AMD เปิดตัว Ryzen Mobile อย่างเป็นทางการ หลังโชว์ข้อมูลครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ว่าจะวางขายสินค้าในช่วง Q3-Q4 ของปี
ซีพียูที่เปิดตัวมี 2 รุ่นคือ Ryzen 7 2700U และ AMD Ryzen 5 2500U ทั้งสองตัวมีอัตราการใช้พลังงาน TDP 15 วัตต์, เป็นซีพียู 4 คอร์ 8 เธร็ด และผนวกจีพียู Radeon Vega มาให้ในตัว
จุดต่างคือ Ryzen 7 2700U ใช้สัญญาณนาฬิกาซีพียูสูงสุดที่ 3.8GHz, จีพียู Radeon Vega 10 มี compute unit 10 ตัว สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.3GHz ส่วน Ryzen 5 2500U ใช้สัญญาณนาฬิกาซีพียู 3.6GHz, จีพียู Radeon Vega 8 มี compute unit 8 ตัว สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.1GHz
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3/2017 มีรายได้ 1,643 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีการเติบโตหลักจากสินค้าตระกูล Radeon และ Ryzen สุทธิแล้วบริษัทมีกำไร 71 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายไตรมาสที่ AMD มีกำไร
ซีอีโอ Lisa Su กล่าวว่าสินค้ากลุ่มประสิทธิภาพสูงของบริษัทได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ส่งผลให้รายได้เติบโตและการเงินบริษัทดีขึ้นมากจากปีก่อน รวมทั้งถือเป็นหลักไมล์สำคัญอีกครั้งที่บริษัทจะเติบโตต่อจากนี้
ที่มา: AMD
AMD เอาใจนักขุดเหมือง ด้วยการออกไดรเวอร์ AMDGPU-Pro Beta Mining Driver for Linux เป็นการเฉพาะ
ไดรเวอร์ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผล blockchain และไม่แนะนำสำหรับงานกราฟิกหรือเกมมิ่ง สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือรองรับ "เพจ" ของหน่วยความจำ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จากค่าดีฟอลต์ 64KB สามารถปรับเป็น 2MB ได้
จีพียูที่รองรับมีตั้งแต่ Radeon R5/R7/R9/RX 500 Series/RX Vega Series และจีพียูฝั่งเวิร์คสเตชัน FirePro ส่วนระบบปฏิบัติการที่รองรับคือ RHEL 7, CentOS 7, Ubuntu 16.04 LTS
จากที่เคยมีข่าว Ataribox เครื่องเกมคอนโซลตัวใหม่ของ Atari ครั้งแรกในรอบ 24 ปี เริ่มมีรายละเอียดของเครื่องเกมตัวนี้ออกมาอีกหน่อย ว่ามันจะใช้ซีพียูรุ่นปรับแต่งพิเศษจาก AMD, จีพียู Radeon และใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่ปรับอินเทอร์เฟซให้เหมาะกับทีวี
Ataribox ยังจะสามารถรันเกมพีซีได้ด้วย แต่ยังไม่มีข้อมูลว่ามันจะสามารถใช้งาน Steam (ที่มีคลังเกมบนลินุกซ์อยู่จำนวนเยอะพอสมควร) ได้ด้วยหรือไม่ ทางผู้สร้างบอกว่าจะให้อิสระในการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้สามารถนำไปรันอะไรก็ได้เท่าที่ต้องการ
จีพียูฝั่ง AMD Radeon มีแบรนด์ CrossFire ที่หมายถึงการต่อจีพียูคู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (ฝั่ง NVIDIA เรียก SLI) อย่างไรก็ตาม ล่าสุด AMD เลิกใช้แบรนด์ CrossFire ทำตลาดแล้ว
โฆษกของ AMD ระบุว่าบริษัทต้องการให้ใช้คำว่า multi-GPU หรือ mGPU แทน เหตุผลคือจีพียู Radeon รุ่นใหม่รองรับ DirectX 12 ที่มีวิธีการประมวลผลกราฟิกบนจีพียูหลายตัว แตกต่างไปจากยุคของ DirectX 11 เดิม โดยนักพัฒนาจะต้องปรับให้เกมของตัวเองรองรับจีพียูหลายตัวมาตั้งแต่แรก ในขณะที่สมัยก่อนหน้านี้ เกมจะมองไม่เห็นว่าใช้จีพียูกี่ตัว และต้องพึ่งพาไดรเวอร์ CrossFire/SLI คอยจัดการเรื่องนี้ให้
