โครงการ Cardboard ของกูเกิลเปลี่ยนจากของแถมในงาน Google I/O จนกลายเป็นโครงการจริงจัง ตอนนี้กูเกิลก็เริ่มบุกตลาดการศึกษาอีกครั้งด้วยโครงการ Expeditions Pioneer Program ที่เปิดให้ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษาจากในห้องเรียน โดยเปิดให้โรงเรียนใน สหรัฐฯ, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, และบราซิล สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้ว หลังจากเปิดตัวโครงการมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
โครงการนี้ประกอบด้วยสามส่วน คือ เนื้อหา, แอปพลิเคชั่น, และฮาร์ดแวร์
ส่วนเนื้อหาทางกูเกิลจะร่วมมือกับสถานที่ต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บภาพสำหรับทำ VR จากสถานที่จริง ตอนนี้มีองค์กรที่เข้าร่วมแล้ว เช่น American Museum of Natural History, Planetary Societ, David Attenborough
อินเดียประกาศโครงการ Electronics@School พัฒนาความสามารถด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ให้กับเด็ก โดยเตรียมกระจายคอมพิวเตอร์และชุดอิเล็กทรอนิกส์ให้กับโรงเรียนทั่วรัฐเกรละ (Kerala) รวมประมาณ 6,000 โรงเรียน
โครงการอีกส่วนจะแจกชุด Raspberry Pi ให้กับนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกอีกทั้งหมด 10,000 ชุด
ชุดคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะถูกใช้เสริมกับวิชาฟิสิกส์ชั้นม.3 และม.4 โดยก่อนหน้านี้หลักสูตรใหม่ได้รับการรับรองไปก่อนหน้านี้แล้ว และเริ่มทดสอบการเรียนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมากับนักเรียน 2,500 คน เป้าหมายของโครงการนี้คือสร้างเยาวชนที่มีความสามารถทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มอีก 40,000 คน
บอร์ดคอมพิวเตอร์จิ๋วเพื่อการศึกษา micro:bit ของ BBC มีกำหนดการแจกจ่ายหนึ่งล้านเครื่องภายในปีนี้ ตอนนี้ทางโครงการก็ออกมาประกาศเลื่อนแผนการออกไป เพราะพบปัญหาในส่วนจ่ายพลังงาน
กำหนดการตอนนี้ ครูจะเริ่มได้รับบอร์ดภายในปลายปีนี้ และนักเรียนจะได้รับบอร์ดหลังปีใหม่ โดยหลังจากเริ่มแจกจ่าย ทาง BBC เองก็จะมีรายการเกี่ยวกับบอร์ด micro:bit ทั้งช่องทางเว็บและทีวีเพื่อให้มีผลต่อการศึกษาให้มากที่สุด
Microsoft มีแผนมอบเงินจำนวน 75 ล้านดอลลาร์ ให้โครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้มีความสำคัญมากขึ้นในโรงเรียน
Satya Nadella ซีอีโอ Microsoft ได้ขึ้นพูดในงานสัมมนา Dreamforce ที่จัดขึ้นใน San Francisco โดยบอกว่าการมอบเงิน 75 ล้านดอลลาร์เป็นส่วนหนึ่งในโครงการของ Microsoft ที่ชื่อว่า YouthSpark โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์
เงินจำนวน 75 ล้านดอลลาร์นี้ Microsoft จะค่อยๆ เฉลี่ยสนับสนุนให้กับโครงการต่างๆ ที่ถูกคัดเลือกเป็นเวลา 3 ปี จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือต้องการให้วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมีความสำคัญเท่ากับวิชาคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์
ให้หลังการปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจเพื่อเชื่อมบริการออฟไลน์ที่มีอยู่แล้ว ให้เบ่งบานบนโลกออนไลน์มากขึ้นของ Baidu ตอนนี้ก็เริ่มเห็นผลบ้างแล้วกับบริการที่กำลังปั้นอย่าง Zuoyebang ที่เพิ่งได้รับเงินลงทุนรอบแรก (Series A) จาก Sequoia China และ Legend Capital แต่ไม่ได้ระบุเม็ดเงินลงทุนมาด้วย
