Flutter เฟรมเวิร์คสำหรับสร้าง UI ด้วยภาษา Dart ของกูเกิล ประกาศออกรุ่น Release Preview 1 ใกล้เป็นเวอร์ชัน 1.0 เข้าไปทุกที
Flutter เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับสร้าง UI แบบเนทีฟข้ามระบบปฏิบัติการ (เขียนเป็น Dart แล้ว Flutter แปลงเป็นเนทีฟให้) ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่งออกรุ่น Beta 1 ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
ทีมงาน Flutter ระบุว่าหลังงาน Google I/O 2018 มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มถึง 50% และมีอัตราการให้ดาวใน GitHub สูงขึ้นมาก การออกรุ่น 1.0 ในอีกไม่ช้าย่อมทำให้คนที่เริ่มสนใจ Flutter มีความมั่นใจใช้กับงานที่เป็น production ตามมาด้วย ทุกวันนี้มีบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Alibaba และ Groupon นำไปใช้งานแล้ว
กูเกิลประกาศจับมือกับ Unity เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ สร้างบริการและเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สร้างเกมมากขึ้น
กูเกิลใช้คำว่า "Connected Games" บ่งชี้ถึงเกมยุคปัจจุบันที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ครอบคลุมทั้งเกมแบบเล่นคนเดียวและเกมมัลติเพลยเยอร์
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code ขยับเลขรุ่นเป็น 1.24 มาพร้อมกับการปรับปรุงและความสามารถใหม่ให้เริ่มทดลองใช้งานหลายอย่าง
ของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการปรับปรุงให้ VS Code สามารถเปิด workspace เดียวกันได้ทีละหลายหน้าต่าง ผ่านคำสั่ง Duplicate Workspace in New Window ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องการใช้งาน VS Code บนจอมอนิเตอร์มากกว่าหนึ่งจอ
แม้โลกไอทีองค์กรย้ายมาสู่ยุคคลาวด์เรียบร้อยแล้ว แต่โลกของคลาวด์เองก็ยังมีตัวเลือกมากมาย (แม้ในค่ายเดียวกันเอง) ผู้ใช้อาจสับสนระหว่างการเช่า VM ทั้งตัวหรือรันใน Container รวมถึงบริการแนวคิดใหม่ๆ อย่าง Serverless ที่ไม่ต้องเปิดเครื่องรันค้างไว้ตลอดเวลา
กูเกิลเขียนบล็อกอธิบายข้อแตกต่างเหล่านี้ของบริการในเครือ Google Cloud Platform (GCP) ทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออก Visual Studio 2019 แล้ว ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของฟีเจอร์ที่ชัดเจน แต่ภาพรวมก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน การทำงานร่วมกันระหว่างทีมที่ดีขึ้น (เช่น Live Share) และความฉลาดที่ช่วยงานได้มากขึ้น (เช่น IntelliCode)
Visual Studio 2019 ยังไม่มีกำหนดการออกที่ชัดเจน (ตามสูตรปกติของไมโครซอฟท์คือภายในปีนี้) แต่รุ่นพรีวิวจะสามารถติดตั้งขนานไปกับ Visual Studio 2017 ได้เลย
สิ่งที่แอปเปิลไม่ประกาศบนเวที Keynote ของงาน WWDC 2018 (แต่คาดเดาได้ไม่ยาก) คือ Xcode เวอร์ชันใหม่ที่ขยับขึ้นหลัก 10.0 แล้ว
