VMware ซึ่งปัจจุบันมี Broadcom เป็นเจ้าของ ประกาศเปลี่ยนรูปแบบการขายไลเซนส์มาเป็นแบบ Subscription ทั้งหมด โดยมีผลตั้งแต่ 11 ธันวาคมเป็นต้นไป จะไม่มีการขายไลเซนส์ของผลิตภัณฑ์ VMware แบบขายขาด (perpetual license) รวมทั้งไม่มีการขายแผนสนับสนุน (support and subscription - SnS) ให้ผลิตภัณฑ์ VMware แบบไลเซนส์ขายขาดอีกต่อไปเช่นกัน ทั้งหมดจะมีเฉพาะแบบ Subscription เท่านั้น
หลังจาก Broadcom เข้าซื้อกิจการ VMware เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ล่าสุดมีรายงานว่า Broadcom ก็เริ่มการปรับโครงสร้างองค์กรของ VMware ทันที โดยเบื้องต้นจะมีการปลดพนักงานรวมประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มพนักงานในสำนักงานที่แคลิฟอร์เนียที่ถูกปลดออกทันที 1,267 คน และอีกประมาณ 600 คน ในสำนักงานสาขาอื่น
Hock Tan ซีอีโอ Broadcom ยังประกาศแผนงานถัดไปในการรวม VMware เข้ากับ Broadcom โดยคาดว่าจะมีการปลดพนักงานเพิ่มเติม เน้นฝ่ายที่ลักษณะงานซ้ำซ้อนกับ Broadcom และกลุ่มที่เป็นสำนักงานย่อยขนาดเล็ก Broadcom ยังเตรียมย้ายสำนักงานใหญ่บริษัทไปอยู่เมือง Palo Alto ที่สำนักงานใหญ่ VMware ตั้งอยู่ด้วย
Broadcom ประกาศปิดดีลการซื้อกิจการ VMware ที่เริ่มต้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 หลังได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลครบทั่วโลกแล้ว
Broadcom ประกาศซื้อ VMware ด้วยวงเงินสูงถึง 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ถือเป็นหนึ่งในแผนขยายธุรกิจการเซมิคอนดักเตอร์สู่ซอฟต์แวร์ด้วย ก่อนหน้านี้ Broadcom เป็นเจ้าของบริษัทซอฟต์แวร์องค์กรรายอื่นอยู่แล้ว เช่น CA Technologies (ซื้อปี 2018) และ ซอฟต์แวร์ฝั่งธุรกิจองค์กรของ Symantec เดิม (ซื้อปี 2019)
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology - CalTech) ได้ทำข้อตกลงเพื่อยุติคดีฟ้องร้องแอปเปิลและ Broadcom เรื่องการละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับชิป Wi-Fi ที่ทาง CalTech ฟ้องสองบริษัทนี้เมื่อปี 2016 ซึ่งการเจรจานี้มีข้อตกลงคือแอปเปิลและ Broadcom ก็จะไม่ฟ้องร้องกลับด้วย อย่างไรก็ตามรายละเอียดในข้อตกลงไม่มีการเปิดเผยออกมา
Apple ประกาศความร่วมมือกับ Broadcom มูลค่าหลายพันล้าน กินระยะเวลาหลายปี เพื่อให้ Broadcom พัฒนาและผลิตชิ้่นส่วนสำหรับการใช้งาน 5G ทั้งหมดในสหรัฐ
ดีลนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนในสหรัฐของ Apple ที่ประกาศเมื่อ 2021 มูลค่าราว 4.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ กินระยะเวลา 5 ปี ซึ่งแนวคิดการผลักดันให้บริษัทสัญชาติอเมริกันหันมาลงทุนหรือตั้งโรงงานในประเทศเริ่มมาตั้งแต่สมัยทรัมป์ และในแต่ละปี Apple ก็เปิดเผยรายชื่อซัพพลายเออร์ของตัวเองด้วย
ที่มา - Apple
มีรายงานจาก Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าแอปเปิลมีแผนจะเปลี่ยนการใช้ชิปโมเด็ม ที่ใช้ในอุปกรณ์ทั้งหมดรวมทั้ง iPhone จากปัจจุบันที่เป็นชิป Qualcomm มาใช้ชิปที่ออกแบบเองโดยแอปเปิล เร็วที่สุดภายในปี 2024 หรืออย่างช้าคือ 2025
