เป็นบทวิเคราะห์จาก IDC ว่าแนวโน้มเทคโนโลยีของปีหน้าจะเป็นอย่างไร มีด้วยกัน 5 ข้อดังนี้
ที่มา - ReadWriteWeb
เว็บไซต์ ReadWriteWeb กำลังรวบรวมผลิตภัณฑ์หรือเทร็นด์มาแรงประจำปี 2010
หนึ่งในนั้นคือผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดไอทีองค์กร (enterprise) แยกตามหมวดต่างๆ 10 หมวด โดย ReadWriteWeb ให้คะแนนจากผลกระทบ, ประสิทธิภาพ, นวัตกรรม ฯลฯ
รายชื่อมีดังนี้ครับ
ยุคนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักโปรแกรม Microsoft Office กันอีกแล้ว แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ทราบว่ามีเวอร์ชันสำหรับทำงานบนแมคด้วย โดยเมื่อไม่นานมานี้ไมโครซอฟท์ได้ออก Office for Mac 2011 ออกมาหลังจากเวอร์ชันก่อนหน้าคือ Office for Mac 2008 ถึง 3 ปีด้วยกัน
มาปีนี้ไมโครซอฟท์ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ทั้งการเพิ่มความเร็ว ความสามารถใหม่ๆ หลายอย่างที่แม้แต่ผู้ใช้วินโดวส์ยังไม่มีให้ใช้ และมีความเป็นแมคอย่างเต็มภาคภูมิ จนหลายสำนักได้ให้คะแนนรีวิวว่าเป็นชุดโปรแกรมออฟฟิศที่ "ยอดเยี่ยม" กันเลยทีเดียว
เนื่องจากช่วงสิ้นปีทางอินเทลมีแอพพลิเคชั่นส่งเข้าสู่ Intel AppUp Center มากกว่าปรกติทำให้กระบวนการตรวจสอบแอพพลิเคชั่นช้าลง จนตอนนี้เองก็ยังมีแอพลิเคชั่นที่ร่วมโครงการรอการตรวจสอบอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ทำให้ทีมงานผู้จัดแข่งขัน Blognone & Intel AppUp Challenge 2010 ต้องขอเลื่อนกำหนดออกไปเป็นวันที่ 20 มกราคม 2554
10 แอพพลิเคชั่นแรกที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบจะได้รับรางวัล iPod Shuffle ทันทีหลังจากทีมงานยืนยันว่าผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมอย่างถูกต้องนะครับ ส่วนการประกาศรางวัลใหญ่คือ Intel SSD นั้นจะเป็นหลังจากวันที่ 20 เป็นต้นไปแล้วทีมงานจะรวบรวมตัวเลขอีกครั้ง
Jon Rubinstein อดีตซีอีโอของ Palm ก่อนขายให้ HP ขึ้นเวทีงาน D: Dive into Mobile เมื่อสัปดาห์ก่อน แม้จะไม่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ก็ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดที่น่าสนใจหลายอย่าง
Jon เริ่มโดยตอบคำถามที่ว่า "เขาไม่เคยใช้ iPhone" ว่าเขาไม่เคยใช้มันในฐานะมือถือประจำตัว แต่ยอมรับว่าเคย "ลองใช้" อยู่บ้าง ส่วนเหตุผลก็เพราะเขาไม่ต้องการให้ตัวเองยึดติดกับ iPhone และต้องการเปิดใจกว้างรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ
มือถือเทพที่หลายๆ คนรอคอย วันนี้มีรีวิวจาก Engadget มาให้ดูแล้ว
อย่างที่ทุกๆ ท่านทราบกันอยู่แล้วว่า Nexus เป็นสายตรงมาตรฐาน Google และ S คือ Samsung ผู้ไม่ชอบเลขสอง
