GNOME 2.18 ออกแล้ว เวอร์ชันนี้เน้นหน้าตาให้ดูสมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มโปรแกรมอำนวยความสะดวก เช่น Seahorse สำหรับจัดการ PGP หรือโปรแกรมวิเคราะห์การใช้งานดิสก์ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการเพิ่มพจนานุกรมภาษาไทยเข้าไปในตัว GNOME เลย
รายละเอียดสามารถอ่านได้จาก Release Notes เวอร์ชันภาษาไทยที่แปลโดยคุณเทพพิทักษ์ ถ้าใครร้อนใจอยากรีบลอง เดี๋ยวนี้เค้ามีเวอร์ชัน LiveCD ให้พร้อม แต่ถ้าเป็นคนปกติทั่วไป รออีกซักนิดเดี๋ยวได้ใช้กันทั้งใน Ubuntu 7.04 Feisty Fawn และ Fedora 7 ที่จะออกช่วงปลายเดือนเมษายน
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ กลุ่ม FACT - Freedom Against Censorship Thailand ได้ส่งคำถาม 20 ข้อเกี่ยวกับการบล็อคเว็บไซต์ในประเทศไทย (ข่าวเก่า) ตอนนี้ทางกระทรวงตอบมาแล้วครับ
กระทรวงตอบมาเป็นหนังสือราชการลงวันที่ 8 มีนาคม 2550 โดยมีนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นผู้ลงนาม ใจความสำคัญในหนังสือนำมีดังนี้
ในปัจจุบันชิปที่เราๆ ใช้กันอยู่มักเป็นชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 90 นาโนเมตร ส่วนชิปรุ่นใหม่ๆ จะเป็นเทคโนโลยี 65 นาโนเมตรกัน และเทคโนโลยีรุ่นต่อไปที่เราจะได้เห็นกันนั้นน่าจะเป็นเทคโนโลยี 40 นาโนเมตรที่เริ่มเข้าสู่สายการผลิตกันบ้างแล้ว
แต่เกาหลีก็ทำให้โลกประหลาดใจ ด้วยการที่ประกาศความสำเร็จในการผลิตหน่วยความจำแบบแฟลชด้วยเทคโนโลยี 8 นาโนเมตร ที่ทำให้ผู้ผลิตสามารถใส่หน่วยความจำระดับเทราบิตลงไปในชิปได้ไม่ยากนัก
OpenBSD คือระบบปฎิบัติการที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงกับสโลแกน "Only one remote hole in default install, in more than 10 years." ในที่สุด สโลแกนดังกล่าวก็ต้องตกไป
เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมาบริษัท Core Security Technologies ได้พบข้อบกพร่องในส่วนของ IPv6 โดยเกิดจากการรองรับการใช้งาน mbufs
ซึ่งเป็นรูปแบบข้อมูลสำหรับการบริหารแพคเกจทางระบบเครือข่ายของ kernel อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้บุกรุกสามารถสั่งรันโค้ดใดๆ ก็ได้ในระดับ kernel จากภายนอก
ข้อบกพร่องนี้มีผลกับ OpenBSD ตั้งแต่รุ่น 3.1 ไปจนถึง 4.1 ที่ออกมาก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2006
ในขณะที่ Wikia ได้แต่ให้ข่าวเรื่องเสิร์ชเอ็นจิน ที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลการค้นหาได้ ทาง WikiSeek ได้ก้าวไปก่อนอีกขั้น หลังจากที่ออกเสิร์ชเอ็นจิน ที่ค้นหาข้อมูลจากวิกิพีเดีย และลิงค์ที่ออกไปจากวิกิพีเดียมาแสดง เมื่อตอนเดือนมกราคม
โดยตอนนี้ Wikiseek ได้เพิ่มความสามารถอีกอย่างคือ สามารถแก้ไขบทความจากวิกิพีเดีย ที่แสดงในหน้าผลการค้นหาได้เลย ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือการใส่ลิ้งค์แก้ไขบทความเท่านั้น ถ้าแนวคิดของเสิร์ชเอ็นจินที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลการค้นหาได้ มีแค่นี้ ก็คงยากที่จะต่อกรกับกูเกิลได้ เพราะผลการค้นหายังไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไหร่เลย
