Tags:
Node Thumbnail

VIA บุกตลาดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วในตระกูล Raspberry Pi มาตั้งแต่ APC 8750 แต่ข้อเสียคือมันใช้ซีพียูเพียง ARM 11 800 MHz ตอนนี้เครื่องรุ่นที่สองก็ออกมาแล้วในชื่อ APC Rock ที่ใช้ชิป Cortex-A9 ที่ผลิตด้วย VIA เอง

APC Rock ให้แรมมา 512 MB และหน่วยความจำแฟลชขนาด 4 GB ใช้ไฟ 9V กินพลังงาน 13.5 วัตต์ ราคา 79 ดอลลาร์

ข้อดีของมันคงเป็นพอร์ตเชื่อมต่อให้ให้มาค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะว่ามีพอร์ต VGA ที่ Raspberry Pi ไม่มี อีกส่วนคงมี "กล่องกระดาษ" ที่ทำมาพอดีกันไว้วางคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องไปกับหนังสือได้ (ดูท้ายข่าว)

สั่งได้แล้ววันนี้ ค่าส่งมาไทย 16 ดอลลาร์ (ไม่รวมภาษี) ส่วนรุ่นพร้อมกล่องยังต้องรอถึงเดือนมีนาคม

Tags:
Node Thumbnail

โครงการ Open Compute เป็นโครงการที่เริ่มจากเฟซบุ๊กเปิดพิมพ์เขียวของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองให้แก่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ปีนี้โครงการ Open Compute ก็สามารถรวบรวมผู้ผลิตทั้งหลายมารวมตัวออกบูตงานประชุมของตัวเองได้แล้ว

เรื่องสำคัญที่สุดคงเป็นชิป X-Gene โดยบริษัท Applied Micro ชิป ARMv8 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.5 GHz 8 คอร์ ผลิตที่เทคโนโลยี 40 นาโนเมตร รองรับแรมได้ 256 GB จะเริ่มส่งมอบภายในปีนี้ และภายในปลายปีนี้จะออกรุ่นที่สอง ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 3 GHz และใช้กระบวนการผลิต 28 นาโนเมตร

Tags:
Node Thumbnail

ในที่สุดซีพียูบนมือถือก็มาถึงแปดคอร์จนได้ เมื่อซัมซุงเปิดตัวชิปซีรีส์ Exynos 5 Octa ที่มาพร้อมกับซีพียู ARM Cortex-A15 ควอดคอร์ ร่วมกับ Cortex-A7 ควอดคอร์ เพื่อการประมวลผลแบบ big.LITTLE ที่ใช้ซีพียูตัวเบาประมวลผลงานทั่วไปเพื่อแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น

จากตัวเลขที่ซัมซุงเผยบนเวที Exynos Octa จะกินไฟต่ำกว่า Exynos 5 Dual สูงสุดถึง 70% เมื่อใช้งานในรูปแบบเดียวกัน และเมื่อเทียบประสิทธิภาพสูงสุดก็เหนือกว่า Exynos 5 Dual ที่ใช้ใน Nexus 10 (และ Chromebook) ที่ผู้ได้สัมผัสต่างก็ยอมรับในความแรงของชิปตัวนี้ไปแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

Huawei เป็นอีกบริษัทที่มีหน่วยพัฒนาชิปของตัวเองคือ HiSilicon ซึ่งเดิมทีตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาชิปสำหรับเราเตอร์ แต่ปัจจุบันก็ขยับขยายมาทำชิปสำหรับอุปกรณ์พกพาด้วย มือถือของ Huawei ในปัจจุบันอย่างตระกูล Ascend ก็ใช้ชิป HiSilicon K3V2 แบบควอดคอร์

แต่นั่นเป็นเรื่องของปี 2012 เพราะปี 2013 เราเห็นบริษัทซีพียูสาย ARM เกือบทุกแห่งเริ่มผลิตชิปสถาปัตยกรรม Cortex-A15 กันแล้ว (หลังจากที่ประกาศว่าจะเริ่มทำในปี 2012) ทาง HiSilicon ย่อมไม่ตกกระแสนี้กับเขาด้วย

