AWS ประกาศเปิด Region ใหม่ในกรุงเทพ ใช้ชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) และจะประกอบไปด้วย 3 Availability Zone โดยยังไม่ได้ระบุวันเริ่มให้บริการ นอกจาก AWS ตอนนี้ก็มี Google Cloud ที่เปิด Region ในไทย
AWS ประกาศด้วยว่าจะลงทุนในไทยเป็นเม็ดเงินจำนวน 1.9 แสนล้านบาท เป็นะระยะเวลา 15 ปี
Google Cloud ประกาศความร่วมมือกับบริษัทคริปโตชื่อดัง Coinbase ในหลายด้าน โดย Google Cloud จะใช้งานบริการของ Coinbase หลายตัวดังนี้
หลังประกาศข่าวความร่วมมือกับกูเกิล หุ้นของ Coinbase ขึ้นทันที 8.4%
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ Azure Arc บริการจัดการคลาวด์แบบไฮบริด ให้กับลูกค้าในประเทศไทย ผ่านพาร์ทเนอร์ในไทยคือ AIS Cloud X
Azure Arc เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 นิยามตัวเองว่าเป็นระบบจัดการ Azure ที่อยู่ในเครื่องต่างถิ่นฐานกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบนคลาวด์ไมโครซอฟท์ หรือเครื่อง on-premise ในองค์กร (ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ของ Azure เช่น Azure Stack) โดยบริหารงานจากที่เดียว ข้อดีจากการมีระบบจัดการกลางคือเรื่องความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ และการจัดการทั้งเซิร์ฟเวอร์-คอนเทนเนอร์ไปพร้อมๆ กัน
เก็บตกประเด็นเล็กๆ ที่น่าสนใจจากงานแถลงข่าวอินเทลเมื่อคืนนี้คือ อินเทลจะเปิดบริการ Intel Developer Cloud ให้เช่าเครื่องผ่านคลาวด์เหมือนกับบริการคลาวด์อื่นๆ
สิ่งที่ต่างออกไปคือ อินเทลจะเปิดให้นักพัฒนาสามารถใช้งานซีพียูและจีพียูใหม่ๆ ของอินเทล ที่เปิดตัวแล้วแต่ยังไม่วางขายจริงได้ก่อนใคร เพื่อให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งซอฟต์แวร์ของตัวเองเข้ากับซีพียู-จีพียูเหล่านี้ได้ล่วงหน้า
ปัจจุบันแม้การทรานสฟอร์มองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัล เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจอาจจะเป็นแนวทางที่ทุกองค์กรนำมาปรับใช้ แต่ในความเป็นจริง ทั้งในเชิงธุรกิจและเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและคาดเดาไม่ได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำครั้งเดียวจบ แต่ควรที่จะต้องยืดหยุ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง คล่องตัว และเกิดประโยชน์กับองค์กรสูงที่สุด
AIS Business เปิดตัว AIS Cloud X ที่เป็น Intelligent Cloud Ecosystem ในรูปแบบของชุดแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ (platform/software suite) สำหรับองค์กรในการใช้งานคลาวด์ได้หลากหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ (flexible cloud deployment) ภายในงานสัมมนา AIS Business Cloud 2022 ภายใต้แนวคิด Compute | Connect | Complete เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจไทยตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและเทรนด์เทคโนโลยีอนาคตที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขัน เพราะคลาวด์ เป็นเสาหลักสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
