กูเกิลเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของ Android for Foldables สำหรับมือถือจอพับได้แบบของซัมซุง โดยออกคำแนะนำให้นักพัฒนา 3 ข้อสำคัญ ดังนี้
กูเกิลประกาศนำ Android Studio ลงระบบปฏิบัติการ Chrome OS อย่างเป็นทางการ โดยจะออกรุ่นจริงช่วงต้นปีหน้า 2019
ตอนนี้ผู้ที่อยากใช้งาน Android Studio รุ่นพรีวิวบน Chrome OS สามารถทำได้แล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะ Pixelbook เท่านั้น กระบวนการคือต้องสลับไปใช้ Chrome OS developer channel, เปิดใช้งานโหมดลินุกซ์ และติดตั้ง Android Studio อีกทีหนึ่ง (รายละเอียด)
โลกของ .NET ตอนนี้แยกเป็น .NET Standard (ตัวสเปก) กับ implementation อีกสามสายคือ .NET Core (โอเพนซอร์ส), .NET Framework (ไม่โอเพนซอร์ส), Xamarin (สำหรับเขียนแอพมือถือ)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศออก .NET Standard เวอร์ชัน 2.1 ที่จะกลายเป็นเป้าหมายให้ .NET เวอร์ชันต่างๆ พัฒนาฟีเจอร์ตามในระยะถัดไป
สิ่งใหม่ใน .NET Standard 2.1 มีทั้งการเพิ่ม API เก่าจาก .NET Framework ของเดิม (มีอยู่แล้วแค่ปรับให้เป็นมาตรฐานกลาง) และเพิ่ม API ใหม่ โดยฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือการรองรับตัวแปรแบบ Span<T> เป็นตัวแปรลักษณะเดียวกับอาร์เรย์ ที่จะช่วยปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพของ .NET ในภาพรวม
เดิมที Instagram มี API รุ่นเก่าชื่อว่า Instagram API Platform ที่ใช้งานกันมายาวนาน แต่เมื่อต้นปีนี้ Facebook ประกาศยกเลิกใช้ API ตัวเดิม โดยมีแผนเปลี่ยนผ่านทีละขั้น ฟีเจอร์หลายอย่างของ API ตัวเดิมถูกถอดไปตั้งแต่ต้นปี 2018 และฟีเจอร์อีกชุดจะถูกยกเลิกในวันที่ 11 ธันวาคมนี้
หลังจากวันที่ 11 ธันวาคม 2018 นักพัฒนาที่เรียกใช้ API ตัวเดิมจะสามารถใช้งานได้เฉพาะฟีเจอร์ basic ที่เป็นการอ่านข้อมูลพื้นฐานจากบัญชีผู้ใช้เท่านั้น ไม่สามารถค้นหา คอมเมนต์ หรือไลค์ผ่าน API ตัวเดิมได้อีก
เรารู้จัก Unity ในฐานะผู้ผลิตเอนจินเกมชื่อดัง แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา Unity ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเกมแรกของตัวเองในชื่อว่า FPS Sample
จากชื่อเกม หลายคนคงเดากันได้ว่าเป็นเกมตัวอย่าง เพื่อให้นักพัฒนาเกมรายอื่นๆ ดูเป็นต้นแบบ ไม่ได้เป็นเกมที่ออกมาหารายได้เชิงพาณิชย์จริงๆ
Unity ระบุว่าพัฒนาเกมนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างการสร้างเกมยิง FPS แบบมัลติเพลเยอร์ รองรับผู้เล่นสูงสุด 16 คนพร้อมกัน มีฉากต่อสู้แบบ arena ที่ออกแบบด้วยภาพประกอบคุณภาพสูง รองรับฟีเจอร์ HD Render Pipeline (HDRP) และมีระบบเซิร์ฟเวอร์ netcode ที่ใช้สถาปัตยกรรมส่งข้อมูลแบบใหม่ของ Unity เรียกได้ว่าแสดงศักยภาพของ Unity Engine ให้นักพัฒนาเห็นและทำตามได้ทันที
กูเกิลประกาศเริ่มใช้งานฟีเจอร์ใหม่สำหรับนักพัฒนาแอพบน Google Play Store ซึ่งหลายอย่างคือสิ่งที่ประกาศไว้ในงาน Google I/O 2018