Tags:
Node Thumbnail

เจ้าพ่อชิปสื่อสาร Broadcom เตรียมขยายอาณาเขตมายังชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพา โดยประกาศเซ็นสัญญาซื้อสิทธิการใช้งาน ARMv7 (32 บิต เช่น Cortex-A9/A15 ในปัจจุบัน) และ ARMv8 (64 บิต เช่น Cortex-A50) จากบริษัท ARM Limited เป็นที่เรียบร้อย

เป้าหมายของ Broadcom นั้นชัดเจนว่าต้องการขยายธุรกิจชิปสื่อสารของตัวเอง มาเป็น SoC หรือหน่วยประมวลผลครบวงจรบนแผ่นซิลิคอน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกอบด้วยซีพียู จีพียู และชิปสื่อสาร

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเปิดเผยช่องโหว่ของ Windows RT ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพแบบเดสก์ท็อป ไม่ใช่แอพ Windows Store ได้ โฆษกของไมโครซอฟท์ได้ชี้แจงว่าบริษัทขอชื่นชมในความพยายามเปิดเผยช่องโหว่นี้และจดบันทึกไว้ แต่การรันแอพแบบเดสก์ท็อปเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใช้ทั่วไปยากที่จะทำตามได้ เขายังก็บอกเป็นนัยว่าบริษัทจะอุดช่องโหว่นี้ในอนาคต

ใครจะทำหรือปรับแต่งแอพแบบเดสก์ท็อปให้รันบน ARM ในลักษณะ homebrew คงต้องรีบกันหน่อย

ที่มา: The Verge

Tags:
Node Thumbnail

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยชื่อ C. L. Rokr (@clrokr) เปิดเผยช่องโหว่ของ Windows RT ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรม (แบบเดสก์ท็อป ไม่ใช่ Metro app จาก Windows Store) ได้อย่างอิสระ

Rokr ระบุว่า Windows RT สามารถรันโปรแกรมเดสก์ท็อปที่เขียนด้วย Win32 ได้อยู่แล้ว แต่ไมโครซอฟท์ป้องกันการติดตั้งโปรแกรมของผู้ใช้ไว้ในระดับของเคอร์เนลและ UEFI Secure Boot ซึ่งช่องโหว่ที่เขาค้นพบจะข้ามขั้นตอนการตรวจสอบของไมโครซอฟท์ไป และช่วยให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรมเดสก์ท็อปได้ตามต้องการ

อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่นี้ยังห่างไกลกับการรันโปรแกรมพีซีเต็มรูปแบบบน Windows RT เพราะโปรแกรมเดสก์ท็อปที่คอมไพล์เป็น ARM มีไม่เยอะนัก และการเจาะช่องโหว่นี้ต้องทำใหม่ทุกครั้งเมื่อบูตเครื่อง

Tags:
Node Thumbnail

การรองรับ ARMv8 หรือชื่อในกลุ่มซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สว่า AArch64 เริ่มไล่มาตั้งแต่เคอร์เนล จนตอนนี้ทาง GNU ก็ออก glibc (GNU C Library) รุ่น 2.17 ที่รองรับ AArch64 ออกมาแล้ว

glibc เป็นไลบรารีพื้นฐานสำหรับซอฟต์แวร์ที่เขียนด้วยภาษาซีแทบทั้งหมด มันเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมมาจาก API ที่ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐาน POSIX การย้ายแอพพลิเคชันที่เขียนด้วยภาษาที่ต้องคอมไพล์ก่อนใช้งาน (เช่นภาษาซี) ไปยังสถาปัตยกรรมใหม่ จำเป็นต้องรอให้เคอร์เนลและไลบรารีพื้นฐานเหล่านี้ถูกพอร์ตไปก่อน แอพพลิเคชันจึงสามารถพอร์ตไปได้ง่ายขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