นอกจากนี้แอปเปิลยังมีแผนลดการพึ่งพาชิปไร้สายอีกจำนวนหนึ่ง ที่ตอนนี้ใช้ของ Broadcom ด้วย เช่นชิป WiFi หรือ Bluetooth มีผลปี 2025 ทั้งนี้แอปเปิลและ Broadcom ได้เคยทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อสั่งซื้อชิปไร้สาย โดยข้อตกลงจะสิ้นสุดกลางปีนี้ ซึ่งปัจจุบันแอปเปิลเป็นลูกค้ารายสำคัญของ Broadcom สร้างรายได้คิดเป็น 20% ของรายได้รวม อย่างไรก็ตามแอปเปิลจะยังสั่งซื้อชิปสำหรับบางฟังก์ชันกับ Broadcom ต่อไป
Intel และ Broadcom รายงานการทดสอบส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi 7 ที่มาตรฐานยังไม่ออกเป็นทางการแต่เริ่มมีชิปที่รองรับแล้ว โดยทั้งสองบริษัทระบุว่านี่เป็นการทดสอบข้ามผู้ผลิต (cross vendor) เป็นครั้งแรก
Wi-Fi 7 จะใช้คลื่น 6GHz ซึ่งเปิดให้ใช้งานเสรีเพียงบางประเทศเท่านั้น ทาง Broadcom ระบุว่ากำลังพูดคุยกับประเทศต่างๆ เพื่อให้เปิดคลื่น 6GHz ให้ใช้งานได้เพิ่มขึ้น ตัว Wi-Fi 7 มีฟีเจอร์ในการใช้คลื่นให้เต็มที่กว่าเดิม เช่น การเชื่อมต่อหลายย่านความถี่ และการใช้แถบคลื่นที่ไม่ต่อเนื่อง (multi-resource unit puncturing)
Vista Equity Partners และ Evergreen Coast Capital บริษัทด้านการลงทุน ประกาศแต่งตั้ง Tom Krause อดีตประธานฝ่ายซอฟต์แวร์ของ Broadcom เป็นซีอีโอคนใหม่ของบริษัทใหม่ ที่จะรวมกิจการ Citrix และ TIBCO เข้าด้วยกัน ซึ่งสองบริษัทกองทุนนี้เป็นเจ้าของอยู่
Krause ถือเป็นผู้บริหารคนสำคัญของ Broadcom และมีรายงานว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเจรจาดีลซื้อ VMware มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านบาท เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผย พูดถึงเบื้องหลังดีลใหญ่อีกดีลของปีนี้ที่ Broadcom ซื้อกิจการ VMware ที่มูลค่า 61,000 ล้านดอลลาร์ ว่า Broadcom นั้นสนใจจะซื้อ VMware มาหลายเดือนแล้ว แต่ยังไม่เริ่มเจรจา เนื่องจาก VMware เพิ่งแยกบริษัทออกมาจาก Dell ในเดือนพฤศจิกายน หากเริ่มเจรจาเลยจะทำให้ดีลเกิดขึ้นยาก เนื่องจากผู้ถือหุ้นจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีใน 6 เดือนแรกที่แยกกิจการ
Broadcom ประกาศซื้อกิจการ VMware โดยจ่ายเป็นเงินสดและหุ้นของบริษัท ที่มูลค่ารวม 61,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นดีลซื้อกิจการในบริษัทเทคโนโลยีมูลค่าสูงสุดตลอดกาล อันดับที่ 3 รองจาก Dell ซื้อ EMC (67,000 ล้านดอลลาร์) และ Microsoft ซื้อ Activision Blizzard (68,700 ล้านดอลลาร์) ซึ่งดีลนี้มีข่าวลือมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์
ผลจากดีลดังกล่าว แผนกซอฟต์แวร์ของ Broadcom จะรีแบรนด์และย้ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไปอยู่ภายใต้กลุ่ม VMware
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่า Broadcom บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ กำลังเจรจาเพื่อซื้อกิจการ VMware โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาตกลงมูลค่า