GitHub ประกาศฟีเจอร์สำคัญชื่อ GitHub Actions มันคือระบบ workflow สำหรับนำโค้ดโปรแกรมบน GitHub ไปสู่การดีพลอยใช้งานจริง
GitHub Actions ถือเป็นการขยายบริการของ GitHub จากการรับฝากซอร์สโค้ดอย่างเดียว มาสู่บริการ Continuous integration and continuous delivery (CI/CD) ลักษณะเดียวกับคู่แข่งอย่าง GitLab แถมฟีเจอร์ Actions ยังสามารถนำไปใช้กับซอร์สโค้ดที่ไม่ได้เก็บอยู่บน GitHub ได้ด้วย
Sam Lambert หัวหน้าฝ่ายแพลตฟอร์มของ GitHub ให้สัมภาษณ์ว่า Actions ถือเป็นฟีเจอร์ใหญ่ที่สุดของ GitHub นับตั้งแต่ pull request เป็นต้นมา
กูเกิลเปิดให้ทดสอบ Android Studio 3.2 มาตั้งแต่งาน Google I/O 2018 ผ่านมาอีกหลายเดือนก็ได้เวลาของตัวจริง ของใหม่ในรุ่นนี้มีมากมาย
Flutter เฟรมเวิร์คสร้าง UI ข้ามแพลตฟอร์มด้วยภาษา Dart ออกรุ่น Release Preview 2 ซึ่งน่าจะเป็นตัวท้ายๆ ก่อนออกเวอร์ชัน 1.0 อย่างเป็นทางการ (Release Preview 1 ออกเมื่อเดือน มิ.ย.)
Flutter Release Preview 2 เน้นไปที่การปรับปรุง UI แบบ iOS (หรือที่ Flutter เรียกว่าธีม Cupertino) โดยเพิ่ม UI widget แบบใหม่ๆ และปรับปรุง widget เดิมให้สมบูรณ์ หน้าตาเหมือนกับ UI แบบเนทีฟของแอปเปิลมากขึ้น (เพราะ Flutter คือการวาด UI ขึ้นมาใหม่บนระบบของตัวเอง โดยเลียนแบบ UI ต้นฉบับ)
นอกจากนี้ Flutter ยังลดขนาดของแอพที่เขียนด้วย Flutter ลงได้อีก 30% โดยแอพตัวอย่างบน Android สามารถลดลงได้ 2MB ลงมาเหลือ 4.7MB
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code เป็นเวอร์ชัน 1.27 มาพร้อมการปรับปรุงหลายอย่าง
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในอัพเดตนี้คือการปรับหน้า Settings ของ VS Code จากเดิมที่ใช้วิธีแก้ไขไฟล์ settings.json มาเป็น GUI ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงการตั้งค่าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
แต่ถ้าท่านใดใช้แบบเก่าจนคุ้นชินแล้วก็ยังสามารถสลับกลับไปใช้หน้า Settings เดิมได้ได้ผ่านการตั้งค่าที่ใช้ชื่อว่า "workbench.settings.editor"
เมื่อประมาณปลายเดือนที่แล้ว Microsoft AI Lab ได้เปิดตัวโปรเจ็กต์ Sketch2Code เว็บแอพพลิเคชั่นที่จะมาช่วยย่นระยะเวลาการออกแบบ UI ด้วยการใช้ AI ช่วยแปลงภาพสเก็ตช์ wireframe ให้กลายเป็นโค้ด HTML ที่สามารถนำไปเปิดกับเบราว์เซอร์เพื่อใช้แสดงเป็นโปรโตไทป์หรือนำไปแก้ไขต่อได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำก็เพียงแค่อัพโหลดภาพที่ต้องการแปลงขึ้นไปยังเว็บ Sketch2Code ตัวเว็บแอพจะรันโมเดลที่ได้เตรียมไว้เพื่อคาดเดา HTML element ที่น่าจะเป็น รวมถึงแปลงลายมือเป็นข้อความให้ด้วย Text Recognition Service
ทีมวิศวกรของ Facebook เปิดตัว SapFix เครื่องมือช่วยดีบั๊กด้วยพลัง AI ที่ล้ำหน้าถึงขั้นแก้บั๊กหรือเขียนแพตช์ให้อัตโนมัติด้วยในบางกรณี
SapFix ถูกนำมาใช้งานจริงแล้วในกระบวนการพัฒนาแอพ Facebook Android โดย Facebook ระบุว่าเป็นครั้งแรกที่นำ AI มาใช้ตรวจหาบั๊กในงานที่ใหญ่ระดับนี้