ถัดจาก Allwinner A31 คู่แข่งสายจีนเหมือนกันอย่าง Rockchip ก็ออกชิป 4 คอร์ออกมาติดๆ กันในทันที โดย RK3188 เป็นชิปตัวแรกในตลาดจีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 28 นาโนเมตร (Allwinner A31 ไม่ระบุเทคโนโลยีการผลิต) และรองรับ LTE

RK3188 ใช้แกนกลางเป็น Cortex-A9 ที่ทาง Rockchip ระบุว่าเร็วกว่า Cortex-A7 ที่ Allwinner ถึง 37% ที่สัญญาณนาฬิกาเท่ากันเพราะ A9 decode คำสั่งได้ 2 คำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกาในทุกคำสั่ง ขณะที่ A7 สามารถทำได้ 2 คำสั่งเพียงบางคำสั่งเท่านั้น

Tags:
Node Thumbnail

ชื่อบริษัทผู้ผลิตชิปที่เพิ่งเป็นที่รู้จักอย่าง Allwinner กลับมาอีกครั้งด้วยชิปรุ่นใหม่ล่าสุด คือ Allwinner A31 ที่แกนกลางเป็น Cortex-A7 และชิปกราฟิกเป็น PowerVR SGX544 แบบ 8 คอร์

Tags:
Node Thumbnail

คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วในตอนนี้คงเป็นสินค้าที่มีซีพียูจากผู้ผลิตชิป ARM แทบทุกยี่ห้อให้เลือก ก่อนหน้านี้ชิป Exynos มีให้เลือกมาก่อนแล้วด้วย ODROID-X แต่บอร์ดมีขนาดใหญ่และราคาค่อนข้างสูงถึง 129 ดอลลาร์ ตอนนี้ฝั่ง ODROID ก็มีบอร์ดขนาดเล็กราคาถูกมาให้เลือกแล้ว เป็น ODROID-U ราคา 69 ดอลลาร์เท่านั้น

ODROID-U มีหัวใจเหมือน ODROID-X แทบทุกอย่าง แต่ตัดพอร์ตต่างๆ ออกไปทั้งหมด ที่ชัดเจนคือ I/O จำนวน 50 พอร์ต, พอร์ตต่อกล้องแบบ MIPI, และพอร์ตไมโครโฟน

นอกจาก ODROID-U แล้ว ยังมี ODROID-U2 และ ODROID-X2 ที่อัพเกรดซีพียูเป็น Exynos 4412 Prime (1.7GHz) และเพิ่มแรมเป็น 2GB

Tags:
Node Thumbnail

Red Hat เป็นอีกบริษัทที่กำลังจริงจังกับเซิร์ฟเวอร์ ARM 64 บิตมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวเก่า 1, ข่าวเก่า 2)

ตอนนี้มีความคืบหน้าแล้วว่าวิศวกรของ Red Hat กำลังพัฒนา Fedora ให้ทำงานบนสถาปัตยกรรม ARMv8/AArch64 อยู่ โดยเบื้องต้นงานคืบหน้าไปแล้ว 2 ใน 6 ส่วน แต่ยังเป็นการทดสอบกับอีมูเลเตอร์ของ ARMv8 เท่านั้น เพราะฮาร์ดแวร์ตัวจริงจะส่งถึงมือทีม Fedora ช่วงต้นปี 2013

ในส่วนของเคอร์เนลลินุกซ์เอง ก็เคยประกาศไว้ว่าเคอร์เนลรุ่นหน้า 3.7 จะสนับสนุนสถาปัตยกรรม AArch64 เช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

สองปีก่อนเราเห็น Creative บริษัทที่ทำตลาดซาวการ์ดและอุปกรณ์ควบคุมเกมเป็นหลักมาลงทุนทำชิป ARM ในบริษัทลูกที่ชื่อว่า ZiiLabs และผลิตออกมาเป็นแท็บเล็ตสองรุ่นที่ไม่ประสบความสำเร็จนัก ในวันนี้อินเทลก็ประกาศเข้าซื้อ "ทรัพย์สิน, วิศวกร, และสิทธิการใช้สิทธิบัตร" ของ ZiiLabs จาก Creative

