มหากาพย์ที่ Broadcom พยายามเข้าซื้อกิจการ Qualcomm แต่ดีลถูกปัดตก ซึ่งถึงอย่างนั้น Broadcom ก็ประกาศชัดเจนว่าจะซื้อกิจการให้ได้ ล่าสุดมีความคืบหน้า ซึ่งตรงไปตรงมาก็คือ เมื่อ Qualcomm เคยบอกว่ามูลค่าที่เสนอซื้อนั้นต่ำกว่าจริง Broadcom เลยจะเพิ่มมูลค่าให้
โดยข้อเสนอใหม่จาก Broadcom นั้นคือการขอเสนอซื้อหุ้น Qualcomm ที่ราคา 82 ดอลลาร์ต่อหุ้น (เดิมเสนอที่ 70 ดอลลาร์) เพิ่มขึ้นจากราคาเดิม 17% แบ่งเป็นเงินสด 60 ดอลลาร์เท่าเดิม บวกกับหุ้น Broadcom สำหรับส่วนที่เหลือ มูลค่าดีลรวมอยู่ที่ 121,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3.8 ล้านล้านบาท
Qualcomm ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ถือหุ้น เนื่องจากจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่สามัญประจำปี ซึ่ง Broadcom ที่เคยประกาศซื้อกิจการแต่ถูกปฏิเสธ ได้เสนอรายชื่อบอร์ดบริหารใหม่ยกชุด ทางเดียวที่เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นก็คือผู้ถือหุ้น Qualcomm ต้องโหวตเลือกบอร์ดบริหารชุดเดิม
ตามที่มีข่าวว่า Broadcom เตรียมเสนอซื้อกิจการ Qualcomm ใหม่อีกครั้งให้สำเร็จ รายละเอียดก็ออกมาแล้ว โดยคราวนี้ Broadcom ใช้วิธีเสนอรายชื่อคณะกรรมการบอร์ดใหม่ยกชุดรวม 11 คน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นของ Qualcomm โหวตเลือก ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี ที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2018
รูปแบบดังกล่าวมีคำเรียกว่าเป็นการพยายามซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร (Hostile Takeover) โดยเมื่อขอซื้อกิจการตรงๆ ไม่ได้ เพราะบอร์ดปัจจุบันไม่อนุมัติ ก็ใช้วิธีส่งคนของตนเองเข้าไปนั่งในบอร์ดบริหารให้ได้ จากนั้นค่อยให้บอร์ดชุดใหม่นี้ทำการอนุมัติดีลซื้อขายกิจการต่อไป ซึ่งด่านสำคัญก็คือผู้ถือหุ้นต้องโหวตอนุมัติการเปลี่ยนบอร์ดบริหารให้ได้ก่อน
ก่อนหน้านี้ Broadcom ได้เสนอซื้อกิจการ Qualcomm โดยให้ราคาหุ้นของ Qualcomm หุ้นละ 70 ดอลลาร์ (แบ่งเป็นเงินสด 60 ดอลลาร์ + หุ้นมูลค่า 10 ดอลลาร์) ซึ่งถือเป็นอภิมหาดีลแห่งวงการชิพด้วยมูลค่า 1.3 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 4.3 ล้านล้านบาท โดยจะต้องผ่านการพิจารณาจากบอร์ดของ Qualcomm และผู้ถือหุ้นก่อน
ล่าสุด ทางบอร์ดบริหารของ Qualcomm ได้ตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์แล้วว่าจะไม่รับข้อเสนอของ Broadcom ที่จะเสนอซื้อหุ้นของบริษัททั้งหมด โดยกล่าวว่ามูลค่าที่เสนอนี้ถือว่าต่ำกว่ามูลค่าแท้จริงของ Qualcomm อย่างมาก และมาพร้อมกับความไม่แน่นอนสูง
ความคืบหน้าจาก ข่าวลือ Broadcom ซื้อ Qualcomm ล่าสุดข่าวเป็นทางการมาแล้ว โดย Broadcom ยื่นข้อเสนอซื้อหุ้น Qualcomm ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าถึง 130 พันล้านดอลลาร์ (4.3 ล้านล้านบาท)
ข้อเสนอของ Qualcomm ให้ราคาหุ้นของ Qualcomm หุ้นละ 70 ดอลลาร์ (แบ่งเป็นเงินสด 60 ดอลลาร์ + หุ้นมูลค่า 10 ดอลลาร์) ราคานี้แพงกว่าราคาหุ้นล่าสุดของ Qualcomm อยู่ 28%