Google Cloud ประกาศฟีเจอร์ใหม่ชื่อ startup CPU boost ให้กับบริการ Cloud Run และ Cloud Functions ช่วยให้บูตเครื่องได้เร็วขึ้น
หลักการทำงานของ startup CPU boost คือแบ่งพลังซีพียูมาให้ตอนบูตคอนเทนเนอร์แบบ cold start ที่ต้องใช้เวลานาน เพื่อให้เครื่องพร้อมทำงานเร็วขึ้น จากสถิติของกูเกิลเองพบว่าสามารถลดระยะเวลาสตาร์ตเครื่องได้ครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะบริการที่เป็น Java ที่ต้องใช้เวลาเริ่มนาน
ฟีเจอร์นี้จะมีผลเฉพาะตอนบูตเท่านั้น โดยผู้ใช้ต้องจ่ายค่าซีพียูเพิ่มจากปกติเฉพาะตอนบูต เช่น ถ้าเลือกเครื่องแบบ 2 ซีพียู แล้วบูสต์เพิ่มเป็น 4 ซีพียูเฉพาะตอนบูต 10 วินาที ก็จ่ายค่าซีพียูที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลา 10 วินาทีนั้น
Alibaba Cloud ส่วนธุรกิจให้บริการคลาวด์ของ Alibaba ประกาศงบลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ ใน 3 ปีข้างหน้า สำหรับสนับสนุนเทคโนโลยีให้กับพาร์ตเนอร์ รองรับการขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งมาทั้งในรูปเงินทุนสนับสนุน และการสนับสนุนรูปแบบอื่น
นอกจากนี้ Alibaba ได้จัดตั้งโครงการ Regional Accelerator เพื่อรองรับการบริหารจัดการร่วมกับพาร์ตเนอร์ในแต่ละประเทศ ที่มีรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจแตกต่างกันไป และเพิ่มความสามารถให้กับพาร์ตเนอร์ด้วย
ปัจจุบัน Alibaba มีส่วนแบ่งในตลาดประมวลผลคลาวด์เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมี Amazon และไมโครซอฟท์ อยู่ในลำดับที่ 1-2 ตามรายงานของ Gartner แม้ส่วนธุรกิจนี้จะยังเล็กมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่ Alibaba ก็เห็นโอกาสเติบโตสูงและความสามารถในการทำกำไรที่ดี
Heroku บริการ PaaS (Platform as a Service) บนคลาวด์ ที่มี Salesforce เป็นเจ้าของ ประกาศเตรียมยกเลิกให้บริการทั้งหมดที่ฟรี เพื่อให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนไปใช้แผนแบบเสียเงิน มีรายละเอียดดังนี้
โดยตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2022 เป็นต้นไป Heroku จะเลิกให้บริการที่ใช้งานได้ฟรีทั้งหมด รวมทั้งปิดบริการฟรีปัจจุบันคือ Heroku Dynos และบริการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้งานปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบ จะทยอยได้รับอีเมลแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงนี้
Amazon CloudFront บริการ content delivery network (CDN) ของ AWS ประกาศรองรับโปรโตคอล HTTP/3 ที่เพิ่งได้รับรองเป็นมาตรฐาน RFC เมื่อเดือนมิถุนายน 2022
HTTP/3 หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ QUIC ถูกเสนอโดยกูเกิลมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อเร่งความเร็วการเชื่อมต่อช่วงแรกของ HTTP ในระดับล่าง (TCP+TLS) อ่านคำอธิบายละเอียดในบทความ อธิบาย HTTP/3 แตกต่างจาก HTTP/1, HTTP/2, SPDY, QUIC อย่างไร
Google Cloud ประกาศแผนขยายพื้นที่ให้บริการ (region) อีก 3 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และไทย เพื่อตอบสนองต่อปริมาณการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่ระบุว่าจะเริ่มให้บริการจริงๆ เมื่อไร