Zuoyebang เป็นหนึ่งในบริการที่เดินตามแนวทางการเปิดระบบให้ผู้ใช้ และธุรกิจภายนอกเข้ามาร่วมใช้บริการ โดยเริ่มต้นจากการเป็นส่วนให้บริการถามตอบด้านการศึกษาในแพลตฟอร์มถามตอบของ Baidu อย่าง Baidu Zhidao ก่อนจะขยับไปเน้นให้บริการแยก และเพิ่มการจับคู่ผู้ใช้ที่มองหาที่ปรึกษาอยู่ด้วย
Udacity เป็นหนึ่งในคอร์สเรียนออนไลน์ที่ดี และมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็ทำให้ทาง Google แนะนำให้เป็นตัวเลือก และยังมีการจัดคอร์ส วิชา Android Developer พร้อมทั้งประกาศนียบัตร Nanodegree มอบให้ สำหรับผู้เรียนจบหลักสูตร
ในตอนนี้ ทาง Udacity ก็ได้จัดโปรโมชั่น "คืนเงินค่าเรียนให้ เมื่อจบหลักสูตร" (Get half your tuition back when you graduate) โดยมีเงื่อนไขดังนี้
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทาง BBC ประกาศบอร์ด micro:bit โครงการพัฒนาคอมพิวเตอร์จิ๋วเพื่อการศึกษา ตอนนี้โครงการก็ออกบอร์ดรุ่นจริงมาแล้ว
บอร์ดรุ่นจริง มีฮาร์ดแวร์ดังนี้
ใครที่ติดตามข่าวของ Minecraft คงเคยได้ยินการสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านบล็อกจัตุรัส จนกระทั่งมีอาจารย์บางคนถึงกับนำเอา Minecraft ไปใช้ประกอบการสอนมาแล้ว และในวันนี้ฝั่งไมโครซอฟท์ที่เป็นเจ้าของ Minecraft ก็ได้เปิดโครงการ Minecraft in Education เพื่อนำเกมนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง
การเข้ามาในห้องเรียนของ Minecraft ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกัน แก้ไขปัญหา และฝึกความเป็นผู้นำได้ผ่านตัวเกมที่รองรับการสร้างระบบที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ที่ว่ามา รวมถึงสามารถประยุกต์ไปใช้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ตัวนักเรียนสามารถมีส่วนร่วมได้อีกด้วย
อเมซอนพยายามบุกตลาดครอบครัวมาตั้งแต่ Kindle Fire ตอนนี้ก็เปิดตัวชุด Kindle for Kids Bundle ที่รวมเอาทั้ง Kindle รุ่นไม่มีโฆษณามาพร้อมกับกรอบสี และประกันอุบัติเหตุนานสองปีเต็ม
ตัวซอฟต์แวร์มีการปรับแต่งสำหรับเด็ก เมื่อเด็กกดหาความหมายจะรวมเข้าไว้เป็นคลังคำศัพท์ให้มาท่องศัพท์ได้ภายหลัง ระบบจัดการโดยผู้ปกครองผ่าน Kindle FreeTime สามารถเลือกระดับอายุที่อนุญาตให้อ่านหนังสือ, บล็อคเว็บที่ไม่เหมาะกับวัย, และตั้งเป้าหมายการอ่านหนังสือแต่ละเล่มแล้วมี archievement ให้เด็กๆ เก็บสะสม
ราคาทั้งชุด 99 ดอลลาร์เท่าๆ กับ Kindle รุ่นธรรมดาแบบไม่มีโฆษณา
เพื่อรองรับกับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในงาน Google I/O กูเกิลได้ประกาศความร่วมมือกับ Udacity เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์เพื่อเปิดคอร์สสอนการพัฒนา Android เต็มรูปแบบแล้ว
คอร์ส Android บน Udacity จะกินระยะเวลา 6-9 เดือน โดยจะสอนตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเรียนรู้ส่วน front-end, การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเขียนแอพ ซึ่งจะถูกตรวจโดยนักพัฒนาในเครือข่ายมากกว่า 300 คน
สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้จะได้รับ nanodegree (คล้ายกับใบประกาศ เล็กกว่าอนุปริญญา) จากทั้ง Udacity และกูเกิล โดยค่าใช้จ่ายของคอร์สจะอยู่ที่เดือนละ 200 เหรียญ
ครอบครัวของ Alex Aylesbury และ Clare Jarvis กับลูกทั้งสามคนเป็นครอบครัวทำงานที่บ้านเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับครอบครัว พวกเขาทำเว็บไซต์ GurgleApps เพื่อโปรโมทแอพพลิเคชั่นและเขียนบล็อกเล่าเรื่องราวต่างๆ ส่วนหนึ่งของเว็บไซต์คือส่วน Tutorial สอนเทคนิคการทำงานแบบต่างๆ เนื่องจากเป็นครอบครัวโปรแกรมเมอร์ ตอนแรกของโพสในหมวดนี้จึงไม่ธรรมดา