Bloomberg รายงานข่าววงในว่าบริษัทผู้ผลิตชิปสื่อสาร Broadcom มีความสนใจซื้อเพื่อนร่วมวงการ Qualcomm ซึ่งถ้าเป็นความจริง จะกลายเป็นการควบรวมครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของวงการชิป ขนาดของดีลอาจใหญ่เกิน 100 พันล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าบริษัท Broadcom ในปัจจุบัน เดิมทีคือบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ Avago Technologies (ซึ่งเคยเป็นแผนหนึ่งของ HP และ Agilent Technologies) ที่มาซื้อกิจการ Broadcom เดิมในปี 2015 แล้วเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น Broadcom หลังการควบกิจการแล้ว
Broadcom เปิดตัวชิประบุตำแหน่งจากดาวเทียมรุ่นใหม่ที่มีความแม่นยำมากกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่าและที่สำคัญคือสามารถใช้งานในเมืองหรือในตึกที่มีเหล็กและคอนกรีตบล็อคสัญญาณได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยสัญญาณ L1 เดิมร่วมกับสัญญาณ L5 ที่มีความแม่นยำมากกว่า
ชิป BCM47755 มีความแม่นยำในการระบุตำแหน่งผิดพลาดไม่เกิน 30 เซนติเมตร ขณะที่อุปกรณ์ในปัจจุบันมีความผิดพลาดไม่เกิน 5 เมตร รวมถึงลดการรับสัญญาณที่เกิดจากการสะท้อนจากตัวตึกในเมืองที่ส่งผลให้การระบุตำแหน่งคลาดเคลื่อน และอาศัยแต่สัญญาณโดยตรงจากดาวเทียมเป็นหลัก ทำให้ได้ความแม่นยำเมื่อถูกใช้งานในเมืองมากขึ้น ไม่รวมการใช้พลังงานที่ลดลงราว 50%
เมื่อต้นปีนี้ Parse บริษัทลูกของ Facebook ที่พัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอพ ประกาศขยายบริการมาทำ Parse of IoT จับตลาด Internet of Things กับเขาด้วย โดยฮาร์ดแวร์ตัวแรกที่รองรับคือบอร์ด Arduino Yun และขยายเพิ่มเติมมายัง Raspberry Pi ในภายหลัง
เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี Parse ประกาศออก SDK เพิ่มเติมรองรับฮาร์ดแวร์อีก 4 ค่ายดังคือ Atmel, Broadcom, Intel, Texas Instruments โดยชุด SDK ทั้ง 4 จะอยู่ในกลุ่ม Partner SDK ที่บริษัทแต่ละรายมาช่วยพัฒนาให้ Parse
รวมสองข่าวของ HomeKit ที่ออกมาไล่ๆ กัน เรื่องแรกคือแอปเปิลออกมาประกาศว่าอุปกรณ์ที่รองรับ HomeKit แพลตฟอร์มสำหรับจัดการเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เปิดตัวมาเกือบปี ใกล้จะเริ่มวางขายในเดือนมิถุนายนนี้แล้ว หลังจากมีข่าวออกมาว่าจะเลื่อนไปเป็นช่วงปลายปี
ในขณะที่ผู้ผลิตชิปเซ็ตอย่าง Broadcom ที่มีแพลตฟอร์มสำหรับ IoTs อยู่แล้วในชื่อ WICED ก็ออกมาปล่อย SDK ตัวใหม่ที่รองรับการทำงานร่วมกับ HomeKit อย่างสมบูรณ์เช่นกัน โดยฟีเจอร์หลักๆ ของ แพลตฟอร์มนี้คือการรองรับ Wi-Fi 802.11ab/g/n และ Bluetooth Smart, กินหน่วยความจำน้อย, มีชุดพัฒนามาให้ในตัว, มีระบบการทำงานที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัย รวมถึงสามารถอัพเกรดไร้สายได้
Broadcom ออกชิป Wi-Fi รุ่นใหม่สำหรับอุปกรณ์พกพา BCM4358 จุดเด่นของมันคือรองรับการส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 650 Mbps (ใกล้เคียง Gigabit เข้าไปเรื่อยๆ)
เทคนิคสำคัญที่ชิปตัวนี้ใช้งานคือเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi 802.11ac ด้วยเสาอากาศ 2x2 MIMO (Multiple Input Multiple Output) และใช้สัญญาณ Wi-Fi สองช่อง (รวมแบนด์วิธ 80MHz) เพื่อให้ส่งข้อมูลได้เยอะระดับนี้ (ฝั่งเราเตอร์ต้องรองรับด้วยนะครับ) ส่วนฟีเจอร์อย่างอื่นคือออกแบบมาให้ใช้ความถี่ร่วมกับ Bluetooth โดยไม่รบกวนกัน ช่วยให้การส่งสัญญาณ Wi-Fi มีประสิทธิภาพมากขึ้น