การทำงานของ SapFix มักใช้คู่กับเครื่องมืออีกตัวของ Facebook คือ Sapienz ซึ่งทำหน้าที่รัน automate testing ให้ก่อน เมื่อ Sapienz พบบั๊กแล้วจะส่งต่อให้กับ SapFix ช่วยวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข ซึ่งเป็นไปได้หลายแบบ
มาถึงตอนนี้คงต้องยอมรับกันว่า Google Photos เป็นบริการฝากรูปที่มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย (สถิติที่กูเกิลเปิดเผยครั้งล่าสุดคือ 500 ล้านคนในปี 2017) ล่าสุดกูเกิลจึงเปิด Google Photos Library API เพื่อให้แอพภายนอกเข้ามาเรียกใช้งานรูปภาพในไลบรารีของผู้ใช้ได้ด้วย
การเปิด API ครั้งนี้ทำให้แอพสามารถเข้าถึงรูปภาพในไลบรารี ค้นหารูปภาพตามเงื่อนไขที่ต้องการ ใส่ฟิลเตอร์ให้รูปภาพ และแชร์ออกไปยังบริการอื่นๆ ตัว API เป็น RESTful ที่ส่งข้อมุลเป็น JSON และยืนยันตัวตนผ่าน OAuth 2.0
Google Photos Library API เปิดให้บริการฟรีแบบจำกัดปริมาณ 10,000 รีเควสต์ต่อวัน (ไม่นับปริมาณทราฟฟิก) และถ้าเป็นแอพยอดนิยมที่ต้องการใช้งานเพิ่ม ก็สามารถสมัคร partner program กับกูเกิลได้
นี่คงเป็นเรื่องดีๆ ที่จับต้องได้ชัดเจน หลัง ไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub ล่าสุดทีม Visual Studio Code ประกาศออกส่วนขยาย GitHub Pull Requests ให้ใช้งานกัน
หน้าที่ของมันก็ตรงตามชื่อ คือเราสามารถสั่ง pull request ซอร์สโค้ดใน GitHub ได้จากตัว Visual Studio Code เลย กระบวนการมีตั้งแต่ล็อกอินและยืนยันตัวตนบัญชี GitHub, ดูรายการ pull request, รีวิวและคอมเมนต์ได้จากตัว editor
เมื่อกลางเดือนสิงหาคมไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตให้ Visual Studio 2017 เป็นเวอร์ชัน 15.8
ของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเพิ่มฟีเจอร์แก้ไขโค้ดทีละหลายตำแหน่ง (Multi-caret editing) ที่อาจฟังดูไม่ใหม่ซักเท่าไหร่สำหรับท่านที่เคยใช้งาน code editor ตัวอื่นๆ มาก่อน แต่นี่นับว่าเป็นครั้งแรกของ Visual Studio รุ่นใหญ่ที่ได้เริ่มใส่ฟีเจอร์ดังกล่าวให้ใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้ง extension เพิ่มเติม
นักพัฒนาจะสามารถใช้คีย์ลัดเช่น Ctrl + Alt ร่วมกับคลิกซ้ายเพื่อเพิ่มเคอร์เซอร์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ก่อนเริ่มลงมือแก้ไขโค้ดตำแหน่งที่มีเคอร์เซอร์วางอยู่ไปพร้อมๆ กัน เข้าไปดูคีย์ลัดที่มีให้ใช้ทั้งหมดได้ที่เมนู Edit > Multiple Carets
ทิศทางของไมโครซอฟท์เรื่อง .NET ชัดเจนว่าต้องการย้ายจาก .NET Framework ไปสู่ .NET Core แต่การเปลี่ยนผ่านก็ยังไม่ง่ายนัก เพราะ .NET Core ยังขาดฟีเจอร์หลายอย่างที่เคยมีใน .NET Framework (เช่น การซัพพอร์ต WPF/WinForms ที่จะมาใน .NET Core 3.0)
อย่างไรก็ตาม สถานะของ .NET Core 2.x ในปัจจุบัน ถือว่าพร้อมแล้วสำหรับงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ทีมงาน Bing.com เวอร์ชันเว็บ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย .NET Framework ตัดสินใจย้ายงานมารันบน .NET Core 2.1 ได้สำเร็จด้วยดีในเดือนมิถุยายนที่ผ่านมา