จริงๆ แล้วคงเรียกว่า YouFest เป็นงานของ Blognone ไม่ได้ (พูดแบบหล่อๆ ก็เพราะมันเป็นงานของ "คุณ" ทุกคน) แต่ในฐานะที่ Blognone ไปเป็นหนึ่งในภาคีร่วมจัดงานกับเค้าด้วย ก็ขอใช้พื้นที่ตรงนี้โฆษณางาน YouFest ครั้งหน้า ซึ่งมีชื่องานว่า YouMove เน้นการเคลื่อนไหวภาคสังคม โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ
รายละเอียดทั้งหมดอยู่ในเว็บไซต์ YouFest อยู่แล้ว คงไม่ขอเขียนซ้ำ
ถึงแม้ว่าจะขายดีจนของไม่พอในสหรัฐและญี่ปุ่น แต่พอเวลาผ่านไปกระแสเริ่มจาง PS3 ที่เตรียมวางขายในสหราชอาณาจักรวันที่ 23 มีนาคมนี้กลับไม่ถูกพูดถึงเลย
CNET ฟันธงว่าจะไม่มีผู้คนมากมายไปต่อคิวรอซื้อตั้งแต่กลางคืน แถมช่วงนี้โซนี่แก้ปัญหาในการผลิตได้ ดังนั้น PS3 จะมีเหลือเฟือมากกว่าความต้องการซื้อ (เค้าใช้คำว่า "the most unwanted console in recent memory") เหตุผลที่ CNET วิเคราะห์คือขาดเกมที่น่าสนใจ และราคาที่สูงกว่าคู่แข่งมาก
ที่มา - Crave CNET
เพิ่มเติม: GameSpot ได้เชิญบรรณาธิการเกม 10 คนมาเสนอวิธีช่วยให้ PS3 กลับมาน่าสนใจ ซึ่งมีตั้งแต่ลดราคาไปจนถึงการพัฒนาระบบออนไลน์
นายสิทธิชัย โภไคยอุดมออกแถลงการถึงการที่มีผู้กล่าวหาว่าทางกระทรวงไอซีทีเป็นผู้รับผิดชอบต่อการที่เว็บ hi-thaksin.net ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ โดยเว็บ hi-thaksin.net เป็นเว็บที่พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งจดหมายกล่าวถึงปัญหาที่นักเรียนทุนหวยรัฐบาล จนนายสิทธิชัยได้ออกมาให้ข่าวว่าจะเข้าไปตรวจสอบ ว่าทางกระทรวงยังไม่ได้ดำเนินการบล็อคเว็บดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากตรวจพบข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก่อความไม่สงบในประเทศ หรือลามกอนาจารก็จะสั่งปิดเว็บดังกล่าวทันที
ทางด้านเว็บ hi-thaksin.net เองระบุว่ามีการเข้าใช้งานเว็บอย่างหนักหลังออกเป็นข่าวในช่วงหลายวันที่ผ่านมา พร้อมกับระบุว่ามีความพยายามเรียกใช้งานเว็บอย่างหลักผิดปรกติจากไอพีบางกลุ่ม
Viacom เจ้าของช่องโทรทัศน์ MTV ยื่นฟ้อง YouTube เรียกค่าเสียหายจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ (เทียบค่าเงินตอนนี้ ก็ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท) โดยข้อหาที่ Viacom เอามาเล่นงานคือบอกว่า YouTube มีคลิปที่ละเมิดสิทธิ์ของ Viacom จำนวน 160,000 คลิป และมีผู้เข้าชมมากกว่า 1.5 พันล้านครั้ง
กฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา อนุญาตให้เรียกร้องค่าเสียหายได้ตั้งแต่ 750 ถึง 150,000 ดอลลาร์ต่อการถูกละเมิด 1 ครั้ง
ที่มา - Mashable, TechCrunch