ลูกสาวของ Aylesbury สอนการใช้ลินุกซ์พื้นฐานด้วย Raspberry Pi ในห้องนอนของเธอ รีโมตเข้าไปยังเครื่องของพ่อผ่านคำสั่ง SSH จากนั้นหาว่าพ่อของเธอกำลังใช้โปรแกรมอะไรอยู่ แล้วสั่ง kill -9
MIPS ประกาศเปิดซอร์สซีพียู MIPSfpga โค้ดออกแบบซีพียูระดับ RTL พร้อมสำหรับการคอมไพล์ลงบอร์ด FPGA ทั้ง Altera และ Xilinx ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถสำรวจสถาปัตยกรรมภายในของซีพียูได้ทุกส่วน ดัดแปลงและแก้ไขเพื่อการทดลองเพื่อการศึกษาได้
MIPSfpga จะเป็นสัญญาอนุญาตเพื่อการศึกษา ทาง Imagination มีเงื่อนไขการใช้งานคือห้ามนำไปผลิตเป็นซิลิกอนโดยตรง (ต้องทดสอบผ่าน FPGA เท่านั้น) และหากต้องการจดสิทธิบัตรการดัดแปลงแก้ไข จะต้องได้รับอนุญาตจากทาง Imagination ก่อน แต่หากจะทดลองเพื่อการเรียนในห้องเรียนก็สามารถทำได้แทบทุกอย่าง
โค้ดชุดแรกจะเป็นซีพียู MIPS ที่ดัดแปลงในตระกูล MIPS microAptiv ที่ใช้ในชิป PIC หลายรุ่น
แม้จะยังไม่วางจำหน่ายจริงสำหรับ Surface 3 แต่ไมโครซอฟท์ก็เริ่มออกโปรโมชั่นเอาใจสถานศึกษาแล้ว โดยทางบริษัทประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่น) ว่าจะลดราคาของ Surface 3 ให้กับสถานศึกษาที่สั่งซื้อไปใช้งาน โดยลดราคาทั้งตัวเครื่องและอุปกรณ์เสริมอย่าง Type Cover และ Surface Pen ลง 10%
นอกจากนั้นแล้ว บริษัทยังประกาศรุ่นใหม่ที่สั่งได้เฉพาะกับสถานศึกษาโดยเฉพาะ ซึ่งความแตกต่างจากรุ่นปกติคือใช้แรม 2 GB และมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลอยู่ที่ 32 GB โดยไม่ได้ประกาศราคาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ยังไม่มีการระบุว่าโปรโมชั่นนี้จะมีในประเทศใดบ้าง แต่ที่ประกาศพันธมิตรสถานศึกษามาแล้ว มีทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลียครับ
LinkedIn เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์สำหรับคนทำงาน ประกาศเข้าซื้อกิจการของ Lynda.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์การเรียนผ่านออนไลน์ (แบบเดียวกับ Coursera, Udemy) ด้วยมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ประมาณ 48,000 ล้านบาท) เพื่อขยายฐานกิจการของตัวเองให้ไปไกลกว่าบริการดั้งเดิม
การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวนี้จะใช้เงินสดประมาณร้อยละ 52 ของมูลค่าการเข้าซื้อ ในส่วนที่เหลือจะเป็นหุ้น ซึ่งทาง LinkedIn คาดว่าการเข้าซื้อกิจการจะเสร็จสิ้นในช่วงสิ้นไตรมาสนี้
ข่าวการเข้าซื้อดังกล่าว ทำให้ราคาหุ้นของ LinkedIn เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 โดยไปปิดอยู่ที่ 256.14 ดอลลาร์ สรอ. ต่อหุ้น (ประมาณ 8,300 บาท) ซึ่งเป็นราคาที่มากกว่าปีที่แล้วอยู่ร้อยละ 12
Microsoft Student Partner (MSP) คือโครงการที่ไมโครซอฟท์คัดเลือกนักศึกษาที่มีความสนใจที่จะเรียนรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เข้ามาร่วมงานกับไมโครซอฟท์และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ จากไมโครซอฟท์ และนำประสบการณ์ความรู้ไปแบ่งปันให้เพื่อนๆ และอาจารย์ในสถาบัน
สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกคณะ ที่มี passion ในเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไมโครซอฟท์รวมทั้งมีความสนใจในมิติของการตลาดและการบริหารจัดการ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ MSP FY16 ได้ โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 (เวลา 23.59 น.)
