Volkswagen ประกาศลงทุนในธุรกิจพัฒนายานยนต์ไร้คนขับที่ประเทศจีน โดยให้บริษัทซอฟต์แวร์ CARIAD ที่ถือหุ้นอยู่ทั้งหมด ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Horizon Robotics บริษัทพัฒนาชิปสำหรับยานยนต์ในจีน
ในบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นระหว่างสองบริษัทนี้ CARIAD ของ Volkswagen จะลงทุน 2,400 ล้านยูโร คิดเป็นหุ้น 60% ส่วนที่เหลือเป็นของ Horizon Robotics
Ralf Brandstätter หนึ่งในกรรมการบอร์ดบริหารของ Volkswagen ที่จีน บอกว่าการลงทุนในบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะพื้นที่ มีความสำคัญมากต่อการขยายบริการยานยนต์ไร้คนขับออกไปทั่วโลก การร่วมทุนกับ Horizon Robotics จะช่วยให้บริษัทมีเทคโนโลยีที่เฉพาะสำหรับลูกค้าในจีนได้ดีขึ้น
NVIDIA เปิดตัว NVIDIA DRIVE Thor คอมพิวเตอร์สำหรับรถยนต์รุ่นต่อไปที่คาดว่าจะเริ่มเห็นรถยนต์ใช้งานจริงปี 2025 โดยมาแทน NVIDIA DRIVE Atlan ที่เปิดตัวปีที่แล้ว แต่ยังไม่มีการใช้งาน
ภายในของ Thor เป็นชิป NVIDIA Hopper™ Multi-Instance GPU (MIG) ตัวซีพียูเป็นชิป Grace และฝั่งกราฟิกเป็น Ada Lovelace การใช้ MIG ทำให้สามารถแบ่งการทำงานทำให้คอมพิวเตอร์ตัวเดียวสามารถใช้กับระบบความบันเทิงในรถไปพร้อมๆ กับระบบช่วยขับขี่ได้โดยภายในมีการแยกขาดจากกัน
Uber ประกาศความร่วมมือระยะยาวเป็นเวลา 10 ปี กับ Nuro สตาร์ทอัพพัฒนายานพาหนะเคลื่อนที่อัตโนมัติสำหรับส่งสินค้า โดยจะนำมาใช้กับบริการส่งอาหาร Uber Eats ในอเมริกา
ในช่วงแรกของการให้บริการร่วมกัน รถส่งอาหารและสินค้าของ Nuro จะดำเนินการในเมือง Houston รัฐเท็กซัส และเมือง Mountain View รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นสองแห่งแรก และมีแผนจะขยายต่อไปยัง Bay Area
Nuro ระบุว่า ปัจจุบันมีเพียง 3 บริษัทในอเมริกาที่ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ยานพาหนะอัตโนมัติส่งสินค้า ซึ่งมีเพียงไม่กี่รัฐที่อนุญาต ซึ่ง Nuro เป็นบริษัทแรกที่ได้รับในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนอกจาก Uber บริษัทก็มีความร่วมมือกับทั้งร้านขายสินค้า, ร้านอาหารบางแห่ง, บริษัทขนส่งพัสดุ ไปจนถึงร้านสะดวกซื้อ
สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานว่าในไตรมาส 1 ปี 2022 องค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาสั่งซื้อหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หากนับทั้งปี 2021 ยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์มีมูลค่าถึง 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 55,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า
ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากการสำรวจโดย Association for Advancing Automation ส่วนเหตุผลที่มีการสั่งซื้อหุ่นยนต์มากขึ้นขนาดนี้ มาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในสหรัฐอเมริกา เพราะหลายองค์กรต้องการนำหุ่นยนต์มาช่วยเหลือในส่วนงานที่แรงงานขาดหายไป
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า องค์กรต่าง ๆ ในประเทศสิงคโปร์หันมาลงทุนในหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมากขึ้นตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากแรงงานชาวต่างชาติขาดแคลน โดยการทำงานของหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติครอบคลุมการทำงานตั้งแต่ในห้องสมุดจนถึงไซต์ก่อสร้าง