ขณะที่ข่าวลือเกี่ยวกับแนวคิดของไมโครซอฟท์ที่ต้องการครองทุกตลาดรวมถือตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธินั้นมีมานานแล้ว แต่ข่าวคราวทั้งหมดมักเป็นการพูดถึงบันทึกภายในที่ไม่มีใครเคยได้เห็นจริงๆ แต่ในงานสัมมนา Morgan Stanley Technology ปรากฏว่านาย Jeff Raikes ประธานฝ่ายธุรกิจของทางไมโครซอฟท์ ได้ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้คนใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ แม้จะเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็ตามที
ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐ ร่วมกับนักพัฒนาเกมและเว็บไซต์เกมอย่าง JoyStiq เสนอชื่อ 10 เกมที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเกม โดยเสนอให้กับหอสมุดของสภาคองเกรส ซึ่งทำหน้าที่เก็บภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อยู่แล้ว
รายชื่อ
หลังจากเดลล์เปิดเว็บไซต์ IdeaStorm เพื่อรับฟังความเห็นจากลูกค้า (ข่าวเก่า) สิ่งที่ลูกค้าเรียกร้องเป็นอันดับ 1 คือขอให้ลงลินุกซ์ (ตอนที่ผมเขียนนี่เกินแสนโหวตแล้ว) ส่วนอันดับ 2 คือลง OpenOffice.org
โครงการ OpenOffice.org จึงฉวยโอกาสนี้ส่งจดหมายเปิดผนึกกดดันเดลล์ โดยส่งถึงไมเคิล เดลล์โดยตรง มีเนื้อความสั้นๆ ว่าทางโครงการดีใจที่เห็น OpenOffice.org ถูกโหวตเป็นอันดับสอง และคิดว่าตัวโปรแกรมมีคุณภาพเหมาะแก่ลูกค้าของเดลล์ โครงการยินดีจะพัฒนา “OpenOffice.org supplied by Dell” ให้เป็นพิเศษ และเรียกร้องเดลล์หันมาสนับสนุนทางการเงินให้กับโครงการด้วย
Daniel Robbins ผู้ก่อตั้งโครงการ Gentoo ในปี 2000 และออกไปในปี 2004 ได้กลับมาเข้าร่วมโครงการ Gentoo อีกครั้ง แต่ครั้งนี้อยู่ได้เพียงไม่กี่วันก็ออกจากโครงการไปอีกรอบ
DistroWatch ได้ติดตามประเด็นนี้ และมองว่าเป็นเพราะความขัดแย้งระหว่าง Robbins กับสมาชิกบางส่วนของ Gentoo ที่มีมาตั้งแต่เดิม แหล่งข่าวต้นฉบับได้ยกอีเมลจากเมลลิ่งลิสต์ของ Gentoo ที่วิพากษ์วิจารณ์ Robbins ว่าใช้ชื่อเสียงเก่าก่อนเข้ามามีอิทธิพลเหนือทีมงานเดิม
หลังจากวิกิพีเดียถูกผู้ใช้ในชื่อ Essjay แอบอ้างว่าเป็นศาสตราจารย์ด้านศาสนศาสตร์ จนกระทั่งเรื่องแดงขึ้นเมื่อ Jimmy Wales เสนองานให้กับเขา ทางวิกิพีเดียก็เตรียมระบบการยืนยันวิทยฐานะที่ผู้ใช้อ้างเข้ามา เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของทางวิกิพีเดีย
Essjay ถูกเปิดโปงในภายหลังว่าแท้จริงแล้วเขาคือนักศึกษาที่เรียนไม่จบ ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาดของทางวิกิพีเดียซึ่งให้อำนาจเขาเข้าแก้ไขข้อมูลเหนือกว่าผู้ใช้ทั่วไป พร้อมสิทธิในการบล็อคผู้ใช้ที่ก่อกวนเว็บไปพร้อมกัน
Jimmy Wales ระบุว่าผู้ใช้ส่วนมากของวิกิพีเดียจะยังคงสามารถใช้งานอย่างนิรนามได้ต่อไป แต่ต่อจากนี้ผู้ใช้จะอ้างความเชี่ยวชาญในด้านที่พวกเขาระบุได้ต่อเมื่อมีการยืนยันแล้วเท่านั้น
สงสัยคนอื่นเค้าจะคิดว่าคนอ่าน Blognone เป็นแรงงานมีฝีมือเชื่อถือได้ เลยมีคนติดต่อมาให้ผมหาคนให้อยู่เสมอๆ ซึ่งเอาจริงแล้วผมก็ไม่ค่อยรู้จักคนอ่านซักเท่าไร กระนั้นเลยอย่าให้เสียโอกาส เรามาเปิดตลาดนัดแรงงาน กันดีกว่า