มูลค่ากิจการของ VMware ล่าสุดตามราคาในตลาดหุ้นอยู่ที่ 4.03 หมื่นล้านดอลลาร์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดคือ Michael Dell ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Dell Technologies ซึ่งเป็นผลจากแยก VMware ออกมาจาก Dell Technologies เมื่อปีที่แล้ว
Broadcom เป็นบริษัทผลิตชิปสื่อสารรายแรกที่เปิดตัวชิป Wi-Fi 7 หรือมาตรฐาน 802.11be ที่กำลังอยู่ระหว่างการร่าง และยังไม่ออกเป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการ (คาดว่าจะออกในปี 2024)
802.11be เป็นการต่อยอดจาก 802.11ax (Wi-Fi 6 และ 6E) โดยทำงานบนคลื่นย่าน 2.4/5/6GHz เหมือนกัน แต่เพิ่มความกว้างคลื่นเป็น 320 MHz (Wi-Fi 6 ใช้สูงสุด 160 MHz) ซึ่งเหมาะกับความถี่ย่าน 6GHz ที่ยังไม่มีการใช้งานมากนัก ช่วยให้อัตราการส่งข้อมูลเพิ่มเป็น 40 Gbps เท่ากับการสื่อสารแบบมีสายอย่าง Thunderbolt 3
ของใหม่อย่างอื่นใน Wi-Fi 7 ได้แก่
Bloomberg รายงานว่า Apple กำลังเปิดรับวิศวกรมาร่วมงานที่สำนักงานในเมือง Irvine ตอนใต้ของ LA เพื่อพัฒนาชิปสื่อสารและรับส่งสัญญาณวิทยุ สัญญาณไร้สายภายในอุปกรณ์ของตัวเองทั้งหมด แทนที่ชิปที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สั่งจาก Broadcom และ Skyworks
ปีที่แล้วก็มีรายงานว่า Apple กำลังพัฒนาชิป Modem ของตัวเอง เพื่อใช้แทนชิป Qualcomm หลังจากประสบความสำเร็จพัฒนาชิปสื่อสารของตัวเองไปแล้วบางส่วน นอกจากชิป M1 อันลือลั่นก็มีชิป U1 สำหรับระบุระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้ใน AirTags และ H1 ที่มาช่วยเรื่องการเชื่อมต่อบลูทูธ
จากที่เมื่อวานมีรายงานข่าวว่า Broadcom ติดต่อขอซื้อกิจการ SAS Institute ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยมูลค่าราว 15,000-20,000 ล้านดอลลาร์ ล่าสุด The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าดีลดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแล้ว
แหล่งข่าวบอกว่าสองผู้ร่วมก่อตั้ง SAS คือ Jim Goodnight และ John Sall เกิดเปลี่ยนใจ และได้แจ้งรายละเอียดไปยังพนักงานไปเพียงว่าบริษัทยังไม่ต้องการขายกิจการ
The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Broadcom อยู่ในขั้นตอนการพูดคุยเพื่อซื้อกิจการ SAS Institute บริษัทซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยดีลคาดว่ามีมูลค่าราว 15,000-20,000 ล้านดอลลาร์ และน่าจะได้ข้อสรุปในสัปดาห์นี้
SAS เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่เน้นลูกค้าระดับองค์กร ปัจจุบันมีพนักงานราว 12,000 คนทั่วโลก และ Jim Goodnight กับ John Sall ผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้บริหารถึงปัจจุบัน
แนวโน้มการซื้อกิจการของ Broadcom ในช่วงหลังจะเน้นไปที่บริษัทซอฟต์แวร์องค์กรมากขึ้น แม้ธุรกิจหลักบริษัทจะเป็นเซมิคอนดักเตอร์ ทั้ง Symantec และ CA Technologies
กรรมการด้านการค้าของสหรัฐหรือ FTC ประกาศยื่นฟ้อง Broadcom ในข้อหาผูกขาดตลาดอุปกรณ์บรอดแบนด์และชิปสำหรับ set-top box ที่ใช้กับทีวี
