เมื่อวานนี้ทาง Raspberry Pi Foundation เปิดตัว Raspberry Pi 2 Model B มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงซีพียู และรองรับ Windows 10 ตอนนี้ข่าวเริ่มออกมาครบถ้วนก็มีข้อมูลออกมาเพิ่มเติม
งานเปิดตัว Raspberry Pi 2 มีการประกาศเพิ่มเติมถึงพาร์ตเนอร์ของ Raspberry Pi เข้าร่วมหลายราย สองรายสำคัญที่ประกาศมาคือ Canonical และไมโครซอฟท์
Canonical จะซัพพอร์ต Snappy Ubuntu Core บน Raspberry Pi อย่างเป็นทางการ จากเดิมที่ Snappy ก็ซัพพอร์ต ARMv7 อยู่แล้ว การที่ Raspberry Pi อัพเกรดซีพียูทำให้ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่น่าจะใช้งานได้ทันที
ส่วนไมโครซอฟท์ประกาศซัพพอร์ต Raspberry Pi 2 โดยจะพอร์ต Windows 10 ลงมาให้ และ Raspberry Pi 2 จะอยู่ในโครงการ Windows Developer Program for IoT จากเดิมที่รองรับบอร์ด Galileo ของอินเทลเป็นหลัก
Banana Pi ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เริ่มจากรุ่นที่ลักษณะเหมือนกับ Raspberry Pi แต่ออกสินค้าใหม่ๆ ออกมาเริ่มต่างออกไปบ้าง ตั้งแต่เราท์เตอร์ไปจนถึงกล้องวิดีโอ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาทาง Banana Pi ก็แสดงรูปภาพสินค้าชุดใหม่ คือ BPI-G1 เกตเวย์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า (smart home) โดยมีจุดขายสำคัญที่บอร์ดจะรองรับทั้ง Wi-Fi, Bluetooth 4.0, และ ZigBee ในตัว
Banana Pi โครงการคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กราคาถูกรูปแบบเดียวกับ Raspberry Pi แต่ใช้ชิป Allwinner A20 แทนออกสินค้าใหม่อีกสองรุ่นในช่วงเดือนที่ผ่านมา
ตัวแรกคือ Banana Pro ที่ปรับปรุงจาก Banana Pi เดิม เห็นได้ชัดว่าโครงการพยายามเดินรอยตาม Raspberry Pi โดยเลิกใช้พอร์ต RCA สำหรับต่อโทรทัศน์แต่เปลี่ยนเป็นแจ็ค 3.5 มิลลิเมตรแทน หัวต่อ IO ต่างๆ ก็ปรับเป็น 40 ขาเท่ากับ RPi B+ และปรับไปใช้ micro SD เช่นเดียวกัน แต่ที่ต่างออกไปคือ Banana Pro จะรองรับ Wi-Fi ในตัวแล้ว
โครงการ Raspberry Pi เปิดตัวรุ่นอัพเกรด B+ ไปก่อนหน้านี้แล้วและประกาศว่ากำลังอัพเกรดรุ่น A เป็น A+ ด้วยเช่นกันแต่ไม่บอกว่ามีสเปคเป็นอย่างไร ล่าสุดมีคนพบภาพหลุดรุ่น A+ ออกมาแล้ว
รุ่น A+ มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือตัวบอร์ดจะย่อลง เหลือประมาณ 56x65 ตารางมิลลิเมตรเท่านั้น โดยน่าจะเป็นขนาดเล็กที่สุดที่บอร์ดจะเข้ากันได้กับระบบฮาร์ดแวร์เสริม HATs ที่ทาง Raspberry Pi เปิดสเปคออกมาเมื่อออกรุ่น B+
หลังจาก FTDI ปล่อยอัพเดตตัวแปลง USB-to-serial ที่ทำตัวตัวแปลงที่ใช้ชิป FTDI ปลอมไม่สามารถใช้งานได้ จนผู้ใช้จำนวนมาก (ที่ไม่เคยรู้ตัวว่าใช้ชิปจริงหรือไม่) ออกมาแสดงความไม่พอใจ ตอนนี้ทางบริษัทก็ออกมาแจ้งว่าได้ถอนอัพเดตล่าสุดออกไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่าตอนนี้ลูกค้าชิปจริงก็พลอยกังวลกับการอัพเดตครั้งนี้ไปด้วย