ขั้นตอนการสมัครมีดังนี้
ร.ศ.นราพร จันทร์โอชา ภรรยาของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ไปร่วมงานเสวนา "เสริมสร้างทักษะแห่งอนาคต – ทักษะการแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง" ที่จัดโดยบริติช เคาน์ซิล และไมโครซอฟท์ หัวข้องานเป็นการเสวนาถึงทักษะเทคโนโลยีและอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดต้องอาศัยทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานนี้ร.ศ.นราพร ในฐานะรองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ระบุว่า "เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานและใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะดิจิทัล การคิดเชิงวิพากษ์ และการแก้ปัญหา"
BBC ประกาศโครงการ Micro Bit คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อการศึกษา เตรียมแจกจ่ายให้กับเด็กมัธยมหนึ่งทุกคนทั่วประเทศ รวมหนึ่งล้านชุด พร้อมคู่มือประกอบการเรียนการสอน ซอฟต์แวร์สำหรับเขียนโปรแกรมผ่านพีซี รองรับภาษา Touch Develop, Python, และ C++
แม้ว่า Micro Bit จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ตัวมันเองก็เป็นคอมพิวเตอร์โดยสมบูรณ์ มีหน้าจอไฟ LED และปุ่มสองข้างทำให้สามารถสร้างเกมง่ายๆ มาเล่นได้
สำหรับโครงการ Office เพื่อการศึกษานั้น ก่อนหน้าได้เปิดให้นักเรียนตรวจสอบสิทธิ ลงทะเบียน และดาวน์โหลด Office ไปติดตั้งและใช้ได้ในอเมริกาเท่านั้น ตอนนี้ Microsoft ได้ขยายโครงการนี้ออกไปทั่วโลก
วิธีตรวจสอบสิทธิและลงทะเบียน Office เพียงเข้าไปที่หน้าเว็บ Office in Education (สำหรับครู, สำหรับนักเรียน) และกรอกที่อยู่อีเมลของโรงเรียน ระบบจะตรวจสอบสิทธิ ถ้าผ่านก็จะลงทะเบียนให้ โดยผู้ใช้ดาวน์โหลด Office มาติดตั้งที่เครื่องและใช้ Office 365 ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
Dell เปิดตัวโน้ตบุ๊กใหม่สำหรับภาคการศึกษาคือ Chromebook 11 และ Latitude 11 Education Series
โน้ตบุ๊กทั้งสองตัวใช้สเปกใกล้เคียงกันคือหน้าจอ 11", ซีพียู Intel Bay Trail-M Celeron ดูอัลคอร์ 1.2GHz, แรมเริ่มต้นที่ 2GB, ผ่านมาตรฐานความอึด MIL-STD 810G เรียบร้อยแล้ว
Dell Chromebook 11 ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์พิเศษที่ออกแบบมาสำหรับโรงเรียน คือมี activity light เป็นไฟ LED ที่ฝาหลัง ช่วยแจ้งเตือนครูที่อยู่หน้าชั้นเรียนได้ (เช่น นักเรียนทำแบบฝึกหัดเสร็จ ให้กดปุ่มเพื่อกะพริบไฟ)
เว็บไซต์ BuzzFeed News รายงานว่า หลายมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรได้เริ่มห้ามผู้เข้าสอบใส่นาฬิกาข้อมือเข้าห้องสอบแล้ว
เหตุผลในการห้ามคือ ถึงแม้จะมีสมาร์ทวอทช์หลายรุ่นออกสู่ตลาดแล้วแต่การมาถึงของ Apple Watch จะทำให้ความนิยมใช้สมาร์ทวอทช์เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นสมาร์ทวอทช์มีฟังก์ชันเทียบเท่ากับสมาร์ทโฟน (อาทิ รับส่งข้อความ ดูบันทึกที่จดไว้) และเป็นเรื่องยากที่ผู้คุมสอบจะระบุว่านาฬิกาข้อมือนั้นเป็นนาฬิกาธรรมดาหรือสมาร์ทวอทช์ การจัดการกับนาฬิกาข้อมือในการสอบจึงควรเป็นไปในทางเดียวกับสมาร์ทโฟน
หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ปรับใช้นโยบายคุมสอบใหม่นี้แล้วคือ University of London และ London's City University ครับ