คราวนี้ Google เปลี่ยนยุทธศาสตร์การขายเล็กน้อย จาก Nexus One ที่เดิมมุ่งเป้านักพัฒนามากไปหน่อย คราวนี้ดูเหมือนจะเจาะตลาดกว้างขึ้น และมีขายปลีกผ่าน Best Buy แล้ว
สเปกคร่าวๆ
สงครามจาวาสคริปต์เริ่มกลับมาเดือดอีกครั้ง หลัง Chrome เปิดตัว Crankshaft ทางเว็บไซต์ Lifehacker เลยนำเบราว์เซอร์หลายๆ ตัวมารันทดสอบกันอีกรอบ ว่ามีผลต่างออกไปจากเดิมแค่ไหน
เบราว์เซอร์ที่ร่วมทดสอบได้แก่
ผลการทดสอบเป็นไปตามนี้ (กราฟผลการทดสอบดูจากลิงก์ที่มากันเอง)
อาจเป็นเรื่องตอกย้ำว่าระบบการจ่ายเงินด้วย Google Checkout ของ Android Market ล้มเหลว เพราะบริษัท Rovio เจ้าของเกม Angry Birds อันโด่งดัง หันไปพัฒนาระบบจ่ายเงินของตัวเองใช้แทนแล้ว
ระบบจ่ายเงินนี้มีชื่อน่ารักว่า "Bad Piggy Bank" (ช่วยกันตั้งชื่อภาษาไทยก็ดีนะครับ) ใช้วิธีหักเงินผ่านบิลของโทรศัพท์มือถือ (carrier-billing) แทนการจ่ายด้วยบัตรเครดิต โดยโอเปอเรเตอร์รายแรกที่เข้าร่วมคือ Elisa ของประเทศฟินแลนด์
ผู้ใช้สามารถซื้อ Angry Birds รุ่นไม่มีโฆษณาผ่าน Bad Piggy Bank ได้ หรือจะซื้อไอเทมในเกมก็ได้เช่นกัน โดยสินค้าอย่างแรกคือตัวละคร Mighty Eagle ทั้งหมดจะเริ่มบริการช่วงต้นปีหน้า
ใน iOS 4.0 แอปเปิลได้เพิ่ม API สำหรับดักจับว่าเครื่องทำ jailbreak หรือไม่ โดย API ชุดนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในองค์กรเป็นหลัก เพราะเป็นช่องทางให้ซอฟต์แวร์จัดการระบบ (มีชื่อเรียกว่า mobile device management หรือ MDM) ใช้ตรวจว่า iPhone ของบริษัทยังปลอดภัยอยู่หรือเปล่า
แต่ใน iOS 4.2 ปรากฎว่า API ตัวนี้ถูกถอดออกไปอย่างเงียบๆ โดยที่แอปเปิลไม่ระบุเหตุผลว่าทำไม
API ตัวนี้ถูกใช้โดยซอฟต์แวร์ MDM บางตัว เช่น AirWatch หรือ Sybase Afaria อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้พัฒนาวิธีการตรวจสอบ jailbreak ของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว การปิด API ของแอปเปิลจึงไม่ส่งผลกระทบมากนัก
Verizon Wireless ซึ่งเป็นเครือข่ายในสหรัฐที่ร่วมขายมือถือ KIN ให้กับไมโครซอฟท์ ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ของ KIN ในวันที่ 31 มกราคม 2011
การปิดเซิร์ฟเวอร์หมายความว่า KIN จะใช้ฟีเจอร์ด้าน social network ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไม่ได้เลย เหลือเพียงการโทรออกรับสาย, ตอบอีเมลผ่าน Wi-Fi และการฟังเพลงผ่าน Zune Pass (ซึ่งเป็นบริการของไมโครซอฟท์โดยตรง) เท่านั้น
ลูกค้าที่ซื้อ KIN ไปแล้วก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะ Verizon อนุญาตให้นำ KIN ไปแลกเป็นมือถือ 3G ตัวอื่นๆ ได้ฟรีครับ