ของใหม่ใน Xcode 10 ได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก .NET Core 2.1 เป็นรุ่นอัพเดตย่อยของ .NET Core 2.0 ที่ออกเมื่อเดือนสิงหาคม 2017
ความพิเศษของ .NET Core 2.1 คือมันจะเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ของสาย 2.x มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 3 ปี ไมโครซอฟท์อธิบายว่าแผนเดิมคือจะใช้ .NET Core 2.0 เป็นรุ่น LTS แต่สุดท้ายเปลี่ยนใจ เพราะอยากรอฟีเจอร์ใหม่ของ .NET Core 2.1 เรื่องจัดการเวอร์ชันของไฟล์ในโปรเจคต์ (platform dependencies) เพื่อให้รุ่น LTS เป็นรุ่นที่แก้ปัญหานี้เรียบร้อยแล้ว
.NET Core 2.1 เข้ากันได้กับ .NET Core 2.0 ซึ่งไมโครซอฟท์แนะนำให้คนที่ใช้ 2.0 อยู่แล้วอัพเกรดมาเป็น 2.1 ได้เลย
OpenStack โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบโอเพ่นซอร์สได้แยกโครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม CI/CD (continuous integration and continuous delivery) ที่ชื่อว่า Zuul ออกมาเป็นโครงการอิสระอย่างเป็นทางการพร้อมกับการออกเวอร์ชัน 3
Zuul นั้นเป็นโครงการพัฒนาที่เน้นทำระบบการรวม, build และทดสอบการเปลี่ยนแปลงของโปรเจค โดยโครงการ Zuul นี้อยู่ภายใต้ OpenStack ซึ่งแม้ว่าจะแยกโครงการออกมาแล้วแต่ตัวโครงการจะยังอยู่ภายใต้การดูแลของ OpenStack Foundation เหมือนกับ Kata Containers ซึ่งเป็นโครงการที่เคยอยู่ภายใต้ OpenStack และแยกออกมาก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ VS Code ขยับเลขเวอร์ชันเป็น 1.23 มาพร้อมกับการปรับปรุงหลายอย่าง
โดยมีของใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการเพิ่มสีไฮไลท์ให้กับเส้นไกด์ย่อหน้า ช่วยให้นักพัฒนาไล่ดูจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโค้ดภายใต้ block เดียวกันได้สะดวกขึ้น
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา (2017-2018) กูเกิลยกเครื่องหลายส่วนของแพลตฟอร์ม Android ไปเยอะมาก ในระดับที่ว่าตำราพัฒนาแอพ Android ที่อายุเก่าเกิน 2-3 ปีอาจล้าสมัยไปหมดแล้ว แพลตฟอร์ม Android ในปี 2018 มีความแตกต่างจาก Android ปี 2008 แบบที่เรียกได้ว่าไม่เหมือนกันเลยอย่างสิ้นเชิง
ในงาน Google I/O 2018 มีหัวข้อที่พูดถึงประเด็นนี้โดยตรง ผู้นำเสนอเป็นคนที่โลก Android คุ้นหน้ากันมานานอย่าง Romain Guy และ Chet Haase ใช้คำว่าตอนนี้เราเข้าสู่ "Android ยุคใหม่" (Modern Android) แล้ว ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่สอนกันมาในหมู่นักพัฒนาอาจใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
AWS เปิดตัว Amazon Sumerian เครื่องมือสร้างโมเดล 3D สำหรับงาน VR/AR เมื่อปลายปีที่แล้ว ล่าสุดมันเข้าสถานะ GA (generally available) เปิดบริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป
จุดเด่นของ Amazon Sumerian คือมันทำงานผ่านเบราว์เซอร์ได้ทั้งหมด ไม่ต้องลงโปรแกรมใดๆ แถมยังสามารถเชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ของ AWS ไม่ว่าจะเป็น Amazon Lex, Polly, AWS Lambda, AWS IoT, Amazon DynamoDB ช่วยให้การสร้างโปรแกรม VR/AR ยุคใหม่บนคลาวด์ทำได้รวดเร็วขึ้นด้วย
ผลงานที่ได้จาก Sumerian สามารถแปลงได้ทั้งเป็นเว็บ (ผ่าน WebGL/WebVR) หรือจะเป็นแอพ VR ใช้บนแว่นยี่ห้อดังๆ ทั้ง Oculus/HTC Vive รวมถึงเป็นแอพ AR บน Android/iOS ได้ด้วย
ในงาน Build 2018 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ประกาศแผนการออก .NET Core 3.0 และ .NET Framework 4.8 ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการพัฒนาแอพเดสก์ท็อปเดิมให้ทันสมัย โดยนอกเหนือจากการทำให้ .NET Core 3 รองรับการรันแอพเดสก์ท็อปแบบเก่าอย่าง WPF และ Windows Forms ได้ในข่าวก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์ยังได้ประกาศเพิ่มของใหม่อีกอย่างให้กับการพัฒนาแอพเดสก์ท็อปในชื่อ UWP XAML Islands ซึ่งเป็นการปรับปรุงให้แอพพลิชั่นที่พัฒนาด้วยชั้น UI แบบเก่าทั้ง WPF, Windows Forms และ Win32 สามารถเรียกใช้ชุด UI Control ใหม่ๆ ที่ UWP มีให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเล่นมีเดีย, แผนที่, Ink Canvas ไปจนถึง Edge WebView
เราเริ่มเห็นกูเกิลทำตลาด Android Go มาสักระยะแล้ว (มือถือที่ขายในบ้านเราแล้วคือ Nokia 1) ในงาน Google I/O 2018 ก็มีหัวข้อหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ
Android Go เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ Next Billion Users ของกูเกิล (ชื่อภายในเรียกกันว่า NBU) เน้นเจาะตลาดประเทศกำลังพัฒนา ที่คนใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น
ทิศทางของ Chrome OS และ Android เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่มีอุปกรณ์ Chrome OS อาจยังมีไม่เยอะมากนัก นักพัฒนาที่ต้องการนำแอพ Android ไปรันทดสอบใน Chrome OS จึงมีอุปสรรคพอสมควร
ล่าสุดปัญหานี้ถูกแก้ไขแล้ว เพราะกูเกิลเพิ่ม Chrome OS Emulator เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Android Studio เรียบร้อยแล้ว
การใช้งานเราต้องมี Android Studio ติดตั้งพร้อมกับ Android Emulator ก่อน จากนั้นค่อยติดตั้งส่วนขยาย Chrome OS SDK add-ons เข้ามา แล้วค่อยสร้าง virtual device ใหม่ขึ้นมาเป็น Pixelbook สำหรับทดสอบ
กูเกิลปล่อย Android Studio 3.2 ให้ทดสอบพร้อมของใหม่ๆ ที่ประกาศในงาน Google I/O 2018 โดยสถานะตอนนี้ยังเป็นรุ่น canary และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเป็น stable
ของใหม่ที่มีใน Android Studio 3.2 ได้แก่ ปรับเวอร์ชันมาใช้ IntelliJ IDEA 2018.1.1 เป็นฐาน, Slices, AndroidX, Android Jetpack, App Bundle
ฟีเจอร์ใหญ่ที่น่าสนใจคือ Navigation Editor ช่วยให้เราเห็นภาพการนำทาง (navigation) ในแต่ละหน้าจอของแอพ ว่ากดจากหน้าจอไหนแล้วจะไปโผล่หน้าจอไหน
ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจใน Android P สำหรับนักพัฒนาแอพคือ Slices และ App Actions ที่มาพร้อมแนวคิดใหม่ว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้งานแอพทั้งตัวก็ได้
Slices และ App Actions ออกแบบมาเพื่ออนาคตที่เราทำงานต่างๆ ผ่าน Google Assistant มากกว่าเรียกแอพขึ้นมาตามปกติ ทำให้นักพัฒนาสามารถ "หั่น" (slice) หน้าจอบางส่วนมาแสดงในหน้าจอของ Google Assistant ได้
กูเกิลเปิดตัว Android Jetpack เป็น "ชุด" เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา Android ที่คอยอำนวยความสะดวกให้การพัฒนาแอพสะดวกขึ้น
Jetpack ไม่ใช่ของใหม่ซะทั้งหมด หลายอย่างมีในโลกของ Android มานานแล้ว (เช่น Fragment/Layout) แต่ถูกนำมาจัดชุดใหม่ให้อยู่ภายใต้แบรนด์เดียว แต่ก็มีของใหม่บางอย่างเพิ่มเข้ามา เช่น Kotlin Extension (KTX) หรือ Slices ที่เป็นแนวคิดใหม่ใน Android P
Android Jetpack ประกอบด้วยคอมโพเนนต์ (components) เครื่องมือ (tools) และคำแนะนำในเชิงสถาปัตยกรรม (architectural guidance) ถ้าอิงตามการแบ่งหมวดของกูเกิลเองจะมี 4 หมวดคือ พื้นฐาน (fundamental) สถาปัตยกรรม (architecture) พฤติกรรม (behavior) และ UI
กูเกิลโชว์เทคนิคใหม่สำหรับการจัดแพ็กเกจ Android ช่วยให้ขนาดไฟล์ APK ลดลงได้สูงสุดถึง 50%
เทคนิคใหม่เรียกว่า Android App Bundle หลักการของมันคือ Dynamic Delivery ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์เฉพาะส่วนที่ต้องใช้เท่านั้น ไม่ต้องโหลด APK ทั้งก้อนที่มีส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน (เช่น ไฟล์ที่คอมไพล์มาสำหรับสถาปัตยกรรมอื่น) แถมยังสามารถดาวน์โหลดส่วนอื่นเข้ามาภายหลังได้เมื่อต้องใช้งาน
ในมุมของนักพัฒนาก็ทำงานง่ายขึ้น เพราะสร้างไฟล์ทั้งหมดชุดเดียว สร้าง APK ไฟล์เดียว ไม่ต้องสร้าง APK หลายชุดสำหรับการใช้งานแต่ละแบบ ที่เหลือนั้น Google Play จัดการต่อให้เราเอง
ในยุคสมัยที่อะไรๆ ก็ชื่อลงท้ายด้วย X กูเกิลเองก็เลยมี AndroidX กับเขาด้วย แต่มันไม่ใช่ของใหม่ทั้งหมด เพราะเป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Android Support Library ที่นักพัฒนาแอพส่วนใหญ่ใช้งานอยู่แล้ว
ชื่อ AndroidX มาจากคำว่า Android extension libraries ส่วนเหตุผลที่ต้องมีชื่อใหม่ก็เพราะว่าไลบรารีในชุด Android Support Library งอกมาเพิ่มเรื่อยๆ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา จนทำให้นักพัฒนาเริ่มสับสนว่าต้องเรียกใช้ไลบรารีตัวไหนกันแน่ (ที่ชื่อดันแตกต่างกันด้วย)
กูเกิลเลยจัดระเบียบชื่อทั้งหมดใหม่ให้อยู่ภายใต้ชื่อ androidx ดังนั้นเวลาอ้างอิง namespace ในโค้ดก็จะขึ้นต้นด้วย androidx.* แทนของเดิมที่เป็น android.* (แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่ย้ายไปอยู่ใต้ androidx)
ตัวอย่าง
ในงาน Microsoft Build 2018 มีประกาศเล็กๆ ที่น่าสนใจเพราะแอพที่ไม่เคยอัพเดตมานานแล้วอย่าง Notepad จะได้ฟีเจอร์ใหม่กับเขาด้วย