ทาง FTDI กำลังปล่อยอัพเดตใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยยืนยันว่าบริษัทยังต่อต้านชิปปลอมต่อไป แต่จะทำด้วยความระมัดระวังขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ทั่วไป
วงการคอมพิวเตอร์ฝังตัวมักต้องใช้พอร์ต RS232 หรือพอร์ตซีเรียลกันเป็นประจำ และชิปตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงคือ FT232 ที่ได้รับความนิยมชนิดที่มีชิปปลอมออกวางขายทั่วไป แต่การอัพเดตล่าสุดทำให้ชิปปลอมเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้
ไดรเวอร์ของ FT232 ตัวใหม่ที่มาพร้อมกับ Windows Update จะปรับให้หมายเลข product ID ของชิปปลอมกลายเป็นเลข 0 และทำให้ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป
ชิปที่ถูกเซ็ตค่า product ID ไปแล้วสามารถกู้คืนให้กลับมาทำงานได้ด้วยซอฟต์แวร์ของ FTDI
ARM เปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์ยุค Internet of Things (IoT) ชื่อ mbed โดยประกอบด้วยซอฟต์แวร์ 2 ส่วน
ข้อจำกัดสำคัญของอุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นเซ็นเซอร์ในบ้านหรือแม้แต่คอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ คือ พลังงานที่อยู่ในแบตเตอรี่เหล่านี้มีน้อยมาก การสื่อสารประสิทธิภาพสูงที่เราเคยใช้งานกันในพีซีหรือแท็บเล็ต เมื่อมาใช้งานในอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะกินพลังงานหมดลงอย่างรวดเร็ว บริษัท Sigfox จากฝรั่งเศสกำลังนำเสนอแนวทางใหม่เพื่อให้อุปกรณ์ขนาดเล็กเชื่อมต่อกันได้โดยกินพลังงานเพียงเล็กน้อย
Sigfox จะวางเครือข่ายของตัวเองบนเมืองที่ไปให้บริการ แบบเดียวกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ต้องวางเสาไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วเมือง โดยตอนนี้ Sigfox ให้บริการแล้วในสามประเทศ คือ ฝรั่งเศส, สเปน, และเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับเมืองหลักๆ ทั่วโลกอีกหลายเมือง ทางบริษัทระดมทุนไป 20 ล้านดอลลาร์เพื่อนำมาลงทุนเครือข่ายเหล่านี้
ผู้ผลิตชิปสำหรับสมาร์ทโฟนราคาถูกอย่าง MediaTek เข้ามาทำตลาดคอมพิวเตอร์สวมใส่ได้ (wearable computing) บ้างแล้ว โดยออกเป็นระบบปฎิบัติการ LinkIt สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก พร้อมบอร์ดพัฒนาของตัวเองโดยเฉพาะเรียกว่า LinkIt ONE พัฒนาร่วมกับ Seeed Studio
ตัวบอร์ด LinkIt ONE จะใช้ชิป MediaTek Aster (MT2502) ตัวคอร์เป็น ARM7 EJ-S ทำงานที่ 260MHz มีหน่วยความจำแฟลช 16MB และแรม 4MB ในชิปเดียว ในตัวบอร์ดยังมีชิปสื่อสาร MT5931 รองรับทั้ง GSM, GPRS, Bluetooth 4.0, และ Wi-Fi พร้อมกับชิป GPS MT3332 รองรับสามระบบดาวเทียม GPS/GLONASS/BeiDou
บอร์ด Intel Edison เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่วันและทาง SparkFun ก็ประกาศขายบอร์ดเสริมมาหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีความน่าสนใจคือมันมีขนาดเท่าๆ กันและซ้อนกันต่อๆ ไปได้เรื่อยๆ เช่นหากต้องต้องการเซ็นเซอร์ทิศทาง, ส่วนควบคุมมอเตอร์, และเชื่อมต่อคอนโซล ก็สามารถซ้อนบอร์ดเข้าไปอีกสามชั้นได้ เมื่อวานนี้ทาง SparkFun ก็แจกพิมพ์เขียวเทมเพลตสำหรับการทำบอร์ดขนาดเดียวกับของ SparkFun ออกมาให้ใช้งานได้ฟรี
