Akamai เปิดตัว Akamai Connected Cloud บริการคลาวด์เต็มรูปแบบที่ได้มาจากการซื้อ Linode เมื่อปีที่แล้ว โดยฝั่ง Akamai ที่มีลูกค้าองค์กรเยอะกว่าก็หันไปเปิดศูนย์ข้อมูลใหม่ที่ให้บริการระดับองค์กรมากขึ้น และศูนย์ข้อมูลก็ได้รับการรับรองมาตรฐานสำคัญ ทั้ง ISO, SOC II, และ HIPAA
สำหรับลูกค้า Linode เดิม ทาง Linode ประกาศว่าจะเริ่มเห็นสินค้าเปลี่ยนแบรนด์กลายเป็น Akamai ไปเรื่อยๆ และการใช้งานบริการ Akamai จะง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่ทาง Linode ยังคงคงช่องทางการสื่อสารกับชุมชนผู้ใช้ไว้เหมือนเดิม และยังไม่มีการปรับราคาค่าบริการสินค้าเดิม
ไมโครซอฟท์รายงานถึงความคืบหน้าของเหตุ Azure ที่สิงคโปร์ล่มไปหนึ่ง Availability Zone ทำให้ลูกค้าจำนวนมากได้รับผลกระทบ โดยตอนนี้สามารถกู้ระบบทำความเย็นได้สำเร็จแล้ว และอุณหภูมิในศูนย์ข้อมูลก็อยู่ในระดับปกติ แต่ความยากคือการเปิดระบบกลับมาจากศูนย์
กระบวนการเปิดศูนย์ข้อมูลกลับมาจะเริ่มจากระบบสตอเรจเป็นอย่างแรก จากนั้นจึงเริ่มเปิดระบบ compute ทั้งหลายซึ่งจะทำให้ระบบกลับมาเต็มรูปแบบ
ระบบทำความเย็นเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ช่วงตีสามของไทยเมื่อคืนที่ผ่านมา จนตอนนี้ก็กินเวลาเกือบเต็มวันแล้ว และทางไมโครซอฟท์ระบุว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีกำหนดเปิดระบบกลับคืนได้เมื่อใด
หนึ่งในศูนย์ข้อมูลของ Microsoft Azure ที่สิงคโปร์เกิดเหตุการณ์ไฟกระชาก จนทำให้ระบบทำความเย็นไม่ทำงาน ทาง Microsoft จึงต้องสั่งลดการทำงานศูนย์ข้อมูลลง เป็นเหตุให้ 1 Available Zone ของ South East Asia Region ล่ม ไม่สามารถให้บริการได้ (จากทั้งหมด 3 AZ)
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณตี 3 เมื่อเช้าบ้านเราที่ผ่านมา จนตอนนี้ยังไม่สามารถกู้ระบบทำความเย็นกลับมาได้
ที่มา - Azure Status
David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp เคยประกาศไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ว่าบริษัท 37signals ของเขาจะเลิกเช่าคลาวด์เพราะมีต้นทุนแพง เวลาผ่านมาเกือบ 6 เดือน เขาโพสต์ข้อมูลอัพเดตของการย้ายออกจากคลาวด์ให้ทราบกัน
DHH เปิดเผยตัวเลขให้เห็นชัดๆ ว่าเขาต้องจ่ายค่าคลาวด์ให้ AWS ตลอดทั้งปี 2022 เป็นเงิน 3,201,564.24 ดอลลาร์ (ตีเป็นเงินไทยปัจจุบันราว 106 ล้านบาท) โดยก้อนใหญ่ๆ เป็นค่า S3, RDS, OpenSearch, Elasticache ตามลำดับ ซึ่ง Basecamp จ่ายในราคาที่ถือว่ามีส่วนลดแล้ว เพราะเป็นการซื้อแบบการันตีระยะเวลานาน 4 ปี
Tom Forbes นักพัฒนาซอฟต์แวร์จากสหราชอาณาจักรเขียนโปรแกรมสแกนแพ็กเกจบน PyPI, HexPM, และ RubyGems เพื่อหากุญแจ AWS เองแล้วนำไปแจ้ง AWS ให้ยกเลิกกุญแจเสีย โดยตั้งระบบอัตโนมัติผ่านทาง GitHub Actions เอาไว้ หลังจากสแกนไปได้ระยะหนึ่งก็พบว่ามีแพ็กเกจที่ทำกุญแจหลุดไปถึง 57 แพ็กเกจ
กุญแจ AWS ทั้ง 57 รายการแบ่งตามประเภทเป็นกุญแจ Root 11 รายการ, กุญแจระดับผู้ใช้ 18 รายการ, และกุญแจระดับ Service อีก 22 รายการ (Forbes ไม่ระบุว่าทำไมแบ่งตามประเภทแล้วไม่ครบ 57 รายการ) กุญแจตัวหนึ่งถูกอัปโหลดไว้ใน PyPI ตั้งแต่ปี 2013 หรือเกือบสิบปีแล้ว
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าผู้ให้บริการคลาวด์อย่าง AWS นั้นมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกมอยู่ด้วย โดยใช้ชื่อตรงไปตรงมาว่า AWS for Games ซึ่งให้บริการโซลูชันตั้งแต่การพัฒนาเกม ไปจนถึงการรันเกมบนคลาวด์เลย ที่งาน AWS re:Invent 2022 เราได้มีโอกาสเข้าฟังทีมงานที่มาจากทีม AWS for Games โดยเฉพาะ นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้รู้จักธุรกิจส่วนนี้มากขึ้น
จากที่ AWS ประกาศไว้เมื่อต้นปี 2022 ว่าจะเปิด Local Zones หรือศูนย์ข้อมูลขนาดย่อมในกรุงเทพ ล่าสุด AWS ได้ทวีตเช้าวันนี้ว่า Local Zones กรุงเทพเข้าสู่สถานะ GA หรือ General Availability เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ลูกค้าสามารถเริ่มใช้งานได้ทันที ซึ่งการประกาศ GA นี้ค่อนข้างน่าแปลกใจ เพราะจากข่าวเก่าระบุไว้ว่าต้องรออีกอย่างน้อย 2 ปี แต่ตอนนี้ผ่านมายังไม่ถึงปีดีก็เปิดให้ใช้งานแล้ว
พร้อมกันนี้ยังระบุว่า Local Zones ในเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ก็เข้าสู่สถานะ GA ด้วยเช่นกัน
ทีมงาน Blognone ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่ง Country Manager ของ AWS ประเทศไทยที่งาน AWS re:Invent 2022 ที่เพิ่งจบไปเมื่อต้นเดือนในเรื่องที่หลายคนอยากรู้เกี่ยวกับการประกาศเปิดรีเจี้ยน (region) อย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย รวมถึงประเด็นด้านประโยชน์ที่ธุรกิจในประเทศไทยจะได้รับ
ปัญหาน่าปวดหัวและยากจะจัดการอย่างหนึ่งในองค์กรคือการอนุญาตให้บุคคลหรือกลุ่มคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลสักที่ได้อย่างปลอดภัยและมีสิทธิ์ถูกต้อง ที่ผ่านมาหากผู้ใช้ฝั่งธุรกิจต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อไปทำรายงานสักชิ้น อาจต้องขอให้ทีมไอทีช่วยดึงข้อมูล หรืออย่างเลวร้ายที่สุดไอทีก็สร้าง view บนฐานข้อมูลแล้วสร้างล็อกอินให้ไปคิวรี่กันเอง
แม้ไอทีจะดึงข้อมูลให้ หรือสร้างล็อกอินให้ไปใช้งานเอง หรือวิธีอื่นใดก็ตาม ต่างเสียเวลาเตรียมข้อมูล และหลายครั้งก็ไม่เป็นไปตามหลักการจัดการสิทธิ์เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ดี AWS จึงเปิดตัว DataZone เครื่องมือจัดการข้อมูลภายในองค์กรที่เจ้าของข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูลสามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และปลอดภัย
OpenStack ออกรายงาน 2022 User Survey เผยว่าตอนนี้มีการใช้งาน OpenStack มากกว่า 40 ล้าน production cores เติบโตมากกว่า 60% เมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2021 และเพิ่มขึ้น 166% เมื่อเทียบกับปี 2020
รายละเอียดการดีพลอย พบว่ามากกว่าครึ่ง (56%) เป็นโครงการระดับ 100-10,000 คอร์ โดยมีโครงการขนาดใหญ่ระดับมากกว่า 1 ล้านคอร์ จากบริษัทใหญ่ อาทิ LINE, Workday, OVH ขณะที่บริษัทโทรคมนาคมจำนวนมากก็เลือกใช้ OpenStack เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
AWS เปิดตัวบริการ AWS Application Composer ตัวช่วยออกแบบแอปพลิเคชั่นแบบ severless ที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถออกแบบแอปพลิเคชั่นโดยรวมได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยมองเห็นภาพรวมว่าแอปพลิเคชั่นมีกระบวนการทำงานอย่างไร เริ่มต้นจากไหนและจบที่ตรงไหนบ้าง
หลังจากออกแบบแล้ว ผู้ใช้จะได้ไฟล์ CloudFormation ออกมา ทำให้เห็นภาพเดียวกันทั้งผู้ใช้และวิศวกรคลาวด์ว่ากระบวนการทำงานจะเป็นแบบใด นอกจากนี้ผู้ใช้ยังโหลดไฟล์ CloudFormation ที่อยู่เดิมมาสร้างแผนภาพใน Application Composer ได้อีกด้วย
ตอนนี้ Application Compose ยังอยู่ในระดับทดลองและเปิดให้ใช้งานเฉพาะบางศูนย์ข้อมูล ได้แก่ สหรัฐฯ, ยุโรป, ญี่ปุ่น และการใช้งานไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
Cloudflare ประกาศขึ้นราคาเป็นครั้งแรกตั้งแต่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2017 โดยปัจจุบัน Cloudflare มีแพ็คเกจให้บริการอยู่ 4 ระดับหลักๆ คือ Free, Pro, Business และ Enterprise ซึ่งก็จะได้ฟีเจอร์เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แต่ตัวฟรีก็มาพร้อมกับระบบป้องกัน DDoS แบบไม่จำกัด, ใบรับรองความปลอดภัยฟรี รวมถึง CDN เช่นกัน
ส่วนแพ็คเกจ Pro ราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (ราว 700 บาท) ได้ฟีเจอร์ความปลอดภัยมากขึ้นเช่น WAF และตัวช่วยต่างๆ ให้เว็บโหลดเร็วขึ้น
สำหรับนักพัฒนาที่รันโค้ดแบบ serverless บน AWS Lambda ก็ต้องเจอปัญหา cold start กันมาทุกคน นั่นคือเมื่อตัวฟังก์ชันไม่ได้ถูกเรียกใช้มาระยะเวลาหนึ่งทำให้ AWS ปิดฟังก์ชันไป และในการเรียกใช้งานครั้งต่อไปหากไม่อยู่ในแคชก็จะต้องรันใหม่ตั้งแต่ต้น กินเวลานานหลายวินาที ส่งผลต่อประสิทธิภาพของแอพโดยรวมได้
แม้ที่ผ่านมา AWS จะพยายามลดเวลา cold start มาตลอด แต่ก็ยังกินเวลาหลายวินาที ล่าสุดได้เปิดตัว Lambda SnapStart ที่โฆษณาว่าช่วยลดระยะเวลา cold start ลงได้มากถึง 90% หรือแทบจะไม่มีการรอ cold start เลยทีเดียว
วันนี้ที่งาน AWS re:Invent 2022 AWS ได้เปิดตัว EC2 รุ่นใหม่หลายตัว โดยแกนกลางเป็น Graviton ซีพียูที่ออกแบบเอง และรันผ่าน Nitro ฮาร์ดแวร์ hypervisor ของตัวเองที่ขณะนี้เดินทางมาถึง v5 แล้ว
C7gn เป็น EC2 ในกลุ่มที่เน้นซีพียู (Compute Optimized) เช่นนำมาทำระบบเน็ตเวิร์ค, วิเคราะห์ข้อมูล หรือการคำนวณแบบคลัสเตอร์ ใช้ซีพียู Graviton 3E รุ่นใหม่ที่เปิดตัวพร้อมกัน รองรับแบนด์วิดท์เน็ตเวิร์ค 200 Gbps และประมวลผลแพ็คเก็ตได้สูงขึ้น 50% (เทียบกับ C6gn) มีให้เลือกหลายขนาด สูงสุด 64 vCPU และแรม 128 GiB เริ่มให้ทดลองแล้วผ่านการลงทะเบียน
Gartner ออกรายงานพยากรณ์การใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ของปี 2023 คาดเติบโต 20.7% มีมูลค่ารวม 5.92 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ตัวเลขปี 2022 ประเมินว่าอยู่ที่ 4.90 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่มากขึ้น
Sid Nag รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ความเห็นว่าปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ส่งผลทั้งบวกและลบต่อการใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ แต่ด้วยจุดเด่นที่รองรับการเปลี่ยนแปลงและสเกลที่รวดเร็ว จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้ใช้งาน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางไอทีรวมได้
David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp และบริการอีเมล HEY เขียนบล็อกระบุแนวทางว่า Basecamp กำลังเตรียมแผนเพื่อย้ายบริการออกจากคลาวด์แล้วแม้ว่าที่ผ่านมาบริษัทจะใช้คลาวด์มาตลอดก็ตามที
Hansson ระบุว่าคลาวด์นั้นได้เปรียบเมื่อโหลดมีความไม่แน่นอนสูงๆ เช่น สมัย HEY เปิดบริการใหม่ๆ ก็คาดเดาได้ยากว่าคนจะใช้งานมากน้อยแค่ไหน จากที่คาดไว้ว่าจะมีคนใช้งาน 30,000 คนในช่วง 6 เดือนแรกกลับมีผู้สมัครถึง 300,000 รายใน 3 สัปดาห์เท่านั้น แต่หลังจากนั้นโหลดก็ค่อนข้างนิ่งแล้ว โดยเฉพาะ Basecamp ที่เปิดบริการมานาน เขาให้เหตุผลที่ย้ายออกไว้ 3 ข้อได้แก่
AWS ประกาศเปิด Region ใหม่ในกรุงเทพ ใช้ชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) และจะประกอบไปด้วย 3 Availability Zone โดยยังไม่ได้ระบุวันเริ่มให้บริการ นอกจาก AWS ตอนนี้ก็มี Google Cloud ที่เปิด Region ในไทย
AWS ประกาศด้วยว่าจะลงทุนในไทยเป็นเม็ดเงินจำนวน 1.9 แสนล้านบาท เป็นะระยะเวลา 15 ปี
Google Cloud ประกาศความร่วมมือกับบริษัทคริปโตชื่อดัง Coinbase ในหลายด้าน โดย Google Cloud จะใช้งานบริการของ Coinbase หลายตัวดังนี้
หลังประกาศข่าวความร่วมมือกับกูเกิล หุ้นของ Coinbase ขึ้นทันที 8.4%
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ Azure Arc บริการจัดการคลาวด์แบบไฮบริด ให้กับลูกค้าในประเทศไทย ผ่านพาร์ทเนอร์ในไทยคือ AIS Cloud X
Azure Arc เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 นิยามตัวเองว่าเป็นระบบจัดการ Azure ที่อยู่ในเครื่องต่างถิ่นฐานกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบนคลาวด์ไมโครซอฟท์ หรือเครื่อง on-premise ในองค์กร (ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ของ Azure เช่น Azure Stack) โดยบริหารงานจากที่เดียว ข้อดีจากการมีระบบจัดการกลางคือเรื่องความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ และการจัดการทั้งเซิร์ฟเวอร์-คอนเทนเนอร์ไปพร้อมๆ กัน
เก็บตกประเด็นเล็กๆ ที่น่าสนใจจากงานแถลงข่าวอินเทลเมื่อคืนนี้คือ อินเทลจะเปิดบริการ Intel Developer Cloud ให้เช่าเครื่องผ่านคลาวด์เหมือนกับบริการคลาวด์อื่นๆ
สิ่งที่ต่างออกไปคือ อินเทลจะเปิดให้นักพัฒนาสามารถใช้งานซีพียูและจีพียูใหม่ๆ ของอินเทล ที่เปิดตัวแล้วแต่ยังไม่วางขายจริงได้ก่อนใคร เพื่อให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งซอฟต์แวร์ของตัวเองเข้ากับซีพียู-จีพียูเหล่านี้ได้ล่วงหน้า
ปัจจุบันแม้การทรานสฟอร์มองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัล เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจอาจจะเป็นแนวทางที่ทุกองค์กรนำมาปรับใช้ แต่ในความเป็นจริง ทั้งในเชิงธุรกิจและเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและคาดเดาไม่ได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำครั้งเดียวจบ แต่ควรที่จะต้องยืดหยุ่น เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง คล่องตัว และเกิดประโยชน์กับองค์กรสูงที่สุด
AIS Business เปิดตัว AIS Cloud X ที่เป็น Intelligent Cloud Ecosystem ในรูปแบบของชุดแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ (platform/software suite) สำหรับองค์กรในการใช้งานคลาวด์ได้หลากหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ (flexible cloud deployment) ภายในงานสัมมนา AIS Business Cloud 2022 ภายใต้แนวคิด Compute | Connect | Complete เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจไทยตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและเทรนด์เทคโนโลยีอนาคตที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขัน เพราะคลาวด์ เป็นเสาหลักสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
Google Cloud ประกาศฟีเจอร์ใหม่ชื่อ startup CPU boost ให้กับบริการ Cloud Run และ Cloud Functions ช่วยให้บูตเครื่องได้เร็วขึ้น
หลักการทำงานของ startup CPU boost คือแบ่งพลังซีพียูมาให้ตอนบูตคอนเทนเนอร์แบบ cold start ที่ต้องใช้เวลานาน เพื่อให้เครื่องพร้อมทำงานเร็วขึ้น จากสถิติของกูเกิลเองพบว่าสามารถลดระยะเวลาสตาร์ตเครื่องได้ครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะบริการที่เป็น Java ที่ต้องใช้เวลาเริ่มนาน
ฟีเจอร์นี้จะมีผลเฉพาะตอนบูตเท่านั้น โดยผู้ใช้ต้องจ่ายค่าซีพียูเพิ่มจากปกติเฉพาะตอนบูต เช่น ถ้าเลือกเครื่องแบบ 2 ซีพียู แล้วบูสต์เพิ่มเป็น 4 ซีพียูเฉพาะตอนบูต 10 วินาที ก็จ่ายค่าซีพียูที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลา 10 วินาทีนั้น
Alibaba Cloud ส่วนธุรกิจให้บริการคลาวด์ของ Alibaba ประกาศงบลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ ใน 3 ปีข้างหน้า สำหรับสนับสนุนเทคโนโลยีให้กับพาร์ตเนอร์ รองรับการขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งมาทั้งในรูปเงินทุนสนับสนุน และการสนับสนุนรูปแบบอื่น
นอกจากนี้ Alibaba ได้จัดตั้งโครงการ Regional Accelerator เพื่อรองรับการบริหารจัดการร่วมกับพาร์ตเนอร์ในแต่ละประเทศ ที่มีรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจแตกต่างกันไป และเพิ่มความสามารถให้กับพาร์ตเนอร์ด้วย
ปัจจุบัน Alibaba มีส่วนแบ่งในตลาดประมวลผลคลาวด์เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมี Amazon และไมโครซอฟท์ อยู่ในลำดับที่ 1-2 ตามรายงานของ Gartner แม้ส่วนธุรกิจนี้จะยังเล็กมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่ Alibaba ก็เห็นโอกาสเติบโตสูงและความสามารถในการทำกำไรที่ดี
Heroku บริการ PaaS (Platform as a Service) บนคลาวด์ ที่มี Salesforce เป็นเจ้าของ ประกาศเตรียมยกเลิกให้บริการทั้งหมดที่ฟรี เพื่อให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนไปใช้แผนแบบเสียเงิน มีรายละเอียดดังนี้
โดยตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2022 เป็นต้นไป Heroku จะเลิกให้บริการที่ใช้งานได้ฟรีทั้งหมด รวมทั้งปิดบริการฟรีปัจจุบันคือ Heroku Dynos และบริการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้งานปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบ จะทยอยได้รับอีเมลแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงนี้
Amazon CloudFront บริการ content delivery network (CDN) ของ AWS ประกาศรองรับโปรโตคอล HTTP/3 ที่เพิ่งได้รับรองเป็นมาตรฐาน RFC เมื่อเดือนมิถุนายน 2022
HTTP/3 หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ QUIC ถูกเสนอโดยกูเกิลมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อเร่งความเร็วการเชื่อมต่อช่วงแรกของ HTTP ในระดับล่าง (TCP+TLS) อ่านคำอธิบายละเอียดในบทความ อธิบาย HTTP/3 แตกต่างจาก HTTP/1, HTTP/2, SPDY, QUIC อย่างไร