ฟีเจอร์ที่ว่าคือ Notepad จะสามารถตัดบรรทัดแบบ Linux/Unix ได้เป็นครั้งแรก ส่งผลให้การใช้ Notepad เปิดไฟล์ข้อความที่สร้างจากระบบปฏิบัติการฝั่งยูนิกซ์จะไม่ติดกันเป็นพรืดแล้ว
นักพัฒนาที่ใช้ Visual Studio คงรู้จักฟีเจอร์ช่วยเติมโค้ด IntelliSense กันเป็นอย่างดี ล่าสุดไมโครซอฟท์ยกระดับมันอีกขั้น และเปลี่ยนชื่อเป็น IntelliCode
จุดแตกต่างสำคัญของ IntelliCode คือไมโครซอฟท์เทรน AI ให้อ่านโค้ดคุณภาพระดับ 100 ดาวบน GitHub กว่า 2,000 โครงการเพื่อศึกษาว่าโค้ดที่ดีเป็นอย่างไร จากนั้นนำโมเดลที่เรียนได้มาประยุกต์ใช้กับโค้ดที่เรากำลังเขียนอยู่
สิ่งที่ IntelliCode จะทำให้เราคือช่วยแนะนำโค้ดจาก API อย่างแม่นยำมากขึ้น เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ของโค้ดในแต่ละบรรทัดที่แตกต่างกันออกไป แถม IntelliCode จะยังช่วยเราเขียนคอนฟิกไฟล์ .editorconfig ให้เหมาะกับสไตล์การเขียนโค้ดของเรา เพื่อให้โค้ดออกมาเป็นระเบียบและสม่ำเสมอด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออก .NET Core 3.0 ที่มาพร้อมฟีเจอร์สำคัญคือรองรับแอพแบบเดสก์ท็อป และการออก .NET Framework 4.8 ที่ทำงานคู่ขนานกันไป
สำหรับคนที่ไม่ได้ตาม .NET Core คือ .NET เวอร์ชันโอเพนซอร์สที่รองรับฟีเจอร์บางส่วนของ .NET Framework เดิม แต่สามารถทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม (รองรับแมคและลินุกซ์ด้วย) ที่ผ่านมา .NET Core เน้นการใช้งานแอพพลิเคชันประเภท ASP.NET, คอมมานด์ไลน์ และแอพเดสก์ท็อปแบบ UWP เท่านั้น
ส่วนใน .NET Core 3 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะรองรับแอพเดสก์ท็อปแบบเก่าอย่าง Windows Forms และ Windows Presentation Framework (WPF) ด้วย ทำให้ .NET Core จะสามารถรันแอพเดสก์ท็อป .NET รุ่นเก่าๆ ได้อย่างสมบูรณ์ (WPF และ WinForms ใช้ได้เฉพาะบนวินโดวส์)
Chainfire นักพัฒนาชื่อดังในโลกของ Rooted Android ผู้สร้างชื่อจากแอพ SuperSU (แต่ก็ยังมีผลงานทำแอพอื่นๆ อีกมาก) ประกาศเลิกทำงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการ root เครื่องแล้ว
Chainfire ประกาศหยุดพักงานเกี่ยวกับ Android และ SuperSU เมื่อครึ่งปีก่อน เพื่อทบทวนว่าเขาอยากทำอะไรต่อไป หลังเวลาผ่านมาครึ่งปี เขาพบว่าตัวเองไม่อยากกลับมาทำงานเดิมๆ ต่ออีก จึงตัดสินใจประกาศหยุดยุ่งเกี่ยวกับงานเหล่านี้
ผลคือในอีกไม่ช้า แอพบางตัวของ Chainfire จะหายไปเลย บางตัวจะขึ้นข้อความเตือนว่าหยุดพัฒนาและไม่อัพเดตแล้ว แต่เขาก็ยังไม่ได้บอกรายละเอียดว่าตัวไหนบ้าง
Chainfire ระบุว่าตอนนี้เขากำลังทำโครงการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Android และไม่เปิดเผยว่าเป็นโครงการอะไร
ไมโครซอฟท์ออก .NET Framework 4.7.2 อัพเดตย่อยของ .NET Framework (ไม่พัฒนาฟีเจอร์ใหม่แล้ว ย้ายไปอยู่ใน .NET Core) โดยเวอร์ชัน 4.7.2 เป็นเวอร์ชันที่ถูกผนวกมาพร้อมกับ Windows 10 April 2018 Update ด้วย
ของใหม่ (บางส่วน) ในเวอร์ชันนี้ได้แก่