ที่มา - Windows Phone Central
หนังสือพิมพ์ Dagens Nyheter ของสวีเดนรายงานข่าวว่าอดีตสมาชิกของ WikiLeaks ที่เคยแยกตัวออกมาก่อนหน้านี้เพราะแนวทางขัดแย้งกัน กำลังเปิดเว็บใหม่ชื่อ OpenLeaks ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันแต่ใช้แนวทางต่างกัน
สมาชิกกลุ่มนี้นำโดย Daniel Domscheit-Berg ซึ่งว่ากันว่าเป็นอดีตมือขวาของ Julian Assange ผู้ก่อตั้ง WikiLeaks
แนวทางของ OpenLeaks จะต่างไปจาก WikiLeaks ใน 2 ประเด็นหลัก อย่างแรกคือตัดสินใจด้วยระบอบประชาธิปไตย ต่างจาก WikiLeaks ที่ Assange มีบทบาทสูงอยู่คนเดียว อย่างที่สองคือ "ปลอดการเมือง" ไม่เผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะโดยตรง แต่เน้นการเป็นสื่อกลางให้องค์กรต่างๆ มาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ตอนนี้เว็บยังไม่เปิดครับ
บริการที่เรียกว่า Location-based Service (LBS) แม้จะมาแรงตามหน้าสื่อ แต่อัตราการใช้งานยังไม่เยอะนัก ผลสำรวจล่าสุดในสหรัฐ มีคนใช้ LBS ประมาณ 4% ของประชากรเน็ตเท่านั้น
แต่คนกลุ่มนี้ก็ยังน่าสนใจ และบริษัทวิจัย Forrester ได้สำรวจอายุ-รายได้ของคนกลุ่มนี้มาเผยแพร่ ผลสรุปก็เป็นไปตามคาดคือคนที่ใช้ LBS ส่วนมากเป็นกลุ่ม early adopter เป็นผู้ชาย 78% อายุเฉลี่ย 32 ปี มีรายได้เฉลี่ยและระดับการศึกษาสูงกว่าประชากรเน็ตทั่วไป
รายละเอียดดูตามตารางครับ
ที่มา - VentureBeat
หนึ่งในบรรดาองค์กรและผู้คนมากมายที่ช่วยกันทำเว็บไซต์สำรอง (Mirror) ให้ Wikileaks ก็คือหนังสือพิมพ์ชั้นนำของฝรั่งเศสชื่อ Libération (ลิเบราซิยง) ครับ
แถลงการณ์ของบริษัทกล่าวว่า wikileaks.liberation.fr นี้เป็นการช่วย Wikileaks จากอาการ "ขาดอากาศหายใจ" จาก "การปิดกั้นโดยรัฐบาลและบริษัทต่าง ๆ แม้ไม่มีคำสั่งศาล"
หนังสือพิมพ์ไทยเจ้าไหนสนใจทำบ้างไหมเอ่ย
ที่มา - WL Central
ในโลกของ X Window นั้น โปรแกรมสำหรับล็อกอินมีชื่อเรียกว่า display manager โดยกรณีของ Ubuntu (และลินุกซ์สาย GNOME ส่วนมาก) เลือกใช้โปรแกรม GDM ทำหน้าที่นี้
แต่ในแผนการของ Ubuntu 11.04 มีข้อเสนอให้เปลี่ยนจาก GDM มาเป็นโปรแกรมอีกตัวคือ LightDM โดยให้เหตุผลว่า LightDM มีขนาดเล็กกว่า ทำงานเร็วกว่า และมีจำนวนโค้ดสั้นกว่า GDM
เว็บไซต์ OMG Ubuntu ได้คุยกับทีมงานของ RockMelt เบราว์เซอร์สำหรับ Social Network ว่ามีโอกาสที่ RockMelt จะลงลินุกซ์ด้วยหรือไม่
คำตอบที่ได้คือ "อยากจะทำลงลินุกซ์ในอนาคตอันใกล้" เพียงแต่ยังไม่กำหนดเวลาว่าจะเป็นเมื่อไร
ปัจจุบัน RockMelt ยังเป็นรุ่นทดสอบ มีเฉพาะบนวินโดวส์และแมค
ที่มา - OMG Ubuntu