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code ขยับเวอร์ชันเป็น 1.26 มาพร้อมกับของใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง
ของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเพิ่ม breadcrumb เข้ามาที่ด้านบนของ editor ช่วยแสดงตำแหน่งที่อยู่ของเคอร์เซอร์ปัจจุบันเทียบกับพาธของไฟล์และโครงสร้างของโค้ด และยังสามารถคลิกที่ breadcrumb เพื่อเลือกโฟลเดอร์, ไฟล์ หรือตำแหน่งของโค้ดที่ต้องการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เปิดใช้งานได้ที่เมนู View > Toggle Breadcrumbs
Firebase เครื่องมือช่วยสนับสนุนนักพัฒนาแอพแห่งยุคสมัย ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือ In App Messaging สำหรับให้นักพัฒนาส่งข้อความป๊อปอัปในแอพไปหาผู้ใช้งานได้ นักพัฒนาสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความ สี ภาพ ได้ตามต้องการ และวัดผลการคลิกลิงก์ของผู้ใช้ผ่านคอนโซลของ Firebase ได้ด้วย
ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ ที่ประกาศพร้อมกันได้แก่
เมื่อปลายเดือนที่เพิ่งผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Windows UI Library (WinUI) ชุดรวม UI สำหรับใช้พัฒนาแอพ UWP โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการสร้างแอพ UWP ให้รองรับ Windows 10 หลายเวอร์ชัน
นักพัฒนาจะสามารถเรียกใช้ XAML control บน WinUI เพื่อใช้สร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ของแอพ ไม่ต่างอะไรกับการใช้ XAML control บน SDK มาตรฐานที่มากับ Windows 10 แต่ละเวอร์ชัน
สิ่งที่ทำให้ WinUI ยืดหยุ่นกว่าเป็นผลจากการแยกส่วน UI ออกมาเป็นแพคเกจที่นักพัฒนาสามารถนำมาใช้งานได้ข้ามเวอร์ชัน ไม่ถูกผูกติดกับ SDK มาตรฐานที่มีความเก่า/ใหม่ต่างกันไปตามเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการอย่างแต่ก่อน
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์สำคัญของ .NET Core 3.0 คือรองรับ Windows Forms และ Windows Presentation Framework (WPF) ช่วยให้แอพเดสก์ท็อปที่เขียนด้วย .NET Framework สามารถนำมารันบน .NET Core ได้ (โดยปรับแก้เพียงเล็กน้อย)
เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ราบรื่น ไมโครซอฟท์จึงออก Portability Analyzer เครื่องมือช่วยวิเคราะห์แอพเก่าที่เป็น WinForms/WPF ว่าทำงานบน NET Core 3.0 ได้ดีแค่ไหน และมีการเรียกใช้ API ตัวใดบ้างที่ .NET Core 3.0 ยังไม่รองรับ
Portability Analyzer ทำงานได้ทั้งในโหมด GUI และคอมมานด์ไลน์ หลังวิเคราะห์แล้วจะสร้างรายงานออกมาเป็นไฟล์ Excel ให้นักพัฒนาตรวจสอบได้ว่า ทำงานเข้ากันได้กับ .NET ตัวไหนบ้าง
Spring Framework เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Java ที่ได้รับความนิยมมากตัวหนึ่ง ล่าสุดกูเกิลประกาศออก Spring Cloud GCP เวอร์ชัน 1.0 ซอฟต์แวร์ที่ช่วยเชื่อมต่อแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Spring เข้ากับบริการ Google Cloud Platform