Blognone Jobs ไม่มีอะไรมาก เป็น forum ธรรมดา สมาชิกทุกคนสามารถโพสต์ได้ทันที ซึ่งก็เปิดรับทั้งหมดไม่ว่าจะหานายจ้าง หาลูกจ้าง หางานพารท์ไทม์ หรือแม้กระทั่งหาที่ฝึกงาน ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยได้เลยครับ
หมายเหตุ: เรียกย่อๆ ได้ว่า BJ (อันนี้จงใจ) หมายเหตุ 2: ประกาศรับสมัครงานกับ Blognone Jobs จะผ่านสายตาคนอ่านมากกว่า... คนต่อวัน (ดูสถิติ) แถมตรงกลุ่มเป้าหมาย โฆษณาสุดๆ :P
Ars Technica มีบทความแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ IPv6 แนะนำให้อ่านถ้าคุณเคยเห็นชื่อ IPv6 ผ่านๆ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร
หัวข้อ
ข้อมูลทั้งหมดเคยลงในบทความอื่นๆ มาเยอะแล้ว เพียงแต่อันนี้ไม่ยาวมาก แถมอ่านง่าย มีภาพประกอบชัดเจน
ที่มา - Ars Technica
บริษัท Wikia ของ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia (Wikia ให้บริการโฮสต์ Wiki แบบกลุ่ม อย่างงาน YouFest ก็ใช้ Wikia) ได้เผยแผนการพัฒนาเสิร์ชเอนจินที่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขผลการค้นหาได้ถ้าไม่ถูกใจ
Gil Penchina ซีอีโอของ Wikia บอกว่าเสิร์ชเอนจินตัวนี้ยังไม่มีกำหนดทำตลาด แต่มีเป้าหมายจะชิงส่วนแบ่ง 5% ของตลาดเสิร์ชมูลค่า 7 พันล้านเหรียญ โดยหารายได้จากโฆษณาเช่นเดียวกับรายอื่น
ผมคิดว่ารูปแบบคงออกมาคล้ายๆ Open Directory Project ผสมกับลิงก์ภายนอกที่อยู่ในด้านล่างสุดของ Wikipedia แต่ละหน้า
ที่มา - Inside Bay Area
สำหรับคนที่ลองเล่น Ubuntu แล้วพบว่าปัญหาพวกการติดตั้ง codec หรือไดรเวอร์ต่างๆ ที่ต้องทำด้วยตัวเองเป็นเรื่องกวนใจ บ่นไปก็คงไม่มีประโยชน์เพราะพวกนี้เป็นปัญหาทางกฎหมาย ทางออกที่ง่ายกว่าคือใช้ LinuxMint
ในขณะที่ Ubuntu ออกทุกหกเดือน LinuxMint ออกเร็วกว่านั้นมาก ทุก 1-2 เดือน ในเวอร์ชันล่าสุด 2.2 ก็มีของหลายอย่างที่ไม่มีใน Ubuntu เช่น ธีม (สำหรับคนที่ไม่ชอบสีน้ำตาลคงจะดีใจ), เมนูและ control panel ใหม่ของ GNOME (แบบเดียวกับของ SUSE), ไดรเวอร์ WiFi, Codec ต่างๆ, โปรแกรมเสริมที่ไม่ใช่โอเพนซอร์สอย่าง Flash 9 หรือจาวา เป็นต้น รายละเอียดลองอ่านได้จาก Release Notes
งาน Desktop Matter จบลงแล้ว ช่วงนี้งานสัมนาจาวาที่น่าสนใจค่อนข้างชุม ในงานมีการประกาศยั่วน้ำลายให้รู้จัก Nimbus ซึ่งจะเป็นโอเพนซอร์ส L&F (Look and Feel) ตัวใหม่ ชนิดทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม และมีความเป็นไปได้สูงจะกลายเป็นจาวา L&F ตั้งต้นมาตรฐานตัวต่อไปในอนาคต
เดิมที Nimbus เป็นเพียง GTK theme ที่ใช้ใน OpenSolaris เท่านั้น แต่ในงาน Desktop Matter คุณ Ben Galbraith ประกาศว่า ซันจะพอร์ต Nimbus มาเป็น Swing L&F ที่ทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์มตัวต่อไป ดูตัวอย่าง Nimbus แล้ว คนแถวนี้ที่เกลียด Metal/Ocean คงจะรู้สึกดีขึ้นบ้าง :)
กูเกิล Guice (อ่านออกเสียงเหมือน Juice) เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กที่โดดร่วมเข้าแข่งขันในสนาม IoC เฟรมเวิร์ก โดยมีไอเดียคือใช้แต่ annotation ล้วนๆ