นาย Chris Reykdal สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมายต่อคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎร (The Washington State House of Representatives Committee on Higher Education) กำหนดให้ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถใช้แทนภาษาต่างประเทศในการพิจารณาสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐได้
ที่ผ่านมา นักเรียนที่ต้องการสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ จำเป็นต้องเรียนภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษาเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา
หลังจากปล่อยให้แอปเปิลรุกตลาดการศึกษาไปเมื่อสองปีก่อน มาบัดนี้อเมซอนวางแผนสยายปีกโครงการ Kindle Direct Publishing เข้าสู่ตลาดการศึกษาด้วยการปล่อยซอฟต์แวร์ Kindle Textbook Creator รุ่นเบต้าเป็นหัวหอกกรุยทางเข้าสู่ตลาดการศึกษา
ซอฟต์แวร์ Kindle Textbook Creator รุ่นเบต้าที่ปล่อยออกมายังถือว่ามีความสามารถจำกัดมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยอเมซอนสัญญาว่าจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาในอนาคต ซึ่งจากการลองทดสอบเบื้องต้นพบว่ายังมีข้อจำกัดอยู่มาก มากเสียจนเหมือนเป็นแค่เครื่องมือแปลงเอกสาร PDF มากกว่า
ตัวอย่างเช่น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศปรับไปใช้บริการ Google Apps for Education แล้ว โดยให้บริการทั้งนิสิต, อาจารย์, และบุคคลากร
บริการครั้งนี้จะใช้ทั้งชุด ตั้งแต่ Gmail, Calendar, Drive, Docs, Classroom, และ Hangouts โดยทางมหาวิทยาลัยเลือกเปิดโดเมนใหม่เป็น ku.th ขณะที่ระบบเดิมที่เป็น ku.ac.th จะยังคงให้บริการโดยทางมหาวิทยาลัยต่อไป
ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เคยย้ายระบบในรูปแบบเดียวกันมาแล้ว แต่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นให้บริการแก่ศิษย์เก่าในครั้งเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในช่วงแรกจะยังไม่เปิดบริการสำหรับศิษย์เก่า โดยต้องรอการประสานงานกันก่อน
ปีที่แล้ว เว็บไซต์ไม่หวังผลกำไร Code.org ประกาศโครงการ Hour of Code กระตุ้นนักเรียนทั่วสหรัฐหัดเขียนโปรแกรม โดยมีอาจารย์รับเชิญชื่อ Bill Gates และ Mark Zuckerberg มาร่วมสอน
ปีนี้ Code.org จัดงาน Hour of Code อีกรอบ มีคนดังมาร่วมสนับสนุนมากมาย ส่วนของนักเรียนในปีนี้ก็มี "เด็กโข่ง" อย่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา มานั่งเรียนด้วย ตามข่าวบอกว่าโอบามาลองเขียนโค้ดเป็นครั้งแรกด้วยภาษา JavaScript แต่ไม่ระบุรายละเอียดว่าหัดเขียนโค้ดเกี่ยวกับอะไร (เขาเลยได้ชื่อว่าเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่หัดเขียนโปรแกรม) ในฝั่งของสหราชอาณาจักรเองก็จัดกิจกรรมนี้ และเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีก็มาหัดเรียนกับเขาด้วยเหมือนกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ edX (โครงการไม่แสวงหาผลกำไรที่เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง MIT, Harvard, Berkeley และสถาบันอื่นๆ ในการเผยแพร่วิชาต่างๆ) ในการนำแบบเรียนออนไลน์ที่ถูกสร้างจาก Office Mix ไปฝังบน edX.org โดยตรง
ในความร่วมมือนี้ ทั้งสองได้ร่วมพัฒนาคอมโพเนนท์ XBlock สำหรับ Office Mix ในฐานะโปรเจคโอเพนซอร์ส เพื่อให้ผู้จัดทำคอนเทนต์สามารถฝัง (embed) แบบเรียนออนไลน์ที่เก็บอยู่บน OfficeMix.com บน edX.org และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จาก edX.org โดยตรง ทาง edX สัญญาว่าจะร่วมต่อยอดและพัฒนาสถาปัตยกรรมของ XBlock ในอนาคต