หลังจากที่ Tesla Motors เคยมีความร่วมมือกับ NVIDIA ในการนำชิปและฮาร์ดแวร์ประมวลผลของ NVIDIA มาใช้งาน ล่าสุด CNBC รายงานข่าวลือจากแหล่งข่าววงในว่า Tesla Motors กำลังหันไปพึ่งคู่แข่งของ NVIDIA อย่าง AMD ในด้านนี้มากขึ้น
CNBC ระบุว่า Tesla กำลังร่วมมือกับ AMD ในการพัฒนาชิปปัญญาประดิษฐ์สำหรับการใช้งานบนรถไร้คนขับ ซึ่งชิปนี้จะเป็นชิปตัวแรกที่ Tesla ผลิตขึ้นมาด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพาบริษัทอื่น โดยอาศัยสิทธิบัตรและ know-how จาก AMD โดยหนึ่งในนั้นได้ Jim Keller วิศวกรออกแบบชิปแนวหน้าที่ AMD คว้าตัวมาจากแอปเปิลมาช่วยด้วย ขณะที่ตอนนี้ Tesla กำลังทดสอบชิปตัวแรกอยู่
ทั้ง AMD และ Tesla ปฏิเสธที่จะพูดถึงประเด็นนี้ทั้งคู่
หลัง AMD เปิดตัว Radeon RX Vega ไม่นาน ก็มีรีวิวเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง GeForce GTX 1080/1070 ออกมาแล้ว
ผลการทดสอบจาก AnandTech โดยจับคู่เทียบตัวท็อป Radeon Vega 64 กับ GeForce GTX 1080 ที่ระดับราคา 499 ดอลลาร์เท่ากัน และตัวรองท็อป Radeon Vega 56 (399 ดอลลาร์) กับ GeForce GTX 1070 (449 ดอลลาร์)
หลังจากทั้ง AMD Threadripper และ Intel Core i9 เริ่มวางขาย ก็ได้เวลาของการจับคู่ทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบกัน
มวยคู่หลักคือ Threadripper 1950X รุ่นท็อปสุดของ AMD (16 คอร์ 32 เธร็ด) กับ Core i9-7900X รุ่นล่างสุดของ Intel (10 คอร์ 20 เธร็ด) ที่ตั้งราคาเท่ากัน 999 ดอลลาร์ (ตัวสูงสุด Core i9-7980XE ราคา 1,999 ดอลลาร์ ซึ่งยังไม่วางขาย)
AMD เผยราคาของ Ryzen Threadripper ซีพียูซีรีส์ท็อปสุดของตัวเองไปเมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้ทาง AMD Thailand ก็ประกาศราคาขายปลีก (suggested price) ของ Threadripper ดังนี้
หมายเหตุ: ราคานี้เป็นราคาที่ AMD แนะนำ ในทางปฏิบัติ ร้านค้าก็อาจตั้งราคาแพงกว่าหรือถูกกว่าเล็กน้อย
ในที่สุด AMD ก็เปิดตัวจีพียูสายเกมมิ่งรุ่นใหม่ Radeon RX Vega ที่ใช้สถาปัตยกรรมตัวใหม่ Vega สักที
ก่อนหน้านี้ AMD วางขาย Radeon RX Vega Frontier Edition ที่เน้นตลาด AI/data science มากกว่าเกมมิ่งไปแล้ว ถือเป็นตัวท็อปของซีรีส์ในราคาตัวละ 999 ดอลลาร์ คราวนี้ถึงเวลาของ Vega รุ่นปกติสำหรับเกมเมอร์บ้าง
AMD รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2/2017 รายได้ 1,222 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักจากยอดขายซีพียูตระกูล Ryzen อย่างไรก็ตามสุทธิแล้ว AMD ยังขาดทุนอยู่ 16 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปีก่อนที่มีกำไร
AMD ให้มุมมองยอดขายในไตรมาสปัจจุบันและตลอดปีเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อต้นปี โดยบอกว่าความต้องการซีพียู Ryzen ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งยอดขายจีพียูที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ช่วงนี้ AMD ขยันปล่อยของในฝั่งซีพียูสถาปัตยกรรม Zen อย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดคือ AMD Threadripper ซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปตัวท็อปสุดที่ออกมาต่อสู้กับ Intel Core i9
