดรว์เข้ามา (ราคาก็พอๆ กับบ้านเรา ประมาณสี่ร้อยบาท)
ประเด็นน่าปวดหัวในช่วงนี้เกิดขึ้น จากการพัฒนาการของซีพียูในช่วงนี้ที่นิยมการพัฒนาให้มีแกนซีพียูอยู่ถึงสองชุดในชิปเดียวกัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้โดยไม่ต้องไปเพิ่มความถี่กันแบบบ้าเลือดเหมือนเมื่อก่อน
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อมีคนถามว่า แล้วไอ้ซอฟท์แวร์แพงๆ ที่ขายกันเป็นราคาตามจำนวนซีพียูล่ะ จะคิดราคากันยังไง?
ซอฟท์แวร์ที่ขายแบบคิดเงินตามจำนวนซีพียูนั้น มีมากมายโดยเฉพาะในตลาดงานระดับองค์กรณ์ เช่น Oracle, RedHat, Microsoft SQL server
ยังจำ Deep Blue เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเล่นหมากรุกแล้วชนะคาปารอฟ มือหนึ่งของโลกกันรึเปล่าครับ หลังจากที่ IBM ประสบความสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้แล้ว ก็ได้สร้างรุ่นลูกของมันขึ้นมาคือ Blue Gene และจากตอนนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาก (อย่างเงียบเชียบ)
ถึงเมืองไทยจะยังซื้อไม่ได้ แต่กระแสซื้อเพลงออนไลน์ก็มาแรงมากในช่วงนี้ ผมเลยเรียบเรียงรีวิวจากเว็บเมืองนอกมาให้อ่านกัน
ข้อมูลหลักมาจาก BBspot Reviews: Digital Music Stores และข้อมูลอื่นๆ จาก CNET
คงคุ้นเคยกับ GMail กันมาบ้างจากสื่อต่างๆ GMail บริการอีเมลฟรีเนื้อที่ 1GB จาก Google ตอนนี้มีคนเขียนโปรแกรมให้เขียนบล็อกโดยใช้ GMail ได้แล้ว
theINQUIRER วันนี้หนังสือพิมพ์ Nihon Kaizai Shimbun ของญี่ปุ่นได้รายงานถึงความคืบหน้าของบริษัทมิตซูบิชิ (Misubishi - อันเดียวกับที่ผลิตรถนั่นล่ะครับ) ที่สามารถเร่งความเร็วในการตอบสนองการแสดงผลบนจอ LCD ได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าข้อเสียหลักของจอ LCD นั้นมีอยู่สองประการคือมุมมองภาพที่แคบ และการตอบสนองที่ช้า ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นผลเสียต่อการใช้งานจอ LCD ในด้านการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมหรือการดูภาพยนต์ ทำให้คนบางกลุ่มยังคงยึดกับจอ CRT หรือข้ามไปใช้จอ Plasma แทนจอ LCD เนื่องจากข้อเสียดังกล่าว
X-Window ที่เราใช้ๆ กันอยู่บนลินุกซ์ทุกวันนี้ คือ X-Window ของโครงการ XFree86 เวอร์ชันท้ายสุดที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างคือ 4.3 แต่หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและองค์กรภายในค่อนข้างมาก ทำให้ XFree86 4.4 นั้นไม่ได้รับการยอมรับจากลินุกซ์ดิสโทรทั้งหลาย และก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาคือ X.Org และ X-Window ตัวใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา
เผอิญผมอยู่ในสายนี้เหมือนกัน เปิดอ่าน Top500 ของ Super Computer ของโลกเราทุกวันนี้ฉบับเดือนมิถุนา 2004 เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างครับ
วันนี้จะขอแนะนำหนังสือกันสักเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพี่เบิ้มแห่งวงการ IT ที่เราทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อันดรูว์ โกรฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Intel บริษัทผู้ผชิตไมโครโพรเซสเซอร์อันดับหนึ่งของโลกนั่นเอง
การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับเสมอ เมื่อเวลาผ่านไป มันจะพัดเอาสิ่งต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามมันด้วย แต่ในโลกของ IT กระแสเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้รุนแรงกว่าโลกในยุคใดๆ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างใรในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัญหาว่าเว็บบราวเซอร์ไหนนิยมสุดเป็นปัญหาโลกแตกมานานแล้วครับ ถึง SlashDot เว็บยอดฮิต จะทำโพลก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนัก เพราะผู้อ่าน /. นั้นมีแต่พวกเทคโนโลยีเข้าไส้ สามารถหาบราวเซอร์ตัวอื่นมาเล่นเองได้ และมีแนวคิดร่วมกันว่าเราจะเป็นศัตรูกับไมโครซอพท์ :)
The Register สำนักข่าวดังจากอังกฤษ วิเคราะห์ความปลอดภัยที่ไมโครซอพท์อ้างว่าเพิ่มขึ้นใน Service Pack 2 ว่าปลอดภัยจริงสมคำโฆษณาหรือไม่
Miguel De Icaza ผู้ก่อตั้งโครงการ Gnome และบริษัท Ximian (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของ Novell) ตอนนี้กำลังทำโครงการ Mono (นำ .NET Framework มาสู่ลินุกซ์) ออกมาให้ความเห็นเรื่องความล่าช้าของ Longhorn ผ่านบล็อกของเขา
เสียหน้าไปไม่น้อยครับ ที่อาทิตย์ที่แล้วโดนเอเอ็มดีชิงธงโชว์ดูอัลคอร์ไปก่อน งานนี้อินเทลเลยประกาศว่ามีดีจะโชว์เหมือนกัน
ข่าวนี้ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไร เพราะเหมือนว่าอินเทลจะมาแถลงคั่นเวลาเท่านั้นเอง เรียกว่ากู้หน้ากันหน่อยว่างั้นเถอะ
แต่ทั้งสองค่ายนั้นยังโชว์กันนิดหน่อยๆเท่านั้น ประมาณว่าเอามารันให้ดู ในตอนนี้ผมยังเห็นเห็นว่ามีสำนักข่าวไหนได้รับของทดสอบเอามาทดสอบความเร็วให้ประจักษ์กับตากันเลย แต่ไม่ต้องรีบร้อนดูหรอกครับ เพราะกว่าจะวางขายอย่างเร็วคงเป็นกลางปีหน้าโน่น ที่สำคัญออกมาใหม่ๆ มันจะแพง ชนิดซื้อไม่ลงแน่นอน
ข่าวประจำวันนี้รายงานกับเว็บแทบระเบิดกันทุกเว็บคือการเปิดตัวเว็บขายเพลงของไมโครซอฟท์ที่ประกาศว่าจะมีแน่นอนตั้งแต่สามสี่เดือนก่อน ในวันนี้ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเป็นทางการไปแล้วที่ http://beta.music.msn.com/ แม้จะมีข้อครหาจากหลายสำนักว่าจะเป็นการเลียนแบบ iTunes ของ แอปเปิลก็ตาม
ฉลองกันไปทั่วครับในตอนนี้กับวันครบรอบ 35 ปีของอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ใครจะเชื่อว่าเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตประจำวันนี้ จะเริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ว่าสงครามอาจเกิดได้ทุกเมื่อ สหรัฐจึงต้องการเครือข่ายที่ไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง เผื่อว่ารัฐไหนโดนระเบิดไป ที่เหลือจะได้สามารถสื่อสารกันได้ จึงได้ให้กำเนิด ARPANET พ่อของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้
ข่าวใหญ่วันนี้ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สามของคอมพิวเตอร์ที่ไปปรากฎตัวในทีวีมากที่สุด iMac
เพิ่งมีโอกาสได้เล่น intel Xeon ตัวใหม่ คือตัวที่มีรหัสว่า Nocona และถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากตัวหนึ่ง ที่จะทำให้เราได้ก้าวเข้าสู่โลก 64 บิตได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ต้องเท้าความก่อนว่า การประมวลผลแบบ 64 บิตนี้จำเป็นจะต้องคอมไพล์โปรแกรมเดิมๆ ที่เราใช้กันอยู่บนระบบ 32 บิตกันใหม่ทั้งหมด เพราะอ้างแอดเดรสความยาวไม่เท่ากัน ปริมาณโปรแกรม 32 บิตที่มีทุกวันนี้ก็มหาศาลจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการคอมไพล์ใหม่ทั้งหมด