เทมเพลตนี้จะระบุขนาดของตัวบอร์ดและจุดเจาะรูน็อตให้พอดีกับบอร์ด Edison และบอร์ดเสริมของ SparkFun ทำให้เราสามารถออกบอร์ดเสริมที่มาซ้อนเข้าไปได้พอดี
ตัวเทมเพลตอัพโหลดเป็นไฟล์ Eagle อยู่ที่ GitHub
อินเทลประกาศขายชุดพัฒนา Edison วันแรกทาง Sparkfun ก็ออกมาประกาศราคาหน้าร้านทันทีครับ โดยบอร์ด Edison เปล่าๆ มีราคา 49.95 ดอลลาร์
บอร์ด Edison รุ่นที่วางขายจริงจะเป็นซีพียู Atom Silvermont สถาปัตยกรรมเดียวกับ Bay Trail มีสองคอร์แต่ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 500 MHz เท่านั้น และรองรับเฉพาะคำสั่งแบบ 32 บิต พร้อมแรมแบบ LPDDR3 ถึง 1 GB มีหน่วยความจำแบบแฟลชในตัว 4 GB พร้อมการเชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi ทั้งย่าน 2.4 GHz และ 5 GHz และ Bluetooth 4.0 ทำให้โมดูลเปล่าๆ ก็สามารถทำงานได้เพียงแค่จ่ายไฟ (ปัญหาคือไม่มีช่องจ่ายไฟหรือ USB เพื่อจ่ายไฟมาให้เลย)
ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่น Arduino มักมีข้อจำกัดสำคัญคือมันไม่รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi หากไปซื้อบอร์ดเสริมเพื่อต่อ Wi-Fi มาติดตั้งก็มักมีราคาแพง หลายครั้งแพงกว่าการซื้อบอร์ด Raspberry Pi กับ Wi-Fi แบบ USB เสียอีกทำให้การสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมากเพื่อรายงานสภาพในบ้านไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ชิป ESP8266 จากจีนอาจจะเป็นความหวังใหม่ของคนทำคอมพิวเตอร์ฝังตัวเช่นนี้
Hardkernel ผู้ผลิตบอร์ดพัฒนาคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กจากเกาหลีใต้ประกาศยกเลิก ODROID-W คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ากันได้กับ Raspberry Pi เพราะใช้ชิป SoC ตัวเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่าทาง Broadcom ไม่ส่งชิปให้
ทาง Hardkernel ระบุว่าจะส่งมอบ ODROID-W ชุดแรกที่ผลิตมาแล้วต่อไป แต่หลังจากสินค้าหมดแล้วก็จะไม่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้อีก
Imagination ผู้ผลิตชิปกราฟิกสำหรับคอมพิวเตอร์ฝังตัวและผู้ถือสิทธิ์ในซีพียู MIPS ประกาศเปิดตัวบอร์ด MIPS Creator CI20 บอร์ดพัฒนาที่ฟีเจอร์คล้ายกับ Raspberry Pi หลายอย่าง โดยมีสเปคดังนี้
ช่วงแรกตัวบอร์ดจะรองรับเฉพาะ Debian 7 เท่านั้น แต่ทาง Imagination สัญญาว่าจะรองรับ Android 4.4 ในภายหลัง
อินเทลเปิดตัวโมเด็ม XMM 6255 ที่มีจุดเด่นคือมีขนาดเล็กมาก ใหญ่กว่าเหรียญหนึ่งเซนต์เพียงเล็กน้อยแต่มีความสามารถระดับสูงหลายอย่าง โดยออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ฝังตัวหรืออุปกรณ์สวมใส่ได้ที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่