Tags:
Node Thumbnail

เครื่อง Chromebook เครื่องแรกที่ประสบความสำเร็จในตลาดหลักกลายเป็น Samsung Chromebook ที่ติดอันดับหนึ่งของแล็บท็อปในเว็บไซต์ Amazon มานานหลายสัปดาห์ (และของยังหมดจนทุกวันนี้) คำถามของหลายๆ คนก็คือ มันแรงแค่ไหน

เนื่องจาก ChromeOS มีข้อจำกัดอยู่มากทำให้การทดสอบอาจจะมีแค่ SunSpider ที่ทดสอบความเร็วจาวาสคริปต์เท่านั้น แต่ Chromebook ก็มีสวิตซ์ development mode เพื่อปลดล็อก bootloader แล้วติดตั้งระบบปฎิบัติการเองได้ ทีมงาน Phoronix ก็ทำ Ubuntu 13.04 รุ่นที่กำลังพัฒนาอยู่มาติดตั้งเพื่อทดสอบในทุกๆ ด้าน

การทดสอบใช้ Phoronix Test Suite ทดสอบเครื่อง Atom D525, Calxeda Highbank Node รุ่น 1.1GHz และ 1.4GHz, Samsung Chromebook, และ Zotac AD11 AMD E-450 1.6GHz

Tags:
Node Thumbnail

Samsung เตรียมเผยรายละเอียดชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพารุ่นต่อไปในงาน ISSCC ที่จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า หนึ่งในนั้นคือชิป Exynos ที่จะเพิ่มจำนวนคอร์จาก 4 ไปเป็น 8 แล้ว

ข้อมูลของชิปตัวใหม่ที่มีในตอนนี้คือ ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 28 นาโนเมตร ตัวชิปมีซีพียูควอดคอร์สองตัว เพื่อรองรับการประมวลผลแบบ big.LITTLE ตัวหนึ่งจะเป็นชิป ARM Cortex-A15 ความถี่ 1.8GHz สำหรับงานประมวลผลสูง และอีกตัวจะเป็น ARM Cortex-A7 ความถี่ 1.2GHz สำหรับงานเบา โดยมีขนาดของ L2 cache อยู่ที่ 2MB

Tags:
Node Thumbnail

คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่มีให้เลือกสารพัดในช่วงหลัง ราคาประมาณสองพันบาททำให้หลายคนอยากเอามาใช้แทนคอมพิวเตอร์ฝังตัวแบบเดิมๆ กันหมด ล่าสุดบริษัท Olimex ในบัลแกเรียก็สร้างเครื่อง A13-OLinuXino-WIFI โดยมีข้อพิเศษคือมันต่อพอร์ต GPIO ทั้งหมดออกมายังหัวต่อภายนอกให้สำหรับแฮกเกอร์ได้ทดลอง พร้อมทั้งตัวบอร์ดเองก็เป็นขนาด nano-ITX มาตรฐานทำให้มีโอกาสหาเคสมาใส่ได้ง่าย

หัวใจหลักของบอร์ดคือ AllWinner A13 ใส่แรมมาให้เพียง 512MB อาจจะไม่พอสำหรับคนที่ต้องการเล่นแอพพลิเคชั่นแปลกๆ แต่น่าจะเหลือเฟือสำหรับการพัฒนาโครงการทดลองทั่วไป สุดท้ายคือแฟลชรอมขนาด 4GB ที่น่าแปลกใจจริงๆ คือผู้ผลิตเลือกจะติดตั้งหัว VGA มาให้แทนที่จะเป็น HDMI เหมือนตัวอื่นๆ ส่วนหัว LVDS สำหรับจอ LCD นั้นสามารถต่อไปจากหัวต่อได้เลย

Tags:
Node Thumbnail

Rikomagic ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จิ๋วจากประเทศจีนซีรีส์ MK802 ได้เปิดตัว MK802 รุ่นล่าสุดในชื่อรุ่น MK802 III ซึ่งเป็นรุ่นที่สามออกมาแล้ว