FTC ระบุว่า Broadcom ใช้วิธีทำ exclusive deal ร่วมกับผู้ขายสินค้าและผู้ให้บริการเพื่อกีดกันไม่ให้ซื้อชิปจากคู่แข่งตั้งแต่ปี 2016 แล้วอย่างน้อย 10 บริษัท ถ้าไม่มีการทำ exclusive deal ลูกค้าจะต้องจ่ายในราคาที่สูงกว่า, เวลาในการส่งสินค้าช้ากว่า และซัพพอร์ตจะตอบช้ากว่า ซึ่ง FTC ระบุว่าเป็นการกระทำผูกขาดอย่างผิดกฎหมาย (illegally monopolizing)
Hock Tan ซีอีโอของ Broadcom ซัพพลายเออร์ชิปไร้สายของแอปเปิลเปิดเผยกับนักลงทุนว่า ผลิตภัณฑ์หลักที่ออกตามรอบของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของอเมริกาเหนือจะประสบปัญหาดีเลย์ ซึ่งชื่อดังกล่าว (ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ของอเมริกาเหนือ) Tan มักใช้เรียกแอปเปิลเป็นปกติอยู่แล้ว
ตามปกติผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างแอปเปิล จะสั่งชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์ล่วงหน้าก่อนการผลิตและการเปิดตัว ขณะที่ไทม์ไลน์การเปิดตัว iPhone ปกติคือราวเดือนกันยายน ทำให้ในช่วงไตรมาสนี้ Broadcom จะต้องเริ่มได้รับออเดอร์จากแอปเปิลแล้ว ทว่าปีนี้ Tan เผยว่ายังไม่มีออเดอร์เลย
ศาลแคลิฟอร์เนียได้ตัดสินคดีที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology - CalTech) ฟ้องแอปเปิลและ Broadcom ฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี Wi-Fi โดยให้ CalTech เป็นฝ่ายชนะ และแอปเปิลกับ Broadcom ต้องจ่ายค่าเสียหายรวม 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 34,000 ล้านบาท
คดีดังกล่าวมีการยื่นฟ้องตั้งแต่ปี 2016 โดยมีผลกับสินค้าแอปเปิลที่ใช้ชิปของ Broadcom
ทั้งนี้แอปเปิลจะต้องจ่ายค่าเสียหาย 837.8 ล้านดอลลาร์ ส่วน Broadcom จ่ายค่าเสียหาย 270.2 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทระบุว่าจะมีการอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป
Broadcom ประกาศว่าบริษัทได้บันทึกข้อตกลงในการทำงานร่วมกับแอปเปิล จำนวน 2 ข้อตกลง ซึ่งเป็นข้อตกลงต่อเนื่องจากปีก่อนเพื่อจัดส่งชิ้นส่วนชิปไร้สายประสิทธิภาพสูง เพื่อให้แอปเปิลนำใส่ในผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ข้อตกลงทั้งหมด รวมทั้งข้อตกลงเดิมในปีที่แล้วครอบคลุมระยะเวลา 3 ปีครึ่ง นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 เป็นต้นไป ส่วนมูลค่าของข้อตกลงนั้น Broadcom ไม่ได้เปิดเผย แต่บอกว่าหากประเมินจากข้อตกลงในอดีตรวมกับข้อตกลงใหม่นี้ บริษัทน่าจะมีรายได้ส่วนนี้ราว 15,000 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลจากผลประกอบการปี 2018 นั้นแอปเปิลถือเป็นลูกค้าสำคัญของ Broadcom คิดเป็นรายได้ถึง 25%
ที่มา: 9to5Mac
เมื่อปลายปีที่แล้วเราเพิ่งเห็นข่าว Symantec ขายธุรกิจความปลอดภัยฝั่งองค์กรให้ Broadcom โดยบริษัท Symantec เดิมจะเหลือแต่ธุรกิจฝั่งคอนซูเมอร์ และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น NortonLifeLock (มาจากแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock)
เวลาผ่านมาเพียงไม่กี่เดือน Broadcom ก็ขายธุรกิจ (บางส่วน) ของ Symantec เดิมต่อไปให้ Accenture อีกทอด