โครงการนี้เป็นโครงการย่อยของ Spring Cloud ที่มีเป้าหมายเพื่อผลักดันการใช้ Spring บนคลาวด์ ก่อนหน้านี้โครงการ Spring Cloud มีตัวเชื่อมกับ AWS อยู่แล้ว ฝั่งกูเกิลจึงออกเวอร์ชัน GCP ที่มีลักษณะเดียวกันออกมา
สายสัมพันธ์ของกูเกิลกับบริษัท JetBrains เจ้าของ IntelliJ แนบแน่นมาตั้งแต่เริ่มทำ Android Studio ที่พัฒนาจาก IntelliJ IDEA
ล่าสุดกูเกิลจึงออกปลั๊กอินให้ IntelliJ IDEA ให้สามารถเชื่อมต่อกับบริการบน Google Cloud ได้โดยตรง ปลั๊กอินตัวนี้ชื่อว่า Cloud Tools for IntelliJ สามารถเชื่อมกับ API ของ Google Cloud ได้หลากหลาย เช่น ใช้ Cloud Translation API เพื่อแปลภาษาได้ เป็นต้น
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไป ยังสามารถเขียนโค้ดใน IntelliJ IDEA แล้วดีพลอยขึ้น App Engine ได้ทันที หรือจะฝากซอร์สโค้ดไว้ใน Google Cloud Source Repositories แล้วเรียกเข้าตัว IDEA ก็ได้เช่นกัน
ในงาน Microsoft Build 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว IntelliCode ฟีเจอร์ช่วยเติมโค้ดที่ใช้ความสามารถของ AI ซึ่งจะช่วยให้ Visual Studio แนะนำโค้ดได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม โดยในขณะนั้น IntelliCode ยังถูกจำกัดใช้งานไว้เพียงแค่ Visual Studio 2017 ที่เป็นรุ่นใหญ่และยังใช้ได้กับภาษา C# เท่านั้น
ตอนนี้ก็ได้เวลาของนักพัฒนาสายโอเพ่นซอร์สกันบ้าง เมื่อไมโครซอฟท์ได้ดำเนินการเพิ่มฟีเจอร์ IntelliCode ให้กับ Visual Studio Code เป็นที่เรียบร้อย โดยมาในรูปแบบของส่วนเสริมให้นักพัฒนาดาวน์โหลดไปติดตั้ง สามารถใช้กับภาษา Python ได้เป็นภาษาแรก
กูเกิลใช้เวทีงาน Google Cloud Next '18 เปิดตัวบริการใหม่ Cloud Build สำหรับการทำ Continuous Integration/Continuous Delivery (CI/CD)
Cloud Build เป็นบริการในตระกูล Google Cloud Platform ที่ช่วยให้เราคอมไพล์ซอฟต์แวร์และดีพลอยอย่างอัตโนมัติ เชื่อมโยงจากซอร์สโค้ดของเราบน GitHub, Bitbucket หรือ Cloud Source Repositories ของกูเกิลเอง จัดการผ่านเครื่องมืออย่าง Maven/Gradle หรือจะรันในคอนเทนเนอร์ Docker ก็ได้
Cloud Build ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลหากเกิดปัญหาต่างๆ ระหว่าง build งาน มีระบบ analytics ช่วยให้เราวิเคราะห์สาเหตุได้เร็วขึ้น
กูเกิลปล่อย Android Emulator ตัวใหม่ โดยได้ปรับปรุงให้สามารถรัน Android Virtual Device (AVD) สถาปัตยกรรม x86 บนเครื่องที่ใช้ซีพียูจากค่าย AMD ด้วยการใช้อีมูเลเตอร์ซึ่งสามารถเร่งความเร็วระดับฮาร์ดแวร์ผ่านแพลตฟอร์ม Hyper-V ของไมโครซอฟท์
การปรับปรุงข้างต้นจะช่วยให้นักพัฒนามีตัวเลือกมากขึ้น จากเดิมที่ต้องเลือกรัน AVD บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู Intel เท่านั้น ถึงจะสามารถทดสอบแอพ Android บนเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows ได้อย่างไหลลื่นและมีประสิทธิภาพ