MK802 III เปลี่ยนไปใช้ชิป Rockchip RK3066 ที่มาพร้อมกับซีพียู ARM Cortex-A9 ดูอัลคอร์ (จากตอนแรกใช้ Allwinner A10 ที่เป็นซิงเกิลคอร์) แรม 1GB มีสองรุ่นความจุ 4GB และ 8GB มาพร้อมกับ Android 4.1 Jelly Bean

พอร์ตที่มาพร้อมกับ MK802 III ไม่เปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนหน้ามาก มี HDMI, USB 2.0 และที่เสียบ micro SD อีกหนึ่งสล็อต

MK802 III หาซื้อได้ราวๆ 60-70 เหรียญ ตามเว็บออนไลน์ครับ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Bloomberg รายงานว่าแอปเปิลกำลังหาทางที่จะผลิตหน่วยประมวลผลบนแมคด้วยตัวเอง และจะเลิกใช้หน่วยประมวลผลจากอินเทล ลักษณะเดียวกับที่แอปเปิลเลือกที่จะผลิตหน่วยประมวลผลด้วยตัวเองบนอุปกรณ์ iOS โดยวิศวกรที่ทำงานในแอปเปิลเองเชื่อว่าซักวันชิปที่ถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์พกพาจะแรงพอที่จะนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้

Tags:
Node Thumbnail

Ian Forsyth ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการของ ARM เปิดเผยว่ากำลังทำงานร่วมกับ Microsoft เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ให้รันบนชิป ARM สถาปัตยกรรม 64 บิตได้ แต่เขาก็ปฏิเสธที่จะระบุว่างานนี้จะเสร็จเมื่อใด

เมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา ARM ได้เปิดตัว ARMv8 บนสถาปัตยกรรม 64 บิต Cortex-A53 และ Cortex-A57 และคาดว่าเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์พกพาที่ใช้ชิปดังกล่าวจะออกสู่ตลาดได้ในปี 2014

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

งานประกาศข่าวเอเอ็มดีเมื่อวานนี้ ตามมาด้วยการเปิดตัวชิปสายใหม่ของ ARM คือ ตระกูล Cortex-A50 ที่เป็นต้นแบบชิปในสาย ARMv8 สองตัวแรก

Cortex-A57 เป็นชิปที่ออกแบบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ส่วน Cortex-A53 เป็นชิปที่เน้นประหยัดพลังงาน ทั้งสองตัวสามารถผลิตแยกจากกันได้ หรือจะรวมกันเพื่อเปลี่ยนโหมดการทำงานไปมาด้วยเทคโนโลยี big.LITTLE (สลับซีพียูตามโหลดงาน ต้องประกบ A53 เข้าไปในชิปที่มี A57 เป็นซีพียูหลัก) ก็ได้ ส่วนระบบบัสเพื่อทำงานหลายคอร์พร้อมกันจะมี CoreLink มาให้คอนฟิกใส่ลงไปได้ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

ความหวังว่า ARMv8 จะบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ได้จริงจัง ชัดเจนหนักกว่าเดิมเมื่อเอเอ็มดีประกาศว่าจะผลิต Opteron รุ่นที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM หลังจากเอเอ็มดีบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ด้วยสถาปัตยกรรม AMD64 (x86-64) อย่างเดียมาตลอดเกือบสิบปีจนทุกวันนี้

การแถลงข่าวนี้มี เรดแฮด, เดลล์, เฟซบุ๊ก, และอเมซอน ร่วมแถลงข่าวด้วยว่าสนใจจะใช้ซีพียู ARM สร้างความหวังว่าถึงเวลาที่สินค้าออกขาย เราอาจจะเห็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลใหญ่ๆ ของเฟซบุ๊กและอเมซอนใช้งานจริง ส่วนเรดแฮดนั้นท่าทีชัดเจนว่าสนับสนุน ARMv8

Tags:
Node Thumbnail

หลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่ากระแสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กราคาถูกทุกวันนี้มีจุดเริ่มสำคัญคือโครงการ BeagleBoard ของ Texas Instrument ที่สร้างคอมพิวเตอร์สำหรับนักพัฒนาราคาถูกที่ใช้ชิป OMAP ส่งผลให้มีแฮกเกอร์มาช่วยกันสร้างแอพพลิเคชั่นบนคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานกันเพิ่มขึ้นมาก และตอนนี้ซัมซุงก็ออกมาสร้างโครงการแบบเดียวกันสำหรับชิป Exynos แล้ว ในชื่อโครงการ Arndale Board

Arndale Board ใช้ชิป Exynos5 ที่สถาปัตยกรรมภายในคือ Cortex-A15 1.7GHz พร้อมแรม LPDDR3/LPDDR2 ขนาด 2GB กราฟิก ARM Mali T604 รองรับ OpenCL

Tags:
Node Thumbnail

ช่วงหลังนี้ Red Hat เป็นอีกบริษัทที่ส่งสัญญาณว่ากำลังจริงจังกับแพลตฟอร์ม ARM มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้เราเพิ่งเห็นข่าว RedHat กำลังพัฒนา OpenJDK สำหรับ ARMv8 กันไปแล้ว

สำหรับข่าวนี้เกี่ยวข้องกับ ARM อีกเช่นกัน โดย Red Hat ประกาศจับมือกับบริษัท Applied Micro ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ตระกูล ARM ว่าจะร่วมกันผลักดันแพลตฟอร์ม ARMv8 รุ่น 64 บิตในโลกของเซิร์ฟเวอร์ เป้าหมายของ Red Hat คือผลักดันเซิร์ฟเวอร์ ARM ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของศูนย์ข้อมูลนั่นเอง

ในเบื้องต้น Red Hat จะรีบเข็น Fedora 19 รุ่นรองรับสถาปัตยกรรม ARM แบบ 64 บิต (AArch64) ให้เสร็จทันการวางขายฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ARMv8 ในปีหน้า

Tags:
Node Thumbnail

แม้ ARMv8 หรือ AArch64 ที่เป็น ARM สถาปัตยกรรม 64 บิตจะยังไม่วางตลาดเลยก็ตาม แต่ฝั่งซอฟต์แวร์ก็เริ่มเตรียมความพร้อมกันแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้บนเซิร์ฟเวอร์คงเป็นจาวาที่แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรจำนวนมากใช้งานกันอยู่ ปัญหาของจาวาบน ARM ทุกวันนี้ (รุ่น 32 บิต) คือมันมี JIT compiler รุ่นเล็กและง่ายสำหรับ OpenJDK ที่โอเพนซอร์สและใช้งานได้ฟรี กับรุ่นเฉพาะจากออราเคิลที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพดีกว่า และตอนนี้ทาง RedHat เริ่มเข้ามาพัฒนา JIT compiler บน ARMv8 โดยเฉพาะ โดยหวังให้มันมีประสิทธิภาพที่ดีและโอเพนซอร์สไปพร้อมกัน

Tags:
Node Thumbnail

เราเพิ่งเห็นข่าวปัญหาการทำงานข้ามสถาปัตยกรรมซีพียูใน กูเกิลงานเข้า Chrome for Android ทำงานบนมือถือ x86 อย่าง RAZR i ไม่ได้ ข่าวนี้คล้ายๆ กันแต่กลับทิศ เพราะเว็บแอพเดิมที่รันบน x86 ไม่สามารถนำไปใช้บน ARM ได้แทน

มีผู้ใช้ Chromebook รุ่นใหม่ที่เปลี่ยนมาใช้ซีพียู Exynos รายงานว่าไม่สามารถใช้งานเว็บแอพบางตัว เช่น Netflix หรือเกม Bastion ได้ เหตุผลก็เพราะเว็บแอพเหล่านี้เขียนด้วย Native Client (NaCl) ของกูเกิลเอง ที่ยังรองรับเฉพาะสถาปัตยกรรม x86 เท่านั้น

Pages