หากเริ่มที่การทำงานในห้องสมุดจะพบว่า ห้องสมุดแห่งชาติของสิงคโปร์จะใช้งานหุ่นยนต์เพื่อช่วยตรวจสอบ และแจ้งบรรณารักษ์ว่าหนังสือเล่มใดวางไม่ถูกที่ โดยตัวหุ่นยนต์สามารถตรวจสอบหนังสือได้ 1 แสนเล่ม/วัน หรือคิดเป็น 30% ของหนังสือทั้งหมด ช่วยลดการใช้แรงคนในการตรวจสอบ และนำเวลาไปทำงานอื่น ๆ ได้
เว็บไซต์ VR Scout รายงานว่า Apple ได้ยื่นจดสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 3 พ.ค. เกี่ยวกับระบบความบันเทิงในรถยนต์ที่จะช่วยสร้างภาพเสมือนภายในรถยนต์ แทนที่ผู้โดยสารในรถยนต์จะเห็นบรรยากาศปกตินอกตัวรถเวลามองออกไปนอกกระจก ทั้งยังระบุว่า รถยนต์ไร้คนขับดังกล่าวอาจไม่มี หรือมีหน้าต่างในจำนวนจำกัด
NVIDIA เปิดตัวบริการแผนที่ในชื่อ DRIVE Map แผนที่ถนนความละเอียดสูงระดับ 5 เซนติเมตรสำหรับใช้งานร่วมกับรถอัตโนมัติระดับ 3 หรือระดับ 4
แผนที่จะมีข้อมูลอย่างละเอียด ทั้งแผนที่โครงสร้าง (semantic layer) เช่น ช่องแบ่งเลน, ขอบถนน, ป้ายจราจร, สัญญาณไฟ, สิ่งกีดขวาง แผนที่เรดาร์ เป็นภาพสามมิติที่ได้จากเรดาร์ ทำให้มีข้อมูลสิ่งกีดขวางต่างๆ แม้ไม่ละเอียดนัก แต่เป็นภาพที่คอมพิวเตอร์มองเห็นในภาวะที่อากาศไม่ดี สุดท้ายคือแผนที่ lidar เป็นแผนที่สามมิติความละเอียดสูง เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์วางแผนเดินทางได้ล่วงหน้า
บริษัทรถไฟญี่ปุ่น East Japan Railway Co หรือที่เรียกย่อๆ ว่า JR-East เริ่มทดสอบรถไฟความเร็วสูงแบบไม่ต้องมีคนขับเป็นมนุษย์เลย โดยยังเป็นการทดสอบระยะสั้นๆ เพียง 5 กิโลเมตร วิ่งที่ความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีคนขับนั่งอยู่บนเก้าอี้คนขับเผื่อกรณีฉุกเฉินเท่านั้น รถที่ทดสอบเป็นรุ่น E7 ที่สาย Joetsu Line
ผลการทดสอบการจอดอัตโนมัติเลยเส้นที่กำหนดไป 8 เซนติเมตร แต่ยังอยู่ในระยะ 50 เซนติเมตรที่ยอมให้ผิดพลาดได้ ซึ่งโฆษกของ JR-East บอกว่าอยู่ในระดับเดียวกับคนขับที่เป็นมนุษย์ แต่บริษัทก็จะปรับปรุงเรื่องนี้ให้ดีขึ้น และยังไม่ระบุว่าจะนำระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้งานจริงเมื่อใด
Waymo ประกาศขยายการทดสอบบริการแท็กซี่ไร้คนขับไปยังเมืองซานฟรานซิสโก หลังจากทดสอบแบบเดียวกันในเมืองฟีนิกซ์มาตั้งแต่ปี 2017 จนกระทั่งเปิดบริการได้จริงในปี 2020
การทดสอบครั้งนี้ยังเป็นการทดสอบวงปิด โดยผู้ที่ต้องการทดสอบต้องสมัครเข้าโครงการ Trusted Tester ผ่านแอป Waymo One เสียก่อน และแม้รถจะไม่มีคนขับ แต่ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญประจำรถ (autonomous specialist) นั่งอยู่ด้วยเพื่อเก็บความคิดเห็น
Waymo ปล่อยรถในเมืองซานฟรานซิสโก้มาก่อนแล้ว แต่เปิดให้พนักงานของตัวเองใช้งานเท่านั้น
ที่มา - Waymo
Nvidia เข้าซื้อ DeepMap สตาร์ทอัพทำแผนที่ความละเอียดสูง เพื่อมาเสริมกำลังในธุรกิจรถอัตโนมัติ หรือ Nvidia Drive โดยกระบวนการเข้าซื้อจะเสร็จสิ้นในไตรมาสสามปีนี้