AMD เปิดตัว Threadripper เมื่อเดือนมิถุนายน ล่าสุดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า Threadripper จะวางขายใน 2 รุ่นย่อยคือ
มุกเปลี่ยนเลขรุ่นกราฟิกการ์ดแต่ยังใช้สถาปัตยกรรมชิปเดิมนี้เป็นเหตุผลทางการตลาดของผู้ผลิตจีพียูที่ทำอยู่เป็นนิตย์ ล่าสุดมีข่าวลือของจีพียู AMD Radeon RX 460 จะถูกแทนที่ด้วยรุ่น RX 560D ซึ่งยังใช้จีพียูเดิม การ์ดแบบเดิม แต่เปลี่ยน BIOS ที่จำนวน Stream Processor 896 หน่วยเท่าเดิม แต่ยังไม่ระบุความเร็วสัญญาณนาฬิกา
ทั้งนี้มีรายงานว่า RX 560D จะใช้พลังงานน้อยกว่า RX 560 ประมาณครึ่งหนึ่ง น่าจะเป็นผลดีกับงานขุดเหมืองครับ
เราทราบกันดีว่า จีพียู Radeon รุ่นถัดไปจะใช้ชื่อว่า Radeon RX Vega (ตามชื่อสถาปัตยกรรม Vega) แต่จีพียูตัวแรกในซีรีส์จะยังไม่ออกมาจับตลาดเกมมิ่งอย่างที่เคย เพราะจะเปลี่ยนมาเป็น Radeon Vega Frontier Edition สำหรับประมวลผล machine learning และ data science ก่อน แล้วค่อยออกจีพียูเกมมิ่งตามมาในภายหลัง
เราต้องมอง Radeon Vega Frontier Edition ว่าเป็นหนึ่งในสินค้ากลุ่ม Radeon Pro ที่จับตลาดมืออาชีพ (ใช้ไดรเวอร์ตัวเดียวกับ Radeon Pro) สมรรถนะของมันอยู่ที่ 26.2 TFLOPS (floating point 16 บิต) และ 13.1 TFLOPS (32 บิต), ประกอบด้วย stream processor จำนวน 4096 ตัว, หน่วยความจำแบบ HBC ขนาด 16GB
AMD เริ่มวางขาย Ryzen Pro ซีพียูสำหรับพีซีธุรกิจ ตามที่เคยเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ โดยเริ่มจากซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปก่อน ส่วนซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กจะตามมาในครึ่งแรกของปี 2018
ความต่างของ Ryzen Pro กับ Ryzen รุ่นปกติคือฟีเจอร์สำหรับตลาดองค์กร เช่น ตัวเข้ารหัส AES 128 บิตที่ระดับฮาร์ดแวร์, TPM 2.0, คุณภาพการผลิตที่เหนือกว่า ส่งผลให้อายุซีพียูยาวนานกว่า, การันตีวางขายซีพียูรุ่นเดิมนาน 24 เดือน สำหรับองค์กรที่ต้องการการันตีอะไหล่ในอนาคต, รับประกันนาน 36 เดือน ต่างจากรุ่นปกติที่รับประกันแค่ 12 เดือน
เอเอ็มดีเปิดตัว Radeon Instinct มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้ก็เริ่มเปิดสเปคเพิ่มเติม สำหรับการ์ด MI25 รุ่นสูงสุด และ MI8 รุ่นกลาง
MI25 เป็นชิปสถาปัตยกรรม Vega อัตราการปล่อยความร้อนสูงสุด 300 วัตต์ พลังประมวลผลที่ FP16 อยู่ที่ 24.6 TFLOPS และ FP32 ที่ 12.3 TFLOPS ตัวการ์ดมีแรม 16GB แบนวิดท์สูงสุด 484GB/s
MI8 เป็นชิปสถาปัตยกรรม Fiji อัตราการปล่อยความร้อนสูงสุด 175 วัตต์ พลังประมวลผลที่ FP16 อยู่ที่ 8.2 TFLOPS และ FP32 ที่ 8.2 TFLOPS ตัวการ์ดมีแรม 16GB แบนวิดท์สูงสุด 512GB/s
เอเอ็มดีประกาศชิปตระกูล EPYC 7000 ซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สำหรับเซิร์ฟเวอร์ โดยเปิดตัวชุดแรก 9 รุ่น ตั้งแต่ 8 คอร์ 16 เธรด ไปจนถึง 32 คอร์ 64 เธรด