XMM 6255 สามารถเชื่อมต่อกับซีพียูภายนอกผ่านทาง UART, I2C, และ USB ส่วนความถี่ที่รองรับมีหลายรุ่นแต่ละรุ่นรองรับสองความถี่ ได้แก่ 850/1900 และ 900/2100
XMM 6255 วางขายผ่านคู่ค้าของอินเทล โดยรายแรกคือ u-blox SARA-U2 ผมอ่านคู่มือแล้วพบว่าน่าสนใจมากเพราะตัวโมเด็มสามารถรับคำสั่งระดับสูงได้ในตัวเอง เช่น HTTP/HTTPS หรือ FTP/FTPS พร้อมการเชื่อมต่อระดับต่ำกว่าเช่น IP, IPv6, TCP, UDP ทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น Arduino เข้ากับอินเทอร์เน็ตได้
บอร์ด Galileo ของอินเทลเป็นบอร์ด x86 แต่ก่อนหน้าที่ไม่สามารถรันวินโดวส์ได้เพราะระบบบูตไม่เหมือนเครื่องพีซีปกติ ตอนนี้เฟิร์มแวร์ล่าสุดของ Galileo ก็ปรับให้รันวินโดวส์จากโครงการ Windows Developer Program for IoT ที่ประกาศมาตั้งแต่เดือนเมษายน
Windows for IoT ที่ใช้กับบอร์ด Galileo จะเป็นรุ่นพิเศษที่ทำงานเหมือน Arduino ได้ผ่าน Arduino Wiring API และสามารถเรียกใช้ API ของวินโดวส์ได้บางส่วนแบบเดียวกับลินุกซ์ที่สามารถเรียกฟังก์ชั่นของ glibc และ system call ต่างๆ ได้ แต่ข้อเสียคือเวลาติดตั้งจะนานถึงครึ่งชั่วโมง และบูตแต่ละครั้งใช้เวลาสองนาที
Spark Labs ผู้พัฒนาบอร์ด Spark Core บอร์ด ARM พร้อม Wi-Fi สำหรับนักพัฒนา ในราคา 39 ดอลลาร์ ตอนนี้บริษัทก็ได้รับเงินทุน Series A จากกลุ่มนักลงทุนหลายราย รวมเป็นเงิน 4.9 ล้านดอลาร์
เงินลงทุนก้อนนี้นำโดย Lion Wells Capital ร่วมกับบริษัทลงทุนอื่นๆ ได้แก่ O'Reilly AlphaTech Ventures, SOSventures, และ Collaborative Fund
กลุ่มมาตรฐาน PCI หรือ PCI-SIG เตรียมออกมาตรฐาน M-PCIe บัส PCI สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อให้เราใช้งานอุปกรณ์ PCIe บนอุปกรณ์เหล่านั้นได้
ระบบเชื่อมต่อความเร็วสูงบนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กก่อนหน้านี้มีมาตรฐาน D-PHY จากกลุ่ม MIPI ออกมาตรฐานมาก่อน ทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถเชื่อมต่อกับกล้องและจอภาพผ่านพอร์ตมาตรฐานได้ เช่นที่เราใช้งานใน Raspberry Pi ที่มีพอร์ต CSI สำหรับต่อกล้อง และ DSI สำหรับต่อจอภาพ
มาตรฐาน M-PCIe จะใช้โปรโตคอล PCIe ที่เป็นชั้นการเชื่อมต่อ (link layer) ขณะที่ระดับกายภาพ (physical layer) นั้นจะเป็นบัส M-PHY ที่กลุ่ม MIPI เป็นผู้พัฒนาเช่นกัน แต่จะรองรับแบนด์วิดท์ได้ถึง 6 กิกะบิตต่อวินาที
บอร์ดเสริมของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเช่น Arduino หรือ Raspberry Pi มักเพิ่มความสามารถที่มีคนใช้งานกันเยอะๆ เช่น การเชื่อมต่อไร้สาย หรือช่องควบคุมฮาร์ดแวร์บางอย่างเช่นมอเตอร์ แต่บอร์ดล่าสุดที่ออกมาชื่อว่า CryptoCape เป็นบอร์ดที่เพิ่มความสามารถในการเข้ารหัสให้กับบอร์ด BeagleBone Black
ชิปหลักที่ CryptoCape ใช้เสริมความสามารถให้กับ BeagleBone ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น EEPROM ในตัวที่บอร์ดออกแบบไว้ให้เก็บข้อมูลเข้ารหัส, ไมโครคอนโทรลเลอร์บนตัวบอร์ด, และนาฬิกา RTC