DeepMap ก่อตั้งโดย James Wu และ Mark Wheeler อดีตพนักงานของ Google, Apple และ Baidu สามารถใช้แพลตฟอร์มที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ของ Nvidia Drive เพื่อปรับขนาดแผนที่ใน AV Fleet ได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องใช้การจัดเก็บข้อมูลมากเกินไป และในความเป็นหุ้นส่วนนี้ Nvidia จะลงทุนในความสามารถใหม่ๆ ของ DeepMap ด้วย
Lyft ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อขายธุรกิจแผนกรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Level 5 ให้กับ Woven Planet บริษัทในเครือโตโยต้า โดยมีมูลค่าดีลรวม 550 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นจ่ายเงินก้อนแรก 200 ล้านดอลลาร์ และที่เหลืออีก 350 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 5 ปี
ทีมงานของ Level 5 จะเข้าไปร่วมทีม Woven Planet ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับอยู่แล้ว นอกจากนี้ Lyft ยังทำข้อตกลงเพื่อแชร์ข้อมูลให้กับ Woven Planet สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ด้วย
NVIDIA เปิดตัว Atlan ชิปรุ่นต่อไปสำหรับรถยนต์ เป็นการอัพเกรดจากชิป Orin ที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2020 แต่ยังต้องรออีกหลายปีจึงมีรถยนต์ใช้งานจริง
Atlan มีพลังประมวลผล 1,000TOPS หรือประมาณ 100 คะแนนจากการทดสอบ SPEC 2017 Integer Rate (เทียบกับซีพียู EPYC รุ่นล่าสุดได้ประมาณ 424-452 คะแนน) ภายในชิป ตัวซีพียูเป็น Grace และส่วนกราฟิกเป็น Ampere และมีส่วน BlueField สำหรับรักษาความปลอดภัย
ชิป Orin ที่เปิดตัวก่อนหน้านี้จะเริ่มใช้งานใน Volvo XC90 ที่จะเปิดตัวปี 2022 ส่วน Atlan จะเริ่มส่งมอบตัวอย่างได้ในปี 2023 และน่าจะมีรถยนต์ใช้งานจริงในปี 2025
เว็บไซต์ TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องสามราย ว่า Aurora Innovation สตาร์ทอัพด้านรถยนต์ไร้คนขับ กำลังเจรจาเพื่อขอซื้อกิจการ Uber Advanced Technologies (Uber ATG) ส่วนธุรกิจที่พัฒนารถยนต์ไร้คนขับของ Uber
Aurora เป็นสตาร์ทอัพด้านรถยนต์ไร้คนขับที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2017 ซึ่งรวมดาวผู้ก่อตั้งในด้านนี้ทั้ง Chris Urmson อดีตหัวหน้าฝ่ายรถยนต์ไร้คนขับของกูเกิล (ก่อนแยกออกเป็น Waymo), Sterling Anderson หัวหน้าทีม Autopilot ของ Tesla และ Drew Bagnell ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ซึ่งช่วยจัดตั้งฝ่ายรถยนต์ไร้คนขับให้ Uber
เทคโนโลยีช่วยขับขี่อัตโนมัตินับเป็นเทคโนโลยีที่คนจำนวนมากรอคอย เพราะจะช่วยทำให้การขับขี่บนท้องถนนมีความปลอดภัยมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือแม้กระทั่งทำให้การจราจรคล่องตัวมากขึ้น โดยเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัตินั้นอาจจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
ในงาน CES ปี 2018 มีสินค้าหนึ่งที่นำมาแสดงคือ วีลแชร์อัจฉริยะนำทางด้วยตัวเอง และมีน้ำหนักเบาจาก Whill ขายราคาคันละ 4,000 ดอลลาร์ ล่าสุด สายการบิน British Airways เริ่มนำวีลแชร์ดังกล่าวไปทดลองใช้ที่สนามบิน JFK นิวยอร์กแล้ว
รถอัตโนมัติหรือรถไร้คนขับมีความพร้อมออกสู่ถนนแล้วในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีคามท้าทายอีกมาก เช่นพฤติกรรมคนขับรถแบบเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน รถติด
Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) ภายใต้หน่วยงาน MIT กำลังวิจัยใหม่ พยายามสอน AI ในรถอัตโนมัติให้สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการขับรถที่เห็นแก่ตัวได้
ซึ่งการจะเรียนรู้ได้ต้องอาศัยการตระหนักและการเรียนรูัทางสังคมซึ่งยากสำหรับ AI นักวิจัยจึงใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาสังคมเข้ามาช่วยในการวิจัยด้วย เพื่อช่วยให้ระบบเรียนรู้และแยกความแตกต่างระหว่างการขับรถเห็นแก่ตัว กับแบบมีความเสียสละในการใช้รถใช้ถนนได้
เหตุการณ์รถไร้คนขับของ Uber ชนคนเมื่อปี 2018 นับเป็นเหตุการณ์รถไร้คนขับชนคนจนถึงแก่ชีวิตเป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมการความปลอดภัยคมนาคม (National Transportation Safety Board - NTSB) ได้ปล่อยรายงานเบื้องต้นหลังสอบสวนไปสองเดือนหลังจากนั้น ตอนนี้รายงานฉบับเต็มก็ออกมาแล้ว
อีกไม่นานก็จะได้เวลาของงานกีฬาโตเกียวโอลิมปิก 2020 แล้ว หลังจากเปิดตัวหุ่นยนต์สนับสนุนในงานกีฬาโอลิมปิกไปหลากหลายรุ่นแล้ว โตโยต้าก็ส่งรถยนต์พลังไฟฟ้าไร้คนขับสำหรับรับส่งนักกีฬาไปกลับระหว่างสนามแข่งกับหมู่บ้านนักกีฬาจำนวน 20 คันอีกด้วย ชื่อว่า Toyota e-Palette สามารถรองรับผู้โดยสายได้สูงสุด 20 คนพร้อมกัน
Toyota e-Palette จะขับเคลื่อนอัตโนมัติโดยทำงานทำความเร็วได้สูงสุดที่ 19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินทางได้ไกลสุด 150 กิโลเมตร ตัวรถสามารถให้บริการได้ที่ระดับ 4 SAE นั่นคือรถสามารถตัดสินใจได้เองทั้งหมด แต่ยังต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำการในตัวรถ โดย Toyota e-Palette จะใช้เซ็นเซอร์ LiDAR กับกล้องถ่ายภาพ
โตโยต้า, DENSO และกองทุน SoftBank Vision ประกาศจะร่วมกันลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Uber Advanced Technologies ของ Uber เป็นมูลค่ารวม 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งกลุ่ม Uber Advanced Technologies (Uber ATG) นี้ เน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ สำหรับนำมาใช้ให้บริการแชร์รถโดยสาร
ทั้งนี้ โตโยต้าและ DENSO จะลงทุนร่วมกัน 667 ล้านดอลลาร์ ส่วน SoftBank จะลงทุน 333 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจากการลงทุนนี้ทำให้ Uber ATG มีมูลค่ากิจการ 7,250 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Uber ได้เริ่มขายเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับให้กับโตโยต้าแล้วด้วย
ที่มา: Uber
มีรายงานมาหลายปีก่อนหน้านี้ว่าแอปเปิลกำลังพัฒนาโครงการรถยนต์ไร้คนขับในชื่อ Project Titan แต่ดูเหมือนโครงการจะถูกยุติไป ล่าสุด Reuters รายงานว่าแอปเปิลน่าจะกลับมาพัฒนาโครงการรถยนต์ไร้คนขับนี้อีกครั้ง
โดยแหล่งข่าวระบุว่าแอปเปิลได้มีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์อย่างน้อย 4 ราย เพื่อสั่งผลิตเซ็นเซอร์ LiDAR ที่ใช้วัดระยะ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ไร้คนขับ ทั้งนี้แอปเปิลต้องการเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน ราคาถูกลง และมีการออกแบบที่ต่างไปจากเดิม จึงมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ที่สามารถร่วมพัฒนาเซ็นเซอร์ LiDAR รุ่นใหม่นี้ได้