ซีพียูทุกตัวที่เปิดมารองรับ PCIe 3.0 128 เลนทั้งหมด พร้อมแรม 8 channel 16 ซ็อกเก็ต เซิร์ฟเวอร์ 2 ซ็อกเก็ตสามารถใส่แรมได้สูงสุดถึง 4TB ตัวซีพียูรองรับแรมหลายรูปแบบ ทั้ง RDIMM, LRDIMM, NVDIMM-N, 3DS DIMM
เอเอ็มดีเทียบประสิทธิภาพด้วย EPYC 7601 รุ่นสูงสุดกับ Xeon E5-2699Av4 ระบุว่า SPECint (เลขจำนวนเต็ม) ดีกว่า 47% และ SPECfp ดีกว่า 75% ขณะที่แบนวิดท์หน่วยความจำสูงกว่า 2.5 เท่าตัว ขณะที่ประสิทธิภาพของรุ่นลองๆ ลงไปก็ยังชนะทุกช่วงราคา
AMD ประกาศวางขายซีพียู EPYC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen และเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว (ออกเสียงเหมือนคำว่า Epic)
ซีพียู EPYC ชุดแรกมีด้วยกัน 9 รุ่นย่อย ตั้งแต่รุ่นเล็ก 8 คอร์ ไปจนถึงรุ่นใหญ่สุด 32 คอร์ (ทุกคอร์มี 2 เธร็ด) โดยมีทั้งแบบซ็อคเก็ตเดี่ยว (มีรหัส P ห้อยท้ายรุ่น) และดูอัลซ็อคเก็ต
ส่วนผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ที่เข้าร่วมก็มีหลายราย ทั้ง HPE, Dell EMC,Supermicro เป็นต้น รายชื่อลูกค้าที่สั่งซื้อแล้วคือ Microsoft Azure, Baidu Cloud, Dropbox, Bloomberg
เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่า EPYC 7601 รุ่นท็อปสุด ทำคะแนนเบนช์มาร์คได้ดีกว่า Xeon E5-2699A V4 ที่ระดับราคาเดียวกัน ถึง 47% (integer) และ 75% (floating point)
ตัวแทนของ AMD ออกมาเปิดเผยว่าจากราคาของ Bitcoin และ Ethereum ที่เดินหน้าทำนิวไฮต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการกราฟิกการ์ด โดยเฉพาะรุ่น RX 570 และ RX 580 เพิ่มสูงมาก จนหลายรุ่นตอนนี้สินค้าขาดตลาดไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม AMD ยืนยันว่าสินค้าของบริษัทยังเน้นกลุ่มลูกค้าเกมเมอร์เป็นหลักมากกว่า
นักวิเคราะห์จาก RBC มองว่าด้วยเงินลงทุนเทียบกับโอกาสการขุดเจอเงินดิจิตอล และราคาค่าเงินที่ยังสูงในปัจจุบัน ทำให้จุดคุ้มทุนอยู่ราว 3-4 เดือน จึงคุ้มค่าที่จะลงทุนในอุปกรณ์ ซึ่งหากระยะเวลาคืนทุนยังไม่เกิน 1 ปี ความต้องการกราฟิกการ์ดก็น่าจะยังสูงต่อเนื่องไปเช่นนี้
สำหรับราคาหุ้นของ AMD นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7% หลังจาก AMD ออกมาให้ข้อมูลดังกล่าว
โลกของซีพียูตัวท็อปในปี 2017 จะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง Intel Core i9 และ AMD Ryzen Threadripper
ตอนนี้คู่ชกระดับเฮฟวี่เวทยังไม่ได้ประมือกัน เพราะสินค้ายังไม่วางขายทั้งคู่ แต่ระหว่างนี้ทั้งสองฝ่ายก็ออกมาให้ข่าวข่มขวัญฝ่ายตรงข้ามกันแล้ว
หลังอินเทลเปิดตัว Core i9 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยมีจำนวนคอร์สูงสุดเยอะกว่า (18 คอร์ vs 16 คอร์) ฝั่งของ AMD ก็ใช้เวทีงาน Computex 2017 แถลงข่าวเกทับกลับคืนว่า Threadripper รองรับ PCIe 3.0 ถึง 64 เลน ช่วยให้สมรรถนะทาง I/O สูงกว่ากันมาก (Core i9 รองรับ 44 เลน)
เพียงไม่กี่วันหลัง AMD เปิดตัว Ryzen Mobile สำหรับโน้ตบุ๊ก เราก็เห็นผลิตภัณฑ์เปิดตัวตามมาทันที
ASUS ROG Strix GL702ZC เป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊กตัวแรกๆ ที่ใช้ Ryzen Mobile สามารถเลือกได้ว่าจะเอาตัวท็อป Ryzen 7 1700 จัดเต็ม 8 คอร์ หรือตัวรองลงมาอย่าง Ryzen 5 1600 กับ Ryzen 3 1200