IoC (Inversion of Control) หรืออีกชื่อที่เท่กว่า dependency Injection กลายเป็นแบบรูปที่ฮิตติดลมบน ตั้งแต่ Rod Johnson นำเสนอ Spring ซึ่งเป็นทางเลือกที่แตกต่างจาก JavaEE 4 แต่ Spring โตมาในยุคที่ใครๆ ก็ใช้ XML ในการทำคอนฟิคไฟล์
การมาของ Java 5 ได้ทิ้งมรดกที่สำคัญหลายอย่างไว้ หนึ่งในนั้นคือ annotation การใช้ annotation โผล่มาได้จังหวะที่คนทนไม่ไหวกับ XML พอดี และการนำ annotation มาใช้แก้เกมใน Java EE 5 ช่วยลดขั้นตอน เป็นอะไรที่ตรงตัวและช่วยให้การทำงานเป็นสามัญสำนึกมากขึ้น
เป็นข่าวมาสักพักแล้วสำหรับเครื่องเล่นโซนี่ตระกูล NW-A800 ออกมาด้วยกัน 3 รุ่นคือ NW-A808, NW-A806 และ NW-A805 มีขนาดความจุ 8-4-2 กิกะไบต์ตามลำดับ (เหมือน iPod Nano เป๊ะ) พร้อมหน้าจอขนาด 2 นิ้ว QVGA LCD แสดงรายละเอียดที่ 240×320 สนับสนุนไฟล์เสียง MP3, ATRAC3, ATRAC3plus, WMA และวีดิโอ MPEG4 video (AVC แบบที่ใช้กับ PSP) ฉะนั้นไฟล์แบบ DivX และ WMV ต้องแปลงก่อนโดยโซนี่จะรวมโปรแกรม Image Converter 3 มาให้ด้วยซึ่งจะเป็น Walkman รุ่นแรกที่ได้ เพราะปกติจะให้เฉพาะ VAIO และ PSP
มีทั้งหมดสี่สี ดำ/ขาว/น้ำเงิน*/ชมพู โดยรุ่น 8GB มีเพียงสามสี เงิน/น้ำเงิน*/ดำ ขณะนี้มีวางจำหน่ายเปิดจองแล้วที่อังกฤษกับญี่ปุ่น สนนราคาที่ญี่ปุ่นตัว 8GB 32,800 เยน (~9,000 บาท)
หลังจากเราถูกมือมืดที่ไม่ยอมแสดงตัวบล็อคเว็บที่มีประโยชน์ไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง จนอดคิดไม่ได้ในไม่ช้าเราอาจจะเข้าวิกิพีเดียไม่ได้อย่างไม่มีเหตุผล หรือเข้ากูเกิลไม่ได้เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสม?
แทนที่เราจะมานัั่งโวยวายกันทุกครั้ง แล้วรอให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองออกโทรทัศน์แสดงวิสัยทัศน์ว่าการบล็อคเว็บจะเป็นผลดีแต่เยาวชนของชาติต่างๆ นาๆ โดยไม่พูดถึงว่าการบล็อคเว็บที่ผ่านมาสร้างความเดือนร้อนไปเพียงใด อีกทั้งไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าที่อ้างว่ามีประโยชน์ต่างๆ นั้นมีจริงเพียงใด คนอ่าน Blognone ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่กับอินเทอร์เน็ตกันค่อนข้างมาก (แอบอู้งานมาอ่านกันตอนบ่ายๆ เยอะ) คิดว่าเราจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไรกันบ้างครับ
ตั้งแต่ประมาณเวลาสี่ทุ่มในวันที่ 9 มีนาคม 2550 กระทรวงไอซีทีเริ่มมาตรการบล็อคเว็บอันดับ 8 ของไทยอย่าง YouTube ลงอย่างเป็นทางการ ด้วยการ Redirect เว็บเข้าสู่เว็บกระทรวงไอซีทีโดยตรง โดยยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุที่บล็อคว่ามีต้นเหตุมาจากอะไร
การบล็อกครั้งนี้นับเป็นการบล็อคเว็บที่ได้รับความนิยมสูงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง หลังจากสองเดือนก่อนหน้านี้ได้มีการบล็อกเว็บ CNN.com ไปในคืนที่พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับทาง CNN