ช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ Tesla ได้ปล่อยอัพเดตซอฟต์แวร์เวอร์ชัน 9.0 ให้รถยนต์ Tesla Model S, X และ 3 มีฟีเจอร์ใหม่ๆ มากมาย อันที่สำคัญก็เช่นการเปิดใช้กล้องรอบตัวครบ 8 ตัว ช่วยให้รถรับรู้สถานการณ์รอบตัวได้ดีขึ้น รวมถึงเตรียมความพร้อมสำหรับการนำทางขณะใช้ฟีเจอร์ขับอัตโนมัติ (Autopilot)
ฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ล้วนต้องใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์บนรถมากขึ้น ซึ่งอาจใกล้ถึงขีดจำกัดของฮาร์ดแวร์ปัจจุบันที่ใช้ NVIDIA Drive PX2 โดย Tesla ก็ทราบเรื่องนี้ดีและเคยจ้าง Jim Keller นักออกแบบชิปมือดีจาก AMD เข้ามารับตำแหน่งรองประธานฝ่ายฮาร์ดแวร์ Autopilot เพื่อสร้างชิป AI ของตนเอง
NVIDIA, Volvo, และ Zenuity ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาระบบช่วยขับที่จะทำให้รถเป็นรถอัตโนมัติระดับ 4 และพร้อมวางขายจริงในปี 2021
รถอัตโนมัติระดับ 4 เป็นระดับที่คนขับไม่จำเป็นต้องสนใจการขับขี่อีกต่อไป (mind off) โดยระบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้จำกัด เช่น บนทางหลวง, พื้นที่ที่กำหนด, หรือสภาพจราจรบางอย่าง เช่น รถติด โดยหากสภาพแวดล้อมไม่ตรงเงื่อนไขตัวรถจะสามารถเรียกคนขับให้กลับมาควบคุมรถได้อย่างปลอดภัย
แอปเปิลรายงานอุบัติเหตุจากรถอัตโนมัติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเป็นฝ่ายถูกชนหลังรถของแอปเปิลชะลอรถเกือบหยุดนิ่ง (ความเร็วต่ำกว่า 1 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อเตรียมขึ้นทางด่วน ขณะที่อีกฝ่ายคือรถ Nissan Leaf เข้ามาชนท้ายด้วยความเร็วประมาณ 15 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รายงานฉบับนี้ทำให้เรารู้ว่าแอปเปิลใช้รถทดสอบเป็น Lexus RX-450H
แอปเปิลไม่ค่อยให้รายละเอียดโครงการรถไร้คนขับต่อภายนอกนัก รายงานนี้ทำให้เรารู้ว่าแอปเปิลใช้รถรุ่นเดียวกับที่กูเกิลเคยใช้
เหตุการณ์รถ Tesla X ของวิศวกรแอปเปิลชนบนทางหลวงจนคนขับเสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคม นับเป็นเหตุการณ์ที่ระบบ Autopilot ของ Tesla ถูกตั้งคำถามว่าปลอดภัยเพียงใด ตอนนี้ NTSB หน่วยงานดูแลความปลอดภัยทางหลวงที่เข้ามาร่วมสอบสวนแต่ต้นก็ปล่อยรายงานเบื้องต้นออกมา
รายงานเบื้องต้นเป็นการสรุปเหตุการณ์นาทีท้ายๆ ก่อนเกิดการชน โดยระบุว่ารถถูกตั้งความเร็วแบบคำนึงถึงสภาพการจราจรไว้ที่ 75 ไมล์ต่อชั่วโมง แม้ความเร็วบนถนนจะจำกัดที่ 65 ไมล์ต่อชั่วโมง
อนาคตของรถยนต์ขับอัตโนมัติค่อนข้างน่าติดตามเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่ามีบริษัทรถยนต์ หรือแม้กระทั่งบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายแห่งหันมาลงทุนพัฒนารถยนต์ขับอัตโนมัติหรือแบบไร้คนขับกันอย่างจริงจัง ที่ไม่เพียงแค่พัฒนาในรูปแบบรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ยังรวมถึงรถโดยสารสาธารณะด้วย
ล่าสุด Kolumbus บริษัทขนส่งมวลชน ในเมือง Stavanger ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนอร์เวย์ ได้รับใบอนุญาตในการให้บริการรถโดยสารประจำทางแบบขับอัตโนมัติบนถนนสาธารณะบางแห่งของเมือง นับเป็นใบอนุญาตแรกในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย