AWS เปิดบริการ Amazon EC2 High Memory instance เครื่องชนิด U7i ที่สามารถใส่แรมได้เยอะถึง 32 TiB ถือว่าเป็นเครื่องที่มีแรมเยอะที่สุดของ AWS ในปัจจุบัน
หลายคนอาจสงสัยว่าเอาเครื่องที่แรมเยอะขนาดนี้มาทำอะไร คำตอบคือ เอามารัน Chrome งานจำพวก in-memory database ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูล SAP HANA, Oracle หรือ SQL Server ก็ตาม
เครื่อง U7i ใช้ซีพียู Intel Xeon Scalable 4th Gen (Sapphire Rapids) แบบคัสตอม มีซีพียูเสมือน (vCPU) จำนวน 896 คอร์, ส่วนแรมเลือกได้ตั้งแต่ 12, 16, 24, 32 TiB เป็นแรมประเภท DDR5 และสามารถเชื่อมต่อกับสตอเรจประเภท Elastic Block Store (EBS) ได้เพียงอย่างเดียว
Google Cloud ออกแถลงเหตุที่ UniSuper กองทุนรวมของออสเตรเลียที่มีสมาชิกกว่า 620,000 คน ถูกลบบัญชีออกโดยระบุว่า UniSuper ใช้บริการ Google Cloud VMware Engine Private Cloud ซึ่งจะต้องเปิดใช้บริการผ่านเครื่องมือภายในตัวหนึ่งเพื่อจัดสรร capacity ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เจ้าหน้าที่ของ Google ที่ใช้งานเครื่องมือนี้เผลอลืมใส่ข้อมูลหนึ่งลงไป (ไม่ได้ระบุว่าเป็นพารามิเตอร์อะไร) ระบบภายในจึงตั้งพารามิเตอร์นี้เป็น 1 ปีตามค่าตั้งต้น
Microsoft Azure ประกาศยกเลิกการคิดค่าบริการสำหรับ Data transfer ระหว่าง Availability Zones แล้ว โดยประกาศนี้ครอบคลุมทั้ง Private IP และ Public IP
จากประกาศครั้งนี้ทำให้การออกแบบระบบแบบใช้หลาย Availability Zones มีข้อกังวลด้านราคาลดลงอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาค่า Data transfer ระหว่าง Availability Zones ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการประเมินราคาของการใช้ออกแบบ
นโยบายนี้ของ Azure ถือเป็นเจ้าแรกของคลาวด์ยักษ์ใหญ่ที่ประกาศออกมา
ที่มา - Azure
Alibaba Cloud ประกาศในงานสัมมนาที่ปารีส เปิดพื้นที่ให้บริการเขตเม็กซิโกเป็นครั้งแรก และประกาศขยายศูนย์ข้อมูลเพิ่มใน 4 ประเทศคือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไทย ในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า
Alibaba Cloud มีให้บริการ Availability Zone ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2022 ประกาศนี้บอกคร่าวๆ เพียงว่าจะขยายศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีก แต่ยังไม่ให้รายละเอียดมากไปกว่านี้
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Alibaba Cloud มีศูนย์ข้อมูลให้บริการใน 5 ประเทศคือ สิงคโปร์ (3 โซน), มาเลเซีย (2 โซน), อินโดนีเซีย (3 โซน), ฟิลิปปินส์ (1 โซน) และไทย (1 โซน) - แผนที่ละเอียด
ไมโครซอฟท์ประกาศออก .NET Aspire รุ่นเสถียร (General Availability)
.NET Aspire เป็นชุดซอฟต์แวร์ (stack) สำหรับพัฒนาแอพสาย .NET แบบ cloud native คือรันในคอนเทนเนอร์ โครงการนี้เริ่มต้นแบบพรีวิวมาตั้งแต่ .NET 8 เมื่อปี 2023 และเข้าสถานะเสถียรในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Microsoft Azure ประกาศตัวเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดเครื่อง VM ให้เช่า AMD Instinct MI300X ชิปเร่งความเร็ว AI รุ่นล่าสุดของ AMD ที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2023
AMD Instinct MI300X เป็นการ์ดเร่งความเร็วที่มีแต่จีพียู CDNA 3 ล้วนๆ (ยังมีรุ่น MI300A ที่มีซีพียู+จีพียู) จุดเด่นข้อหนึ่งของมันคือการใช้แรมความเร็วสูง HBM3 ทำให้แบนด์วิดท์ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นจากการ์ดรุ่นก่อนมาก
ตัว VM ของไมโครซอฟท์ใช้ชื่อว่า ND MI300X v5 โดย VM หนึ่งตัวมีการ์ด MI300X จำนวน 8 ตัว มีแรมขนาดใหญ่ 1.5TB แบนด์วิดท์แรม 5.3 TB/s เหมาะสำหรับงานประมวลผล AI ขนาดใหญ่ ระบบเครือข่ายใช้ InfiniBand ความเร็ว 400 Gb/s ต่อจีพียู รวมกันแล้วเป็น 3.2 Tb/s ต่อ VM
Microsoft Azure เปิดบริการเครื่อง VM ที่ใช้ซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง และเปิดตัวซีพียูครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023
ซีพียู Cobalt 100 พัฒนาอยู่บนพิมพ์เขียวของ Arm Neoverse N2 มาพัฒนาต่อ ก่อนหน้านี้มันถูกใช้งานเฉพาะบริการของไมโครซอฟท์เอง แต่คราวนี้เป็นครั้งแรกที่เปิดให้คนนอกใช้งาน
UniSuper กองทุนรวมของออสเตรเลีย ที่ดูแลเงินลงทุนของพนักงานมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยในออสเตรเลียกว่า 620,000 คน ประสบปัญหาระบบออนไลน์ใช้งานไม่ได้มาเป็นเวลาเกิน 1 สัปดาห์ ด้วยเหตุผลว่า Google Cloud จัดการคอนฟิกผิดพลาด เผลอ "ลบ" บัญชีองค์กรของ UniSuper ออกจากระบบ
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 2,200 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า ด้านคลาวด์และ AI ในมาเลเซีย ที่งานแถลงข่าวในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียวันนี้ ซึ่งไมโครซอฟท์บอกว่าเป็นขนาดการลงทุนในมาเลเซียที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท
รายละเอียดของการลงทุนนั้น ไมโครซอฟท์บอกว่ามีทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์และ AI, พัฒนาทักษะด้าน AI ให้ประชากรในมาเลเซียถึง 2 แสนคน, ร่วมมือกับภาครัฐจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้าน AI แห่งชาติ และด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ กล่าวว่าไมโครซอฟท์พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้าน AI ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับชาวมาเลเซีย รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม
Maciej Pocwierz วิศวกรซอฟต์แวร์รายงานถึงเหตุที่เขาถูกคิดเงินค่าใช้งาน S3 ที่เขาสร้างขึ้นโดยไม่ได้ใส่ไฟล์อะไรลงไปถึงวันละ 1,300 ดอลลาร์หรือประมาณ 50,000 บาท ล่าสุด Jeff Barr ผู้บริหาร AWS ออกมาระบุว่าจะแก้ปัญหานี้
ไมโครซอฟท์ประกาศการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และ AI ในประเทศอินโดนีเซีย ในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า ด้วยเงินลงทุน 1,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะสร้างทักษะด้าน AI ให้คนประมาณ 840,000 คน
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ กล่าวว่าการลงทุนครั้งนี้ เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ในอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเติบโตของประเทศในยุคถัดไป
การลงทุนด้านคลาวด์และ AI นี้ จะทำต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลของโครงการ Berdayakan Ekonomi Digital Indonesia ที่ประกาศในปี 2021
รายการ Cloudnone สัมภาษณ์คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ของ AWS ประเทศไทย ถึงทิศทาง Generative AI ปี 2024 ผ่านทิศทางของผู้ให้บริการคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในการสัมภาษณ์ตอนนี้ คุณวัตสัน สะท้อนมุมมองตลาด Generative AI ที่เริ่มพัฒนาจากการทดลองใช้งาน มาสู่การเริ่มใช้งานจริง ซึ่งมีลูกค้าธุรกิจไทยบางรายของ AWS เริ่มใช้งานผ่านบริการ Amazon Bedrock บ้างแล้ว
ฝั่ง Amazon มองแนวทางของ Generative AI ต่างจากบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ตรงที่มอง Bedrock เป็นบริการแบบเปิดที่ลูกค้าสามารถ “เลือก” โมเดล Generative AI ได้เอง ไม่ว่าจะเป็นโมเดลตระกูล Titan ของ Amazon พัฒนาเอง, โมเดล Claude จากบริษัท Anthropic ที่ไปลงทุนเอาไว้ และโมเดลโอเพนซอร์สอื่นๆ อย่าง Llama, Mistral
กูเกิลเปิดตัว Google Axion Processors ซีพียู Armv9 โดยชูจุดเด่นว่าแรงกว่าซีพียู Arm ที่แรงที่สุดในคลาวด์ โดยแรงกว่าถึง 30% ในการทดสอบบางรายการ และในแง่ประสิทธิภาพพลังงานก็ดีกว่า x86 มาก
กูเกิลยังแทบไม่เปิดเผยสเปคภายในของชิป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคอร์, แคช, หรือ I/O แต่เป็นคอร์ Arm Neoverse V2 และใช้ส่วนเร่งความเร็ว Titanium ที่พัฒนาเองสำหรับรับโหลดอื่นๆ นอกจากการประมวลผลหลัก เช่น เน็ตเวิร์ค, สตอเรจ, หรือความปลอดภัย
เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Axion จะเปิดให้ใช้งานภายในปีนี้
ที่มา - Google Cloud Blog
องค์กรจำนวนมากเตรียมรับมือยุค AI ด้วยการสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ ขยายความสามารถของระบบ Data Lake ในองค์กร แต่หากสตอเรจขององค์กรไม่พร้อมก็จะนำไปสู่ข้อจำกัดทั้งด้านประสิทธิภาพ และพื้นที่สตอเรจที่รองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลไม่ไหว
IBM Storage Scale by G-Able โซลูชันสตอเรจที่รองรับทุกแอปพลิเคชันในองค์กร พร้อมกับความสามารถในการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งนโยบายการจัดเก็บข้อมูลและความปลอดภัย เปิดทางให้องค์กรสร้างแพลตฟอร์มสตอเรจได้อย่างสมบูรณ์
Stability AI บริษัทปัญญาประดิษฐ์สัญชาติอังกฤษ เจ้าของโมเดล Stable Diffusion ที่เพิ่งประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอ เริ่มมีข่าวไม่ดีออกมาต่อเนื่อง โดยข่าวล่าสุดบอกว่าบริษัทมีปัญหาการเงิน และขาดแคลนเงินทุนที่ใช้เช่าจีพียูราคาแพง
ข้อมูลนี้มาจาก Forbes ที่อ้างว่าได้เอกสารภายในของ Stability AI ระบุว่าบริษัทมีต้นทุนค่าเช่าจีพียูบนคลาวด์ราว 99 ล้านดอลลาร์ต่อปี (เช่าจาก AWS, Google Cloud, CodeWeaver) บวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าดำเนินการ อีกราว 54 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่บริษัทมีรายได้ในปี 2023 เพียง 11 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่รายที่สาม ที่ประกาศยกเลิกค่าโอนย้ายข้อมูลออก (data transfer out หรือ egress) เมื่อลูกค้าเลิกใช้บริการ Azure อย่างถาวร
Azure ให้โควต้าย้ายข้อมูลออกฟรี 100GB ต่อเดือนกับลูกค้าทุกรายอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการย้ายข้อมูลปริมาณเยอะกว่านั้น สามารถติดต่อ Azure Support เพื่อขอเครดิตสำหรับย้ายข้อมูลได้ โดยลูกค้ามีเวลา 60 วันในการย้ายข้อมูลออกให้เสร็จสิ้น
G-Able นำเสนอ HPE GreenLake Data Protection Services โซลูชันปกป้องข้อมูลครบวงจร ตอบโจทย์ยุค Hybrid Cloud ปกป้องข้อมูลของคุณอย่างไร้ขีดจำกัด ยืดหยุ่น สะดวก ใช้งานง่าย กู้คืนข้อมูลรวดเร็ว ป้องกันแรนซัมแวร์ ปรับใช้และควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Amazon Web Services (AWS) ประกาศยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมย้ายข้อมูลออก (egress หรือ data transfer out) เมื่อต้องการย้ายระบบออกจาก AWS ทั้งหมด โดยเป็นประกาศลักษณะเดียวกับที่ Google Cloud ประกาศไปเมื่อต้นปี
AWS บอกว่าที่ผ่านมาให้โควต้าฟรีสำหรับการโอนถ่ายข้อมูล 100GB แรกอยู่แล้ว (ครอบคลุมลูกค้า 90% ของทั้งหมด) แต่ถ้าต้องการย้ายข้อมูลออกมากกว่านั้น ก็สามารถติดต่อ AWS Support เพื่องดเว้นค่าธรรมเนียม DTO ได้ เมื่อบริษัทตรวจสอบและอนุมัติแล้วก็จะเพิ่มเครดิตสำหรับการโอนข้อมูลออกเข้าบัญชีให้
เงื่อนไขของ AWS คือเมื่อย้ายข้อมูลออกแล้ว จะต้องลบข้อมูลที่ค้างอยู่ในบัญชี AWS ภายใน 60 วัน ซึ่งเท่ากับนโยบายของ Google Cloud
Scaleway บริษัทคลาวด์ฝรั่งเศสประกันนำชิป T-HEAD TH1520 SoC ที่อยู่ในกลุ่ม Alibaba มาให้บริการคลาวด์ ทำให้ได้เซิร์ฟเวอร์ที่ราคาค่อนข้างประหยัดเมื่อเทียบกับขนาดแรมที่ได้รับ 16GB
ตอนนี้เซิร์ฟเวอร์แบบ EM-RV1 มีขนาดเดียวคือ ซีพียู 4 คอร์ 1.85GHz แรม 16GB สตอเรจ 128GB เน็ตเวิร์ค 100Mbps ราคาอยู่ที่ 0.042 ยูโรต่อชั่วโมง หรือประมาณเดือนละ 16 ยูโร เทียบกับเครื่อง x86 ที่มี 4 คอร์และแรม 16GB มักจะเกิน 60 ยูโรต่อเดือน ทาง Scaleway ออกแบบตัวเซิร์ฟเวอร์เองทำให้ตู้ขนาด 52U ใส่เครื่อง EM-RV1 ได้ 672 เครื่อง และแต่ละเครื่องกินพลังงานสูงสุด 1.9 วัตต์ต่อคอร์
เปิดให้ใช้งานแล้วในศูนย์ข้อมูลปารีส รองรับระบบปฎิบัติการ Debian, Ubuntu, และ Alpine
Jamin Ball นักวิเคราะห์จากบริษัท Altimeter Capital ประเมินว่าการลงทุนด้าน AI ของไมโครซอฟท์ ทำให้บริการ Microsoft Azure เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 30% ในไตรมาสล่าสุด และไล่กวดผู้นำตลาดอย่าง AWS มาอย่างรวดเร็ว (AWS เติบโตเพียง 13% ในไตรมาสเดียวกัน)
Ball ประเมินว่าเมื่อ 5 ปีก่อน ขนาดรายได้จากบริการโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของ Azure มีเพียงครึ่งหนึ่งของ AWS แต่ตอนนี้คิดเป็น 3/4 ของ AWS แล้ว
Satya Nadella เปิดเผยในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุดว่า Azure มีลูกค้า 53,000 องค์กรที่ใช้บริการด้าน AI
บริษัทวิจัยตลาด Synergy Research Group รายงานการใช้จ่ายขององค์กรในโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ของไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ภาพรวมมีการใช้จ่ายเกือบ 74,000 ล้านดอลลาร์ ทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์ จากไตรมาส 4/2022 เพิ่มขึ้น 20% และเพิ่มขึ้น 5,600 ล้านดอลลาร์ จากไตรมาส 3/2023 เป็นการเติบโตสูงสุดแบบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส
ภาพรวมตลอดปี 2023 การใช้จ่ายคลาวด์เพิ่มขึ้น 19% จากปี 2022 โดยแม้มีผลกระทบจากด้านเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ แต่ความต้องการด้าน Generative AI ก็ทำให้การลงทุนด้านนี้มีมากขึ้น สะท้อนกลับมาที่ใช้จ่ายด้านคลาวด์นั่นเอง
Andy Jassy ซีอีโอ Amazon ระบุในงานแถลงผลประกอบการปีนี้ ว่า AWS กำลังยืดอายุเซิร์ฟเวอร์เป็น 6 ปี หลังจากเมื่อปี 2022 เคยยืดอายุจาก 4 ปีเป็น 5 ปีมาแล้ว เฉพาะการยืดอายุเซิร์ฟเวอร์รายการเดียวจะทำให้กำไรสุทธิของ AWS เพิ่มขึ้น 900 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปีนี้
แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะใช้ได้นานขึ้น แต่ Jassy ก็ยังระบุว่าเงินลงทุนของ AWS ยังเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องลงทุนกับโครงสร้างสำหรับ generative AI ไปพร้อมๆ กับการขยายศูนย์ข้อมูลไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยคาดว่ารายได้จาก AI จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนไปถึงระดับหมื่นล้านดอลลาร์ในไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ก็ยอมรับว่าตอนนี้รายได้จาก AI ยังไม่ได้มากมายนัก
Amazon Web Services หรือ AWS ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ในประเทศญี่ปุ่น เป็นเงิน 2.26 ล้านล้านเยน (5.4 แสนล้านบาท) ภายในปี 2027 เพื่อรองรับความต้องการด้าน AI
AWS บอกว่าเงินลงทุนนี้จะนำไปขยายศูนย์ข้อมูลซึ่งตั้งอยู่ในโตเกียวและโอซากา รองรับความต้องการลูกค้าที่เติบโตมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ AWS ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในญี่ปุ่นเป็นเงิน 1.51 ล้านล้านเยน ช่วงปี 2011 ถึง 2022
ปัจจุบัน AWS มีลูกค้าที่ใช้งาน Generative AI ในญี่ปุ่นรายใหญ่ เช่น Asahi Group, Marubeni และ Nomura Holdings
Google Cloud ประกาศยกเลิกค่าถ่ายข้อมูลออก (egress) ในกรณีย้ายออกจาก Google Cloud ไปยังผู้ให้บริการคลาวด์เจ้าอื่น หรือแม้แต่ย้ายไปยังเซิร์ฟเวอร์แบบ on premise ก็ตาม
ค่าถ่ายข้อมูลออก (egress) ถูกวิจารณ์มายาวนานว่าเป็นความพยายามล็อคให้ลูกค้าอยู่กับผู้ให้บริการ (vendor lock-in) โดยใช้วิธีคิดค่า egress ราคาแพงๆ เพื่อให้ลูกค้าต้องทบทวนซ้ำหากตัดสินใจย้ายออก
กูเกิลบอกว่าตัดสินใจยกเลิกค่า egress เพื่อให้ลูกค้าเปลี่ยนผู้ให้บริการคลาวด์ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังวิจารณ์ว่าผู้ให้บริการคลาวด์บางรายยังใช้วิธีจำกัดลูกค้าด้วยไลเซนส์ (แม้ไม่ได้ระบุชื่อแต่ก็รู้กันว่าหมายถึง Azure) ซึ่งกูเกิลจะเดินหน้าผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ต่อไป
CNBC อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า LinkedIn ได้สั่งหยุดโครงการย้ายระบบจากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ไปอยู่บนคลาวด์ Azure ของไมโครซอฟท์ โดยสถานะตอนนี้คือพักโครงการชั่วคราว แต่ยังไม่ได้ยกเลิกไปเลย
LinkedIn เคยประกาศแผนย้ายระบบทั้งหมดไปอยู่บน Azure ภายใต้โครงการ Blueshift ในปี 2019 ซึ่งสามารถเข้าใจได้ไม่ยากเพราะ LinkedIn เป็นบริษัทในเครือไมโครซอฟท์มาตั้งแต่ปี 2016 ตอนนั้น LinkedIn ก็บอกว่าโครงการจะใช้เวลาหลายปีจึงจะย้ายระบบทั้งหมดสำเร็จ