โปรแกรม Android Market เพิ่งปรับหน้าตาไปนิดหน่อยเมื่อไม่นานมานี้ (ข่าวเก่า) แต่กูเกิลก็ออกมาโชว์ภาพหน้าจอของ Android Market ตัวใหม่แล้ว
โปรแกรม Android Market รุ่นใหม่จะใช้ได้กับ Android 1.6 ขึ้นไป และจะทยอยอัพเดตไปยังผู้ใช้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนหน้าตาให้สดใสขึ้น, เลื่อนดูแอพแนะนำได้ง่าย, เพิ่มหมวดร้านค้าของโอเปอเรเตอร์ (ดูตรง T-Mobile ในภาพ)
กูเกิลเปิดเว็บไซต์ Chrome Extensions Gallery มาครบ 1 ปีพอดี ตอนนี้บนเว็บไซต์ Chrome Extensions Gallery ระบุว่ามี extension สำหรับ Chrome มากกว่า 10,000 ตัวเรียบร้อยแล้ว
ส่วนตัวเลขของกูเกิลระบุว่ามี extension 8,500 ตัวและ theme อีก 1,500 ตัว ที่ผ่านมา 1 ปีมี extension ถูกดาวน์โหลดไปทั้งหมด 70 ล้านครั้ง และ 1/3 ของผู้ใช้ Chrome เคยลง extension อย่างน้อย 1 ตัว
สถิติของฝั่ง Firefox ทางเว็บไซต์ TechCrunch บอกว่ามี extension อยู่ 12,739 ตัว แต่ยอดดาวน์โหลดนั้นต่างกันลิบ คือ 2,247 ล้านครั้ง
สรุปแผนการออกตัวอัพเดตของ Windows Phone 7 ครับ
อัพเดตแรกจะมีเฉพาะ Copy & Paste (ต่างจากข่าวเก่าที่บอกว่ามีเยอะกว่านั้น) จะเปิดตัวในงาน CES 2011 เดือนมกราคม ซึ่งตอนนี้ไมโครซอฟท์เริ่มปล่อยอัพเดตให้กับนักพัฒนาแล้ว
ส่วนอัพเดตระลอกสองจะเปิดตัวในงาน Mobile World Congress 2011 เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสตีฟ บัลเมอร์จะขึ้นเวทีประกาศด้วยตัวเอง ของใหม่ในอัพเดตตัวนี้คือ API สำหรับมัลติทาสกิง, การดาวน์โหลดเนื้อหาจากในตัวโปรแกรม (in-app download) และเพิ่มการปรับแต่งอื่นๆ
ภาคต่อของมหากาพย์จาวา ตอนล่าสุดคือ Apache ลาออกจากกรรมการบริหารของ JCP (ส่วนความเดิมก่อนหน้านั้นย้อนอ่านกันเองนะครับ)
หลังจาก Apache ประกาศลาออกจาก Java Community Process ท่าทีของ Oracle ก็คือออกแถลงการณ์ให้ Apache ทบทวนการตัดสินใจ เพื่อจะ "ร่วมกันพาจาวาเดินหน้าต่อไป" แถมยังหยอดว่าโครงการต่างๆ ใน Apache Software Foundation ถือเป็นส่วนสำคัญของวงการจาวา
บริษัท VeriSign ประกาศว่าวันนี้บริษัทจะเริ่มรองรับ DNSSEC ในโซนของ .net แล้วนับเป็น TLD ที่ใหญ่ที่สุดนับแต่มีการเริ่มใช้ DNSSEC มา โดยก่อนหน้านี้ TLD ที่ใหญ่ที่สุดที่รองรับ DNSSEC คือ .org
ตามกำหนดการในปีหน้าทั้ง .com และ .edu น่าจะรองรับ DNSSEC ตามมาภายในปีหน้า ส่วน DNS ของแต่ละประเทศนั้นต้องให้ผู้ดูแล TLD เป็นผู้ฝากคีย์เพื่อเริ่มให้บริการ
แม้คดี SAP ละเมิดลิขสิทธิ์ออราเคิลจะจบคดีไปแล้วโดยศาลได้สั่งให้ SAP จ่ายเงินให้ออราเคิล 1,300 ล้านดอลลาร์ แต่ทางออราเคิลก็ได้ยื่นคำร้องต่อศาลของพิจารณาให้ SAP จ่ายดอกเบี้ยค่าปรับ 1,300 ดอลลาร์นั้นเพิ่มเติมเป็นเงิน 211.7 ล้านดอลลาร์