BCM4358 รองรับอุปกรณ์ Android, Windows, Chrome OS โดย Broadcom บอกว่าเราจะได้เห็นสินค้าที่ใช้ชิปตัวนี้วางขายจริงภายในไตรมาสสามของปีนี้
เพื่อตอบรับกับยุคของ Internet of Things (IoT) ที่ทุกอุปกรณ์กำลังจะติดต่อกันเองได้ในขณะนี้ Broadcom ผู้ผลิตชิปบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่ของโลกจึงเปิดตัว WICED (ย่อมาจาก Wireless Internet Connectivity for Embedded Devices) ชุดพัฒนาที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำตัวต้นแบบสำหรับอุปกรณ์ฝังตัวประเภท IoT ที่มาพร้อมกับชิปบลูทูธ และเซนเซอร์ห้าตัวที่พร้อมใช้งานได้ทันที
กลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วย Atmel, Broadcom, Dell, Intel, Samsung, Wind River ประกาศตั้งกลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Open Interconnect Consortium (OIC) เพื่อกำหนดสเปกกลางสำหรับการสื่อสารในโลกของ Internet of Things (IoT)
สมาชิกในกลุ่มจะร่วมกันพัฒนาโพรโทคอลเปิดและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่อิงอยู่บนมาตรฐานเหล่านี้ โดยช่วงแรกจะเน้นสินค้าแนวสมาร์ทโฮมและโซลูชันสำหรับที่ทำงาน
การรวมกลุ่มมาตรฐาน IoT เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้เราเห็นข่าวกลุ่ม AllSeen Alliance ที่นำโดย Qualcomm และมีสมาชิกอย่าง LG, Microsoft, Panasonic, Sharp เข้าร่วม
บริษัทไอทีและระบบเครือข่าย 5 ราย ประกอบด้วย Arista, Broadcom, Google, Mellanox Technologies, Microsoft ประกาศตั้งกลุ่ม 25G Ethernet Consortium เพื่อยกระดับการสื่อสารผ่านโพรโทคอล Ethernet ให้ได้ 25Gbps (หรือ 50Gbps ถ้าใช้สองเลน)
มาตรฐาน Ethernet ความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ 10Gbps โดยมีบางบริษัทเริ่มออกสินค้าความเร็ว 40Gbps (และบางบริษัททดสอบความเร็ว 100Gbps กันบ้างแล้ว) แต่อุปกรณ์ยังมีราคาแพงมากและยังไม่มีมาตรฐานเทคโนโลยีกลางที่ใช้ร่วมกัน การก่อตั้งกลุ่ม 25G Ethernet จึงน่าจะช่วยให้การผลักดันมาตรฐานไปสู่ 100G Ethernet ได้เร็วขึ้น
กลุ่ม 25G Ethernet คาดว่าจะสามารถออกสินค้าจริงที่ใช้มาตรฐานนี้ได้ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า
เทคโนโลยีการชาร์จไฟไร้สายสำหรับอุปกรณ์พกพาในปัจจุบันนี้มีด้วยกันหลายแบบหลายมาตรฐาน ซึ่งถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ว่าควรจะเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานไหนดี และจุดนี้เองที่ Broadcom ได้มองเห็นปัญหาจนเป็นที่มาของการพัฒนาชิป BCM59350 สำหรับการชาร์จไฟไร้สายซึ่งรองรับกับทุกมาตรฐานที่มีอยู่ในขณะนี้
เอชพีประกาศเตือนลูกค้าว่าเฟิร์มแวร์ที่มากับ HP Service Pack for Proliant 2014.02.0 สามารถทำให้การ์ดเน็ตเวิร์ค Broadcom รุ่น G2 ถึง G7 เสียหายจนอาจจะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดหรือการ์ดเน็ตเวิร์ค
ตอนนี้ยังไม่มีทางแก้อื่นนอกจากเรียกช่างของเอชพีมาเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ที่เสียหาย ในกรณีที่ชิปเน็ตเวิร์คอยู่บนเมนบอร์ดก็ต้องรื้อเครื่องใหม่แทบทั้งหมด