ธุรกิจที่ว่าคือฝ่าย Cyber Security Services ที่เน้นเรื่องบริการด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้าองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูลและเฝ้าระวังภัยคุกคาม ซึ่งครอบคลุมศูนย์ปฏิบัติการ 6 แห่งทั่วโลก รวมพนักงานประมาณ 300 คน จะย้ายมาอยู่ภายใต้ร่มของ Accenture Security แทน
Symantec ประกาศว่าดีลขายกิจการส่วนของลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) ให้กับ Broadcom ที่มูลค่า 10,700 ล้านดอลลาร์ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งดีลนี้รวมการขายแบรนด์ Symantec ด้วย ทำให้ Symantec ต้องเปลี่ยนชื่อบริษัท
โดยชื่อใหม่คือ NortonLifeLock มีที่มาจากผลิตภัณฑ์ส่วนคอนซูเมอร์ที่ไม่ได้ขายออกไป นั่นคือแอนตี้ไวรัส Norton และบริการป้องกันข้อมูลส่วนตัว LifeLock นอกจากนี้ยังเปลี่ยนตัวย่อในการซื้อขายในตลาดหุ้นเป็น NLOK ด้วย
การขายธุรกิจส่วนองค์กรออกไป ทำให้จากนี้ NortonLifeLock จะโฟกัสที่การทำตลาดลูกค้าบุคคลเพียงอย่างเดียว
หลังมีข่าวลือ ว่า Broadcom เจรจาซื้อ Symantec วันนี้ข่าวอย่างเป็นทางการออกมาแล้วว่า Broadcom ประกาศซื้อกิจการ Symantec ครึ่งบริษัท
บริษัท Symantec จะขายกิจการฝั่งลูกค้าองค์กร (Enterprise Security) พร้อมสิทธิการใช้แบรนด์ "Symantec" รวมมูลค่า 10.7 พันล้านดอลลาร์ (3.3 แสนล้านบาท) ให้กับ Broadcom โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่า Broadcom ได้เจรจาเพื่อเข้าซื้อกิจการทั้งหมด Symantec แต่ล่าสุด David Faber แห่งสำนักข่าว CNBC อ้างข้อมูลว่าการเจรจาของสองฝ่ายได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากไม่สามารถตกลงราคากันได้
ข้อเสนอตอนแรกของ Broadcom นั้น เป็นการซื้อหุ้น Symantec ทั้งหมดที่ราคา 28.5 ดอลลาร์ต่อหุ้น แต่การเจรจาล่าสุด Broadcom ขอลดราคาลงจนต่ำกว่า 28 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทำให้ Symantec ไม่รับข้อเสนอ เนื่องจากต้องการขายที่ราคาอย่างน้อย 28 ดอลลาร์ต่อหุ้น
แหล่งข่าวบอกว่าถึงแม้ดีลนี้จะไม่บรรลุ แต่ Broadcom ก็ยังมีแผนซื้อกิจการอื่นเข้ามาอีก อาทิ Tibco บริษัทด้านซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานทางไอที
Bloomberg รายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าววงในว่า Broadcom ผู้ผลิตชิปและเซมิคอนดักเตอร์กำลังเจรจาพูดคุยในกระบวนการซื้อ Symantec บริษัทผลิตโซลูชันความปลอดภัย ซึ่งหากการเจรจาลุล่วง ก็น่าจะเรียบร้อยภายในสัปดาห์นี้
หากดีลนี้ลุล่วงอาจเป็นดีลใหญ่อันดับ 2 ของ Broadcom รองจากการควบรวม CA Technology ปีที่แล้ว ขณะที่หลังข่าวนี้ออกมา ราคาหุ้นของ Symantec ขึ้นมาถึง 22% ตรงกันข้ามกับ Broadcom ที่ลดลงมาราว 4%
ที่มา - Bloomberg
จากกรณี กูเกิลแบนการทำธุรกิจกับ Huawei ตามคำสั่งของรัฐบาลสหรัฐที่เซ็นโดย Donald Trump
นอกจากกูเกิลแล้ว ยังมีบริษัทสหรัฐอีกจำนวนมากที่จะถูกห้ามทำธุรกิจกับ Huawei ซึ่งเว็บไซต์ Bloomberg ก็รายงานข่าวว่า บริษัทผลิตชิปสัญชาติอเมริกันทั้งหลาย ตั้งแต่ Intel, Qualcomm, Broadcomm, Xilinx ก็แจ้งพนักงานให้เตรียมตัวหยุดทำธุรกิจกับ Huawei แล้วเช่นกัน