ปัจจุบัน Google Cloud มีศูนย์ข้อมูลให้บริการ 34 เขตทั่วโลก (รายชื่อ)
Unity ประกาศเซ็นสัญญากับ Microsoft Azure เป็นพาร์ทเนอร์ด้านคลาวด์ เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง และนำซอฟต์แวร์ต่างๆ ในเครือที่มีเป็นจำนวนมาก (จากการซื้อกิจการรัวๆ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา) มารันบนคลาวด์ให้มากขึ้น
Unity บอกว่าที่ผ่านมาเครื่องมือฝั่งเอนจิน 3D ออกแบบมาเพื่อรันในเครื่อง local เป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรมากกว่าการรันบนคลาวด์ ในภาพรวมบริษัทจึงต้องการขยายบริการไปอยู่บนคลาวด์มากขึ้น
ตัวอย่างบริการในเครือที่จะใช้ประโยชน์จาก Azure ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศขยายระยะเวลาใช้งานเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายในศูนย์ข้อมูล Azure ของตัวเอง จากเดิม 4 ปีเป็น 6 ปี เพื่อประหยัดต้นทุนของการให้บริการลงได้ถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
คู่แข่งรายอื่นๆ ก็ประกาศขยายระยะเวลาการใช้งานเซิร์ฟเวอร์มาก่อนแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เช่น Google Cloud ขยายจาก 3 เป็น 4 ปี และ AWS ขยายเซิร์ฟเวอร์จาก 4 เป็น 5 ปี และอุปกรณ์เครือข่ายจาก 5 เป็น 6 ปี
นโยบายการขยายอายุเครื่องอาจเป็นผลดีต่อผู้ให้บริการคลาวด์ในแง่การลดต้นทุน แต่คงไม่ดีสำหรับผู้ขายเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายนัก ตัวอย่างคือ อินเทล ที่ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดออกมาไม่ค่อยดี เพราะยอดขายตกทั้งฝั่งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์
Matt Garman รองประธานอาวุโสฝ่ายขายและการตลาดของ AWS แสดงความเห็นว่าไมโครซอฟท์ยังอาศัยไลเซนส์ซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อกดดันให้ลูกค้าต้องหันไปใช้ Azure เนื่องจากราคาถูกกว่า โดยมองว่าการกระทำแบบนี้เป็นการต่อต้านการแข่งขัน (anti-competitive) และลูกค้าของ AWS บางรายอาจจะต้องจ่ายค่าไลเซนส์แพงขึ้นนับล้านดอลลาร์หากใช้ AWS
คลื่นความร้อนกำลังเคลื่อนเข้าทวีปยุโรปและสหราชอาณาจักร ทำให้อากาศร้อนอย่างผิดปกติจนเกิน 40 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ ตอนนี้เริ่มกระทบต่อบริการไอที เมื่อผู้ให้บริการคลาวด์บางรายได้รับผลกระทบ ตอนนี้ Google Cloud และ Oracle Cloud ก็มีรายงานว่าบางศูนย์ข้อมูลมีปัญหาอยู่
Google Cloud ระบุว่าโซน europe-west2-a เกิดปัญหาระบบทำความเย็นเสียหาย จนระบบปิดเซิร์ฟเวอร์บางส่วนลง และสตอเรจบางส่วนเปลี่ยนไปทำงานโหมด single redundant ทาง Google Cloud แนะนำให้ลูกค้าเปิดเซิร์ฟเวอร์ในโซนอื่นๆ ทดแทน
กูเกิลจับมือกับ CIQ บริษัทผู้ให้บริการซัพพอร์ต Rocky Linux เชิงพาณิชย์ (ซีอีโอของบริษัทก็คือ Gregory Kurtzer ผู้สร้าง CentOS และ Rocky Linux) ออกอิมเมจ Rocky Linux เวอร์ชันปรับแต่งเพื่อ Google Cloud โดยเฉพาะ
กูเกิลประกาศชัดว่าต้องการย้ายลูกค้า Google Cloud ที่ยังรัน CentOS ออกมา หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบายในปี 2020 และโซลูชันของกูเกิลคือ Rocky Linux ที่เข้ากันได้ 100%