หลังจากที่ Apple ประเดิมปล่อยซีพียู 64-bit มาเป็นเจ้าแรกใน iPhone 5s ในปีนี้ และ Samsung เองก็กำลังพัฒนาหน่วยประมวลผล Exynos 6 ซึ่งเป็นแบบ 64-bit เช่นกัน ล่าสุดก็มีรายงานจาก Digitimes ว่าผู้ผลิตชิปรายอื่นอย่าง Qualcomm, NVIDIA และ Broadcom ก็เตรียมปล่อยซีพียู 64-bit ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้าบ้างเช่นกัน โดยอาจทยอยเปิดตัวในงาน CES 2014
Digitimes เชื่อว่าในช่วงปีหน้าจะมีความต้องการซีพียู 64-bit จำนวนมากจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนหลายราย นั่นเป็นเพราะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแต่ละค่ายก็น่าจะมีความต้องการคล้ายกันที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเองมาแข่งกับ iPhone 5s โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ซึ่งรวมถึงหน่วยประมวลผลด้วยนั่นเอง
ปัญหาหลักของการเชื่อมต่อเครือข่าย 4G LTE คงเป็นเรื่องอัตราการบริโภคพลังงานที่มากกว่า 3G ไม่น้อย ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้มือถือพอสมควร
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการผลิตชิปโมเด็ม LTE ก็เริ่มพัฒนามากขึ้น ล่าสุด Broadcom เปิดตัวชิปโมเด็ม LTE ตัวใหม่รหัส BCM21892 ที่ระบุว่ากินไฟน้อยกว่าชิป LTE รุ่นปัจจุบัน 25%, ตัวชิปมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม 35% และรองรับความถี่ LTE เกือบทุกความถี่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้มันยังรองรับการสนทนาด้วยเสียงบน LTE (VoLTE) ในตัว ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าการโทรผ่านเครือข่าย 3G ถึง 40%
ข้อเสียอย่างเดียวคงเป็นระยะเวลาวางขายผลิตภัณฑ์จริงที่ต้องรอนานไปถึงปี 2014 โดยตอนนี้ Broadcom เพิ่งส่งชิปตัวอย่างให้คู่ค้าครับ
จากข่าว ซัมซุงเปิดตัว Galaxy S II Plus รุ่นอัพสเปค มาพร้อมกับ Jelly Bean ซึ่งมีสเปคต่างจากเดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แต่ล่าสุดเว็บไซต์ AnandTech ไปค้นเจอข้อมูลจากสไลด์ของซัมซุงว่า Galaxy S II Plus ไม่ได้ใช้ SoC ของซัมซุงเอง (Exynos แบบเดียวกับใน Galaxy S II รุ่นแรก) แต่เปลี่ยนมาใช้ SoC ของบริษัท Broadcom (BCM28155) แทน โดยซัมซุงไม่ได้ให้เหตุผลแต่อย่างใด
BCM28155 ประกอบด้วยซีพียู ARM Cortex-A9 1.2GHz ดูอัลคอร์, หน่วยประมวลผลวิดีโอ Broadcom VideoCore IV ดูอัลคอร์ และชุดชิปไร้สายของ Broadcom เอง (3G/Wi-Fi/GPS/NFC)
เจ้าพ่อชิปสื่อสาร Broadcom เตรียมขยายอาณาเขตมายังชิปประมวลผลบนอุปกรณ์พกพา โดยประกาศเซ็นสัญญาซื้อสิทธิการใช้งาน ARMv7 (32 บิต เช่น Cortex-A9/A15 ในปัจจุบัน) และ ARMv8 (64 บิต เช่น Cortex-A50) จากบริษัท ARM Limited เป็นที่เรียบร้อย
เป้าหมายของ Broadcom นั้นชัดเจนว่าต้องการขยายธุรกิจชิปสื่อสารของตัวเอง มาเป็น SoC หรือหน่วยประมวลผลครบวงจรบนแผ่นซิลิคอน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประกอบด้วยซีพียู จีพียู และชิปสื่อสาร