ภาษา Python นั้น โดยทางการแล้วตัวแปลภาษาเขียนอยู่บนภาษา C อีกที (เรียกว่า CPython) แต่เราได้รู้จักตัวแปล Python อื่นๆ เช่น PyPy.js ที่เขียนบน JavaScript มาแล้ว วันนี้มีของเล่นใหม่คือ Micro Python ภาษา Python 3 สำหรับอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์โดยเฉพาะ
แม้ว่า Micro Python จะยังคงเขียนอยู่บน C เช่นเดิม แต่ภายในนั้นมีการปรับแต่งรีดปริมาณการใช้ RAM ให้ลดลงจนสามารถนำไปใช้บนไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ ฟีเจอร์หลักๆ คือ
ในงาน Computex 2014 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการชิปบนอุปกรณ์พกพาอย่าง ARM ประกาศเปิดตัวศูนย์ออกแบบชิปประมวลผลในไต้หวันอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบชิปตระกูล Cortex-M สำหรับอุปกรณ์จำพวก Internet of Things โดยเฉพาะ
ในแรกเริ่ม ARM ระบุว่าจะมีพนักงานเข้ามาประจำการในส่วนนี้ประมาณ 40-50 คน และจะขยายไปตามความต้องการในอนาคต ส่วนเหตุผลที่เลือกเปิดศูนย์ออกแบบเกี่ยวกับชิปกลุ่มนี้ก็เนื่องมาจากความสนใจในอุปกรณ์ไอทีแบบสวมใส่ได้ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภท แบบแรกคืออุปกรณ์สวมใส่ได้สำหรับผู้บริโภคทั่วไป และอีกแบบคือใช้พลังประมวลสูง และข้อมูลจากเซนเซอร์มากๆ เช่นอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญประเภทต่างๆ
Arduino TRE เปิดตัวในงาน Maker Faire ปีที่แล้ว ตอนนี้แม้ยังไม่เปิดขายจริง แต่ก็ขายรุ่นเบต้าสำหรับนักพัฒนาแล้ว โดยล็อตแรกจะวางขายเพียงแค่ 50 ชุดเท่านั้น (ตอนนี้ของหมดแล้ว) สำหรับผู้ซื้อทั่วไปคงต้องรอบอร์ดรุ่นสมบูรณ์หลังโครงการเบต้า ซึ่งจะกินเวลาประมาณสามเดือน จึงเริ่มเดินสายการผลิตได้จริง ทาง Arduino ระบุเพียงว่าจะเริ่มขายจริงในปีนี้
Arduino TRE จะมาพร้อมกับ IDE ที่ทำงานผ่านเว็บแบบเดียวกับ Beagleboard ที่ติดตั้ง IDE มาในตัวเช่นกัน โดยตัว IDE สามารถกดอัพโหลดโค้ดเข้าไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ที่อยู่บนบอร์ดได้ทันที
ที่มา - Arduino
บอร์ดพัฒนาฮาร์ดแวร์ Arduino ใช้ชิปจาก Atmel เป็นหลักมาเสมอ แม้จะมีการออกรุ่นย่อยใช้ชิปอินเทลหรือ MIPS บ้าง แต่ด้วยความนิยมที่สูงมากโดยเฉพาะเมื่อรวมกับผู้ผลิตที่นำพิมพ์เขียวไปผลิตกันเอง ตอนนี้ทาง Atmel ก็มาร่วมมือพัฒนาบอร์ดกับทาง Arduino เองแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้คือบอร์ด Arduino Zero
บอร์ดรุ่นนี้มีความพิเศษสำคัญคือมันใช้ชิป ATSAMD21G18 ที่แกนภายในเป็น Cortex-M0+ แทนที่แกน AVR เดิมแล้วทำให้การพัฒนาเปลี่ยนมาเป็นชุดคำสั่ง 32 บิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอ้างหน่วยความจำและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกได้มากขึ้น นอกจากนี้ตัวบอร์ดยังใส่ชิป Atmel A06-0736 ที่แปลงจากพอร์ต JTAG มาเป็น EDBG ของ Atmel เอง ทำให้บอร์ด Zero มีพอร์ต USB พอร์ตที่สองสำหรับการโหลดโปรแกรมและดีบั๊กโดยเฉพาะ