สเปกอย่างอื่นคือจีพียู Radeon RX 580 ที่ใช้แรม GDDR5 8GB, หน้าจอ 17.3" 4K/1080p รองรับ AMD FreeSync, ใส่แรมได้สูงสุด 32GB, สล็อต M.2 รองรับ NVMe SSD ขนาด 512GB, USB x3, USB-C x1
ตอนนี้ ASUS ยังไม่ระบุราคาและวันวางขาย (บอกคร่าวๆ แค่ช่วงปลายฤดูร้อนนี้)
Dell เปิดตัวพีซีออลอินวัน (ผสานจอและส่วนฮาร์ดแวร์ไว้ในชิ้นเดียวกัน) รุ่น XPS27 ที่ปรับสเปคมาใหม่ ใช้ชิป Core i7-7700 แรม DDR4-2133 16GB จีพียู AMD Radeon RX 570 กับสตอเรจ HDD 2TB+SSD 32GB หรือ SSD 512GB วิ่งบน PCI-E x4
XPS 27 แยกเป็นสองรุ่นคือรุ่นจอทัชได้กับไม่ได้ โดยจอเป็นขนาด 27” IPS ละเอียด 4K กับค่าสี Adobe RGB 100% กับลำโพงหน้าเครื่อง 10 ลำโพง รุ่นจอทัชได้จะเอนหน้าจอให้นอนได้แบบ Surface Studio ของไมโครซอฟท์ได้ด้วย ราคาอยู่ที่ 1,999 และ 2,699 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ (ประมาณ 68,000 และ 92,000 บาท)
นอกจากเปิดตัวสินค้าใหม่แล้ว AMD ยังเผยแผนการพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียู-จีพียูในระยะยาวอีก 3 ปีข้างหน้า (2017-2020) ดังนี้
ซีพียู เราจะได้เห็นสถาปัตยกรรม Zen 2 ที่ใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตร และ Zen 3 ที่ใช้กระบวนการผลิต 7nm+ รุ่นปรับปรุง โดยกำหนดของ Zen 3 จะอยู่ราวปี 2020 และ Zen 2 จะอยู่ตรงกลางระหว่างนั้น
จีพียู ถัดจากจีพียูสถาปัตยกรรม Vega ตัวต่อไปคือสถาปัตยกรรม Navi ที่ใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรเช่นกัน และ Radeon รุ่นถัดไปที่ยังไม่ระบุชื่อในปี 2020
วันนี้มีงาน 2017 Financial Analyst Day ของ AMD ซึ่งเขาใช้โอกาสนี้เปิดตัวของใหม่หลายรายการ ทั้งซีพียู Ryzen ในรูปแบบต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ EPYC บนเครื่องระดับดาต้าเซ็นเตอร์ ผู้สืบทอดตำนาน Opteron
AMD EPYC มากับ 32 คอร์ 64 เธรด โค้ดเนม Naples ตามข่าวลือ พื้นฐานเป็น Zen ผลิตบนเทคโนโลยี FinFET 14nm ความเร็ว 1.4GHz บูสต์ที่ 2.8GHz และบอกว่าตัวเองเป็นชิปแบบ SoC จัดการบัสไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตัวเองไม่ใช้ชิปเซ็ต พร้อมทำงานสองซ็อกเก็ตบนหนึ่งเมนบอร์ด (AMD บอกว่าในตลาดมีเครื่องแบบนี้เยอะสุด) ผ่านบัสที่ชื่อ Infinity Fabric รับแรม DDR4 ได้ 32 โมดูล 16 แชนแนลที่ความจุสูงสุด 4TB โดยอวดว่าแบนด์วิดธ์และ I/O ดีกว่าเดิมระดับร้อยละเลขสองหลักถึงเท่าตัว
เมื่อวันก่อนเราเพิ่งเห็นข่าวลือ Ryzen 9 ซีพียูตัวแรงที่สุดของ AMD ที่จะเหนือกว่า Ryzen 7 วันนี้มันเปิดตัวแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ชื่อ Ryzen 9 เท่านั้นเอง
AMD เรียกซีพียูตัวนี้ว่า Ryzen Threadripper (ตามชื่อโค้ดเนม) มันจะเป็นซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สำหรับตลาดเดสก์ท็อปไฮเอนด์ (High-End Desktop - HEDT) สำหรับคนที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดฮาร์ดแวร์อย่างเป็นทางการออกมา บอกเพียงว่ารุ่นสูงสุดจะมี 16 คอร์ 32 เธร็ด (ในข่าวหลุดบอกว่ามี 10/12/14/16 คอร์) และวางขายช่วงฤดูร้อนกลางปี 2017