Blognone เสนอข่าวของ Wi-Fi มาตรฐานใหม่ 802.11ac มาหลายครั้งแล้ว ล่าสุดมีข่าวลือจากเว็บไซต์ The Next Web รายงานว่าแอปเปิลเซ็นสัญญากับ Broadcom หนึ่งในผู้ผลิตชิป 802.11ac เตรียมนำ Wi-Fi รุ่นใหม่มาใช้กับเครื่องแมคในเร็วๆ นี้
802.11ac ถูก Broadcom โฆษณาว่าเป็น "5G Wi-Fi" โดยมีความเร็วในทางทฤษฏีสูงสุดที่ 1.3Gbps (ต้องใช้เสาอากาศสามเสา ทั้งภาครับและส่ง) เร็วกว่า 802.11n ในปัจจุบันที่มีความเร็วสูงสุด 450Mbps
ที่มา - The Next Web
ดูเหมือนความหวังจะเห็น NFC กลายเป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์พกพาคงใกล้เป็นความจริงเข้าไปทุกทีแล้ว หลังจาก Broadcom เปิดตัวชิปไร้สายใหม่ที่รวม NFC เข้าไปกับเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ แล้ว
จากเดิมที่เรามักจะเห็นอุปกรณ์รุ่นที่มี NFC มักจะแยกชิป NFC ออกจากชิปไร้สายตัวอื่น แต่ชิปตัวใหม่ในรหัส BCM43341 จะรวม NFC เข้าไปกับ Wi-Fi, Bluetooth 4.0 และ FM แล้ว แต่มีขนาดเล็กลง รวมถึงต้นทุนยังถูกลงด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกรุ่นสำหรับอุปกรณ์พกพารุ่นท็อปที่มาพร้อมกับการรองรับ Wi-Fi มาตรฐานใหม่อย่าง 802.11ac ที่ความเร็ว 433 Mbps และสามารถใช้งานร่วมกับชิป NFC ในแผงเดียวกันเพื่อใช้งานเทคโนโลยีที่ต้องการแบนด์วิดท์สูงๆ อย่าง Wi-Fi Direct หรือ Miracast ออกมาอีกด้วย
นักวิจัยจากบริษัทที่ให้บริการโซลูชันด้านความปลอดภัย Core Security ได้เปิดเผยว่าพบช่องโหว่ "out-of-bounds read error condition" ในเฟิร์มแวร์ของชิป Broadcom รุ่น BCM4325 และ BCM4329 ที่อาจถูกใช้โจมตีแบบ DoS จนไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi ได้ โดยที่ฟังก์ชันอื่นไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด แต่นักวิจัยก็กล่าวว่ากำลังตรวจสอบอยู่ว่าช่องโหว่นี้จะทำให้สามารถดึงข้อมูลส่วนตัวออกมาได้หรือไม่
อุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบประกอบด้วย iPhone 4, iPad, iPad 2, Droid Incredible 2, Droid X2 และรถยนต์ฟอร์ดรุ่น Edge สำหรับรายชื่ออุปกรณ์ทั้งหมดสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ Core Security
Raspberry Pi ถูกนำไปใช้ในวงการศึกษาอีกครั้ง หลังจาก Broadcom ผู้ผลิตชิปสำหรับสื่อสารไร้สาย จัดงานให้ผู้เข้ารอบสุดท้ายในโครงการ Broadcom MASTER ที่คัดเด็กมัธยมจำนวนสามสิบคนจากแต่ละสาขา มาเรียนรู้การเขียนโปรแกรมบน Raspberry Pi
ในงานดังกล่าว ทีมงานของ Broadcom จะคอยช่วยเด็กให้สร้างเกมบน Rapsberry Pi และก็มีผลงานเกมออกมาเช่น เกมงูที่สามารถเล่นได้หลายคน เป็นต้น
หลังจากเราเห็นเราเตอร์รุ่นใหม่ที่รองรับ 802.11ac กันมาพอสมควรแล้ว ล่าสุดทาง Broadcom ประกาศเปิดตัวชิปไร้สายรุ่นใหม่สำหรับสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตที่รองรับ 802.11ac แล้วเช่นกัน
ชิปรุ่นนี้ใช้เลขรุ่นว่า BCM4335 ของใหม่ที่สำคัญคือเพิ่ม 802.11ac (ซึ่ง Broadcom ใช้ชื่อทางการตลาดว่า 5G WiFI) ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ คือปรับปรุงการส่งข้อมูลของ 802.11n ในโหมด 256-QAM ให้ส่งข้อมูลได้ดีขึ้น, ปรับปรุงการบริโภคพลังงาน, รองรับ Wi-Fi Direct, Miracast
นอกจาก Wi-Fi แล้วมันยังรวม Bluetooth 4.0, วิทยุ FM เข้ามาด้วย เราจะเห็นชิปตัวนี้เริ่มถูกใช้งานจริงช่วงต้นปี 2013 ครับ