Google Cloud เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์แบบ Tau T2A เซิร์ฟเวอร์สถาปัตยกรรม Arm ที่เน้นงาน scale-out ภายในเป็นซีพียู Ampere Altra เหมือนกับของฝั่ง Azure สามารถคอนฟิกเลือกจำนวนซีพียู ได้เองโดยผูกกับแรม 4GB ต่อ vCPU แบบเดียวกับ Tau VM เดิมที่เป็น x86
Tau T2A คอนฟิกซีพียูได้สูงสุด 48 คอร์ ราคารายเดือนที่ 1349 ดอลลาร์ ถูกกว่าเครื่อง Tau T2D ที่ใช้ชิป AMD Milan ประมาณ 9% ทาง Ampere อ้างว่าประสิทธิภาพของซีพียูดีกว่าเครื่อง x86 ทำให้ราคาต่อประสิทธิภาพของ Tau T2A ดีกว่ามาก
AWS เปิดบริการเช่าเครื่อง EC2 ที่เป็นซีพียู Apple M1 อย่างเป็นทางการ หลังเปิดทดสอบ Mac x86 มาตั้งแต่ปลายปี 2020 และ Mac M1 ในปี 2021
บริการ Amazon EC2 Mac เป็นการนำเครื่อง Mac Mini มาต่อพ่วงกับฮาร์ดแวร์ Amazon Nitro ที่ AWS พัฒนาเอง แล้วรัน Hypervisor เพื่อจำลองการทำงานเสมือนเป็นเครื่อง EC2 แบบอื่นๆ ใช้ชื่อเรียก instance ว่า mac2.metal
ไมโครซอฟท์ระบุกับเว็บไซต์ The Register ว่ากำลังพบกับการโหลดปริมาณสูงมากบนบริการ Azure ทำให้ต้องจำกัดการใช้งานบางประเภท โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าทดลองใช้งานและโหลดภายในของไมโครซอฟท์เอง
ไมโครซอฟท์ไม่ได้เปิดเผยระดับทรัพยากรที่ในแต่ละศูนย์ข้อมูล แต่ก็มีข้อมูลจากผู้ใช้ว่าศูนย์ข้อมูลในสหรัฐฯ, ยุโรป, และเอเชีย ได้รับผลกระทบค่อยข้างมาก โดยเฉพาะลูกค้าใหม่จะไม่สามารถเปิดเซิร์ฟเวอร์ใหม่ หรือใช้งาน CosmosDB ได้
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนระบุกับเว็บไซต์ The Information ว่าปัญหาทรัพยากรบนคลาวด์ไม่เพียงพอนี้น่าจะต่อเนื่องไปจนถึงต้นปีหน้า ลูกค้ารายหนึ่งระบุกับ The Register ว่าไม่กล้าปิดเครื่องแม้ไม่ได้ใช้งาน เพราะกลัวว่าจะเปิดเครื่องกลับมาไม่ได้
กูเกิลร่วมมือกับ Antmicro พัฒนาบอร์ด DC-SCM สำหรับการควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Baseboard Management Controller - BMC) ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถมอนิเตอร์การทำงานเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกล ตัวบอร์ดใช้ชิป FPGA ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดได้เอง
ตัวบอร์ดมีสองรุ่นใช้ชิป FPGA หลักคนละรุ่นกัน คือ Xilinx Artix-7 และ Lattice ECP5 ทั้งสองรุ่นเป็นชิปราคาถูกที่สามารถใช้งานกับชุดเครื่องมือโอเพนซอร์ส F4PGA ทำให้คอมไพล์วงจรโดยมีต้นทุนต่ำ ตัวบอร์ดมีหน่วยความจำ 512MB สตอเรจ eMMC 16GB, พร้อมพอร์ตแลนกิกะบิต รองรับชิปยืนยันฮาร์ดแวร์ ทั้ง Root of Trust เช่นชิป OpenTitan หรือจะใช้ชิป TPM ก็ได้
Scaleway ผู้ให้บริการคลาวด์รายเล็กที่เน้นตลาดยุโรปส่งอีเมลแจ้งลูกค้าขอปรับราคาขึ้นในศูนย์ข้อมูลหลักๆ โดยระบุเหตุผลว่าค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก รายการปรับราคาได้แก่
การขึ้นราคานี้มีผลเฉพาะบริการเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น บริการอื่นๆ เช่น สตอเรจยังคงราคาเดิม