ออราเคิลนั้นฟ้อง SAP มาตั้งแต่ปี 2007 ไม่ชัดเจนว่าตัวเลข 211.7 ล้านดอลลาร์คำนวณมาอย่างไร แต่น่าจะเป็นดอกเบี้ยทบต้นโดยนับจากปีที่เริ่มฟ้องร้อง
งานนี้ SAP ออกมาให้ข่าวทันทีว่าออราเคิลไม่ควรได้รับเงินเพิ่มเติมจากที่ได้ค่าปรับไปอีกแล้ว
ที่มา - PhysOrg
การต่อสู้เป็นเวลาสิบปีของ .xxx กำลังจะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อวานนี้กรรมการของ ICANN ได้โหวตให้รับสัญญากับบริษัทจดทะเบียนที่เจรจากันมาตั้งแต่ต้นปี
บริษัท ICM Register พยายามยื่นขอเป็นผู้จดทะเบียนโดเมน .xxx มาตั้งแต่ปี 2000 แต่ผ่านการโหวตคว่ำข้อเสนอมาหลายต่อหลายครั้งจนกระทั่งผ่านร่างข้อเสนอสุดท้ายเมื่อปี 2009 และเริ่มกระบวนการเจรจาสัญญากับทาง ICANN ในปีนี้
แม้ .xxx จะเป็นโดเมนเพื่อแสดงถึงเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ แต่ก็ไม่มีข้อบังคับใดห้ามไม่ให้เว็บเหล่านั้นใช้ .com ต่อไป หรือเว็บแนวอื่นๆ อาจจะใช้ .xxx เพื่อเรียกความสนใจก็เป็นไปได้
แม้สหรัฐฯ จะอ้างว่าเอกสาร The Cables ที่หลุดออกมาทาง WikiLeaks นั้นไม่ได้สร้างความเสียหายมากมายอย่างที่อ้างกัน แต่การที่เอกสารเหล่านี้หลุดออกมาสู่สาธารณะก็ทำให้สหรัฐฯ เสียหน้าเป็นอย่างมากมาตรการใหม่จึงเป็นการห้ามใช้สื่อเก็บข้อมูลแบบถอดได้เช่น thumbdrive, CD, DVD บนคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมด
ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็แบนสื่อเหล่านี้มาก่อนแล้ว แต่เป็นการแบนเพื่อหยุดการแพร่กระจายของเวิร์มมากกว่าจะป้องกันข้อมูลรั่วไหล และมาตรการนี้ถูกยกเลิกไปในต้นปีที่ผ่านมา
ที่มา - CRN
มาตรฐานการแฮช (hash) แบบ SHA นั้นเป็นการคัดเลือกมาจากอัลกอลิธึ่มจำนวนมากที่ส่งเข้าประกวด จนตอนนี้ก็ถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขันมาตรฐาน SHA-3 ที่มีผู้เข้ารอบทั้งหมด 5 อัลกอลิธึ่ม จากรอบที่สองนั้นที่มีผู้ผ่านเข้ารอบ 14 อัลกอลิธึ่ม
อัลกอลิธึ่มทั้ง 5 ได้แก่
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาแก้ไขปรับปรุงอัลกอลิธึ่มจนถึง 16 มกราคมนี้ ส่วนการประกาศผลจะต้องรอจนปี 2012
บริษัทไอทีบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเข้มงวดกันมากนักแต่ปัญหาโปรแกรมเมอร์ของบริษัทกลับกลายเป็นคนขโมยซอร์สโค้ดก็เกิดขึ้นหลายครั้งในสหรัฐฯ และครั้งนี้ Sergey Aleykinov โปรแกรมเมอร์ของบริษัท Goldman Sachs ก็ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานขโมยซอร์สโค้ดการซื้อขายความเร็วสูงของบริษัทไปขายให้กับบริษัท Teza Technologies