ปัญหาพลังงานและชิปขาดแคลนกระทบต่อบริการคลาวด์เป็นวงกว้าง เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา Digital Ocean ก็เพิ่งประกาศขึ้นราคาเซิร์ฟเวอร์ไป 20%
Alibaba Cloud เปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งแรกในไทย โดยผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO27001 และ ISO20000 รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย รวมถึงกฎระเบียบด้านการเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจุบัน Alibaba Cloud มีบริการหลายอย่างให้กับลูกค้าในไทย เช่น Elastic Compute, Database, Storage, Networking, Content Delivery และแอพพลิเคชันระดับองค์กร
DigitalOcean บริการคลาวด์ที่ได้รับความนิยมในหมู่บริษัทขนาดเล็กและโปรเจคนักพัฒนาประกาศปรับราคาค่าบริการใหม่ โดยบริการหลักๆ หลายตัวขึ้นราคาประมาณ 20% แต่เซิร์ฟเวอร์บางรุ่นก็อาจจะขึ้นราคาน้อยกว่านั้น ยกเว้นบริการสตอเรจ Spaces ที่ยังราคาเท่าเดิม
เครื่องรุ่นเล็กยอดนิยม 1vCPU RAM 1GB SSD 25GB ราคาปรับจาก 5 ดอลลาร์เป็น 6 ดอลลาร์ เครื่องแบบซีพียูพรีเมียมรุ่นเล็กปรับจาก 6 ดอลลาร์เป็น 7 ดอลลาร์ ขณะที่เครื่องรุ่นใหญ่ 8vCPU RAM 16GB นั้นปรับราคาจาก 96 ดอลลาร์เป็น 112 ดอลลาร์ และค่าบริการ load balancer เพิ่มจาก 10 ดอลลาร์เป็น 12 ดอลลาร์
Cloudflare เพิ่มบริการคลาวด์ตัวใหม่เป็นฐานข้อมูลแบบ SQL ในชื่อ D1 พัฒนาต่อมาจาก SQLite หลังจากก่อนหน้านี้บริการคลาวด์ของ Cloudflare มีเฉพาะฐานข้อมูลแบบ key-value เท่านั้น
สำหรับนักพัฒนา ตัว D1 จะกลายเป็นออปเจกต์ในอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชั่นใน Worker ตัว API สามารถคิวรีได้ทีละ statement หรือจะแพ็กเป็นอาเรย์ทีละหลายๆ statement เพื่อลดเวลาหน่วงที่ต้องติดต่อกับฐานข้อมูลก็ได้ และฐานข้อมูลจะกระจายไปตามเครือข่ายของ Cloudflare ให้เอง ทำให้กสารอ่านข้อมูลเร็วเพราะอยู่ใกล้กับ Worker ที่รันแอปพลิเคชั่น และตัวฐานข้อมูลจะสำรองข้อมูลลงสตอเรจ R2 เป็นช่วงๆ โดยอัตโนมัติ
Cloudflare ทยอยเปิดตัวของใหม่ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับ Cloudflare Workers อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามี KV ระบบเก็บข้อมูลแบบ key-value, Durable Objects บริการเก็บสถานะของ Workers และ R2 บริการอ็อบเจ็กสตอเรจแบบไม่คิดค่านำข้อมูลออก
ล่าสุด Cloudflare เปิดตัว D1 ฐานข้อมูลแบบ SQL ตัวแรกของบริษัท เบื้องหลังเป็น SQLite โดย Cloudflare ระบุว่าสามารถสร้างแอพได้แทบจะไร้ขีดจำกัด ตั้งแต่เว็บอีคอมเมิร์ซไปจนถึงระบบ CRM
Google Cloud ประกาศบริการ Cloud TPU VMs เข้าสถานะเสถียร general availability (GA)
กูเกิลมีหน่วยประมวลผล TPU (Tensor Processing Unit) ที่ออกแบบเองสำหรับเร่งความเร็ว AI มาตั้งแต่ปี 2017 และเปิดให้คนทั่วไปเช่ารัน-เทรนโมเดล machine learning ผ่าน Google Cloud มาตั้งแต่ปี 2018 ในชื่อบริการ Cloud TPU
แต่ที่ผ่านมา การเช่า TPU ยังเป็นการเช่า VM บนเครื่องอื่นแล้วรีโมทเข้าไปเรียก TPU ผ่านโปรโตคอล gRPC เท่านั้น ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงเครื่อง TPU โดยตรงได้ (ดูภาพประกอบ)